วันเวลาปัจจุบัน 18 พ.ค. 2025, 23:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 338 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 23  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 21:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สาธุค่ะ ดิฉันเข้าใจในสิ่งที่คุณเช่นนั้นได้เขียน แต่ดิฉันผิดเองที่เขียนสั้นๆ มันเลยคนละความหมาย ในความหมายของดิฉันคือ เป็นไปได้ไหม ที่ในจิตเรานั้น จะรู้สึกว่า ขันธ์แต่ละขันธ์แยกกันออกอย่างชัดเจน ที่ถามเพราะดิฉันรุ้สึกอย่างนี้ ไม่มีขันธ์ไหนเกี่ยวข้องกันในความรู้สึกนะค่ะ

เนื่องจากดิฉันเป็นผู้ฝึกผู้เรียนรู้ ดิฉันเลยไม่แน่ใจว่า สิ่งที่ดิฉันรู้นั้นถูกหรือไม่ จึงต้องมาขอความเมตตาจากท่านผู้รู้ในนี้นะค่ะ ดิฉันจะยกตัวอย่างความรุ้สึกให้ดูนะค่ะ จะได้เข้าใจกันได้ตรงกัน

- เมื่อเห็นรูป ใจมันตัด รูปก็คือรูป ใจไม่ติดไม่สนใจ เห็นรูป ก็คือเห็นรูป ไม่มีความรู้สึกต่อ มันหยุดที่เห็นรูปเท่านั้น

- มีไหม ที่ทุกข์ สุข ไม่ทุกข์ไม่สุขไม่มี มีแต่ความเฉย และมีรำคาญกับสิ่งที่กระทบภายนอกบ้าง ในใจนั้นจะมีอารมณ์เดียว คือ คือนิ่งอยุ่กับตัวไม่ได้สนใจรูป ไม่ได้สนใจสังขาร ไม่ได้สนใจวิญญาณ

ยกตัวอย่างแบบนี้นะค่ะ เพราะจริงๆดิฉันไม่ใช่ผู้รู้ ดิฉันเป็นเพียงผู้ฝึก และยังต้องเรียนรู้อีกมาก เลยต้องมาถามผู้รู้ กราบขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีครับพี่ขนมจีบซาลาเปา :b8:
ขันธ์ 5 โดยนัยและหน้าที่ของตัวมันเองนั้นก็แสดงความจริงอย่างชัดเจนแล้วว่าเป็นเอกเทศต่อกัน ผู้ปฏิบัติที่มีกำลังสมาธิ กำลังสติ มากขึ้นย่อมจะเห็นการแสดงตัวและอาการของขันธ์ 5 ได้ชัดเจนมากขึ้น อย่างที่พี่รู้สึกได้ครับ...เพียงแต่ว่าตามธรรมดาแล้วอาการของขันธ์ 5 นั้นมันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเร็วมาก จากขันธ์หนึ่งต่อไปสู่ขันธ์หนึ่ง ถ้าไม่ใช่ผู้ที่ปฏิบัติจนถึงขึ้นที่จิตละเอียดที่สุดแล้วจะมองออกอย่างชัดเจนไม่ได้เลย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราเห็นใครกำลังกินมะขามอยู่ แล้วเราน้ำลายสอขึ้นมา...อธิบายได้ว่า เมื่อตากระทบรูปเห็นคนกำลังกินมะขาม(จักษุวิญญาณ)นั้น ทันทีทันใดจิตสังขารก็ทำหน้าที่ของมันปรุงแต่งให้เกิดชิวหาสัญญา(ความจำรส)ขึ้นต่อเนื่องตามมาแล้วต่อออกมาเป็นเวทนาคือน้ำลายสอและอาจจะต่อไปถึงตัณหาความอยากจนต้องไปหาซื้อมะขามมากิน...ซึ่งกระบวนการเหล่านี้มันเกิดขึ้นต่อเนื่องและรวดเร็วมากจนอยากที่สติของคนธรรมดาที่ไม่ได้ฝึกฝนมาเพียงพอจะตามรู้ได้ทันครับ...และไอ้ตัวการที่ตัวต้นเรื่องก็คือตัว(จิต)สังขารนั่นเองครับที่ที่คอยทำตัวเป็นผู้ยุแยงคอยชี้นำให้เราหลงไปตามผัสสะหรืออารมณ์ต่างๆ เพราะจิตสังขารตัวนี้มันประกอบไปด้วยอวิชชานั่นเองครับ
สิ่งที่เป็นคู่ปรับกับจิตสังขารที่มีอวิชชาประกอบก็คือตัวสตินั่นเองครับ สตินี้เมื่อตามรู้ที่ตรงไหนมันก็จะผลิตอาวุธคือปัญญาขึ้นมาฟาดฟันที่ตรงนั้น ถ้าปัญญาเป็นฝ่ายชนะอวิชชาตรงเวทนา ตัณหาก็ต่อออกมาไม่ได้ แต่ถ้าสติปัญญาแพ้ตัณหาก็เกิดขึ้นได้ตามมาครับ
ดังนั้นพระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์เจ้าทั้งหลายจึงยกย่องสติอย่างยิ่งและยกให้มหาสติปัฏฐานเป็นธรรมเครื่องต่อสู้กับอวิชชาครับถ้าพี่ขนมจีบซาลาเปาต้องการความเจริญในธรรมยิ่งขึ้นก็ขอให้ยกเอามหาสติปัฏฐานขึ้นมาพิจารณาอย่างต่อเนื่องและเป็นนิจนะครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 21:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




clipart71.jpg
clipart71.jpg [ 15.63 KiB | เปิดดู 4311 ครั้ง ]
:b12:
ลูกพระป่า.........
สวัสดีครับทุกท่าน
อยากทราบว่ามีใครเคยสงสัยสังขารและวิญญาณที่ต่อออกมาจากอวิชชากับสังขารวิญญาณในรูปนามกับบ้างมั้ย ว่ามันเหมือนหรือต่างกันหรือเปล่าครับ...ตัวผมเองเคยสงสัยและได้เคยลองพิจารณาดูจนได้คำตอบที่(เคย)เข้าใจว่าถูก...แต่เมื่อเร็วๆนี้เหมือนได้ความอนุเคราะห์จากครูบาอาจารย์ท่านช่วยแก้ความเข้าใจผิดให้...คือผมเคยพิจารณาว่ามันต่างกัน สังขารที่ต่อมาจากอวิชชานั้นผมพิจารณาว่ามันคือสังขารที่ปรุงมาจากธาตุสี่ ส่วนวิญญาณที่ต่อมาจากสังขารก็คือจิตที่มาอาศัยกายสังขาร ส่วนอวิชชาผมพิจารณาว่าเป็นอวิชชาของบิดามารดาที่ทำให้ท่านมาครองเรือนกันจนให้กำเนิดครรภ์ขึ้นมาครับ แต่ตอนนี้รู้แล้วว่าตัวเองรู้ผิดไปเยอะครับ
เลยอยากรู้ว่าทุกท่านในนี้เคยสงสัยหรือรู้ความหมายของสังขารและวิญญาณในปฏิจจสมุปบาทกันบ้างมั้ยครับ
ขอบคุณครับ
:b12: :b12: :b12:
asoka.........
สาธุ อนุโมทนากับคุณขนมจีบซาลาเปา เป็นอย่างยิ่ง สิ่งที่เกิดเป็นกังขาในใจของคุณนั้นก็เพราะคุณไปพบสภาวะจริงๆซึ่งบัญญัติทั้งหลายยากจะบรรยายได้ถึง ต้องรู้ที่ใจเจ้าของ
:b16:
สำหรับคุณลูกพระป่า................
คุณลองมาฟังเรื่อง อวิชชาปัจจัยาสังขาราสำนวนลูกทุ่งดูซิครับ ดูซิว่าจะถึงบางอ้อได้ไหม?

สังเกตให้ดี ปฏิจจสมุปบาททั้ง 12 พูดถึงแต่ปัจจัย ไม่พูดถึง "เหตุ" เหตุอะไรหนอ มากระทบกับปัจจัยทั้ง 12 จึงทำให้วงปฏิจจสมุปบาทหมุนวน?

จากธัมมวิจัยหรือการวิเคราะห์ธรรมของท่านผู้ปฏิบัติท่านหนึ่งท่านสรุปว่า

อวิชชา คือความไม่รู้ ..... เพราะไม่รู้จึงเห็นผิด.....เห็นผิดคือเห็นเป็นอัตตาตัวตน.....อัตตาตัวตนแรกคือความเห็นว่าเป็นรูปสังขารตั้งอยู่.......เป็นสังขารตัวนี้ (อวิชชาปัจจัยาสังขารา) ยังไม่ใช่จิตสังขารการปรุงแต่ง.....
เมื่อรูป(สังขาร)มี จึงเป็นปัจจัยให้สิ่งที่ไปรู้รูปสังขารคือ "วิญญาณ" เกิดขึ้นมา ถึงตอนนี้ รูปแรก นามแรกเกิดครบ
รูปสังขารที่ตั้งให้รู้เป็น "รูป"
จิตที่ไปรู้รูปคือวิญญาณ เป็น "นาม"
วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิด นาม - รูป

เมื่อมี ผู้รู้ กับ สิ่งที่ถูกรู้ เกิดขึ้น จึงเป็นปัจจัยให้ สฬายตนะคือประสาทสัมผัสทั้ง 6 เกิดขึ้น และต่อๆกันไปจนครบองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท

ทุกปัจจัยล้วนมีเหตุอันซ่อนไว้ให้กระทบอยู่ตลอดเวลา ความนี้ยิ่งน่าพิจารณาต่อไปว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างช่วงต่อของเวทนากับตัณหา และสัมพันธ์กับสติปัฏฐาน 4 ซึ่งท่านกล่าวว่า วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง คือเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก ซึ่งแสดงว่า ทั้งฐาน กาย เวทนา จิต ธรรมสิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นผลรวม คืออภิชฌา โทมนัสสัง ความยินดียินร้าย

ใคร ? เป็นผู้ยินดียินร้าย ?

นั่นแหละคือตัวเหตุหรืออวิชชาที่ซ่อนอยู่หลังฉาก การเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายที่ถูกวิธีก็ต้องไปเอาตัวผู้ยินดียินร้ายออกเสียให้ได้ ไม่มีผู้ยินดียินร้ายเสียแล้ว ความยินดียินร้ายจะเกิดมาแต่ที่ใด? นี่เป็นประเด็นธรรมที่สำคัญมากและเป็นเป้าหมายแรกที่ชาวพุทธทุกคนควรไปถึงให้ได้ในชาติปัจจุบันนี้

อวิชชานิโรธา สังขารานิโรโธ.............นี่ตรงกับประเด็นของมรรค 1 ไหม? อวิชชาตัวหยาบคือ “สักกายทิฐิ” ต้องถูกทำลายก่อนใช่หรือไม่? แล้วอวิชชาตัวละเอียดคือ "มานะทิฏฐิ"จึงจะสามารถทำลายให้หมดสิ้นไปในอีก 3 มรรคที่เหลือ

smiley
ขนมจีบ ซาละเปา.......
..ประทานโทษนะค่ะ ไม่อยากจะบอกเลย ขนาดลูกทุ่งแล้ว ดิฉันก็ยังอ่านไม่รู้เรื่อง
ศัพท์วิชาการเยอะ จนตาลาย ที่บอกนี่ ไม่ได้จะว่าอะไรท่านนะค่ะ แต่มาบอกเพื่อให้รู้ว่าปํญญาดิฉันคงไม่ถึงขั้น จึงแปลไทยเป็นไทยไม่ออก..คือ ดิฉันอ่านแล้วมึนนะค่ะ กราบขอประทานโทษอีกทีนะค่ะ

(คือ ดิฉันพยายามแล้วแต่หมดปัญญาที่จะเข้าใจนะค่ะ)

tongue
ก็ต้องขออภัยคุณขนมจีบซาละเปามากๆ เพราะผิดจุด ผิดฝาผิดตัว เรื่องที่เขียนควรจะเป็นคำตอบสำหรับคุณลูกพระป่าครับ คุณกำลังสนทนากับท่าเช่นนั้นเพลินๆ ขออภัยครับที่มาขัดจังหวะ
:b12: :b12: :b12: :b12: :b12:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 21:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2012, 17:37
โพสต์: 35


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
ขออนุญาติถามต่อน่ะค่ะ การเข้าเวทยตนิโรธสมาบัตินี้ อย่างที่ท่านอธิบาย ว่า สังขารซึ่งแปลภาษาชาวบ้านแปลว่าสิ่งปรุงแต่ง กับวิญญาณ ซึ่งแปลว่า ประสาทสัมผัสนี้นะค่ะ มันดับลงพร้อมกัน....การดับลงพร้อมกัน มันมีอาการยังไงค่ะ ไม่รู้สึกตัวเหรอค่ะ ...อยากทราบนะค่ะ หรือว่า มันเป็นลักษณะ ของ ขันธ์แยกจิต คล้าย คนที่เข้าฌาน4 ที่จะไม่รับรู้อาการทางกายนะค่ะ


เช่นนั้น ยังเข้าสัญญาเวยิตนิโรธสมาบัติไม่ได้ครับ

เพียงแต่ทราบว่า การเข้าสัญญาเวยิตนิโรธสมาบัติ เข้าได้ด้วยกำลังอธิษฐาน ให้จิตสังขารดับไปในเวลาที่กำหนด ทำความดับแห่ง จิตตสังขาร คือสัญญา และเวทนา แต่ไม่ได้ดับสังขารขันธ์ คือตัวสติและปัญญาครับ เป็นคนละเรื่องกัน

เพราะถ้าดับสติ และปัญญา อันเป็นสังขารขันธ์ ก็คงจะเข้าและออกจากสมาบัตินี้ไม่ได้ครับ

ส่วนอาการ ความรู้สึกเป็นอย่างไร ตอบไม่ได้ครับ เพราะกำลังสมาธิและกำลังปัญญาไม่แข็งแรงเพียงพอจึงอธิบายไม่ได้ครับ

เจริญธรรม


:b8: กราบของพระคุณค่ะที่ให้ความรู้ :b8:

ขออนุญาติถามต่อได้ไหมค่ะ ท่านรำคาญดิฉันหรือยัง Kiss

วันก่อน ดิฉันมีอาการอย่างหนึ่งที่ไม่รู้จัก ว่าคืออะไร ดิฉันจึงอยากจะมาเรียนถามนะค่ะ

เนื่องจากวันก่อน ดิฉันป่วย กายเหนื่อยล้าสะสมมาหลายวัน ตอนเช้าก็ยังปกติดี คือกายป่วยแต่จิตไม่ป่วย ก็ยังทำอะไรได้ปกติ พอตอนสายๆ จิตเห็นความวุ่นวายในโลก เกิดอาการเหนื่อยหน่ายในจิต แต่ก็ำทำตัวปกติ แต่เมื่ออาการทางจิตเกิดหน่ายมากๆ..อยู่มันก็เกิดอาการดับค่ะ คือ มันไม่รู้สึกอะไรในจิต คือนิ่งเฉย ไม่ว่างเปล่า มันเป็นอาการนิ่ง เหมือนว่า เราได้ตายไปแล้วแต่ยังต้องไหลไปกับกระแสโลก

พอเห็นอาการแปลกๆ ดิฉันก็อยากหลุดจากอาการนี้ เลยหาหนังสือมาธรรมที่ชอบมาอ่าน จนมันก็ไม่ติด ไม่เอา จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นเอาหนังสือกำลังภายในที่กำลังติดตามกำลังสนุกขึ้นมาอ่านแทน แต่จิตมันก็กลับไม่ติดไม่เอา..คือมันจะอยู่กับอารมณ์ดับ เหมือนไม่รู้สึก แต่มีสติทุกอย่าง เหมือนเรามีแต่ร่างกาย ทำอะไรได้ปกติ ไม่มีอาการรู้สึกลอยๆ มีสติครบ แค่รู้ว่ามันไม่รู้สึกอะไร จะรู้สึกว่ามันเกิดอาการเหมือนคนตายที่ไม่รู้สึกอะไรทั้งสิ้น ทั้งๆที่เรายังลืมตาอยู่ ยังต้องทำงานและใช้ชีวิตประจำวัน อยู่

เมื่อพยายามจะให็หลุดจากอาการนี้ มันก็ไม่หลุด เลยบอกตัวเองว่าช่างมัน ก็เลยปล่อยไป เป็นอาการนี้ตั้งแต่บ่ายจนไปถึงนอน ที่หลุดได้เพราะต้องสวดมนต์ก่อนนอน เลยได้หลุดอาการนี้ออกมา อาการนี้เขาเรียกว่าอะไรค่ะ ดิฉันเข้าอรูปหรือค่ะ อรูปดิฉันรู้จัก อยู่มีไม่กี่อย่างคือ ความว่างที่ไม่มีสิ้นสุด กับการที่ไม่จำอะไรเลย สามารถตัดให้ไม่จำมันได้คือสั่งให้มันลืมก็ลืมได้ กับอีกอย่างคืออาการลอยๆ เหมือนว่างๆไม่มีที่สิ้นสุด เว้งว้างนะค่ะ อาการที่ว่าดิฉันไม่รู้จัก จึงมาถามว่า มันคืออาการอะไรค่ะ กราบขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
สังขารในปฏิจจสมุปบาท จัดอยู่ในอะไรในขันธ์5

สังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท) ไม่ใช่ รูป
สังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท) ไม่ใช่ เวทนา
สังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท) ไม่ใช่ สัญญา
สังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท) เป็นองค์ธรรมหนึ่ง ในสังขาร
สังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท) ไม่ใช่ วิญญาณ


เพราะขันธ์5 ไม่บริสุทธิ์ คือยังประกอบด้วยกิเลส เช่น อวิชชาเป็นต้น เมื่อจุติจิตดับไป ปฏิสนธิจิต จึงเกิดสืบต่อ


เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี (สังขารในที่นี้คือ สังขารในปฏิจจสมุปบาท)

เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี (วิญญาณในที่นี้คือ ปฏิสนธิจิต)

ตราบใดที่ขันธ์5 ยังประกอบด้วยอวิชชา ตราบนั้น ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด ไปตามภพภูมิต่างๆ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 22:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2012, 17:37
โพสต์: 35


 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
อ้างคำพูด:
สาธุค่ะ ดิฉันเข้าใจในสิ่งที่คุณเช่นนั้นได้เขียน แต่ดิฉันผิดเองที่เขียนสั้นๆ มันเลยคนละความหมาย ในความหมายของดิฉันคือ เป็นไปได้ไหม ที่ในจิตเรานั้น จะรู้สึกว่า ขันธ์แต่ละขันธ์แยกกันออกอย่างชัดเจน ที่ถามเพราะดิฉันรุ้สึกอย่างนี้ ไม่มีขันธ์ไหนเกี่ยวข้องกันในความรู้สึกนะค่ะ

เนื่องจากดิฉันเป็นผู้ฝึกผู้เรียนรู้ ดิฉันเลยไม่แน่ใจว่า สิ่งที่ดิฉันรู้นั้นถูกหรือไม่ จึงต้องมาขอความเมตตาจากท่านผู้รู้ในนี้นะค่ะ ดิฉันจะยกตัวอย่างความรุ้สึกให้ดูนะค่ะ จะได้เข้าใจกันได้ตรงกัน

- เมื่อเห็นรูป ใจมันตัด รูปก็คือรูป ใจไม่ติดไม่สนใจ เห็นรูป ก็คือเห็นรูป ไม่มีความรู้สึกต่อ มันหยุดที่เห็นรูปเท่านั้น

- มีไหม ที่ทุกข์ สุข ไม่ทุกข์ไม่สุขไม่มี มีแต่ความเฉย และมีรำคาญกับสิ่งที่กระทบภายนอกบ้าง ในใจนั้นจะมีอารมณ์เดียว คือ คือนิ่งอยุ่กับตัวไม่ได้สนใจรูป ไม่ได้สนใจสังขาร ไม่ได้สนใจวิญญาณ

ยกตัวอย่างแบบนี้นะค่ะ เพราะจริงๆดิฉันไม่ใช่ผู้รู้ ดิฉันเป็นเพียงผู้ฝึก และยังต้องเรียนรู้อีกมาก เลยต้องมาถามผู้รู้ กราบขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีครับพี่ขนมจีบซาลาเปา :b8:
ขันธ์ 5 โดยนัยและหน้าที่ของตัวมันเองนั้นก็แสดงความจริงอย่างชัดเจนแล้วว่าเป็นเอกเทศต่อกัน ผู้ปฏิบัติที่มีกำลังสมาธิ กำลังสติ มากขึ้นย่อมจะเห็นการแสดงตัวและอาการของขันธ์ 5 ได้ชัดเจนมากขึ้น อย่างที่พี่รู้สึกได้ครับ...เพียงแต่ว่าตามธรรมดาแล้วอาการของขันธ์ 5 นั้นมันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเร็วมาก จากขันธ์หนึ่งต่อไปสู่ขันธ์หนึ่ง ถ้าไม่ใช่ผู้ที่ปฏิบัติจนถึงขึ้นที่จิตละเอียดที่สุดแล้วจะมองออกอย่างชัดเจนไม่ได้เลย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราเห็นใครกำลังกินมะขามอยู่ แล้วเราน้ำลายสอขึ้นมา...อธิบายได้ว่า เมื่อตากระทบรูปเห็นคนกำลังกินมะขาม(จักษุวิญญาณ)นั้น ทันทีทันใดจิตสังขารก็ทำหน้าที่ของมันปรุงแต่งให้เกิดชิวหาสัญญา(ความจำรส)ขึ้นต่อเนื่องตามมาแล้วต่อออกมาเป็นเวทนาคือน้ำลายสอและอาจจะต่อไปถึงตัณหาความอยากจนต้องไปหาซื้อมะขามมากิน...ซึ่งกระบวนการเหล่านี้มันเกิดขึ้นต่อเนื่องและรวดเร็วมากจนอยากที่สติของคนธรรมดาที่ไม่ได้ฝึกฝนมาเพียงพอจะตามรู้ได้ทันครับ...และไอ้ตัวการที่ตัวต้นเรื่องก็คือตัว(จิต)สังขารนั่นเองครับที่ที่คอยทำตัวเป็นผู้ยุแยงคอยชี้นำให้เราหลงไปตามผัสสะหรืออารมณ์ต่างๆ เพราะจิตสังขารตัวนี้มันประกอบไปด้วยอวิชชานั่นเองครับ
สิ่งที่เป็นคู่ปรับกับจิตสังขารที่มีอวิชชาประกอบก็คือตัวสตินั่นเองครับ สตินี้เมื่อตามรู้ที่ตรงไหนมันก็จะผลิตอาวุธคือปัญญาขึ้นมาฟาดฟันที่ตรงนั้น ถ้าปัญญาเป็นฝ่ายชนะอวิชชาตรงเวทนา ตัณหาก็ต่อออกมาไม่ได้ แต่ถ้าสติปัญญาแพ้ตัณหาก็เกิดขึ้นได้ตามมาครับ
ดังนั้นพระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์เจ้าทั้งหลายจึงยกย่องสติอย่างยิ่งและยกให้มหาสติปัฏฐานเป็นธรรมเครื่องต่อสู้กับอวิชชาครับถ้าพี่ขนมจีบซาลาเปาต้องการความเจริญในธรรมยิ่งขึ้นก็ขอให้ยกเอามหาสติปัฏฐานขึ้นมาพิจารณาอย่างต่อเนื่องและเป็นนิจนะครับ
ขอบคุณครับ :b8:


:b8: สาธุค่ะ ที่มาแนะนำและบอกกล่าว...แต่ดิฉันสงสัยอย่างหนึ่งว่า(จริงๆสงสัยมานานแล้วนะค่ะ) การทำตัมยำชิมแล้วก็รู้ว่าเป็นต้มยำ เหตุใดต้องชี้แจงว่า ในนั้นมี ข่า มีพริก มีตะไคร้ มีน้ำมะนาว ฯลฯ

เหตุใดไม่ว่า จะรู้ว่ากระทบอายตนะอะไรสืบต่อมาที่ไหน ผ่านระบบทุกอย่างมา 108 แต่ทั้ง108 ประการนี้เกิดที่จิตไม่ใช่หรือค่ะ นี่คือสงสัยนะค่ะ ไม่ได้ตั้งใจจะกวนประการใด เมื่อจิตเรามีราคะก็รู้ว่ามีราคะ จิตเรามีปิติก็รู้ว่าจิตเรามีปิติ จิตเราลังเลสงสัยก็รู้ว่าจิตเราลังเลสงสัย คือดูที่ผลของจิตที่ปรากฏขึ้นแก่จิต เหตุใดถึงไปดุเหตุละเอียดปลีกย่อยเยอะแยะไปหมดทั้งๆที่ผลออกมาก็อันเดียวกันคือ จิตลังเลสงสัย เราก็รู้ว่าจิตลังเลสงสัย

เมื่อเรารู้ผลของการเกิดทุกข์เกิดอวิชชาแก่จิตแล้วเราก็แก้ที่ผลที่เกิดแก่จิตเลย เช่นว่า จิตมีราคะ เมื่อเรารู้ว่าจิตเรามีราคะ เราก็เอา ปฎิกูลบรรพมาใช้ เอาธาตุ 4 และนวสี มาใช้มาพิจาณาเลย เหตุใดทำไมต้องตามไปดูอายตนะ12 ไล่มาเรื่อยๆ จนถึงว่าจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ เราสามารถลัดขั้นตอนการทำก็ได้ไม่ใช่หรือค่ะ

นี่ยกตัวอย่างให้ดูนะค่ะ ถ้าเราดูทีละขั้นตอนไป เมื่อไหรมันถึงจะถึงจุดที่จิตรู้ว่า จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ เราแก้อวิชชาที่สังโยชน์ เดินตามและเกาะตามสังโยชน์ ดิฉันคิดอย่างนี้ ฆ่าตัวแม่ ตัวจิ๊บตัวจ้อยมันก็ตายไปเองน่ะค่ะ

นี่คือความคิดเห็นส่วนตัว ถือว่าแลกเปลี่ยนความรู้กันนะค่ะ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย ขนมจีบซาลาเปา เมื่อ 04 พ.ค. 2012, 22:27, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 22:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถามต่อนะค่ะ ในความรำคาญที่เกิดขึ้น เกิดจาก เราเห็นความวุ่นวายของโลก เห็นความวุ่นวายของจิตที่ส่งออก ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่..ทำให้เรารู้สึกรำคาญ อยากหลีกหนี ความวุ่นวายของจิตของสิ่งแวดล้อมที่ไม่จบสิ้นอาการแบบนี้เรียกว่า จิตปรุงแต่งใช่ไหมค่ะ

..การหลีกหนีที่ทำได้คือ การสงบอยู่กับจิต อยู่กับธรรม ไม่ส่งจิตออก อยู่กับอารมณ์เดียว (แต่ไม่ได้ทำสมาธิ ไม่ได้เข้าทั้งรุปและอรูป อยู่เฉยๆ แต่สงบอยู่กับตัวแบบมีสติ ไม่ได้ตั้งท่า แต่ทุกอย่างเป็นธรรมชาติของตัวเรา จิตที่รู้สึกถึงความวุ่นวาย จิตอยากสงบเองนะค่ะ..อย่างนี้เขาเีรียกว่าอะไรค่ะ..ไม่ได้ทำสมาธิมาเป็นเดือนแล้ว มีแต่ดูความเป็นไปในธรรมดาของโลก

สวัสดีครับพี่ขนมจีบซาลาเปา :b8:
ข้อความข้างต้นนั้นที่เห็นว่าเป็นจิตสังขารนั้นถูกต้องแล้วครับ ผมเคยเป็นมาแล้วเหมือนกันครับ จุดนี้เกิดจากความเจ้าเล่ห์ของอวิชชาที่มันแฝงอยู่ในใจของเรา ที่ดูเผินๆแล้วเหมือนจะเกิดจากธรรมที่แสดงตัวออกมาให้เราดูให้เรารู้ แต่ชั่วจังหวะที่เราเห็นธรรมนั่นแหละครับที่อวิชชามันแทรกเข้ามาบงการจิตของเราให้ปรุงแต่งต่อออกไปจนเกิดเป็นความทุกข์ใจ รำคาญใจ อึดอัดใจ เพราะโดนปรุงแต่งจนถือเอามายึดไว้โดยไม่รู้ตัวครับ ผมเองก็อยู่ในภาวะนี้นานหลายเดือนทีเดียว แต่เพราะไม่เคยทิ้งการเจริญสมาธิภาวนาทำอยู่เนืองๆจนที่สุดสติมันมีกำลังพอที่จะมองออกถึงเล่ห์เพทุบายแห่งอวิชชา จึงฟาดฟันมันขาดจนได้...หลังจากนั้นจิตก็เห็นโลกที่วุ่นวายเป็นโลกที่ธรรมดา...เป็นธรรมดาของโลก
ส่วนที่ว่าพี่ทำการหลีกหนีนั้น ผมไม่เห็นว่าจะเป็นการดีเท่าไหร่นะครับ แทนที่จะหนีไปอยู่กับความสงบเราควรหันหน้ามาค้นคว้าพิจารณาเอาสติปัญญามาฟาดฟันกับกิเลสอวิชชาดีกว่านะครับ เพราะเมื่อเรารบจนประสบชัยชนะแล้ว ความสงบที่แท้และยั่งยืนมันเกิดขึ้นตามมาแน่นอนครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 22:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2012, 17:37
โพสต์: 35


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12:
ลูกพระป่า.........
สวัสดีครับทุกท่าน
อยากทราบว่ามีใครเคยสงสัยสังขารและวิญญาณที่ต่อออกมาจากอวิชชากับสังขารวิญญาณในรูปนามกับบ้างมั้ย ว่ามันเหมือนหรือต่างกันหรือเปล่าครับ...ตัวผมเองเคยสงสัยและได้เคยลองพิจารณาดูจนได้คำตอบที่(เคย)เข้าใจว่าถูก...แต่เมื่อเร็วๆนี้เหมือนได้ความอนุเคราะห์จากครูบาอาจารย์ท่านช่วยแก้ความเข้าใจผิดให้...คือผมเคยพิจารณาว่ามันต่างกัน สังขารที่ต่อมาจากอวิชชานั้นผมพิจารณาว่ามันคือสังขารที่ปรุงมาจากธาตุสี่ ส่วนวิญญาณที่ต่อมาจากสังขารก็คือจิตที่มาอาศัยกายสังขาร ส่วนอวิชชาผมพิจารณาว่าเป็นอวิชชาของบิดามารดาที่ทำให้ท่านมาครองเรือนกันจนให้กำเนิดครรภ์ขึ้นมาครับ แต่ตอนนี้รู้แล้วว่าตัวเองรู้ผิดไปเยอะครับ
เลยอยากรู้ว่าทุกท่านในนี้เคยสงสัยหรือรู้ความหมายของสังขารและวิญญาณในปฏิจจสมุปบาทกันบ้างมั้ยครับ
ขอบคุณครับ
:b12: :b12: :b12:
asoka.........
สาธุ อนุโมทนากับคุณขนมจีบซาลาเปา เป็นอย่างยิ่ง สิ่งที่เกิดเป็นกังขาในใจของคุณนั้นก็เพราะคุณไปพบสภาวะจริงๆซึ่งบัญญัติทั้งหลายยากจะบรรยายได้ถึง ต้องรู้ที่ใจเจ้าของ
:b16:
สำหรับคุณลูกพระป่า................
คุณลองมาฟังเรื่อง อวิชชาปัจจัยาสังขาราสำนวนลูกทุ่งดูซิครับ ดูซิว่าจะถึงบางอ้อได้ไหม?

สังเกตให้ดี ปฏิจจสมุปบาททั้ง 12 พูดถึงแต่ปัจจัย ไม่พูดถึง "เหตุ" เหตุอะไรหนอ มากระทบกับปัจจัยทั้ง 12 จึงทำให้วงปฏิจจสมุปบาทหมุนวน?

จากธัมมวิจัยหรือการวิเคราะห์ธรรมของท่านผู้ปฏิบัติท่านหนึ่งท่านสรุปว่า

อวิชชา คือความไม่รู้ ..... เพราะไม่รู้จึงเห็นผิด.....เห็นผิดคือเห็นเป็นอัตตาตัวตน.....อัตตาตัวตนแรกคือความเห็นว่าเป็นรูปสังขารตั้งอยู่.......เป็นสังขารตัวนี้ (อวิชชาปัจจัยาสังขารา) ยังไม่ใช่จิตสังขารการปรุงแต่ง.....
เมื่อรูป(สังขาร)มี จึงเป็นปัจจัยให้สิ่งที่ไปรู้รูปสังขารคือ "วิญญาณ" เกิดขึ้นมา ถึงตอนนี้ รูปแรก นามแรกเกิดครบ
รูปสังขารที่ตั้งให้รู้เป็น "รูป"
จิตที่ไปรู้รูปคือวิญญาณ เป็น "นาม"
วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิด นาม - รูป

เมื่อมี ผู้รู้ กับ สิ่งที่ถูกรู้ เกิดขึ้น จึงเป็นปัจจัยให้ สฬายตนะคือประสาทสัมผัสทั้ง 6 เกิดขึ้น และต่อๆกันไปจนครบองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท

ทุกปัจจัยล้วนมีเหตุอันซ่อนไว้ให้กระทบอยู่ตลอดเวลา ความนี้ยิ่งน่าพิจารณาต่อไปว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างช่วงต่อของเวทนากับตัณหา และสัมพันธ์กับสติปัฏฐาน 4 ซึ่งท่านกล่าวว่า วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง คือเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก ซึ่งแสดงว่า ทั้งฐาน กาย เวทนา จิต ธรรมสิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นผลรวม คืออภิชฌา โทมนัสสัง ความยินดียินร้าย

ใคร ? เป็นผู้ยินดียินร้าย ?

นั่นแหละคือตัวเหตุหรืออวิชชาที่ซ่อนอยู่หลังฉาก การเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายที่ถูกวิธีก็ต้องไปเอาตัวผู้ยินดียินร้ายออกเสียให้ได้ ไม่มีผู้ยินดียินร้ายเสียแล้ว ความยินดียินร้ายจะเกิดมาแต่ที่ใด? นี่เป็นประเด็นธรรมที่สำคัญมากและเป็นเป้าหมายแรกที่ชาวพุทธทุกคนควรไปถึงให้ได้ในชาติปัจจุบันนี้

อวิชชานิโรธา สังขารานิโรโธ.............นี่ตรงกับประเด็นของมรรค 1 ไหม? อวิชชาตัวหยาบคือ “สักกายทิฐิ” ต้องถูกทำลายก่อนใช่หรือไม่? แล้วอวิชชาตัวละเอียดคือ "มานะทิฏฐิ"จึงจะสามารถทำลายให้หมดสิ้นไปในอีก 3 มรรคที่เหลือ

smiley
ขนมจีบ ซาละเปา.......
..ประทานโทษนะค่ะ ไม่อยากจะบอกเลย ขนาดลูกทุ่งแล้ว ดิฉันก็ยังอ่านไม่รู้เรื่อง
ศัพท์วิชาการเยอะ จนตาลาย ที่บอกนี่ ไม่ได้จะว่าอะไรท่านนะค่ะ แต่มาบอกเพื่อให้รู้ว่าปํญญาดิฉันคงไม่ถึงขั้น จึงแปลไทยเป็นไทยไม่ออก..คือ ดิฉันอ่านแล้วมึนนะค่ะ กราบขอประทานโทษอีกทีนะค่ะ

(คือ ดิฉันพยายามแล้วแต่หมดปัญญาที่จะเข้าใจนะค่ะ)

tongue
ก็ต้องขออภัยคุณขนมจีบซาละเปามากๆ เพราะผิดจุด ผิดฝาผิดตัว เรื่องที่เขียนควรจะเป็นคำตอบสำหรับคุณลูกพระป่าครับ คุณกำลังสนทนากับท่าเช่นนั้นเพลินๆ ขออภัยครับที่มาขัดจังหวะ
:b12: :b12: :b12: :b12: :b12:


:b16: :b16: อ่านรอบนี้อีกรอบได้ความรู้เพิ่มขึ้นค่ะ ถึงปัญญาจะไม่กระจ่างแจ้งเท่าไหรก็เถอะ แต่คราวนี้สามารถอ่านและเข้าใจได้มากขึ้น กราบขอบพระคุณนะค่ะที่ เอามาให้เป็นธรรมทานอีกรอบ

และกราบขอโทษคุณลูกพระป่าจริงๆ ....ดิฉันทำให้เสียจุดประสงค์ของหัวข้อหรือเปล่าค่ะ ดิฉันขอโทษนะค่ะ..ดิฉันไม่รู้จะทำอย่างไรดี ไปตั้งกระทู้ไหม่ดีไหมค่ะ จะได้ไม่เป็นการเสียมารยาท ในกระทู้ของคุณลุกพระป่านะค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 22:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2012, 17:37
โพสต์: 35


 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
อ้างคำพูด:
ถามต่อนะค่ะ ในความรำคาญที่เกิดขึ้น เกิดจาก เราเห็นความวุ่นวายของโลก เห็นความวุ่นวายของจิตที่ส่งออก ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่..ทำให้เรารู้สึกรำคาญ อยากหลีกหนี ความวุ่นวายของจิตของสิ่งแวดล้อมที่ไม่จบสิ้นอาการแบบนี้เรียกว่า จิตปรุงแต่งใช่ไหมค่ะ

..การหลีกหนีที่ทำได้คือ การสงบอยู่กับจิต อยู่กับธรรม ไม่ส่งจิตออก อยู่กับอารมณ์เดียว (แต่ไม่ได้ทำสมาธิ ไม่ได้เข้าทั้งรุปและอรูป อยู่เฉยๆ แต่สงบอยู่กับตัวแบบมีสติ ไม่ได้ตั้งท่า แต่ทุกอย่างเป็นธรรมชาติของตัวเรา จิตที่รู้สึกถึงความวุ่นวาย จิตอยากสงบเองนะค่ะ..อย่างนี้เขาเีรียกว่าอะไรค่ะ..ไม่ได้ทำสมาธิมาเป็นเดือนแล้ว มีแต่ดูความเป็นไปในธรรมดาของโลก

สวัสดีครับพี่ขนมจีบซาลาเปา :b8:
ข้อความข้างต้นนั้นที่เห็นว่าเป็นจิตสังขารนั้นถูกต้องแล้วครับ ผมเคยเป็นมาแล้วเหมือนกันครับ จุดนี้เกิดจากความเจ้าเล่ห์ของอวิชชาที่มันแฝงอยู่ในใจของเรา ที่ดูเผินๆแล้วเหมือนจะเกิดจากธรรมที่แสดงตัวออกมาให้เราดูให้เรารู้ แต่ชั่วจังหวะที่เราเห็นธรรมนั่นแหละครับที่อวิชชามันแทรกเข้ามาบงการจิตของเราให้ปรุงแต่งต่อออกไปจนเกิดเป็นความทุกข์ใจ รำคาญใจ อึดอัดใจ เพราะโดนปรุงแต่งจนถือเอามายึดไว้โดยไม่รู้ตัวครับ ผมเองก็อยู่ในภาวะนี้นานหลายเดือนทีเดียว แต่เพราะไม่เคยทิ้งการเจริญสมาธิภาวนาทำอยู่เนืองๆจนที่สุดสติมันมีกำลังพอที่จะมองออกถึงเล่ห์เพทุบายแห่งอวิชชา จึงฟาดฟันมันขาดจนได้...หลังจากนั้นจิตก็เห็นโลกที่วุ่นวายเป็นโลกที่ธรรมดา...เป็นธรรมดาของโลก
ส่วนที่ว่าพี่ทำการหลีกหนีนั้น ผมไม่เห็นว่าจะเป็นการดีเท่าไหร่นะครับ แทนที่จะหนีไปอยู่กับความสงบเราควรหันหน้ามาค้นคว้าพิจารณาเอาสติปัญญามาฟาดฟันกับกิเลสอวิชชาดีกว่านะครับ เพราะเมื่อเรารบจนประสบชัยชนะแล้ว ความสงบที่แท้และยั่งยืนมันเกิดขึ้นตามมาแน่นอนครับ
ขอบคุณครับ :b8:


:b8: :b8: ขอบพระคุณค่ะที่แนะนำ :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 22:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอถามผู้รู้ทุกท่านหน่อยนะครับ ว่า
"อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด อวิชชา ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 22:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2012, 17:37
โพสต์: 35


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
ขอถามผู้รู้ทุกท่านหน่อยนะครับ ว่า
"อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด อวิชชา ครับ


รอเรียนจากผู้รู้ทุกท่านด้วยคนค่ะ :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 22:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สาธุค่ะ ที่มาแนะนำและบอกกล่าว...แต่ดิฉันสงสัยอย่างหนึ่งว่า(จริงๆสงสัยมานานแล้วนะค่ะ) การทำตัมยำชิมแล้วก็รู้ว่าเป็นต้มยำ เหตุใดต้องชี้แจงว่า ในนั้นมี ข่า มีพริก มีตะไคร้ มีน้ำมะนาว ฯลฯ

เหตุใดไม่ว่า จะรู้ว่ากระทบอายตนะอะไรสืบต่อมาที่ไหน ผ่านระบบทุกอย่างมา 108 แต่ทั้ง108 ประการนี้เกิดที่จิตไม่ใช่หรือค่ะ นี่คือสงสัยนะค่ะ ไม่ได้ตั้งใจจะกวนประการใด เมื่อจิตเรามีราคะก็รู้ว่ามีราคะ จิตเรามีปิติก็รู้ว่าจิตเรามีปิติ จิตเราลังเลสงสัยก็รู้ว่าจิตเราลังเลสงสัย คือดูที่ผลของจิตที่ปรากฏขึ้นแก่จิต เหตุใดถึงไปดุเหตุละเอียดปลีกย่อยเยอะแยะไปหมดทั้งๆที่ผลออกมาก็อันเดียวกันคือ จิตลังเลสงสัย เราก็รู้ว่าจิตลังเลสงสัย

เมื่อเรารู้ผลของการเกิดทุกข์เกิดอวิชชาแก่จิตแล้วเราก็แก้ที่ผลที่เกิดแก่จิตเลย เช่นว่า จิตมีราคะ เมื่อเรารู้ว่าจิตเรามีราคะ เราก็เอา ปฎิกูลบรรพมาใช้ เอาธาตุ 4 มาใช้มาพิจาณาเลย เหตุใดทำไมต้องตามไปดูอายตนะ12 ไล่มาเรื่อยๆ จนถึงว่าจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ เราสามารถลัดขั้นตอนการทำก็ได้ไม่ใช่หรือค่ะ

นี่ยกตัวอย่างให้ดูนะค่ะ ถ้าเราดูที่จะขั้นตอนไป เมื่อไหรมันถึงจะถึงจุดที่จิตรู้ว่า จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ เราแก้อวิชชาที่สังโยชน์ เดินตามและเกาะตามสังโยชน์ ดิฉันคิดอย่างนี้ ฆ่าตัวแม่ ตัวจิ๊บตัวจ้อยมันก็ตายไปเองน่ะค่ะ

สวัสดีครับพี่ขนมจีบซาลาเปา :b8:
ก่อนหน้านี้ที่ผมพูดเรื่องของขันธ์ 5 เพื่อจะบอกว่าที่พี่เห็นพี่รู้นั้นถูกต้องแล้วครับที่เห็นว่ามันแยกกันคนละส่วนคนละอย่าง...
ส่วนความเห็นข้างบนนี้ผมขออธิบายอย่างนี้ครับว่า อันธรรมดาแห่งของหยาบย่อมมองเห็นได้ง่ายกว่าของละเอียด...ดังนั้นจึงเป็นการประมาทเกินไปที่เราจะมองข้ามการพิจารณาอาการอย่างหยาบแล้วไล่เข้าไปสู่อย่างละเอียดเรื่อยๆ เพราะอวิชชาตัวละเอียดสุดนั้นมันหลบฉากอยู่หลังตัวอวิชชาตัวหยาบนั่นเองครับ อีกทั้งการก้าวข้ามความหยาบแล้วไปละเอียดเลยนั้นไม่ใช่วิสัยที่จะทำได้ครับ แม้แต่พระพุทธเจ้าเองพระองค์ก็ทำไม่ได้นะครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
ขอถามผู้รู้ทุกท่านหน่อยนะครับ ว่า
"อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด อวิชชา ครับ

อาสวะ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 22:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


การไล่ปฏิจจะ...ในแต่ละขั้น...จะต้องขยาย...ขยายแล้วน้อมความรู้นั้นมาที่ตัวเราในปัจจุบัน...เห็นตามจริงในปัจจุบัน....แล้วสรุปสิ่งทั้งหมดลงโดยย่อ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 22:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
ขอถามผู้รู้ทุกท่านหน่อยนะครับ ว่า
"อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด อวิชชา ครับ

อาสวะ


[ขอถามต่อ ว่า
"อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด อาสวะ ครับ [/quote]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 22:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
อ้างคำพูด:
สาธุค่ะ ที่มาแนะนำและบอกกล่าว...แต่ดิฉันสงสัยอย่างหนึ่งว่า(จริงๆสงสัยมานานแล้วนะค่ะ) การทำตัมยำชิมแล้วก็รู้ว่าเป็นต้มยำ เหตุใดต้องชี้แจงว่า ในนั้นมี ข่า มีพริก มีตะไคร้ มีน้ำมะนาว ฯลฯ

เหตุใดไม่ว่า จะรู้ว่ากระทบอายตนะอะไรสืบต่อมาที่ไหน ผ่านระบบทุกอย่างมา 108 แต่ทั้ง108 ประการนี้เกิดที่จิตไม่ใช่หรือค่ะ นี่คือสงสัยนะค่ะ ไม่ได้ตั้งใจจะกวนประการใด เมื่อจิตเรามีราคะก็รู้ว่ามีราคะ จิตเรามีปิติก็รู้ว่าจิตเรามีปิติ จิตเราลังเลสงสัยก็รู้ว่าจิตเราลังเลสงสัย คือดูที่ผลของจิตที่ปรากฏขึ้นแก่จิต เหตุใดถึงไปดุเหตุละเอียดปลีกย่อยเยอะแยะไปหมดทั้งๆที่ผลออกมาก็อันเดียวกันคือ จิตลังเลสงสัย เราก็รู้ว่าจิตลังเลสงสัย

เมื่อเรารู้ผลของการเกิดทุกข์เกิดอวิชชาแก่จิตแล้วเราก็แก้ที่ผลที่เกิดแก่จิตเลย เช่นว่า จิตมีราคะ เมื่อเรารู้ว่าจิตเรามีราคะ เราก็เอา ปฎิกูลบรรพมาใช้ เอาธาตุ 4 มาใช้มาพิจาณาเลย เหตุใดทำไมต้องตามไปดูอายตนะ12 ไล่มาเรื่อยๆ จนถึงว่าจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ เราสามารถลัดขั้นตอนการทำก็ได้ไม่ใช่หรือค่ะ

นี่ยกตัวอย่างให้ดูนะค่ะ ถ้าเราดูที่จะขั้นตอนไป เมื่อไหรมันถึงจะถึงจุดที่จิตรู้ว่า จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ เราแก้อวิชชาที่สังโยชน์ เดินตามและเกาะตามสังโยชน์ ดิฉันคิดอย่างนี้ ฆ่าตัวแม่ ตัวจิ๊บตัวจ้อยมันก็ตายไปเองน่ะค่ะ

สวัสดีครับพี่ขนมจีบซาลาเปา :b8:
ก่อนหน้านี้ที่ผมพูดเรื่องของขันธ์ 5 เพื่อจะบอกว่าที่พี่เห็นพี่รู้นั้นถูกต้องแล้วครับที่เห็นว่ามันแยกกันคนละส่วนคนละอย่าง...
ส่วนความเห็นข้างบนนี้ผมขออธิบายอย่างนี้ครับว่า อันธรรมดาแห่งของหยาบย่อมมองเห็นได้ง่ายกว่าของละเอียด...ดังนั้นจึงเป็นการประมาทเกินไปที่เราจะมองข้ามการพิจารณาอาการอย่างหยาบแล้วไล่เข้าไปสู่อย่างละเอียดเรื่อยๆ เพราะอวิชชาตัวละเอียดสุดนั้นมันหลบฉากอยู่หลังตัวอวิชชาตัวหยาบนั่นเองครับ อีกทั้งการก้าวข้ามความหยาบแล้วไปละเอียดเลยนั้นไม่ใช่วิสัยที่จะทำได้ครับ แม้แต่พระพุทธเจ้าเองพระองค์ก็ทำไม่ได้นะครับ
ขอบคุณครับ :b8:

ท่านลูกพระป่าเข้าใจผิดแล้ว ที่บอกว่าพระพุทธเจ้าละอวิชาไม่ได้ พระพุทธเจ้าตรัสรู้เห็นแจ้งในธรรมตอนพระชนมายุ 35 พรรษา ถ้าดิฉันจำไม่ผิด แล้วมีเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่มารหรืออวิชชาไม่สามารถทำอะไรธาตุขันธ์ได้ แต่พระองค์อาศัยธาตุขันธ์นั่นแหละเพื่อโปรดเหล่าสรรพสัตว์ คุณลูกพระป่าเคยอ่านพระไตรปิฏกและศึกษาพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าอย่างถ่องแท้หรือยัง หรือใช้วิสัยทัศของตนกล่าวเช่นนั้น ตามความเห็นส่วนตัวดิฉันเห็นด้วยกับ ท่านขนมจีบซาลาเปา แต่ว่าไม่ใช่ใครจะสามารถทำได้ง่ายขนาดนั้น ขึ้นอยู่กับ อินทรีย์ของตน รวมถึงธรรม อิทธิบาท4ด้วย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 338 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 23  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร