วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 12:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2011, 23:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:

อ้างคำพูด:
อนิจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตสัญญา
เป็นการแทงเข้าไปถึงระดับลึกสุด อันทำให้ สัจจะเป็นหนึ่ง
ปรากฎต่อ สัขตธรรม อสังขตธรรม เสมอกันไม่ผิดเพี้ยน
สัญญาอันเป็นเหตุให้ก้าวพ้นโลกทั้ง ๓ นี้ จะได้มาแต่ใหนล่ะ? How to?

สัญญาพาไปไม่พ้นภพทั้งสามหรอก เพราะสัญญาต้องอาศัยขันธ์อื่น ๆ

ได้มาแต่ความเพียรในการสำรวม กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
เมื่อสังขารค่อย ๆ ระงับลง ก็รู้เองว่า สังขารมันบังปัญญา

ปัญญาแบบมนุษย์ยุคหินไง ปัญญาแบบก่อนที่ภาษาจะเกิด

:b1: :b1: :b1:

ปัญญาที่จะหยั่งความลึกของเหวด้วยการหย่อนหินลงไปแล้วรอฟังเสียงหินกระทบพื้น

ปัญญาที่ศึกษาลงไปใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย สัมผัสทางใจ

มันเป็นการเข้าถึงได้ โดยที่ไม่ต้องคิดว่ามันคืออะไร แค่สัมผัสและรู้สึก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2011, 23:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2011, 23:50
โพสต์: 143


 ข้อมูลส่วนตัว


อยากรู้จักขันธ์ห้า
ก็จะสอนให้

ขันธ์หนึ่ง ธรรมขันธ์
ขันธ์สอง รูปขันธ์ นามขันธ์
ขันธ์สาม ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์
ขันธ์สี่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
ขันธ์ห้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

แล้วไปหา สัจจธรรม ของขันธ์เหล่านี้ดู


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2011, 00:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2011, 23:50
โพสต์: 143


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้ายังหาสัจจะธรรมไม่เป็น
ก็ยกตัวอย่างให้ดู สักหนึ่งตัวอย่าง


จุนทสูตร : ว่าด้วยการปรินิพพานของพระสารีบุตร

[๗๓๖] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ สารีบุตรพาเอาศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ หรือวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ปรินิพพานไปด้วยหรือ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2011, 01:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
eragon_joe เขียน:
การพิจารณาไตรลักษณ์ในส่วนหยาบ คือการอธิบายในลักษณะแบบที่ท่าันอธิบายนั่นล่ะ
แต่พอพิจารณาลงไปถึงขนาดนั้นแล้ว มันต้องเห็นด้วย หลักปัจจัย
ในธรรมวินัยท่านกล่าวถึงความเห็น ไม่ได้ให้เห็นจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นตาเนื้อ หรือ ตาใน


อ่านท่อนนี้แล้วหวาดเสียวนิด ๆ เพราะคำว่า "ท่านกล่าวถึง" ไม่รู้ว่าท่านไหน
แต่เมื่อเห็น "พระธรรมวินัย" ค่อยยังชั่ว

นี่ท่านกำลังตีความพระสัพพัญญู ของพระพุทธเจ้า อยู่ใช่มั๊ย :b10: :b14:

อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
เพราะการรู้โดยไม่เห็นแล้วเชื่อตามความรู้ ความรู้นั้นคือทุกข์ นั่นเป็นสิ่งที่เห็นได้ จึงหยิบมาพิจารณาได้
แต่การรู้โดยการเห็นสภาวะธรรมตรงนั้น สิ่งที่เห็นคือ ทุกข์
ไม่เห็นมีในธรรมวินัยนะ พระพุทธองค์ตรัสความจริง ให้สาวกรู้ตาม ใครปฏิบัติตาม ก็ดับทุกข์ได้ อาศัยเพียงความเห็นเท่านั้น ส่วนจะรู้แจ้งแทงตลอดในธาตุทั้งปวง ก็เห็นมีท่านสอนพวกนักบวชนอกศาสนาที่ได้ฌานอภิญญามาก่อนบวช ให้เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ก็ต่อเมื่อ สังโยชน์เบื้องล่าง ๕ สิ้นไปแล้วโน่น


ท่านช่วยอธิบาย ลักษณะต่าง ๆ ของ โมหะ ได้หรือไม่ และโลภะ ด้วย

พระพุทธองค์สอนธรรมอันเป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน
และหนึ่งในธรรมที่พระพุทธองค์สอนก็คือ อินทรีย์ห้า

อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
การพ้นทุกข์ ไม่ใช่การไม่ทุกข์
การไม่ทุกข์ ทุกคนที่เดินทางมาในทางปฏิับัติก็ได้ชิมกันแล้ว บ้างติด เพราะยังไม่เห็นทุกข์ที่ยิ่งกว่า
บ้างข้ามไปได้ เพราะได้เห็นทุกข์ที่ยิ่งกว่า ทุกข์อันทำให้สัตว์ยังต้องวนเวียนอยู่ในสังสาร
ตรงนี้เป็นคำสอนของพวกพราหมณ์ที่ทรมาณร่างกาย สมัยที่พระพุทธองค์ทรมาณร่างกาย ๖ ปี ก็เพราะคำสอนนี้แหละ แล้วท่านก็กลับมาบอกว่า มันผิดทาง


สงสัยต้องเรียบเรียงใหม่
การพ้นทุกข์ ไม่ใช่ การไม่ทุกข์
การพ้นทุกข์ คำนี้ เอามาจากคำที่พระพุทธองค์ใช้
การไม่ทุกข์ คำนี้ เอามาจากคำที่ผู้ปฏิบัติหลายคนมักนำมาพูดถึง สิ่งที่ตัวเองได้รับจากการปฏิบัติตามแนวทางของตน
ซึ่งท่านต้องกลับไปทบทวน พิจารณาเอง ว่าท่านมักใช้คำไหนอยู่

อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
ก็จริง พระไตรให้อ่าน ไม่ได้ให้ตีความ
แต่การตีความ การขยายความที่ปรากฎ เพราะมันไม่รู้เรื่อง จึงต้องตีความ
แล้วปุถุชนจะเอาอะไรไปตีความพระไตรปิฏกล่ะ?


ขันธ์ห้า :b14:

อ้างคำพูด:
ปัญญา คือ ความรู้ที่นำมาดับทุกข์ได้ รู้ว่า ธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับกฏธรรมชาติ ๒ กฏ หรือ รู้จักความจริงของโลกและชีวิต ความรู้แบบนี้เอามาดับทุกข์ได้ การเอาปัญญานำ คือ เอาความรู้ในกฏธรรมชาติ ๒ กฏนี้นำ
[b]การกำหนดรู้ผัสสะด้วยปัญญา ดับเวทนาได้
ไม่ได้เป็นการออกนอกกฏธรรมชาติ แต่เป็นปกิจสมุปบาทฝ่ายดับ
[/b]


ดับได้ ก็ได้
แต่ที่ถามคือ พ้นทุกข์โดยสิ้นเชิงได้หรือไม่

อ้างคำพูด:
จิตเป็นนามธรรม สัมผัสรู้ได้ด้วยใจ มันไม่ได้มีตัวมีตน รู้ได้เฉพาะผู้ที่ต้องด้วยวิโมกข์ ๘ การแสดงลักษณะของจิต ก็เหมือนมีผู้หญิงมาถามผู้ชายว่า ถูกแตะผ่าหมากแล้วรู้สึกอย่างไร ... ก็เลยแสดงได้แค่ว่า มันเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่รู้และจำ ความคิดอยู่ที่ใหน จิตมันก็อยู่ที่นั่นแหละ


พระสูตรที่กล่าวอธิบายในเรื่อง จิต กล่าวไว้ละเอียดและครอบคลุม
ท่านลองไปค้นมาอ่านดูสิ่ ไม่กี่หน้าเอง อ่านให้ครบทุก ๆ วรรคของพระสูตร

แล้วลองดูว่าท่าน พอจะทำความรู้ตาม ทำความเข้าใจตามในการเกิดขึ้นของจิต
ความไม่เกิดขึ้นของจิต ได้ หรือ ไม่

แล้วท่านก็ลองเอาความเข้าใจที่ได้ มาเปรียบเทียบกับความเห็นข้างต้นของท่านดู

ลองทำดู


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2011, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


my-way เขียน:
แต่การปฎิบัตินาๆประการในพระศาสนา ก็เพื่อถึงสัจจะ
สัจจะ หรือ ความจริง ที่ท่านต้องการเข้าถึงคืออะไรละครับ?

eragon_joe เขียน:
ได้มาแต่ความเพียรในการสำรวม กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
เมื่อสังขารค่อย ๆ ระงับลง ก็รู้เองว่า สังขารมันบังปัญญา
จัดลงพระสูตรพระวินัยที่ใหนได้บ้างละครับ? แล้วอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารหรือความคิดปรุงแต่ง?
อ้างคำพูด:
มันเป็นการเข้าถึงได้ โดยที่ไม่ต้องคิดว่ามันคืออะไร แค่สัมผัสและรู้สึก
... ใครเขาว่ามาละนี่
อ้างคำพูด:
นี่ท่านกำลังตีความพระสัพพัญญู ของพระพุทธเจ้า อยู่ใช่มั๊ย
ไม่ใช่ แต่สื่อความตรงไปตรงมา จากธรรมวินัย ธรรมจักษุ หรือ โสดาปัตติมรรค ว่าด้วยความเห็นตรง เห็นจริง แปลว่า เห็นตรงกับความเป็นจริงของโลกและชีวิต หรือ รู้เห็นความจริงที่แท้จริง

พ่อพระยะสะได้ฟังธรรมหรือฟังความจริงจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เกิดมีดวงตาเห็นธรรม ไม่ได้ไปทำอะไรให้พิศดาร แต่มาจากการได้รู้ตามท่านผู้รู้
อ้างคำพูด:
ท่านช่วยอธิบาย ลักษณะต่าง ๆ ของ โมหะ ได้หรือไม่ และโลภะ ด้วย
โลภะ แปลง่ายๆ ว่า พอใจ หรือ ดึงเข้าหาตัว โทสะ แปลง่ายๆ ว่า ไม่พอใจ ผลักออกจากตัว โมหะ หรือ หลงไปตามอำนาจของความพอใจไม่พอใจ เพราะรู้ไม่เท่าทัน
อ้างคำพูด:
พระพุทธองค์สอนธรรมอันเป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน
และหนึ่งในธรรมที่พระพุทธองค์สอนก็คือ อินทรีย์ห้า
อินทรีย์ ๕ ในโพธิปักฯ มีอิทธิบาท ๔ เป็นเหตุเป็นปัจจัย อิทธิบาท ๔ มี สัมมปทาน ๔ เป็นเหตุเป็นปัจจัย สัมมปทาน ๔ มี สติปัฏฐาน ๔ เป็นเหตุเป็นปัจจัย สติปัฏฐาน ๔ มี มรรค ๘ เป็นเหตุเป็นปัจจัย มรรค ๘ มี ความจริงในสัญญาหรือวิชชาเป็นเหตุเป็นปัจจัย

องค์ธรรมในโพธิปักฯ ก็เกิดตามเหตุปัจจัย ไม่ได้เกิดมาลอยๆ ไม่ได้ให้แยกออกมาเป็นตัวๆ
อ้างคำพูด:
การพ้นทุกข์ ไม่ใช่ การไม่ทุกข์...
มันคำเขาว่า ไม่ใช่คำพระพุทธเจ้าว่า ท่านตรัสสอนการดับทุกข์ ดับได้จริงๆ ท่านสื่อสารตรงไปตรงมา ไม่ต้องตีความ

พวกที่ปฏิบัติผิดทาง เข้าใจว่าฉันพ้นแล้ว แต่ดับทุกข์ภายในไม่ได้ โกหกตัวเองก็ไม่ได้ ระงับได้เฉพาะปลายเหตุท่านนั้น เพราะมันยังคิดอยู่ ก็เลยสรุปไปอย่างนั้น พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า ธรรมใดเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับไป แม้จะคิด มันก็ไม่มีอะไรให้คิด เพราะมันไม่มีเชื้อแล้ว

อ้างคำพูด:
แล้วปุถุชนจะเอาอะไรไปตีความพระไตรปิฏกล่ะ?


ขันธ์ห้า
ขันธ์ ๕ ของปุถุชน ประกอบมาจากความพอใจไม่พอใจและความหลง (เวทนา) จะเอามาตัดสินความจริงที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ได้ใหมล่ะ?
อ้างคำพูด:
ดับได้ ก็ได้
แต่ที่ถามคือ พ้นทุกข์โดยสิ้นเชิงได้หรือไม่
อวิชชาไม่ได้ดับเหมือนหลอดไฟดับนะ มันค่อยๆ ลดลงไป ดับหมดไม่มีส่วนเหลือ ก็คือ อรหันตผล ในระดับที่ลดลงมา ความทุกข์ค่อยๆ หมดไปเป็นลำดับ แต่จะดับโดยสิ้นเชิงในขณะวิปัสสนา เพราะจิตในขณะนั้น จะไม่มีอกุศลเกิดขึ้นเลย

ถึงบรรลุอรหันต์ แต่ยังไม่ดับขันนธ์ฯ ก็ยังเหลือทุกข์ทางกายอยู่ ดับหมดจริงๆ ก็คือการดับขันธ์ปรินิพพาน
อ้างคำพูด:
พระสูตรที่กล่าวอธิบายในเรื่อง จิต กล่าวไว้ละเอียดและครอบคลุม
ท่านลองไปค้นมาอ่านดูสิ่ ไม่กี่หน้าเอง อ่านให้ครบทุก ๆ วรรคของพระสูตร
แล้วจะกลับไปทบทวนดู

อ่านปฏิสัมภิทามรรค ระวังหน่อยนะครับ เพราะที่ท่านยกมา ตีความผิดไป ๒ ตอนแล้ว ในเล่มนี้เกือบจะเป็น pure since ไม่มีตัวอย่างประกอบ ยิ่งถ้าไปถามพวกที่ยังไม่มีดวงตาเห็นธรรม จะพาหลงได้ง่าย เพราะจะเป็นการเอาความเห็นไปตัดสินความจริง

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2011, 11:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
พระสูตรที่กล่าวอธิบายในเรื่อง จิต กล่าวไว้ละเอียดและครอบคลุม
ท่านลองไปค้นมาอ่านดูสิ่ ไม่กี่หน้าเอง อ่านให้ครบทุก ๆ วรรคของพระสูตร
แล้วจะกลับไปทบทวนดู

อ่านปฏิสัมภิทามรรค ระวังหน่อยนะครับ เพราะที่ท่านยกมา ตีความผิดไป ๒ ตอนแล้ว ในเล่มนี้เกือบจะเป็น pure since ไม่มีตัวอย่างประกอบ ยิ่งถ้าไปถามพวกที่ยังไม่มีดวงตาเห็นธรรม จะพาหลงได้ง่าย เพราะจะเป็นการเอาความเห็นไปตัดสินความจริง


วิทยาศาสตร์ก็ศึกษา การปรากฎ
เท่าที่จะมีเครื่องมือช่วยให้เข้าไปศึกษาได้

เป็นการศึกษาผ่านเครื่องมือ รู้ผ่านเครื่องมือ รู้ผ่านตัวกลางที่ใช้ในการรู้

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมด ไม่ใช่ pure since
แต่เป็น pure since ของการสังเกตผ่านตัวกลาง
และผ่านตัวกลางแบบเป็นทอด ๆ

pure since เช่นนี้ เอกอนไม่เคยเห็นว่าจะเอามาเปรียบกับสัพพัญญูพระพุทธองค์ได้
"ฌาณแบบรวดเดียว"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2011, 12:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
eragon_joe เขียน:
ได้มาแต่ความเพียรในการสำรวม กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
เมื่อสังขารค่อย ๆ ระงับลง ก็รู้เองว่า สังขารมันบังปัญญา
จัดลงพระสูตรพระวินัยที่ใหนได้บ้างละครับ? แล้วอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารหรือความคิดปรุงแต่ง?


ได้ทุกพระสูตรนั้นล่ะ ทั้งเล่มเลย

ท่านเห็น โลภะ กะ โมหะ ที่เป็นเหตุให้สังขารปรากฎรึเปล่า

อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
มันเป็นการเข้าถึงได้ โดยที่ไม่ต้องคิดว่ามันคืออะไร แค่สัมผัสและรู้สึก
... ใครเขาว่ามาละนี่


ไม่ต้องมีใครว่ามาหรอก เมื่อปรากฎขันธ์ห้า
เมื่อเกิดผัสสะ ย่อมเกิดเวทนา
หรือว่า ท่านถูกหยิก แล้วท่านไม่เกิดเวทนาที่กาย
เมื่อท่านรับรู้เวทนาที่กาย แล้วท่านไม่รับรู้เวทนาที่ใจ
เมื่อท่านรับรู้เวทนาที่ใจ แล้วท่านไม่รับรู้อารมณ์
สัญญาที่เข้ามาแต่ละช่วง มันไม่ใช่อันเดียวรวด

ก็แค่ผัสสะ และ รู้สึก แค่นี้ล่ะ ก็จำแนกออกมาได้
อ่านพระธรรม ก็เข้าใจ ไปตามที่เห็นได้นี่ล่ะ

อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
ท่านช่วยอธิบาย ลักษณะต่าง ๆ ของ โมหะ ได้หรือไม่ และโลภะ ด้วย
โลภะ แปลง่ายๆ ว่า พอใจ หรือ ดึงเข้าหาตัว โทสะ แปลง่ายๆ ว่า ไม่พอใจ ผลักออกจากตัว โมหะ หรือ หลงไปตามอำนาจของความพอใจไม่พอใจ เพราะรู้ไม่เท่าทัน


เพราะ ใจหลงไปในความทุกข์ จึงอยากให้ทุกข์มันพ้นไป ใช่ โลภะ หรือไม่
เชื่อตามโดยที่ยังไม่ทันได้รู้ความจริง เป็น โมหะ หรือไม่

พระพุทธองค์สอนสาวก ไม่ได้ให้เกิดการรู้ตาม เชื่อตามอย่างนี้
ท่านสอนการเจริญ อินทรีย์ห้า

ซึ่งเป็นเรื่องที่ซึมซาบอยู่กับชีวิตประจำวันอยู่แล้ว
เช่น ลูกที่มีความเคารพ ศรัทธาในบิดา-มารดา
ก็จะแสดงความเคารพ เชื่อฟัง

ธรรมพื้น ๆ ที่แทรกซึมอยู่ในวัฒนธรรมของความเป็นชนชาวพุทธส่วนใหญ่ อยู่แล้ว

อ้างคำพูด:
พวกที่ปฏิบัติผิดทาง เข้าใจว่าฉันพ้นแล้ว แต่ดับทุกข์ภายในไม่ได้ โกหกตัวเองก็ไม่ได้ ระงับได้เฉพาะปลายเหตุท่านนั้น เพราะมันยังคิดอยู่ ก็เลยสรุปไปอย่างนั้น พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า ธรรมใดเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับไป แม้จะคิด มันก็ไม่มีอะไรให้คิด เพราะมันไม่มีเชื้อแล้ว


อะไรคือ เชื้อ ที่ท่านกล่าวถึง

อ้างคำพูด:
ขันธ์ ๕ ของปุถุชน ประกอบมาจากความพอใจไม่พอใจและความหลง (เวทนา) จะเอามาตัดสินความจริงที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ได้ใหมล่ะ?

อวิชชาไม่ได้ดับเหมือนหลอดไฟดับนะ มันค่อยๆ ลดลงไป ดับหมดไม่มีส่วนเหลือ ก็คือ อรหันตผล ในระดับที่ลดลงมา ความทุกข์ค่อยๆ หมดไปเป็นลำดับ แต่จะดับโดยสิ้นเชิงในขณะวิปัสสนา เพราะจิตในขณะนั้น จะไม่มีอกุศลเกิดขึ้นเลย


ไม่คุ้นว่าพระพุทธองค์กล่าวถึง การดับโดยสิ้นเชิง อย่างนี้

เวลาที่ท่านเจอผู้หญิง ท่านใช้อะไรวัดว่าท่านรักผู้หญิง และท่านใช้อะไรตัดสินว่าท่านจะลองเข้าไปจีบ
เข้าไปคบหากับผู้หญิงคนนี้ อะไรเป็นเหตุิให้คบกันได้ยืดยาว
และอะไรจะเป็นเหตุให้ต้องเลิกลา

เวลาที่ผู้ปฏิบัติได้พบคำสอนของพระพุทธองค์ เขารู้ได้ด้วยใจ ว่าเขาจะศรัทธาในพระองค์ พระธรรมที่พระองค์ทรงสอน และพระสงฆ์ในศาสนาของพระองค์ เหตุที่ทำให้ผู้ปฏิบัติไม่มีใจเป็นอื่น
ก็เพราะเขาได้รับรู้ด้วยใจแล้ว ว่าทางนี้ใช่
พระศาสดา พระธรรมของพระศาสดา พระสงฆ์แห่งศาสนาของพระศาสดา
ก็ด้วยศรัทธาที่เข้ามี
คือ ศรัทธา ไม่ใช่ แค่ความเชื่อ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2011, 13:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ปัญญาแบบมนุษย์ยุคหินไง ปัญญาแบบก่อนที่ภาษาจะเกิด

:b1: :b1: :b1:

ปัญญาที่จะหยั่งความลึกของเหวด้วยการหย่อนหินลงไปแล้วรอฟังเสียงหินกระทบพื้น

ปัญญาที่ศึกษาลงไปใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย สัมผัสทางใจ

มันเป็นการเข้าถึงได้ โดยที่ไม่ต้องคิดว่ามันคืออะไร แค่สัมผัสและรู้สึก


ต้องให้พ่อกับแม่บอกเรามั๊ย ว่าท่านรักเรา
ต้องให้พ่อกับแม่บอกเราทุกวันมั๊ย ว่าท่านรักเรา
ต้องให้พ่อกับแม่อธิบายทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านทำมั๊ย ว่าท่านรักเรา

เราจึงจะรู้จัก ความรัก
ทั้งในแง่ ผู้รัก ความรักที่ปรากฎ และผู้ที่ถูกรัก

มันเป็น ความรู้ที่แทรกซึมอยู่กับความเป็นไปทั้งหมดทั้งมวล
และมันก็มีความเป็นเช่นนั้น ความรู้ที่แสดงตัวชัดเจนที่สุดแล้ว
ก่อนที่จะมีสิ่งอื่น มาทำให้ ผัสสะ ในลักษณะนี้ ถูกเบี่ยงเบนไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2011, 13:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


มันไม่ได้ซับซ้อน

ก็แค่เห็น ความสับสนอันเกิดจาก การเข้ามาแทรก

ก็เห็นสิ่งที่แทรกเข้ามาที่ชักนำไปสู่ อารมณ์ต่าง ๆ ที่ท่านกล่าว

และผลต่าง ๆ อันไหลไปตามอารมณ์

ก็เห็นเองอย่างนี้ ต้องอาศัยปัญญาใคร

ถ้าสัปบุรุษในชั้นต้น คือ พ่อ-แม่ คือ ครูบาอาจารย์ที่โรงเรียน
คือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในสังคม ไล่มาเรื่อย

ไม่ใช่ว่าเราไม่เคยพบเจอ สัปบุรุษ

แต่เพราะ เราไม่เคยเห็นความเป็นสัปบุรุษ ในความเป็นเช่นนั้นเอง
และเพราะ สายตาที่จะเห็นสัปบุรุษ ยังไม่ปรากฎในใจเรา


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 30 พ.ค. 2011, 18:20, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2011, 14:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอัสสชิ ไม่ได้บอกกว่าตนนั้นคือ สัปบุรุษ
แ่ต่ พระสารีบุตร เข้าไปหาและสนทนาถามธรรมกับพระอัสสชิ เพราะเห็นอะไร แล้วรู้สึกอย่างไร

ไม่ต้องใช้ความคิด นำไปซะทุกเรื่อง ทุกอย่าง

ในเมื่อโลกทั้งใบ 360 องศานี้ มีอะไรตั้งมากมายที่
ที่นำพาเราไปในทางอันเป็นกุศล โดยที่เราไม่ต้องใช้ความคิดนำตลอด
แค่ใช้ความรู้สึกที่ นิ่ง สงบ สันติ สว่าง สดใส นำพาไป

ที่ต้องมีกระบวนการ มีความคิด มีต่าง ๆ นานา เข้ามาชักนำ
นั้นต้องถามว่า เพราะสิ่งนั้นไม่มี สิ่งนั้นไม่สมเหตุสมผล สิ่งนั้นมันพิศดาร
หรือ เพราะทักษะในทางนั้น ไม่ได้ปรากฎกับเรา

ทักษะหลาย ๆ อย่าง ล้วนมีพัฒนาการมาจากทักษะพื้น ๆ และเป็นทักษะอันนำพาไปในทางกุลศล
ทำไมจึงปรากฎได้ ในผู้อื่น แต่ไม่ปรากฎในเรา

เพราะ สัจจะมันเป็นอย่างนั้น หรือ เพราะอายตนะของเขา หรือ เพราะอายตนะของเรา


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 30 พ.ค. 2011, 18:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2011, 15:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ดับทุกข์ ได้ ไม่ต้องใช้ สัญญาใหม่เข้าประกบก็ได้

แค่มี ศรัทธา อาบ ฉาบใจ ก็ดับทุกข์ได้
แค่เป็นผู้ที่มีความเชื่อในกรรม และเชื่อในการกระทำ
ใจมุ่งมั่นลงสู่ วิริยะ ก็ดับทุกข์ได้ เพราะ วิริยะ อันมีในตน อันตนได้เพียรกระทำกุศล ก็ดับทุกข์ได้

ดับทุกข์ได้หมดแหละ และก็ค่อย ๆ ทำอวิชาให้เบาบางตามคำพูดของท่าน sup ได้เช่นเดียวกัน

การเปลี่ยนอารมณ์ เป็นทักษะระดับที่นักจิตวิทยา
หรือแม้แต่ ศิลาณี ก็แนะนำได้ สอนให้ทำได้ ปฏิบัติตามได้

แต่ ทักษะระดับ สัจจะ ที่ปรากฎก็มีแต่พระสัพพัญญูของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ที่จะฝึกสัตว์ให้รู้ตามได้


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 30 พ.ค. 2011, 15:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2011, 15:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพาน ในความเข้าใจของท่าน sup เป็นเช่นไร

หรือ นิพพาน ที่สัปปบุรุษบอกกล่าวต่อท่านนั้น เป็นเช่นไร

เป็นการทรงอยู่ในสภาพไหน อย่างไร ด้วยปัจจัยใด

คำถามนี้ ถ้าท่านไม่ตอบ ก็แสดงว่าท่านไม่มั่นใจในนิพพานตามแนวทางของท่านว่าเป็นสิ่งที่เป็นความจริง


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 30 พ.ค. 2011, 18:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2011, 17:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2011, 23:50
โพสต์: 143


 ข้อมูลส่วนตัว


my-way เขียน:
แต่การปฎิบัตินาๆประการในพระศาสนา ก็เพื่อถึงสัจจะ

Supareak Mulpong เขียน
สัจจะ หรือ ความจริง ที่ท่านต้องการเข้าถึงคืออะไรละครับ?



ตอบ นิพพาน ไง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2011, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


pure = บริสุทธิ์
since = วิชาการ หรือ ความรู้

pure since จึงแปลว่า เป็นข้อมูลข้อเท็จจริงล้วนๆ เป็นการสรุปรวมรวมมาเฉพาะความรู้ ไม่มีการยกตัวอย่างประกอบ มีแต่เนื้อ ไม่มีน้ำ

สังขาร หรือ ความคิดปรุงแต่ง มีสัญญาความจำเป็นฐานในการคิด การระงับสังขารที่เหตุ คือ การดับสัญญาที่เกิดมาจากเวทนา หรือ สัญญาที่มาจากความเห็น การสำรวมกาย วาจา ใจ หรือ ศีล เป็นการทำที่ปลายเหตุ ไม่ใช่แก้ที่ต้นเหตุ

อ้างคำพูด:
ท่านเห็น โลภะ กะ โมหะ ที่เป็นเหตุให้สังขารปรากฎรึเปล่า
ปุถุชน มีสังขารหรือความคิดปรุงแต่งมาจาก อวิชชา หรือมาจาก โลภะ โทสะ โมหะ (ความเห็น) อริยะ มีสังขารมาจากวิชชา หรือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ (ความจริง)
มีกองขันธ์อยู่ อย่างไร มันยังต้องมี สัญญา สังขาร วิญญาน อยู่ แลัวท่านจะเลือกให้ความเห็นสั่งท่าน หรือจะเอาความจริงมาเป็นตัวสั่งละครับ
อ้างคำพูด:
ก็แค่ผัสสะ และ รู้สึก แค่นี้ล่ะ ก็จำแนกออกมาได้
อ่านพระธรรม ก็เข้าใจ ไปตามที่เห็นได้นี่ล่ะ
เข้าถึงได้ โดยที่ไม่ต้องคิดว่ามันคืออะไร แค่สัมผัสและรู้สึก ... มันไม่มีในธรรมวินัยนะ ไม่มีเหตปัจจัยรองรับ อยู่ดีๆ จะรู้เองไม่ได้ รู้สึกเองก็ไม่ได้ มันออกแนวพรายกระซิบ หรือโดนดลใจ หรือเป็นเพียงความเคยชินที่ละเอียด... ของเราเอง เราต้องกำหนดรู้ กำหนดเห็น หรือ สั่งได้ ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็ลอยมา
อ้างคำพูด:
เพราะ ใจหลงไปในความทุกข์ จึงอยากให้ทุกข์มันพ้นไป ใช่ โลภะ หรือไม่
หลงในทุกข์จนอยากพ้นทุกข์ไม่มี ถ้าหลงไปแล้วกู่ไม่กลับ แต่ถ้าเกิดความคิดอยากออกจากทุกข์เป็น ฉันทะ ไม่ใช่ โลภะ
อ้างคำพูด:
เชื่อตามโดยที่ยังไม่ทันได้รู้ความจริง เป็น โมหะ หรือไม่
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ถ้าได้ทดลองจนเห็นผลด้วยตนเองแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องเชื่อใครในคำสอนของพระศาสดา ตัวผมเองหลังจากได้สดับฯ ไม่ได้เชื่อเลย แต่กลับมาทบทวนธรรมวินัย ๗ เดือน เมื่อเห็นว่า สิ่งที่ได้สดับ ไม่ขัดพระสูตรพระวินัย จนได้ศึกษาอภิธรรมโดยย่อ จึงได้ทดลองปฏิบัติ ถึงรู้ว่า ด้วยอุบายเช่นนี้ ความพอใจ ไม่พอใจ และความหลงดับลงไปได้ ... แล้วผมต้องเชื่อใครอีกใหมละ
อ้างคำพูด:
พระพุทธองค์สอนสาวก ไม่ได้ให้เกิดการรู้ตาม เชื่อตามอย่างนี้
ท่านสอนการเจริญ อินทรีย์ห้า
ไปเอามาจากใหนอีกละ
การเจริญอินทรีย์ ต้องไปทำที่เหตุ เหมือนการปลูกข้าว ชาวนาไม่ได้ทำเม็ดข้าว หรือต้นข้าวนะ ชาวนาดูเรื่องน้ำ เรื่องดิน
อ้างคำพูด:
อะไรคือ เชื้อ ที่ท่านกล่าวถึง
เหตุปัจจโย ... เมื่อเหตุของอกุศลไม่มีเกิดขึ้นมาประกอบกับจิตปัจจุบัน ความคิดที่เป็นอกุศลสักนิด จึงไม่มี เชื้อที่ว่า คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ความพอใจไม่พอใจและความหลง
อ้างคำพูด:
ไม่คุ้นว่าพระพุทธองค์กล่าวถึง การดับโดยสิ้นเชิง อย่างนี้
เอาแสงสว่างดับความมืด เอาความรู้ดับความไม่รู้ เอาวิชชาดับอวิชชา ... พอคุ้นๆ บ้างหรือยัง
อ้างคำพูด:
เวลาที่ท่านเจอผู้หญิง ท่านใช้อะไรวัดว่าท่านรักผู้หญิง และท่านใช้อะไรตัดสินว่าท่านจะลอ'เข้าไปจีบเข้าไปคบหากับผู้หญิงคนนี้ อะไรเป็นเหตุิให้คบกันได้ยืดยาวและอะไรจะเป็นเหตุให้ต้องเลิกลา
กรรมปัจจัย
อ้างคำพูด:
ก็เพราะเขาได้รับรู้ด้วยใจแล้ว ว่าทางนี้ใช่
ก็ใจปุถุชนมาจากความเห็น หรือมาจาก อวิชชา หรือ ความไม่รู้ ... เมื่อไปตัดสินว่า ทางนี้ใช่ ... มันจึงเป็นได้แค่ความเชื่อเท่านั้น
อ้างคำพูด:
ถ้าสัปบุรุษในชั้นต้น คือ พ่อ-แม่ คือ ครูบาอาจารย์ที่โรงเรียน
คือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในสังคม ไล่มาเรื่อย
สัปบุรุษ หมายถึง ผู้ที่รู้สัจจะธรรม หรือ รู้ความจริงที่แท้จริงของธรรมชาติ ที่สำคัญคือ รู้เรื่องทุกข์ กับการดับทุกข์ และได้ปฏิบัติจนสามารถดับได้ด้วยตนเองมาแล้ว
อ้างคำพูด:
พระอัสสชิ ไม่ได้บอกกว่าตนนั้นคือ สัปบุรุษ
บอกไปแล้วใครจะเชื่อ
อ้างคำพูด:
แ่ต่ พระสารีบุตร เข้าไปหาและสนทนาถามธรรมกับพระอัสสชิ เพราะเห็นอะไร แล้วรู้สึกอย่างไร
เห็นความจริง แต่ก่อนที่ท่านจะได้มาพบความจริง ท่านก็หลงมาอยู่ไม่รู้กี่ชาติ ปฏบัติมาหลายสำนัก ชาตินี้ท่านได้พบความจริง เพราะกรรมปัจจัย ความรู้สึกที่บอกว่าใช่ ท่านผ่านมาหลายชาติแล้ว เพราะฉะนั้น ความรู้สึกปุถุชน เอามาตัดสินอะไรไม่ได้
อ้างคำพูด:
แค่มี ศรัทธา อาบ ฉาบใจ ก็ดับทุกข์ได้
แค่เป็นผู้ที่มีความเชื่อในกรรม และเชื่อในการกระทำ
ใจมุ่งมั่นลงสู่ วิริยะ ก็ดับทุกข์ได้ เพราะ วิริยะ อันมีในตน อันตนได้เพียรกระทำกุศล ก็ดับทุกข์ได้
มันได้แค่หลบทุกข์เท่านั้นแหละ พระพุทธองค์ตรัสไว้ชัดว่า ทางเอก ทางเดียว คือ วิปัสสนา ถึงจะดับทุกข์ได้ ไม่มีทางอื่น
อ้างคำพูด:
นิพพาน ในความเข้าใจของท่าน sup เป็นเช่นไร
นิพพาน .. สิ้นเชื้อเกิด เหมือนเทียนหมดใส้หมดเชื้อไฟ ไฟหายไปที่ใหน นิพพานไปที่นั้น

my-way เขียน:
ตอบ นิพพาน ไง
สัจจะธรรม หรือ ความจริงของธรรมชาติ ตกลงท่านว่ามันคือ นิพพานหรือครับ? .. เอ้า แล้วทำอย่างไรจะเข้าถึงนิพพานได้ละครับ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2011, 00:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:

ท่านเห็น โลภะ กะ โมหะ ที่เป็นเหตุให้สังขารปรากฎรึเปล่า



ถามท่านซุปฯ...
ท่านซุปฯก็ตอบว่า...
อ้างคำพูด:
ปุถุชน มีสังขารหรือความคิดปรุงแต่งมาจาก อวิชชา หรือมาจาก โลภะ โทสะ โมหะ (ความเห็น) อริยะ มีสังขารมาจากวิชชา หรือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ (ความจริง)

มีกองขันธ์อยู่ อย่างไร มันยังต้องมี สัญญา สังขาร วิญญาน อยู่ แลัวท่านจะเลือกให้ความเห็นสั่งท่าน หรือจะเอาความจริงมาเป็นตัวสั่งละครับ


เขาถาม..เพื่อให้ดูจิตใจตน...แต่ท่านกลับไปดูหลักการตำรา...

เอ๋... s006 s006 s006

เห็นเงิน 500 บาทตกข้างทาง..แล้วความคิดมันไปทางไหน?...คิดหาทางคืนเจ้าของเขามั้ย

เห็นเงิน 5,000 บาทตกข้างทาง..แล้วความคิดมันไปทางไหน?......คิดหาทางคืนเจ้าของเขามั้ย..

เห็นเงิน 5,000,000 บาทตกข้างทาง..แล้วความคิดมันไปทางไหน?....ยังคิดหาทางคืนเจ้าของเขาอยู่เหมือนเดิมมั้ย...ดูใจซิ..ยิบ ๆ แยบ ๆ....หาว่าเป็นกรรมของเขาแต่มันบุญของเรารึเปล่า...คิดหาเหตุผลหาเรื่องเก็บใว้ใช้เองหรือเปล่า???.. :b32: :b32:

s002 s002 s002


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร