วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 13:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 215 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 01:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ลัทธิกะพริบตา เป็นลัทธิเกิดใหม่ :b32:

:b12:
อุปมาชีวิตเกิดดับเร็วแค่ชั่วพริบตาเคยได้ยินไหมคะชั่วฟ้าแลบชั่วงูแลบลิ้น
ที่จะรู้ความจริงตามได้นี่ก็ไม่เข้าใจอะไรเลยกะพริบตาแล้วความไม่รู้ทั้งมวล
ไหลผ่านไปตลอดรู้จักไหมต้องทวนกระแสมีปัญญายังไม่พอค่ะเริ่มฟังได้แล้ว
:b32: :b32:


คุณโรสเคยเห็นจิตนั่นนี่เกิดดับเคยเห็นชีวิตเกิดดับไหมขอรับ เคยสักขณะไหมขอรับโผม :b10:

Kiss
:b12:
พระพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องพิธีกรรมเครื่องรางของขลัง
แต่เป็นสิ่งที่กำลังมีจริงๆที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ทุกอย่าง
ว่าชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายที่มีคนสัตว์วัตถุนั้นจริงๆคือ
จิตเกิดดับสืบต่อไม่ขาดสายทีละ1ขณะจิตที่แต่ละ
1ขณะที่ดับจากไปแล้วไม่กลับมาอีกเลยอนันต์
เกิดสิ่งใหม่ตลอดเวลาและเป็นสิ่งที่มีแล้วจริงๆ
ไม่ต้องเดินทางไปไหนเลยก็มีแต่ไม่รู้ว่ามีแล้ว
จึงเที่ยวเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆก็เพื่อจะรู้
การอยากไปเพราะชอบสถานที่เป็นกิเลสโลภะ
สถานที่ที่อยากไปนั้นเป็นความพอใจอยากไป
แต่ไม่มีการแสดงความจริงตามคำสอนให้เข้าใจ
กลายเป็นสร้างความเห็นผิดว่าต้องถวายเงินมากๆ
สร้างศาสนวัตถุมากๆแล้วคำสอนจะเจริญเปล่าเลย
สร้างแต่ความเห็นผิดแล้วก็พานั่งหลับตาทำกิเลสเพิ่ม
พระพุทธเจ้าสอนความจริงทางตาหูจมูกลิ้นกายใจที่มีแล้ว
แต่ไม่รู้ว่ากำลังเกิดดับคือจากไม่มีแล้วเกิดมีนิดนึงแล้วดับไปไม่มี
ดับหมายถึงเก็บสะสมเป็นกิเลสนอนในจิตรอปรุงแต่งตอนตื่นลืมตา
ถ้าไม่ได้กำลังฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าขณะนั้นไม่มีพระธรรมอารักขา
แปลว่ากิเลสเกิดมีเพิ่มขึ้นแค่กะพริบตายังไม่ทำอะไรเลยก็เป็นกิเลสแล้วค่ะ
จึงต้องเพียรฟังเพื่อไตร่ตรองตามการเกิดของแต่ละลักษณะเพื่อให้เข้าใจถูกก่อน
เพราะขณะที่กำลังฟังเท่านั้นที่คิดถูกตามได้หลังจากหยุดฟังคิดนึกเอาเองมีแต่ความเห็นผิด
เพราะเห็นตามภพภูมิทุกภพภูมิที่ยังเกิดมานี้แหละมีกิเลสแต่ฟังคำสอนเพื่อดับความคิดผิดว่ามีเรา
:b8: :b8: :b8:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 01:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
การฟังคือการตามรู้ความจริงตามคำสอนไม่ใช่เรียนแบบวิชาการทางโลก
แต่เป็นการฟังเพื่อสะสมความเข้าใจถูกตามพระพุทธเจ้าเพราะทรงสอนให้
ฉลาดรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิดการตรัสรู้ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนจะคิดเห็นเองแล้วถูก
เพราะทำทุกอย่างตามความเคยชินเดี๋ยวนี้อะไรคือธัมมะตอบไม่ได้จึงต้องเพียรฟังค่ะ
https://youtu.be/haWoRa7clPk


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 07:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
การฟังคือการตามรู้ความจริงตามคำสอนไม่ใช่เรียนแบบวิชาการทางโลก
แต่เป็นการฟังเพื่อสะสมความเข้าใจถูกตามพระพุทธเจ้าเพราะทรงสอนให้
ฉลาดรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิดการตรัสรู้ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนจะคิดเห็นเองแล้วถูก
เพราะทำทุกอย่างตามความเคยชินเดี๋ยวนี้อะไรคือธัมมะตอบไม่ได้จึงต้องเพียรฟังค่ะ
https://youtu.be/haWoRa7clPk


เริ่มต้น...โดยคิดเอง....หรือคิดเอาเอง...โดยไม่เคยได้ฟังเคยได้ยินมาก่อน..ในสาวกภูมินั้น..ไม่มีทางเห็นทางออกจากวัฏฏะทุกข์ด้วยตนเองได้เลย

แต่ในสาวกภูมิ...การจะสร้างความรู้ในตนให้เกิดกับตนได้..ก็มาจากนำข้อมูลภายนอกที่รับมา..มาพิจารณาจนให้เกิดปัญญารู้ในตน..ซึ่งกระบวนการพิจารณานี้..ก็ต้องใช้ความคิด..(นี้แหละความสำคัญของภพ..ภพมนุษย์มีขันธ์ที่เหมาะสม..พอดิบพอดี...หากต่ำกว่านี้ก็ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ.)..

ตัวอย่าง.การใช้ความคิด..มีมากมาย..ขอยกตัวอย่างบางตอน...ที่แสดงว่า..สาวกต้องใช้ความคิด..

อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑

ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร


[๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น
อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล
พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า
รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ
เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา
ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว
สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ
เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้
ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้
เป็นอย่างนั้นเลย.
วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้
ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์
[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า
.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า
.



ในตัวอย่างนี้..พระพุทธองค์ตรัสสอนก่อน..ว่า..หากสิ่งใดเที่ยงจะมีลักษณะอย่างไร..สิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นอย่างไร..(เป็นข้อมูล..เป็นความรู้นอก)...

หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงถาม..รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

แล้วสาวกก็ตอบ..... ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า
(ก่อนจะตอบ..สาวกใช้ข้อมูลที่รับมาก่อนหน้านี้แล้ว...มาพิจารณาก่อนจะตอบว่า..รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง..จริงหรือไม่จริง...ควรหรือไม่ควร....จริงมั้ย?)

นี้แหละ...เป็นข้อที่แสดงชัดเจนว่า..สาวกต้องใช้ความคิดมาพิจารณาความรู้นอกที่ได้ยินได้อ่านได้เห็นมา..มาพิจารณาให้เกิดความรู้แจ้งภายในใจตน...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 08:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
การฟังคือการตามรู้ความจริงตามคำสอนไม่ใช่เรียนแบบวิชาการทางโลก
แต่เป็นการฟังเพื่อสะสมความเข้าใจถูกตามพระพุทธเจ้าเพราะทรงสอนให้
ฉลาดรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิดการตรัสรู้ไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนจะคิดเห็นเองแล้วถูก
เพราะทำทุกอย่างตามความเคยชินเดี๋ยวนี้อะไรคือธัมมะตอบไม่ได้จึงต้องเพียรฟังค่ะ
https://youtu.be/haWoRa7clPk


เริ่มต้น...โดยคิดเอง....หรือคิดเอาเอง...โดยไม่เคยได้ฟังเคยได้ยินมาก่อน..ในสาวกภูมินั้น..ไม่มีทางเห็นทางออกจากวัฏฏะทุกข์ด้วยตนเองได้เลย

แต่ในสาวกภูมิ...การจะสร้างความรู้ในตนให้เกิดกับตนได้..ก็มาจากนำข้อมูลภายนอกที่รับมา..มาพิจารณาจนให้เกิดปัญญารู้ในตน..ซึ่งกระบวนการพิจารณานี้..ก็ต้องใช้ความคิด..(นี้แหละความสำคัญของภพ..ภพมนุษย์มีขันธ์ที่เหมาะสม..พอดิบพอดี...หากต่ำกว่านี้ก็ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ.)..

ตัวอย่าง.การใช้ความคิด..มีมากมาย..ขอยกตัวอย่างบางตอน...ที่แสดงว่า..สาวกต้องใช้ความคิด..

อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑

ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร


[๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น
อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล
พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า
รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ
เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา
ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึง
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไป
เพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว
สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ
เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้
ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้
เป็นอย่างนั้นเลย.
วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้
ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์
[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า
.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า
.



ในตัวอย่างนี้..พระพุทธองค์ตรัสสอนก่อน..ว่า..หากสิ่งใดเที่ยงจะมีลักษณะอย่างไร..สิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นอย่างไร..(เป็นข้อมูล..เป็นความรู้นอก)...

หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงถาม..รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

แล้วสาวกก็ตอบ..... ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า
(ก่อนจะตอบ..สาวกใช้ข้อมูลที่รับมาก่อนหน้านี้แล้ว...มาพิจารณาก่อนจะตอบว่า..รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง..จริงหรือไม่จริง...ควรหรือไม่ควร....จริงมั้ย?)

นี้แหละ...เป็นข้อที่แสดงชัดเจนว่า..สาวกต้องใช้ความคิดมาพิจารณาความรู้นอกที่ได้ยินได้อ่านได้เห็นมา..มาพิจารณาให้เกิดความรู้แจ้งภายในใจตน...


ซึ่งในกระบวนการทำให้จิตรู้แจ้งที่เรียกว่าปัญญา..นั้น..ผู้ที่มีประสบการณ์มาบ้าง..จะรู้ว่า..การอบรมจิตจะดีต้องพิจารณาด้วยจิตที่ไม่มีสิ่งอื่นมาขั้นกลางรบกวน...มีเวลาที่จิตว่างพอเพียง...ที่ว่ากันว่าจิตปราศจากนิวรณ์นั้นแหละ..จิตที่ปราศจากนิวรณ์นี้เขาเรียกว่า..สมาธิ

จิตจะปราศจากนิวรณ์ชั่วคราวได้ยาวนานเพียงพอที่จิตจะพิจารณาได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลได้..ก็ต้องฝึก......ศีลทำให้ลดพฤติกรรมการสะสมนิวรณ์ในชีวิตประจำวัน..จำกัดขอบเขตความฟุ่งซ่านไม่ให้เกินศีล...ไม่ทำลายสติสัมปชัญญะด้วยสิ่งมึนเมา...ศีลจึงทำให้จิตใจมีสมาธิได้ง่าย...นี้คือคุณของศีล

ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของการศึกษาปฏิบัติไตรสิกขา..คือ....ศีล...สมาธิ...ปัญญา...


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 22 ก.ค. 2018, 08:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 08:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v ... =479&Z=575

อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑

ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร

(ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ)

[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใด
อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา
.


เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย
พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.


สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ
หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสัญญา เธอทั้งหลายพึง
เห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น
ไม่ใช่ตนของเรา.


สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลาย
พึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.


วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลาย
พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตนของเรา.


[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้
ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร
ทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
.

[๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์
พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น
.


อนัตตลักขณสูตร จบ
ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.
ปฐมภาณวาร จบ



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 08:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


wink
รูปภาพ


หลายๆคน..หรือแม้แต่คนที่อ้างว่าเป็นลูกศิษย์ท่าน...มักจะอ้างเพียงแค่...

"คิดเท่าไรก็ไม่รู้...หยุดคิดถึงรู้"...

แต่ไม่นำบทต่อท้ายที่ท่านสอนและสำคัญ..ว่า..จะรู้ด้วยอะไร? (ไม่รู้เพราะอะไร...รึเพราะไม่เข้าใจเลยไม่แสดงทั้งหมด..ก็ไม่รู้นะ)

วลีเต็ม..ที่หลวงปู่สอนคือ..

"คิดเท่าไรๆก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดได้จึงรู้ แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงรู้" (น.๔๕๖)

หากคนที่เข้าใจหลักการ..คนที่มีประสบการณ์มาบ้าง...จะเข้าใจความหมายทันทีว่า..การใช้ความคิดมาพิจารณาอย่างไรจึงจะทำให้เกิดความรู้ในจิตใจตนได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ซึ่งในกระบวนการทำให้จิตรู้แจ้งที่เรียกว่าปัญญา..นั้น..ผู้ที่มีประสบการณ์มาบ้าง..จะรู้ว่า..การอบรมจิตจะดีต้องพิจารณาด้วยจิตที่ไม่มีสิ่งอื่นมาขั้นกลางรบกวน...มีเวลาที่จิตว่างพอเพียง...ที่ว่ากันว่าจิตปราศจากนิวรณ์นั้นแหละ..จิตที่ปราศจากนิวรณ์นี้เขาเรียกว่า..สมาธิ

จิตจะปราศจากนิวรณ์ชั่วคราวได้ยาวนานเพียงพอที่จิตจะพิจารณาได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลได้..ก็ต้องฝึก......ศีลทำให้ลดพฤติกรรมการสะสมนิวรณ์ในชีวิตประจำวัน..จำกัดขอบเขตความฟุ่งซ่านไม่ให้เกินศีล...ไม่ทำลายสติสัมปชัญญะด้วยสิ่งมึนเมา...ศีลจึงทำให้จิตใจมีสมาธิได้ง่าย...นี้คือคุณของศีล

ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของการศึกษาปฏิบัติไตรสิกขา..คือ....ศีล...สมาธิ...ปัญญา...

cool
:b12:
เด่วนี้เลยทุกคนคือสาวกคิดเองโดยไม่ได้กำลังฟังไม่ได้เลยเข้าใจคำว่าคิดตามได้ไหมต้องตรงปัจจุบัน
เดี๋ยวนี้รู้จักตนเองว่าเป็นผู้ฟังอยู่ฟังอยู่คือคิดตรงคำที่กำลังไม่ใส่ความคิดที่ไม่ตรงคำรู้จักคำว่าปกติไหมคะ
ปกติคนนอนหลับน้อยหรือมากกว่าตื่นคะนอนกี่ชม.ตื่นจึงเกิดกิเลสค่ะและปัญญาเกิดเมื่อกำลังฟังตรงจริง
อ่านก็ได้แต่อ่านต้องมีปัญญาค่ะปกติตื่นลืมตามีกิเลสและปัญญาเริ่มเกิดเมื่อเริ่มฟังถึงจะคิดตามได้ค่ะ
ปกติที่ลืมตาเห็นคือเป็นจิตคิดนึกแล้วค่ะแปลว่ายึดถือจำสิ่งที่ปรากฏแล้วไม่ได้จำตามปกติว่ามีแต่สี1สี
ที่เห็นเป็นรูปร่างสิ่งต่างๆเกิดจากเงาสีหลากสีตัดกันจนเป็นรูปร่างคือสัณฐานสีที่มหาภูตรูปจำให้ชัดๆว่าเงาสี
แปลว่าจำอดีตสีเป็นตัวคนเป็นสิ่งของเป็นสัตว์เป็นวัตถุถ้าเป็นคนรู้จักจำทุกอย่างเลยชื่ออะไรรวยจนสำเนียง
คือจำผิดมีสัญญาวิปลาสเพราะมีทิฏฐิวิปลาสเลยทำให้จิตวิปลาสเดี๋ยวนี้เลยค่ะปกติจิตวิปลาสตามการสะสม
จะรู้ความจริงถูกตามได้ต้องเป็นสาวกคือพึ่งการคิดตามเสียงคำตถาคตตรงตามที่กำลังฟังเข้าใจที่กำลังมีคือ
เข้าใจเดี๋ยวนี้ว่ามีปกติวิปลาสจึงต้องเพียรฟังเพื่อเข้าใจถูกตามได้เพราะกำลังไม่รู้ว่าทั้ง6ทางกำลังเกิดดับค่ะ
และจิต+เจตสิก+รูปคือเดี๋ยวนี้กำลังเกิดดับทีละ1ทางต้องรู้ตรงสัจจะ1ทางของตนว่ากำลังสะสม1สัจจะอะไร
ไม่รู้ตรง1สัจจะที่ตนสะสมนั่นแหละเรียกว่าวิปลาศมีกิเลสแล้วทุกขณะที่เกิดดับศีลสมาธิปัญญาไม่มีแล้วค่ะ
ตอนที่มีภวังค์คั่นนั้นน่ะมันไม่ได้มีศีลสมาธิปัญญาต่อกันยาวๆค่ะมีช่องว่างคั่นทุกขณะแบบจุดค่ะ...........นี่ไง
ศีลคือเจตสิก
สมาธิคือเจตสิก
ปัญญาคือเจตสิก
เกิดได้ทีละ1ขณะจิตเป็นขณิกะทุกอย่างเลยไม่ใช่ศีลนับข้อเข้าใจไหมคะ
สำหรับคนที่ยังเป็นปุถุชนง่วงนอนก็มีกิเลสแต่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์หมดกิเลสคือไม่อยากรู้นิพพานไง
กำลังคิดถูกตามได้อยู่นี่แหละจึงเรียกว่าเริ่มเกิดปัญญาแล้วแต่ที่อยากไปทำเพื่อให้รู้จึงไม่รู้ไงคะฟังแล้วรู้ค่ะ
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 09:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
อ้างคำพูด:
ซึ่งในกระบวนการทำให้จิตรู้แจ้งที่เรียกว่าปัญญา..นั้น..ผู้ที่มีประสบการณ์มาบ้าง..จะรู้ว่า..การอบรมจิตจะดีต้องพิจารณาด้วยจิตที่ไม่มีสิ่งอื่นมาขั้นกลางรบกวน...มีเวลาที่จิตว่างพอเพียง...ที่ว่ากันว่าจิตปราศจากนิวรณ์นั้นแหละ..จิตที่ปราศจากนิวรณ์นี้เขาเรียกว่า..สมาธิ

จิตจะปราศจากนิวรณ์ชั่วคราวได้ยาวนานเพียงพอที่จิตจะพิจารณาได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลได้..ก็ต้องฝึก......ศีลทำให้ลดพฤติกรรมการสะสมนิวรณ์ในชีวิตประจำวัน..จำกัดขอบเขตความฟุ่งซ่านไม่ให้เกินศีล...ไม่ทำลายสติสัมปชัญญะด้วยสิ่งมึนเมา...ศีลจึงทำให้จิตใจมีสมาธิได้ง่าย...นี้คือคุณของศีล

ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของการศึกษาปฏิบัติไตรสิกขา..คือ....ศีล...สมาธิ...ปัญญา...

cool
:b12:
เด่วนี้เลยทุกคนคือสาวกคิดเองโดยไม่ได้กำลังฟังไม่ได้เลยเข้าใจคำว่าคิดตามได้ไหมต้องตรงปัจจุบัน
........

:b32: :b32:


การทบทวน..คำสอนของพระพุทธองค์..ก็เท่ากับการฟังซ้ำซ้ำ...นั้นแหละครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 09:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 635&Z=4665

อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

๘. สีลสูตร


[๑๖๘] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมี
อุปนิสัยถูกขจัด เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีสัมมา-
*สมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทา
วิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อ
นิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ ย่อมเป็น
ธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติ แม้กะเทาะของ
ต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือก กระพี้ แก่นของต้นไม้นั้น ก็
ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุ
ผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถา
ภูตญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด
เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ
ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของ
ภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อม
ถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุ
ผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย
เมื่อยถาภูตญาณ-
*ทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะสมบูรณ์ ย่อมถึง
พร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย
เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุ
ผู้มีนิพพิทาวิราคะสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย
เปรียบเหมือน
ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้
เปลือก กระพี้ แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรม
เป็นอุปนิสัย เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิ
สมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรม
เป็นอุปนิสัย เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะ
สมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

จบสูตรที่ ๘




โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 10:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเกิดอะไรขึ้น..ก็ให้รู้จักระลึกรู้ถึงพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า..ใว้..ไม่ให้เกิดอารมณ์สุข..หรือ..ทุกข์....มากจนเกินไป..

อย่างแรก..ที่ง่ายๆสำหรับทุกคน..คือระลึกถึงที่พระองค์กล่าวถึงผลของกรรมเก่า...แต่ก็ไม่ทรงกล่าวว่าให้อยู่เฉยๆ..โดยมิทำอะไร

คำพระสอน..

อ้างคำพูด:
อย่ากังวลใจทุกอย่างเป็นไปตามกฎของกรรม
ในเมื่อร่างกายมันป่วย ก็ย่อมห้ามไม่ให้มันป่วยไม่ได้
การรักษาพยาบาลจำเป็นต้องมี เพื่อเป็นการระงับทุกขเวทนา
อย่าฝืนทนโดยไม่รักษา จักเป็นการเพิ่มทุกข์ให้แก่จิตของตนเอง
การทำถูกหรือผิดในแต่ละเรื่องราว จักต้องรู้จักตรึกตรองใคร่ครวญตามความเป็นจริงเข้าไว้เสมอ
แล้วทำอะไรก็จักไม่เป็นการเบียดเบียนตนเองทางด้านร่างกายหรือจิตใจ


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 10:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คำพระสอน..

อ้างคำพูด:
ให้หมั่นถามจิตตนเอง ตายแล้วจักไปไหน ถ้าหากจิตตกอยู่ในสภาพนั้น
พยายามทำจิตให้เป็นสุขด้วยเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง
อย่าไปกังวลกับใคร แล้วทำทุกอย่างตามความเหมาะสม และทำเท่าที่สมควรจักทำ
อย่าทำงานด้วยความกังวลใจ ให้ทำไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องรีบร้อน
งานก็จักออกมาเป็นขั้นตอนให้เสร็จลุล่วงไปได้ตามลำดับ
ในเมื่อรู้ว่าจิตขาดสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ ยิ่งในขณะที่ร่างกายเพลีย เพราะพักผ่อนไม่พอ ก็ยิ่งควรจักแก้ไข และฝึกฝนจิตในขณะนั้นให้มาก

สำหรับจิตฟุ้งซ่าน ก็พึงเห็นเป็นของธรรมดา เพราะยังไม่ใช่พระอรหันต์
แต่ก็ควรเอาพระกรรมฐานแก้จริตหกมาใช้ ให้ตรงกับอารมณ์นี้
อย่าปล่อยให้ตัวฟุ้งซ่านนั้น ๆ ซึ่งมิใช่อารมณ์ธรรมดา ผ่านไปโดยไม่สนใจ ปล่อยไปโดยไม่แก้ไขจิต
และพึงอย่าคิดว่าจิตดีแล้วตราบใดที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์
เพราะถ้าหากคิดอย่างนั้น จักเป็นการสร้างความประมาทให้กับจิตของตนเอง



:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 11:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
อ้างคำพูด:
ซึ่งในกระบวนการทำให้จิตรู้แจ้งที่เรียกว่าปัญญา..นั้น..ผู้ที่มีประสบการณ์มาบ้าง..จะรู้ว่า..การอบรมจิตจะดีต้องพิจารณาด้วยจิตที่ไม่มีสิ่งอื่นมาขั้นกลางรบกวน...มีเวลาที่จิตว่างพอเพียง...ที่ว่ากันว่าจิตปราศจากนิวรณ์นั้นแหละ..จิตที่ปราศจากนิวรณ์นี้เขาเรียกว่า..สมาธิ

จิตจะปราศจากนิวรณ์ชั่วคราวได้ยาวนานเพียงพอที่จิตจะพิจารณาได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลได้..ก็ต้องฝึก......ศีลทำให้ลดพฤติกรรมการสะสมนิวรณ์ในชีวิตประจำวัน..จำกัดขอบเขตความฟุ่งซ่านไม่ให้เกินศีล...ไม่ทำลายสติสัมปชัญญะด้วยสิ่งมึนเมา...ศีลจึงทำให้จิตใจมีสมาธิได้ง่าย...นี้คือคุณของศีล

ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของการศึกษาปฏิบัติไตรสิกขา..คือ....ศีล...สมาธิ...ปัญญา...

cool
:b12:
เด่วนี้เลยทุกคนคือสาวกคิดเองโดยไม่ได้กำลังฟังไม่ได้เลยเข้าใจคำว่าคิดตามได้ไหมต้องตรงปัจจุบัน
เดี๋ยวนี้รู้จักตนเองว่าเป็นผู้ฟังอยู่ฟังอยู่คือคิดตรงคำที่กำลังไม่ใส่ความคิดที่ไม่ตรงคำรู้จักคำว่าปกติไหมคะ
ปกติคนนอนหลับน้อยหรือมากกว่าตื่นคะนอนกี่ชม.ตื่นจึงเกิดกิเลสค่ะและปัญญาเกิดเมื่อกำลังฟังตรงจริง
อ่านก็ได้แต่อ่านต้องมีปัญญาค่ะปกติตื่นลืมตามีกิเลสและปัญญาเริ่มเกิดเมื่อเริ่มฟังถึงจะคิดตามได้ค่ะ
ปกติที่ลืมตาเห็นคือเป็นจิตคิดนึกแล้วค่ะแปลว่ายึดถือจำสิ่งที่ปรากฏแล้วไม่ได้จำตามปกติว่ามีแต่สี1สี
ที่เห็นเป็นรูปร่างสิ่งต่างๆเกิดจากเงาสีหลากสีตัดกันจนเป็นรูปร่างคือสัณฐานสีที่มหาภูตรูปจำให้ชัดๆว่าเงาสี
แปลว่าจำอดีตสีเป็นตัวคนเป็นสิ่งของเป็นสัตว์เป็นวัตถุถ้าเป็นคนรู้จักจำทุกอย่างเลยชื่ออะไรรวยจนสำเนียง
คือจำผิดมีสัญญาวิปลาสเพราะมีทิฏฐิวิปลาสเลยทำให้จิตวิปลาสเดี๋ยวนี้เลยค่ะปกติจิตวิปลาสตามการสะสม
จะรู้ความจริงถูกตามได้ต้องเป็นสาวกคือพึ่งการคิดตามเสียงคำตถาคตตรงตามที่กำลังฟังเข้าใจที่กำลังมีคือ
เข้าใจเดี๋ยวนี้ว่ามีปกติวิปลาสจึงต้องเพียรฟังเพื่อเข้าใจถูกตามได้เพราะกำลังไม่รู้ว่าทั้ง6ทางกำลังเกิดดับค่ะ
และจิต+เจตสิก+รูปคือเดี๋ยวนี้กำลังเกิดดับทีละ1ทางต้องรู้ตรงสัจจะ1ทางของตนว่ากำลังสะสม1สัจจะอะไร
ไม่รู้ตรง1สัจจะที่ตนสะสมนั่นแหละเรียกว่าวิปลาศมีกิเลสแล้วทุกขณะที่เกิดดับศีลสมาธิปัญญาไม่มีแล้วค่ะ
ตอนที่มีภวังค์คั่นนั้นน่ะมันไม่ได้มีศีลสมาธิปัญญาต่อกันยาวๆค่ะมีช่องว่างคั่นทุกขณะแบบจุดค่ะ...........นี่ไง
ศีลคือเจตสิก
สมาธิคือเจตสิก
ปัญญาคือเจตสิก
เกิดได้ทีละ1ขณะจิตเป็นขณิกะทุกอย่างเลยไม่ใช่ศีลนับข้อเข้าใจไหมคะ
สำหรับคนที่ยังเป็นปุถุชนง่วงนอนก็มีกิเลสแต่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์หมดกิเลสคือไม่อยากรู้นิพพานไง
กำลังคิดถูกตามได้อยู่นี่แหละจึงเรียกว่าเริ่มเกิดปัญญาแล้วแต่ที่อยากไปทำเพื่อให้รู้จึงไม่รู้ไงคะฟังแล้วรู้ค่ะ
:b32: :b32:

:b1:
ย้ำชัดๆรู้ความจริงตรงที่กายใจตนมีตรงทีละ1คำวาจาสัจจะที่ตนกำลังมีตรงขณะก่อนดับคือปัญญาตนเอง
:b12:
อ้างคำพูด:
จะรู้ความจริงถูกตามได้ต้องเป็นสาวกคือพึ่งการคิดตามเสียงคำตถาคตตรงตามที่กำลังฟังเข้าใจที่กำลังมีคือ
เข้าใจเดี๋ยวนี้ว่ามีปกติวิปลาสจึงต้องเพียรฟังเพื่อเข้าใจถูกตามได้เพราะกำลังไม่รู้ว่าทั้ง6ทางกำลังเกิดดับค่ะ
และจิต+เจตสิก+รูปคือเดี๋ยวนี้กำลังเกิดดับทีละ1ทางต้องรู้ตรงสัจจะ1ทางของตนว่ากำลังสะสม1สัจจะอะไร
ไม่รู้ตรง1สัจจะที่ตนสะสมนั่นแหละเรียกว่าวิปลาศมีกิเลสแล้วทุกขณะที่เกิดดับศีลสมาธิปัญญาไม่มีแล้วค่ะ
ตอนที่มีภวังค์คั่นนั้นน่ะมันไม่ได้มีศีลสมาธิปัญญาต่อกันยาวๆค่ะมีช่องว่างคั่นทุกขณะแบบจุดค่ะ...........นี่ไง
ศีลคือเจตสิก
สมาธิคือเจตสิก
ปัญญาคือเจตสิก
เกิดได้ทีละ1ขณะจิตเป็นขณิกะทุกอย่างเลยไม่ใช่ศีลนับข้อเข้าใจไหมคะ
สำหรับคนที่ยังเป็นปุถุชนง่วงนอนก็มีกิเลสแต่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์หมดกิเลสคือไม่อยากรู้นิพพานไง
กำลังคิดถูกตามได้อยู่นี่แหละจึงเรียกว่าเริ่มเกิดปัญญาแล้วแต่ที่อยากไปทำเพื่อให้รู้จึงไม่รู้ไงคะฟังแล้วรู้ค่ะ

:b20:
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 12:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จะรู้ความจริงถูกตามได้ต้องเป็นสาวกคือพึ่งการคิดตามเสียงคำตถาคตตรงตามที่กำลังฟังเข้าใจที่กำลังมี


ถ้าคุณโรสยืนยันต้องฟังตามเสียงคำถตาคต...คุณโรสคงต้องเลิกฟังป้าสุจินต์..แล้วกระมัง?

ผมลองทดสอบดูก็หลายครั้งแล้ว...ผลคือ ต่อให้พระพุทธองค์ท่านตรัสอยู่ต่อหน้าคุณโรส..คุณโรสก็ยังไม่รู้ว่าเป็นคำตถาคตอยู่ดี..

นี้เป็นผลของอุปทานแท้ๆ...เลยจริงเชียว..

จะอย่างไรก็ตาม..คุณโรสก็มั่นรักษาสังวรศีลให้ดี...ระวังวาจาตนให้ดี...ทำบุญทำทาน..ขอขมาพระรัตนตรัยให้มาก..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อ้างคำพูด:
จะรู้ความจริงถูกตามได้ต้องเป็นสาวกคือพึ่งการคิดตามเสียงคำตถาคตตรงตามที่กำลังฟังเข้าใจที่กำลังมี


ถ้าคุณโรสยืนยันต้องฟังตามเสียงคำถตาคต...คุณโรสคงต้องเลิกฟังป้าสุจินต์..แล้วกระมัง?

ผมลองทดสอบดูก็หลายครั้งแล้ว...ผลคือ ต่อให้พระพุทธองค์ท่านตรัสอยู่ต่อหน้าคุณโรส..คุณโรสก็ยังไม่รู้ว่าเป็นคำตถาคตอยู่ดี..

นี้เป็นผลของอุปทานแท้ๆ...เลยจริงเชียว..

จะอย่างไรก็ตาม..คุณโรสก็มั่นรักษาสังวรศีลให้ดี...ระวังวาจาตนให้ดี...ทำบุญทำทาน..ขอขมาพระรัตนตรัยให้มาก..

Kiss
:b1:
เคารพคำสอนทำยังไงหรือคะ
คำสอนบันทึกเป็นตัวอักษรถูกไหมคะ
กราบตำราหรือคะหรือว่าฟังเข้าใจจนเข้าใจตรงๆ
รู้ความจริงถูกตรงตามได้ถึงจะสะสมสติปัญญาของตนได้
และรู้จักตถาคตตรงเท่าที่ตนตรงจริงเท่านั้นถึงจะรู้คุณของตถาคตค่ะ
ตถาคตตรัสทุกคำไม่ได้ต้องการดอกไม้ธูปเทียนจากใครแต่ทรงต้องการให้ฟังว่าความจริงคืออะไร
:b12:
:b29:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 18:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นคุณโรส..เฝ้าแต่พูดว่า...ฟังคำตถาคต..ฟังคำตถาคต
ก็ไม่เห็นมีใครบอกว่า..ไม่อยากให้ฟังคำตถาคต..เลยนี้ครับ?...มีมั้ยละครับ

แต่ปัญหาคือ..คุณโรสไม่รู้ว่าคำไหนเป็นคำตถาคต..นี้ซิ..
เพราะถ้าคุณโรสรู้..และยืนยันที่จะฟังคำตถาคต..คุณโรสก็ต้องเลิกฟังป้าจินต์..ไปตั้งนานแล้ว
จริงมั้ย?

ผมถึงว่า..ต่อให้พระพุทธองค์ยืนอยู่ต่อหน้า..แล้วตรัส..คุณโรสก็ไม่รู้อยู่ดีว่า..นี้ตถาคต..นี้เป็นคำตถาคต

มาดูตัวอย่าง..อุปกิเลสของผู้มีตบะ...ซะหน่อย..ดูว่าจะเข้าข่ายนี้มั้ย..

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=4441
อ้างคำพูด:

ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะเป็นผู้มีความ
ลบหลู่ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด มีมารยา กระด้าง ถือตัวจัด เป็นผู้มี
ความปรารถนาลามก ไปสู่อำนาจแห่งความปรารถนาอันลามก เป็นมิจฉาทิฐิ
ประกอบด้วยทิฐิอันดิ่งถึงที่สุด เป็นผู้ลูบคลำทิฐิเอง เป็นผู้ถือมั่น สละคืนได้ยาก
แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ ฯ

ดูกรนิโครธะ ท่านจะพึงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การหน่ายบาปด้วย
ตบะเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสหรือไม่เป็นอุปกิเลส ฯ
นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การหน่ายบาปด้วยตบะ
เหล่านี้ เป็นอุปกิเลสแน่แท้ ไม่เป็นอุปกิเลสหามิได้ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้ พึงเป็น
ผู้ประกอบด้วยอุปกิเลสเหล่านี้มีครบทุกอย่าง ข้อนี้แล เป็นฐานะที่จะมีได้ จะป่วย
กล่าวไปไยถึงอุปกิเลสเพียงบางข้อๆ ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 215 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร