วันเวลาปัจจุบัน 16 มิ.ย. 2024, 14:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บ่นเป็นหมีกินผึ้ง หมายถึงอะไร ?

ตอบ

หมีเวลากินน้ำหวานจะก้มหน้าก้มตากินอย่างเดียว ไม่สนใจกับสิ่งรอบตัว เลยเปรียบคนที่บ่นโดยไม่สนใจอะไรเลย บ่นเป็นหมีกินผึ้ง หมายถึง คนที่ชอบบ่นพึมพำอยู่เสมอ เห็นอะไรก็บ่นไปหมด

:b13: :b1: โฮฮับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 10:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พวกเราเตลิดไปไกลจนกลับบ้านไม่ถูก ดังนั้น จะพาย้อนกลับไปบ้านเดิม :b32:


พูดโดยภาษาสมมติว่า เมื่อเราเกิดมาก็มีแค่นั้น (ดูรูปประกอบ) ภาษาทางธรรม เรียกว่า สภาวะ (เรียกเต็ม สภาวธรรม ปรมัตถ์ ปรมัตถธรรม) ซึ่งไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา เป็นสภาวะ (เป็นปรมัตถ์)

ต่อมาเขาจึงสมมติเรียกสภาวะนั้นว่า “คน” (ใช้สื่อสารกันเข้าใจ) มิใช่แค่นั้นนะ ยังบัญญัติชื่อเรียกคนนั้น คนนี้ ว่า ดช. ก. ดญ. ข. เป็นต้น ซ้อนๆขึ้นอีก (เอาแล้วๆ เริ่มมีสิ่งบดบังสัจธรรมแล้ว)

หยุดหลับตาทบทวนกันหน่อย :b9:

ไอ้ภาษาสมมติที่กรัชกายว่า ในพุทธศาสนามันมีด้วยหรือ


จะบอกให้ สมมติสัจจะ ที่เป็นพุทธพจน์แท้ มันเป็นแบบนี้.....

สมมติ หมายถึง การรู้ตาม
สัจจะ หมายถึง ความจริง
เมื่อรวมสองคำเข้าด้วยกัน ก็คือ การรู้ตามความเป็นจริง นั้นก็คือสภาพธรรม


ซึ่งสภาพธรรมตามเป็นจริงหรือสมมติสัจจะ
ก็คือ......อนัตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
พวกเราเตลิดไปไกลจนกลับบ้านไม่ถูก ดังนั้น จะพาย้อนกลับไปบ้านเดิม :b32:


พูดโดยภาษาสมมติว่า เมื่อเราเกิดมาก็มีแค่นั้น (ดูรูปประกอบ) ภาษาทางธรรม เรียกว่า สภาวะ (เรียกเต็ม สภาวธรรม ปรมัตถ์ ปรมัตถธรรม) ซึ่งไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา เป็นสภาวะ (เป็นปรมัตถ์)

ต่อมาเขาจึงสมมติเรียกสภาวะนั้นว่า “คน” (ใช้สื่อสารกันเข้าใจ) มิใช่แค่นั้นนะ ยังบัญญัติชื่อเรียกคนนั้น คนนี้ ว่า ดช. ก. ดญ. ข. เป็นต้น ซ้อนๆขึ้นอีก (เอาแล้วๆ เริ่มมีสิ่งบดบังสัจธรรมแล้ว)

หยุดหลับตาทบทวนกันหน่อย :b9:

ไอ้ภาษาสมมติที่กรัชกายว่า ในพุทธศาสนามันมีด้วยหรือ


จะบอกให้ สมมติสัจจะ ที่เป็นพุทธพจน์แท้ มันเป็นแบบนี้.....

สมมติ หมายถึง การรู้ตาม
สัจจะ หมายถึง ความจริง
เมื่อรวมสองคำเข้าด้วยกัน ก็คือ การรู้ตามความเป็นจริง นั้นก็คือสภาพธรรม


ซึ่งสภาพธรรมตามเป็นจริงหรือสมมติสัจจะ
ก็คือ......อนัตตา



สมมติ คือ ความเห็นร่วมกัน ตกลง ยอมรับกัน มติร่วมกัน

นี่แหละถึงว่า พูดโดยไม่มองสังคมมองความเป็นอยู่รอบๆตัว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 12:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
พวกเราเตลิดไปไกลจนกลับบ้านไม่ถูก ดังนั้น จะพาย้อนกลับไปบ้านเดิม :b32:


พูดโดยภาษาสมมติว่า เมื่อเราเกิดมาก็มีแค่นั้น (ดูรูปประกอบ) ภาษาทางธรรม เรียกว่า สภาวะ (เรียกเต็ม สภาวธรรม ปรมัตถ์ ปรมัตถธรรม) ซึ่งไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา เป็นสภาวะ (เป็นปรมัตถ์)

ต่อมาเขาจึงสมมติเรียกสภาวะนั้นว่า “คน” (ใช้สื่อสารกันเข้าใจ) มิใช่แค่นั้นนะ ยังบัญญัติชื่อเรียกคนนั้น คนนี้ ว่า ดช. ก. ดญ. ข. เป็นต้น ซ้อนๆขึ้นอีก (เอาแล้วๆ เริ่มมีสิ่งบดบังสัจธรรมแล้ว)

หยุดหลับตาทบทวนกันหน่อย :b9:

ไอ้ภาษาสมมติที่กรัชกายว่า ในพุทธศาสนามันมีด้วยหรือ


จะบอกให้ สมมติสัจจะ ที่เป็นพุทธพจน์แท้ มันเป็นแบบนี้.....

สมมติ หมายถึง การรู้ตาม
สัจจะ หมายถึง ความจริง
เมื่อรวมสองคำเข้าด้วยกัน ก็คือ การรู้ตามความเป็นจริง นั้นก็คือสภาพธรรม


ซึ่งสภาพธรรมตามเป็นจริงหรือสมมติสัจจะ
ก็คือ......อนัตตา



สมมติ คือ ความเห็นร่วมกัน ตกลง ยอมรับกัน มติร่วมกัน

นี่แหละถึงว่า พูดโดยไม่มองสังคมมองความเป็นอยู่รอบๆตัว

ตลกดีที่นี่มาบอกให้มองสังคมรอบตัว เมื่อก่อนบอกว่า เราเกิดมาก็แค่นั้น ไม่ใช่สัตว์ บุคคล
ตัวตน เราเขา....ถามจริงจะเอายังไงกันแน่ :b32:

จะเอาความหมายของบัญญัติ มันต้องเอามาจากบาลีหรือเอามาจากพุทธพจน์
ไม่ใช่เอามาจากสังคมรอบข้าง

และพุทธพจน์หรือบาลีมันเป็นแบบนี้......สมฺมติสจฺจ
พุทธพจน์นี้ พระพุทธองค์เป็นผู้บัญญัติ ทำไมต้องมีความเห็นร่วมกัน
พระพุทธองค์ท่านทรงบัญญัติของท่านเองไม่เกี่ยวกับคนอื่น :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




images.jpg
images.jpg [ 5.91 KiB | เปิดดู 2459 ครั้ง ]
โฮฮับ เขียน:

ตลกดีที่นี่มาบอกให้มองสังคมรอบตัว เมื่อก่อนบอกว่า เราเกิดมาก็แค่นั้น ไม่ใช่สัตว์ บุคคล
ตัวตน เราเขา....ถามจริงจะเอายังไงกันแน่ :b32:

จะเอาความหมายของบัญญัติ มันต้องเอามาจากบาลีหรือเอามาจากพุทธพจน์
ไม่ใช่เอามาจากสังคมรอบข้าง

และพุทธพจน์หรือบาลีมันเป็นแบบนี้......สมฺมติสจฺจ
พุทธพจน์นี้ พระพุทธองค์เป็นผู้บัญญัติ ทำไมต้องมีความเห็นร่วมกัน
พระพุทธองค์ท่านทรงบัญญัติของท่านเองไม่เกี่ยวกับคนอื่น :b13:



นายโฮฮับคือบุคคลตัวอย่างของผู้ไม่เข้าใจ สมมติสัจจะ กับ ปรมัตถสัจจะ คือตัวเองพูดไปเรื่อยเปื่อย แต่หาเข้าใจความหมายของสิ่งที่ทำคำที่พูดไม่ อีกทั้งแยกสัจจะทั้งสองออกจากกันไม่เป็น จึงนำมาปนกันมั่วไปหมด ให้ชัดขึ้นอีกก็ว่า นายโฮฮับเข้าใจพุทธศาสนาแปลกแยกออกจากสังคมมนุษย์


สมมติสัจจะ (แปลว่า จริงโดยสมมติ จริงโดยมีมติร่วมกัน จริงตามข้อตกลง จริงโดยการยอมรับร่วมกัน...) ซึ่งใช้ทางสังคม เช่น มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม ต้องมีกฏมีกติกา ...ที่ใช้บังคับ เพื่อการอยู่ร่วมกันโดยปกติสุข เช่น พระพุทธเจ้าจะบัญญัติวินัยแต่ละข้อๆ ต้องมีผู้ทำผิดก่อน คือ เมื่อมีภิกษุ (ยกตัวอย่างง่ายๆ) พรากของเขียว มีผู้ติเตียน พระพุทธเจ้าก็ประชุมสงฆ์ สอบถามความเห็นที่ประชุมสงฆ์นั้น แล้วบอกข้อดีในการเว้น บอกข้อเสียของการกระทำ แล้วจึงบัญญัติวินัยขึ้น หนึ่ง สอง สาม....ต่อไปใครทำอีก มีโทษ (ต้องอาบัติ) นี่จริงโดยสมมติ (สมมติสัจจะ)

มองมาที่สังคมมนุษย์โดยรวมบ้าง เช่น จะบัญญัติกฏกติกากฎหมายข้อบังคับขึ้นสักข้อหนึ่ง ผู้ปกครองรัฐต้องประชุมร่วมกันทั้งสภา อภิปรายถกเถียงกันถึงข้อเสียหาย (ยกตัวอย่าง) การลักทรัพย์ จนได้ข้อสรุป แล้วก็มีมติร่วมกัน (สมมติ) จึงบัญญัติจัดตั้งตราเป็นกฏหมาย เป็นมาตราๆ มาบังคับใช้ ใครทำผิด (ละเมิด) ต้องถูกลงโทษตามกติกา ตามข้อบังคับ ที่วางไว้นั้น (สมมติสัจจะ -จริงโดยสมมติ)

มองแคบเข้ามาอีก ยกตัวอย่าง ในบริษัทๆหนึ่ง มีพนักงานมาทำงานสายเป็นประจำ ผจก. จึงเรียกประชุมพนักงานทั้งหมด ประชุมร่วมกัน มาทำความตกลงร่วมกัน (สมมติ) ว่าการมาทำงานสาย เกิดผลเสียอย่างไรๆ ก็ว่าไป แล้วก็ขอมติที่ประชุมทั้งหมดว่าต่อไป ใครมาทำงานสายมีโทษ ตามมติที่บัญญัติไว้เช่น ข้อ 1...ข้อ 2 ฯลฯ นี่ก็สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ


ส่วนปรมัตถสัจจะ (จริงโดยความหมายสูงสุด) ไม่ขึ้นต่อเรื่อง/สิ่งดังกล่าวมานั้น ปรมัตถสัจจะ เป็นเรื่องของธรรมชาติ :b1: คนจะว่ากันยังไง มันไม่ฟังตามใคร มันก็เป็นตามเหตุปัจจัยของมัน

พอมองออกมั้ยขอรับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 15:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


สมมติสัจจะคือ คือสภาวธรรมตามความเป็นจริงของสิ่งที่ปรากฏขึ้น(ปรมัตถ์) สมมติสัจจะก็คือสภาวธรรมตามความเป็นจริง อย่างที่คุณน้องเคยอธิบายไว้ข้างต้นว่า สิ่งที่ถูกรู้นั้น เป็นสิ่งที่รู้ด้วยด้วยวิญญาณขันธ์ ผู้อื่นไม่สามารถอธิบายให้เรารู้ตามได้ เพราะเป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตนไม่ขึ้นต่อ สัตว์ สิ่งของ บุคคล เราเขา
ถ้าเรามีความเข้าใจในเรื่อง อาตนะ6 หมายถึง สิ่งที่เชื่อมต่อที่อยู่ในตัวคน นั่นคือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งเชื่อมต่อกับอาตนะภายนอก (สภาธรรมตรงนี้แหละเมื่อเรารู้แล้วหลงไปยึดเข้าในความเป็นสมตติสัจจะจนแยกความจริงของปรมัตถ์ไม่ออก)
อายตนะภายนอก หมายถึงสื่อเชื่อมต่อที่อยู่นอกตัวคน คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
ยกตัวอย่างให้เข้าใจ ตาเห็นรูป รูปคือปรมัตถ์ หูได้ยินเสียง เสียงคือปรมัตถ์ จมุกได้กลิ่น กลิ่นคือปรมัตถ์ ลิ้นรับรส รสคือปรมัตถ์ กายเมื่อสัมผัส ความรู้สึกถึงสัมผัสว่า เป็นเช่นไร เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เหลว นิ่ม นี่คือปรมัตถ์ ธรรมมารมณ์คืออารมณ์ที่ถูกรู้สภาวะตามความเป็นจริง แต่เราหลงเข้าไปยึดในความเป็นสมติสัจจะ โดยมองไม่เห็นธรรมชาติความเป็นจริงของสิ่งที่ถูกรู้ว่า ทุกอย่างเป็นอนัตตา
ยกตัวอย่าง เรามีสมตติบัญญัติเกิดขึ้นมาบนโลกนี้ก้เพื่อให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกัน มีกฏข้อบังคับ ระเบียบเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นปกติ แต่เรามองไม่เห็นสภาพธรรมความเป็นจริงของสมมติ เมื่อเราเข้าไปยึด มันเลยทำให้เราต้องเกิดทุกข์ตามมา
เช่น หูได้ยิน จมุกได้กลิ่น เราได้ยินนั้นเป็นเพียงเสียง สภาวธรรมตามความเป็นจริงของเสียงก็คือสิ่งที่เข้ามากระทบนั่นมันไม่ได้ถุกรู้ว่าเป็นเสียง เพราะมันมีสมมติเข้ามาร่วมด้วย ทำให้เราเข้าใจ ความหมายแตกแยกออกไป เช่นมีคนมาด่าเรา ฉันไม่ชอบขี้หน้าแกว่ะ :b32: สภาวะตามความเป็นจริงของปรมัตถ์ก็คือ เสียง
แต่สิ่งที่เราบัญยัติขึ้น ทำให้เราปรุงแต่งออกไปจนมองไม่เห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงว่านั้นเป็นเสียง
อย่างคนที่ไม่เข้าใจภาษาไทยเค้าก็ไม่สามารถกำหนดรู้ได้ว่า ไอ้ประโยค ฉันไม่ชอบแกว่ะมันหมายความว่าไง เค้าเพียงแต่รู้ว่าเป็นเสียงที่เข้ามาได้ยิน ตรงนี้นี่เองที่เราหลงเข้าไปยึด โดยมองไม่ทะลุผ่านความเป็นปรมัตถ์ เพราะเหตุนี้สมมติบัญยัติ ก็คือสิ่งที่มนุษย์บัญยัติขึ้นเอง เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงเพื่ออยู่ร่วมกัน หรือรู้ร่วมกัน แต่สมติสัจจะคือตัวสภาวะที่มีอยู่จริง และเป็นธรรมชาติ เป็นปกติตามธรรมดาของมัน
อย่างเช่น เมื่อตาเห็นรูป รุปคือปรมัตถ์ แต่เมื่อเราหลงเข้าไปยึดในสมมติบัญยัติ รูปที่เห็นคือคน แต่เราไม่ได้มองว่าเค้าคือคน เมื่อเกิดบัญญัติหรือสิ่งที่สมมติกฏกติกาตั้งขึ้นมาเพื่อให้เรารู้กัน คนคนนั้นคือนาย ก
นายก เป็นสมมติ แล้วยังมีการบัญญัติขึ้นว่า นายก ก แต่งงาน กับนางสาว ข ก็สมมติ บัญญัติว่า นี่สามี นี่ภรรยา ตรงนี้ไงค่ะเราหลงเข้าไปยึดโดยมองไม่ทะลุความเป็นปรมัตถ์ มันเลยทุกข์ตามมา
:b1: :b1:
ปล.อธิบายแบบนี้ไม่รู้เข้าใจกันรึเปล่า แล้วแต่ปัญญาของใครของมันละกัน :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
สมมติสัจจะคือ คือสภาวธรรมตามความเป็นจริงของสิ่งที่ปรากฏขึ้น(ปรมัตถ์) สมมติสัจจะก็คือสภาวธรรมตามความเป็นจริง อย่างที่คุณน้องเคยอธิบายไว้ข้างต้นว่า สิ่งที่ถูกรู้นั้น เป็นสิ่งที่รู้ด้วยด้วยวิญญาณขันธ์ ผู้อื่นไม่สามารถอธิบายให้เรารู้ตามได้ เพราะเป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตนไม่ขึ้นต่อ สัตว์ สิ่งของ บุคคล เราเขา
ถ้าเรามีความเข้าใจในเรื่อง อาตนะ6 หมายถึง สิ่งที่เชื่อมต่อที่อยู่ในตัวคน นั่นคือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งเชื่อมต่อกับอาตนะภายนอก (สภาธรรมตรงนี้แหละเมื่อเรารู้แล้วหลงไปยึดเข้าในความเป็นสมตติสัจจะจนแยกความจริงของปรมัตถ์ไม่ออก)
อายตนะภายนอก หมายถึงสื่อเชื่อมต่อที่อยู่นอกตัวคน คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
ยกตัวอย่างให้เข้าใจ ตาเห็นรูป รูปคือปรมัตถ์ หูได้ยินเสียง เสียงคือปรมัตถ์ จมุกได้กลิ่น กลิ่นคือปรมัตถ์ ลิ้นรับรส รสคือปรมัตถ์ กายเมื่อสัมผัส ความรู้สึกถึงสัมผัสว่า เป็นเช่นไร เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เหลว นิ่ม นี่คือปรมัตถ์ ธรรมมารมณ์คืออารมณ์ที่ถูกรู้สภาวะตามความเป็นจริง แต่เราหลงเข้าไปยึดในความเป็นสมติสัจจะ โดยมองไม่เห็นธรรมชาติความเป็นจริงของสิ่งที่ถูกรู้ว่า ทุกอย่างเป็นอนัตตา
ยกตัวอย่าง เรามีสมตติบัญญัติเกิดขึ้นมาบนโลกนี้ก้เพื่อให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกัน มีกฏข้อบังคับ ระเบียบเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นปกติ แต่เรามองไม่เห็นสภาพธรรมความเป็นจริงของสมมติ เมื่อเราเข้าไปยึด มันเลยทำให้เราต้องเกิดทุกข์ตามมา
เช่น หูได้ยิน จมุกได้กลิ่น เราได้ยินนั้นเป็นเพียงเสียง สภาวธรรมตามความเป็นจริงของเสียงก็คือสิ่งที่เข้ามากระทบนั่นมันไม่ได้ถุกรู้ว่าเป็นเสียง เพราะมันมีสมมติเข้ามาร่วมด้วย ทำให้เราเข้าใจ ความหมายแตกแยกออกไป เช่นมีคนมาด่าเรา ฉันไม่ชอบขี้หน้าแกว่ะ :b32: สภาวะตามความเป็นจริงของปรมัตถ์ก็คือ เสียง
แต่สิ่งที่เราบัญยัติขึ้น ทำให้เราปรุงแต่งออกไปจนมองไม่เห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงว่านั้นเป็นเสียง
อย่างคนที่ไม่เข้าใจภาษาไทยเค้าก็ไม่สามารถกำหนดรู้ได้ว่า ไอ้ประโยค ฉันไม่ชอบแกว่ะมันหมายความว่าไง เค้าเพียงแต่รู้ว่าเป็นเสียงที่เข้ามาได้ยิน ตรงนี้นี่เองที่เราหลงเข้าไปยึด โดยมองไม่ทะลุผ่านความเป็นปรมัตถ์ เพราะเหตุนี้สมมติบัญยัติ ก็คือสิ่งที่มนุษย์บัญยัติขึ้นเอง เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงเพื่ออยู่ร่วมกัน หรือรู้ร่วมกัน แต่สมติสัจจะคือตัวสภาวะที่มีอยู่จริง และเป็นธรรมชาติ เป็นปกติตามธรรมดาของมัน
อย่างเช่น เมื่อตาเห็นรูป รุปคือปรมัตถ์ แต่เมื่อเราหลงเข้าไปยึดในสมมติบัญยัติ รูปที่เห็นคือคน แต่เราไม่ได้มองว่าเค้าคือคน เมื่อเกิดบัญญัติหรือสิ่งที่สมมติกฏกติกาตั้งขึ้นมาเพื่อให้เรารู้กัน คนคนนั้นคือนาย ก
นายก เป็นสมมติ แล้วยังมีการบัญญัติขึ้นว่า นายก ก แต่งงาน กับนางสาว ข ก็สมมติ บัญญัติว่า นี่สามี นี่ภรรยา ตรงนี้ไงค่ะเราหลงเข้าไปยึดโดยมองไม่ทะลุความเป็นปรมัตถ์ มันเลยทุกข์ตามมา
:b1: :b1:
ปล.อธิบายแบบนี้ไม่รู้เข้าใจกันรึเปล่า แล้วแต่ปัญญาของใครของมันละกัน :b12:




เนอะ คุณน้องเนอะ :b32:

viewtopic.php?f=1&t=46135&start=15

nongkong เขียน:
โอ้ยจร้า แม่คู๊ณนนนนนนนนใจกว้างดุจสายน้ำไม่มาตอดเล้กตอดน้อยแต่ดูพฤติกรรมหล่อนนี่ใจกว้างใช่ป่ะตอนนี้555+ มีการเที่ยวป่าวประกาศให้คนอื่นรู้ว่าใจกว้าง555 แต่การกระทำตอนนี้มันหมายความว่าไงหรอหล่อน 5555 ยิ่งเทอแสดงความเห็นเทอก็ยิ่งประจานตนเอง แล้วคนฉลาดเค้าเค้าแสดงความฉลาดอย่างที่ทำทำอยู่ตอนนี้หรอ เห็นชอบว่าคนโน้นโง่คนนี้โง่ สาธุที่พุดอะไรว่าอะไรใครออกไปขอให้มันเข้าตัวหล่อนให้หมด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทั้งตัวสภาวะ และสมมติ เป็นสิ่งจำเป็น ตัวสภาวะ (นิยมเรียกกันว่า ปรมัตถ์) เป็นเรื่องของธรรมชาติ

ส่วนสมมติเป็นเรื่องของประโยชน์ในทางปฏิบัติสำหรับความเป็นอยู่ของมนุษย์ แต่ปัญหาเกิดขึ้น เพราะมนุษย์เอาสภาวะ กับ สมมติมาสับสนกัน คือ เข้าไปยึดเอาตัวสภาวะ จะให้เป็นตามสมมติ จึงเกิดวุ่นวายขึ้น

ตัวสภาวะไม่วุ่น เพราะมันเป็นไปอย่างนั้นเอง ตามปกติธรรมดา ไม่เกี่ยวกับใครจะไปยึดหรือไม่ มนุษย์เป็นผู้วุ่นไปฝ่ายเดียว และเพราะมันไม่วุ่นด้วย มนุษย์จึงยุ่งวุ่นใหญ่ เพราะขัดความปรารถนา ถูกบีบคั้น จึงเกิดเป็นปัญหาแก่มนุษย์เอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 17:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“สมมติ ไม่มีใครหลุด ไม่ต้องไปพ้น เอาแค่รู้ทัน และใช้มันให้เป็น”

“รู้ทันสมมติ ก็จะวิมุตติ" :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2013, 03:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
นายโฮฮับคือบุคคลตัวอย่างของผู้ไม่เข้าใจ สมมติสัจจะ กับ ปรมัตถสัจจะ คือตัวเองพูดไปเรื่อยเปื่อย แต่หาเข้าใจความหมายของสิ่งที่ทำคำที่พูดไม่ อีกทั้งแยกสัจจะทั้งสองออกจากกันไม่เป็น จึงนำมาปนกันมั่วไปหมด ให้ชัดขึ้นอีกก็ว่า นายโฮฮับเข้าใจพุทธศาสนาแปลกแยกออกจากสังคมมนุษย์


นายกรัชกายคือบุคคลที่ไม่ควรเอาอย่าง เป็นผู้ไม่ยอมเข้าใจอะไรเลย
มิหน่ำซ้ำยังเอาความไม่รู้เรื่องมาปรามาสคนอื่น ผู้เป็นกัลยาณมิตร :b13:

ไม่ต้องผู้ถึงสภาวะธรรม เอาแค่คำศัพท์ง่ายๆนายกรัชกาย ยังไม่รู้เรื่อง
เอาคำศัพท์โน้นมาแปลนี้ให้เปอะไปหมด

อย่างนายกรัชกาย ไม่ต้องพูดถึงเรื่องพุทธศาสนาเลย แค่ไวยากรณ์ไทยที่ใช้กัน
นายกรัชกายยังไม่รู้เรื่อง :b9:

กรัชกาย เขียน:

สมมติสัจจะ (แปลว่า จริงโดยสมมติ จริงโดยมีมติร่วมกัน จริงตามข้อตกลง จริงโดยการยอมรับร่วมกัน...) ซึ่งใช้ทางสังคม เช่น มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม ต้องมีกฏมีกติกา ...ที่ใช้บังคับ เพื่อการอยู่ร่วมกันโดยปกติสุข เช่น พระพุทธเจ้าจะบัญญัติวินัยแต่ละข้อๆ ต้องมีผู้ทำผิดก่อน คือ เมื่อมีภิกษุ (ยกตัวอย่างง่ายๆ) พรากของเขียว มีผู้ติเตียน พระพุทธเจ้าก็ประชุมสงฆ์ สอบถามความเห็นที่ประชุมสงฆ์นั้น แล้วบอกข้อดีในการเว้น บอกข้อเสียของการกระทำ แล้วจึงบัญญัติวินัยขึ้น หนึ่ง สอง สาม....ต่อไปใครทำอีก มีโทษ (ต้องอาบัติ) นี่จริงโดยสมมติ (สมมติสัจจะ)


เลอะแล้วกรัชกาย ฟังให้ดีพี่โฮจะสาธยายให้ฟัง เอาชนิดที่เรียกว่าตรงกับความหมายเลย........

สมมติ แปลว่า รู้ตาม
สัจจะ แปลว่า ความจริง
ร่วมเรียกสมมติสัจจะ และสมมติสัจจะถ้าจะแปลตรงตัวก็คือ รู้ตามความเป็นจริง
ความจริงของอะไร ก็คือธรรมชาตินั้นเอง
อธิบายเพิ่ม การรู้โดยสมมติสัจจะ นั้นก็คือ......รู้ตามจริงว่า สมมติสัจจะที่มากระทบ
เป็นเพียง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และความคิด แบบนี้เรียกว่า รู้สมมติด้วยปรมัตถ์


อนึ่งเพื่อความเข้าใจ เพราะเห็นกรัชกายกำลังสับสนธรรม
การเอาเรื่องสมมติสัจจะกับปรมัตถ์สัจจะมาสนทนา จะต้องสนทนาในลักษณะของกรรมฐาน
ไม่ใช่เอาเรื่องสมมติสัจจะ มาผูกโยงกับเรื่องในสังคม
ขอถือโอกาสสอนศัพท์ภาษาในสังคมให้กรัชกายฟัง...........

บัญญัติ นั้นคือ ข้อตกลงร่วมกัน ไม่ใช่สมมติสัจจะอย่างที่กรัชกายเข้าใจ

ญัติ นั้นคือ ความเห็นหรือข้อเสนอ

มติ นั้นคือ บทสรุปในญัติ ว่า เห็นด้วยหรือไม่

ตัวอย่าง ถ้าผู้แทนต้องการเสนอกฎหมายสักฉบับ ก็ต้องยื่น...ญัติ ต่อรัฐสภา
นั้นก็คือยื่นข้อเสนอหรือความเห็น

เมื่อยื่นญัติแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของรัฐสภาที่จะลง...มติ
นั้นก็คือลงความเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่

ถ้ารัฐสภาเห็นด้วย จึงจะตราเป็นพ.ร.บ. ขึ้น พ.ร.บ.ก็คือกฎหมาย

สรุปกฎหมาย ข้อกำหนดต่าง หรือการมีความเห็นร่วมกัน
เขาเรียกว่า.....บัญญัติ


สำคัญอย่าสับสน อย่าเรียกตัวอย่างนี้ว่า ....สมมติบัญญัติ
เพราะสมมติบัญญัติ เป็นเรื่องของกรรมฐานเป็นเรื่องทางธรรม
ส่วนบัญญัติเป็นเรื่องของทางโลก ที่เห็นอยู่หลายคนกำลังเอามาปนเปกัน
ที่เห็นๆก็กรัชกาย คนหนึ่งแล้ว :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2013, 03:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ส่วนปรมัตถสัจจะ (จริงโดยความหมายสูงสุด) ไม่ขึ้นต่อเรื่อง/สิ่งดังกล่าวมานั้น ปรมัตถสัจจะ เป็นเรื่องของธรรมชาติ :b1: คนจะว่ากันยังไง มันไม่ฟังตามใคร มันก็เป็นตามเหตุปัจจัยของมัน

พอมองออกมั้ยขอรับ


ความจริงสูงสุดคือ นิพพาน
พูดง่ายๆก็คือนิพพานเป็นปรมัตถ์ธรรม เป็นธรรมที่สูงสุดในปรมัตถ์

ปรมัตถ์และสมมติ เป็นธรรมชาติทั้งคู่ การรู้แจ้งในปรมัตถ์ก็คือรู้แจ้งในสมมติ

ทั้งปรมัตถ์และสมมติ ไม่มีสิ่งใดสูงกว่ากัน
เพียงแต่ในปรมัตถ์ นิพพานเป็นธรรมที่สูงสุด หรือกล่าวได้ว่า เป็นการรู้แจ้งสุดท้ายแห่งธรรม :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2013, 04:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:


เลอะแล้วกรัชกาย ฟังให้ดีพี่โฮจะสาธยายให้ฟัง เอาชนิดที่เรียกว่าตรงกับความหมายเลย........

สมมติ แปลว่า รู้ตาม
สัจจะ แปลว่า ความจริง
ร่วมเรียกสมมติสัจจะ และสมมติสัจจะถ้าจะแปลตรงตัวก็คือ รู้ตามความเป็นจริง
ความจริงของอะไร ก็คือธรรมชาตินั้นเอง

อธิบายเพิ่ม การรู้โดยสมมติสัจจะ นั้นก็คือ......รู้ตามจริงว่า สมมติสัจจะที่มากระทบ
เป็นเพียง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และความคิด แบบนี้เรียกว่า รู้สมมติด้วยปรมัตถ์



ออกทะเลไปไกลแล้วล่ะโฮฮับเอ้ย :b9:

ว่าไปได้
อ้างคำพูด:
รู้สมมติด้วยปรมัตถ์
ยิ่งพูดยิ่งแสดงความเห็น ก็ได้เห็นแต่ความไร้สาระ ไม่ไหวจะเคลียร์ :b13:

อ้างคำพูด:
สมมติ แปลว่า รู้ตาม


ถามหน่อย คำไหน แปลว่า ตาม คำไหนแปลว่า รู้


อ้างคำพูด:
สมมติสัจจะ ถ้าจะแปลตรงตัวก็คือ รู้ตามความเป็นจริง



นั่นว่าเข้าไปนั่น :b32: สมมติสัจจะ รู้ตามความเป็นจริง ไปน้ำขุ่นๆ คิกๆ

สมมติ ไม่ใช่ของจริง เขาสมมติขึ้น (ถ้าจะจริงก็จริงตามสมมติ จริงโดยเห็นร่วมกัน) เอาน่ะ จะสมมติให้ฟังสักเรื่อง สมมติว่า นายโฮฮับบ้า จริงไหม ?

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2013, 05:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
นายกรัชกายคือบุคคลที่ไม่ควรเอาอย่าง เป็นผู้ไม่ยอมเข้าใจอะไรเลย
มิหน่ำซ้ำยังเอาความไม่รู้เรื่องมาปรามาสคนอื่น ผู้เป็นกัลยาณมิตร


กัลยาณมิตร เป็นไงขอรับ บุคคลเช่นไร เรียกว่า กัลยาณมิตร :b10:


คำว่า ปรามาส ได้ยินบ่อยๆ หมายถึงยังไงอ่ะ ปรามาส :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2013, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อนึ่งเพื่อความเข้าใจ เพราะเห็นกรัชกายกำลังสับสนธรรม
การเอาเรื่องสมมติสัจจะกับปรมัตถ์สัจจะมาสนทนา จะต้องสนทนาในลักษณะของกรรมฐาน
ไม่ใช่เอาเรื่องสมมติสัจจะ มาผูกโยงกับเรื่องในสังคม



อ้างคำพูด:
การเอาเรื่องสมมติสัจจะกับปรมัตถ์สัจจะมาสนทนา จะต้องสนทนาในลักษณะของกรรมฐาน


อะไรขอรับกัมมัฏฐาน เป็นไงอ่ะ ช่วยอธิบายลักษณะกัมมัฏฐานหน่อยดิขอรับ :b10: :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2013, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ส่วนปรมัตถสัจจะ (จริงโดยความหมายสูงสุด) ไม่ขึ้นต่อเรื่อง/สิ่งดังกล่าวมานั้น ปรมัตถสัจจะ เป็นเรื่องของธรรมชาติ :b1: คนจะว่ากันยังไง มันไม่ฟังตามใคร มันก็เป็นตามเหตุปัจจัยของมัน

พอมองออกมั้ยขอรับ


ความจริงสูงสุดคือ นิพพาน
พูดง่ายๆก็คือนิพพานเป็นปรมัตถ์ธรรม เป็นธรรมที่สูงสุดในปรมัตถ์

ปรมัตถ์และสมมติ เป็นธรรมชาติทั้งคู่ การรู้แจ้งในปรมัตถ์ก็คือรู้แจ้งในสมมติ

ทั้งปรมัตถ์และสมมติ ไม่มีสิ่งใดสูงกว่ากัน
เพียงแต่ในปรมัตถ์ นิพพานเป็นธรรมที่สูงสุด หรือกล่าวได้ว่า เป็นการรู้แจ้งสุดท้ายแห่งธรรม :b32:



นิพพานสูงสุดยังไงขอรับ แล้วนิพพานตามที่โฮฮับพูดถึงเนี่ย เป็นยังไง นิพพาน :b13:


ดังๆชัดๆ :b1: ทีละเรื่องทีละประเด็นๆไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร