วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 09:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 00:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งภาคปฏิบัติที่สรุปมาด้านบนตรงนี้ สามารถสอบทานได้จากพระสูตรที่คุณหลับอยุ่โพส และคุณ narapan ทำการ highlight ไว้ โดยจะตัดเฉพาะท่อนที่เกี่ยวข้องมาให้ดู ดังนี้ครับ :b1: :b46: :b46:

“... ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ...”

“... ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ...”

“... ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี ...”


จะเห็นว่า ในการเข้าอรูปฌานที่ ๑ ถึง ๓ มีคำว่า “ด้วยคำนึงว่า” อยู่

“... ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง ...”

แต่ในการเข้าอรูปฌานที่ ๔ จะไม่มีการ “คำนึง” แล้วนะครับ ปล่อยให้อรูปฌานที่ ๓ ดับ และไหลเข้าอรูปฌานที่ ๔ เอง :b1: :b39: :b44: :b42:

ลองเปรียบเทียบการเข้าอรูปฌาน ๔ กับการเข้าสู่รูปฌานขั้นต่างๆดูนะครับ จะไม่ใช้การคิดคำนึงนำ (ยกเว้นในฌาน ๑ ที่ต้องอาศัยการบริกรรมหรือเพ่งกสิณ ซึ่งถูกระบุด้วยคำว่า วิตก วิจาร อยู่แล้ว) แต่เป็นการรักษาองค์ฌานจนองค์ฌานขั้นหยาบดับลงไปเอง และองค์ฌานที่เป็นหลักหมุดหรือตัวชี้วัดของฌานที่เคลื่อนเข้าไปนั้น เด่นขึ้นมา :b46: :b46: :b46:

“... ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ...”

“... ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ...”

“... ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ...”

“... ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ...”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 00:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนที่พระพุทธองค์ทรงรับสั่งพระโมคคัลลานะว่า จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในระดับฌานต่างๆนั้น ...

จากเนื้อความในพระไตรปิฎกที่ยกมา พระโมคคัลลานะเข้าฌานและกำลังเสื่อมจากฌานที่ดำรงอยู่นั้นๆเพราะมีสัญญาจากฌานขั้นต่ำกว่าฟุ้งแทรกเข้ามา :b51: :b51: :b51:

(ตัวอย่าง “เราก็เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยอากาสานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน”) :b53: :b53: :b53:

ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงตรัสสอน (อนุเคราะห์) พระโมคคัลลานะว่า อย่าประมาทในฌานนั้นๆ และสอนวิธีที่จะให้ดำรงอยู่ในฌานนั้นๆโดยไม่เสื่อม ด้วยการ ...

จงดำรงจิตไว้ในวิญญาณัญจายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในวิญญาณัญจายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในวิญญาณัญจายตนฌาน

(วิญฺญาณฺญจายตเน จิตฺตํ สณฺฐเปหิ วิญฺญาณฺญจายตเน จิตฺตํ เอโกทึ กโรหิ วิญฺญาณฺญจายตเน จิตฺตํ สมาทหาติ)

ดังนั้น คำว่ากระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น (จิตฺตํ เอโกทึ กโรหิ) นั้น จึงเป็นคำเข้าคู่และขยายในส่วนหน้าและหลัง คือเป็นการ “ดำรงจิต” และ “ตั้งจิตไว้ให้มั่น” ในองค์ฌานนั้นๆด้วยความไม่ประมาท เพื่อมิให้มีเจตสิกธรรมหรือสัญญาของฌานขั้นต่ำกว่า ฟุ้งเข้ามาได้นั่นเองครับ :b1: :b46: :b39: :b46:


~~~~~ :b46: :b46: :b46: ~~~~~ :b46: :b46: :b46: ~~~~~

01/07/25554 - ขอเพิ่มเติมข้อความที่ขยายคำว่า "เป็นธรรมเอกผุดขึ้น" จากพระไตรปิฎกและอรรถกถาต่างๆเพื่อสอบทานกับสิ่งที่เขียนมาด้านบนนะครับ ว่าจริงๆแล้วท่าน "เน้น" การ "ผุดขึ้น" ขึ้นของสมาธิที่ตั้งมั่น กำจัดเสียซึ่งความมืดคือกิเลสนิวรณ์ มากกว่าแสงสว่างหรือดวงแก้วที่ผุดขึ้นมา :b1: :b46: :b46:


ข้อความจากพระไตรปิฎก

ว่าด้วยสมาทานสิกขา ๓
[๙๒๑] คำว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร? ความว่า ภิกษุนั้นถือเอา สมาทาน ยึดถือ
ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งสิกขาอะไร? เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร?. คำว่า
มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในคำว่า จึงเป็นผู้มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติ
ความว่า มีจิตมีอารมณ์เดียว มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่ถูกอารมณ์ร้ายกระทบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=10967&Z=11006&pagebreak=0


[๙๘๗] คำว่า มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในคำว่า เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึง
กำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้ ความว่า เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน
มีใจไม่กวัดแกว่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
. คำว่า ภิกษุนั้นพึงกำจัด
ความมืด ความว่า พึงขจัด กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความมืดคือ
ราคะ ความมืดคือโทสะ ความมืดคือโมหะ ความมืดคือมานะ ความมืดคือทิฏฐิ ความมืดคือกิเลส
ความมืดคือทุจริต อันทำให้บอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณ ดับปัญญา เป็นฝักฝ่ายความลำบาก
ไม่ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน.

สารีปุตตนิทเทสที่ ๑๖ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=11744&Z=11777&pagebreak=0



ข้อความจากอรรถกถา

อธิบายเอโกทิภาวํ

ในบทที่ว่าด้วย เอโกทิภาวํ นั้น มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ สมาธิใดเป็นเอกเกิดขึ้น ฉะนั้น สมาธินั้นชื่อว่า เอโกทิ แปลว่า เป็นเอกเกิดขึ้น อธิบายว่า เป็นธรรมล้ำเลิศเป็นธรรมประเสริฐเกิดขึ้น เพราะไม่ถูกวิตกวิจารเกิดขึ้นครอบงำ จริงอยู่ บุคคลผู้ประเสริฐเขาก็เรียกกันว่าเป็นเอกในโลก หรือจะพูดว่า สมาธิเป็นเอกคือไม่มีเพื่อนเพราะเว้นวิตกและวิจาร ฉะนี้บ้างก็ได้
วิสุทธิมัคค พุทธโฆสเถระ ฉบับ มจร. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง พิมพ์ครั้งที่ ๖ ปริจเฉทที่ ๔ ปฐวีกสิณนิเทศ อธิบายการบรรลุฑุติยฌาน หน้า ๒๗๖

ที่ชื่อว่าบรรลุความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น (การเข้าสมาธิที่มีจุดหมายเป็นหนึ่ง) เพราะบรรลุโดยเอโกทิภาวะ หรือเพราะบรรลุซึ่งเอโกทิภาวะ. ชื่อว่าบรรลุเอโกทิภาวะ เพราะอันพระโยคาวจรข่มปัจจนิกธรรมห้ามกิเลส แล้วไม่บรรลุด้วยสัมปโยคจิตอันเป็นสสังขาร เหมือนสาสวะสมาธิอันมีคุณน้อย ฉะนั้น และเพราะไม่ข่มสัมปโยคจิต อันเป็นสสังขาร ห้ามไว้.
ทสุตตรสูตร อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=364&p=1


ในบทว่า สนฺโต เป็นต้น มีอธิบายว่า สมาธิ ชื่อว่าสงบ เพราะสงบระงับกิเลสที่เป็นข้าศึก. สมาธิ ชื่อว่าประณีต เพราะหมายความว่าเอิบอิ่ม. สมาธิ ชื่อว่าได้ความสงบระงับ เพราะได้ความระงับกิเลส. สมาธิ ชื่อว่าถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะถึงความเป็นธรรมชาติมีอารณ์เดียวเป็นเลิศ. สมาธิ ที่ชื่อว่าไม่ต้องข่ม คือกันกิเลสทั้งหลาย แล้วถูกห้ามไว้ด้วยสัปปโยคะ เพราะเกิดขึ้นในที่สุดที่กิเลสทั้งหลายถูกตัดขาดไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่ถูกสสังขารข่มกันห้ามไว้.
สังฆสูตรที่ ๑๐ อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ โลณผลวรรคที่ ๕
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=541&p=1


บทว่า เอโกทิภูโต ได้แก่ ชื่อว่า เอโกทิ สมาธิ เพราะมีสมาธิอันเป็นธรรมเอก คือประเสริฐที่สุดผุดขึ้น. ชื่อว่า เอโกทิภูโต เพราะมีสมาธิอันเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึงเห็นคำอันเป็นบทแห่งภูตศัพท์ในบทนี้ ดุจบทแห่งศัพท์ว่า อคฺคิอาหิตาทิ ไฟถูกจุดแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เอโกทิภูโต เพราะเป็นธรรมเอกผุดขึ้นคือถึงแล้ว ในบทว่า เอโกทิ นี้ ท่านประสงค์เอาสมาธิอันเลิศ. ก็ในบทว่า สมาหิโต นี้ได้แก่ วิปัสสนาสมาธิพร้อมด้วยสมาธิอันมีฌานเป็นบาท.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กาเลน คือโดยกาลแทงตลอดมรรค.
บทว่า สมฺมา ธมฺมํ ปริวีมํสมาโน ได้แก่ พิจารณาจตุสัจจธรรมด้วยปริญญาภิสมัย (การตรัสรู้ด้วยการกำหนดรู้) เป็นต้นโดยชอบ คือตรัสรู้ด้วยเอกาภิสมัย (ตรัสรู้ธรรมเป็นเอก).
บทว่า เอโกทิภูโต ได้แก่ ชื่อว่า เอโกทิ เพราะเป็นธรรมเอก คือประเสริฐ ไม่มีธรรมร่วมผุดขึ้น ทำกิจ ๔ ให้สำเร็จ คือตั้งไว้โดยชอบ ธรรมนั้นเป็นธรรมเอกผุดขึ้นแล้ว.
อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ทุกนิบาต ทุติยวรรค ชาคริยสูตร
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=225&p=1


ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่าเป็นธรรมเอกผุดขึ้น. อธิบายว่า เป็นธรรมเลิศ คือประเสริฐ เพราะไม่ถูกวิตกวิจารท่วมทับผุดขึ้น. ความจริง แม้ธรรมที่ประเสริฐ ท่านก็เรียกว่าเป็นเอกในโลก.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมที่เว้นจากวิตกวิจาร เป็นธรรมเอก คือไม่มีธรรมที่เป็นไปร่วม ย่อมเป็นไปดังนี้ก็มี.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุทิ เพราะอรรถว่ายังสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้เกิด. ความว่าให้ตั้งขึ้น, ธรรมนั้นเป็นเอก เพราะอรรถว่าประเสริฐด้วย ตั้งขึ้นด้วย ดังนั้นจึงชื่อว่า เอโกทิ.
คำว่า เอโกทิ นี้เป็นชื่อของสมาธิ ทุติยฌานนี้มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะอรรถว่ายังธรรมเอกผุดขึ้นนี้ ให้เกิด คือให้เจริญด้วยประการฉะนี้. ก็ธรรมเอกผุดขึ้นนี้นั้น เพราะเป็นของใจ ไม่ใช่ของสัตว์ ไม่ใช่ของชีวิต ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวทุติยฌานนี้ว่า เจตโส เอโกทิภาวํดังนี้.
คุหัฏฐกสุตตนิทเทส อรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิทเทส อัฏฐกวัคคิกะ
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=30&p=3


บทว่า เอโกทิ นิปโก เป็นผู้มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น คือเป็นบัณฑิตมีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
สาริปุตตสุตตนิทเทส อรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิทเทส อัฏฐกวัคคิกะ
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=881&p=1


สภาพที่คำนึงของจิต ๒ ดวงน้อมไปสู่จิตสันดานในอารมณ์อื่นจากอารมณ์แห่งภวังคะ ในปัญจทวารและมโนทวาร, สภาพที่รู้แจ้งด้วยวิญญาณ สภาพที่รู้ชัดด้วยปัญญา สภาพที่จำได้แห่งสัญญา. สภาพที่สมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสมาธิในทุติยฌานเป็นเอกผุดขึ้น ท่านจึงกล่าวว่า เอโกทิ.
อธิบายว่า เป็นสมาธิเลิศประเสริฐ เกิดขึ้นเพราะวิตกวิจาร สงบเงียบ. เพราะสมาธิประเสริฐ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นธรรมเอกในโลก.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า เป็นธรรมเอกไม่มีคู่ เว้นวิตกวิจารผุดขึ้นดังนี้บ้าง ย่อมควร.
อีกอย่างหนึ่ง กุศลสมาธิแม้ทั้งหมดเป็นธรรมสงบเงียบจากวิตกวิจารเหล่านั้น เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อนิวรณ์เป็นต้น หรือต่ออุทธัจจะเท่านั้น ฉะนั้นจึงเป็นธรรมอันเลิศผุดขึ้น หรือเว้นจากวิตกวิจารเหล่านั้น จึงเป็นธรรมไม่มีคู่ผุดขึ้น จึงชื่อว่า เอโกทิ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ย่อมถูกต้อง.
ทุติยภาณวาร อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=30&p=1


ในอรรถวิกัปนี้ พึงทราบการเชื่อมบทอย่างนี้ว่า สมฺปสาทนํ เจตโส - ความผ่องใสแห่งจิต.
ส่วนในอรรถวิกัปก่อน พึงประกอบบทว่า เจตโส นี้ กับด้วยศัพท์ เอโกทิภาวะ - ความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น.
พึงทราบการแก้อรรถในบทว่า เอโกทิภาวะ นั้นดังต่อไปนี้
ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่าเป็นธรรมเอกเกิดขึ้น. อธิบายว่า ทุติยฌานเป็นธรรมเลิศประเสริฐผุดขึ้น เพราะไม่มีวิตกวิจารเกิดขึ้นภายใน.
จริงอยู่ แม้บุคคลที่ประเสริฐ ท่านก็เรียกว่าเป็นเอกในโลก. หรือควรจะกล่าวว่าทุติยฌานเป็นธรรมเอก ไม่มีสอง เพราะเว้นจากวิตกวิจารดังนี้บ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุทิ เพราะเกิดขึ้นในสัมปยุตธรรม. คือยังสัมปยุตธรรมให้เกิดขึ้น.
ชื่อว่า เอโกทิ เพราะอรรถว่าเป็นธรรมเอกเกิดขึ้น ด้วยอรรถว่าประเสริฐที่สุด. บทนี้เป็นชื่อของสมาธิ. ทุติยฌานนี้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะยังทุติยฌานเป็นธรรมเอกผุดขึ้นให้เจริญงอกงาม.
อนึ่ง เพราะ เอโกทิ นี้เป็นธรรมเอกเกิดขึ้นแก่จิต มิใช่แก่สัตว์ มิใช่แก่ชีวะ. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจตโส เอโกทิภาวํ - ความเป็นธรรมเอกเกิดขึ้นแก่จิต.
ศรัทธานี้แม้ในปฐมฌานก็มี.
อนึ่ง สมาธินี้มีชื่อว่า เอโกทิ มิใช่หรือ, เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวว่า สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ - ทุติยฌานอันเป็นการผ่องใสแห่งจิต เป็นธรรมเอกผุดขึ้น.
แก้ว่า เพราะปฐมฌานนั้นยังไม่ผ่องใสดีด้วยวิตกวิจารกำเริบ เหมือนน้ำกำเริบด้วยลูกคลื่น, ฉะนั้น แม้เมื่อมีศรัทธา ท่านก็ไม่กล่าวว่าสมฺปสาทนํ - เป็นความผ่องใส.
อนึ่ง แม้สมาธิในปฐมฌานนี้ก็ไม่ปรากฏด้วยดีเพราะไม่ผ่องใส, เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวว่า เอโกทิภาวํ
.
มัคคสัจนิทเทส อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=85&p=3


บทว่า เอโกทิ โหติ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น คือมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ยุคนัทธวรรค
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534&p=1


เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 01 ก.ค. 2011, 13:00, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 00:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หากท่านฯ..พร้อมรวมเล่มเมื่อใด ขอร่วมสมทบทุนเเละบุญ อนุโมทนา :b8:

ความในพระไตรปิฎกข้างล่างนี้...ขอฝากให้ท่านวิสุทธิปาละไว้พิจารณา


:b8: :b46: :b46: :b46:
ขอบคุณคุณอานาปานาครับ ที่ช่วยหาข้อมูลมาให้ :b46: :b51: :b51:

การเข้าสู่รูปฌานที่ ๔ เพื่อเป็นบาทฐานในการตรัสรู้ของพระพุทธองค์นั้น มีระบุหลายที่ในพระไตรปิฎกครับ แต่ที่ยังหาไม่เจอ คือที่ระบุในพระไตรปิฎกตรงๆว่า พระพุทธองค์ทรงเจริญอานาปานสติ แล้วตรัสรู้ :b1: :b46: :b39: :b46:

วิสุทธิปาละเจอแต่ส่วนนี้ครับ (วันก่อน เห็นมีมิตรในลานฯโพสมาเหมือนกัน จำไม่ได้แล้วว่ากระทู้ไหน) :b1: :b39: :b39:

[๑๓๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี
อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก
มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณา
โดยความเห็นสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืน
หายใจเข้า) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่าง
นี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นโพธิสัตว์ยัง
มิได้ตรัสรู้ ก็ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายไม่ลำบาก
จักษุไม่ลำบาก และจิตของเราย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น
.

ทีปสูตร อานิสงส์แห่งการเจริญอานาปานสติสมาธิ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

น่าพอจะตีความได้ว่า พระบรมศาสดาทรงเจริญอานาปานสติ แล้วตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ได้บ้าง กระมังครับ :b8: :b39: :b39:

ส่วนการรวมเล่มซึ่งยังไม่ได้ตัดสินใจในตอนนี้ว่าจะรวมหรือไม่ เพราะคงต้องใช้เวลาในการขัดเกลามาก อีกทั้งตอนนี้งานสำคัญและแผนงานในระยะยาวที่ควรทำเพื่อผู้อื่นก็มากมายเหลือเกิน ดังนั้น ขอจบในส่วนของ web board version ก่อนแล้วค่อยตัดสินใจจากความสำคัญของงานทั้งหมดอีกครั้งตามเหตุปัจจัยที่เหมาะสมในอนาคตนะครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

แต่ถ้าจะรับไปขัดเกลาเข้ารูปเล่มใหม่ คงไม่พิมพ์ออกมาเป็น hard copy แต่จะให้อยู่ในรูปแบบของ e-book เพื่อที่ทุกท่านสามารถ download ได้ฟรีนะครับ ซึ่งวิธีนี้ จะไม่รบกวนมิตรทางธรรมทางด้านกำลังทรัพย์ (หรือถ้าจะพิมพ์หนังสือจริงๆ ก็คงออกตังค์ค่าพิมพ์เอง :b9: :b32: :b39: )

แต่อาจจะรบกวนมิตรทางธรรมทุกท่านทางด้านกำลังปัญญาและเวลา ในการช่วยหาจุดที่ยังผิดพลาดหรือคลุมเครืออยู่ ซึ่งอาจจะเป็นในรูปแบบคือการตั้งกระทู้ใหม่ แล้วค่อยๆโพสฉบับแก้ไขปรับปรุงทีละท่อนตามเวลาที่พอจะมี เพื่อให้ผู้รู้ในลานฯทุกท่านช่วยสอบทานกันอีกครั้ง :b8: :b46: :b46:

เพราะการรวมเล่มไม่เหมือนกับการตอบเป็นความคิดเห็นในกระทู้ คือเมื่อรวมเล่มแล้วผู้อ่านจะมองด้วยสายตาที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า ดังนั้น ความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้นำไปปฏิบัติควรจะน้อยที่สุดด้วยครับ :b46: :b39: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 01:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ผุดขึ้น ก็คือ ผุดขึ้น จะไปนิยามคำสวยๆ มากมาย...ๆลๆ ซึ่งไม่ใช่สภาวะธรรม การปฏิบัติทางใจ ก็ ออกนอกลักษณะ3ประการตั้งแต่ปฐมฌาณ ฌาณ234...ถึง อรหัตมรรค ไป

(เข้ากลาง มิได้เลย ) ก็ไม่มีทางเห็นธรรมเห็นตถาคต ธรรมโลกุตระ,โลกุตระภูมิ ก็เป็นเพียง นิยามปรัชญาสวยๆ แค่นั้นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2011, 00:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:

ผุดขึ้น ก็คือ ผุดขึ้น จะไปนิยามคำสวยๆ มากมาย...ๆลๆ ซึ่งไม่ใช่สภาวะธรรม การปฏิบัติทางใจ ก็ ออกนอกลักษณะ3ประการตั้งแต่ปฐมฌาณ ฌาณ234...ถึง อรหัตมรรค ไป

(เข้ากลาง มิได้เลย ) ก็ไม่มีทางเห็นธรรมเห็นตถาคต ธรรมโลกุตระ,โลกุตระภูมิ ก็เป็นเพียง นิยามปรัชญาสวยๆ แค่นั้นเอง


:b8: อนุโมทนาครับ

ผุดขึ้น ก็คือ ผุดขึ้น
คิดจะไม่ผุดขึ้น จะผุดขึ้นเมื่อไม่คิด

:b46: :b51: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2011, 23:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านเรื่องหนักๆมามากแล้ว อาทิตย์นี้ขอขัดตาทัพด้วยธรรมะเบาๆ ง่ายๆ ฟังสบายๆ จากพี่เดชา ศิริภัทร ปราชญ์ชาวนากันครับ :b1: :b38: :b37: :b46: :b41:

พอดีวันก่อนเจอในรายการล้อเล่นโลก เลยเอามาฝากกัน :b46: :b39: :b46:



เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

จากรายละเอียดในภาคปฏิบัติของมรรค ๔ ซึ่งขอสรุปอีกครั้งได้แก่ :b46: :b46:

๑) วิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
๒) สมถะมีวิปัสสนาในเบื้องหน้า
๓) สมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไป
๔) พิจารณาไตรลักษณ์ ข้ามอุทธัจจะในธรรม (วิปัสสนูปกิเลส) จนจิตตั้งมั่น หรือ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง

โดยในการปฏิบัตินั้น ต้องการให้เห็นถึงสามัญลักษณะของสังขตธรรมต่างๆ (จิต เจตสิก รูป หรืออีกนัยหนึ่งคือ วิญญาณ – เวทนา, สัญญา, สังขาร - รูป หรือขันธ์ทั้ง ๕) และอริยสัจจ์ ๔ บ่อยครั้งจนจิตเกิดปัญญาเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้น ... :b41: :b41:

ซึ่งสรุปอธิบายการเห็นในสามัญลักษณะและอริยสัจจ์ของแต่ละหัวข้อได้ดังนี้ครับ :b1: :b38: :b37: :b39:

๑) ในการปฏิบัติวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า โดยเฉพาะในอานาปานสติ ซึ่งจากที่ได้เคยอธิบายไว้แล้วว่า ในจตุกกะที่ ๔ ข้อที่ ๑๓ – ๑๖ นั้น จะไล่ลำดับการเห็นแจ้งในอนิจจัง ทุกขัง จนจบที่อนัตตา ไล่เห็นตามลำดับหัวข้อ หรือข้ามไปเห็นในอนัตตาเลยก็ได้ถ้าชำนาญแล้ว :b42: :b43: :b44:

ส่วนองค์อริยสัจจ์ที่จะเห็นนั้น จะไล่จากการเห็นปฏิจจสมุปบาทสายเกิด คือการเห็นทุกข์ คือความติดยึดในขันธ์ทั้ง ๕ (อุปาทานขันธ์) ความที่ยังมีขันธ์ทั้ง ๕ และความยึดติดของขันธ์อยู่ในฌานที่ ๔, เห็นเหตุแห่งทุกข์ (อวิชชา ซึ่งเป็นรากของตัณหา คือ ความไม่รู้ในสภาวะไร้ตัวไร้ตน เป็นเพียงกระแสแห่งเหตุและผลตามปฏิจสมุปบาท) เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในขันธ์ :b41: :b46: :b47:

และเมื่อวางขันธ์ลงเสียได้ จะเห็นปฏิจจสมุปบาทสายดับ คือสภาวะที่ไร้ทุกข์ (วิราคา, นิโรธา, และปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี), และแนวทางในการดับทุกข์ (คือแนวทางที่ปฏิบัติจนสามารถเข้ามาเห็นในสภาวะที่ไร้ทุกข์ได้นั้น ซึ่งก็คือมรรคมีองค์ ๘ พิจารณาขันธ์ ๕ ลงในไตรลักษณ์) :b39: :b39: :b39:

โดยในขณะที่เห็นองค์ธรรมต่างๆนั้น จะเห็นโดยสภาวะ และค่อยพิจารณาสิ่งที่เห็นผ่านมาในเชิงบัญญัติทีหลัง ว่าสิ่งที่แจ้งขึ้นมานั้นคืออะไร (ปัจจเวกขณญาณ) ซึ่งการเห็นนั้นเป็นการเห็นในขั้นมรรคผล (มรรคญาณ ผลญาณ) องค์นิโรธที่เห็นนั้นก็คือสภาวะแห่งพระนิพพาน ซึ่งจิตจะมีความเป็นอิสระเบิกบานอย่างถึงที่สุด เพราะพ้นจากการติดยึดในขันธ์ทั้ง ๕ สลัดคืนแม้กระทั่งตัวจิตเองจาก "จิตผู้รู้" กลับคืนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรม คือ "ธรรมชาติธาตุรู้" ที่แผ่ออกไปไม่มีประมาณนั่นเองครับ :b1: :b51: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 23:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒) ในการปฏิบัติสมถะมีวิปัสสนาในเบื้องหน้า ซึ่งจากที่เคยยกตัวอย่างไว้กรณีที่เกิดกิเลสหรือทุกข์ ให้เจริญมรรคด้วยการใช้สติและสมาธิที่ตั้งมั่น (พร้อมมรรคอีก ๖ องค์ที่เหลือเป็นองค์สนันสนุน) ทำการละเหตุแห่งทุกข์ด้วยการไม่เข้าไปสนใจในเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์นั้น :b1: :b38: :b37: :b39:

ในขณะเดียวกันให้รู้ทุกข์หรือดูสภาวะจิตที่ถูกบีบคั้นนั้นลงไปตรงๆ และเมื่อทุกข์หมดเหตุ ทุกข์จะแสดงสามัญลักษณะออกมาให้เห็น คือดับลงไปได้เอง (เห็นสภาวะอนิจจังในตัวทุกข์) :b44: :b44:

ซึ่งตรงนี้ถ้ามีปัญญาแยบคายพอก็จะเห็นถึงการถูกบีบคั้นเองขององค์ทุกข์นั้นด้วย (เห็นสภาวะทุกขังของตัวทุกข์) และเห็นถึงความไม่เป็นตัวตน ไม่เป็นของๆตน บังคับไม่ได้ เกิดดับขึ้นกับเหตุปัจจัยในทุกข์นั้นเอง (เห็นสภาวะอนัตตาในตัวทุกข์) :b46: :b46: :b46:

และสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากทุกข์นั้นดับลงไปคือความเบิกบานตั้งมั่นแห่งจิต ซึ่งก็คือองค์ของนิโรธที่จะปรากฏให้รู้แจ้งได้ ซึ่งถ้าการปฏิบัติในชีวิตประจำวันโดยมาก นิโรธที่เห็นจะเป็นแค่นิโรธชั่วขณะเพราะกิเลสยังไม่ถูกตัดจนขาด :b47: :b51: :b53:

แต่การหมั่นเพียรปฏิบัติไปเรื่อยๆนั้น เปรียบเสมือนการใช้ขวานตัดไม้ใหญ่ที่ขึ้นเกะกะขวางทางอยู่ ซึ่งการฟันลงไปที่โคนไม้แต่ละครั้ง เนื้อไม้ที่กระเด็นออกไปหมายถึงกิเลสได้ค่อยๆถูกริดรอนไปเรื่อยๆ จะใช้การฟันนานเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับขนาดและความแข็งของไม้ คือตัวกิเลสนั้นว่าสะสมไว้และมีความแข็งแกร่งมากน้อยเพียงไร :b51: :b39: :b51:

และขึ้นอยู่กับการฟันในแต่ละครั้งว่ามีความแรงของกำลังศรัทธา สติ สมาธิ ปัญญามากน้อยแค่ไหน รวมถึงข้อสุดท้าย ว่ามีวิริยะความเพียรพยายามในการหมั่นฟันหมั่นโค่นต้นไม้นั้นมากน้อยเพียงไร :b46: :b46: :b46:

ซึ่งพ่อแม่ครูอาจารย์บางท่านบอกไว้ว่า อาจจะต้องออกแรงฟันเนื้อไม้ หรือเห็นพระไตรลักษณ์สะสมกันหลายล้านครั้งนะครับกว่าจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในขันธ์ จนไม้ใหญ่หักโค่นลงได้ (ซึ่งไม้ใหญ่ของแต่ละคนในยุคสมัยนี้เป็นไม้เนื้อแข็ง ต้นใหญ่ โตเร็ว เพราะได้ผัสสะที่ยั่วและยวน ผสมกับกิเลสเน่าเหม็นเป็นปุ๋ยอย่างดี และคนยุคปัจจุบันก็หมั่นใส่ปุ๋ยกันทุกวันเสียด้วยซิครับ) :b1: :b46: :b46:

และเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ไม้ใหญ่คือตัวกิเลส โดยเฉพาโมหะความหลงในขันธ์ หรืออุปาทานขันธ์นั้นหักโค่นลง นิโรธที่จะปรากฏแจ้งเข้ามาในจิตนั้นก็จะเป็นสภาวะแห่งพระนิพพาน ซึ่งจิตจะมีความเป็นอิสระเบิกบานอย่างถึงที่สุดเพราะพ้นจากการติดยึดในขันธ์ทั้ง ๕ และกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงนั่นเองครับ :b1: :b48: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 23:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓) ในส่วนของการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไป ซึ่งได้แก่การพิจารณาสามัญลักษณะของเจตสิกหรือขันธ์ต่างๆเมื่อก้าวข้ามจากฌานหนึ่งไปสู่อีกฌานหนึ่ง สิ่งที่จะเห็นคือการเกิดดับ (อนิจจัง) การตกอยู่ในสภาวะถูกบีบคั้น (ทุกขัง หรืออาพาธ) และการเกิดแต่เหตุปัจจัย ไร้ซึ่งตัวตน (อนัตตา) ของเจตสิกหรือขันธ์ต่างๆในองค์ฌานนั้น :b47: :b48: :b49:

และในขณะเดียวกัน จิตจะเปรียบเทียบสภาวะของความละเอียดปราณีตของฌานขั้นต่ำกว่า กับฌานที่สูงกว่า :b46: :b39: :b46:

ทำให้เห็นสภาวะในฌานขั้นต่ำกว่าเป็นการบีบคั้นอาพาธ (ทุกขัง ทุกขสัจจ์) โดยมีเหตุที่ทำให้เกิด (สมุทัย) คือเจตสิกที่ฟุ้งปรุงแต่งเพิ่มเติมเข้ามาในฌานขั้นต่ำ ซึ่งทำให้เกิดความไม่ปราณีตของฌานขั้นต่ำกว่านั้น ทำให้จิตไม่อยากให้สภาวะนั้นคงอยู่ (วิภวตัณหา) หรือในทางกลับกัน คืออยากให้สภาวะที่ปราณีตกว่าในฌานที่สูงขึ้นไปนั้นคงอยู่ (ภวตัณหา) :b38: :b37: :b39:

และเมื่อก้าวล่วงไปสู่ฌานขั้นที่สูงกว่าแล้วนั้น สภาวะนิโรธ คือความปราณีตกว่าขององค์ฌานขั้นสูงจะปรากฏ แต่ยังเป็นนิโรธชั่วขณะซึ่งนักบวชสมัยก่อนพุทธกาลยึดถือว่าเป็นนิพพาน แต่ที่ยังไม่เป็นสภาวะของพระนิพพานจริงๆก็เพราะยังเนื่องด้วยการปรุงแต่งและยึดติดในสังขารอยู่ ถึงแม้ว่าจะเข้าไปถึงอรูปฌานที่ ๔ แล้วก็ตาม :b40: :b44: :b39:

จวบจนล่วงเข้าถึงการดับซึ่งสังขารการปรุงแต่งต่างๆอย่างสิ้นเชิงในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้วเท่านั้น ถึงจะเป็นสภาวะที่ไร้ซึ่งการปรุงแต่งอย่างแท้จริง มีนิพพานเป็นอารมณ์ได้ :b39: :b39:

แต่ถ้ายังไม่สามารถเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ การพิจารณาให้เห็นถึงสามัญลักษณะและอริสัจจ์ในองค์ฌานบ่อยครั้งเข้า จิตจะเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในธรรมที่ยังเนื่องด้วยการปรุงแต่งทั้งหลาย :b44: :b50: :b49:

นั่นคือความยึดติดยึดอยากหรืออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ จะเริ่มคลายตัวออก และเมื่อถึงจุดหนึ่งแล้ว จิตก็จะวางขันธ์ทั้งหลายลงจนเป็นอิสระจากขันธ์ เข้าสู่สภาวะที่ไร้ซึ่งการปรุงแต่ง พ้นจากกิเลสอย่างสิ้นเชิงทีละลำดับนะครับ :b41: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔) ในส่วนของการพิจารณาไตรลักษณ์ ข้ามอุทธัจจะในธรรม (วิปัสสนูปกิเลส) จนจิตตั้งมั่น หรือ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งนั้นก็เช่นเดียวกัน :b1: :b38: :b37: :b39:

ข้อนี้อธิบายได้ใกล้เคียงกับมรรคในข้อที่ ๒ คือเมื่อจิตถูกบีบคั้น (ทุกขัง ทุกขสัจจ์) จนหลุดออกจากสภาวะที่ตั้งมั่น เกิดความฟุ้งแห่งจิตขึ้นในรูปแบบของวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ เช่น เห็นแสงสี ปีติสุข ฯลฯ :b39: :b46: :b48:

ให้เจริญมรรคโดยใช้สติสมาธิที่ตั้งมั่น ละเสียซึ่งเหตุคือความยินดียินร้ายในความฟุ้งปรุงแต่งนั้น วกกลับมารู้ในตัวรู้ และเมื่อเหตุแห่งการไหวของจิตหมด สภาวะของจิตที่ถูกบีบคั้นก็จะดับ นิโรธคือจิตที่เบิกบานกลับมาตั้งมั่นใหม่นั้นจะปรากฏให้รับรู้ :b39: :b39: :b39:

และเช่นเดียวกัน ถ้าปฏิบัติด้วยวิธีนี้ไปเรื่อยๆ จิตจะเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในธรรมที่ยังเนื่องด้วยการปรุงแต่งทั้งหลาย นั่นคือความยึดติดยึดอยากหรืออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ จะเริ่มคลายตัวออก และเมื่อถึงจุดหนึ่งแล้ว จิตก็จะวางขันธ์ทั้งหลายลงจนเป็นอิสระจากขันธ์ เข้าสู่สภาวะที่ไร้ซึ่งการปรุงแต่ง พ้นจากกิเลสอย่างสิ้นเชิงทีละลำดับนะครับ :b1: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปย้ำเป้าหมายที่สำคัญของการปฏิบัติในมรรคทั้ง ๔ อีกครั้งนะครับ ได้แก่การเกิดขึ้นของโลกุตรปัญญาที่ใช้ในการดับทุกข์อย่างสิ้นเชิง ซึ่งมีแก่นคือการเห็นในองค์ธรรมหลักใหญ่สององค์ได้แก่ :b46: :b46: :b46:

(๑) เห็นในสามัญลักษณะของธรรมชาติที่ปรุงแต่ง (สังขตธรรม คือ จิต – เจตสิก - รูป หรืออีกนัยหนึ่งคือ วิญญาณ – เวทนา, สัญญา, สังขาร - รูป หรือขันธ์ทั้ง ๕) ทั้งหลายทั้งปวง และ

(๒) เห็นในอริยสัจจ์ ซึ่งก็คือปฏิจจสมุปบันธรรมสายเกิด (สมุทัย --> ทุกข์) และสายดับ (มรรค --> นิโรธ) ครบหมดทั้งสองสาย ที่มีการเห็นในสามัญลักษณะและองค์ธรรมของอริยสัจจ์ครบทั้งสี่องค์ในชั่วไม่กี่ขณะจิต (ซึ่งในขั้นปฏิบัตินี้ แค่ “เห็น” ในอริยสัจจ์นะครับ (อริยสัจจบรรพ - ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน) ยังไม่ “รู้แจ้ง” ในอริยสัจจ์ ซึ่งจะเกิดขึ้นในขั้นตอนที่จะอธิบายต่อไป)


ซึ่งเมื่อเห็นองค์ธรรมหลักใหญ่ทั้งสององค์ไปเรื่อยๆ คำสำคัญ หรือ key words ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเลือกมาใช้ก็คือ จะเกิดปัญญา "เบื่อหน่าย" ในสังขตธรรม (ขันธ์) ทั้งหลายทั้งปวง (นิพพิทาญาณ) ทั้งดีทั้งชั่ว ทั้งชอบทั้งชัง ทั้งที่เป็นกลางๆ (กุศล อกุศล อัพยากฤต) :b38: :b37: :b39:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 23 พ.ค. 2011, 00:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และเมื่อเบื่อหน่ายด้วยปัญญาแล้ว จิตจะเริ่ม “คลายกำหนัด” คลายความยินดียินร้าย คลายความยึดติดถือมั่นในสังขตธรรม (ขันธ์) ทั้งหลายเหล่านั้น :b41: :b41: :b41:

เพราะการเห็นซึ่งความเป็นจริงแห่งขันธ์บ่อยครั้งเข้า จิตย่อมจะคลายตัวปล่อยวางจากการยึดติดในขันธ์ได้เองเพราะเห็นเป็นของหนัก มีเกิดมีดับ ตกอยู่ในสภาวะถูกบีบคั้นอยู่ตลอดเวลาจากกระแสแห่งเหตุและปัจจัย บังคับบัญชาให้เป็นไปตามอยากไม่ได้ แล้วจะเอาอะไรที่เป็นเนื้อหาสาระกับมัน :b1: :b42: :b39:

จากนั้นจึงเริ่มขบวนการแห่งการ "หลุดพ้น" โดยเริ่มจากการ “รู้แจ้ง” ในอริยสัจจ์คือเห็นในความเป็นเช่นนั้นเองแห่งขันธ์ตามกระแสของเหตุและปัจจัย (อิทัปปัจยตา ตถตา ปฏิจจสมุปบาท) ทำให้จิตเกิดความเป็นกลางแห่งขันธ์ (สังขตธรรม) ทั้งหลายปวง (สังขารุเปกขาญาณ) :b41: :b41: :b41:

และเมื่อจิตคลายกำหนัด คลายตัวออกจากความยึดติดถือมั่นในขันธ์ (อุปาทานขันธ์) เป็นกลางต่อขันธ์ และเริ่มวางขันธ์ สิ่งที่จะเป็นอัตโนมัติตามมาก็คือ ความหลุดพ้นไปจากขันธ์ หรือสังขตธรรมทั้งปวง จิตจะ “รู้แจ้ง” ในอริยสัจจ์ ๔ (มรรคญาณ) :b42: :b42: :b42:

ซึ่งการ “รู้แจ้ง” นี้ก็คือ จิตจะรู้อย่างแจ่มชัดในสภาวะที่ว่า สังขตธรรม หรือขันธ์ทั้งหลายทั้งปวง เป็นเพียงแค่กระแสธรรมแห่งเหตุปัจจัย (อิทัปปัจยตา ตถตา ปฏิจจสมุปบาท) เป็นเท่านั้นเองจริงๆ ไม่มีตัวตน สัตว์ บุคคล เราเขา หรือแม้กระทั่งตัวจิตเองก็เป็นเพียงแค่ธรรมชาติ “ธาตุรู้” ไม่ใช่ “กู – ผู้รู้” ในการเข้าสู่อริยบุคคลระดับแรก หรือไม่มีกู แต่เป็นแค่ “ผู้รู้” ในอริยบุคคลระดับสองและสาม :b46: :b39: :b46:

และเมื่อเกิดโลกุตรปัญญาตรงนี้แวบขึ้นมาในชั่วแลบ จิตจะทิ้งขันธ์ทั้งปวงพรึบลงในทันที ปลดปล่อยตัวเองกลับสู่ความเป็นธรรมชาติ “ธาตุรู้” เข้าสู่สภาวะที่ไร้ซึ่งการปรุงแต่ง (อสังขตธรรม) อย่างสิ้นเชิง คือการมีนิพพานเป็นอารมณ์ มีสภาวะแห่งความเป็นอิสระ โปร่งโล่งเบาลอย แผ่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางไม่มีประมาณ (ผลญาณ) :b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 00:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ถ้ายังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์อย่างแท้จริง คือในระดับอรหัตตผลแล้ว เยื่อใยแห่งความยึดติดในขันธ์ (อุปาทานขันธ์) จะกลับมาห่อหุ้มจิตใหม่อีกครั้ง จิตที่โปร่งโล่งเบาลอยจะกลับมารวมตัวมีน้ำหนักขึ้นมาใหม่ จากสภาวะของความเป็น “ธรรมชาติธาตุรู้” กลับมาสู่ความเป็น “ผู้รู้” เหมือนภาพ reverse ของหมอกที่ลอยกระจายตัวขึ้นเบื้องบนแล้วกลับลงมารวมตัวใหม่เป็นหยดน้ำใส :b46: :b46: :b46:

และสิ่งที่จะ “รู้” ต่อจากนั้นก็คือ การ “ระลึกรู้” ในสิ่งที่พึ่งเกิดขึ้นและจบลงไปสดๆร้อนๆ นั่นคือ การระลึกรู้ในสภาวะของสมุทัย – ทุกข์ (สายเกิด) และ มรรค – นิโรธ (สายดับ) ตลอดจนรู้ในสิ่งที่กลับมาห่อหุ้มใหม่นั้นว่า มีไม่เท่าเดิม อะไรหายไป และเหลืออะไรอยู่อีกบ้าง (ปัจจเวกขณญาณ เมื่อหลุดพ้นอะไรไปบ้าง ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นสิ่งนั้นไปได้แล้ว) แล้วแต่ระดับของโลกุตรมรรค โลกุตรผลที่ตัดสังโยชน์อะไรลงไปได้ :b38: :b37: :b39:

เหมือนกับการเช็คชื่อแถวทหาร ๑๐, ๗, หรือ ๕ คนที่ไล่ให้ไปพักแถวแล้วเรียกกลับมาเหลือไม่ครบคน (หรือเหลือกลับมาครบ ๗ คนแต่วิ่งกลับมายืนแบบอ่อนระทวยไป ๒ คนในระดับสกทาคามี) ซึ่งจะรู้ว่าคนไหนหายไป คนไหนที่ยังอยู่ คนไหนที่อ่อนแรงลงไป :b1: :b46: :b39: :b46:

ไว้มาต่อกันในส่วนสุดท้ายคือ การปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงซึ่งอริยบุคคลทั้ง ๔ ขั้น และสภาวะต่างๆในแต่ละระดับขั้น ตามกำลังสติปัญญาที่พอจะอธิบายได้นะครับ :b1: :b46: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2011, 07:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




g43.gif
g43.gif [ 3.87 KiB | เปิดดู 5818 ครั้ง ]
กระผมสนใจเรื่องปฏิจจสมุปบาทมากเลยเข้าศึกษาหาความรู้ครับ

ผมเป็นสมาชิกใหม่นะครับผิดถูกตรงไหนขอข้อแนะนำด้วยครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แก้ไขล่าสุดโดย ลุงหมาน เมื่อ 03 มิ.ย. 2011, 04:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 03:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ได้แวะเข้ามาเสียนาน ท่านวิสุทธิปาละก็ยังมีแนวคิดอันน่าสนใจมาแบ่งปันกันอยู่เช่นเดิม

ขอต่อคิวติดตามครับผม :b16:

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร