วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 228 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 16  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 10:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตเป็นทั้งสภาพรู้และเกิดดับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 13:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
โฮฮับ.........
อ้างคำพูด:
แนะนำให้คุณไปศึกษาพระอภิธรรมปิฎก ในเรื่องจิต จะได้รู้ว่า จิตเกิดดับที่ละดวง
จิตเป็นและจิตรู้มันไม่ได้เกิดพร้อมกัน มีสมาธิพยายามแยก จิตเป็นอาการก็ดวงหนึ่ง
ดับไปจิตรู้ก็เป็นอีกดวงที่มาแทนที่ มันเป็นแบบนี้

ถ้าปัจจุบันจิตเป็นอาการ(เกิดดับ) จิตก็จะไม่รู้ แต่ถ้าปัจจุบันจิตเป็นตัวรู้ จิตก็ไม่ได้เป็นอาการ(เกิดดับ)
จำไว้จิตเกิดดับ และจิตเกิดดับทีละดวง

Onion_no
ทันปัจจุบัน.....กับเป็นปัจจุบัน .......เป็นคนละอัน เป็นจิตคนละดวง

สติ รู้ทันปัจจุบัน ปัญญารู้จักปัจจุบันนี่เป็นงานของนักภาวนา

คุณโฮ ไปเอาความเป็นปัจจุบัน มาแทนความทันปัจจุบัน มันจึงไม่รู้เรื่องกัน

:b16: :b13:

แล้วอีกเรื่องหนึ่งที่เคยถกเถียงกันมานานเรื่องที่คุณโฮฮับบอกว่า

สติปัฏฐาน 4 เป็นธรรมสำหรับพระอริยเจ้าปฏิบัติ คนธรรมดาปฏิบัติไม่ได้นี่.......นี่ก็ผิดธรรม ฟังยังไงก็ไม่ขึ้นแล้วครับ

สติ รู้ทันอาการ ของกาย....เวทนา....จิต....ธรรม...แล้วเอาความยินดียินร้าย ในผัสสะทั้ง 6 ออกเสียได้

นี่เป็นงานที่ปุถุชนทั้งหลายก็รู้ได้ปฏิบัติได้ ไม่พ้นวิสัย........ทำไมคุณโฮฮับไปบอกว่าเป็นธรรมเฉพาะพระอริยเจ้า....แม้มรรค 8 ก็ยังเคยบอกว่าเป็นธรรมมสำหรับพระอริยเจ้า

ฟังดูแล้วมันขัดๆข้องๆ...ไม่กลมกลืนไปกับธรรมจริงๆ

อย่างไรก็ตาม คุณโฮฮับเชื่อและยึดมั่นอย่างนั้นก็จงปฏิบัติอย่างนั้นไปเถิดครับ .....ทางหนู ๆ ไต่...ทางไก่ ๆ เดิน....เรื่องของใครของมันก็แล้วกัน.....วัดผลกันด้วยตนเองเป็๋นปัจจัตตัง

:b53:
"หนทางพิสูจน์ม้า....กาลเวลาพิสูจน์คน"
:b48:
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
โฮฮับ.........
อ้างคำพูด:
แนะนำให้คุณไปศึกษาพระอภิธรรมปิฎก ในเรื่องจิต จะได้รู้ว่า จิตเกิดดับที่ละดวง
จิตเป็นและจิตรู้มันไม่ได้เกิดพร้อมกัน มีสมาธิพยายามแยก จิตเป็นอาการก็ดวงหนึ่ง
ดับไปจิตรู้ก็เป็นอีกดวงที่มาแทนที่ มันเป็นแบบนี้

ถ้าปัจจุบันจิตเป็นอาการ(เกิดดับ) จิตก็จะไม่รู้ แต่ถ้าปัจจุบันจิตเป็นตัวรู้ จิตก็ไม่ได้เป็นอาการ(เกิดดับ)
จำไว้จิตเกิดดับ และจิตเกิดดับทีละดวง

ทันปัจจุบัน.....กับเป็นปัจจุบัน .......เป็นคนละอัน เป็นจิตคนละดวง

สติ รู้ทันปัจจุบัน ปัญญารู้จักปัจจุบันนี่เป็นงานของนักภาวนา

คุณโฮ ไปเอาความเป็นปัจจุบัน มาแทนความทันปัจจุบัน มันจึงไม่รู้เรื่องกัน

ถึงตอนนนี้คุณก็ยังไม่รู้เรื่องอยู่ดี.....
ผมจะอธิบายให้ฟัง ......จิตรู้ทันปัจจุบันไม่มีหรอก มีแต่จิตรู้ทันอดีตที่พึ่งดับไป
จิตที่เป็นปัจจุบันหรือจิตอยู่กับปัจจุบัน......เรียกว่าจิตตัวรู้

ส่วนสติของนักภาวนาก็ไม่ใช่การรู้ทันปัจจุบัน สติของนักภาวนาเป็น
การระลึกรู้สัญญาหรืออดีต ไม่ใช่รู้ปัจจุบัน
สติจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีจิตตัวรู้เกิดขึ้นก่อน
asoka เขียน:
แล้วอีกเรื่องหนึ่งที่เคยถกเถียงกันมานานเรื่องที่คุณโฮฮับบอกว่า

สติปัฏฐาน 4 เป็นธรรมสำหรับพระอริยเจ้าปฏิบัติ คนธรรมดาปฏิบัติไม่ได้นี่.......นี่ก็ผิดธรรม ฟังยังไงก็ไม่ขึ้นแล้วครับ

สติ รู้ทันอาการ ของกาย....เวทนา....จิต....ธรรม...แล้วเอาความยินดียินร้าย ในผัสสะทั้ง 6 ออกเสียได้

นี่เป็นงานที่ปุถุชนทั้งหลายก็รู้ได้ปฏิบัติได้ ไม่พ้นวิสัย........ทำไมคุณโฮฮับไปบอกว่าเป็นธรรมเฉพาะพระอริยเจ้า....แม้มรรค 8 ก็ยังเคยบอกว่าเป็นธรรมมสำหรับพระอริยเจ้า

ฟังดูแล้วมันขัดๆข้องๆ...ไม่กลมกลืนไปกับธรรมจริงๆ

อย่างไรก็ตาม คุณโฮฮับเชื่อและยึดมั่นอย่างนั้นก็จงปฏิบัติอย่างนั้นไปเถิดครับ .....ทางหนู ๆ ไต่...ทางไก่ ๆ เดิน....เรื่องของใครของมันก็แล้วกัน.....วัดผลกันด้วยตนเองเป็๋นปัจจัตตัง[/color]
:b53:
"หนทางพิสูจน์ม้า....กาลเวลาพิสูจน์คน"
:

ฟังขึ้นหรือไม่ผลมันก็ออกมาแล้ว จิตสังขารเป็นอย่างไร กายเป็นอย่างไร
กายสังขารเป็นอย่างไร ยังแยกแยะไม่ออก ถ้ายังอยากรั้นก็ตามใจ


ที่แน่ๆรั้นแม้กระทั่งกับพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ไม่ให้ปฏิบัติในทางฝีนร่างกายหรือทำตนให้ทรมาณ
ก็ยังดื้อรั้นที่จะทำ มีกัลยาณมิตรแนะนำให้ยังประชดประชันเขาอีก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 17:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับมรดกแต่ส่วนที่เป็นอามิส
ข้องอยู่ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นย่อมไม่มีคุณสมบัติเหมือนดังของตลาด ซึ่งมีราคาขึ้นๆ ลงๆ
เห็นปานนี้ว่า ก็เมื่อเหตุอย่างนี้พึงมีแก่เรา เราพึงทำเหตุนั้น ก็เมื่อเหตุอย่างนี้ไม่พึงมีแก่เรา
เราไม่พึงทำเหตุนั้น ดังนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทำไมเล่า ตถาคตจึงไม่ข้องด้วยอามิสโดยประการ
ทั้งปวงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สภาพนี้ย่อมมีแก่สาวก ผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของ
พระศาสดาแล้วประพฤติด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดา เราเป็นสาวก พระผู้มี
พระภาคย่อมทรงรู้ เราไม่รู้. คำสอนของพระศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา
ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ. สภาพนี้ ย่อมมีแก่สาวกผู้มีศรัทธาผู้หยั่งลงใน
คำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ ด้วยตั้งใจว่า เนื้อและเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้ง
ไปจะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที
เมื่อเรายังไม่บรรลุถึงอิฐผลที่จะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักคลายความเพียร
นั้นเสีย จักไม่มีเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผลสองอย่างคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อ
ขันธบัญจกที่กรรมกิเลสเข้าไปยึดถือเป็นส่วนเหลือยังมีอยู่ ความเป็นพระอนาคามีอย่างใดอย่าง
หนึ่ง อันสาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ พึงหวังได้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

ตรงตัวหนังสือใหญ่เรียกว่าทรมานตนหรือเปล่าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2013, 01:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับมรดกแต่ส่วนที่เป็นอามิส
ข้องอยู่ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นย่อมไม่มีคุณสมบัติเหมือนดังของตลาด ซึ่งมีราคาขึ้นๆ ลงๆ
เห็นปานนี้ว่า ก็เมื่อเหตุอย่างนี้พึงมีแก่เรา เราพึงทำเหตุนั้น ก็เมื่อเหตุอย่างนี้ไม่พึงมีแก่เรา
เราไม่พึงทำเหตุนั้น ดังนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทำไมเล่า ตถาคตจึงไม่ข้องด้วยอามิสโดยประการ
ทั้งปวงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สภาพนี้ย่อมมีแก่สาวก ผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของ
พระศาสดาแล้วประพฤติด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดา เราเป็นสาวก พระผู้มี
พระภาคย่อมทรงรู้ เราไม่รู้. คำสอนของพระศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา
ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ.
สภาพนี้ ย่อมมีแก่สาวกผู้มีศรัทธาผู้หยั่งลงใน
คำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ ด้วยตั้งใจว่า เนื้อและเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้ง
ไปจะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที
เมื่อเรายังไม่บรรลุถึงอิฐผลที่จะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักคลายความเพียร
นั้นเสีย จักไม่มีเลย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผลสองอย่างคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อ
ขันธบัญจกที่กรรมกิเลสเข้าไปยึดถือเป็นส่วนเหลือยังมีอยู่ ความเป็นพระอนาคามีอย่างใดอย่าง
หนึ่ง อันสาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ พึงหวังได้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

ตรงตัวหนังสือใหญ่เรียกว่าทรมานตนหรือเปล่าครับ

อ่านตรงตัวหนังสือใหญ่สีแดง :b6:

คุณอเมซิ่งครับ คุณอ่านพระสูตรไม่เป็นครับ พระสูตรบทนี้พระพุทธองค์
กำลังสอนเรื่อง.........ความเพียร

มันเป็นอย่างที่คุณเข้าใจที่ไหนกัน ถามหน่อยเถอะคุณรู้จักคนขี้เกียจกับคนขยันมั่นเพียรมั้ย

แนะนำให้ครับ คนอย่างคุณต้องมั่นศึกษาเรื่อง...อิทธิบาทสี่ให้มาก
มิเช่นนั้นคุณจะแยกแยะความขี้เกียจกับความขยันไม่ออก


จะบอกให้ครับคนขี้เกียจมักจะคิดว่า ความขยันมั่นเพียรคือการทรมานตน
เปลี่ยนความคิดเสียใหม่นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2013, 10:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
amazing เขียน:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับมรดกแต่ส่วนที่เป็นอามิส
ข้องอยู่ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นย่อมไม่มีคุณสมบัติเหมือนดังของตลาด ซึ่งมีราคาขึ้นๆ ลงๆ
เห็นปานนี้ว่า ก็เมื่อเหตุอย่างนี้พึงมีแก่เรา เราพึงทำเหตุนั้น ก็เมื่อเหตุอย่างนี้ไม่พึงมีแก่เรา
เราไม่พึงทำเหตุนั้น ดังนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทำไมเล่า ตถาคตจึงไม่ข้องด้วยอามิสโดยประการ
ทั้งปวงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สภาพนี้ย่อมมีแก่สาวก ผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของ
พระศาสดาแล้วประพฤติด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดา เราเป็นสาวก พระผู้มี
พระภาคย่อมทรงรู้ เราไม่รู้. คำสอนของพระศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา
ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ.
สภาพนี้ ย่อมมีแก่สาวกผู้มีศรัทธาผู้หยั่งลงใน
คำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ ด้วยตั้งใจว่า เนื้อและเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้ง
ไปจะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที
เมื่อเรายังไม่บรรลุถึงอิฐผลที่จะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักคลายความเพียร
นั้นเสีย จักไม่มีเลย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผลสองอย่างคือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อ
ขันธบัญจกที่กรรมกิเลสเข้าไปยึดถือเป็นส่วนเหลือยังมีอยู่ ความเป็นพระอนาคามีอย่างใดอย่าง
หนึ่ง อันสาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ พึงหวังได้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

ตรงตัวหนังสือใหญ่เรียกว่าทรมานตนหรือเปล่าครับ

อ่านตรงตัวหนังสือใหญ่สีแดง :b6:

คุณอเมซิ่งครับ คุณอ่านพระสูตรไม่เป็นครับ พระสูตรบทนี้พระพุทธองค์
กำลังสอนเรื่อง.........ความเพียร

มันเป็นอย่างที่คุณเข้าใจที่ไหนกัน ถามหน่อยเถอะคุณรู้จักคนขี้เกียจกับคนขยันมั่นเพียรมั้ย

แนะนำให้ครับ คนอย่างคุณต้องมั่นศึกษาเรื่อง...อิทธิบาทสี่ให้มาก
มิเช่นนั้นคุณจะแยกแยะความขี้เกียจกับความขยันไม่ออก


จะบอกให้ครับคนขี้เกียจมักจะคิดว่า ความขยันมั่นเพียรคือการทรมานตน
เปลี่ยนความคิดเสียใหม่นะครับ
คุณโฮฮับครับ คุณคงจะเข้าใจผิดแล้วล่ะครับ การปฎิบัติธรรม นั้นผู่ที่มีความศรัทธาในตัวตถาคตนั้นเมื่อมีความศรัทธาที่หยั่งลงมั่นนั้น เขาจะน้อมใจจนถึงขนาดเนื้อหนังเอ็นกระดูกจะเหือดแห้งถ้าไม่บรรลุก็จะไม่คลายความเพียรลง เขาไม่เรียกว่าการทรมานตนหรอกครับ เป็นห่วงว่าคุณโฮฮับจะเรียกการทรมานตนนะครับ ส่วนผมนั้นได้ข้ามตรงนี้มาแล้วและเข้าใจแล้วว่ารสชาติแห่งความตั้งใจในความเพียรนี้ได้อะไร ผมจึงยกมาให้ดูนะครับ

คำสอนของพระศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา
ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ.
สภาพนี้ ย่อมมีแก่สาวกผู้มีศรัทธาผู้หยั่งลงใน
คำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ ด้วยตั้งใจว่า เนื้อและเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้ง
ไปจะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที
เมื่อเรายังไม่บรรลุถึงอิฐผลที่จะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักคลายความเพียร
นั้นเสีย จักไม่มีเลย.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2013, 03:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:

คำสอนของพระศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา
ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ.
สภาพนี้ ย่อมมีแก่สาวกผู้มีศรัทธาผู้หยั่งลงใน
คำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ ด้วยตั้งใจว่า เนื้อและเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้ง
ไปจะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที
เมื่อเรายังไม่บรรลุถึงอิฐผลที่จะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักคลายความเพียร
นั้นเสีย จักไม่มีเลย.

ยิ่งพูดยิ่งเละ มันเละตั้งแต่คุณเอาพระสูตรมาอ้างแล้ว คุณไม่รู้ว่า...
ความเพียรกับการทรมานตนมันเป็นคนละเรื่อง

การทรมานตนกับการปฏิบัติจนเนื้อหนังเหลือแต่กระดูกก็เป็นคนละเรื่อง

ความหมายที่แท้จริงก็คือ สัมมาปฏิปทา ทางสายกลาง
การปฏิบัติด้วยทางสายกลางด้วยควมเพียร แม้จะยังไม่สำเร็จ ก็จะเพียรปฏิบัติจนกว่าจะตาย


พระพุทธองค์ สอนให้ปฏิบัติด้วยทางสายกลาง
ไม่ใช่สอนให้ทรมานตนเอง ด้วยการกลั่นลมหายใจ
แต่ให้ตามดูลมหายใจด้วยความเพียร เข้าใจมั้ย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2013, 07:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
amazing เขียน:

คำสอนของพระศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา
ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ.
สภาพนี้ ย่อมมีแก่สาวกผู้มีศรัทธาผู้หยั่งลงใน
คำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ ด้วยตั้งใจว่า เนื้อและเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้ง
ไปจะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที
เมื่อเรายังไม่บรรลุถึงอิฐผลที่จะพึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักคลายความเพียร
นั้นเสีย จักไม่มีเลย.

ยิ่งพูดยิ่งเละ มันเละตั้งแต่คุณเอาพระสูตรมาอ้างแล้ว คุณไม่รู้ว่า...
ความเพียรกับการทรมานตนมันเป็นคนละเรื่อง

การทรมานตนกับการปฏิบัติจนเนื้อหนังเหลือแต่กระดูกก็เป็นคนละเรื่อง

ความหมายที่แท้จริงก็คือ สัมมาปฏิปทา ทางสายกลาง
การปฏิบัติด้วยทางสายกลางด้วยควมเพียร แม้จะยังไม่สำเร็จ ก็จะเพียรปฏิบัติจนกว่าจะตาย


พระพุทธองค์ สอนให้ปฏิบัติด้วยทางสายกลาง
ไม่ใช่สอนให้ทรมานตนเอง ด้วยการกลั่นลมหายใจ
แต่ให้ตามดูลมหายใจด้วยความเพียร เข้าใจมั้ย
ในพระสูตรไหนบอกให้กลั่นลมหายใจน่าจะไม่มี แต่ในการปฎิบัติจริง การปฎิบัติอานาปานสติภาวนาในอริยบทนั่งนั้นจะต้องมีการเจ็บปวดบ้างและเราก็ต้องรู้จักอดกลั่นความรู้สึกนั้น นั่นก็ไม่ได้ถือว่าเป็นการทรมานตนแต่อย่างไร

เพราะนั่นคือความจริงที่ปรากฎคือความทุกข์อย่างหนึ่งที่ทุกคนมักจะปฎิเสธพลักดันมันอยู่เสมอๆจนทำให้จิตใจเราไม่สมดุลย์ และเมื่อมีความปิติยินดีเราก็มักจะยึดเอาเข้าตัวเราเสมอๆเช่นเดียวกัน ฉะนั้นแล้วการที่เราอยู่กับความจริงทั้งสุขและทุกด้วยใจเป็นปรกติ เท่ากับเราได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของจิต จิตจะถูกพัฒนามีกำลังขึ้นในที่สุด บางเวลาสมควรเพ่งก็เพ่ง บางเวลาสมควรผ่อนก็ผ่อน ในการปฎิบัติอานาปานสตินั้นเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดจิตให้สติอยู่กับลมหายใจให้รู้ว่าหายใจออกหรือหายใจเข้าถ้าเผลอคือขาดสติ

เมื่อเพลินไปเมื่อรู้สึกตัวก็กลับมาอยู่กับลมหายใจ เมื่อเราละนันทิด้วยการอยู่กับลม กำหนดลมให้ยาวหรือกำหนดให้ลมสั้นนี่เป็นสิ่งจำเป็นมากไม่ใช่ดูเฉยๆถ้าดูเฉยๆจิตจะไม่มีกำลังจะง่วงและจะไม่สามารถนำพาจิตให้ทะลุทะลวงความเคยชินของอาตยนะเก่าๆที่มันยึดจิตใจให้อยู่กับมันมาตลอด เมื่อเราใช้ลมหายใจเป็นตัวฉุดมันออกจากอาตยนะทั้งหลายเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกแรงให้จิตอยู่กับกาย(ลมหายใจก็เป็นกายหนึ่ง)เมื่อจิตใจเราอยู่กับลมออกลมเข้าอย่างแนบแน่นยิ่งแนบแน่นเท่าไร จิตจะทิ้งขันต์สามขันต์ เหลือจิตกับกายซึ่งนั้นคือจิตอยู่กับลมหายใจอย่างเดียว เมื่อลมหายใจดับไปจิตจะไม่มีที่เกาะจิตจะหลุดพ้นชั่วขณะ ความหลุดพ้นก็จะปรากฎธรรมทุกอย่างจบลงตรงนี้

ส่วนการทรมานตนนั้นน่าจะหมายความว่าเิดินเหมือนสุนัก นอนบนหนาม ทนหนาวกับหิมะนานๆ หรือทำอะไรประหลาดๆผิดมนุษย์ คงไม่ใช่การนั่งที่มีความรูสึกเจบปวดบ้างหรอกครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2013, 11:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
ในพระสูตรไหนบอกให้กลั่นลมหายใจน่าจะไม่มี แต่ในการปฎิบัติจริง การปฎิบัติอานาปานสติภาวนาในอริยบทนั่งนั้นจะต้องมีการเจ็บปวดบ้างและเราก็ต้องรู้จักอดกลั่นความรู้สึกนั้น นั่นก็ไม่ได้ถือว่าเป็นการทรมานตนแต่อย่างไร

ถึงได้บอกเละมาแต่ต้น ผมกำลังแย้งคุณโสกะเรื่องที่แก ดูลมหายใจด้วยการกลั่นลมหายใจ
คุณไม่รู้เหนือรู้ใต้มาจากไหน ก็เอาพระสุตรมาอ้าง(ทั้งๆที่ไม่เข้าใจพระสูตรนั้น)
พอผมให้เหตุผลแย้งกลับไป ที่นี่มาเปลี่ยนหน้าตาเฉยว่า การกลั่นลมหายใจไม่มีในพระสูตร

ก็เพราะมันไม่มีไง ผมถึงได้แย้งคุณโสกะไป มันเป็นคุณที่เอาพระสูตรมาสนับสนุนคุณโสกะ
ไอ้ที่ประชดผมว่า

amazing เขียน:
ด้วยตั้งใจว่า เนื้อและเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้ง
ไปจะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที
นดีชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

ตรงตัวหนังสือใหญ่เรียกว่าทรมานตนหรือเปล่าครับ


ถามหน่อยถ้าในพระสูตรไม่มี แล้วคุณเอาพระสูตรนี่มาแย้งผมทำไมครับ
คุยธรรมให้มันอยู่กับร่องกับรอยหน่อย :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2013, 11:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
ในพระสูตรไหนบอกให้กลั่นลมหายใจน่าจะไม่มี แต่ในการปฎิบัติจริง การปฎิบัติอานาปานสติภาวนาในอริยบทนั่งนั้นจะต้องมีการเจ็บปวดบ้างและเราก็ต้องรู้จักอดกลั่นความรู้สึกนั้น นั่นก็ไม่ได้ถือว่าเป็นการทรมานตนแต่อย่างไร

เพราะนั่นคือความจริงที่ปรากฎคือความทุกข์อย่างหนึ่งที่ทุกคนมักจะปฎิเสธพลักดันมันอยู่เสมอๆจนทำให้จิตใจเราไม่สมดุลย์ และเมื่อมีความปิติยินดีเราก็มักจะยึดเอาเข้าตัวเราเสมอๆเช่นเดียวกัน ฉะนั้นแล้วการที่เราอยู่กับความจริงทั้งสุขและทุกด้วยใจเป็นปรกติ เท่ากับเราได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของจิต จิตจะถูกพัฒนามีกำลังขึ้นในที่สุด บางเวลาสมควรเพ่งก็เพ่ง บางเวลาสมควรผ่อนก็ผ่อน ในการปฎิบัติอานาปานสตินั้นเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดจิตให้สติอยู่กับลมหายใจให้รู้ว่าหายใจออกหรือหายใจเข้าถ้าเผลอคือขาดสติ

เมื่อเพลินไปเมื่อรู้สึกตัวก็กลับมาอยู่กับลมหายใจ เมื่อเราละนันทิด้วยการอยู่กับลม กำหนดลมให้ยาวหรือกำหนดให้ลมสั้นนี่เป็นสิ่งจำเป็นมากไม่ใช่ดูเฉยๆถ้าดูเฉยๆจิตจะไม่มีกำลังจะง่วงและจะไม่สามารถนำพาจิตให้ทะลุทะลวงความเคยชินของอาตยนะเก่าๆที่มันยึดจิตใจให้อยู่กับมันมาตลอด เมื่อเราใช้ลมหายใจเป็นตัวฉุดมันออกจากอาตยนะทั้งหลายเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกแรงให้จิตอยู่กับกาย(ลมหายใจก็เป็นกายหนึ่ง)เมื่อจิตใจเราอยู่กับลมออกลมเข้าอย่างแนบแน่นยิ่งแนบแน่นเท่าไร จิตจะทิ้งขันต์สามขันต์ เหลือจิตกับกายซึ่งนั้นคือจิตอยู่กับลมหายใจอย่างเดียว เมื่อลมหายใจดับไปจิตจะไม่มีที่เกาะจิตจะหลุดพ้นชั่วขณะ ความหลุดพ้นก็จะปรากฎธรรมทุกอย่างจบลงตรงนี้

ส่วนการทรมานตนนั้นน่าจะหมายความว่าเิดินเหมือนสุนัก นอนบนหนาม ทนหนาวกับหิมะนานๆ หรือทำอะไรประหลาดๆผิดมนุษย์ คงไม่ใช่การนั่งที่มีความรูสึกเจบปวดบ้างหรอกครับ

ผมถามคุณหน่อย คุณไปเอาบทความนี้มาจากไหนครับ คุณแน่ใจแล้วใช่มั้ยว่า
เขาอธิบายเรื่องอานาปานสติถูกต้องไม่คลาดเคลื่อน
ถ้าคุณแน่ใจว่าถูกต้องผมถามคุณหน่อย.....

๑. คุณแน่ใจแล้วหรือว่าลมหายใจเป็นกาย ?

๒.คุณแน่ใจแล้วหรือว่า การดูลมหายใจเป็นการ ฉุดจิตออกจากอายตนะเก่าๆ
ถามครับแล้วไอ้ลมหายใจเกิดมาจากอะไรครับ?

๓.ถามครับที่ว่าลมหายใจดับไป ยังดำรงค์ขันธ์อยู่นี่ ลมหายใจดับได้ด้วยหรือครับ?

๔.แล้วที่ว่าจิตไม่มีที่เกาะ คุณรู้ใช่มั้ยว่าจิตมันเกิดดับ แบบนี้คุณอธิบายได้มั้ยว่า
จิตเกิดดับแล้วมันเกาะอะไรอย่างไรครับ

๕.ที่บอกว่าจิตจะทิ้งขันธ์สามขันธ์ ถามครับทิ้งขันธ์อะไรหรือครับ


ตอบได้ก็ตอบ ตอบไม่ได้ก็ไม่เป็นไรครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2013, 20:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
amazing เขียน:
ในพระสูตรไหนบอกให้กลั่นลมหายใจน่าจะไม่มี แต่ในการปฎิบัติจริง การปฎิบัติอานาปานสติภาวนาในอริยบทนั่งนั้นจะต้องมีการเจ็บปวดบ้างและเราก็ต้องรู้จักอดกลั่นความรู้สึกนั้น นั่นก็ไม่ได้ถือว่าเป็นการทรมานตนแต่อย่างไร

เพราะนั่นคือความจริงที่ปรากฎคือความทุกข์อย่างหนึ่งที่ทุกคนมักจะปฎิเสธพลักดันมันอยู่เสมอๆจนทำให้จิตใจเราไม่สมดุลย์ และเมื่อมีความปิติยินดีเราก็มักจะยึดเอาเข้าตัวเราเสมอๆเช่นเดียวกัน ฉะนั้นแล้วการที่เราอยู่กับความจริงทั้งสุขและทุกด้วยใจเป็นปรกติ เท่ากับเราได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของจิต จิตจะถูกพัฒนามีกำลังขึ้นในที่สุด บางเวลาสมควรเพ่งก็เพ่ง บางเวลาสมควรผ่อนก็ผ่อน ในการปฎิบัติอานาปานสตินั้นเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดจิตให้สติอยู่กับลมหายใจให้รู้ว่าหายใจออกหรือหายใจเข้าถ้าเผลอคือขาดสติ

เมื่อเพลินไปเมื่อรู้สึกตัวก็กลับมาอยู่กับลมหายใจ เมื่อเราละนันทิด้วยการอยู่กับลม กำหนดลมให้ยาวหรือกำหนดให้ลมสั้นนี่เป็นสิ่งจำเป็นมากไม่ใช่ดูเฉยๆถ้าดูเฉยๆจิตจะไม่มีกำลังจะง่วงและจะไม่สามารถนำพาจิตให้ทะลุทะลวงความเคยชินของอาตยนะเก่าๆที่มันยึดจิตใจให้อยู่กับมันมาตลอด เมื่อเราใช้ลมหายใจเป็นตัวฉุดมันออกจากอาตยนะทั้งหลายเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกแรงให้จิตอยู่กับกาย(ลมหายใจก็เป็นกายหนึ่ง)เมื่อจิตใจเราอยู่กับลมออกลมเข้าอย่างแนบแน่นยิ่งแนบแน่นเท่าไร จิตจะทิ้งขันต์สามขันต์ เหลือจิตกับกายซึ่งนั้นคือจิตอยู่กับลมหายใจอย่างเดียว เมื่อลมหายใจดับไปจิตจะไม่มีที่เกาะจิตจะหลุดพ้นชั่วขณะ ความหลุดพ้นก็จะปรากฎธรรมทุกอย่างจบลงตรงนี้

ส่วนการทรมานตนนั้นน่าจะหมายความว่าเิดินเหมือนสุนัก นอนบนหนาม ทนหนาวกับหิมะนานๆ หรือทำอะไรประหลาดๆผิดมนุษย์ คงไม่ใช่การนั่งที่มีความรูสึกเจบปวดบ้างหรอกครับ

ผมถามคุณหน่อย คุณไปเอาบทความนี้มาจากไหนครับ คุณแน่ใจแล้วใช่มั้ยว่า
เขาอธิบายเรื่องอานาปานสติถูกต้องไม่คลาดเคลื่อน
ถ้าคุณแน่ใจว่าถูกต้องผมถามคุณหน่อย.....

๑. คุณแน่ใจแล้วหรือว่าลมหายใจเป็นกาย ?

๒.คุณแน่ใจแล้วหรือว่า การดูลมหายใจเป็นการ ฉุดจิตออกจากอายตนะเก่าๆ
ถามครับแล้วไอ้ลมหายใจเกิดมาจากอะไรครับ?

๓.ถามครับที่ว่าลมหายใจดับไป ยังดำรงค์ขันธ์อยู่นี่ ลมหายใจดับได้ด้วยหรือครับ?

๔.แล้วที่ว่าจิตไม่มีที่เกาะ คุณรู้ใช่มั้ยว่าจิตมันเกิดดับ แบบนี้คุณอธิบายได้มั้ยว่า
จิตเกิดดับแล้วมันเกาะอะไรอย่างไรครับ

๕.ที่บอกว่าจิตจะทิ้งขันธ์สามขันธ์ ถามครับทิ้งขันธ์อะไรหรือครับ


ตอบได้ก็ตอบ ตอบไม่ได้ก็ไม่เป็นไรครับ :b13:
1คุณโฮฮับไม่รู้เหรอครับว่าลมหายใจเป็นกายหนึ่งในกายทั้งหลาย
2คุณปฎิบัติจนถึงที่สุดแล้วจะรู้ครับ เมื่อรูปนามแยกจากกันด้วยการอยู่กับลมหายใจ(ให้ถึงที่สุด) ถามว่ามันเกิดมาจากไหน รูปนาม กายใจ นั้นเกิดมาจากเหตุปัจจัยตามวงจรปฎิจสมุปาท
3 ที่สุดของอานาปาสตินั้นลมอัสสาสะปัสสาสะจะดับไปก้ต่อเมื่ออานาปานสติบริบูรณ์จากอานาปสติที่แสดงแก่พระราหุล. ลมหายใจจะดับไปด้วย3อาการ ตาย เข้าฌาน4 บรรลุธรรม
4จิตจะเกิดดับก็ต่อเมื่อมันอยู่ร่วมตัวตั้งแต่สองขันต์ขึ้นไป อย่างเช่นจิตอยู่กับขันต์ทั้ง4จิตจะเกิดดับ แต่ถ้าจิตแยกอกจากขันต์ทัง4จิตจะไม่เกิดดับเป็นธาตุรู้ ว่างจากทุกสิ่งเป็นสูญญตาจิตจะทำหน้าที่รับรู้และเข้าถึงความว่าง หรือเรียกว่าหลุดพ้นจากรูปนาม
5 เมื่อกำหนดจิตอยู่กับลม(กาย) จิตจะทิ้ง สัญญา เวทนา สังขาร จิตจะรับรู้เพียงกาย(ลม)เท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 04:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
"๑. คุณแน่ใจแล้วหรือว่าลมหายใจเป็นกาย ?"

1คุณโฮฮับไม่รู้เหรอครับว่าลมหายใจเป็นกายหนึ่งในกายทั้งหลาย

ไม่ใช่ผมไม่รู้แต่ที่ถามก็เป็นเพราะ ผมรู้ว่าคุณไม่รู้ไปหยิบยกเอาบทความคนอื่นมา
โดยขาดความเข้าใจ อีกทั้งเนื้อหาในบทความก็ขาดความเข้าใจคลาดเคลื่อนอีกด้วย
และดูจากที่คุณตอบมา มันก็เป็นแบบที่ผมคิดจริง นั้นก็คือคุณไม่รู้เรื่องกายเลยสักนิด


ลมหายใจเป็นได้ทั้ง"กาย"และ"กายสังขาร"
ถ้ากล่าวถึงกาย ความหมายก็คือธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีจิตมาเกี่ยวข้อง

แต่ถ้ากล่าวถึงกายสังขาร ก็คือ กายหรือธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีจิตเข้าไปเกี่ยวข้องหรือปรุงแต่ง
อย่างเช่น ลมหายใจถ้าเราไม่ไปเพ่งหรือตามรู้ มันก็เป็นเพียงกายหรือธาตุลม

แต่ถ้าเราเข้าไปเพ่งหรือตามรู้ลมเมื่อใด ธาตุลมหรือกายถูกจิตเข้าไปเกี่ยวข้อง
หรือปรุงแต่งแล้ว เราเรียกธาตุลมหรือกายนั้นว่า ลมหายใจหรือกายสังขาร

ซึ่งหลักของอานาปานสติคือ การดับการปรุงแต่งของจิตที่มีต่อลมหายใจ
เมื่อจิตไม่ไปปรุงแต่งลมหรือกาย เราก็จะเห็นว่า ลมหายใจก็เป็นเพียงธาตุลม เป็นหนึ่งในธาตุสี่
ที่มาประชุมกันชั่วคราว สักวันย่อมเสื่อมไป
.....นี่เขาเรียก เห็นกายในกาย


amazing เขียน:
"๒.คุณแน่ใจแล้วหรือว่า การดูลมหายใจเป็นการ ฉุดจิตออกจากอายตนะเก่าๆ
ถามครับแล้วไอ้ลมหายใจเกิดมาจากอะไรครับ?"


2คุณปฎิบัติจนถึงที่สุดแล้วจะรู้ครับ เมื่อรูปนามแยกจากกันด้วยการอยู่กับลมหายใจ(ให้ถึงที่สุด) ถามว่ามันเกิดมาจากไหน รูปนาม กายใจ นั้นเกิดมาจากเหตุปัจจัยตามวงจรปฎิจสมุปาท

เละอีกแล้ว รูปนามแยกจากกันเมื่อไร มันก็ตายเท่านั้นเอง
แล้วที่ถามน่ะ เพื่อบอกว่า ที่คุณเข้าใจน่ะมันผิด ที่บอกว่าฉุดจิตออกจากอายตนะเก่าๆ
ที่เขาทำอานาปานสติหรือการดูลมหายใจก็เพื่อ
ให้รู้ว่า ลมหายใจเป็นเพียงสิ่งที่จิตไปปรุงแต่งกายหรือธาตุลม
แท้จริงแล้วมันมีเหตุปัจจัยมาจาก การกระทบกันของอายตนะ
สรุปเขาให้รู้ที่มาของลมหายใจ ....
นั้นคือมาจากการกระทบของอายตนะ ไม่ใช่ฉุดมันจากอายตนะเก่าๆตามที่คุณบอก
amazing เขียน:
"๓.ถามครับที่ว่าลมหายใจดับไป ยังดำรงค์ขันธ์อยู่นี่ ลมหายใจดับได้ด้วยหรือครับ?"

3 ที่สุดของอานาปาสตินั้นลมอัสสาสะปัสสาสะจะดับไปก้ต่อเมื่ออานาปานสติบริบูรณ์จากอานาปสติที่แสดงแก่พระราหุล. ลมหายใจจะดับไปด้วย3อาการ ตาย เข้าฌาน4 บรรลุธรรม

เอาอะไรมาโยงกันซะเละตุ้มเป๋ะ ความหมายที่ว่า....ลมหายใจดับไป
ความจริงเราก็ยังหายใจอยู่ เพียงแต่จิตเราเกิดญานรู้ว่า ลมหายใจที่จิตไปยึด มันเป็นเพียง
ธาตุลมเป็นหนึ่งในสี่ของมหาภูติรูปสี่ที่มาประชุมกันชั่วคราว จิตก็ส่วนหนึ่ง กายหรือลมก็ส่วนหนึ่ง
จำไว้ลมหายใจไม่ได้ดับไป แต่ที่ดับก็คือจิตตัวที่ไปปรุงแต่งธาตุลมหรือกาย
จนเป็นลมหายใจหรือกายสังขาร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 04:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
"๔.แล้วที่ว่าจิตไม่มีที่เกาะ คุณรู้ใช่มั้ยว่าจิตมันเกิดดับ แบบนี้คุณอธิบายได้มั้ยว่า
จิตเกิดดับแล้วมันเกาะอะไรอย่างไรครับ"


4จิตจะเกิดดับก็ต่อเมื่อมันอยู่ร่วมตัวตั้งแต่สองขันต์ขึ้นไป อย่างเช่นจิตอยู่กับขันต์ทั้ง4จิตจะเกิดดับ แต่ถ้าจิตแยกอกจากขันต์ทัง4จิตจะไม่เกิดดับเป็นธาตุรู้ ว่างจากทุกสิ่งเป็นสูญญตาจิตจะทำหน้าที่รับรู้และเข้าถึงความว่าง หรือเรียกว่าหลุดพ้นจากรูปนาม


ผมจะสอนหลักการแห่งพระอภิธรรมปิฎกง่ายๆให้ฟังนะครับ
จิตเกิดแล้วดับและจิตเกิดดับที่ล่ะดวง
เจตสิกเป็นอาการของจิต เกิดพร้อมจิตและดับพร้อมจิต

จิตหมายถึง วิญญาน ส่วน เวทนา สัญญา และสังขารขันธ์เป็นเจตสิกหรืออาการของจิต
วิญญานกับวิญญานขันธ์แตกต่างกัน

วิญานรู้แล้วดับไม่ปรุงแต่งต่อ แต่ถ้าเป็นวิญญานขันธ์ คือการรู้รูปแล้วปรุงแต่งรูปธรรมจนเกิดเป็น
รูปขันต์ วิญญานขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์

ถ้าคุณใช้หลักการนี้ไปพิจารณาธรรม อาการฟุ้งบัญญัติก็จะหายไป
แต่ถ้ายังไม่มีทิฐิที่ผมบอก เราก็คุยกันไม่รู้เรื่อง
amazing เขียน:
"๕.ที่บอกว่าจิตจะทิ้งขันธ์สามขันธ์ ถามครับทิ้งขันธ์อะไรหรือครับ

5 เมื่อ กำหนดจิตอยู่กับลม(กาย) จิตจะทิ้ง สัญญา เวทนา สังขาร จิตจะรับรู้เพียงกาย(ลม)เท่านั้น

เป็นเพราะคุณเข้าใจไปว่า ลมหายใจเป็นกาย ซึ่งมันคลาดเคลื่อน
การที่คุณเอาจิตไปกำหนดอยู่ที่ลม ลมจะไม่ใช่กาย แต่ลมนั้นจะเป็น กายสังขาร

การใช้คำพูดว่า"จิตละทิ้งขันธ์" มันเป็นคำพูดที่ผิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ขันธ์ห้าเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป จิตตัวที่ไปรู้ลมหายใจก็เป็นขันธ์
ลมหายใจที่จิตไปรู้ นั้นก็คือการทำให้เกิดกระบวนการขันธ์
จิตไปรู้ลมนั้นก็คือเกิดผัสสะขึ้นแล้วที่มโนทวาร เกิดเป็นมโนวิญญาน และเกิดดับจนครบขันธ์ห้า

ลมหายใจที่เป็นกายสังขาร มันมีเหตุปัจจัยมาจากขันธ์ห้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 06:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
amazing เขียน:
"๑. คุณแน่ใจแล้วหรือว่าลมหายใจเป็นกาย ?"

1คุณโฮฮับไม่รู้เหรอครับว่าลมหายใจเป็นกายหนึ่งในกายทั้งหลาย

ไม่ใช่ผมไม่รู้แต่ที่ถามก็เป็นเพราะ ผมรู้ว่าคุณไม่รู้ไปหยิบยกเอาบทความคนอื่นมา
โดยขาดความเข้าใจ อีกทั้งเนื้อหาในบทความก็ขาดความเข้าใจคลาดเคลื่อนอีกด้วย
และดูจากที่คุณตอบมา มันก็เป็นแบบที่ผมคิดจริง นั้นก็คือคุณไม่รู้เรื่องกายเลยสักนิด


ลมหายใจเป็นได้ทั้ง"กาย"และ"กายสังขาร"
ถ้ากล่าวถึงกาย ความหมายก็คือธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีจิตมาเกี่ยวข้อง

แต่ถ้ากล่าวถึงกายสังขาร ก็คือ กายหรือธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีจิตเข้าไปเกี่ยวข้องหรือปรุงแต่ง
อย่างเช่น ลมหายใจถ้าเราไม่ไปเพ่งหรือตามรู้ มันก็เป็นเพียงกายหรือธาตุลม

แต่ถ้าเราเข้าไปเพ่งหรือตามรู้ลมเมื่อใด ธาตุลมหรือกายถูกจิตเข้าไปเกี่ยวข้อง
หรือปรุงแต่งแล้ว เราเรียกธาตุลมหรือกายนั้นว่า ลมหายใจหรือกายสังขาร

ซึ่งหลักของอานาปานสติคือ การดับการปรุงแต่งของจิตที่มีต่อลมหายใจ
เมื่อจิตไม่ไปปรุงแต่งลมหรือกาย เราก็จะเห็นว่า ลมหายใจก็เป็นเพียงธาตุลม เป็นหนึ่งในธาตุสี่
ที่มาประชุมกันชั่วคราว สักวันย่อมเสื่อมไป
.....นี่เขาเรียก เห็นกายในกาย


amazing เขียน:
"๒.คุณแน่ใจแล้วหรือว่า การดูลมหายใจเป็นการ ฉุดจิตออกจากอายตนะเก่าๆ
ถามครับแล้วไอ้ลมหายใจเกิดมาจากอะไรครับ?"


2คุณปฎิบัติจนถึงที่สุดแล้วจะรู้ครับ เมื่อรูปนามแยกจากกันด้วยการอยู่กับลมหายใจ(ให้ถึงที่สุด) ถามว่ามันเกิดมาจากไหน รูปนาม กายใจ นั้นเกิดมาจากเหตุปัจจัยตามวงจรปฎิจสมุปาท

เละอีกแล้ว รูปนามแยกจากกันเมื่อไร มันก็ตายเท่านั้นเอง
แล้วที่ถามน่ะ เพื่อบอกว่า ที่คุณเข้าใจน่ะมันผิด ที่บอกว่าฉุดจิตออกจากอายตนะเก่าๆ
ที่เขาทำอานาปานสติหรือการดูลมหายใจก็เพื่อ
ให้รู้ว่า ลมหายใจเป็นเพียงสิ่งที่จิตไปปรุงแต่งกายหรือธาตุลม
แท้จริงแล้วมันมีเหตุปัจจัยมาจาก การกระทบกันของอายตนะ
สรุปเขาให้รู้ที่มาของลมหายใจ ....
นั้นคือมาจากการกระทบของอายตนะ ไม่ใช่ฉุดมันจากอายตนะเก่าๆตามที่คุณบอก
amazing เขียน:
"๓.ถามครับที่ว่าลมหายใจดับไป ยังดำรงค์ขันธ์อยู่นี่ ลมหายใจดับได้ด้วยหรือครับ?"

3 ที่สุดของอานาปาสตินั้นลมอัสสาสะปัสสาสะจะดับไปก้ต่อเมื่ออานาปานสติบริบูรณ์จากอานาปสติที่แสดงแก่พระราหุล. ลมหายใจจะดับไปด้วย3อาการ ตาย เข้าฌาน4 บรรลุธรรม

เอาอะไรมาโยงกันซะเละตุ้มเป๋ะ ความหมายที่ว่า....ลมหายใจดับไป
ความจริงเราก็ยังหายใจอยู่ เพียงแต่จิตเราเกิดญานรู้ว่า ลมหายใจที่จิตไปยึด มันเป็นเพียง
ธาตุลมเป็นหนึ่งในสี่ของมหาภูติรูปสี่ที่มาประชุมกันชั่วคราว จิตก็ส่วนหนึ่ง กายหรือลมก็ส่วนหนึ่ง
จำไว้ลมหายใจไม่ได้ดับไป แต่ที่ดับก็คือจิตตัวที่ไปปรุงแต่งธาตุลมหรือกาย
จนเป็นลมหายใจหรือกายสังขาร
คุณเอาอภิธรรมนี้มาจากไหน ผมอธิบายง่ายๆลมก็คือกายหนึ่งในกายทั้งหลาย ก็คือกายในกายที่คุณบอกนั้นุถูกต้องป่าว คุณก็รู้ว่ากระทบอาตยนะเท่านั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่ทั่วไปคนทำอานาปานเขารู้กัน แต่ที่จริงที่กายสังขารระงับไปนั้นนันคือจิตทิ้งอาตยนะทั้งหมดยนั้นคือจิตทิ้งกายเมื่อจิตสังขารดับจิตทิ้งจิตะเเหลือวิญญาณธาตุที่เป็นตัวรูอย่างเดียว สิ่งที่ผมบอกถ้าคุณไปถึงได้จริงคุณจะรู้ถ้าคุณยังไปไม่ถึงคุณก็จะอธิบายคงเข้าใจได้ตามความหมายของคนที่บรรยายอภิธรรมที่มีแค่สิ่งที่ถูกแต่งขึ้นใหม่ทั้งหมดไม่มีในพระไตรปิฎกฉบับบาลีสยามรัฐ ซึ่งงจะไม่ต่างจากสิ่งที่ผมนำมากล่าวซึ่งออกจากความรู้สึกผมที่ขณะนั้นจิตผมรับรู้แต่สภาความไม่เกิดไม่ดับ ไม่รับรู้สิ่งที่มากระทบทวารทั้งหมดในขณะนั้นซึ่งคุณจะบอกว่าจิตที่รับรู้มันดับไปไม่ใช่กายแยกจากจิตซึ่งเป็นที่เข้าใจตามอภิธรรมที่คุณเสนอมา แต่คุณก็น่าจะรู้ใช่ป่าวว่าเมื่อวิญญาณหรือจิตแยกออกจากกกายนั้นหรือคุณไม่รู้(ขอใช้ภาษาที่มาจากความรู้สึกที่เห็นจริงนะไม่เอาจากตำราที่แต่งใหม่ๆ) ที่จริงคุณบอกว่าเรายังหายใจอยู่ในขณะนั้นคนที่ไปถึงจะไม่พูดอย่างนั้น เพราะเขาไม่ได้รับรู้การหายใจเลยเขาจะกล่าวว่าหายใจได้อย่างไร แต่คนที่พูดว่าหายใจคือคนที่อ่านจากตำรา ที่คุณกล่าวว่าลมดับไปไม่ได้นั้นคุณดูพระสูตรนี้
ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็น
อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2013, 07:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
amazing เขียน:
"๔.แล้วที่ว่าจิตไม่มีที่เกาะ คุณรู้ใช่มั้ยว่าจิตมันเกิดดับ แบบนี้คุณอธิบายได้มั้ยว่า
จิตเกิดดับแล้วมันเกาะอะไรอย่างไรครับ"


4จิตจะเกิดดับก็ต่อเมื่อมันอยู่ร่วมตัวตั้งแต่สองขันต์ขึ้นไป อย่างเช่นจิตอยู่กับขันต์ทั้ง4จิตจะเกิดดับ แต่ถ้าจิตแยกอกจากขันต์ทัง4จิตจะไม่เกิดดับเป็นธาตุรู้ ว่างจากทุกสิ่งเป็นสูญญตาจิตจะทำหน้าที่รับรู้และเข้าถึงความว่าง หรือเรียกว่าหลุดพ้นจากรูปนาม


ผมจะสอนหลักการแห่งพระอภิธรรมปิฎกง่ายๆให้ฟังนะครับ
จิตเกิดแล้วดับและจิตเกิดดับที่ล่ะดวง
เจตสิกเป็นอาการของจิต เกิดพร้อมจิตและดับพร้อมจิต

จิตหมายถึง วิญญาน ส่วน เวทนา สัญญา และสังขารขันธ์เป็นเจตสิกหรืออาการของจิต
วิญญานกับวิญญานขันธ์แตกต่างกัน

วิญานรู้แล้วดับไม่ปรุงแต่งต่อ แต่ถ้าเป็นวิญญานขันธ์ คือการรู้รูปแล้วปรุงแต่งรูปธรรมจนเกิดเป็น
รูปขันต์ วิญญานขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์

ถ้าคุณใช้หลักการนี้ไปพิจารณาธรรม อาการฟุ้งบัญญัติก็จะหายไป
แต่ถ้ายังไม่มีทิฐิที่ผมบอก เราก็คุยกันไม่รู้เรื่อง
amazing เขียน:
"๕.ที่บอกว่าจิตจะทิ้งขันธ์สามขันธ์ ถามครับทิ้งขันธ์อะไรหรือครับ

5 เมื่อ กำหนดจิตอยู่กับลม(กาย) จิตจะทิ้ง สัญญา เวทนา สังขาร จิตจะรับรู้เพียงกาย(ลม)เท่านั้น

เป็นเพราะคุณเข้าใจไปว่า ลมหายใจเป็นกาย ซึ่งมันคลาดเคลื่อน
การที่คุณเอาจิตไปกำหนดอยู่ที่ลม ลมจะไม่ใช่กาย แต่ลมนั้นจะเป็น กายสังขาร

การใช้คำพูดว่า"จิตละทิ้งขันธ์" มันเป็นคำพูดที่ผิดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ขันธ์ห้าเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป จิตตัวที่ไปรู้ลมหายใจก็เป็นขันธ์
ลมหายใจที่จิตไปรู้ นั้นก็คือการทำให้เกิดกระบวนการขันธ์
จิตไปรู้ลมนั้นก็คือเกิดผัสสะขึ้นแล้วที่มโนทวาร เกิดเป็นมโนวิญญาน และเกิดดับจนครบขันธ์ห้า

ลมหายใจที่เป็นกายสังขาร มันมีเหตุปัจจัยมาจากขันธ์ห้า
วิญญาณหรือวิญญานขันต์นั้นเป็นสิ่งเดียวกันไม่ต้องแยกหรอกครับเพียงแต่มันทำหน้าที่ได้ตามสถานะ ส่วนการมีสติอยู่กับลมนั้นไม่ได้หมายความว่ามาบรรยายเกี่ยวกับอาการของลมหายใจกับจิตที่มันเกิดดับอยู่ตามธรรมชาติ เรากำลังเรียนรู้จิตกับลมที่มันมากกว่าเห็นการเกิดดับ เรากำลังจะเข้าสู่ความไม่เกิดไม่ดับด้วยการใช้จิตกับลมซึ่งถือว่าเป็นการเจริญกายคตาสติที่พระองค์ทรงสรรเสริญเจริญให้มากทำให้มาก

ส่วนคุณจะอธิบายตามอภิธรรมที่แต่งใหม่ขึ้นมานั้น เราคงคุยกันไม่ได้จริงๆ เพราะทั้งหมดนี้เิกิดจากการเข้าถึงเป็นสภาวะจริง มิได้เกิดจากการศึกษา เมื่อเข้าถึงสภาวะที่มีแต่วิญญานล้วน เมื่อไม่มีกายอาตายนะก็ไม่มี ลมหายใจซึ่งเป็นกายในกายก็ไม่มี(ดับไป) วิญญานที่เป็นธาตุรู้กจะพบกับสภาวะไม่เกิดไม่ดับ ไม่มีตัวตน เป็นสูญญตา และเมื่อจิตกลับสู่สภาวะปรกติ สิ่งที่เคยสงสัยในสิ่งที่ได้เรียนรู้ได้ฟังมาเกี่ยวกับเรื่องทั้งหมดก็คลายหายสงสัยโดยไม่ต้องมีคำอธิบายใดๆ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 228 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 16  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร