วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 18:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 925 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23 ... 62  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2014, 11:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชีวิตด้านที่หนึ่ง กับ ด้านที่สอง มันตีกัน ด้านที่สองแสดงความเป็นตัวของมันเอง ส่วนด้านที่หนึ่ง (ร้อง) นึกถึงพระพุทธเจ้าให้พระพุทธเจ้าช่วย :b1:


อ้างคำพูด:
เมื่อคืนนั่งสมาธิ ภาวนาพุทโธตามลมหายใจเข้าออกแต่ว่าจิตไม่นิ่งเท่าไร ก็เลยเปลี่ยนมากำหนดจิตที่พุทโธ พุทโธ ถี่ ๆ เพื่อไม่ให้เกิดช่วงว่างให้นึกเรื่องอื่น แล้วทุกอย่างก็เงียบนิ่งสนิท เกิดแสงสว่างวาบสีขาวนวลตา แล้วใจก็เต้นพรึบพรับ ๆ เหมือนจะออกมานอกตัวควบคุมไม่ได้ เหมือนจะหายใจไม่ทัน จนตั้งสตินึกถึงพระพุทธองค์ช่วยด้วย นานมากในความรู้สึก แล้วทุกอย่างก็ค่อย ๆ สงบแต่แสงสีขาวยังอยู่เหมือนเดิม สงบดีมากแต่ก็ได้ยินเสียงรอบตัวอยู่นะ คิดว่าจะนั่งดูอย่างนั้นต่อไปเพื่อดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก แต่บังเอิญจิ้งจกร้องข้าง ๆ ก็เลยลืมตาขึ้น รบกวนขอคำแนะนำค่ะว่าถ้าเป็นแบบนี้เราควรทำอย่างไรต่อไปค่ะ


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2014, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ชีวิตด้านที่หนึ่ง กับ ด้านที่สอง มันตีกัน ด้านที่สองแสดงความเป็นตัวของมันเอง ส่วนด้านที่หนึ่ง (ร้อง) นึกถึงพระพุทธเจ้าให้พระพุทธเจ้าช่วย :b1:


อ้างคำพูด:
เมื่อคืนนั่งสมาธิ ภาวนาพุทโธตามลมหายใจเข้าออกแต่ว่าจิตไม่นิ่งเท่าไร ก็เลยเปลี่ยนมากำหนดจิตที่พุทโธ พุทโธ ถี่ ๆ เพื่อไม่ให้เกิดช่วงว่างให้นึกเรื่องอื่น แล้วทุกอย่างก็เงียบนิ่งสนิท เกิดแสงสว่างวาบสีขาวนวลตา แล้วใจก็เต้นพรึบพรับ ๆ เหมือนจะออกมานอกตัวควบคุมไม่ได้ เหมือนจะหายใจไม่ทัน จนตั้งสตินึกถึงพระพุทธองค์ช่วยด้วย นานมากในความรู้สึก แล้วทุกอย่างก็ค่อย ๆ สงบแต่แสงสีขาวยังอยู่เหมือนเดิม สงบดีมากแต่ก็ได้ยินเสียงรอบตัวอยู่นะ คิดว่าจะนั่งดูอย่างนั้นต่อไปเพื่อดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก แต่บังเอิญจิ้งจกร้องข้าง ๆ ก็เลยลืมตาขึ้น รบกวนขอคำแนะนำค่ะว่าถ้าเป็นแบบนี้เราควรทำอย่างไรต่อไปค่ะ




คุณอโศกมองออกไหมครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2014, 11:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชีวิตด้านที่ ๑ ชีวิตสำหรับปฏิบัติต่อกัน - สำหรับดำเนินชีวิตประจำวัน



หลักคำสอนในสิงคาลสูตรทั้งหมด ท่านวา พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ให้เป็นคิหิวันัย คือวินัยของคฤหัสถ์ ดังสรุปได้ดังนี้

หมวด ๑: ปลอดความชั่ว ๑๔ ประการ คือ

ก. ละกรรมกิเลส (ข้อเสื่อมเสียของความประพฤติ) ๔ อย่าง ได้แก่

๑. ปาณาติบาต
๒ อทินนาทาน
๓. กาเสุมิจฉาจาร
๔. มุสาวาท

ข. ไม่กระทำบาปกรรมโดย ๔ สถาน คือ ไม่ทำกรรมชั่วด้วยลุแก่

๑. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ

๒. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง

๓. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา

๔. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว

ค. ไม่เสพอบายมุข (ช่องทางเสื่อมเสีย หรือหายหมดไป) แห่งโภคะ ๖ ประการ คือ

๑. ติดสุรา และของมึนเมา

๒. ติดเที่ยวกลางคืน

๓. ติดเที่ยวดูการเล่น

๔. ติดการพนัน

๕. ติดคบเพื่อนชั่ว

๖. เกียจคร้านการงาน

หมวด ๒: (เตรียมทุนชีวิต ๒ ด้าน คือ)
- รู้จักมิตรแท้ มิตรเทียม ซึ่งควรคบ และไม่ควรคบ ได้แก่

ก. มิตรเทียม ๔ จำพวก คือ
๑. คนปอกลอก
๒. คนดีแต่พูด
๓. คนหัวประจบ
๔. คนชวนฉิบหาย

ข. มิตรแท้ ๔ จำพวก คือ
๑. มิตรอุปการะ
๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
๓. มิตรแนะนำประโยชน์
๔. มิตรมีน้ำใจ

- เก็บรักษาสะสมทรัพย์ เหมือนดังผึ้งขยันรวบรวมน้ำเกสรดอกไม้สร้างรัง หรือเหมือนตัวปลวก ก่อสร้างจอมปลวก แล้วพึงจัดสรรทรัพย์ใช้สอย โดยแบ่งเป็น ๔ ส่วน
ก. กินใช้ เลี้ยงดูคน และทำประโยชน์ ๑ ส่วน
ข. ทำทุนประกอบการงาน ๒ ส่วน
ค. เก็บไว้ใช้คราวจำเป็น ๑ ส่วน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2014, 11:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชีวิตด้านที่หนึ่ง คือ ชีวิตสำหรับปฏิบัติต่อกัน


หมวด ๓: ปกแผ่ทิศทั้ง ๖

- ทิศ ๖ ปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลที่สัมพันธ์กับตนให้ถูกต้องตามฐานะทั้ง ๖ คือ

๑. ก. บุตรธิดา บำรุงมารดาบิดาผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องหน้า โดย

๑) ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
๒) ช่วยทำกิจธุระการงานของท่าน
๓) ดำรงวงศ์สกุล
๔) ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
๕) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน

ข. มารดาบิดา อนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้

๑) ห้ามกันจากความชั่ว
๒) ฝึกอบรมให้ตั้งอยู่ในความดี
๓) ให้ศึกษาศิลปวิทยา
๔) เป็นธุระในการมีคู่ครองที่สมควร
๕) มอบทรัพย์สมบัติให้เมื่อถึงโอกาส

๒. ก. ศิษย์ บำรุงครูอาจารย์ ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องขวา โดย

๑) ลุกรับ แสดงความเคารพ

๒) เข้าไปหา (เช่น ช่วยรับใช้ ปรึกษาซักถาม รับคำแนะนำ)

๓) ตั้งใจฟังและรู้จักฟัง

๔) ปรนนิบัติ ช่วยบริการ

๕) เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ เอาจริงเอาจัง ถือเป็นกิจสำคัญ

ข. ครูอาจารย์ อนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้

๑) แนะนำฝึกอบรมให้เป็นคนดี

๒) สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง

๓) สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง

๔) ยกย่องให้ปรากฏในหมู่พวก

๕) สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ (สอนให้เอาไปใช้งานเลี้ยงชีพได้จริง)


๓. ก. สามี บำรุงภรรยา ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องหลัง โดย

๑) ยกย่องให้เกียรติสมฐานะภรรยา

๒) ไม่ดูหมิ่น

๓) ไม่นอกใจ

๔) มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้าน

๕) หาเครื่องแต่ตัวมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส

ข. ภรรยา อนุเคราะห์สามี ดังนี้

๑) จัดงานบ้านให้เรียบร้อย

๒) สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี

๓) ไม่นอกใจ

๔) รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้

๕) ขยันช่างจัดช่างทำเอางานทุกอย่าง


๔. ก. บำรุงมิตรสหาย ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องซ้าย โดย

๑) เผื่อแผ่แบ่งปัน

๒) พูดอย่างรักกัน

๓) ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

๔) มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน

๕) ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน

ข. มิตรสหาย อนุเคราะห์ตอบ ดังนี้

๑) เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาป้องกัน

๒) เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน

๓) ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้

๔) ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก

๕) นับถือตลอดวงศ์ญาติของมิตร


๕. ก. นาย บำรุงคนรับใช้และคนงาน ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องล่าง โดย

๑) จัดงานให้ทำตามความเหมาะสมกับกำลังเพศวัยและความสามารถ

๒) ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่

๓) จัดสวัสดิการดี มีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น

๔) มีอะไรได้พิเศษมา ก็แบ่งปันให้

๕) ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาส

ข. คนรับใช้และคนงาน อนุเคราะห์นาย ดังนี้

๑) เริ่มทำงานก่อน

๒) เลิกงานทีหลัง

๓) เอาแต่ของที่นายให้

๔) ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น

๕) นำความดีของนายงานและกิจการไปเผยแพร่


๖. ก. คฤหัสถ์ บำรุงพระสงฆ์ ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องบน โดย

๑) จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา

๒) จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา

๓) คิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา

๔) ต้อนรับด้วยความเต็มใจ

๕) อุปถัมภ์ ด้วยปัจจัย ๔


ข. พระสงฆ์ ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้

๑) ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว

๒) แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี

๓) อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจงาม

๔) ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง

๕) ชี้แจงอธิบายสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง

๖) บอกทางสวรรค์ให้ (สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุข)


สังคหวัตถุ ๔: บำเพ็ญหลักการสงเคราะห์ เพื่อยึดเหนี่ยวใจคนและประสานสังคม ๔ ประการ คือ


๑. ทาน เผื่อแผ่แบ่งปัน

๒ ปิยวาจา พูดอย่างรักกัน

๓. อัตถจริยา ทำประโยชน์แก่เขา

๔. สมานัตตตา เอาตัวเข้าสมาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2014, 19:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




w007.jpg
w007.jpg [ 40.19 KiB | เปิดดู 3827 ครั้ง ]
กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ชีวิตด้านที่หนึ่ง กับ ด้านที่สอง มันตีกัน ด้านที่สองแสดงความเป็นตัวของมันเอง ส่วนด้านที่หนึ่ง (ร้อง) นึกถึงพระพุทธเจ้าให้พระพุทธเจ้าช่วย :b1:


อ้างคำพูด:
เมื่อคืนนั่งสมาธิ ภาวนาพุทโธตามลมหายใจเข้าออกแต่ว่าจิตไม่นิ่งเท่าไร ก็เลยเปลี่ยนมากำหนดจิตที่พุทโธ พุทโธ ถี่ ๆ เพื่อไม่ให้เกิดช่วงว่างให้นึกเรื่องอื่น แล้วทุกอย่างก็เงียบนิ่งสนิท เกิดแสงสว่างวาบสีขาวนวลตา แล้วใจก็เต้นพรึบพรับ ๆ เหมือนจะออกมานอกตัวควบคุมไม่ได้ เหมือนจะหายใจไม่ทัน จนตั้งสตินึกถึงพระพุทธองค์ช่วยด้วย นานมากในความรู้สึก แล้วทุกอย่างก็ค่อย ๆ สงบแต่แสงสีขาวยังอยู่เหมือนเดิม สงบดีมากแต่ก็ได้ยินเสียงรอบตัวอยู่นะ คิดว่าจะนั่งดูอย่างนั้นต่อไปเพื่อดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก แต่บังเอิญจิ้งจกร้องข้าง ๆ ก็เลยลืมตาขึ้น รบกวนขอคำแนะนำค่ะว่าถ้าเป็นแบบนี้เราควรทำอย่างไรต่อไปค่ะ




คุณอโศกมองออกไหมครับ

:b8:
สมาธิกำลังเกิด จึงเกิดปีติและได้นิมิต แต่ขาดความรู้พื้นฐานด้านสมถะภาวนาและไกลอาจารย์ที่ปรึกษาไปหน่อย จึงตื่นกลัวเมื่อเจอปีติและนิมิตครั้งแรก

ธรรมดาของผู้เจริญสมถะหรือสมาธิ ผลเหล่านี้จะต้องเกิดเสมอคือ

บริกรรมนิมิต

อุคหนิมิต

ปฏิภาคนิมิต

ปีติ

ปัสสัทธิ

ฌาน

พึงควรให้ผู้ฝึกหัดได้มีความรู้พื้นฐานในสิ่งเหล่านี้บ้าง เมื่อพบเจอจะได้ไม่ตกใจ หลงทางไปอื่น

การนั่งเจริญสมาธิควรมีที่ปรึกษาอยู่ดูแลใกล้ชิด ด้วยตัวตน หรือด้วยสื่อ เนท ไลน์ เฟส หรือโทรปรึกษาตรงๆทันทีที่สงสัยและมีปัญหา

คำถามนี้ซื่อใสดี และจะไม่มีถ้าใกล้ครู

อ้างคำพูด:
"ถ้าเป็นแบบนี้เราควรทำอย่างไรต่อไปค่ะ"


ถ้าเจริญสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนาภาวนาปัญหาอย่างนี้จะไม่ค่อยเกิดครับ
:b27: :b27:
อนุโมทนากับฆราวาสธรรมที่คุณกรัชกายนำมาแสดง ครับ
smiley smiley
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2014, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:



ถ้าเจริญสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนาภาวนาปัญหาอย่างนี้จะไม่ค่อยเกิดครับ


เจริญยังไงครับ ถึงจะควบคู่กัน :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2014, 20:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




ลุงกับหลาน.jpg
ลุงกับหลาน.jpg [ 49.13 KiB | เปิดดู 3819 ครั้ง ]
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:



ถ้าเจริญสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนาภาวนาปัญหาอย่างนี้จะไม่ค่อยเกิดครับ


เจริญยังไงครับ ถึงจะควบคู่กัน :b1:

:b8: :b8:
ดีแล้วที่ถาม
พรุ่งนี้มาคุยกันต่อนะครับ

smiley smiley
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2014, 05:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

อนุโมทนากับฆราวาสธรรมที่คุณกรัชกายนำมาแสดง ครับ



ธรรมะก็คือชีวิต ชีวติก็คือธรรมะ ดังกล่าวข้างต้นว่า ชีวิตมีสองด้าน ด้านที่หนึ่ง ชีวิตสำหรับปฏิบัติต่อกัน ด้้านที่สอง ชีวิตสำหรับรู้เท่าทัน ที่นำมานี่เป็นชีวิตต้านปฏิบัติต่อกัน ระหว่างชีวิตของคฤหัสถ์กับชีวิตพระสงฆ์ ดูชัดๆครับ

๖. ก. คฤหัสถ์ บำรุงพระสงฆ์ ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องบน โดย

๑) จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา

๒) จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา

๓) คิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา

๔) ต้อนรับด้วยความเต็มใจ

๕) อุปถัมภ์ ด้วยปัจจัย ๔


ข. พระสงฆ์ ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้

๑) ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว

๒) แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี

๓) อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจงาม

๔) ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง

๕) ชี้แจงอธิบายสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง

๖) บอกทางสวรรค์ให้ (สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุข)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2014, 05:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:



ถ้าเจริญสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนาภาวนาปัญหาอย่างนี้จะไม่ค่อยเกิดครับ


เจริญยังไงครับ ถึงจะควบคู่กัน :b1:

:b8: :b8:
ดีแล้วที่ถาม
พรุ่งนี้มาคุยกันต่อนะครับ



บอกต่อด้วยนะครับว่า ปฏิบัติเพื่ออะไร :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ม.ค. 2014, 22:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:



ถ้าเจริญสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนาภาวนาปัญหาอย่างนี้จะไม่ค่อยเกิดครับ


เจริญยังไงครับ ถึงจะควบคู่กัน :b1:

:b8: :b8:
ดีแล้วที่ถาม
พรุ่งนี้มาคุยกันต่อนะครับ



บอกต่อด้วยนะครับว่า ปฏิบัติเพื่ออะไร :b1:

:b8: :b8: :b8:
การเจริญสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนาภาวนานั้น พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทานไว้ให้แล้ว ในอานาปานสติสูตร ลองพากันกลับไปสังเกตพิจารณาดูกันให้ดีๆ

อานาปานสติสูตรมีทั้งหมดถึง 16 ขั้นตอน ไม่ใช่เพียงแค่การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไรทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า
1.เธอย่อมมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
2.เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
3.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
4.สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
5.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดปีติ หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นกำหนดรู้ปีติ หายใจออก
6.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก
7.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก
8.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
9.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจ ว่าเราจักเป็นกำหนดรู้จิต หายใจออก
10.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
11.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
12.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้าว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก
13.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก
14.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจออก
15.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
6.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้พิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

:b8:
:b27:
สังเกตดูให้ดี จะวิเคราะห์ให้ฟัง

ข้อที่ 1 - 2 ยังเป็นสมถะล้วนๆ

ข้อที่ 3 จนถึง 16 เป็นสมถะควบคู่กับวิปัสสนา

สังเกต

3.ตอนนี้เป็นวิปัสสนาสำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง

ตอนนี้เป็นสมถะ หายใจเข้า

ตอนนี้เป็นวิปัสสนา ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง

ตอนนี้เป็นสมถะ หายใจออก

ตอนที่ไปสำเหนียก คือไปรู้......เป็นตอนวิปัสสนา

ตอนที่ไปจับลมหายใจเข้า -ออก เป็นสมถะ

สติจับลมเข้า(สมถะ)......(สำเหนียก)ปัญญาสังเกต พิจารณาอารมณ์(วิปัสสนา)

สติจับลมออก(สมถะ)......(สำเหนียก)ปัญญา สังเกต พิจารณาอารมณ์(วิปัสสนา)
:b53: :b53: :b53:
พอมองออกและเข้าใจได้ไหมครับท่านกรัชกาย
s006
วันต่อไปจะมาให้ข้อสังเกตว่า ครูบาอาจารย์รุ่นหลังๆนำอานาปานสติมาประยุกต์ใช้ให้สั้นลงและให้ได้ทั้งสมถะและวิปัสสนาไปในคราวเดียวกันได้อย่างไรครับ
:b8:
อ้อ ! ...เกือบลืม เดี๋ยวจะคอยนาน

"ปฏิบัติ(ธรรม)ไปเพื่ออะไรครับ?"

ตอบ

"เพื่อให้พ้นจากทุกข์ ถึง สุข อันเป็นอมตะ คือ พระนิพพาน"

การตอบเป็นอย่างอื่นก็อาจมีได้ ตามวิสัย ระดับชั้นสติปัญญาของแต่ละท่านแต่ละคน
smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2014, 15:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:



ถ้าเจริญสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนาภาวนาปัญหาอย่างนี้จะไม่ค่อยเกิดครับ


เจริญยังไงครับ ถึงจะควบคู่กัน :b1:

:b8: :b8:
ดีแล้วที่ถาม
พรุ่งนี้มาคุยกันต่อนะครับ



บอกต่อด้วยนะครับว่า ปฏิบัติเพื่ออะไร :b1:

:b8: :b8: :b8:
การเจริญสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนาภาวนานั้น พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทานไว้ให้แล้ว ในอานาปานสติสูตร ลองพากันกลับไปสังเกตพิจารณาดูกันให้ดีๆ

อานาปานสติสูตรมีทั้งหมดถึง 16 ขั้นตอน ไม่ใช่เพียงแค่การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไรทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า
1.เธอย่อมมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
2.เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
3.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
4.สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
5.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดปีติ หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นกำหนดรู้ปีติ หายใจออก
6.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก
7.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก
8.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
9.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจ ว่าเราจักเป็นกำหนดรู้จิต หายใจออก
10.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
11.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
12.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้าว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก
13.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก
14.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจออก
15.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
6.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้พิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

:b8:
:b27:
สังเกตดูให้ดี จะวิเคราะห์ให้ฟัง

ข้อที่ 1 - 2 ยังเป็นสมถะล้วนๆ

ข้อที่ 3 จนถึง 16 เป็นสมถะควบคู่กับวิปัสสนา

สังเกต

3.ตอนนี้เป็นวิปัสสนาสำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง

ตอนนี้เป็นสมถะ หายใจเข้า

ตอนนี้เป็นวิปัสสนา ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง

ตอนนี้เป็นสมถะ หายใจออก

ตอนที่ไปสำเหนียก คือไปรู้......เป็นตอนวิปัสสนา

ตอนที่ไปจับลมหายใจเข้า -ออก เป็นสมถะ

สติจับลมเข้า(สมถะ)......(สำเหนียก)ปัญญาสังเกต พิจารณาอารมณ์(วิปัสสนา)

สติจับลมออก(สมถะ)......(สำเหนียก)ปัญญา สังเกต พิจารณาอารมณ์(วิปัสสนา)
:b53: :b53: :b53:
พอมองออกและเข้าใจได้ไหมครับท่านกรัชกาย
s006
วันต่อไปจะมาให้ข้อสังเกตว่า ครูบาอาจารย์รุ่นหลังๆนำอานาปานสติมาประยุกต์ใช้ให้สั้นลงและให้ได้ทั้งสมถะและวิปัสสนาไปในคราวเดียวกันได้อย่างไรครับ
:b8:
อ้อ ! ...เกือบลืม เดี๋ยวจะคอยนาน

"ปฏิบัติ(ธรรม)ไปเพื่ออะไรครับ?"

ตอบ

"เพื่อให้พ้นจากทุกข์ ถึง สุข อันเป็นอมตะ คือ พระนิพพาน"

การตอบเป็นอย่างอื่นก็อาจมีได้ ตามวิสัย ระดับชั้นสติปัญญาของแต่ละท่านแต่ละคน
smiley smiley
กรัชกายไม้แก่ดัดยากท่านอโศกะ ยิ่งทำตัวเป็นผู้รุ้แล้วละก้อยากที่จะหันมาปฎิบัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2014, 18:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
Quote Tipitaka:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:



ถ้าเจริญสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนาภาวนาปัญหาอย่างนี้จะไม่ค่อยเกิดครับ


เจริญยังไงครับ ถึงจะควบคู่กัน :b1:

:b8: :b8:
ดีแล้วที่ถาม
พรุ่งนี้มาคุยกันต่อนะครับ



บอกต่อด้วยนะครับว่า ปฏิบัติเพื่ออะไร :b1:

:b8: :b8: :b8:
การเจริญสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนาภาวนานั้น พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทานไว้ให้แล้ว ในอานาปานสติสูตร ลองพากันกลับไปสังเกตพิจารณาดูกันให้ดีๆ

อานาปานสติสูตรมีทั้งหมดถึง 16 ขั้นตอน ไม่ใช่เพียงแค่การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไรทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า
1.เธอย่อมมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
2.เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
3.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
4.สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
5.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดปีติ หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นกำหนดรู้ปีติ หายใจออก
6.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก
7.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก
8.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
9.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจ ว่าเราจักเป็นกำหนดรู้จิต หายใจออก
10.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
11.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
12.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้าว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก
13.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก
14.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจออก
15.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
6.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้พิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

:b8:
:b27:
สังเกตดูให้ดี จะวิเคราะห์ให้ฟัง

ข้อที่ 1 - 2 ยังเป็นสมถะล้วนๆ

ข้อที่ 3 จนถึง 16 เป็นสมถะควบคู่กับวิปัสสนา

สังเกต

3.ตอนนี้เป็นวิปัสสนาสำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง

ตอนนี้เป็นสมถะ หายใจเข้า

ตอนนี้เป็นวิปัสสนา ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง

ตอนนี้เป็นสมถะ หายใจออก

ตอนที่ไปสำเหนียก คือไปรู้......เป็นตอนวิปัสสนา

ตอนที่ไปจับลมหายใจเข้า -ออก เป็นสมถะ

สติจับลมเข้า(สมถะ)......(สำเหนียก)ปัญญาสังเกต พิจารณาอารมณ์(วิปัสสนา)

สติจับลมออก(สมถะ)......(สำเหนียก)ปัญญา สังเกต พิจารณาอารมณ์(วิปัสสนา)
:b53: :b53: :b53:
พอมองออกและเข้าใจได้ไหมครับท่านกรัชกาย
s006
วันต่อไปจะมาให้ข้อสังเกตว่า ครูบาอาจารย์รุ่นหลังๆนำอานาปานสติมาประยุกต์ใช้ให้สั้นลงและให้ได้ทั้งสมถะและวิปัสสนาไปในคราวเดียวกันได้อย่างไรครับ
:b8:
อ้อ ! ...เกือบลืม เดี๋ยวจะคอยนาน

"ปฏิบัติ(ธรรม)ไปเพื่ออะไรครับ?"

ตอบ

"เพื่อให้พ้นจากทุกข์ ถึง สุข อันเป็นอมตะ คือ พระนิพพาน"

การตอบเป็นอย่างอื่นก็อาจมีได้ ตามวิสัย ระดับชั้นสติปัญญาของแต่ละท่านแต่ละคน
smiley smiley
กรัชกายไม้แก่ดัดยากท่านอโศกะ ยิ่งทำตัวเป็นผู้รุ้แล้วละก้อยากที่จะหันมาปฎิบัติ

:b12: :b12: :b12:
ไม่เป็นไรหรอกครับคุณ Amazing

คนที่ยังไม่ถึงเวลา ก็เหมือนมะม่วงที่ยังไม่ถึงฤดูกาลออกดอกออกผล จะเคี่ยวเข็ญอย่างไรมันก็ไม่เป็นผล แต่
พอถึงเวลาฤดูกาล ของเขา อายุของมะม่วงก็เหมาะสม เขาออกดอกออกผลมาเองแบบบังคับไม่ให้ออกก็ไม่ได้

มันเป็นอนัตตาโดยแท้.....

ตัวอย่างที่ดีมากๆก็คือ ท่านโพธิละเถระ คำพูดคำสอนของท่านทำผู้คนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์เยอะแยะ ทั้งๆที่ตัวท่าน อริยบุคคลชั้นต้นยังไม่ใช่เลย เป็นแต่เพียงพหูสูตร มอดกัดตำราเท่านั้น

แต่พอถึงเวลา ได้อาจารย์เณรน้อยมาเป็นกัลยาณมิตร เอาจอมปลวกมาแสดงเป็นธรรมะให้ฟัง ก็เกิดสะกิดใจ เกิดแรงบรรดาลใจ ไปมุมานะ ทำความเพียร ทำตนเข้าถึงอรหัตมรรคอรหัตผลได้

ท่านกรัชกาย รอจังหวะอีกนิดเดียว เดี๋ยวคงพบกัลยาณมิตรหรือมหากัลยาณมิตร หรืออาจจะพบเณรน้อยในลานธรรมจักรมากระทบกระทั่งสร้างแรงบันดาลใจ หลบหน้าหายไปจากลานสัก 7 มื้อ 15 วัน ไปทำพระนิพพานให้แจ้ง แล้วกลับมาสนทนากับเราใหม่ ด้วยธรรมะจากใจ นอกตำรา เร็วๆนี้ก็ได้นะครับ

การได้ปริญญาทางธรรมนี่ไม่เหมือนทางโลก เพราะไม่มีขีดขั้นเรื่องกาลเวลา บุคคล สถานที่ พระ เถร เณร ชี หรือชาวบ้าน คนมีการศึกษาสูงหรือตาสีตาสา ชาวนาหรือชาวไร่ ไพร่ ผู้ดี หรือเจ้า ผู้เฒ่าหรือเด็กน้อย ผู้อ่อนด้อยหรือผู้เด่นดัง ผู้ทะลึ่งตึงตังขวางโลกอย่างในนี้บางคน ผู้ยากจนหรือขี้เง้าขี้งอน ผู้อ่อนหรือแก่พรรษา หลวงตาหรือเณรน้อย ผู้มีเงินร้อยหรือมีเงินพันล้าน ผู้แต่งงานแล้วหรือเป็นม่าย ผู้ใกล้ตายหรือเกิดมาแล้วจนรู้ความ

เลยเป็นกลอนพาไปเลยนะครับคุณ Amazing ท่านกรัชกาย มิตรสหายทางธรรมทุกท่านทุกคน โปรดพิจารณา

:b8:
tongue
smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2014, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:

กรัชกายไม้แก่ดัดยากท่านอโศกะ ยิ่งทำตัวเป็นผู้รุ้แล้วละก้อยากที่จะหันมาปฎิบัติ


ปฏิบัติยังไง ทั้งสองท่านก็ช่วยกันแนะนำกรัชกายสิขอรับ :b32: สำหรับผู้ที่่ไม่เคยปฏิบัติไม่เคยทำมาเลยเนี่ย เริ่มต้นยังไงครับ


เป็นยังงี้ เราจะแก้ยังไงครับ


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2014, 20:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




ของกูของสู.jpg
ของกูของสู.jpg [ 33.66 KiB | เปิดดู 3738 ครั้ง ]
แพทย์แผนไทย.jpg
แพทย์แผนไทย.jpg [ 39.6 KiB | เปิดดู 3729 ครั้ง ]
กรัชกาย เขียน:
amazing เขียน:

กรัชกายไม้แก่ดัดยากท่านอโศกะ ยิ่งทำตัวเป็นผู้รุ้แล้วละก้อยากที่จะหันมาปฎิบัติ


ปฏิบัติยังไง ทั้งสองท่านก็ช่วยกันแนะนำกรัชกายสิขอรับ :b32: สำหรับผู้ที่่ไม่เคยปฏิบัติไม่เคยทำมาเลยเนี่ย เริ่มต้นยังไงครับ


เป็นยังงี้ เราจะแก้ยังไงครับ



:b13: :b13: :b13:
ถ้าสังเกตและพิจารณาให้ดีๆ มีคำแนะนำที่ทำให้ง่ายบอกมาเป็นลำดับๆโดยตลอดแล้ว ถ้าท่านกรัชกายจะลองกลับไปทบทวน ประมวล สรุปและจับประเด็นดูให้ดีๆ ที่เป็นหลักปฏิบัติอันได้สรุปมาให้เป็นงานและหน้าที่ของชาวพุทธตรงๆก็นำมาให้อ่านดูแล้วหลายครั้งแต่ท่านกรัชกายอาจมีงานยุ่ง กระทู้ที่จะต้องรับผิดชอบมากเลยไม่มีเวลาทำความละเอียด ขอยกมาให้ดูอีกสักครั้งนะครับ แล้วท่านกรัชกายลองแกะออกมาวิเคราะห์วิจัย เป็นคำๆเป็นประโยคเลยนะครับว่า มีอันใดเป็นไปตามคำสอนของพระบรมศาสดา อันใดไม่ตรงกับคำสอนของพระบรมศาสดา อันใดยากเกินไป จะได้ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นครับ

งานและหน้าที่ของชาวพุทธ

สำรวมกายใจมานิ่งรู้ นิ่งสังเกต
ปัจจุบันอารมณ์ จนละความเห็นผิดว่า
กาย ใจ นี้ เป็นอัตตาตัวกู ของกู
พอกพูนความเห็นถูกต้อง ว่ากาย ใจ นี้
เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกู ของกู ทุกวัน เวลา นาที วินาที
ที่ระลึกได้และมีโอกาส



หัวใจวิปัสสนาภาวนา

ใจปัญญาอย่ายอมใจเป็นกู นิ่งดู นิ่งสังเกต พิจารณา ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ
มิยอมถอย
ถ้าสู้ได้ ทนได้ ไม่ตะบอย
กู จะถอยหรือตายดับ ไปจากใจ

onion onion onion
สำหรับการแก้ปัญหาที่เห็นภาพเณรมีอาการวิปริตผิดเพี้ยนดังในยูทูปที่ยกมานั้น

คงต้องพิจารณาและแก้ไขไปพร้อมๆกันหลายๆด้านหลายๆมุม

ในกรณีที่อโศกะเคยแก้ไข

1.แยกตัวเณรที่มีปัญหาออกมานั่งภาวนาในที่ต่างหาก
2.สอบประวัติและอารมณ์ปฏิบัติเณรรูปนี้ให้ละเอียด เพื่อวิเคราะห์และค้นหาต้นเหตุของปัญหา
3.ให้กรรมฐานใหม่ที่เหมาะสม ไม่ใช่เอาไปจับนั่งรวมกับเณรกลุ่มใหญ่
4.วิปัสสนาจารย์หรือพี่เลี้ยงต้องกำกับอยู่แบบตัวต่อตัวจนกว่าเณรรูปนี้จะผ่านอารมณ์ที่เป็นปัญหานี้ ซึ่งอาจจะเกิดจาก ปีติ นิมิต ความผิดปกติด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต หรือทำผิดวิธีที่แนะนำไปด้วยความไม่รู้


ทำเหมือนหมอแยกคนไข้ไปรักษาโรคตามอาการ หนักเบา พิเศษ หรือธรรมดาไปตามอาการ เพราะผู้ฝึกหัดปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ก็เปรียบเหมือนผู้เจ็บไข้ได้ป่วยทางจิตวิญญาณ

ข้อติติง
การนำเด็กไปปฏิบัติภาวนา แบบ เขาเห่อนิยมทำก็ทำตามกันไปโดยจับเด็กทุกคนมาเข้าเบ้าหลอมเดียวกัน โดยไม่มีการเลือก เฟ้น คัดกรอง จัดกลุ่มจำแนกไปตามลักษณะนิสัย วัย ความสามรถ เพื่อจะได้ให้กรรมฐานหรือวิธีการ หรือความรู้พื้นฐานที่ถูกต้องเสียก่อน ให้เหมาะตามกลุ่ม หวังเอาแต่ปริมาณ ไม่คำนึงถึงคุณภาพและประสิทธิภาพ ในการอบรม ผลของการอบรม ย่อมจะเกิดปัญหาเช่นนี้เสมอ ถ้าแก้ไขไม่เป็นอาจเกิดผลลบมากกว่าผลบวก [color=#BF0080]ไปสร้างอุปาทานแปลกไหม่ที่ไม่ใช่ทางให้กับผู้คน ดังที่ท่านกรัชกายยกมาหลายเรื่องหลายเคส


การทำงานของอโศกะในเรื่องนี้นั้น พอดีธรรมชาติช่วยคัดกรองผู้มาฝึกหัดปฏิบัติ เพราะเราทำข้อแม้ข้อจำกัด กฎระเบียบที่ทำให้เกิดการคัดกรองกันเองโดยธรรม

ตัวอย่างที่ดีท่านกรัชกายต้องไปลองศึกษาตัวอย่างโดยการเข้าไปสมัครปฏิบัติจริงในสำนักวิปัสสนาสาขาของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า ที่ไหนก็ได้ซึ่งมีอยู่เกือบทั่วโลกตอนนี้ อโศกะไปศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาเกือบ 3 ปี จนได้เข้าคอร์ส 20 วัน จึงกล้าเอามาบอกได้ว่าวิธีการและระบบที่ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าวางไว้ เป็นสิ่งที่ดี ทำพุทธะ ให้เป็นสากล เป็นของชาวโลกทุกคน และจะเจริญก้าวหน้าเป็นที่พึ่งแก่ชาวโลกด้วยตัวระบบที่ท่านอาจารย์เมตตาวางไว้ ถึงแม้จะไม่มีท่านแล้วก็ตาม คล้ายระบบและวิธีการที่พระบรมศาสดาวางไว้เช่นกัน แต่ประยุกต์มาใช้ให้เหมาะสมกับคนและยุคสมัย
[/color]
:b8:
:b27:
onion


แก้ไขล่าสุดโดย asoka เมื่อ 15 ม.ค. 2014, 20:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2014, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
amazing เขียน:

กรัชกายไม้แก่ดัดยากท่านอโศกะ ยิ่งทำตัวเป็นผู้รุ้แล้วละก้อยากที่จะหันมาปฎิบัติ


ปฏิบัติยังไง ทั้งสองท่านก็ช่วยกันแนะนำกรัชกายสิขอรับ :b32: สำหรับผู้ที่่ไม่เคยปฏิบัติไม่เคยทำมาเลยเนี่ย เริ่มต้นยังไงครับ


เป็นยังงี้ เราจะแก้ยังไงครับ



:b13: :b13: :b13:
ถ้าสังเกตและพิจารณาให้ดีๆ มีคำแนะนำที่ทำให้ง่ายบอกมาเป็นลำดับๆโดยตลอดแล้ว ถ้าท่านกรัชกายจะลองกลับไปทบทวน ประมวล สรุปและจับประเด็นดูให้ดีๆ ที่เป็นหลักปฏิบัติอันได้สรุปมาให้เป็นงานและหน้าที่ของชาวพุทธตรงๆก็นำมาให้อ่านดูแล้วหลายครั้งแต่ท่านกรัชกายอาจมีงานยุ่ง กระทู้ที่จะต้องรับผิดชอบมากเลยไม่มีเวลาทำความละเอียด ขอยกมาให้ดูอีกสักครั้งนะครับ แล้วท่านกรัชกายลองแกะออกมาวิเคราะห์วิจัย เป็นคำๆเป็นประโยคเลยนะครับว่า มีอันใดเป็นไปตามคำสอนของพระบรมศาสดา อันใดไม่ตรงกับคำสอนของพระบรมศาสดา อันใดยากเกินไป จะได้ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นครับ

งานและหน้าที่ของชาวพุทธ

สำรวมกายใจมานิ่งรู้ นิ่งสังเกต
ปัจจุบันอารมณ์ จนละความเห็นผิดว่า
กาย ใจ นี้ เป็นอัตตาตัวกู ของกู
พอกพูนความเห็นถูกต้อง ว่ากาย ใจ นี้
เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกู ของกู ทุกวัน เวลา นาที วินาที
ที่ระลึกได้และมีโอกาส



หัวใจวิปัสสนาภาวนา

ใจปัญญาอย่ายอมใจเป็นกู นิ่งดู นิ่งสังเกต พิจารณา ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ
มิยอมถอย
ถ้าสู้ได้ ทนได้ ไม่ตะบอย
กู จะถอยหรือตายดับ ไปจากใจ




สรุปวิธีปฏิบัติที่คุณอโศกแนะนำ ก็คือ อ่านๆและก็จับประเด็นเอา จับประเด็นได้ บรรลุธรรม หมดกู ถูกมั้ยครับ

รวมทั้งคำพูดเป็นโคลงเป็นกลอนนี่ด้วย
อ้างคำพูด:
ใจปัญญาอย่ายอมใจเป็นกู นิ่งดู นิ่งสังเกต พิจารณา ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ
มิยอมถอย
ถ้าสู้ได้ ทนได้ ไม่ตะบอย


ถ้าหายตะบอย ไม่ตะแบงก็หมดกู ถูกมั้ยครับ

แล้วจะแก้ปัญหาผู้ทำกรรมฐานง่วงโงกเงกๆ นั่นยังไงครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 925 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23 ... 62  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร