วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 18:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 54 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2011, 10:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
พระัเจ้าอชาตศัตรูต้องการสนทนาธรรมกับสมณพราหมณ์บัณฑิต
เพื่อยังจิตตนให้เลื่อมใสเกิดศรัทธา เพราะเจ้าอชาตศัตรูได้เข้าไป
พบไปสนทนาธรรมกับครูเจ้าลัทธิ ทั้งหลายซึ่งมีลักษณะเป็นมิจฉา
ทิฏฐิ เมื่อสนทนาจบแล้วก็ไม่ว่าอะไร ลุกกลับ เมื่อไปหาเจ้าลัทธิ
ทั้งหมดครบแล้ว ลำดับสุดท้ายได้เข้าไปกราบทูลต่อพระพุทธเจ้า
ถึงหลักคำสอน ทิฏฐิความเห็นของเหล่าครูเจ้าลัทธิ

เลยขอหยิบยกที่พระเจ้าอาชาตศัตรูสอบถาม กับกูรู ในอดีตท่าน
หนึ่งตอนนี้ยังอยู่ในอบายภูมิพร้อมเหล่าลูกศิษย์ลูกหาที่มีความ
เห็นผิดนั้นๆ ตามไปด้วย เป็นการสนทนาของพระพุทธองค์กับ
พระเจ้าอชาตศัตรูครับ ขอเจริญพร ^^



ดูกรมหาบพิตร ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดี
ทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มี สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์
ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งกระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่น
ให้รู้แจ้ง ไม่มีในโลก
คนเรานี้ เป็นแต่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ เมื่อทำกาลกิริยา ธาตุดินไปตามธาตุดิน
ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอย
ไปในอากาศ คนทั้งหลายมีเตียงเป็นที่ ๕ จะหามเขาไป ร่างกายปรากฏอยู่แค่ป่าช้า กลายเป็น
กระดูกมีสีดุจสีนกพิราบ การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้ คนเขลาบัญญัติไว้ คำของคนบางพวก
พูดว่า มีผลๆ ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญ
พินาศสิ้น เบื้องหน้าแต่ตายย่อมไม่เกิด ดังนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามถึงสามัญผล
ที่เห็นประจักษ์ ครูอชิตะ เกสกัมพล กลับตอบถึงความขาดสูญ ฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
หม่อมฉันถามถึงสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ครูอชิตะ เกสกัมพล กลับตอบถึงความขาดสูญ เปรียบ
เหมือนเขาถามถึงมะม่วง ตอบขนุนสำมะลอ หรือเขาถามถึงขนุนสำมะลอ ตอบมะม่วง ฉะนั้น
หม่อมฉันมีความดำริว่า ไฉน คนอย่างเรา จะพึงมุ่งรุกรานสมณะหรือพราหมณ์ผู้อยู่ในราชอาณาเขต
ดังนี้ แล้วไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของครูอชิตะ เกสกัมพล ไม่พอใจ แต่ก็มิได้เปล่งวาจาแสดง
ความไม่พอใจ ไม่เชื่อถือ ไม่ใส่ใจถึงวาจานั้น ลุกจากที่นั่งหลีกไป.
--------------------------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ๒. สามัญญผลสูตร



ขอบคุณพุทธฎีกาที่ชี้แนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2011, 11:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ดับรูป คือดับร่างกายของเรา นี่ไม่ใช่ตัวเรา เราไม่มีตัวตน ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ ประกอบกันชั่วคราวสุดท้ายแตกสลายหายไปหมด ร่างกายเราไม่คงทนถาวร ฝึกโดยวิปัสสนาภาวนาถึงจะดับได้

ในความเป็นจริง เราทุกคนย่อมรู้ว่า ร่างกายที่เราอาศัยอยู่ สักวันเราก็ต้องจากมันไป
ร่างกายของเรามันก็เหมือนสมบัติชิ้นหนึ่ง ใจมีความพอใจ ไม่พอใจกับอวัยวะร่างนั้นๆ
คนป่วยบางครั้งอยากฆ่าตัวตาย มันก็เพราะ ไม่ต้องการร่างนั้นแล้ว

ดังนั้นกับความหมายของคุณ"ไม่เที่ยง" เป็นการตอบแบบขาดความเข้าใจครับ
อันที่จริงแล้ว เขาไม่ได้ให้เราดับรูป แต่ให้ดับความยึดมั่นถือมั่น
การดับความยึดมั่นถือมั่น เขาไม่ได้ดับที่ร่างกายหรือรูป เขาดับที่จิต

แล้วทำไมถึงต้อง ไม่ยึดมั่นกาย พิจารณาว่ากายเป็นเพียงธาตุสี่
ก็เพราะ ความรู้สึกหรืออารมณ์ต่างๆ มีเหตุปัจจัยมาจากกาย ในส่วนที่เป็น
อายตนะภายในทั้งหก เมื่อเกิดผัสสะขึ้นจะเกิดความยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นตัวเป็นตน
สุดท้ายเมื่อไม่ยึดกาย ก็จะไม่ยึดจิตที่เกิดตามมาด้วย

ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ดับเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือ ให้ดับหลังจากผัสสะของอายตนะภายใน และอายตนะภายนอก
ไม่ให้เกิดเวทนา เมื่อไม่เกิดเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ไม่เกิด "เมื่อสิ่งนี้เกิดสิ่งนี้จึงเกิด เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เมื่อดับเหตุก็ไม่มีผลให้เกิด" เมื่อนามขันธ์ไม่เกิด ความพอใจ ไม่พอใจก็ไม่เกิด ฝึกโดยการวิปัสสนาภาวนาถึงจะดับได้

คุณ"ไม่เที่ยง" ต้องกลับไปศึกษา กฎอิทัปปัจจยตาใหม่แล้วล่ะครับ
มันมีเหตุมันย่อมมีผลเกิดตามมา ไอ้ขันธ์ทั้งสี่ใครจะไปดับได้ครับ
ต่อให้พระอรหันต์ก็ดับไม่ได้ เพราะชาติปัจจุบัน ยังมีรูปนามอยู่
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
(เมื่อเราดับแล้วเราก็จะรู้ว่าธรรมชาติสรรพสิ่งที่เราเห็นรอบตัวเรารวมทั้งตัวเราเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นธรรมชาติ มีเกิด มีดับ มีเกิด มีดับ มีเกิด มีดับทุกเวลา เราก็จะไม่หลงความพอใจ ความไม่พอใจ)

ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกมันเที่ยง ไอ้ที่ไม่เที่ยงคือ จิตของเรา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2011, 11:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ดับรูป คือดับร่างกายของเรา นี่ไม่ใช่ตัวเรา เราไม่มีตัวตน ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ ประกอบกันชั่วคราวสุดท้ายแตกสลายหายไปหมด ร่างกายเราไม่คงทนถาวร ฝึกโดยวิปัสสนาภาวนาถึงจะดับได้

ในความเป็นจริง เราทุกคนย่อมรู้ว่า ร่างกายที่เราอาศัยอยู่ สักวันเราก็ต้องจากมันไป
ร่างกายของเรามันก็เหมือนสมบัติชิ้นหนึ่ง ใจมีความพอใจ ไม่พอใจกับอวัยวะร่างนั้นๆ
คนป่วยบางครั้งอยากฆ่าตัวตาย มันก็เพราะ ไม่ต้องการร่างนั้นแล้ว

ดังนั้นกับความหมายของคุณ"ไม่เที่ยง" เป็นการตอบแบบขาดความเข้าใจครับ
อันที่จริงแล้ว เขาไม่ได้ให้เราดับรูป แต่ให้ดับความยึดมั่นถือมั่น
การดับความยึดมั่นถือมั่น เขาไม่ได้ดับที่ร่างกายหรือรูป เขาดับที่จิต

แล้วทำไมถึงต้อง ไม่ยึดมั่นกาย พิจารณาว่ากายเป็นเพียงธาตุสี่
ก็เพราะ ความรู้สึกหรืออารมณ์ต่างๆ มีเหตุปัจจัยมาจากกาย ในส่วนที่เป็น
อายตนะภายในทั้งหก เมื่อเกิดผัสสะขึ้นจะเกิดความยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นตัวเป็นตน
สุดท้ายเมื่อไม่ยึดกาย ก็จะไม่ยึดจิตที่เกิดตามมาด้วย

ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ดับเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือ ให้ดับหลังจากผัสสะของอายตนะภายใน และอายตนะภายนอก
ไม่ให้เกิดเวทนา เมื่อไม่เกิดเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ไม่เกิด "เมื่อสิ่งนี้เกิดสิ่งนี้จึงเกิด เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เมื่อดับเหตุก็ไม่มีผลให้เกิด" เมื่อนามขันธ์ไม่เกิด ความพอใจ ไม่พอใจก็ไม่เกิด ฝึกโดยการวิปัสสนาภาวนาถึงจะดับได้

คุณ"ไม่เที่ยง" ต้องกลับไปศึกษา กฎอิทัปปัจจยตาใหม่แล้วล่ะครับ
มันมีเหตุมันย่อมมีผลเกิดตามมา ไอ้ขันธ์ทั้งสี่ใครจะไปดับได้ครับ
ต่อให้พระอรหันต์ก็ดับไม่ได้ เพราะชาติปัจจุบัน ยังมีรูปนามอยู่
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
(เมื่อเราดับแล้วเราก็จะรู้ว่าธรรมชาติสรรพสิ่งที่เราเห็นรอบตัวเรารวมทั้งตัวเราเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นธรรมชาติ มีเกิด มีดับ มีเกิด มีดับ มีเกิด มีดับทุกเวลา เราก็จะไม่หลงความพอใจ ความไม่พอใจ)

ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกมันเที่ยง ไอ้ที่ไม่เที่ยงคือ จิตของเรา



ขอบพระคุณที่ให้คำชี้แนะ คุณเข้าใจถูกแล้วให้เราดับที่จิตของเรา
แต่ความหมายของการดับรูปของผม คือไม่ให้คิดว่านี่คือตนเอง เราไม่มีตัวตน (ดับจิต)

ใช่แล้วครับเราคงดับเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ได้ แต่เราใช้ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ) หยุดไม่ให้เกิดเวทนาได้ เมื่อหยุดได้สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ไม่เกิดขึ้น เราคนจะหยุดได้เฉพาะบางกรณี
คงจะหยุดไม่ได้ทั้งหมด ถ้าหยุดหมดได้ก็คงจะพระอรหันต์มั้งครับ

smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2011, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
:b8: :b8: :b8:



บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ^^

เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ ๔

[๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีทิฏฐิว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่าง
ไม่เที่ยง จึงบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกนั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง
ไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ?

๕. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมัยบางครั้งบางคราว โดยระยะกาลยืดยาวช้านาน
ที่โลกนี้พินาศ เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ โดยมากเหล่าสัตว์ย่อมเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม สัตว์
เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ
อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้น สิ้นกาลยืดยาวช้านาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสมัยบางครั้ง
บางคราว โดยระยะกาลยืดยาวช้านาน ที่โลกนี้กลับเจริญ เมื่อโลกกำลังเจริญอยู่ วิมานของพรหม
ปรากฏว่าว่างเปล่า ครั้งนั้น สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือเพราะ
สิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมานพรหมที่ว่างเปล่า แม้สัตว์ผู้นั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร
มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้น
สิ้นกาลยืดยาวช้านาน เพราะสัตว์ผู้นั้นอยู่ในวิมานนั้นแต่ผู้เดียวเป็นเวลานาน จึงเกิดความกระสัน
ความดิ้นรนขึ้นว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง ต่อมาสัตว์เหล่าอื่นก็จุติจาก
ชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมานพรหม เป็นสหายของสัตว์
ผู้นั้น แม้สัตว์พวกนั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเองสัญจร
ไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บรรดาสัตว์จำพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อน ผู้นั้นย่อมมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เราเป็นพรหม เราเป็น
มหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง
เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้ว
และกำลังเป็น สัตว์เหล่านี้เรานิรมิต ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า เราได้มีความคิดอย่างนี้
ก่อนว่า โอหนอ แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง ความตั้งใจของเราเป็นเช่นนี้ และ
สัตว์เหล่านี้ก็ได้มาเป็นอย่างนี้แล้ว แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลัง ก็มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญนี้แลเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ
เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดา
ของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น พวกเราอันพระพรหมผู้เจริญนี้นิรมิตแล้ว ข้อนั้น เพราะ
เหตุไร เพราะเหตุว่า พวกเราได้เห็นพระพรหมผู้เจริญนี้เกิดในที่นี้ก่อน ส่วนพวกเราเกิดภายหลัง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์จำพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อน ผู้นั้นมีอายุยืนกว่า มีผิวพรรณกว่า
มีศักดิ์มากกว่า ส่วนผู้ที่เกิดภายหลังมีอายุน้อยกว่า มีผิวพรรณทรามกว่า มีศักดิ์น้อยกว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้
เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้วก็ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็น
เครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท
อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคย
อาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้ใดแลเป็น
พรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ
เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์
ผู้เป็นแล้วและกำลังเป็น พระพรหมผู้เจริญใดที่นิรมิตพวกเรา พระพรหมผู้เจริญนั้นเป็นผู้เที่ยง
ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเรา
ที่พระพรหมผู้เจริญนั้นนิรมิตแล้วนั้นเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้
เช่นนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๑ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว
จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง.



[๓๒] ๖. (๒) อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร
จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง
ไม่เที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่าขิฑฑาปโทสิกะมีอยู่ พวกนั้นพากันหมกมุ่นอยู่แต่
ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา เมื่อพวกนั้นพากันหมกมุ่น
อยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเสและการเล่นหัวจนเกินเวลา สติก็ย่อมหลงลืม เพราะสติ
หลงลืม จึงพากันจุติจากชั้นนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่ง
จุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบ
เนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็น
เครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้
เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่าขิฑฑาปโทสิกะ ย่อมไม่พากันหมกมุ่นอยู่แต่ใน
ความรื่นรมย์ คือ การสรวลเส และการเล่นหัวจนเกินเวลา เมื่อพวกนั้นไม่พากันหมกมุ่นอยู่แต่
ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเส และการเล่นหัวจนเกินเวลา สติย่อมไม่หลงลืม เพราะสติ
ไม่หลงลืม พวกเหล่านั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผัน
เป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเราเหล่าขิฑฑาปโทสิกะ หมกมุ่น
อยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเส และการเล่นหัวจนเกินเวลา เมื่อพวกเรานั้นพากันหมกมุ่น
อยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเส และการเล่นหัวจนเกินเวลา สติย่อมหลงลืม เพราะสติ
หลงลืม พวกเราจึงพากันจุติจากชั้นนั้นเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้
เช่นนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว
จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง.



[๓๓] ๗. (๓) อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไร
จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง
ไม่เที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชื่อว่ามโนปโทสิกะมีอยู่ พวกนั้นมักเพ่งโทษกันและกัน
เกินควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันเกินควร ย่อมคิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน
จึงลำบากกายลำบากใจ พากันจุติจากชั้นนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่สัตว์
ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้ว ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เมื่อบวชแล้ว อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบ
เนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบแล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่น
แห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนนั้นได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ เขาจึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ท่านพวกเทวดาผู้มิใช่เหล่ามโนปโทสิกะ ย่อมไม่มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร
เมื่อไม่มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ก็ไม่คิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างไม่คิดมุ่งร้ายกันและกัน
แล้ว ก็ไม่ลำบากกาย ไม่ลำบากใจ พวกนั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ มีอัน
ไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนพวกเราได้เป็นพวก
มโนปโทสิกะ มัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร เมื่อมัวเพ่งโทษกันและกันเกินควร ก็คิดมุ่งร้าย
กันและกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน ก็พากันลำบากกาย ลำบากใจ พวกเราจึงพากันจุติจาก
ชั้นนั้น เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้ เช่นนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.



[๓๔] ๘. (๔) อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร
จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง
ไม่เที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด
กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิดได้ อย่างนี้ว่า สิ่งที่เรียกว่าจักษุก็ดี โสตะก็ดี
ฆานะก็ดี ชิวหาก็ดี กายก็ดี นี้ได้ชื่อว่าอัตตา เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอัน
แปรผันเป็นธรรมดา ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิตหรือใจหรือวิญญาณ นี้ชื่อว่าอัตตา เป็นของเที่ยง
ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการนี้แล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง จะบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง สมณพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถือไว้อย่างนั้น
แล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้น
ชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้น
ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น
ตามความเป็นจริง จึงทราบความดับเฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
-----------------------------------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ๑. พรหมชาลสูตร

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 05:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง...........
พระธรรมบางครั้งใช่จะเห็นว่า มีคำศัพท์ที่คล้ายกันก็หยิบยกเอามาอ้าง
พระธรรมของพระพุทธเจ้า มี84000พระธรรมขันธ์ มีหลักมีเกณท์
มีกาละเทศะในการใช้ ไม่เช่นนั้นพระองค์ ไม่จำแนกแจกแจงบุคคลไว้เป็นระดับต่างๆ
ฉะนั้นคำศัพท์หรือสมมุติบัญญัติบางคำ เมื่อใช้กับบุคคลใดแล้ว
ความหมายคืออะไร มีลักษณะอย่างไร ตัวอย่างเช่น คำว่าปัญญา เราต้องรู้ว่า
เป็นปัญญาโลกุตระหรือปัญญาโลกียะ เป็นต้น

เฉกเช่นกับคำว่า ไม่เที่ยง เห็นเอามาพูดกันจนเฟ้อ พูดไปเรื่อยเปื่อย
พูดโดยไม่คำนึงถึง คุณลักษณะที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้
ถ้าคำว่าไม่เที่ยงที่หมายถึง อนิจัง อันเกิดจาก การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
เราต้องคำนึงด้วยว่า ปรากฎการณ์นั้น มีผลแห่งทุกขังและอนัตตาด้วยหรือไม่
ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมีไม่ครบสาม อนิจจังที่ว่า ก็ไม่ได้อยู่ในกฎแห่งไตรลักษณ์

กฎแห่งไตรลักษณ์ท่านทรงสอนให้เห็นถึงแก่นแท้ของสังขาร เน้นว่าสังขาร
สังขารมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป มีผลเป็นอนิจัง ทุกขังและอนัตตา
และความหมายของสังขาร แปลว่าอะไร เอาแบบพื้นๆเข้าใจง่ายๆก็คือ
การปรุงแต่งของขันธ์ ขันธ์ก็คือรูปนามหรือกายใจของเรา


อยากให้สังเกตุ ถ้ามีผู้ได้ปัญญาแล้วรู้และเข้าใจแล้วว่ากฎไตรลักษณ์เป็นเช่นไร
การมองสรรพสิ่งภายนอก จะมองว่า สิ่งที่เกิดมันเป็นเช่นนั้นเอง
มันเป็นไปตามกฎแห่งธรรมชาติ มันเป็นความแน่นอน ที่เรียกว่า วิสังขาร

แต่ถ้าผู้ใดมองสรรพสิ่งภายนอก แล้วบอกว่า เป็นความไม่เที่ยง เป็นไตรลักษณ์
บุคคลนั้นกำลัง มีอาการที่ตรงข้ากับไตรลักษณ์ กำลังปรุงแต่งสรรพสิ่งภายนอกอยู่

เปรียบเหมือนการมอง คนสักคนหนึ่งจะต้องตาย อันนี้เรียกว่าปรุงแต่ง
สภาวะอนิจจังในไตรลักษณ์ ต้องเป็นสภาวะ เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปให้เห็นทันทีทันใด
ฉะนั้นการจะดูสภาวะที่แท้จริงก็คือ ดูสังขารที่เกิดจากความคิดที่ว่าคนๆนั้นจะต้องตาย

ท่านถึงกล่าวว่าให้อยู่กับปัจจุบัน การกล่าวถึงอดีตหรืออนาคต
เป็นการปรุงแต่งของสังขาร

ดังนั้นสิ่งที่เที่ยง จริงแท้คือสรรพสิ่งภายนอกหรือธรรมชาติภายนอกที่ยังไม่ได้
เกี่ยวข้องกับใจของปุถุชน

กฎแห่งความเที่ยงในไตรลักษณ์ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อกายใจของบุคคล
ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสรรพสิ่งหรือธรรมชาตินั้นๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


....^^

อย่าพึ่งเคืองหรือถือสาอาตมาเลยนะครับ อย่าพึ่งตำหนิเพราะ
อาตมาจะได้ค้านความเห็น ของกัลยาณมิตรคนหนึ่งคนใดก็เปล่า
หรอกนะครับ นี้ไม่ได้เจาะจง และก็หวังเพื่อให้เกิดประโยชน์
และปรับความคิดเห็นเท่านั้นเอง คล้ายขายสินค้า ถ้าไม่ซื้อ
ไม่หาก็ไม่ว่ากันครับ อย่าได้ยึดตัวบุคคล

ที่เอามาแปะไว้ ก็ใช้ว่าจะแปะๆ ส่งๆ เพราะมันมีคำคล้ายคำ
เหมือนก็เปล่า จะประจานหรือหักหน้าผู้หนึ่ง กระทบเปรียบเทียบ
เอาพุทธพจน์มาส่อเสียดใครสักคน ไม่ใช่วิสัยจริงๆ ยิ่งจะว่า
มั่วหยิบยก ก็ยิ่งไม่ใช่ใหญ่ บางคนพลาดเยอะไม่ใช่ผู้ัฟังที่ดีเลย

แค่เกรงจะไปค้านพระพุทธพจน์ พระธรรมวินัย เพราะยึดถือทิฏฐิ
ที่ถือเอาผิดแล้ว ทราบแล้วรู้ผลอยู่แล้วว่า แม้ไม่เจาะจง แต่ก็
ต้องมีกัลยาณมิตรที่ ไ่ม่ชอบไม่พอใจ อย่างน้อยอาตมาก็หวังว่า
จะได้อ่าน จะได้พิจารณาเื้นื้อความด้วยดี โดยแยบคาย

บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง อัฏฐกถาจารย์ท่านว่าไว้ว่า
ได้แก่บุคคลที่ยึดถือเอา ตนเองเที่ยงบ้างก็มี ขาดสูญ(เพราะยึดตน)
ว่าไม่เที่ยงก็มี สรุปคือ พวกที่มีวาทะว่าบางอย่างของสัตว์เที่ยง ๑
พวกที่มีวาทะว่าบางอย่างของสังขารเที่ยง ๑.


แค่เกรงว่าจะ งมงายไปเข้าใจเอา "ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกเที่ยง"
เพราะเป็นวาทะของผู้ยึดตนทั้งสองความหมาย ยึดของตนก่อน แล้วก็
ยึดสังขารข้างนอกว่าเที่ยง^^ ฯลฯ

ใครยังไม่เข้าใจเรื่อง ปรมัตถสัจจะ คือการปฏิเสธอัตตา ตัวตนบุคคล
ซึ่งไม่มีอยู่โดยความเป็นปรมัตถ์ แล้วยึดตนว่า มีโดยสัตตทิฏฐิ ฯลฯ
แต่(ก็ไม่ได้แปลว่า ไม่มี ขาดสูญ อุทเฉจทิฏฐิว่างเปล่าเพราะยังยึดตนด้วย-
ความเห็นผิด เป็นวิภาวตัณหา)


หากใครยังไม่เข้าใจ ระหว่างสมมติสัจจะ ปรมัตถสัจจะ ส่วนใหญ่ก็ต้อง
ติดอยู่ใน ข้างสัตตทิฏฐิ หรืออุทเฉจทิฏฐิเท่านั่นเอง ดังนั้น คำกล่าว
ที่ฟังดูชวนขัดกันเองทำลายค้านตนเอง อาตมาเกรงว่าจะชวนทำให้
เข้าใจผิดได้ "ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกมันเที่ยง ไอ้ที่ไม่เที่ยงคือ จิตของเรา"

อาตมาก็คงต้องโดนตำหนิโดนด่าอยู่บ้างที่เหมือนไปค้านความเห็นคนอื่น
แต่ก็จำเป็นที่ต้องโดนแหละ อันนี้เข้าใจได้ ก็ฝากไว้พิจารณากันทุกๆ คนครับ ^^

ที่นี้ว่าด้วย วาทะหรือคำพูดที่ขัดกัน อัฏฐาธิบายใน พรหมชาลสูตร
ท่านกล่าวว่า

อ้างคำพูด:
ข้อว่า เอสิกฎฺฐายี ฐิโต ความว่า ตั้งมั่นเป็นเหมือนเสาระเนียดที่ตั้งอยู่ เหตุนั้นจึงชื่อว่า เอสิกฎฺฐายิฎฺฐิโต. อธิบายว่า เสาระเนียดที่ฝังแน่นย่อมตั้งมั่นไม่หวั่นไหวฉันใด อัตตาและโลกก็ตั้งมั่นเหมือนฉันนั้น. ด้วยบททั้งสอง ย่อมแสดงว่าโลกไม่พินาศ. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวเป็นพระบาลีว่า อีสิกฎฺฐายิฎฺฐิโต แล้วกล่าวว่า ตั้งอยู่ดุจไส้หญ้าปล้อง. ในคำของอาจารย์บางพวกนั้น มีอธิบายดังนี้ว่า คำที่กล่าวว่าย่อมเกิดนั้น มีอยู่ ย่อมออกไปดุจไส้ออกจากหญ้าปล้องตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ตั้งอยู่ดุจไส้หญ้าปล้องตั้งอยู่ ฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงแล่นไป คือจากภพนี้ไปในภพอื่น.
บทว่า สํสรนฺติ ความว่า ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ.
บทว่า จวนฺติ ความว่า ถึงการนับอย่างนี้.
บทว่า อุปปชฺชนฺติ ก็เหมือนกัน.

แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ด้วยการที่ท่านได้กล่าวไว้ในเบื้องต้นว่าโลกและอัตตาเที่ยงดังนี้ มาบัดนี้กลับกล่าวว่า ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไปดังนี้เป็นต้น สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีทิฏฐินี้ ชื่อว่าย่อมทำลายวาทะของตนด้วยตนเอง ชื่อว่าความเห็นของผู้มีทิฏฐิไม่เนื่องกัน หวั่นไหวเหมือนหลักที่ปักประจำในกองแกลบ และในความเห็นนี้ ย่อมมีทั้งดีทั้งไม่ดี เหมือนชิ้นขนมคูถและโคมัยเป็นต้น ในกระเช้าของคนบ้า.

บทว่า สสฺสติ ในคำว่า อตฺถิ เตฺวว สสฺสติสมํ นี้มีความว่า ย่อมสำคัญแผ่นดินใหญ่ว่าเที่ยง เพราะมีอยู่เป็นนิจ แม้ภูเขาสิเนรุ พระจันทร์ พระอาทิตย์ ก็สำคัญอย่างนั้น ฉะนั้น เมื่อสำคัญอัตตาเสมอด้วยสิ่งเหล่านั้นจึงกล่าวว่า แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ดังนี้.


ที่เหลือก็สุดแท้ครับ แค่ความเห็นกว้างๆ ทั่วๆ ไป ไม่ได้เจาะจงเฉพาะ
ผู้หนึ่งผู้ใด (หมายถึงก็หลายๆ คนมีความเห็นยึดตนว่าเที่ยง และยึด
เอาตนว่าสูญว่าไม่มีอย่างผิดๆ ก็มีฯลฯ) อย่าได้ด่วนตำหนิสรุปอ้าง
ต่อผู้นำพระธรรมคำสั่งสอนมาให้เทียบเคียง ควรโยนิโสมนสิการครับเจริญพร

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
....^^
อย่าพึ่งเคืองหรือถือสาอาตมาเลยนะครับ อย่าพึ่งตำหนิเพราะ
อาตมาจะได้ค้านความเห็น ของกัลยาณมิตรคนหนึ่งคนใดก็เปล่า
หรอกนะครับ นี้ไม่ได้เจาะจง และก็หวังเพื่อให้เกิดประโยชน์
และปรับความคิดเห็นเท่านั้นเอง คล้ายขายสินค้า ถ้าไม่ซื้อ
ไม่หาก็ไม่ว่ากันครับ อย่าได้ยึดตัวบุคคล

นมัสการครับหลวงพื่ ก่อนอื่นต้องขอขมาท่านครับ ถ้าบังเอิญท่านเกิด
การไม่พอใจกับความเห็นผม อันที่จริงมันไม่มีอะไรเลยครับ
สิ่งที่ผมแสดง ผมเพียงหยิบยกเอาคำของท่านมาขยายความ และแสดง
ออกมาเป็นความเห็นโดยรวมเท่านั้นเองครับ

ผมเองอ่านความเห็นของท่าน ผมไม่ไม่เข้าใจเลยครับว่า ท่านต้องการจะสื่ออะไร
เพราะเห็นเพียงแต่ท่านโพสแต่พระไตรปิฎก โดยไม่ได้อธิบายความอะไรไว้
การโพสพระไตรปิฎกเฉยๆ ใครจะมาชี้ว่าเห็นคล้อยเห็นแย้งไม่ได้หรอกครับ
พระไตรปิฎกย่อมต้องถูกเสมอ

ทำไมว่า พระไตรปิฏกถูกต้องเสมอ แต่ยังมีการโต้แย้งกัน
มันเป็นเพราะ การเข้าใจในเนื้อหาและการตีความ แล้วนำเอามาแสดงความเห็น
ของแต่ละคนครับ

สรุปในตอนแรกท่านไม่ได้แสดงความเห็นประกอบ
มันก็ไม่ได้มีเหตุอะไรที่ผมจะต้องไปแย้งท่าน ยิ่งท่านว่า
ผมโกรธเคืองท่านอันนี้ยิ่งหนักไปใหญ่เลยครับ


อนึ่งก็พึ่งมารู้ว่าท่านโพสพระไตรปิฎก เพื่อจุดประสงฆ์จะสอนสั่ง
ชี้แนะ ผมก็ยินดีรับครับ เพียงแต่ผมขอโอกาสแสดงความเห็นบ้าง
เพื่อให้ท่านขัดเกลา หวังว่าท่านคงไม่ถือสานะครับ :b8:

พุทธฏีกา เขียน:
....^^
ที่เอามาแปะไว้ ก็ใช้ว่าจะแปะๆ ส่งๆ เพราะมันมีคำคล้ายคำ
เหมือนก็เปล่า จะประจานหรือหักหน้าผู้หนึ่ง กระทบเปรียบเทียบ
เอาพุทธพจน์มาส่อเสียดใครสักคน ไม่ใช่วิสัยจริงๆ ยิ่งจะว่า
มั่วหยิบยก ก็ยิ่งไม่ใช่ใหญ่ บางคนพลาดเยอะไม่ใช่ผู้ัฟังที่ดีเลย[

เอาเป็นว่า ผมทราบถึงวัตถุประสงคของหลวงพี่แล้วครับ
ก็ขอถือโอกาสแสดงความเห็นไปเสียเลย และยินดีรับข้อตำหนิติติงครับ
พุทธฏีกา เขียน:
....^^
แค่เกรงจะไปค้านพระพุทธพจน์ พระธรรมวินัย เพราะยึดถือทิฏฐิ
ที่ถือเอาผิดแล้ว ทราบแล้วรู้ผลอยู่แล้วว่า แม้ไม่เจาะจง แต่ก็
ต้องมีกัลยาณมิตรที่ ไ่ม่ชอบไม่พอใจ อย่างน้อยอาตมาก็หวังว่า
จะได้อ่าน จะได้พิจารณาเื้นื้อความด้วยดี โดยแยบคาย

เรื่องค้านพระพุทธพจน์นี้ ผมถือเป็นเรื่องใหญ่เลยครับ
ผมเอาพระไตรปิฎกเป็นต้นแบบเป็นหลักการใหญ่ครับ
เพียงแต่ว่า ผมใช้หลักคำสอนของพุทธองค์แบบสิ่งมา
พิจารณาธรรมอีกแบบหนึ่งครับ ธรรมที่ว่าก็คือ ธัมวิจยะครับ
แปลตรงตัวไปเลยครับว่า การเลือกเฟ้นธรรมมาใช้ตามกาลอันประกอบด้วยปัญญาครับ


ผมได้อ่านธรรมที่ท่านเอามาโพสกอบทั้งรู้ที่มาที่ไปของท่าน
ผมก็ขออธิบาย ในสิ่งที่ท่านนำมาโพสนะครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาสาธุๆ ^^

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
:b8: :b8: :b8:

บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ^^

เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ ๔

พระธรรมที่หลวงพี่นำมาโพส ผมต้องพูดล่ะครับว่า หลวงพี่
ไม่อ่านรายละเอียดความเห็นของคนอื่น หรืออาจจะเป็นได้ว่า
หลวงพี่ยังขาดความเข้าใจในเรื่องของธัมวิจยะ

ก่อนอื่นเราต้องแยกประเด็นก่อนนะครับว่า สิ่งที่หลวงพี่เอามาโพส
มันเป็นเรื่องของ มิจฉาทิฐิ4ใน62 มันผิดหลักมาตั้งแต่ต้น
เรื่องพระพรหมเรื่องเทวดาสร้างคน สร้างโลก มันหาเหตุผลไม่ได้

แต่ที่เรากำลังพูดมันเป็นเรื่องของการแสดงความเห็นในเรื่องสัมมาทิฐิ
ซึ่งการมีอยู่หรือการได้มาของสัมมาทิฐิ มันมีหลักการหลักเกณท์
มีขั้นตอน ก็ได้อธิบายไปแล้วว่า ความไม่เที่ยงหรืออนิจจัง ถ้าเป็นกฎ
แห่งไตรลักษณ์ที่ว่า การมองสภาวะตามความเป็นจริง เป็นสัมมาทิฐิ
ในความไม่เที่ยงนั้นจะต้องมี ทุกข์ และอนัตตาอยู่ด้วย

พูดเพียงแค่นี้ก็น่าจะรู้แล้วว่า มันเป็นเรื่องของกายใจของแต่ละคนโดยเฉพาะ
หรือจะพูดอีกนัย มันเป็นเรื่องของขันธ์ห้าของคนๆนั้น
ความไม่เที่ยงในไตรลักษณ์ มันก็คือความไม่เที่ยงของผัสสะต่างๆ
ที่เกิดจากอายตนะภายนอก ภายใน คนตาบอดมันไม่สามารถรู้ถึงความไม่เที่ยง
ของรูป คนหูหนวกย่อมไม่รู้ถึงความไม่เที่ยงของเสียง

อธิบายแค่นี้หวังว่า คงเข้าใจที่ว่า อนิจัง ทุกขังอนัตตามันไม่เกี่ยวกับสรรพสิ่งที่เป็น
ธรรมชาติภายนอก มันเป็นสภาวะของจิตที่ไปยึดเอาอายตนะภายนอก

ส่วนสรรพสิ่งหรือธรรมชาติภายนอก มันไม่ได้เป็นสภาวะ
อนิจจังและทุกขัง แต่มันเป็นอนัตตา เช่นน้ำฝนย่อมตกจากฟ้ามันจริงแท้
และฝนตกเราก็ไม่ได้ทุกข์ อีกทั้งเราไปบังคับมันไม่ให้ตกก็ไม่ได้

หลวงพี่ครับ หลวงพี่จะแสดงความเห็น ต้องแยกประเด็นก่อน
และที่สำคัญต้องทำความเข้าใจก่อนครับ ไอ้เรื่องบางอย่างเที่ยง
บางอย่างไม่เที่ยง ถ้าเป็นเรื่องของสัมมาทิฐิต้องดูในลักษณะนี้ครับ
ไม่ใช่ไปดูเรื่องมิจฉาทิฐิ มิจฉาทิฐิมันไร้แก่นสารหรือหลักเกณท์อยู่แล้วครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 13:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


โฮฮับ เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
(เมื่อเราดับแล้วเราก็จะรู้ว่าธรรมชาติสรรพสิ่งที่เราเห็นรอบตัวเรารวมทั้งตัวเราเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นธรรมชาติ มีเกิด มีดับ มีเกิด มีดับ มีเกิด มีดับทุกเวลา เราก็จะไม่หลงความพอใจ ความไม่พอใจ)

ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกมันเที่ยง ไอ้ที่ไม่เที่ยงคือ จิตของเรา

...ก็ขออนุโมทนา ที่ช่วยขัดเกลาเป็นตัวอย่างความรู้
ความเห็นให้อาตมาสะสมความรู้ความเข้าใจนะครับ ^^

ส่วนแรกนี้อันนี้ธรรมชาติภายนอกมันเที่ยงเนอะ จิตไม่เที่ยง

โฮฮับ เขียน:
ก่อนอื่นเราต้องแยกประเด็นก่อนนะครับว่า สิ่งที่หลวงพี่เอามาโพส
มันเป็นเรื่องของ มิจฉาทิฐิ4ใน62 มันผิดหลักมาตั้งแต่ต้น
เรื่องพระพรหมเรื่องเทวดาสร้างคน สร้างโลก มันหาเหตุผลไม่ได้

ความเห็นที่ยกมา เป็นเรื่องอัตตานุทิฏฐิ ที่ยึดถือในบางอย่างเที่ยง
และบางอย่างไม่เที่ยง คนละส่วนกับพรหมเทวดาสร้างคน สร้างโลก
เป็นการยึดถือขันธ์โดยแท้ เป็นข่ายเป็นตัณหา บอกไปแล้วนะครับ
ว่าฝากไว้ แค่ความเห็นกว้างๆ ^^

พุทธพจน์และอัฏฐกถถาที่ยกมาแสดงถึงบุคคลที่กล่าวขัดกันเอง ความเห็นก่อนๆ
ไม่ได้เจาะจง ทิ้งไว้ให้ศึกษา อาตมาก็รู้ตัวว่าต้องโดนตำหนิ แน่นอน เพราะมี
ความเห็นกล่าวค้านกล่าวผิดเสียเอง อัฏฐกถาท่านว่าเหมือน หลักปักกองแกลบ

พุทธฏีกา เขียน:
อาตมาก็คงต้องโดนตำหนิโดนด่าอยู่บ้างที่เหมือนไปค้านความเห็นคนอื่น
แต่ก็จำเป็นที่ต้องโดนแหละ อันนี้เข้าใจได้ ก็ฝากไว้พิจารณากันทุกๆ คนครับ ^^

ที่นี้ว่าด้วย วาทะหรือคำพูดที่ขัดกัน อัฏฐาธิบายใน พรหมชาลสูตร
ท่านกล่าวว่า

อ้างคำพูด:
แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ด้วยการที่ท่านได้กล่าวไว้ในเบื้องต้นว่าโลกและอัตตาเที่ยงดังนี้ มาบัดนี้กลับกล่าวว่า ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไปดังนี้เป็นต้น สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีทิฏฐินี้ ชื่อว่าย่อมทำลายวาทะของตนด้วยตนเอง ชื่อว่าความเห็นของผู้มีทิฏฐิไม่เนื่องกัน หวั่นไหวเหมือนหลักที่ปักประจำในกองแกลบ


โลก และ อัตตา ภายนอกเที่ยง แต่สัตว์เหล่านั้น หรือจิตนี้ไม่เที่ยง
ไม่รู้ว่าพอจะคล้ายกันไหมนะครับใช่ก็พิจารณาครับ ไม่ใช่ก็พิจารณาดีๆ
"ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกมันเที่ยง ไอ้ที่ไม่เที่ยงคือ จิตของเรา"


โฮฮับ เขียน:
ส่วนสรรพสิ่งหรือธรรมชาติภายนอก มันไม่ได้เป็นสภาวะ
อนิจจังและทุกขัง แต่มันเป็นอนัตตา


ขัดกันเองรึเปล่าครับ มาตอนนี้สรรพสิ่งธรรมชาติภายนอก มาจับเป็นอนัตตาแล้ว
แต่ก่อนหน้านั้น กล่าวว่าเที่ยง ?? "ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกมันเที่ยง"
เพราะสำััคัญเสมออัตตา หรือไปๆ มาๆ เพิ่มซัดส่ายดิ้นได้ไม่ตายตัวด้วยรึเปล่าครับ

หรือ
โฮฮับ เขียน:
เช่นน้ำฝนย่อมตกจากฟ้ามันจริงแท้
และฝนตกเราก็ไม่ได้ทุกข์ อีกทั้งเราไปบังคับมันไม่ให้ตกก็ไม่ได้

ถ้าอันนี้สำคัญว่าเที่ยงก็ตรงตามอัฏฐกถาแล้วกระมังครับ เข้าใจกันได้ ไม่ต้องอาศัย
ธรรมวิจัยะอะไรเรื่องฝนหรอกครับมันบังคับไม่ได้ แต่อัฏฐกถกล่าวไว้ไม่มีผิด
เมื่่อสำคัญอัตตาเสมอด้วยสิ่งเหล่านั้น^^

อันนี้ มันจริงแท้

พุทธฏีกา เขียน:
อ้างคำพูด:
บทว่า สสฺสติ ในคำว่า อตฺถิ เตฺวว สสฺสติสมํ นี้มีความว่า ย่อมสำคัญแผ่นดินใหญ่ว่าเที่ยง เพราะมีอยู่เป็นนิจ แม้ภูเขาสิเนรุ พระจันทร์ พระอาทิตย์ ก็สำคัญอย่างนั้น ฉะนั้น เมื่อสำคัญอัตตาเสมอด้วยสิ่งเหล่านั้นจึงกล่าวว่า แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ดังนี้.


ที่เหลือก็สุดแท้ครับ แค่ความเห็นกว้างๆ ทั่วๆ ไป ไม่ได้เจาะจงเฉพาะ
ผู้หนึ่งผู้ใด (หมายถึงก็หลายๆ คนมีความเห็นยึดตนว่าเที่ยง และยึด
เอาตนว่าสูญว่าไม่มีอย่างผิดๆ ก็มีฯลฯ) อย่าได้ด่วนตำหนิสรุปอ้าง
ต่อผู้นำพระธรรมคำสั่งสอนมาให้เทียบเคียง ควรโยนิโสมนสิการครับเจริญพร

อันนี้ สำหรับเฉพาะผู้เห็นผิดนะครับคุณโยมเข้าใจ ถูกก็ไม่ต้องเดือดร้อนครับ
อันนี้อัฏฐกถาก็ว่า ผู้สำคัญอัตตาเสมอด้วยสิ่งนั้นก็คล้ายๆ กับยึดถือ
ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกเที่ยง ตามอัฏฐกถา อันนี้ว่า มีอยู่แท้
สำหรับที่เห็นผิดนะครับ มันจริงแท้ มีอยู่แท้ นี้เพราะอาศัยผัสสะ อาศัยอัตตา
เนื่องด้วยอัตตาแล้วกล่าว เป็นวาทะว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยงดังนี้
เรื่องอนัตตายังไม่เห็นที่ไม่สอดคล้องครับ ก็...
อืม...ขออนุโมทนาครับ กัลยาณมิตรเชิญ โยนิโสมนสิการครับเจริญพร

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 14:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
....^^
แค่เกรงว่าจะ งมงายไปเข้าใจเอา "ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกเที่ยง"
เพราะเป็นวาทะของผู้ยึดตนทั้งสองความหมาย ยึดของตนก่อน แล้วก็
ยึดสังขารข้างนอกว่าเที่ยง^^ ฯลฯ

ถ้าเราไม่พิจารณาว่า กำลังพูดถึงเรื่องอะไร หรือไม่บอกถึงที่มาของสิ่งที่พูด
มันก็จะเกิดการสับสนกับสมมุติบัญญัตินั้นๆครับ

อย่างเช่น"ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกเที่ยง" ถ้าคนเข้าใจโดยไม่เอา
จิตตัวเองไปยึดถือยุ่งเกี่ยวด้วย ธรรมชาติมันก็หมุนเวียนเปลี่ยนไปตามวิถี
ตามเหตุปัจจัยของมัน ลักษณะที่มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย เราจะใช้สมมุติบัญญัติ
อะไรมาเรียกดีครับ แต่ที่รู้ๆ มันไม่ใช่อนิจจัง ในไตรลักษณ์ครับ เพราะมันจะเป็นอนิจจัง
ในไตรลักษณ์ได้ มันต้องมีสิ่งที่เรียกว่าทุกข์และอนัตตาร่วมอยู่ด้วย

กับคำที่หลวงพี่พุทธฎีกาว่า "ยึดของตนเองก่อน แล้วยึดสังขารข้างนอกว่าเที่ยง"
ผมเรียนถามหลวงพี่ครับว่า สังขารในความหมายของหลวงพี่ มันคืออะไรครับ

จากความเห็นผมที่แสดงไว้ ผมว่า ความไม่เที่ยงหรืออนิจจังของไตรลักษณ์
มันเกิดที่รูปนาม หรือขันธ์ห้าของตัวเอง อันนี้เลยสงสัยว่า สังขารที่หลวงพี่บอก
มันหมายถึงอะไรครับ

สรุปก็คือผมบอกว่า การยึดสังขารข้างนอกมันไม่เที่ยงครับ
แล้วตัวที่ไม่เที่ยงมันคือสังขารของเรา ไม่ใช่สิ่งภายนอกไม่เที่ยง
ชี้ให้ชัดก็คือ หลวงพี่มองเห็นก้อนทองอยู่ก้อนหนึ่ง จิตที่คิดอยากได้เพราะมีราคา
จิตที่ว่านี่แหล่ะครับเรียกว่าสังขาร มันเป็นอนิจจังไม่เที่ยง แต่กลับมาดูที่ก้อนทอง
มันก็ยังเหมือนเดิม หลวงพี่จะเรียกว่าอะไรก็ได้ครับ แต่มันไม่ใช่
ไม่เที่ยงอนิจจังในไตรลักษณ์ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
....^^
ใครยังไม่เข้าใจเรื่อง ปรมัตถสัจจะ คือการปฏิเสธอัตตา ตัวตนบุคคล
ซึ่งไม่มีอยู่โดยความเป็นปรมัตถ์ แล้วยึดตนว่า มีโดยสัตตทิฏฐิ ฯลฯ
แต่(ก็ไม่ได้แปลว่า ไม่มี ขาดสูญ อุทเฉจทิฏฐิว่างเปล่าเพราะยังยึดตนด้วย-
ความเห็นผิด เป็นวิภาวตัณหา)

อันที่จริงเรื่องที่เราคุยกันมันเลยผ่านเรื่อง สัตตทิฐิหรือเรื่องอุทเฉททิฐิมาไกลแล้ว
เรากำลังพูดถึงสภาวะไตรลักษณ์ อันเป็นเหตุแห่งปัญญา สัมมาทิฐิ

ถ้าพูดถึงปรมัตถสัจจะ ปัญหามันเกิดจากที่ต่างฝ่ายต่างไม่เข้าใจสมมุติที่นำเสนอครับ
ผมถึงได้แนะนำให้หลวงพี่ แยกประเด็นและดูลักษณะหรือเหตปัจจัยในสิ่งที่เรากำลังถกกันครับ

อย่างเช่นเรากำลังคุยกันถึงเรื่อง สภาวะไตรลักษณ์
แต่หลวงพี่ไปหยิบยก เรื่องมิจฉาทิฐิมาอ้าง แถมอ้างในสิ่งที่เราต้อง
ใช้จินตนาการเอาว่า พระพรหมเป็นอย่างไร เทวดาเป็นอย่างไร

แนะนำครับหลวงพี่จะแย้งผม หลวงพี่ต้องบอกว่า
ผม เข้าใจสภาวะไตรลักษณ์ผิด เข้าใจเรื่องอนิจังความไม่เที่ยงผิดแบบนี้
ถึงจะเรียกว่า เข้าใจในสมมุติหรือปรมัตถ์ไปในทางเดียวกัน
พุทธฏีกา เขียน:
....^^
หากใครยังไม่เข้าใจ ระหว่างสมมติสัจจะ ปรมัตถสัจจะ ส่วนใหญ่ก็ต้อง
ติดอยู่ใน ข้างสัตตทิฏฐิ หรืออุทเฉจทิฏฐิเท่านั่นเอง ดังนั้น คำกล่าว
ที่ฟังดูชวนขัดกันเองทำลายค้านตนเอง อาตมาเกรงว่าจะชวนทำให้
เข้าใจผิดได้ "ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกมันเที่ยง ไอ้ที่ไม่เที่ยงคือ จิตของเรา"

ที่ผมพูดหรือแสดงความเห็นมาถ้าดูด้วยปรมัตถ์ก็จะเข้าใจครับ
แต่ที่หลวงพี่เข้าใจผิดเพราะหลวงพี่ ไปดูที่สมมุติบัญญัติแล้วตีความไปเองครับ

แล้วที่ผมกล่าวว่าผมกำลังพูดแบบปรมัตถ์ ก็เพราะผมกำลังชี้เฉพาะเจาะจง
ถึงเรื่องสภาวะไตรลักษณ์ครับ แนะนำอีกครับว่า หลวงพี่จะแสดงความเห็น
หลวงพี่ต้องเอาสภาวะไตรลักษณ์เป็นหลักแล้วค่อยแสดงความเห็น และต้องให้
เรื่องที่พูดอยู่ในหลักการของไตรลักษณ์ครับ ไอ้ทีว่าเที่ยงไม่เที่ยงเพียงแค่จะชี้
ให้เห็นให้เฉพาะลงไปเลยว่า มันมีขันธ์อยู่ต่างหาก สรรพสิ่งภายนอกอยู่ต่างหาก
การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปเป็นเรื่องของจิต ไม่ใช่สรรพสิ่งภายนอกครับ

เสริมหน่อยครับ ที่ว่าไม่เข้าใจปรมัตถ์จะติดอยู่กับสันตทิฐิกับ
อุทเฉททิฐิ ขอแก้หน่อยครับเป็น ใครไม่เข้าใจสถาวะไตรลักษณ์ มันก็ยังติดอยู่กับ
สันตตทิฐิกับอุทเฉททิฐิครับ

พุทธฏีกา เขียน:
....^^
อาตมาก็คงต้องโดนตำหนิโดนด่าอยู่บ้างที่เหมือนไปค้านความเห็นคนอื่น
แต่ก็จำเป็นที่ต้องโดนแหละ อันนี้เข้าใจได้ ก็ฝากไว้พิจารณากันทุกๆ คนครับ ^^

หลวงพี่อย่าคิดมากไปเลยครับ ใครจะเป็นอะไรผมไม่รู้
ผมคิดอย่างเดียวว่า คนค้านเป็นครูครับ คนค้านมาหยื่นแบบฝึกหัดให้เราทำครับ
แล้วขอบอกเลยครับว่า อย่าเอาสำนวนคำพูดผมไปเป็นอารมณ์นะครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
(เมื่อเราดับแล้วเราก็จะรู้ว่าธรรมชาติสรรพสิ่งที่เราเห็นรอบตัวเรารวมทั้งตัวเราเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นธรรมชาติ มีเกิด มีดับ มีเกิด มีดับ มีเกิด มีดับทุกเวลา เราก็จะไม่หลงความพอใจ ความไม่พอใจ)

ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกมันเที่ยง ไอ้ที่ไม่เที่ยงคือ จิตของเรา

...ก็ขออนุโมทนา ที่ช่วยขัดเกลาเป็นตัวอย่างความรู้
ความเห็นให้อาตมาสะสมความรู้ความเข้าใจนะครับ ^^
ส่วนแรกนี้อันนี้ธรรมชาติภายนอกมันเที่ยงเนอะ จิตไม่เที่ยง

สมมุติบัญญัติมันเป็นแบบนั้น ก็ต้องกล่าวไปแบบนั้นครับ
เอาเป็นว่า สรรพสิ่งภายนอกมันไม่ใช่ความไม่เที่ยงในไตรลักษณ์

แบบปรมัตถ์เลยนะครับ ง่ายๆและสั้นๆ หลวงพี่เข้าใจเรื่อง
สังขตธรรม กับเรื่อง อสังขตธรรมหรือเปล่าครับ :b13:
พุทธฏีกา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ก่อนอื่นเราต้องแยกประเด็นก่อนนะครับว่า สิ่งที่หลวงพี่เอามาโพส
มันเป็นเรื่องของ มิจฉาทิฐิ4ใน62 มันผิดหลักมาตั้งแต่ต้น
เรื่องพระพรหมเรื่องเทวดาสร้างคน สร้างโลก มันหาเหตุผลไม่ได้

ความเห็นที่ยกมา เป็นเรื่องอัตตานุทิฏฐิ ที่ยึดถือในบางอย่างเที่ยง
และบางอย่างไม่เที่ยง คนละส่วนกับพรหมเทวดาสร้างคน สร้างโลก
เป็นการยึดถือขันธ์โดยแท้ เป็นข่ายเป็นตัณหา บอกไปแล้วนะครับ
ว่าฝากไว้ แค่ความเห็นกว้างๆ ^^
พุทธพจน์และอัฏฐกถถาที่ยกมาแสดงถึงบุคคลที่กล่าวขัดกันเอง ความเห็นก่อนๆ
ไม่ได้เจาะจง ทิ้งไว้ให้ศึกษา อาตมาก็รู้ตัวว่าต้องโดนตำหนิ แน่นอน เพราะมี
ความเห็นกล่าวค้านกล่าวผิดเสียเอง อัฏฐกถาท่านว่าเหมือน หลักปักกองแกลบ

อันนี้ไม่ค่อยเข้าใจครับ แต่ไม่เป็นไรครับจะกล่าวไว้แบบแคบๆนะครับว่า
บุคคลที่ท่านนำมาอ้าง เป็นพวกมิจฉาทิฐิ เป็นพวกมีอัตตาจะกล่าวอะไรมา
มันก็ไม่ได้เข้าประเด็นที่กำลังถกกันครับ
และผมก็ได้บอกไปแล้วว่า ประเด็นมันอยู่ตรงไหนอย่างไร
ถ้าเอาสมมุติบัญญัติผมไปเทียบกับมิจฉาทิฐิ มันก็ผิดนะซิครับ

ในความเป็นจริง ผมกล่าวในลักษณะปรมัตถ์ แต่ไม่รู้จะใช้สมมุติบัญญัติคำไหน
มันถึงจะเหมาะ มันก็ต้องกล่าวในเชิงเปรียบเทียบครับ

อีกอย่างครับ การกล่าวขัดกันเองเขาไม่เอาเรื่องของคนมีมิจฉามา
เป็นตัวอย่างหรอกครับ อย่างเช่น ผมกำลังอธิบายเรื่ององค์ประกอบ
ต่างๆที่เป็นสภาวะไตรลักษณ์หรือไม่ใช่ไตรลักษณ์ แต่ท่านไปยกเรื่องพรมหมเกิดก่อนเที่ยง
พรหมเกิดหลังไม่เที่ยง ถามหน่อยครับว่า มันเป็นเรื่องเดียวกันหรือเปล่าครับ

หลวงพี่พุทธฎีกาครับ ท่านเข้าใจเรื่อง สภาวะมั้ยครับ


ขอร้องเถอะครับอย่าพูดไปในทำนองตัดพ้อต่อว่าเลยครับ
ก่อนคุยผมก็ขออนุญาติและทำความเข้าใจกับหลวงพี่แล้วนะครับ
อย่าทำให้ผมรู้สึกบาปที่มาต่อล้อต่อเถียงพระเลยครับ
อย่าลืมครับว่าผมกำลังขอศึกษาพระธรรมกับหลวงพี่อยู่นะครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


โฮฮับ เขียน:
กับคำที่หลวงพี่พุทธฎีกาว่า "ยึดของตนเองก่อน แล้วยึดสังขารข้างนอกว่าเที่ยง"
ผมเรียนถามหลวงพี่ครับว่า สังขารในความหมายของหลวงพี่ มันคืออะไรครับ

จากความเห็นผมที่แสดงไว้ ผมว่า ความไม่เที่ยงหรืออนิจจังของไตรลักษณ์
มันเกิดที่รูปนาม หรือขันธ์ห้าของตัวเอง อันนี้เลยสงสัยว่า สังขารที่หลวงพี่บอก
มันหมายถึงอะไรครับ

อุปาทินนกสังขาร และอุปาทินนกสังขาร มีใจครองและไม่มีใจครอง...
อาตมาก็เห็นชอบสังขารตามที่โยมอธิบายนั่นแหละ แต่สังขารที่ยกมาแสดงคือ
บัญญัติ อัตตาและโลก ที่อัฏฐกถากล่าวว่า ผิดไปจากสัมมาทิฏฐิ
คือเห็นว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ได้บอกแล้วนะครับว่า เกรงว่าจะเข้าใจกันผิด^^

โฮฮับ เขียน:
อย่างเช่น"ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกเที่ยง" ถ้าคนเข้าใจโดยไม่เอา
จิตตัวเองไปยึดถือยุ่งเกี่ยวด้วย ธรรมชาติมันก็หมุนเวียนเปลี่ยนไปตามวิถี
ตามเหตุปัจจัยของมัน ลักษณะที่มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย เราจะใช้สมมุติบัญญัติ
อะไรมาเรียกดีครับ แต่ที่รู้ๆ มันไม่ใช่อนิจจัง ในไตรลักษณ์ครับ เพราะมันจะเป็นอนิจจัง
ในไตรลักษณ์ได้ มันต้องมีสิ่งที่เรียกว่าทุกข์และอนัตตาร่วมอยู่ด้วย

ก็...ลองพิจารณาได้นะครับ ความจริงถ้าเข้าใจก็ยุติไปแล้ว อนิจฺจา วต สงฺขารา
อ้างคำพูด:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา ความว่า ดูก่อนสุภัททาเทวีผู้เจริญ สังขารทั้งหลายมีขันธ์และอายตนะเป็นต้น อันปัจจัยมีประมาณเท่าใด มาประชุมก่อกำเนิดไว้ ทั้งหมดนั้น ชื่อว่าไม่เที่ยงไปทั้งหมด เพราะบรรดาสังขารเหล่านี้ รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง จักษุไม่เที่ยง ฯลฯ ธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง. รวมความว่า สิ่งที่ยังความยินดีให้เกิด ทั้งที่มีวิญญาณและหาวิญญาณมิได้ มีอันใดบ้าง อันนั้นทั้งหมด ไม่เที่ยงทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้ จงกำหนดถือเอาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ.

ชัดพอรึยังนะครับ......................
ดังนั้นจึงได้เกรงว่าจะมีความเข้าใจผิด ว่าบางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง
"ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกมันเที่ยง ไอ้ที่ไม่เที่ยงคือ จิตของเรา"
"เช่นน้ำฝนย่อมตกจากฟ้ามันจริงแท้และฝนตกเราก็ไม่ได้ทุกข์
อีกทั้งเราไปบังคับมันไม่ให้ตกก็ไม่ได้" ฯลฯ


โฮฮับ เขียน:
สรุปก็คือผมบอกว่า การยึดสังขารข้างนอกมันไม่เที่ยงครับ
แล้วตัวที่ไม่เที่ยงมันคือสังขารของเรา ไม่ใช่สิ่งภายนอกไม่เที่ยง
ชี้ให้ชัดก็คือ หลวงพี่มองเห็นก้อนทองอยู่ก้อนหนึ่ง จิตที่คิดอยากได้เพราะมีราคา
จิตที่ว่านี่แหล่ะครับเรียกว่าสังขาร มันเป็นอนิจจังไม่เที่ยง แต่กลับมาดูที่ก้อนทอง
มันก็ยังเหมือนเดิม หลวงพี่จะเรียกว่าอะไรก็ได้ครับ แต่มันไม่ใช่
ไม่เที่ยงอนิจจังในไตรลักษณ์ครับ

อ้าว..............
"ธรรมชาติสรรพสิ่งภายนอกมันเที่ยง ไอ้ที่ไม่เที่ยงคือ จิตของเรา"
อืม...ครับ ขัดกันจนดิ้นไปดิ้นมาหมดแล้วครับ แถมไม่เข้าใจตามอัฏฐกถา
ด้วย ถึงว่าแม้เห็นสิ่งภายนอกเที่ยงตามเดิม ไม่กลับคำใหม่ว่าไม่เที่ยง ก็ไม่พ้นไปจากความ
เห็นที่ว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ในความเห็นก่อนๆ
อัตตาที่สำคัญเสมอตนคือต้นต่อ คือเหตุที่ อาตมากล่าวว่า อาจมีคน
เข้าใจผิด เห็นผิดก็ได้ ถูกแล้วดีแล้วก็พิจารณา ไม่ถูกก็พิจารณาต่อไปครับ
...หรือกลับแล้วเห็นแล้วก็อนุโมทนาครับ^^

อ้างคำพูด:
พระเทวีทรงพระกรรแสง เช็ดพระเนตร ตรัสคำอย่างนั้นกะพระเจ้ามหาสุทัสสนะ โดยยากลำบาก เอาแต่ทรงพระกรรแสงร่ำไห้ เหล่าสตรีแปดหมื่นสี่พันนาง แม้ที่เหลือก็พากันร้องไห้ร่ำไร ถึงในหมู่อำมาตย์เป็นต้นแม้คนเดียวก็ไม่อาจอดกลั้นความโศกไว้ได้ ต่างร้องไห้ระงมทั่วกัน. พระโพธิสัตว์ห้ามคนทั้งหมดว่า อย่าเลยพนาย อย่าได้ส่งเสียงคร่ำครวญไปเลย เพราะสังขารที่ชื่อว่า เที่ยง แม้เท่าเมล็ดงาไม่มีเลย ทุกอย่างไม่เที่ยง มีความแตกดับเป็นธรรมดา ทั้งนั้น.


หรือ

อ้างคำพูด:
พระศาสดาทรงทราบว่าฌานทั้งหลายเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นแล้ว ทรงพิจารณาดูว่า "ภิกษุนี่จักอาจเพื่อยังคุณวิเศษอันยิ่งให้เกิดขึ้นตามธรรมดาของตนหรือหนอ?" ทรงทราบว่า "จักไม่อาจ" แล้วทรงอธิษฐานว่า "ขอดอกปทุมนั้นจงเหี่ยวแห้งไป" ดอกปทุมนั้นได้เหี่ยวแห้งมีสีดำ เหมือนดอกปทุมที่ถูกขยี้ด้วยมือฉะนั้น.
ภิกษุนั้นออกจากฌานแล้ว แลดูดอกปทุมนั้น เห็นอนิจจลักษณะว่า "ทำไมหนอแล ดอกปทุมนี้ถูกชรากระทบแล้วจึงปรากฏได้, แม้เมื่ออนุปาทินนกสังขารอันชรายังครอบงำได้อย่างนี้, ในอุปาทินนกสังขารก็ไม่จำต้องพูดถึง, อันชราคงจักครอบงำอุปาทินนกสังขารแม้นี้."
ก็ครั้นอนิจจลักษณะนั้น อันท่านเห็นแล้ว, ทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะ ก็ย่อมเป็นอันเห็นแล้วเหมือนกัน. ภพ ๓ ปรากฏแล้วแก่ท่านดุจไฟติดทั่วแล้ว และดุจซากศพอันบุคคลผูกไว้ที่คอ.
ในขณะนั้น พวกเด็กลงสู่สระแห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลภิกษุนั้น เด็ดดอกโกมุททั้งหลายแล้ว ทำให้เป็นกองไว้บนบก. ภิกษุนั้นแลดูดอกโกมุททั้งหลายบนบกและในน้ำ. ลำดับนั้น ดอกโกมุทในน้ำงดงาม ปรากฏแก่เธอประดุจหลั่งน้ำออกอยู่ ดอกโกมุทนอกนี้เหี่ยวแห้งแล้วที่ปลายๆ. ภิกษุนั้นเห็นอนิจจลักษณะเป็นต้นดีขึ้นว่า "ชราย่อมกระทบอนุปาทินนกสังขารอย่างนี้ ทำไมจึงจักไม่กระทบอุปาทินนกสังขารเล่า?"

เหตุผลที่ยกมา ทั้งหมด จะบอกว่าอาจมีคนเข้าใจผิด เกิดความสับสน
ยึดเอาบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง เช่น"ทอง ฝน ธรรมชาติสรรพสิ่ง
ภายนอกมันเที่ยง ไอ้ที่ไม่เที่ยงคือ จิตของเรา"

อาตมาไม่ได้ยกเรื่อง เทวดาพรหมอะไรมากล่าวสักนิด แ่ค่บอกว่าหากมีผู้
เข้าใจผิดเห็นผิด ก็พิจารณาครับ เ้ข้าใจถูกต้องแล้วดีแล้วก็พิจารณา
เท่านั่นเองครับ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงอนิจฺจา วต สงฺขารา
ไม่มีนะครับ อนิจจา บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
ที่เหลือก็เช่นเคยครับ เปิดโอกาสให้เชิญพิจารณาตามเห็นสมควร ขอเจริญพร^^

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


พระสูตรที่ยกมามีนัยยะ ตรัสโดยบุคคลาธิษฐาน เรียกว่าสมมติสัจจะ
ตรัสโดยธรรมาธิษฐาน เรียกว่าปรมัตถสัจจะ หรือสภาวะ
โยมอาจไปติดตรง พรหม เทวดา อะไรอย่างนั่นจึงเข้าใจเอาว่า
อาตมายกคนละเรื่องคนละประเด็น เห็นที่ต้องยุติการสนทนา
เสียแล้วครับไม่ได้เกิดประโยชน์เท่าที่ เจตนา ชี้เอาไว้

เพราะโยมไปติดทอง ติดฝน เพราะบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
ด้วยสำคัญเสมออัตตาในสิ่งเหล่านั้น ทั้งสังขารที่มีใจครอง และสังขาร
ที่ไม่มีใจครอง ตามนัยอัฏฐกถาที่ยกแสดงแล้ว ขอยุติแล้วครับ^^

ก็เพราะเห็นอย่างนั้นบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ทำไมจะไม่ไปติดพรหม
เทวดาตามที่อ่านตามที่พิจารณา ฉันใดก็ฉันนั้น กับคิดว่า อาตมาหยิบยกมาคนละประเด็น
สำคัญเอาว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรศึกษา เรื่องทิฏฐิ ๖๒ มิจฉาทิฏฐิไร้สาระ
ไม่ได้เสียกำลังใจนะครับ ไม่ได้ผูกโกรธนะ ไม่ใช่วิสัยแต่แรกที่จะหยิบยก
ประเด็นมาคัดค้าน ขอคุณโยมขอให้กัลยาณมิตรพิจารณาครับ ขอเจริญพร ^^

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 54 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร