วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ค. 2025, 20:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2011, 13:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ผู้ใค่รหลุดพ้น
มรรคมีองค์ 8 ข้อ8 ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายได้แก่สัมมาสมาธิ เป็นมรรคองค์รองรับมรรคอื่นๆเนื่องจากการห้ำหั่นกับกิเลส เมื่อมีอาวุธครบมือแล้ว ส่วนสำคัญต้องมีกำลัง สัมมาสมาธิจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง รวมถึงใช้ในการกำจัดนิวรณ์ ซึ่งเป็นเครื่องขวางกั้นการจะเข้าถึงมรรค โดยมีสัมมาสมาธิระดับอัปปนา
ของปฐมฌานเป็นบาทของมรรค ดังนั้นฌานจึงมีความสำคัญที่ผู้ปฎิบัติจะขาดเสียมิได้ แต่ต้องแยกระหว่างฌานที่เกิดจากสมถกรรมฐาน กับฌาน(ลักขณูณิปฌาน)ที่เกิดจากวิปัสนากรรมฐาน เนื่องจากมีความแตกต่างของระดับปัญญา(ความเห็นตามความเป็นจริง) สำหรับเรื่องของสมาธิมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก องค์ของสมาธิ เช่น องค์ของปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร ปิติ สุข และเอกัตคตา นั้น
สภาพที่เป็นเวทนาคือ ปิติ สุข และเอกัตคตา เกิดปรากฎในเรือนกาย หากพิจารณาจากความเป็นจริง
เกี่ยวพันเนื่องด้วยกระแสประสาท ระบบประสาทโดยเฉพาะระบบประสาทที่ควบคุมอารมณ์ ปรากฎการณ์ของปิติ สุข จึงมีความสัมพันธ์กับตำแหน่ง บนเรือนกาย(ตำแหน่งจุดรวมกระแสประสาท) ดังเราจะสังเกตได้ว่าขณะกำลังภาวนาจะใช้คำภาวนา หรือรู้สึกลมหายใจเข้าออก ก็ตามมื่อภาวนาเบาๆถึงจุดหนึ่งจะมีอาการตกจากที่สูง(ปฎิบัติให่มๆ) หรือจิตดิ่งลงมาที่กลางหน้าอกหรือท้องนั่นแสดงให้ทราบถึงตำแห่งในร่างกายที่สัมพันธ์กับสมาธิ แต่การที่ไม่เคยมีการกล่าวถึงก็เพราะว่าการปฎบัติมีหลายแนวทางจึงเสนอเฉพาะที่เป็นหลักการรวม(เฉพาะองค์ของสมาธิเท่านั้น) หากผู้ปฎิบัติตามรู้สภาวะธรรมที่เป็นธรรมชาติแล้วก็พบกับความสัมพันธ์ดังกล่าว การที่นำเรื่องนี้มาโพสต์ ถึงแม้จะไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายของการปฎิบัติ
แต่ก็เป็นความรู้ประกอบ รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม นอกจากนี้หากเข้าถึงสมาธิระดับต่างๆแล้วจะเข้าใจนัยยะที่พระพุทธองค์ได้กล่าวถึงสมาธิระดับต่างๆว่ามีสภาวะที่เกิดตรงกับที่กล่าวไว้ ซึ่งจะได้กล่าวไว้ในโอกาสต่อไป :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2011, 13:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
สภาวะธรรมของจักรวาลซึ่งเป็นภาพใหญ่ หากสังเกตให้ดีจะสัมพันะธ์กับร่างกายของเราซึ่งเป็นจักวาลย่อย
การก่อเกิดของจักรวาลจะเริ่มจากสภาพความแตกต่างของตำแหน่ง 2 ตำแหน่ง จึงเกิดการเคลื่อนและหมุนวนเกิดสภาวะการรวมตัว(ความเป็นหนึ่ง) และเมื่ออัดตัวถึงจุดหนึ่งจะมีการแตกกระจายตัว ซึ่งหากการทำสมาธิมีการเพ่งมากก็จะเกิดแรงผลักให้จิตเสียสมดุล การปฎิบัตจึงมุ่งเน้นการไม่เอาตัวตนเข้าไปสร้างเงื่อนใขกับสภาวะธรรม สำหรับการปฎิบัติที่เป็นสัมมาสมาฺธิโดยมีความสมดุลของสัมปชัญญะและสมาธิ ในการพิจารณารูปนาม ความความเกิดดับที่เกิดขึ้นจะคลายสังขารตั้งแต่หยาบที่สุดคือนิวรณ์ จนกระทั่งละเอียดยิ่งขึ้น จิตจะเริ่มสงบระงับจากขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิจิตจะเริ่มรวมตัวดิ่งลง จนกระทั่งถึงระดับหนึ่งจะเกิดความเกิดดับที่เร็วมากซึ่งแตกต่างจากที่เคยพบ 2-3 ขณะ จิตเคลื่ิอนสู่สมาธิ(ปฐมฌาน)ที่มีความแนบแน่นตำแหน่งเหนือสะดือ จิตทรงตัวอยู่องค์ธรรมที่ประกอบได้แก่ วิตก วิจาร ปิติ สุข และเอกัตคตา ผู้ปฏิบัติพึงระลึกรู้ในองค์ธรรมคือ ปิติ สุข ซึงสมาธิระดับนี้ปิติจะมีกำลังมากกว่าสุขและเอกัตคตา ซึ่งยังหยาบอยู่ สมาธิระดับนี้บางขณะยังมีความนึกคิดเกิดบ้างแต่น้อย เมื่อพละเกิดความสมดุลอีกครั้งจะมีความเกิดดับเร็วพิเศษ 2-3 ขณะจิตจะเคลื่อนสู่หทัยวัตถุเกิดความแนบแน่นเป็นหนึ่งที่ตำแหน่งหัวใจวิตก วิจาร ดับสนิทไร้การนึกคิดทั้งปวง ปิิติ สุข และเอกัตคตาปรากฎชัดนิ่งลึกในภายใน แสงสว่างสีเหลือง กระจายออกจากใจ เป็นที่สังเกตว่าสมาธิระดับปฐมฌานและทุติยฌานนี้จะเป็นสมาธิที่รวมตัว :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2011, 13:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
เมื่อสมาธิระดับทุติยฌานปรากฎชัดแล้ว ผู้ปฎิบัติจะรู้ถึงปิติและสุขที่ปรากฎ การรู้สภาวะของเวทนาดังกล่าว
จะรู้รวมๆโดยไม่เลือก ต่อจากนั้นจะสังเกตและพบว่าระดับของปิติจะละเอียดยิ่งขึ้นเป็นสภาพสุขที่ชัดเจนยิ่งขึ้น สภาวะของแสงสว่างสีเหลืองจะเริ่มเปลี่ยนเป็นแสงสีขาว สภาวะของจิตจะนิ่งสงบมากขึ้นจนกระทั่งมีความเกิดดับที่รวดเร็ว 2-3 ขณะ จิตเคลื่อนสู่ตำแหน่งกลางหน้าอกเป็นสุขอย่างที่พระอริยะเจ้าสรรเสริญ จึงลุถึงตติยฌาน :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2011, 11:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2011, 19:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
สมาธิในระดับฌานที่ 3 มีลักษณะการกระจายตัว เป็นสมาธิที่ผู้ปฎิบัติที่เข้าถึงแล้ว มีความติดใจเนื่องจากเป็นความสุขที่ละเอียดอ่อนที่ไม่เคยพบมาก่อน และผู้เข้าถึงมักใช้เป็นวิหารธรรม แต่อย่างไรก็ตามผู้ปฎิบัติวิปัสสนาย่อมรู้ชัดถึงการเปลี่ยนแปลงเกิดดับไม่สามารถยึดถือเป็นที่พึ่ำงได้ และเมื่อรู้ถึงสภาพสุขที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ละขณะ เมื่อพละ 5 สมดุล เกิดความเกิดดับพิเศษรวดเร็ว 2-3 ขณะ จิตเคลื่อนสู่ตำแหน่งที่ลึกที่สุด พร้อมแสงสีขาวดับลง จึงเป็นสภาวะที่แสงไม่มีสี สุขก็ดับลง ลมหายใจก็เบาดับลงจนไม่รู้สึกถึงลมหายใจเข้าออก เกิดอุเบกขา ไม่มีทุกข์และสุข จิตลุถึงฌานที่ 4 (สมาธิแบบรวมตัว) :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2011, 18:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น

เมื่อผู้ปฎิบัติรู้สภาพของรูปนามที่เกิดดับตามความป็นจริง สังขารขันธ์คลายตั้งแต่หยาบจนถึงละเอียด มรรคมีองค์ 8 ถึงความเป็นสัมโพชฌงค์ โดยเฉพาะสัมมาสมาธิตั้งแต่ปฐมฌานเป็นบาท สมดุลกับปัญญา มรรคญาณเข้าประหารกิเลสตามด้วยผลญาณ และจิตอิสระเข้าสู่นิพพาน ไม่มีความเกิดดับ

โสดาบันปฎิมรรค มีสมาธิตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปเป็นบาท
สกทาคามีมรรค มีสมาธิตั้งแต่ทุติยฌานขึ้นไปเป็นบาท
อนาคามีมรรค มีสมาธิตั้งแต่ตติยฌานขึ้นไปเป็นบาท
อรหันตมรรค มีสมาธิตั้งแต่จตุตฌานขึ้นไปเป็นบาท

ฌานจึงมีความสำคัญที่ผู้ปฎิบัติจะขาดเสียมิได้ แต่ต้องแยกระหว่างฌานที่เกิดจากสมถกรรมฐาน กับฌาน(ลักขณูณิปฌาน)ที่เกิดจากวิปัสนากรรมฐาน เนื่องจากมีความแตกต่างของระดับปัญญา(ความเห็นตามความเป็นจริง)
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2011, 19:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
สำหรับสมาธิระดับที่สูงกว่ารูปฌานที่ 4 (รวมศูนย์)คืออรูปฌาน (การกระจายของนาม) ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาที่มีลักขณูนิปฌานเป็นอารมณ์เมื่อถึงฌานที่ 4 ซึ่งมีอารมณ์เป็นอุเบกขา ลมหายใจละเอียดจนรู้สึกเหมือนไม่หายใจ ผู้ปฎิบัติจะรู้ถึงอารมณ์อุเบกขาเป็นขณะ ๆ ขณะเดียวกันที่หัวใจ(หทัยวัตถุ)จะมีแรงครอบคลุมหนาแน่น(เหตุ) แรงนี้ที่ทำให้เกิดอารมณ์อุเบกขา(ผล) เมื่อรู้ถึงความรู้สึกแรงครอบคลุมที่หัวใจ และความรู้สึกอุเบกขา เมื่อสภาวธรรมส่วนใดส่วนหนึ่งดับไป อีกส่วนหนึ่งก็ดับตาม (เหตุดับผลดับ) จิตก็เคลื่อนสู่ความเป็นกลางระหว่างรูปฌานและอรูปฌาน จุดนี้จะมีความสมดุลสูงสุดทั้งสติ สมาธิและสัมปชัญญะ หากเลยจุดนี้ไปสมาธิจะเข้าสู่อรูปฌานจะมีการกระจายตัวของความรู้สึกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด หากเป็นการปฎิบัติสมถกรรมฐาน จะมีอากาศเป็นอารมณ์ (อากาสานัญจายตนฌาน)และวิญญาณเป็นอารมณ์(วิญญาณัญจยาตนฌาน) แต่สำหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาจะกำหนดรู้ในสภาวะอารมณ์ที่ไม่มีที่สิ้นสุดโดยจะไม่กำหนดรูป :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2011, 21:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
...
ซึ่งมีอารมณ์เป็นอุเบกขา ลมหายใจละเอียดจนรู้สึกเหมือนไม่หายใจ ผู้ปฎิบัติจะรู้ถึงอารมณ์อุเบกขาเป็นขณะ ๆ ขณะเดียวกันที่หัวใจ(หทัยวัตถุ)จะมีแรงครอบคลุมหนาแน่น(เหตุ) แรงนี้ที่ทำให้เกิดอารมณ์อุเบกขา(ผล) เมื่อรู้ถึงความรู้สึกแรงครอบคลุมที่หัวใจ และความรู้สึกอุเบกขา เมื่อสภาวธรรมส่วนใดส่วนหนึ่งดับไป อีกส่วนหนึ่งก็ดับตาม (เหตุดับผลดับ)


:b24: :b25:
:b18: :b18: :b12: :b12: :b13: :b13: :b32: :b32:
:b8: :b8: :b16: :b16:

อ้างคำพูด:
หากเลยจุดนี้ไปสมาธิจะเข้าสู่อรูปฌานจะมีการกระจายตัวของความรู้สึกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด หากเป็นการปฎิบัติสมถกรรมฐาน จะมีอากาศเป็นอารมณ์ (อากาสานัญจายตนฌาน)และวิญญาณเป็นอารมณ์(วิญญาณัญจยาตนฌาน) แต่สำหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาจะกำหนดรู้ในสภาวะอารมณ์ที่ไม่มีที่สิ้นสุดโดยจะไม่กำหนดรูป :b8:


:b1: :b32: :b32: :b21:
:b12: :b12: :b12:
:b8: :b8: :b8:

ท่านช่างเป็นผู้ที่มีความละเอียด จริง ๆ
:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2011, 22:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2011, 08:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
การปฏิบัติที่เป็นวิปัสสนาระดับสมาธิจะเป็นเช่นเดียวกับสมถะ ต่างกันที่ความคงตัวของสมาธิ และวิปัสสนาใช้ปรมัตถ์อารมณ์เป็นฐานรู้ สำหรับสมาธิในส่วนที่ลึกลงอีก จะมีลักษณะรวมตัวหนาแน่นทั้งส่วนที่เป็นอารมณ์ และแรงที่คลอบงำที่มโน ความรู้สึกจะดิ่งลึกล้ำลึก มืดมิด ไร้แสง ความรู้สึกรับรู้แทบไม่มี รู้ก็เหมือนไม่รู้ หายใจไม่ค่อยได้(หายใจทางจมูกไม่ได้) เมื่อรู้ในสภาวะที่ไม่ค่อยจะรู้ เกิดและดับไป จิตจะย้อยกลับมาที่จุดตั้งต้นคือขณิกสมาธิอีกครั้งหนึ่ง เปรียบเสมือนวงกลม ณ ปลายสุดจะมาเชื่อมต่อจุดเริ่มต้น การปฎิบัติในขั้นนี้จะเริ่มหมุนวน และแคบเข้ามา จากสมาธิลักษณะรวมศูนย์ เป็นกระจาย และรวม และกระจายสลับกันไป สุดท้ายจะย่อสมาธิและเหลือเพียง 2 คือ รวมกับกระจาย เป็นที่น่าสังเกตสมาธิที่ผ่านจุดที่ลึกที่สุดของสมาธิคืออยู่กับภวังค์ ต่อจากภวังค์เมื่อย้อนสู่ขณิกสมาธิ ความจริงบางอย่างจะเผยตัวออกมาเป็นการคลายข้อมูลที่สะสมไว้ในภวังคจิต(ภพ) ความรู้สึกที่คลายออกจะสัมพันธ์กับภาพที่ปรากฏ ในอดีตที่ยาวนานเคยสะสมเจตนาอะไรไว้ ก็จะเผยภพชาติที่เคยมีเคยเป็นออกมา เรื่องนี้เป็นวิทยาศาตร์ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับในกันในโลกตะวันตกที่พยายามทำให้บุคคลเข้าไปถึงภวังค์เพื่อแก้ปมทางจิต :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2011, 11:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถามผู้รู้ค่ะ พอดีเราไม่รู้ จริง ๆ
เมื่อตอนเด็ก ๆ เรามักจะตกเข้าไปสู่ความรู้สึกอย่างหนึ่งค่ะ
มันเป็นความรู้สึกที่บอกไม่ถูกค่ะ ...

นึกถึงภาพขั้วแม่เหล็กที่พลิกไปพลิกสลับไปสลับมาออกรึเปล่าคะ
และหมุนด้วย

แล้วนึกถึงทฤษฎีแรงโน้มถ่วงสู่ศูนย์กลาง กับแรงเหวี่ยงออกจากศูนย์กลางออกรึเปล่าคะ
คือด้านเข้าสู่ศูนย์กลางมันรู้สึกเค้น บีบอัด
และ ในด้านตรงข้าม มันเหมือนมันจะดันออก ระเบิดออก
คือมันเป็นความรู้สึกที่ all in one น่ะค่ะ

และเมื่อโตขึ้น ก็ไม่ได้ใส่ใจ เพราะมันอาการนี้มันหายไป จนลืมค่ะ
แต่เมื่อไม่กี่วัน ก็ตกเข้าไปสู่สภาวะนี้อีกครั้ง
และนึกขึ้นได้ว่าเราเคยมีอาการนี้ จึงนั่งพิจารณา
แต่ก็ไม่รู้จริง ๆ ค่ะ ว่ามันคืออะไร


suttiyan เขียน:
ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
การปฏิบัติที่เป็นวิปัสสนาระดับสมาธิจะเป็นเช่นเดียวกับสมถะ ต่างกันที่ความคงตัวของสมาธิ และวิปัสสนาใช้ปรมัตถ์อารมณ์เป็นฐานรู้ สำหรับสมาธิในส่วนที่ลึกลงอีก จะมีลักษณะรวมตัวหนาแน่นทั้งส่วนที่เป็นอารมณ์ และแรงที่คลอบงำที่มโน ความรู้สึกจะดิ่งลึกล้ำลึก มืดมิด ไร้แสง ความรู้สึกรับรู้แทบไม่มี รู้ก็เหมือนไม่รู้ หายใจไม่ค่อยได้(หายใจทางจมูกไม่ได้) เมื่อรู้ในสภาวะที่ไม่ค่อยจะรู้ เกิดและดับไป จิตจะย้อยกลับมาที่จุดตั้งต้นคือขณิกสมาธิอีกครั้งหนึ่ง เปรียบเสมือนวงกลม ณ ปลายสุดจะมาเชื่อมต่อจุดเริ่มต้น การปฎิบัติในขั้นนี้จะเริ่มหมุนวน และแคบเข้ามา จากสมาธิลักษณะรวมศูนย์ เป็นกระจาย และรวม และกระจายสลับกันไป สุดท้ายจะย่อสมาธิและเหลือเพียง 2 คือ รวมกับกระจาย


จริง ๆ เมื่อวานเอกอนตอบกระทู้ยาวกว่านี้
คือ
ท่านมัวไปทำอะไรอยู่ที่ไหนซะตั้งนาน เพิ่งจะมาโผล่เอาตอนนี้ :b6: :b6: :b12: :b12:
แต่ก็ลบทิ้ง เพราะเกรงว่าท่านอ่านแล้วจะ คิดว่าเอกอนมายวนท่าน
:b1:
ข้อความที่ยกมาข้างบนเป็น คำถามที่เอกอนเคยถามไว้เมื่อสองปีก่อน
ที่เอกอนเข้ามาในลานสนทนาธรรม เพราะเอกอนมีหลายอย่างเกี่ยวกับการปฏิบัติ
ที่สงสัยอยู่ และก็ติดตามอ่านหนังสือมามาก ก็ยังไม่เคยเจอใครที่จะพูดถึงสิ่งที่เอกอนสงสัยสักที

จนเมื่อสิ่งนี้เลือนไปจากใจแล้ว :b1: :b1:
กลับ ปรากฎท่านขึ้นมาชี้แจง :b1: :b1:

ขอบคุณค่ะ :b8:

:b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2011, 12:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
การปฎิบัติก่อนจะออกจากทุกข์ จะต้องย้อนกลับ ณ จุดเริ่มต้นของสรรพสิ่งก่อน คือการรวมและกระจายของแรง ซึ่งเกิดขึ้นในระบบสุริยะจักรวาลภายนอกและจักรวาลในร่างกายของเรา หากไม่ติดการรวม และไม่ติดการกระจาย ณ ท่ามกลางจุดหนึ่ง จิตจะพลิกสู่สภาวะดวงตาเห็นธรรม ผู้บำเพ็ญตบะมาในอดีตอาจทำได้ 2 วิธีคือ กำหนดรู้ในรูปนาม(หลุดพ้นด้วยแรงเฉื่อย) อีกพวกมักเป็นนักบวชที่พิจารณาธรรมที่ไม่ติดในสองส่วน (หลุดพ้นด้วยแรงเหวี่ยง)ซึ่งมักจะพบสภาวธรรมแบบที่ eragon_ joe เจอคือสมาธิหมุน แต่เนื่องจากเราไม่รู้เรื่องของอดีต แต่ทราบว่าปัจจุบันเราเกิดสภาพเช่นนี้ เมื่อรู้ที่มาของเหตุก็สามารถรู้วิธีที่จะออกจากทุกข์ได้เช่นเดียวกัน แต่ต้องมีกัลยาณมิตรที่เห็นทาง และรู้ถึงวิธีการการปรับอินทรีย์ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2011, 19:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อื้มมมม... onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2011, 23:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อื้มมมม... onion

:b6: ไหง๋มาจ่อคิวก่อนเรา หว๋า :b6:

:b53: :b53: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 00:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


สงสัยคงเดินสายปลุกเสกวัตถุมงคลได้แล้วกระมัง s006


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 16, 17, 18, 19, 20, 21, 22 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร