วันเวลาปัจจุบัน 20 พ.ค. 2025, 19:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 02:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุปุถุชน
พระเสขะบุคคล
พระอเสขะบุคคล

ย่อมเจริญสติปัฏฐาน 4


http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=3941&Z=3970&pagebreak=0

โกสลสูตร
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔
...พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ แล้วได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายที่เป็นผู้มาใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้ อันเธอ
ทั้งหลายพึงให้สมาทาน พึงให้ตั้งอยู่ พึงให้ดำรงมั่นในการเจริญสติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

[๖๙๒] มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อรู้กาย
ตามความเป็นจริง


จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... เพื่อรู้เวทนาตามความเป็นจริง จงพิจารณา
เห็นจิตในจิตอยู่ ... เพื่อรู้จิตตามความเป็นจริง จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อรู้ธรรมตาม
ความเป็นจริง.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 02:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุปุถุชน
พระเสขะบุคคล
พระอเสขะบุคคล

ย่อมเจริญสติปัฏฐาน 4


[๖๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัต ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม

ก็ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อกำหนดรู้กาย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... เพื่อกำหนดรู้เวทนา ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... เพื่อกำหนดรู้จิตย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส
มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อกำหนดรู้ธรรม.

(เสขะบุคคล นับตั้งแต่
บุคคลแม้ใดเป็นกัลยาณปุถุชน เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ด้วยอนุโลมปฏิปทา มีศีลสมบูรณ์ มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภคโภชนะ ตามประกอบความเพียรของบุคคลผู้ตื่นอยู่ ตามประกอบภาวนานุโยคซึ่งโพธิปักขิยธรรมตลอดราตรีต้นและราตรีปลายอยู่ ด้วยความคิดว่า เราจักบรรลุสามัญญผลอย่างใดอย่างหนึ่งในวันนี้หรือพรุ่งนี้ บุคคลนั้นท่านเรียกว่า เสขะ เพราะกำลังศึกษา.
พระโสดาบันบุคคล(โสดาปัตติมัคค โสดาปัตติผล)
พระสกทาคามี ...ถึงพระอรหันตบุคคลผู้บรรลุเพียงอรหัตมรรค)

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 13 มี.ค. 2010, 02:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 02:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุปุถุชน
พระเสขะบุคคล
พระอเสขะบุคคล

ย่อมเจริญสติปัฏฐาน 4


[๖๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

ก็ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว พรากจากกายแล้ว

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พรากจากเวทนาแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...
พรากจากจิตแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอก
ผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว พรากจากธรรมแล้ว.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 13 มี.ค. 2010, 02:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุแห่งสติ

- กาย คือ การพิจารณา กาย เช่น พิจารณาอริยถต่าง ๆ การกำหนดลมหายใจ อานาปานัสติ
- เวทนา การพิจารณา ทุกข์ สุข ไม่สุขไม่ทุกข์
- จิต การพิจารณาว่า จิตเสวยอารมณ์อะไร เช่น โลภ โกรธ หลง
- ธรรม การพิจารณาว่า ธรรมข้อใดหมวดใด ที่จิตพิจารณาอยู่

รวมเรียกว่า สติปัฎฐานสี่ แปลว่า ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ

ผิดถูกไม่ว่ากันนะขอรับ :b8:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


[๑๒๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ? ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ.


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 13 มี.ค. 2010, 09:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp
000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp [ 466.22 KiB | เปิดดู 4352 ครั้ง ]
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค



สติสูตร
ว่าด้วยสติ


[๖๘๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลิวัน ใกล้เมืองเวสาลี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า

ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย.
[๖๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณา
เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนี้แล.
[๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ กระทำความรู้สึกตัวในการเหลียว การแล
กระทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้าและเหยียดออก กระทำการรู้สึกตัวในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร
และจีวร กระทำการรู้สึกตัวในการกิน การดื่ม การลิ้ม กระทำการรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ กระทำการรู้สึกตัวในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างนี้แล ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับ
เธอทั้งหลาย.
จบ สูตรที่ ๒
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๓๘๘๒ - ๓๘๙๙. หน้าที่ ๑๖๓.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ฟังพระสูตรนี้ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/listen/?b=19&item=682
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=682
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๙
http://84000.org/tipitaka/read/?index


:b42: :b42: :b42:
:b44: :b44: :b44:
:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 13 มี.ค. 2010, 09:28, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


hmmm... มันเพี้ยนๆ อยู่นะท่านเช่นนั้น สติ มันไม่ใช่ สตินทรีย์ นะ

สตินทรีย์ เป็นเป็นอาการของ สติ ประเภทหนึ่ง ที่ระสึกรู้สัญญาที่ดีที่ชอบมาให้เรา จนเป็นปกติวิสัย จึงเรียกว่าเกิดเป็นอินทรีย์ของสัมมาสติ เมื่ออินทรีย์แข็งแรง ก็นำมาใช้เป็นกำลังได้ หรือเรียกว่า สติพละ

สติทำงานเป็นอัตโนมัติ อยากจะให้สติดึงอะไรออกมา ก็กำหนดเป็นเจตนา สัมปัชชัญญะ หรือโยนิโสมนสิการ แต่ก็ต้องมีสัญญาเก่าเก็บไว้ก่อนด้วย แปลว่า จะให้เกิดสติชอบ คือ สติดึงมาแต่สัญญาที่เป็นฝ่ายกุศล ก็ต้องเก็บข้อมูลที่เป็นกุศลไว้มากๆ

เช่น มีผู้หญิงสวยเดินผ่านมา สติชอบ ก็จะดึงข้อมูลมารายงานเราว่า นี่มันก้อนเนื้อเน่าเหม็น เดี๋ยวก็แก่ เดี๋ยวก็ตาย แต่ถ้าเป็นสติไม่ชอบ มันก็จะบอกว่าเรา น่า ...<เซ็นเซอร์>... ถ้าคนที่ไม่เคยฝึกวิปัสสนาไ ม่เคยฟังธรรมมาก่อน จะไม่มีทางคิดได้เองเลยว่า นี่มันก้อนเนื้อเน่าเหม็น เดี๋ยวก็แก่ เดี๋ยวก็ตาย

สตินทรีย์ คือ สติดึงเอาแต่ข้อมูลบวก หรือ วิชชามารับกระทบสัมผัส สตินทรีย์จึงเกิดเฉพาะจิตที่เป็นกุศล

การสร้างสตินทรีย์ จึงเริ่มจากเหตุคือการสร้างสัญญาบวกหรือวิชชาเก็บใว้มากๆ คือ เมื่อ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจคิดนึก ให้นึกหรือพิจารณาสิ่งที่มากระทบสัมหัส ตามความเป็นจริงของโลกและชีวิตว่า มันไม่เที่ยง ให้เท่าทันอารมณ์ที่เกิด ณ ปัจจุบัน เท่านั้น

ก็อย่าไปโมเมว่า ฉันมีสตินทรีย์แล้ว ถ้ามีสตินทรีย์จริง เวลารู้เห็นอะไร พยาบาท โลภ โกรธ หลง ต้องไม่เกิด แต่ถ้าสตินทรีย์ยังไม่แข็งแรงพอ ก็จะเกิดได้บ้าง แต่คุณจะรู้สึกด้วยตัวเองว่า มันน้อยลงมาก

ถ้าไปโมเม ไปบอกชาวบ้านว่า ฉันมีสตินทรีย์แล้ว (อินทรีย์ ๕) กรณีเป็นพระ ก็ปราชิกไปเลย .. นะท่าน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 13 มี.ค. 2010, 10:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้สึกตัว ทั่วพร้อม คือ อะไร? :b10:

มีอะไรเกี่ยวกับเนื่องกับ ขันธ์ หรือเปล่า? :b10:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 13 มี.ค. 2010, 10:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การรู้สึกตัว ทั่วพร้อม คือ อะไร?
คือ การที่เราไม่ให้สติไปดึงเอาความพอใจ ไม่พอใจ(โลภะ โทสะ โมหะ) ที่เก็บไว้ในความทรงจำ (สัญญา) มารับกระทบสัมผัส (ผัสสะ อารมณ์) ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (วิญญาณขันธ์) ตลอดเวลา เป็นจิตที่ไมประมาท เรียกภาษาธรรมว่า อธิจิต

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 10:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


มีอะไรเกี่ยวเนื่องกับ วิญญาณขันธ์หรือเปล่า :b10:
เกี่ยวเนื่องกับอินทรีย์5 ไหม :b10:
โพชฌงค์ ๗ คืออะไร :b10:
อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ล่ะ :b10:
smiley


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 13 มี.ค. 2010, 10:38, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มีอะไรเกี่ยวเนื่องกับ วิญญาณขันธ์หรือเปล่า
เกี่ยวเนื่องกับอินทรีย์5 ไหม
โพชฌงค์ ๗ คืออะไร
อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ล่ะ

วิญญาน ก็คือ จิตประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่รับรู้สิ่งภายนอก ภาษาอังกฤษใช้คำว่า sense หรือ sensor คือ รับรู้ ภาพ เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส รวมไปถึงจินตนาการหรือความนึกคิด ผลจากการรับรู้จะถูกเก็บเป็นความจำ (สัญญา) ความจำจะถูกเปลี่ยนเป็นความคิด (สังขาร) ความคิดจะกลับมาสั่งเราเป็นนิสัย

อินทรีย์ ๕ และ โพชฌงค์ ๗ ก็คือองค์ธรรมในโพธิปัก ๓๗ เป็นสภาวะที่เกิดกับอริยบุคคลตั้งแต่โสดาปัตติผลเป็นต้นไป เริ่มจากการสร้างองค์ธรรมในมรรค ๘ ก่อน เริ่มจากสร้างสัมมาทิฏฐิ ซึ่งมาจากการฝึกวิปัสสนาภาวนา คือ การฝึกให้รู้เห็นตามความเป็นจริง เท่าทันกระทบสัมผัส ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

ไตรสิกขา เป็นการปฏิบัติของพระ ไม่ใช่สำหรับฆราวาส ต้นฉบับพระไตรปิฏกจริงๆ อธิศีล คือปาราชิกศีล อธิจิต คือ จิตที่ไม่ประมาท อธิปัญญา คือ ปัญญาที่ดับทุกข์ได้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 11:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ฆราวาส บรรลุธรรมไม่ได้หรือ :b10:
(เอาขั้นโสดาบัน ก็พอ) :b16:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 13 มี.ค. 2010, 11:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 11:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
hmmm... มันเพี้ยนๆ อยู่นะท่านเช่นนั้น สติ มันไม่ใช่ สตินทรีย์ นะ


ความเห็นแตกต่าง ไม่แตกแยก
:b8:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ฆราวาส บรรลุธรรมไม่ได้หรือ
ได้ ถึงอนาคามีผล พอถึงอรหันตผล ไม่บวช ก็ดับขันธ์ใน ๒๔ ชั่วโมง กายไม่บริสุทธิ์จะหอบจิตที่บริสุทธิ์ไม่ได้ มันแบกไม่ใหว การทำกายให้บริสุทธิ์คืออาศัยเนกขัมมะบารมี หรือ ศีล ๒๒๗ ข้อ

แนวทางปฏิบัติ หรือ สิกขาของฆราวาส ที่พระพุทธองค์ตรัสบอก คือ ทาน ศีล ภวานา แปลว่า ให้ โลภะ โทหะ โมหะ เป็นทานเป็นหลัก (เพื่อชำระจิต) มีการให้ทานที่เป็นอามิสด้วย ฯ ศึกษาเรื่องดีเลว บาปบุญคุณชั่ว มองให้เห็นภัยในกาม ฯ เพื่อให้ศีลเกิด และก็ฝึกตนให้เป็นคนดี ด้วยการวิปัสสนา คือ ฝึกให้เท่าทันต่อสิ่งที่มากระทบสัมผัสในปัจจุบัน ให้เห็นจริงตามจริงว่า มันไม่เที่ยงเกิดดับ ให้ครบทั้ง ๖ ทาง ผลก็คือ วิชชาจะเกิดสะสมเป็น สัญญา ลองไปหาดุในอวิชชาสูตร และวิชชาสูตร ผู้ที่รู้เห็นอย่างนี้ ฝึกอย่างนี้ เดินอย่างนี้ เรีนกว่าผู้รู้ทาง ผู้เห็นทาง บริบูรณ์ด้วยความเห็นที่ถูกต้อง กำลังฝึกตนอยู่ คือ โสดาบันบุคล (โสดาปัติมรรค)

พระพุทธองค์บอกว่า จงอยู่ด้วยความไม่ประมาท คือ เมื่อประมาท โลภะ โทสะ โมหะ เล่นงานทันที เพราะความเคยชินที่สั่งสมมา

วิปัสสนา คือ การสร้างความเห็นที่วิเศษ คือ สร้างวิชชามาดับอวิชชา เมื่อวิชชามีสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ สติเริ่มควานหาอวิชชาไม่ค่อยเจอ สังโยชญ์เบื้องต่ำก็ถึงกับเป็นอันต้องดับไป บรรลุโสดาปัตติผล มรรคมีองค์ ๘ เกิด สติปัฏฐาน ๔ สัมปทาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ อิทธิบาท ๔ โพชงค์ ๗ เกิดตามๆ กันมาตามเหตุปัจจัย เมื่อโพธิปักฯ ๓๗ ประการเกิด ก็จะสามารถตรัสรู้ได้ในเวลาไม่เกินไม่เกิน ๗ ชาติ

สภาวะในโพธิปักฯ ๓๗ มันจะรู้ได้เฉพาะตน ผู้ไม่มีไม่รู้ มั่วๆ เอาว่ามี แบบนี้เรียกวิปัสสนึก มันอธิบายยาก อธิบายไม่ถูกว่า เกลือเค็ม มันเค็มยังงัย ... ฝึกเอาให้ได้เองก็แล้วกันนะ :b38:

อ้างคำพูด:
ความเห็นแตกต่าง ไม่แตกแยก
คิดว่าไม่แก่ คิดว่าไม่ตาย ความจริงมันก็ต้องแก่ต้องตายนะท่าน .... พุทธคือความจริง ไม่มีความเห็น ผมอธิบายสภาวะที่เกิดภายในตัวผมเอง จากการปฏิบัติถูกเหตุถูกปัจจัย หากท่านยังคิดว่าเป็นความเห็น มันเป็นเรื่องที่ไม่มีใครช่วยอะไรใครได้เลยนะท่าน :b38:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


พวกเราเป็นปุถุชน ยอมๆกัน ปล่อยๆกันมั่ง คิดว่าดีนะ :b16: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร