วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 23:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2013, 04:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
เมื่อแรกๆ ก็เก็บข้อมูลต่างๆเข้าสมองแบบไม่เลือก....หลังจากนั้นไม่นานพอเริ่มเหนื่อยและหนักกับความรู้(เห็นทุกข์) ก็จึงเริ่มมีปัญญา วิเคราะห์ วิตก วิจารณ์ วินิจฉัย ตัดสินใจ คัดเลือก เลือกเฟ้น ข้อมูลเข้ามาบรรจุในสมอง

การรับรู้หรือการเก็บข้อมูลต่างๆ แบบไม่เลือกอย่างที่โสกะบอก มันเป็นธรรมะเป็นธรรมชาติ
มันเลือกไม่ได้ ความสำคัญมันอยู่เราต้องรู้ว่า สิ่งที่มันเข้ามาในสมองเรา อย่างไหนถูก
อย่างไหนผิด

การเลือกเฟ้น วิตก วิจารณ์ฯ ไม่ใช่เลือกว่าจะเอาหรือไม่เอาสิ่งใด
แต่เป็นการเลือกเฟ้นว่าสิ่งที่ผ่านเข้ามาในสมอง สิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด


อาจจะยากเกินความเข้าใจ แต่ก็อยากให้รู้ สภาพธรรมที่เกี่ยวกับปัญญา
มันสภาพธรรมที่เป็นคู่ นั้นก็คือ อวิชาและวิชชา

วิชชาก็คือรู้ว่า อวิชาคืออะไร ดังนั้นปัญญาจะเกิดได้บุคคลจะต้องรู้ถูกและรู้ผิด
ควบคู่กันไป


asoka เขียน:
แต่ก็อีกนั่นแหละ มันจะเลือกเฟ้นเอาแต่สิ่งที่ชอบ ที่อยาก ปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ชอบไม่อยาก.....ในที่สุดก็ทุกข์มากขึ้นกว่าเก่า และละเอียดลึกซึ้ง ซับซ้อนยิ่งขึ้น มีวิบากคือภาระที่ต้องแบกรับมากขึ้น อุทธัจจะ และกุกุจจะ จากอารมณ์ที่ชอบและไม่ชอบจะทวีมีมากขึ้น จนถึงระดับทุกข์แสนสาหัส คือหยุดความคินึกฟุ้งซ่าน รำคาญในใจตนเองไม่ได้

มันคนล่ะเรื่อง สิ่งที่ผ่านเข้ามาในกายใจเรา เราเลือกไม่ได้
ส่วนเรื่องชอบไม่ชอบ มันเกิดจากจิตที่มีกิเลส ไม่เกี่ยวกับความรู้ที่สมองไปรับเข้ามา
จิตมีกิเลส ก็คือจิตที่มีการปรุงแต่งต่อสิ่งที่ผ่านเข้ามา มันเป็นเรื่องของจิต ส่วนความรู้ความจำ
เป็นเรื่องของกาย

ความรู้ที่สมองเก็บเอาไว้เป็นสัญญา ไม่ได้ทำให้ทุกข์ แต่สิ่งที่ทำให้ทุกข์คือ กิเลสวิจิกิจฉา
ฉะนั้นต้องแยกกันให้ดี มิเช่นนั้นจะทำให้เห็นกุศลเป็นอกุศลไป

asoka เขียน:
ถึงจุดที่ทุกขัง ความทนอยู่ไม่ได้ ชัดเจนเช่นนี้แล้ว ผู้คนทั้งหลายจึงจะวิ่งวุ่นแสวหาทางพ้นทุกข์.....ตอนนั้นแหละที่จะรู้ซึ้งรู้จริงว่า

พูดไม่ได้ศัพท์ เละทั้งทางโลกและทางธรรม หัวมังกุท้ายมังกร

ทุกขัง ความทนอยู่ไม่ได้ เป็นปัญญารู้สภาพที่ทำให้เกิดทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์
นี่เป็นการบอกให้รู้ว่า ความรู้เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่รู้แล้วทุกข์ตามที่โสกะบอก
กลับขาวเป็นดำเฉยเลย
asoka เขียน:
"รู้มาก ทำให้ยากนาน" ..."รู้น้อย พลอยรำคาญ"........แล้วจะรู้อย่างไรจึงจะเป็นแก่นเป็นสาร
เป็นงานเป็นการจริงๆ โดยไม่หนักใจและรกสมองเปล่าๆ ไปด้วยขยะความรู้

ริจะยกสำนวนมาพูดในที่สาธารณะ แต่ไม่เข้าใจความหมายที่แท้ของสำนวน
แบบนี้หาเรื่องให้อายชาวบ้านเขานะครับโสกะ
กรุณาแยกแยะบัญญัติก่อนที่จะมาพูด มีสติพิจารณาสิ่งที่กำลังสนทนาให้รอบด้าน

คำว่า..."รู้มาก ทำให้ยากนาน รู้น้อยพลอยรำคาญ" ที่โสกะยกมา นี่เป็นสำนวนประชดประชัน
ความหมายของคำว่า "รู้มาก" มันไม่ได้หมายถึง คนที่มีความรู้มากๆ

แต่มันหมายถึงคนที่รู้ไม่จริง พูดมากแต่หาสาระและเหตุผลไม่ได้
หรือเรียกว่า คนที่เพ้อเจ้อพูดจาผิดหลักธรรมะหลักความจริงของธรรมชาติ
ตัวอย่างก็มีให้เห็น


ส่วน"รู้น้อย พลอยรำคาญ" ก็คือคนที่รู้จริง รู้แต่สาระตามเหตุผล
เมื่อต้องมาเจอคนที่พูดมากขาดเหตุผล พูดเหมือนคนเพ้อเจ้อ
นี่แหล่ะทำให้เกิดรำคาญ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2013, 17:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s002
อ้างคำพูด:
การรับรู้หรือการเก็บข้อมูลต่างๆ แบบไม่เลือกอย่างที่โสกะบอก มันเป็นธรรมะเป็นธรรมชาติ มันเลือกไม่ได้ ความสำคัญมันอยู่เราต้องรู้ว่า สิ่งที่มันเข้ามาในสมองเรา อย่างไหนถูกอย่างไหนผิด

Onion_L
เฉพาะข้อความท่อนแรกนี้ ก็พอมองออกแล้วว่าคุณโฮฮับ ไม่ได้เอาธรรมะขั้นพื้นฐานตามโอวาทปาติโมกข์ และสมาธิมรรคข้อที่ 1 คือสัมมาวายามะมาใช้ในชีวิตจริง หรือใช้ไม่เป็น ใช้ไไม่ได้ เพราะความเห็นผิดที่ไปยึดว่า อริยมรรคมีองค์แปดนั้นทำได้เฉพาะผู้ที่เป็นอริยบุคคลเท่านั้น
grin
การรับรู้หรือการเก็บข้อมูลมาใส่ใจใส่สมองนั้น ผู้มีสติปัญญาดี มีปฏิภานไหวพริบเฉลียวฉลาด ย่อมต้องรู้จักเลือกเฟ้นคัดสรรเอาแต่สิ่งที่ใช่และเป็นประโยชน์มาใส่

โอวาทปาติโมกข์ 2 ข้อแรก พระบรมศาสดาทรงสอนให้

ละชั่ว โดยการปฏิบัติตามศีล

ทำแต่ดี โดยปฏิบัติตามบุญกิริยาวัตถุ 10 อย่าง

ทั้ง 2 ข้อนี้ ย่อมเลือกปฏิบัติได้ ไม่ใช่บอกว่า "มันเป็นธรรมะเป็นธรรมชาติ มันเลือกไม่ได้" อย่างที่คุณโฮฮับพูด


ในสัมมาวายามะ 4 ข้อ ซึ่งก็เหมือนกับสัมมัปธานทั้ง 4 ข้อนั้น ท่านให้ บาปอกุศลเก่าๆเพียรละ.....บาปอกุศลใหม่ๆเพียรระวังไม่ให้เกิด.....กุศลเก่าๆเพียรรักษาและทำให้เจริญงอกงาม .....กุศลใหม่ๆเพียรทำให้เกิด.....นั่นก็คือการสอนให้รู้จักคัดสรรเลือกเฟ้นธรรม ทำไมคุณโฮฮับไม่เอามาใช้

ส่วนโอวาทปาติโมกข์ข้อที่ 3 การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ซึ่งต้องใช้วิชาวิปัสสนาภาวนาของพระพุทธเจ้า วิปัสสนาคือการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ อันมีมรรค 8 รวมอยู่ด้วยนั่นเอง
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 03:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
อ้างคำพูด:
การรับรู้หรือการเก็บข้อมูลต่างๆ แบบไม่เลือกอย่างที่โสกะบอก มันเป็นธรรมะเป็นธรรมชาติ มันเลือกไม่ได้ ความสำคัญมันอยู่เราต้องรู้ว่า สิ่งที่มันเข้ามาในสมองเรา อย่างไหนถูกอย่างไหนผิด

Onion_L
เฉพาะข้อความท่อนแรกนี้ ก็พอมองออกแล้วว่าคุณโฮฮับ ไม่ได้เอาธรรมะขั้นพื้นฐานตามโอวาทปาติโมกข์ และสมาธิมรรคข้อที่ 1 คือสัมมาวายามะมาใช้ในชีวิตจริง หรือใช้ไม่เป็น ใช้ไไม่ได้ เพราะความเห็นผิดที่ไปยึดว่า อริยมรรคมีองค์แปดนั้นทำได้เฉพาะผู้ที่เป็นอริยบุคคลเท่านั้น

ฟุ้งไปเรื่อย ไม่รู้เรื่องโยงโน้นนี่นั้นให้มั่วไปหมด
เรื่องสัมมาวายามะนี่ก็อีก ขาดสติ ขาดความรู้ จึงทำให้พูดขัดกันเอง
พูดอะไรก็ไม่รู้ผสมปนเปกันไปหมด พูดถึง"ธรรมะขั้นพื้นฐาน " แต่ดันไปอ้าง สัมมาวายามะ
บอกสมาธิมรรคข้อที่หนึ่ง ไผล่ไปสัมมาวายามะ......ทำธรรมะซะเละ

โสกะเอ๊ย! จะอธิบายให้ฟัง สัมมาวายามะเป็นผลในการปฏิบัติในเรื่อง...ความเพียร
หมายความว่า เราจะต้องปฏิบัติความเพียรอย่างไร จึงจะเป็นสัมมาวายามะ

แล้วจะปฏิบัติความเพียรกับอะไร จึงจะเป็นสัมมาวายามะ
นั้นก็คือ เอาความเพียรไปใช้ในเรื่องของ...อิทธิบาท....สติปัฏฐาน...สัมมัธปธาน...
อินทรีย์...พละ...โพชฌงค์
ปฏิบัติธรรมที่กล่าวมาอย่างพร้อมเพียง ผลที่ได้ก็คือ.....ความเพียรนั้นเป็น สัมมาวายามะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 03:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
การรับรู้หรือการเก็บข้อมูลมาใส่ใจใส่สมองนั้น ผู้มีสติปัญญาดี มีปฏิภานไหวพริบเฉลียวฉลาด ย่อมต้องรู้จักเลือกเฟ้นคัดสรรเอาแต่สิ่งที่ใช่และเป็นประโยชน์มาใส่

พูดจากลับตาลปัตร คนน่ะไม่ใช่หุ่นยนต์ ถึงจะเลือกเก็บข้อมูลได้
คนที่มีปฏิภานดีเป็นเพราะเขาเก็บทุกเรื่อง ที่ได้ยินได้ฟังมา
มันสำคัญตอนที่จะเอาออกมาใช้ ...คนมีปฏิภานไหวพริบ เขารู้จักเลือกที่จะใช้ข้อมูลอย่างไร

ดังนั้นคนมีปฏิภานจึงเป็นผู้เลือกใช้ จึงเรียกว่ามีไหวพริบ
เลือกเก็บมันเลือกไม่ได้ เพราะคนไม่ใช่คอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์

asoka เขียน:
โอวาทปาติโมกข์ 2 ข้อแรก พระบรมศาสดาทรงสอนให้
ละชั่ว โดยการปฏิบัติตามศีล
ทำแต่ดี โดยปฏิบัติตามบุญกิริยาวัตถุ 10 อย่าง
ทั้ง 2 ข้อนี้ ย่อมเลือกปฏิบัติได้ ไม่ใช่บอกว่า "มันเป็นธรรมะเป็นธรรมชาติ มันเลือกไม่ได้"


ที่โสกะยกมาเขาเรียกว่า........เลือกใช้
ไม่ใช่เลือกเก็บ เข้าใจไว้ด้วย :b6:

asoka เขียน:

ในสัมมาวายามะ 4 ข้อ ซึ่งก็เหมือนกับสัมมัปธานทั้ง 4 ข้อนั้น ท่านให้ บาปอกุศลเก่าๆเพียรละ.....บาปอกุศลใหม่ๆเพียรระวังไม่ให้เกิด.....กุศลเก่าๆเพียรรักษาและทำให้เจริญงอกงาม .....กุศลใหม่ๆเพียรทำให้เกิด.....นั่นก็คือการสอนให้รู้จักคัดสรรเลือกเฟ้นธรรม ทำไมคุณโฮฮับไม่เอามาใช้

ส่วนโอวาทปาติโมกข์ข้อที่ 3 การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ซึ่งต้องใช้วิชาวิปัสสนาภาวนาของพระพุทธเจ้า วิปัสสนาคือการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ อันมีมรรค 8 รวมอยู่ด้วยนั่นเอง
:b38:

เพ้อเจ้อหรือเปล่าครับ สัมมาวายามะศาสนาไหนครับมี๔ข้อ
การปฏิบัติในสัมมัปธาน ความพยายามที่ใช้เขาเรียกว่า...ความเพียรหรือวิริยะ

เอาอย่างนี้ในเบื้องต้น โสกะแค่จำไว้ว่า วิริยะหรือความเพียรยังไม่ใช่สัมมาวายามะ
วิริยะหรือความเพียร จะต้องผ่านขั้นตอนของโพชฌงค์ นั้นก็คือ.................

ต้องวางอุเบกขาตัววิริยะหรือความเพียรนั้นเสียก่อน นี่แหล่ะจึงจะเกิด สัมมาวายามะ :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 06:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
อ้างคำพูด:
การรับรู้หรือการเก็บข้อมูลต่างๆ แบบไม่เลือกอย่างที่โสกะบอก มันเป็นธรรมะเป็นธรรมชาติ มันเลือกไม่ได้ ความสำคัญมันอยู่เราต้องรู้ว่า สิ่งที่มันเข้ามาในสมองเรา อย่างไหนถูกอย่างไหนผิด

Onion_L
เฉพาะข้อความท่อนแรกนี้ ก็พอมองออกแล้วว่าคุณโฮฮับ ไม่ได้เอาธรรมะขั้นพื้นฐานตามโอวาทปาติโมกข์ และสมาธิมรรคข้อที่ 1 คือสัมมาวายามะมาใช้ในชีวิตจริง หรือใช้ไม่เป็น ใช้ไไม่ได้ เพราะความเห็นผิดที่ไปยึดว่า อริยมรรคมีองค์แปดนั้นทำได้เฉพาะผู้ที่เป็นอริยบุคคลเท่านั้น

ฟุ้งไปเรื่อย ไม่รู้เรื่องโยงโน้นนี่นั้นให้มั่วไปหมด
เรื่องสัมมาวายามะนี่ก็อีก ขาดสติ ขาดความรู้ จึงทำให้พูดขัดกันเอง
พูดอะไรก็ไม่รู้ผสมปนเปกันไปหมด พูดถึง"ธรรมะขั้นพื้นฐาน " แต่ดันไปอ้าง สัมมาวายามะ
บอกสมาธิมรรคข้อที่หนึ่ง ไผล่ไปสัมมาวายามะ......ทำธรรมะซะเละ

โสกะเอ๊ย! จะอธิบายให้ฟัง สัมมาวายามะเป็นผลในการปฏิบัติในเรื่อง...ความเพียร
หมายความว่า เราจะต้องปฏิบัติความเพียรอย่างไร จึงจะเป็นสัมมาวายามะ

แล้วจะปฏิบัติความเพียรกับอะไร จึงจะเป็นสัมมาวายามะ
นั้นก็คือ เอาความเพียรไปใช้ในเรื่องของ...อิทธิบาท....สติปัฏฐาน...สัมมัธปธาน...
อินทรีย์...พละ...โพชฌงค์
ปฏิบัติธรรมที่กล่าวมาอย่างพร้อมเพียง ผลที่ได้ก็คือ.....ความเพียรนั้นเป็น สัมมาวายามะ

Onion_L
นี่คุณโฮฮับแต่งตำราเอาเองแล้วนะครับ ลองไปเปิดดูสวดมนต์แปล มรรคมีองค์แปดดูดีๆนะครับเพราะอาการของคุณโฮฮับขณะนี้คือไม่เชื่อตามคำอธิบายที่พระบรมศาสดาทรงแสดงให้รู้ในเรื่องมัชฌิมาปฏิปทา คือมรรคมีองค์ 8 แล้วไปออกคำแนะนำใหม่ที่เกินเลยจากที่พระบรมศาสดาทรงแสดงไว้อย่างชัดเจน
s005 s005 s005
สัมมาวายามะ....ความเพียรชอบนั้นเป็นอย่างไรเล่า
แล้วก็มีคำแปลออกมาสรุปได้ 4 ข้อว่า
1.บาปอกุศลเก่าๆ...... เพียรละ
2.บาปอกุศลใหม่ๆ..... เพียรระวัง
3.กุศลเก่าๆ ....เพียรรักษาและทำให้เจริญงอกงาม
4.กุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด.......เพียรทำให้เกิด....ข้อ 4 นี่สำคัญมากคนส่วนมากก็มักจะเห็นไม่ถึงคือ
onion onion onion
กุศลใหม่ๆที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นในจิตในใจของปุถุชนทั้งหลาย คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1......เพียรทำให้เกิดขึ้นไปตามลำดับๆ

:b10:
อ้างคำพูด:
แล้วจะปฏิบัติความเพียรกับอะไร จึงจะเป็นสัมมาวายามะ
นั้นก็คือ เอาความเพียรไปใช้ในเรื่องของ...อิทธิบาท....สติปัฏฐาน...สัมมัธปธาน...
อินทรีย์...พละ...โพชฌงค์

:b12: :b12: :b12:
ความท่อนที่อ้างมานี้ก็อีกเช่นกัน มันแสดงถึงความขัดแย้งอันเนื่องจากความที่รู้และแปลมาไม่ถูกต้อง จนเห็นผิดของคุณโฮฮับ

คุณโฺฮฮับบอกว่า.....อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นธรรมสำหรับพระอริยเจ้าขึ้นไปจะนำมาปฏิบัติได้.....

แต่นี่บอกว่า สัมมาวายามะ ซึ่งเป็นสมาธิมรรคข้อที่ 1 เป็นมรรค ข้อที่ 6(ซึ่งลำดับแห่งมรรคทั้ง 8 ข้อเป็นอย่างไรคุณโฮฮับก็ยังไม่รู้ละเอียด จนกล่าววาจาจ้วงจาบไปด้วยความไม่รู้) คือ
อ้างคำพูด:
เอาความเพียรไปใช้ในเรื่องของ...อิทธิบาท....สติปัฏฐาน...สัมมัธปธาน...อินทรีย์...พละ...โพชฌงค์

:b34:
ลิ้นพันกันละกระมังครับคุณโฮฮับ
:b18: :b18:
เอากันอย่างนี้ดีกว่านะครับ คุณโฮฮับ อย่ามาเถียงและท้วงติงผมอยู่เลย เดี๋ยวมีคำพูดแรงๆจากโทสะ ปฏิฆะของใครบางคนปรากฏขึ้นในกระทู้นี้ กระทู้ดีๆ ก็อาจจะถูกล๊อคไปได้ เหมือนอย่างที่คุณโฮฮับทำให้โดนล๊อคไปหลายกระทู้แล้วนะครับ เรามาแสดงธรรมไปทางใครทางมันดีกว่า ผู้อ่านและผู้รักษาลานท่านจะมีปัญญาวินิจฉัยตัดสินใจเอาเองว่าใดใช่ ใดไม่ใช่.......ซึ่งก็ไม่เป็นหน้าที่ของคุณโฮฮับจะต้องมาตัดสินว่าผมผิดหรือถูก
Onion_L
ก่อนจบความท่อนนี้ก็ขอเตือนตามคาดแดงในสิ่งที่คุณโฮเขียนมาว่า บัณฑิต กัลยาณมิตร กัลยาณธรรม คำแบบนี้ไม่ควรเอามาโพสต์ต่อสาธารณะนะครับ
:b8:
อ้างคำพูด:
ฟุ้งไปเรื่อย ไม่รู้เรื่องโยงโน้นนี่นั้นให้มั่วไปหมด
เรื่องสัมมาวายามะนี่ก็อีก ขาดสติ ขาดความรู้ จึงทำให้พูดขัดกันเอง
พูดอะไรก็ไม่รู้ผสมปนเปกันไปหมด พูดถึง"ธรรมะขั้นพื้นฐาน " แต่ดันไปอ้าง สัมมาวายามะ
บอกสมาธิมรรคข้อที่หนึ่ง ไผล่ไปสัมมาวายามะ......ทำธรรมะซะเละ

[b]โสกะเอ๊ย! จะอธิบายให้ฟัง สัมมาวายามะเป็นผลในการปฏิบัติในเรื่อง...ความเพียร
หมายความว่า เราจะต้องปฏิบัติความเพียรอย่างไร จึงจะเป็นสัมมาวายามะ

:b34: :b34:
ดูถ้อยคำและเรื่องราวที่ตนเองแสดงแล้วลองพิจารณาว่า มันเข้าตำราที่ว่า....."ว่าให้เขา อิหนาเป็นเอง" หรือเปล่านะครับ
:b12: :b12: :b12: :b12:
ยังไม่สายเกินไปที่จะนำข้อความที่หลวงปู่ชาเขียนไว้ให้ทำป้ายติดหน้าวัดสาขาหนองป่าพงเกือบทุกแห่งว่า

"ที่นี่...เพื่อคลายพยศ...ลดมานะ...ละทิฏฐิ"
:b11:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 07:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรคกับอริยมรรค

ความแตกต่างระหว่าง มรรคมีองค์ ๘ กับ อริยมรรค มีองค์ ๘


มรรค มีองค์ ๘ กับ สติปัฏฐาน ๔(โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ) เป็น ปัจจุบันธรรม เป็นสภาวะ ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันขณะ ขณะผัสสะเกิด ในชีวิตแต่ละขณะๆๆๆๆๆ(วิธีการดับภพชาติปัจจุบัน/นิพพาน)

อริยมรรค มีองค์ ๘ กับ มหาสติปัฏฐาน ๔(โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ) เป็น สภาวะที่เกิดขึ้น ขณะ จิตตั้งมั่นอยู่ ในขณะที่ปฏิบัติ เต็มรูปแบบ (วิธีการการดับภพชาติ การเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏฏสงสาร/นิพพาน)


จะรู้วิธีการ ต้องแจ้งในสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริงก่อน

เมื่อแจ้งในสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง เป็นเหตุให้แจ้งในสภาวะ ปฏิจจสมุปบาท ตามความเป็นจริง

เมื่อแจ้งใน สภาวะปฏิจจสมุปบาท ตามความเป็นจริง เป็นเหตุให้แจ้งใน สภาวะโยโนิโสมนสิการ ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นวิธีการปฏิบัติ เพื่อไปให้ถึง ที่สุดแห่งทุกข์(นิพพาน)


ถ้าเห็นตามความเป็นจริง ที่เกิดขึ้นของ สภาวะโยนิโสมนสิการ จะรู้เหมือนๆกันว่า โยนิโสมนสิการ เป็นธรรมที่มีอุปการะคุณมากที่สุด ทั้งทางโลก(ตัดภพชาติปัจจุบัน) และทางธรรม(ตัดภพชาติ การเวียนว่าย ในวัฏฏสงสาร)

โยนิโสมนสิการ จึงเป็นธรรมที่มีอุปการะคุณมากที่สุด เพราะเป็นเหตุของเกิด โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจาก โยนิโสมนสิการ เป็นเหตุปัจจัย


การใช้หลักโยนิโสมนสิการ สภาวะไตรลักษณ์ ย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย โดยไม่ต้องไปน้อมเอา หรือคิดเพื่อทำให้เกิดขึ้นแต่อย่างใด

ถ้าต้องการเป็นโสดาบันบุคคล(โสดาปัตติมรรรค-โสดาปัตติผล) ในชาตินี้ ใช้หลักโยนิโสมนสิการ ทั้งการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติ ย่อมถึงที่สุดแห่งทุกข์ ได้แน่นอน

โยนิโสมนสิการกับปัญญา เป็นคนละสภาวะกัน

โยนิโสมนสิการ เป็นเหตุของการเกิดปัญญา คือ สัมมาทิฏฐิ

แม้พวกสัตว์มีแพะ แกะ โค กระบือ อูฐ เป็นต้น ไม่สามารถมีโยนิโสมนสิการได้ เพราะ สัตว์ ไม่สามารถแยกแยะสภาวะที่เกิดขึ้นภายในจิตได้

สัตว์ จึงไม่สามารถ สร้างโยนิโสมนสิการ ให้เกิดขึ้นกับตัวเองได้ เหตุเพราะ ไม่สามารถหยุดสร้างเหตุ ที่เกิดจาก ความรู้สึกนึกคิด ของตนได้

ฉะนั้น สัตว์ จึงไม่สามารถปฏิบัติ ตามหลักวิธีการ โยนิโสมนสิการได้

ส่วนมนุษย์ สามารถใช้หลักโยนิโสมนสิการ ในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติได้ เนื่องจาก สามารถปฏิบัติตามได้ ถึงแม้ไม่ได้รู้สภาวะโยนิโสมนสิการ ตามความเป็นจริง ด้วยตนเอง


ตัวอย่างของ สภาวะโยนิโสมนสิการ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 14&A=10912

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 27 ส.ค. 2013, 09:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คำที่ควรกล่าว


ภิกษุทั้งหลาย ! บาปกรรมแม้ประมาณน้อย
บุคคล บางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้น นำเขาไปนรกได้

ส่วนบาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บางคนทำแล้ว
กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมาก ต่อไปเลย…

ภิกษุทั้งหลาย ! ใครกล่าวว่า
คนทำกรรม อย่างใดๆ ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้

เมื่อเป็นอย่างนั้นๆ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีไม่ได้
ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ

ส่วนใครกล่าวว่า

คนทำกรรมอันจะพึงให้ผล อย่างใดๆ ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้
เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้
ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ.
ติก. อํ. ๒๐/๓๒๐/๕๔๐.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 08:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


"ซึ่งก็ไม่เป็นหน้าที่ของคุณโฮฮับจะต้องมาตัดสินว่าผมผิดหรือถูก"


"ว่าให้เขา อิหนาเป็นเอง"


:b32:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาทุกๆท่านครับ :b48: :b8: :b8: :b8: :b48:

:b47: http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=20988


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 21:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
"ซึ่งก็ไม่เป็นหน้าที่ของคุณโฮฮับจะต้องมาตัดสินว่าผมผิดหรือถูก"


"ว่าให้เขา อิหนาเป็นเอง"


:b32:

:b12: :b12: :b12: :b12:
เพราะความเห็นผิดที่ไปยึดว่า อริยมรรคมีองค์แปดนั้นทำได้เฉพาะผู้ที่เป็นอริยบุคคลเท่านั้น
:b16: :b16: :b16: :b16:
บุพพเจตนาต่างกันมากครับ คุณวลัยพร ลองไปทบทวนดูข้อความที่คุณโฮฮับเขียนมาทั้งหมดนะครับ
:b20:
ขอบคุณที่ให้สติ
:b8:


แก้ไขล่าสุดโดย asoka เมื่อ 27 ส.ค. 2013, 21:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 21:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
เมื่อบุคคลต้องการโลกุตระ
ให้ตกแต่งอริยมรรคให้ถูกต้องตามพระพุทธพจน์เดิมของพระพุทธเจ้า

:b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 21:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




ผังทางไปนิพพาน_0001_resize_resize.jpg
ผังทางไปนิพพาน_0001_resize_resize.jpg [ 39.93 KiB | เปิดดู 3076 ครั้ง ]
onion onion onion
สรุปถึงตรงนี้ว่า...."รู้มากยากนาน".....คือถ้ารู้แล้ว่คิดนึก วิตก วิจารณ์ ฟุ้งซ่านมากในความรู้จนจิตไม่สงบ หยุดความนึกคิดไม่ได้ หรือต้องใช้เวลามากในการสงบความนึกคิดปรุงแต่ง.....นั้นแหละทำให้ยากนาน
grin
ถ้ารู้แล้วยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการภาวนา ละวิจิกิจฉาได้เร็ว คล่องแคล่ว ฉับไว ทันใจ ยิ่งขึ้น อย่างนี้ไม่ยากนาน นะครับ
Kiss
ต่อไปเราคงจะได้สนทนากันว่า...."รู้น้อย พลอยรำคาญ" นั้นจะเป็นฉันใด แล้วค่อยไปลงท้ายด้วย

"รู้พอดีๆ คือรู้ที่แก่นสาร" กันนะครับ

:b1: :b1:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 22:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยมรรคสมังคี

คำพูดที่เรียกว่า อริยมรรคสมังคี เป็นคำพูดเรียกชื่อแห่งภูมิจิต ที่นักปฏิบัติได้นั่งสมาธิรวมจิตลงถึงความเป็นหนึ่งแล้ว และในที่ประชุมแห่งอริยมรรคสมังคีนั้น เป็นที่ประชุมพร้อมแห่งองค์อริยมรรคทั้ง ๘ ประการประชุมพร้อมอยู่เองด้วย อริยสัจธรรมทั้ง ๔ ประการก็ประชุมพร้อมอยู่เองด้วย ตลอดพระธรรมวินัยทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็ประชุมพร้อมอยู่เองในขณะจิตอันเดียวกันนั้นด้วย

นักปฏิบัติ ผู้รู้เร็ว สามารถรู้พร้อมในขณะจิตที่รวมลงเป็นหนึ่งนิ่งถึงที่ประชุมแห่งอริยมรรคสมังคีนั้นโดยเร็ว เรียกว่า สุขะ ปฏิปทาขิปปาภิญญา แต่นักปฏิบัติ ผู้รู้ช้า ก็ไม่สามารถจะรู้เร็วพร้อมในขณะที่จิตรวมลงถึงความเป็นหนึ่งแห่งอริยมรรคสมังคี เรียกว่า สุขะ ปฏิปทา ทันธาภิญญา

อีกโวหารหนึ่ง โบราณาจารย์เจ้า เรียกว่า เอกะ วิธา พิสมัย แปลว่า ตรัสรู้ได้ในขณะจิตดวงเดียว

บัดนี้จะอธิบาย คำว่า มรรค อริยมรรค ผล อริยผล นั้นต่อไป
คำว่า มรรค เป็นชื่อ แห่งหนทางทั่วไปในมนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ตลอดเป็นชื่อแห่งหนทางพระนวโลกุตระ คือทางพระนิพพาน
คำว่า อริยมรรค เป็นชื่อแห่งหนทางพระนวโลกุตระ คือ เป็นชื่อแห่งหนทางพระนิพพานอย่างเดียว ไม่ทั่วไปในหนทางอื่นๆ
คำว่า ผล เป็นชื่อแห่ง ความสำเร็จ หรือ ความบรรลุ ตลอดความตรัสรู้ ว่าโดยเฉพาะในทางโลกีย์ หมายเอา ความสำเร็จผลที่ตนต้องการ ในทางโลกุตระ หมายดวงปัญญา
คำว่า อริยผล เป็นชื่อแห่งมรรค ผล ธรรมวิเศษในทางโลกุตระอย่างเดียว ไม่เกี่ยวข้องในทางโลกีย์

บัดนี้ จะอธิบาย เหตุ หรือ ปัจจัยที่ให้บังเกิดมีมรรค มีผลขึ้น ข้อนี้ นักปฏิบัติ พึงทราบดังนี้ว่า
มรรค ก็ดี อริยมรรค ก็ดี ตกแต่งเอาเองได้
ผล ก็ดี อริยผล ก็ดี ตกแต่งเอาเองไม่ได้ เป็นของเป็นเอง หรือ สำเร็จเองมาจากมรรค และอริยมรรคที่ตกแต่งถูกต้องแล้ว
เมื่อบุคคลต้องการผลประโยชน์ในทางโลกีย์ ก็ให้พึงตกแต่งมรรคในทางโลกีย์ให้ถูกต้อง คือ ต้องการเดินไปมาสะดวก ก็ให้ตกแต่งถนนหนทางให้เรียบร้อย ต้องการมีวิชาความรู้ ก็ให้ศึกษาเล่าเรียนวิชาความรู้ต่อครู อาจารย์ ถ้าต้องการความมั่งคั่งบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติมากๆ ให้ตกแต่งการค้าขายให้ถูกต้องในทางสุจริตธรรม ถ้าต้องการเป็นคนดี ก็ให้ตกแต่งความประพฤติตนให้เป็นคนซื่อสัตย์ สุจริตธรรม ถ้าต้องการเป็นคนมีชื่อเสียงยศถาบรรดาศักดิ์ ให้ตกแต่งตนเป็นคนทำราชการแผ่นดินให้ถูกต้องในทางราชการนิยม เมื่อบุคคลต้องการโลกุตระ ให้ตกแต่งอริยมรรคให้ถูกต้องตามพระพุทธพจน์เดิมของพระพุทธเจ้า ซึ่งจะแสดงในข้อต่อไปข้างหน้า ในที่นี้มีประสงค์จะแสดงรูปเปรียบไว้พอเป็นนิทัศนะ

มรรค กับ ผล มีรูปเปรียบเหมือนบุคคลปลูกต้นไม้ลงในพื้นที่ไร่ ที่สวน หรือปลูกต้นข้าวลงในพื้นที่นา ในเวลากำลังปลูกอยู่ก็ดี และเวลาบังเกิดเป็นต้น เป็นลำแล้ว แต่ต้นลำยังอ่อนอยู่ก็ดี ย่อมไม่แลเห็นผล อาศัยความเชื่อแน่ในใจว่า ถ้าต้นลำแก่เต็มที่ และถึงฤดูเป็นผล ก็จะต้องเป็นผลแน่ และเป็นผลจริงๆ ด้วย ฉันใดก็ดี มรรค กับ ผล ก็มีรูปเปรียบเหมือนกัน ฉะนั้น

อริยมรรค กับ อริยผล มีรูปเปรียบเหมือนบุคคลก่อไฟ หรือจุดตะเกียงเจ้าพายุ ในเวลากำลังก่อไฟ หรือกำลังจุดตะเกียงเจ้าพายุอยู่นั้น ไฟยังไม่ติด ก็ยังไม่สว่างฉันใด อริยมรรค ก็เหมือนกัน ฉะนั้น ต่อเมื่อเวลาก่อไฟติดแล้วหรือจุดตะเกียงเจ้าพายุติดแล้ว ย่อมบังเกิดแสงสว่างขึ้นพร้อมกัน ฉันใดก็ดี อริยผล ก็มีรูปเปรียบเหมือนกันฉะนั้น ตรงตามพระพุทธภาษิตว่า นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา แปลว่า แสงสว่าง เสมอด้วย ปัญญาไม่มี ดังนี้ ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า อริยผล คือ ดวงปัญญาซึ่งบังเกิดความสว่างไสวขึ้นในเวลาที่จิตประชุมอริยมรรคแล้ว

วิธีตกแต่งอริยมรรค

นักปฏิบัติฝ่ายฆราวาส พึงตกแต่งตนให้ถึงพระไตรสรณคมน์ เป็นโลกียสรณคมน์ก่อนแล้วปฏิบัติตนให้ถึงโลกุตรสรณคมน์ต่อไป และตกแต่งทาน ตกแต่งศีล ตกแต่งข้อวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องเรียบร้อยทุกประการ ตลอดตกแต่ง สติ สัมปชัญญะ รวมจิตให้สงบแลตั้งมั่นเป็นสมาธิ ประชุมอริยมรรคสมังคี ดังนี้ชื่อว่าตกแต่งอริยมรรค

นักปฏิบัติฝ่ายบรรพชิต ให้ตกแต่งศีลธรรม ๕ ประการ คือ
๑. พึงตกแต่ง สมบัติทั้ง ๕ ให้ปราศจากวิบัติทั้ง ๕ คือ
ก. ตกแต่ง วัตถุสมบัติ ให้ปราศจากวัตถุวิบัติ
ข. ตกแต่ง สีมาสมบัติ ให้ปราศจากสีมาวิบัติ
ค. ตกแต่ง ญัตติสมบัติ ให้ปราศจากญัตติวิบัติ
ง. ตกแต่ง อนุสาวนสมบัติ ให้ปราศจากอนุสาวนวิบัติ
จ. ตกแต่ง ปริสสมบัติ ให้ปราศจากปริสวิบัติ
๒. พึงตกแต่ง กาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์ ปราศจากโทษ ๕ โทษ ๘ โทษ ๑๐ โทษ ๒๒๗ ทรงไว้ซึ่งความเป็นผู้มีศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ และจตุปาริสุทธศีลทั้ง ๔ ประการให้บริสุทธิ์เรียบร้อย
๓. พึงตกแต่ง กิจวัตร ๑๐ ธุดงควัตร ๑๓ ขันธวัตร ๑๔ ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท
๔. พึงตกแต่ง สติให้เป็นมหาสติ คือ เบื้องต้น มีสติเฉพาะหน้า กำหนดตัวผู้รู้เฉพาะหน้า รวมจิต ประชุมอริยมรรคได้แล้ว ตรวจค้นร่างกาย พิจารณาเวทนา จิต ธรรม จนเป็นที่ตั้งของสติได้จริงๆ ตลอดทำสัมปชัญญะให้รู้ตัวและรู้จิตพร้อมทุกขณะตลอดไป
๕. พึงตกแต่งสมาธิ พร้อมทั้งตกแต่งดวงจิต ความคิด ความเห็น ตลอดความตั้งใจไว้ในที่ชอบให้ถูกต้องเรียบร้อยจริงๆ เมื่อนักปฏิบัติทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต ได้ตกแต่งข้อปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบถูกต้องเรียบร้อยดีแล้ว อัฏฐังคิกมรรคทั้ง ๘ ประการก็เป็นอันตกแต่งถูกต้องไปพร้อมกันอยู่ในตัวเสร็จแล้ว เหมือนหมุนลานนาฬิกา เมื่อหมุนถูกต้องเต็มบริบูรณ์แล้วเครื่องจักรอื่นๆ ก็หมุนไปพร้อมกันเอง ฉันใดก็ดี อัฏฐังคิกมรรคทั้ง ๘ ประการเหล่านี้ ก็เหมือนกันฉะนั้น

อรรถาธิบาย ข้อนี้มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ คือ เมื่อตกแต่งสมบัติทั้ง ๕ และตกแต่งกาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์ ปราศจากโทษทั้งปวงดังกล่าวแล้ว ตลอดได้ตกแต่งกิจวัตร ๑๐ ธุดงควัตร ๑๓ ขันธวัตร ๑๔ ถูกต้องเรียบร้อยดีแล้ว ก็ชื่อว่าตกแต่ง อริยมรรค ข้อที่ ๓-๔-๕ คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว แปลว่า มีวาจาชอบ มีการงานชอบ มีอาชีพชอบ ประชุมพร้อมอยู่แล้วในความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์เป็นอธิศีล ในเมื่อได้ตกแต่ง สติ ให้เป็นสัมมาสติพร้อมทั้งสมาธิและสัมปชัญญะ รู้ตัว รู้จิตทุกขณะตลอดไปนั้น ชื่อว่าได้ตกแต่งอริยมรรคข้อที่ ๖-๗-๘ คือ สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ แปลว่า มีความเพียรชอบ มีสติชอบ มีสมาธิชอบ ประชุมพร้อมอยู่แล้วในความเป็นผู้มีสมาธิสิกขา เป็นอธิจิตสิกขา ในเมื่อได้ตกแต่งความรู้ ความคิด ความเห็น ตลอดความตั้งใจไว้ในที่ชอบถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ชื่อว่า ได้ตกแต่งอริยมรรคข้อที่ ๑-๒ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปโป แปลว่า ความเห็นชอบ ความดำริชอบ ประชุมพร้อมอยู่ในความเป็นผู้มีปัญญาสิกขา เป็นอธิปัญญา นักปฏิบัติในพระพุทธศาสนานี้ พึงเดินมรรคให้ถูก ดังต่อไปนี้ คือ บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา ให้เป็น อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ถึงพร้อมบริบูรณ์อยู่แล้ว ชื่อว่า เป็นผู้เดินตามหนทางอริยมรรคถูกต้องแล้ว

บัดนี้ จักแสดงอริยมรรคสมังคีต่อไป นักปฏิบัติ เมื่อเป็นผู้มีสติบริบูรณ์ มีสัมปชัญญะบริบูรณ์ ได้พยายามทำความเพียรประกอบกับจิตอยู่เสมอ คือมีสติกำหนดจิต หรือประคับประคองจิตยังจิตให้ตกลงสู่ภวังค์เองแล้ว ประคับประคองเอาจิตในภวังค์ให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิอยู่ได้ ไม่ไป ไม่มา ไม่ออก ไม่เข้า ไม่ขึ้น ไม่ลง เป็นหนึ่งจริงๆ ตลอดเป็นวิหารธรรม เครื่องอยู่ของจิตและเป็นเอกวิธาพิสมัย ตรัสรู้ได้ในขณะจิตดวงเดียว ว่า อริยมรรคทั้ง ๘ ประการได้ประชุมพร้อมแล้วในจิตดวงเดียวเมื่อใด เมื่อนั้น นักปฏิบัติย่อมรู้เป็นปัจจัตตังจำเพาะกับจิต ว่าจิตของเราได้ประชุมอริยมรรคสมังคีครั้งหนึ่งแล้ว หรือสองครั้ง สามครั้ง ตลอดประชุมถึง ๔ ครั้ง ก็ย่อมรู้ตลอดไป ฯ ตามนัยแห่งพระพุทธฎีกาที่ทรงตรัสเทศนาในสังฆคุณว่า “ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคฺคานิ อฏฺฐปุริปุคฺคลา” แปลว่า นี่อย่างไร คู่ของบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตามลำดับตัวบุคคลเป็น ๘ บุคคลดังนี้ เมื่อนักปฏิบัติ ได้ปฏิบัติตามพระพุทธฏีกานี้ถูกต้องแล้ว จิตย่อมประชุมอริยมรรคถึง ๔ ครั้ง สำเร็จเป็นมรรค ๔ ผล ๔ ดังที่ปรากฏแจ้งอยู่แล้วในพระนวโลกุตรธรรมเจ้า ๙ ประการ

บัดนี้ จักแสดงอริยผลพอรู้เงื่อนเพื่อเป็นทางปฏิบัติดีปฏิบัติชอบสืบไป นักปฏิบัติในพระพุทธศาสนานี้ เมื่อเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ดำเนินตามหนทางอริยมรรคถูกต้องดังกล่าวแล้ว ตลอดจิตประชุมอริยมรรคสมังคีเองแล้ว ย่อมบังเกิดอริยผลแจ้งประจักษ์ใจ ดังต่อไปนี้
๑. บังเกิดมี วิหารธรรมเป็นเครื่องอยู่ พร้อมทั้งมีธรรมจักษุดวงตาเห็นธรรมแจ้งประจักษ์
๒. บังเกิดมี จักขุกรณี ญาณกรณี คือ เห็นทางปฏิบัติอันเป็นกลาง ซึ่งไม่ลำเอียงเข้าไปใกล้ในความรักและความเกลียด กระทำดวงตาภายในให้บังเกิดเป็นตาอริยบุคคล พร้อมทั้งกระทำญาณ ความรู้วิเศษ ดำเนินตามหนทางอันเกษมจากโยคะทั้งปวงไปได้โดยสะดวก
๓. บังเกิดมี อุปสมาย อภิญญายฺ คือเข้าถึงความเป็นผู้สงบระงับ และบังเกิดมีอภิญญาณ ความรู้ยิ่ง เห็นจริง ในพระธรรมวินัยนี้ทุกประการ
๔. บังเกิดมีอริยผล คือ มีปัญญาจักษุ ดวงตาเป็นดวงปัญญาปรีชาญาณ หยั่งรู้หยั่งเห็นในสารพัดไญยธรรมทั้งปวง
๕. บังเกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก คือถ้านักปฏิบัติเป็นพระโพธิสัตว์ ผู้ทรงสร้างพระสมติงสะบารมีเต็มบริบูรณ์แล้ว ได้มาปฏิบัติพระพุทธศาสนาถูกต้องตามหนทางแห่งความตรัสรู้นี้ เป็นสัพพัญญูพุทธสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นในโลก ทรงทศพลญาณ มีพระสมันตะจักษุ ดวงตาอันแจ้งใสสว่างยิ่ง ไม่มีแสงสว่างอื่นเสมอได้ ทรงทัศนาการทั่วไปในพระธรรมวินัยทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ตลอดได้ทรงทัศนาการทั่วไปในไตรโลกธาตุทั้งสิ้นด้วย

อริยผล เท่าที่แสดงมาทั้งสิ้นนี้ เป็นอริยผลที่กล่าวเป็นส่วนรวมและแสดงเป็นกลางๆ ฟังได้ทั้งสมถะ และวิปัสสนา ไม่ได้ชี้ขาดลงไปว่า ผู้นั้นได้สำเร็จมรรคผลธรรมวิเศษชั้นนั้นๆ ข้อนี้เอาไว้ให้นักปฏิบัติผู้ที่ปฏิบัติได้แล้ว ได้รู้เป็นปัจจัตตังโดยเฉพาะตนเอง


:b47: https://sites.google.com/site/smartdhamma/makkasmunki_samathi_lp_singha

อนุโมทนาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2013, 04:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
เพราะความเห็นผิดที่ไปยึดว่า อริยมรรคมีองค์แปดนั้นทำได้เฉพาะผู้ที่เป็นอริยบุคคลเท่านั้น
:b16: :b16: :b16: :b16:
บุพพเจตนาต่างกันมากครับ คุณวลัยพร ลองไปทบทวนดูข้อความที่คุณโฮฮับเขียนมาทั้งหมดนะครับ
:b20:
ขอบคุณที่ให้สติ


การสนทนาธรรมนั้น ควรเป็นไปเพื่อเห็นแจ้ง ควรมีสติละอกุศลต่อสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
อย่าเอาโทสะมาบังธรรม :b13:

ขอถามให้ตรงประเด็น.........

โสกะ ปัญญาไตรลักษณ์แตกต่างจาก ปัญญาวิมุตติ อย่างไร

สติ มีความหมายว่า ระลึกรู้

สติของปุถุชนแตกต่างจากสติของอริยชนอย่างไร

และสติในชีวิตประจำวัน แตกต่างจากสติปัฏฐานอย่างไร

รู้ความแตกต่าง ก็จะรู้ว่า อริยมรรคกับมรรค มันแตกต่างกัน :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2013, 07:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
เพราะความเห็นผิดที่ไปยึดว่า อริยมรรคมีองค์แปดนั้นทำได้เฉพาะผู้ที่เป็นอริยบุคคลเท่านั้น
:b16: :b16: :b16: :b16:
บุพพเจตนาต่างกันมากครับ คุณวลัยพร ลองไปทบทวนดูข้อความที่คุณโฮฮับเขียนมาทั้งหมดนะครับ
:b20:
ขอบคุณที่ให้สติ


การสนทนาธรรมนั้น ควรเป็นไปเพื่อเห็นแจ้ง ควรมีสติละอกุศลต่อสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
อย่าเอาโทสะมาบังธรรม :b13:

ขอถามให้ตรงประเด็น.........

โสกะ ปัญญาไตรลักษณ์แตกต่างจาก ปัญญาวิมุตติ อย่างไร

สติ มีความหมายว่า ระลึกรู้

สติของปุถุชนแตกต่างจากสติของอริยชนอย่างไร

และสติในชีวิตประจำวัน แตกต่างจากสติปัฏฐานอย่างไร

รู้ความแตกต่าง ก็จะรู้ว่า อริยมรรคกับมรรค มันแตกต่างกัน :b6:


:b8:
วันนี้รู้สึกอบอุ่นและเป็นสุขที่ได้เห็นข้อสนทนาและคำถามที่เป็นสัมมาวาจาไม่ประกอบด้วยพละความจากคุณโฮฮับ
ขออนุโมทนา
:b27:
1.
อ้างคำพูด:
โสกะ ปัญญาไตรลักษณ์แตกต่างจาก ปัญญาวิมุตติ อย่างไร


ตอบ

อ้างคำพูด:
ปัญญาไตรลักษณ์....
ต้องพูดว่า "ปัญญาที่ไปเห็นไตรลักษณ์"......คือสติปัญญาที่ไปรู้ทันและเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของอารมณ์
:b39:
1.1เห็นความทนตั้งอยู่ไม่ได้ของอารมณ์...เรียกว่า "เห็นทุกขัง"
:b43:
1.2เห็นความที่เมื่อทนอยู่ไม่ได้ จึงต้องเปลี่ยนแปลงไปของอารมณ์ ....เรียกว่า "เห็นอนิจจัง"
:b44:
1.3รู้ซึ้งว่าทั้งความเป็นอนิจจังและทุกขังของอารมณ์นั้น....บังคับบัญชาไม่ได้...ไร้แก่นสาร ตัวตน ที่จะเหลือไว้ให้ยึดถือหรือเก็บรักษาไว้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้....เรียกว่า."เห็นอนัตตา"

:b38:
อ้างคำพูด:
ปัญญาวิมุติ

:b45:
อ้างคำพูด:
ปัญญาวิมุติ.
..คือการบรรลุธรรมของพระอริยเจ้าที่เป็นสุขวิปัสสโก คือใช้ปัญญานำหน้าค้นหาเหตุทุกข์จนพบแล้วดับเหตุทุกข์นั้นได้เสีย หลังจากนั้นจึงได้สัมมาสมาธิเป็นผลตามมา
:b38:
2
อ้างคำพูด:
.สติ มีความหมายว่า ระลึกรู้
สติของปุถุชนแตกต่างจากสติของอริยชนอย่างไร

:b51:
สติ...หน้าที่ของสติขณะภาวนานั้นเขาจะทำหน้าที่....รู้ทันปัจจุบันอารมณ์....ระลึกได้.....ไม่ลืม
:b53:
สติ จะเป็นสัมมาสติได้ก็ต่อเมื่อถูกอบรมด้วยปัญญาสัมมาทิฏฐิ....คือความเห็นในเรื่องของอริยสัจทั้ง 4 ประการ

สติของปุถุชน.....เป็นสติตามธรรมชาติธรรมดาของสัตว์โลกทั้งหลาย ที่มีสัญชาตญาณ และประสบการณ์ชีวิตเป็นตัวอบรม...เป็นเครื่องช่วยรักษาชีวิตให้รอดปลอดภัย และไม่ไปกระทบกระทั่งชีวิตอื่น
:b46:
สติของอริยชน หรือผู้ที่กำลังเตรียมตัวจะเป็นอริยชน (มรรคอาจาระอริยะ)......นั้นเป็นสติที่ถูกอบรมมาดีแล้วด้วยปัญญาสัมมาทิฏฐิ ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ
:b48:
สติของพระอริยเจ้านั้นเราเรียกเป็นภาษาสมัยใหม่ว่า..."สติอัตโนมัติ"....คือจะรู้ทันและอยู่กับปัจจุบันได้ดีมากตลอดเวลา โดยไม่ต้องไปตั้งท่ากำหนดกฏเกณฑ์อะไรไว้ เขาหากเป็นไปเองโดยธรรมชาติ
:b40:
3.
อ้างคำพูด:
สติในชีวิตประจำวัน แตกต่างจากสติปัฏฐานอย่างไร

:b50:
สติในชีวิตประจำวัน....ก็ดังอธิบายไว้ข้างต้นว่า
:b47:
สติของปุถุชน.....เป็นสติตามธรรมชาติธรรมดาของสัตว์โลกทั้งหลาย ที่มีสัญชาตญาณ และประสบการณ์ชีวิตเป็นตัวอบรม...เป็นเครื่องช่วยรักษาชีวิตให้รอดปลอดภัย และไม่ไปกระทบกระทั่งชีวิตอื่น
:b46:
แตกต่างจากสติปัฏฐานอย่างไร?
:b10:
สติปัฏฐาน ต้องพูดให้ครบว่า..."สติปัฏฐาน 4"
:b11:
สติปัฏฐาน 4 เป็นสติที่ถูกอบรมมาดีแล้วด้วยคำสอนอันถูกต้องของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า นี่คือวิธีอันประเสริฐที่อาจทำให้ปุถุชนยกระดับตนเองขึ้นสู่ความเป็นอริยชนได้ในเวลาไม่เกิน....7 วัน.....7 สัปดาห์....7เดือน...หรืออย่างช้าที่สุดไม่เกิน 7 ปี
:b18:
หลังจากสติถูกอบรมมาอย่างนี้แล้ว กลายเป็นสัมมาสติ ๆ อันนี้ก็จะคอยกำกับ กาาย ใจ ให้เดินอยู่บนเส้นทางแห่งสติปัฏฐาน 4 อยู่ในชีวิตประจำวันตลอดเวลา

:b16:
สาระสำคัญของสติปัฏฐาน 4 คือ "วิเนยยะ โลเก อภิชฌา โทมนัสสัง"....คือไม่ว่าจะเกิดอารมณ์จากฐาน กาย เวทนา จิต ธรรม ก็ล้วนแล้วแต่จะไปลงตัวที่ ยินดี (อภิชฌา) ยินร้าย (โทมนัสสัง) เมื่อ วิเนยยะ เอาออกได้
(ด้วยความเห็นไตรลักษณ์ของอารมณ์นั้นๆ จนเกิดนิพพิทา เบื่อหน่าย จึงจะคลายจาง ละวางและสลัดคืน ความยินดียินร้ายนั้นเสียได้)

s006
อ้างคำพูด:
4. อริยมรรคกับมรรค มันแตกต่างกัน....อย่างไร?

:b26:
เรื่องนี้มีท่านผู้รู้ท่านหนึ่งอธิบายไว้ดีแล้วตอนต้นๆ...สรุปว่า

มรรค....มรรคา.....ทางเดิน

มรรค....ตัวตัดสังโยชน์....มี 4 มรรค คือ โสดาปัตติมรรค...สกิทาคามีมรรค...อนาคามีมรรค....อรหัตมรรค

อริยมรรค.......ทางเดินอันประเสริฐ นำไปสู่ความเป็นอริยชน มี 8 ประการ
:b53:
พุทธวัจจนะ

"สัมมา วิหาเรยุง อสุญโญโลโก อรหันเตหิ"

ตราบใดที่ยังมีผู้เจริญ สัมมา(ทั้ง 8 ข้อ)อยู่....ตราบนั้นโลกนี้จักไม่ว่างจากพระอรหันต์

:b8:
onion onion onion onion


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร