วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 09:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 01:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


หัดสวดธรรมจักรกัปวตนสูตร....ซะมั่งนะ onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 11:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ยุคนัทธวรรค ธรรมจักรกถา

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้
พระนครพาราณสี ฯลฯ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านพระโกณฑัญญะ จึงมีชื่อว่า
อัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้ ฯ
จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่
เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ... คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถ
ว่าสว่างไสว ฯ
จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ญาณเป็นธรรม ความรู้เป็นอรรถ
ปัญญาเป็นธรรม ความรู้ทั่วเป็นอรรถ วิชชาเป็นอรรถ ความแทงตลอดเป็นธรรม
แสงสว่างเป็นธรรม ความสว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้
เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ มีสัจจะเป็น
โคจร สงเคราะห์เข้าในสัจจะ นับเนื่องในสัจจะ เข้ามาประชุมในสัจจะ
ตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ ฯ


Quote Tipitaka:
[๖๑๕] ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่า
กระไร ฯ
ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่าพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป
ทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ทรงให้จักรเป็นไป
โดยการประพฤติเป็นธรรม ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ทรง
ประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงให้ประชาชนประดิษฐานอยู่ในธรรม
ให้จักรเป็นไป .....

ทรงให้ประชาชนบรรลุถึงความแกล้วกล้าในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงสักการะธรรมให้
จักรเป็นไป ทรงเคารพธรรมให้จักรเป็นไป ทรงนับถือธรรมให้จักรเป็นไป
ทรงบูชาธรรมให้จักรเป็นไป ทรงนอบน้อมธรรมให้จักรเป็นไป ทรงมีธรรม
เป็นธงให้จักรเป็นไป ทรงมีธรรมเป็นยอดให้จักรเป็นไป ทรงมีธรรมเป็น
ใหญ่
ให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักรเพราะอรรถว่า ก็ธรรมจักรนั้นแล สมณะ
พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ให้เป็นไปไม่ได้
....


จักร คือ อะไร :b10: :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำนวนการแปลหนังสือนั่น ^ สำนักไหนแปลอ่ะน่ะ :b1:

rolleyes กรัชกาย อนุโมทนา คับ :b4:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2011, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สวัสดีครับคุณวิสุทธิปาละ ขอร่วมแสดงปิติธรรมด้วยครับ เมื่อสภาพจิตลุถึงมรรค ผลและนิพพานเพียงแว็บเดียว จิตจะพบความอิสระอย่างไม่เคยประสบมาก่อนในชีวิตชั่วระยะเวลาหนึ่ง ต่อจากนั้นความถี่ของจิตจะเปลี่ยนไปโดยมีความถี่สูงขึ้น จึงเกิดแสงสว่างอย่างไม่มีประมาณ บางท่านไม่สามารถหลับได้เนื่องจากจิตมีสภาพตื่นรู้ ความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์จะหมดไป องค์ความรู้ชัด สิ่งใดเกิดขึ้น
สิ่งนั้นย่อมดับลง ไม่มีสภาพธรรมใด นอกจากความเกิดและดับ


สาธุอนุโมทามิครับ คุณ suttiyan :b8:

ให้ข้อมูลเพิ่มเติมไว้สำหรับท่านใดที่มีประสบการณ์เช่นโพสท์คุณ suttiyan นะครับว่า ให้ลองสอบทานกลับไปที่ขั้นตอนของการพัฒนาโลกุตรปัญญาที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ และองค์พระสารีบุตร รวมถึงอรรถกถาจารย์นำมาเรียบเรียงลงในวิปัสสนาญาณและโสฬสญาณด้วยก็ดีครับ :b1: :b39: :b46:

คือถ้าสภาวะของปัญญาดำเนินมาตามขั้นตอนต่างๆ (ขอเน้นย้ำว่า ทุกอย่างต้องดำเนินไปตามขั้นตอนนี้ ผิดแต่จะช้าหรือเร็วในแต่ละขั้นเท่านั้น) :b46: :b39: :b46:

ได้แก่การเห็นตามความเป็นจริงของขันธ์ ๕ (ลงในไตรลักษณ์ ด้วยความเป็นโทษถ้าเข้าไปยึดมั่นถือมั่น) จนเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ก้าวไปสู่การหลุดพ้น และเมื่อหลุดพ้นก็รู้ว่าหลุดพ้นจากอะไรไปบ้างแล้ว :b41: :b41: :b46:

(คือ รู้ทันที ณ.หลังการหลุดพ้นในระดับนั้นๆ และรู้ซ้ำๆหลังจากการใช้ชีวิตปกติที่มีการกระทบทางผัสสะแล้วไม่เห็นกิเลสนั้นๆเกิดขึ้นอีก :b48:

เช่น มีผัสสะเวทนาในวัตถุกามแล้วจิตไม่มีราคะ ก็รู้ชัดว่าไม่มีราคะเกิดขึ้นอีก สักว่ารู้ว่าดู ด้วยจิตที่เป็นกลาง ไม่มี reaction คือกิเลสในจิต (อยากดึงเข้าหาตัว) ต่อผัสสะเวทนานั้น :b48:

มีผัสสะเวทนาในสิ่งที่เคยไม่ชอบแล้วจิตไม่มีโทสะ ก็รู้ชัดว่าไม่มีโทสะเกิดขึ้นอีก สักว่ารู้ว่าดู ด้วยจิตที่เป็นกลาง ไม่มี reaction คือกิเลสในจิตต่อผัสสะเวทนานั้น (อยากผลักออกจากตัว) ฯลฯ) :b46: :b46: :b46:

โดยที่ไม่ไปติดอยู่ที่วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ เสียก่อน เช่น เกิดสุขสงบมากมาย กายเบาจิตเบา อยู่ได้โดยไม่กินข้าวเพราะอิ่มสุข (ปีติ สุข ปัสสัทธิ) :b22: :b49: :b50:

และ/หรือ เห็นแสงสว่างอย่างไม่มีประมาณ เห็นฉัพพรรณรังสีหรือลูกแก้วสวยงามสดใสเย็นตาเย็นใจ (โอภาส) :b39: :b39: :b39:

และ/หรือ สติชัดเกินไป (ปัคคหะ) จนกลายเป็นเพ่งและไม่สามารถนอนหลับได้ เหมือนหลอดไฟที่สวิตช์ค้างปิดไม่ลงไปเรื่อยๆจนร่างกายออกอาการอดนอน เมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะมีอาการน๊อคคือกายหลับแต่จิตไม่หลับ เวลานอนจิตจะตื่นและรู้ชัด ดิ้นขลุกขลักอยากจะตื่นแต่ตื่นไม่ได้เพราะกายไม่ตอบสนอง ขยับอวัยวะอะไรก็ไม่ได้เหมือนที่โบราณว่าโดนผีอำ ฯลฯ โดยที่ยังไม่ทันจะเบื่อหน่ายสังขารธรรมอย่างสุดๆจนจิตคลายจากกำหนัดในสังขารธรรมทั้งหลายแล้วละก็ :b47: :b48: :b49:

คือถ้าท่านใดสามารถเข้าถึงสภาวธรรมตามลำดับขั้นของวิปัสสนาญาณเช่นนั้นได้ ไม่ไปติดค้างที่วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ (ซึ่งมีตัวอย่างอื่นๆอีกนอกจากที่ยกมา) อย่างนั้นต้องขอสาธุอนุโมทามิด้วยจริงๆครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2011, 23:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:

ท่านนี่โพสต์ช้า ไม่ทันใจวัยโจ๋เยยยย


พระสูตรบางบท หรือคำสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์ บางทีพึ่งนึกขึ้นได้ หรือพึ่งอ่านเจอนะครับ :b1: :b46: :b46:

หรือบางทีนึกได้แล้วแต่ยังไม่ใช่กาลอันควรที่จะโพสท์ (อันนี้ เรียนรู้จากพระบรมครู :b1: :b46: :b46: )

ก็เลยเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้ไม่ได้โพสท์ และพึ่งมาโพสท์ นะครับ :b1: :b39: :b46:

(ขอโทษด้วยครับที่บางครั้งต้องขัดใจโจ๋บ้าง) :b16: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2011, 23:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
รบกวนท่านแสดงรายละเอียดให้มาก ๆ หน่อย

ท่านวิสุทธิปาละจะเรียบเรียงไปเขียนเป็นหนังสือไม่ใช่หรือ

พระสูตรบางบท หรือคำของพ่อแม่ครูอาจารย์บางท่อน เมื่อยกมาอธิบายข้อธรรมบางประการ ท่านก็แสดงไว้ได้กระชับงดงาม คมชัดทั้งอรรถะและพยัญชนะดีอยู่แล้วนะครับ การขยายความเพิ่มเติมอาจจะกลายเป็นการรบกวนความบริบูรณ์ที่พอดีอยู่แล้วไปเสีย :b1: :b46: :b39: :b46:

และอีกประการก็คือ ตอนนี้วิสุทธิปาละยังมีภารกิจอื่นๆที่สำคัญกว่าต้องกระทำให้ลุล่วงไป เลยยังไม่ถึงเวลาที่จะลงรายละเอียดให้ได้มากพอ :b1: :b38: :b37:

ไว้เรียบเรียงในส่วน web board version ให้เสร็จก่อนแล้วค่อยพิจารณาเหตุปัจจัยอีกทีว่า จะมีเวลาพอในการเรียบเรียงขึ้นมาใหม่เป็น e-book version หรือไม่ เพราะต้องทำคู่ไปกับภารกิจอื่นๆที่สำคัญกว่านั้นๆด้วย :b46: :b46: :b46:

และอย่างที่บอกไปว่า การทำ e-book ต้องใช้ความรอบคอบละเอียดปราณีตมากกว่าการโพสท์ลง web board อย่างมากมาย ถ้าจะทำก็คงต้องรอในอนาคตเมื่อถึงเวลานั้นๆว่า เหตุปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจลงมือทำ มาประชุมพร้อมหรือไม่ :b46: :b39: :b46:

(แต่ส่วนของ web board ก็จะพยายามให้รายละเอียดให้ได้มากที่สุดตามปัญญาและเวลาที่พอมีแล้วกันนะครับ) :b1: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2011, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การก้าวล่วงฌาณไม่ใช่การไม่เอาฌาณใดๆเลย


ครับ ... ประโยชน์ของฌานมีมากมายอย่างยิ่ง ถ้ารู้จักใช้ให้ถูกต้องด้วยปัญญาสัมมาทิฏฐิตามคำสอนของพระบรมครู ไม่ “หลง” ไปติดสุขติดสงบติดฤทธิ์ในฌานเสียก่อน :b1: :b39: :b39:

(แต่สุขสงบและฤทธิ์ที่มีผลมาจากฌาน ก็มีคุณมีประโยชน์ถ้าตั้งอยู่บนสัมมาทิฏฐิและใช้ให้เป็น ไม่ได้เอาไว้แบกไว้ยึดหรือสนองซึ่งอัตตามานะ แลอุปาทานขันธ์ทั้งปวง) :b46: :b39: :b46:

[๒๓๓] สมาธิภาวนา ๔ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมมีอยู่ ฯ
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ฯ
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะมีอยู่ ฯ
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายมีอยู่ ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอย่างไหนที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก
มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก
วิจารสงบ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา ที่สติอยู่
เป็นสุข ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น
เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้ กลางวัน
อย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยไม่
มีอะไรหุ้มห่ออบรมจิตให้มีแสงสว่าง ด้วยประการฉะนี้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิ
ภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่ง
ญาณทัสสนะ ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เวทนาทั้งหลายอัน
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ
สัญญาทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่
ย่อมถึงความดับ วิตกทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น
ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นไฉน ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความ
เกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ห้าว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป
ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่ง
เวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญา
ดังนี้สังขาร ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ดังนี้ความดับแห่งสังขาร ดังนี้วิญญาณ
ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย

สังคีติสูตร หมวด ๔ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=4986&Z=5031&pagebreak=0



พระวินัยปิฎก
เล่ม ๑
มหาวิภังค์ ภาค ๑

ขอน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เวรัญชกัณฑวรรณนา
[อรรถาธิบายฌาน ๔ ของบุคคล ๕ ประเภท]

ฌาน ๔ อย่างเหล่านี้ ดังพรรณนามานี้ ของบุคคลบางพวก มีความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเป็นประโยชน์
ของคนบางพวกเป็นบาทแห่งวิปัสสนาของคนบางพวก เป็นบาทแห่งอภิญญา ของคนบางพวก เป็นบาท
แห่งนิโรธของคนบางพวก มีการก้าวลงสู่ภพเป็นประโยชน์.

บรรดาบุคคล ๕ ประเภทเหล่านั้น ฌานทั้ง ๔ ของพระขีณาสพทั้งหลายมีความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
เป็นประโยชน์. จริงอยู่ พระขีณาสพเหล่านั้นตั้งใจไว้อย่างนี้ว่า เราเข้าฌานแล้ว มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
จักอยู่เป็นสุขตลอดวัน ดังนี้ แล้วทำบริกรรมในกสิณ ให้สมาบัติทั้ง ๘ เกิดขึ้น.ฌานทั้งหลายของเหล่า
พระเสขะและปุถุชนผู้ออกจากสมาบัติแล้วตั้งใจไว้ว่า เรามีจิตตั้งมั่นแล้ว จักเห็นแจ้ง แล้วให้เกิดขึ้น
จัดว่าเป็นบาทแห่งวิปัสสนา
.

ส่วนบุคคลเหล่าใด ให้สมาบัติทั้ง ๘ เกิดขึ้นแล้ว จึงเข้าฌานที่มีอภิญญาเป็นบาท แล้วออกจากสมาบัติ
ปรารถนาอภิญญา มีนัยดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า แม้เป็นคน ๆ เดียว กลับเป็นมากคนก็ได้* ดังนี้
จึงให้เกิดขึ้น ฌานทั้งหลายของบุคคลเหล่านั้น ย่อมเป็นบาทแห่งอภิญญา.

ส่วนบุคคลเหล่าใด ให้สมาบัติทั้ง ๘ เกิดขึ้น จึงเข้านิโรธสมาบัติแล้วตั้งใจไว้ว่า เราจำเป็นผู้ไม่มีจิตบรรลุ
นิโรธนิพพาน อยู่เป็นสุขในทิฏฐ-ธรรมเทียว ตลอดเจ็ดวัน แล้วให้ฌานเกิดขึ้น ฌานทั้งหลายของบุคคล
เหล่านั้นย่อมเป็นบาทแห่งนิโรธ.

ส่วนบุคคลเหล่าใด ให้สมาบัติทั้ง ๘ เกิดขึ้นแล้ว ตั้งใจไว้ว่า เราเป็นผู้มีฌานไม่เสื่อม จักเกิดขึ้นในพรหมโลก
แล้วให้ฌานเกิดขึ้น ฌานทั้งหลายของบุคคลเหล่านั้น มีการก้าวลงสู่ภพเป็นประโยชน์.
ก็จตุตถฌานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เกิดขึ้นแล้ว ณ โคนต้นโพธิพฤกษ์ จตุตุถฌานนั้น
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้เป็นบาทแห่งวิปัสสนาด้วย เป็นบาทแห่งอภิญญาด้วย เป็นบาทแห่ง
นิโรธด้วย บันดาลกิจทั้งปวงให้สำเร็จด้วย บัณฑิตพึงทราบว่า อำนวยให้คุณทั้งที่เป็นโลกิยะทั้งที่เป็น
โลกุตระทุกอย่าง.


* องฺ. ติก. ๒๐ / ๒๑๗.

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 277 - 278
http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/2386/index.html


เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2011, 01:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนว่า ไม่ควรกลัวการติดสุขจากฌาณ ผมว่าใครคิดจะแต่งหนังสือธรรมะออกวางเนี่ย เลิกซะเถอะครับ


อืม งั้นอุทะปาทิอาโลโก.... คงเป็นวิปัสนูปกิเลสด้วยสินะ ตู่พุทธพจน์ชัดเจน Onion_R


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2011, 01:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ถ้าให้ คุณเช่นนั้น กับคุณมหาราชันย์ เรียบเรียงเอาเนื้อความในพระไตรปิฏกเพียวๆออกมาเผยแพร่เรียบเรียงเป็นเล่ม เนี่ย น่าสนๆอนุโมทนา :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2011, 02:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นอ้างพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น .......
พวกคุณเอาดวงพุทโธ ให้ รอดก่อนเถอะครับ :b6: ก่อนจะไปแต่งตำราปฏิรูป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2011, 02:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
หัดสวดธรรมจักรกัปวตนสูตร....ซะมั่งนะ onion

onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2011, 12:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
เห็นอ้างพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น .......
พวกคุณเอาดวงพุทโธ ให้ รอดก่อนเถอะครับ :b6: ก่อนจะไปแต่งตำราปฏิรูป


:b8: ฮานะ อนุโมทนา ขะ

ถ้าเจอ ดวงพุทโธ แล้วก็ แจ๋ว
ถ้าเจอแต่ ดวงธรรมกาย ละก้อ ... :b22:

rolleyes :b4:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2011, 22:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตเป็นพลังงานมีลักษณะของคลื่นความถี่มีการสั่นสะเทิอน จึงเกิดแสงสว่าง ผู้ปฎิบัติใหม่ เมื่อพบแสงสว่าง
จึงรู้แปลกใจ และขณะเกิดแสงสว่าง จิตขณะนั้นจะมีความสงบจึงเกิดการติดยึด พอใจ ซึ่งจัดเป็นอุปกิเลส
1ใน10 (สัมสนญาณ) แต่เมื่อพบสภาวะความเกิดดับ ถี่ขึ้น(อุทพยญาณ)แล้ว แสงสว่างจะค่อยลดลง ต่อจากนั้นตั้งแต่ตั้งแต่ภยญาณจนถึงปฎิสังขาญาณ จะเป็นส่วนของทุกขัง จนกระทั่งสังขารุเบกขาญาณจึงเป็นส่วนของอนัตตา เมื่อผ่านอนุโลมญาณ โคตรญาณ มรรค ผล ภายหลังปัญจขเวกญาณ แล้ว แสงส่ว่างอันไม่มีประมาณจะเกิดขึ้น แสงสว่างที่พบในขณะสัมมสนญาณ ซึ่งยังเป็นการเพ่งยังไม่เข้าถึงวิปัสนาญาณ จึงแตกต่างกันอย่างมาก จิตภายหลังการตรัสรู้ จึงแตกต่างจากปุถุชน เพราะกิเลสถูกทำลายไปถึง 3 และจะไม่กลับมากำเริบอีก เปรียบเสมือนคนที่แขนขาดเมื่อตื่นรู้สึกตัวถึงแม้ยังรู้สึกว่ามีแขน แต่เมื่อเอามืออีกข้างคลำดูก็พบ
ความจริงว่าไม่มีแขนแล้ว จึงรู้ได้เฉพาะตัว แต่อย่างไรก็ตามผู้ถึงมรรค 1 ยังคล้ายปุถุชน :b8: suttiyan


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2011, 00:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมเอก ดวงธรรม ดวงพุทโธ ก็ดวงเดียวกันนั้นแหละอยู่ที่ว่าระดับไหนขั้นไหน
ธรรมกาย ก็ธรรมกาย ดวงธรรมก็ดวงธรรม....ตัวกับธรรม คนละนัยกันเพราะ ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว
ได้ดวงพุทโธหรือดวงปฐมมรรคก็ไม่ใช่ว่าจะเสร็จกิจจบอรหันต์


ยังอีกนานนะ ฮานะ ไปใช้กรรมจากการกดแป้นพิมพ์ด้วยทิฐิทรามในนรกก่อนอีกหลายกัลปป์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2011, 00:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


พรามณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่เท่านั้น ที่ธรรมทั้งหลายจะปรากฎแก่พราหมณซึ่งจะหมดความสงสัยและสิ้นไป
เพราะรู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุ
การเพ่งต้องถูกส่วน(ศึกษาต่อที่พระพุทธองค์ทรงสอนพระอนุรุทธะ)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร