วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 09:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 228 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 16  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 11:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
amazing เขียน:
[แค่เรียนในสิ่งที่แต่งใหม่กผิดแล้ว เลี้ยวกลับยังทันนะครับ ถามีเวลาลองศึกษาที่นี้ดูhttp://watnapp.com/

คุณอเมซิ่งครับ วันไหนคุณไปวัดที่คุณแนะนำ ผมรบกวนคุณช่วยถามอาจารย์ของคุณ
ถามว่า "ถ้าไม่เอาอรรถกถา ไม่เอาครูบาอาจารย์รุ่นหลัง ถามครับว่า
ท่านไปเรียนแปลบาลีมาจากใคร
แล้วทำไมไม่สอนเป็นบาลีไปเลย สอนด้วยภาษาไทยทำไม
แล้วท่านแสดงความเห็นในคำสอน ความเห็นของท่านเป็นพุทธวจนหรือครับ :b13:
ไม่เอาสิ่งที่แต่งใหม่ท่านเข้าใจคำว่าแต่งใหม่หรือเปล่า เพราะพระองค์ห้ามแต่งใหม่ตัดต่อ ในคำภีรย์รุ่นใหม่มีสิ่งแต่งใหม่เจือปนอยู่มาก และผู้ที่กล้าทำในสิ่งที่พระองค์สั่งไว่ท่านว่าผู้นั้นหยั่งลงมั่นในตถาคตหรือยัง สาวกเป็นเพียงผู้ทำตามคำสอนเท่านั้น


แก้ไขล่าสุดโดย amazing เมื่อ 18 ก.ค. 2013, 11:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 11:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
amazing เขียน:
แค่เรียนในสิ่งที่แต่งใหม่กผิดแล้ว เลี้ยวกลับยังทันนะครับ ถามีเวลาลองศึกษาที่นี้ดูhttp://watnapp.com/





ช่างมีความพยายามสูง เหมือนกันหมด พิมพ์นิยมจริงๆ :b32:

เห็นประกาศปาวๆไม่ใช่เหรอว่า บรรลุธรรม

เมื่อบรรลุธรรม ไหงสักกายะทิฏฐิ จึงเต็มเปี่ยม

ไปศึกษาเรื่อง ทิฏฐิบ้าง ก็ดีนะ จะได้รู้ว่า คำว่า ถูก-ผิด ดี-ชั่ว กุศล-อกุศล บาป-บุญ คุณ-โทษ คือ มีลักษณะเกิดเป็นคู่ๆ แบบนี้ มาจากไหน อะไรเป็นเหตุปัจจัย

http://www.navy.mi.th/newwww/code/speci ... dham2.htm#ท๑๐


ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่ง ก็ศึกษาเรื่อง อุปทานนะ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 151&Z=2295


ถ้ายังต้องการรายละเอียดอีก ก็ศึกษาเรื่อง สักกายะทิฏฐิเพิ่ม

ความยึดมั่นถือมั่น ในตัวตน ของเขา ของเรา เพราะ เหตุนี้ เมื่อ ผัสสะเกิด จึงชอบพูดว่า นั่นถูก นี่ผิด นั่นดี นี่ชั่วฯลฯ เหตุจาก ทิฏฐิกิเลสหรือสักกายะทิฏฐิสังโยชน์(ความยึดมั่นในตัวตน ของตน) ที่มีอยู่

ซึ่งทั้งนี้ ทั้งนั้น ล้วนเกิดจาก เหตุของอวิชชา ที่มีอยู่ เมื่อผัสสะเกิด เอาความมีตัวตน ที่เกิดจากอุปทานที่มีอยู่ เข้าไปตัดสินในสิ่งที่เกิดขึ้นหรือผัสสะนั้นๆ

แทนที่จะ มีสติรู้อยู่ในกายและจิต แล้วผัสสะ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นั้น ย่อมเกิดขึ้นและดับลง ตามเหตุปัจจัยเอง หากไม่ไปสานต่อ

นี่กลับไม่ยอมหยุด ยังก้าวล่วงออกมาทางวจีกรรม กายกรรม เหตุจาก กิเลส(โมหะ)บดบังสภาวะ ตามความเป็นจริง

แทนที่จะเห็นการเกิด-ดับ ของผัสสะที่กำลังเกิดขึ้น กลับกลายเป็น หลงสร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้น โดยการกล่าวว่า สิ่งนั้นถูก สิ่งนี้ผิด

ทั้งๆที่ ทุกสรรพสิ่ง ล้วนเกิดขึ้นเอง และดับลงเอง ตามเหตุปัจจัย

เหตุจาก อวิชชา ที่มีอยู่ ไม่หยั่งรู้ในเงื่อนต้น ไม่หยั่งรู้ในเงื่อนปลาย ไม่หยั่งรู้ทั้งในเงื่อนต้นทั้งในเงื่อนปลาย และไม่หยั่งรู้ในธรรมะที่อาศัยกันบังเกิดขึ้น

จึงเป็นเหตุให้ ไม่รู้ชัดในผัสสะหรือสิ่งที่เกิดขึ้นว่า ทำไม ในแต่ละผัสสะ จึงทำให้เกิด ความรู้สึกนึกคิดในแต่ละครั้ง ไม่เหมือนกัน

เมื่อไม่รู้ จึงมีแต่หลงสร้างเหตุของการเกิด ตามอุปทาน ยึดมั่นถือมั่น ความมีตัวตนที่มีอยู่ อุปมาอุปมัย เมื่อเขาด่าฉัน ฉันไม่ผิด ต้องด่ากลับไป

เพราะความยึดมั่นถือมั่นในตัวกู ของกู เมื่อคิดว่า ตนเองไม่ผิด ตนเองย่อมไม่ยอม

แล้วเคยรู้ไหม สิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะๆนั้น อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด นั่นแหละคือ เหตุของอวิชชาที่มีอยู่

เมื่อไม่รู้ จึงหลงสร้างเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน ให้เกิดขึ้นใหม่

เมื่อยังไม่รู้อีก หลงสร้างต่อไปเรื่อยๆ การเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสาร จึงยืนยาวเพราะเหตุนี้ ตามเหตุปัจจัยของตน ที่เคยกระทำไว้


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ณ วันหนึ่ง เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม ทำให้อวิชชา ถูกทำลายลง ณ วันนั้น ภพชาติของการเกิด ย่อมสั้นลงอย่างแน่นอน

จงดูพระเทวทัติ เป็นตัวอย่าง จากผู้มีความเห็นผิด สุดท้าย เป็นผู้มีความเห็นถูก แต่จบชีวิตลงเสียก่อน

ฉะนั้น จึงบอกว่า ใครจะคิดว่า บรรลุหรือรู้อะไร เห็นอะไรก็ตาม คิดไปเถอะ ถ้าคิดแล้ว มีความสุข

เพราะอะไร เพราะทุกคน มีเป้าหมาย ในการปฏิบัติเหมือนๆกัน คือ ไปให้ถึง ที่สุดแห่งทุกข์
ผู้ที่ยังกล้าที่จะบรรยายสิ่งที่ผิดจากที่พระพุทธองค์แสดง ที่เป็นการแต่งขึ้นมาจากสาวกรุ่นหลังที่ผิดจากความจริง จะเรียกว่าผู้ที่หยั่งลงมั่นต่อตถาคตได้อย่างไร คำพูดที่ดูเหมือนจะเข้าใจธรรมะเหล่านั้นเลิกเถอะความรู้พื้นฐานที่จะทำให้เดินถูกทางยังไม่ได้เลย ตถาคเต เอกนฺตคโต อภิปฺปสนฺโน ลองพิจารณาดูดีๆ ผู้ไม่รู้ไม่เป็นไร แต่ผู้ที่รู้แล้วนี่ซิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้หลง ย่อมไม่รู้วิธีกระทำ มีแต่กล่าวตู่ตามทิฏฐิของตน

การปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม

ภิกษุ ท. ! ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด (นิสฺสารณิยธาตุ) ๕
อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่างอย่างไรเล่า ?
ห้าอย่างคือ :-

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งกามทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในกามทั้งหลาย ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งเนกขัมมะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในเนกขัมมะ.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดีปราศจาก กามทั้งหลายด้วยดี ;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลายอันทำ ความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะกามเป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งกามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งพ๎ยาบาท,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในพ๎ยาบาท;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอัพ๎ยาบาท,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอัพ๎ยาบาท.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากพ๎ยาบาทด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะพ๎ยาบาทเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งพ๎ยาบาท.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งวิหิงสา,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในวิหิงสา ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอวิหิงสา,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอวิหิงสา,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจาก วิหิงสาด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งวิหิงสา.
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในรูปทั้งหลาย ;

แต่เมื่อ ภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอรูป,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอรูป.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากรูปทั้งหลายด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะรูปทั้งหลายเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งรูปทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ
เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งสักกายะ (ความยึดถือว่าตัวตน),
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งความดับแห่งสักกายะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในความดับแห่งสักกายะ,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากสักกายะด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะสักกายะ เป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่ง สักกายะ.

นันทิ (ความเพลิน) ในกาม ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในพ๎ยาบาท ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในวิหิงสา ก็ไม่นอนตาม (ในจิต)ของเธอ ;
นันทิในรูป ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ ;
นันทิในสักกายะ ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ.

เธอนั้น เมื่อกามนันทิก็ไม่นอนตาม พ๎ยาปาท นันทิก็ไม่นอนตาม วิหิงสานันทิก็ไม่นอนตาม รูปนันทิก็ไม่นอนตาม สักกายนันทิก็ไม่นอนตาม ดังนี้แล้ว ;

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวภิกษุนี้ว่า ปราศจากอาลัยตัดตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำที่สุด แห่งกองทุกข์ได้แล้ว เพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด ๕ อย่าง.
- ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๗๒/๒๐๐.


หมายเหตุ:

เมื่อไม่รู้วิธีการ จึงหลงสร้างเหตุต่อไป

ธรรมเหล่านี้ จึงไม่ปรากฏ



ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม.

ธรรมนั้นคือข้อที่ภิกษุ เป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูป,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในเวทนา,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสัญญา,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสังขาร,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในวิญญาณ;

ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ;

เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป เวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว,
ย่อมหลุดพ้นจากรูปจากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

ย่อมพ้นได้จาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๐/๘๓.

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
คือข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในรูปอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในเวทนาอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในสัญญาอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในวิญญาณอยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้นเมื่อตามเห็นความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.
เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,
ย่อมพ้นได้จากความเกิดความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก
ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๔.

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ
ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป อยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,

เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสัญญา อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสังขารอยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๕.

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ
ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป อยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสัญญา อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสังขารอยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นทุกข์ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๕.

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ
ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในรูป อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในสัญญา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตาในสังขาร อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นอนัตตา ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,

ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนาจากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,
ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก
ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ;

เราตถาคต กล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.



คิดว่า แค่นี้ คงพอสมควรแก่การสนทนากับคนบางคน

จะว่า จะกล่าวอะไร ตามทิฏฐิของตนอีก แล้วแต่เหตุปัจจัย เหตุของใคร ก็ของคนนั้น


เมื่อยังมีเหตุปัจจัยต่อกันอยู่ อีกฝ่ายกระทำต่อ

แต่ผู้ที่ถูกกระทำนั้น ไม่สานต่อ ปล่อยให้ทุกอย่าง ดำเนินไปตามเหตุปัจจัย

เมื่อไม่สานต่อ ตบมือข้างเดียวย่อมไม่ดัง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 12:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ผู้หลง ย่อมไม่รู้วิธีกระทำ มีแต่กล่าวตู่ตามทิฏฐิของตน

การปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม

ภิกษุ ท. ! ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด (นิสฺสารณิยธาตุ) ๕
อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่างอย่างไรเล่า ?
ห้าอย่างคือ :-

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งกามทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในกามทั้งหลาย ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งเนกขัมมะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในเนกขัมมะ.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดีปราศจาก กามทั้งหลายด้วยดี ;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลายอันทำ ความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะกามเป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งกามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งพ๎ยาบาท,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในพ๎ยาบาท;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอัพ๎ยาบาท,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอัพ๎ยาบาท.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากพ๎ยาบาทด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะพ๎ยาบาทเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งพ๎ยาบาท.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งวิหิงสา,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในวิหิงสา ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอวิหิงสา,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอวิหิงสา,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจาก วิหิงสาด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งวิหิงสา.
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในรูปทั้งหลาย ;

แต่เมื่อ ภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอรูป,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอรูป.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากรูปทั้งหลายด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะรูปทั้งหลายเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งรูปทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ
เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งสักกายะ (ความยึดถือว่าตัวตน),
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งความดับแห่งสักกายะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในความดับแห่งสักกายะ,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากสักกายะด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะสักกายะ เป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่ง สักกายะ.

นันทิ (ความเพลิน) ในกาม ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในพ๎ยาบาท ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในวิหิงสา ก็ไม่นอนตาม (ในจิต)ของเธอ ;
นันทิในรูป ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ ;
นันทิในสักกายะ ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ.

เธอนั้น เมื่อกามนันทิก็ไม่นอนตาม พ๎ยาปาท นันทิก็ไม่นอนตาม วิหิงสานันทิก็ไม่นอนตาม รูปนันทิก็ไม่นอนตาม สักกายนันทิก็ไม่นอนตาม ดังนี้แล้ว ;

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวภิกษุนี้ว่า ปราศจากอาลัยตัดตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำที่สุด แห่งกองทุกข์ได้แล้ว เพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด ๕ อย่าง.
- ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๗๒/๒๐๐.


หมายเหตุ:

เมื่อไม่รู้วิธีการ จึงหลงสร้างเหตุต่อไป

ธรรมเหล่านี้ จึงไม่ปรากฏ



ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม.

ธรรมนั้นคือข้อที่ภิกษุ เป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูป,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในเวทนา,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสัญญา,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในสังขาร,
เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในวิญญาณ;

ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มากอยู่ด้วย ความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ;

เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป เวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว,
ย่อมหลุดพ้นจากรูปจากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

ย่อมพ้นได้จาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๐/๘๓.

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
คือข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในรูปอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในเวทนาอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในสัญญาอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในสังขารอยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในวิญญาณอยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้นเมื่อตามเห็นความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.
เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,
ย่อมพ้นได้จากความเกิดความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก
ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๔.

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ
ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป อยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,

เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสัญญา อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสังขารอยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๕.

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ
ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป อยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสัญญา อยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสังขารอยู่เป็นประจำ, เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นทุกข์ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,

ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ;

เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๑/๘๕.

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือ
ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในรูป อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในเวทนา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในสัญญา อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตาในสังขาร อยู่เป็นประจำ,
เป็นผู้ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ;

ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นอนัตตา ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ,
ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,
เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ,

ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนาจากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ,
ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก
ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ;

เราตถาคต กล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.



คิดว่า แค่นี้ คงพอสมควรแก่การสนทนากับคนบางคน

จะว่า จะกล่าวอะไร ตามทิฏฐิของตนอีก แล้วแต่เหตุปัจจัย เหตุของใคร ก็ของคนนั้น


เมื่อยังมีเหตุปัจจัยต่อกันอยู่ อีกฝ่ายกระทำต่อ

แต่ผู้ที่ถูกกระทำนั้น ไม่สานต่อ ปล่อยให้ทุกอย่าง ดำเนินไปตามเหตุปัจจัย

เมื่อไม่สานต่อ ตบมือข้างเดียวย่อมไม่ดัง
อาจารย์ผู้สอนยังเอาตำราที่แต่งใหม่ผิดมาสอนอยู่เลย ใครจะเชื่อถือ เปรียนเหมือนท่านมิสุโอะ สอนธรรมะใครจะเชื่อ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 12:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


โทษของการแต่งใหม่
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแลว : กลองศึกของกษัตริยพวกทสารหะ เรียกวา
อานกะ มีอยู. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ, พวกกษัตริยทสารหะไดหาเนื้อไมอื่น
ทําเปนลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป). ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเขา
หลายครั้งหลายคราวเชนนั้นนานเขาก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไมเดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป
เหลืออยูแตเนื้อไมที่ทําเสริมเขาใหมเทานั้น;
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย,
สุตตันตะเหลาใด ที่เปนคําของตถาคต เปนขอความลึก มีความหมายซึ้ง เปนชั้นโลกุตตระ
วาเฉพาะดวยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผูนําสุตตันตะเหลานั้นมากลาวอยู; เธอจักไมฟงดวยดี
จักไมเงี่ยหูฟง จักไมตั้งจิตเพื่อจะรูทั่วถึง และจักไมสําคัญวาเปนสิ่งที่ตนควรศึกษาเลาเรียน.
สวนสุตตันตะเหลาใด ที่นักกวีแตงขึ้นใหม เปนคํารอยกรองประเภทกาพยกลอน มีอักษร
สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เปนเรื่องนอกแนว เปนคํากลาวของสาวก, เมื่อมีผูนํา
สุตตันตะที่นักกวีแตงขึ้นใหมเหลานั้นมากลาวอยู; เธอจักฟงดวยดี จักเงี่ยหูฟง จักตั้งจิต
เพื่อจะรูทั่วถึง และจักสําคัญวาเปนสิ่งที่ตนควรศึกษาเลาเรียนไป.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหลานั้น ที่เปนคําของตถาคต เปน
ขอความลึก มีความหมายซึ้ง เปนชั้นโลกุตตระ วาเฉพาะดวยเรื่องสุญญตา จักมีไดดวย
อาการอยางนี้ แล.
นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 14:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เรา...สาวกภูมิ......ต้องมีคนบอก..ชี้แนะ...เรียกว่า...คนแนะแนวการก้าว...

.อ่านเอง.....ทำเอง.....หากไม่ใช่พุทธภูมิเดิมแล้วละก้อ....บอกได้อย่างเดียวเลยว่า....

หลงทาง..100%

มันเป็นธรรมชาติของสาวกที่บำเพ็ญเพียรในช่วงปรมัตถ์บารมีที่สั้นเว่า..พุทธะแบบอื่น ๆ...

แล้วคนที่จะบอกจะแนะนำเรา..แล้วเราก็เชื่อศรัทธาได้นี้....ต้องเป็นผู้มีบุญบารมีทำมาด้วยกัน

หาไม่แล้ว....ต่อให้เขาเอาธรรมจริงมาบอก...ฟังหูซ้ายมันก็ทะลุหูขวา....อยู่ดี

พวกเราแต่ละคน...มีกัลยาณมิตรที่ทำบุญมาด้วยเฉพาะตนอยู่แล้ว...
ปัญหาคือ...ผู้ที่จะเป็นกัลยาณมิตรของตนนั้น..เข้าถึงกัลยาณธรรมแล้วรึยัง...หากท่านยัง....เราทำยังงัยก็ตันอั้นตู๋...อยู่นั้นแหละ..

อย่าได้ไปปรามาสใครเลย..ว่า...ไม่ศึกษาคำพระพุทธเจ้า...ผู้จะพ้นทุกข์ได้...ต้องศึกษาอยู่แล้ว...จะมากจะน้อย...ก็เรียกว่าศึกษา.....เพียงคำเดียว..ก็เรียกว่าศึกษา....

อย่าได้ไปปรามาสใครเลย..ว่า....เอาแต่คำสอนที่แต่งขึ้นใหม่....แม้สมมุติบัญญัติจะต่างกัน..แต่มีปรมัตถ์ธรรมอันเดียวกัน...สมมุตินั้นก็เป็นธรรมะได้.......

หากเข้าใจแล้ว...จะมาท่าไหนก็เข้าใจ...จอมยุทธ..สูงสุดก็ไร้ท่า

หากไม่เข้าใจ...พูดคำของพระพุทธเจ้าได้...แต่ก็ไม่เข้าใจอยู่ดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 14:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เรา...สาวกภูมิ......ต้องมีคนบอก..ชี้แนะ...เรียกว่า...คนแนะแนวการก้าว...

.อ่านเอง.....ทำเอง.....หากไม่ใช่พุทธภูมิเดิมแล้วละก้อ....บอกได้อย่างเดียวเลยว่า....

หลงทาง..100%

มันเป็นธรรมชาติของสาวกที่บำเพ็ญเพียรในช่วงปรมัตถ์บารมีที่สั้นเว่า..พุทธะแบบอื่น ๆ...

แล้วคนที่จะบอกจะแนะนำเรา..แล้วเราก็เชื่อศรัทธาได้นี้....ต้องเป็นผู้มีบุญบารมีทำมาด้วยกัน

หาไม่แล้ว....ต่อให้เขาเอาธรรมจริงมาบอก...ฟังหูซ้ายมันก็ทะลุหูขวา....อยู่ดี

พวกเราแต่ละคน...มีกัลยาณมิตรที่ทำบุญมาด้วยเฉพาะตนอยู่แล้ว...
ปัญหาคือ...ผู้ที่จะเป็นกัลยาณมิตรของตนนั้น..เข้าถึงกัลยาณธรรมแล้วรึยัง...หากท่านยัง....เราทำยังงัยก็ตันอั้นตู๋...อยู่นั้นแหละ..

อย่าได้ไปปรามาสใครเลย..ว่า...ไม่ศึกษาคำพระพุทธเจ้า...ผู้จะพ้นทุกข์ได้...ต้องศึกษาอยู่แล้ว...จะมากจะน้อย...ก็เรียกว่าศึกษา.....เพียงคำเดียว..ก็เรียกว่าศึกษา....

อย่าได้ไปปรามาสใครเลย..ว่า....เอาแต่คำสอนที่แต่งขึ้นใหม่....แม้สมมุติบัญญัติจะต่างกัน..แต่มีปรมัตถ์ธรรมอันเดียวกัน...สมมุตินั้นก็เป็นธรรมะได้.......

หากเข้าใจแล้ว...จะมาท่าไหนก็เข้าใจ...จอมยุทธ..สูงสุดก็ไร้ท่า

หากไม่เข้าใจ...พูดคำของพระพุทธเจ้าได้...แต่ก็ไม่เข้าใจอยู่ดี
หวานเป็นลม ขมเป็นยา อย่าสนใจเรื่องราวการบอกกล่าวว่ามาทำนองไหน ผู้ที่หยั่งลงมั่นนั้นเมื่อรู้แล้วย่อมเข้าหาตถาคต มิใช่เข้าหาผู้บอกกล่าว อย่างเช่นตำราที่แต่งใหม่บอกมี31ภูมิ แต่พุทธวจนนั้นมีภพภูมิมากกว่ามากมาย เพียงยอมรับว่าสิ่งที่เราเชื่ออยู่ไม่จริง แล้วจะรู้ว่าสิ่งแต่งใหม่นั้นมีสิ่งผิดเราก็ทิ้งไปเลย และเชื่อมั่นต่อพุทธวจนเท่านั้้น ก็ได้เป็นชื่อว่าเป็นพุทธบริษัทชั้นเลิศ ที่ศึกษาแต่คำตถาคต ตัวบุคลอย่างผมหรืออาจารย์ใดก็ไม่ต้องสนใจเพราะทุกคนล้วนยังมีอวิชา แต่ขอให้ยึดพุทธวจนเป็นหลักนี่คือหนทางที่จะก้าวสู่การหยั่งลงมั่นต่อตถาคต ถาท่านกล้าที่จะปล่อยวางสิ่งเก่าแล้วจะรู้ว่าการหลุดพ้นนั้นกระทำได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 15:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ได้ยิน...ได้ฟังมา....เรื่องใดใด..ก็แค่จำ..ก็แค่สัญญา...ก็สักแต่ว่าจำได้..ใว้ก่อน...เพียงเท่านี้..เรื่องนั้น ๆ ก็ไม่มีโทษกับเราแม้เราจะจำใว้...ก็ตาม....แล้วทำความรู้สึกใว้ว่า...เห็นเองเมื่อไร....ก็เมื่อนั้น

หากรู้แล้ว...จำใว้แล้ว....เป็นสัญญา....แม้จะเป็นคำธรรมะของจริงนั้นแหละ...แต่เรายึดมั่นมันมากไป....การจะเปลี่ยนสัญญาให้มาเป็นปัญญาของตนนั้น...กลับจะมีปัญหา

จำอะไรใว้...ก็ขอให้จำใว้แต่เพียงกลาง ๆ..ที่ว่า..สักแต่ว่า..นั้นแหละครับ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


นอนอยู่ในโลงที่ศาลา ตอนหัวค่ำพระก็สวดพระอภิธรรมงานศพอยู่ดี
สาวกภาษิตสอนก็บรรลุธรรมได้ อย่าไปคิดมาก พระอรรถกถาจารย์ที่แต่งปกรณ์ให้เรียน
ท่านก็เห็นสภาวธรรมมาแล้วไม่งั้นท่านอธิบายไม่ได้หรอก

จะเอาแค่พุทธพจน์นั้นก็ไม่ผิด แต่อย่าไปตัดอะไรทิ้งโดยขาดความเข้าใจที่ถ่องแท้

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 17:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
นอนอยู่ในโลงที่ศาลา ตอนหัวค่ำพระก็สวดพระอภิธรรมงานศพอยู่ดี
สาวกภาษิตสอนก็บรรลุธรรมได้ อย่าไปคิดมาก พระอรรถกถาจารย์ที่แต่งปกรณ์ให้เรียน
ท่านก็เห็นสภาวธรรมมาแล้วไม่งั้นท่านอธิบายไม่ได้หรอก

จะเอาแค่พุทธพจน์นั้นก็ไม่ผิด แต่อย่าไปตัดอะไรทิ้งโดยขาดความเข้าใจที่ถ่องแท้
ท่านลองพิจารณาตรงนี้ดีๆว่าการแต่งใหม่มันเป็นอย่างไร การแต่งใหม่มีแต่จะทำความอันตรธานให้พระสัทธรรมจางหาย
ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแลว : กลองศึกของกษัตริยพวกทสารหะ เรียกวา
อานกะ มีอยู. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ, พวกกษัตริยทสารหะไดหาเนื้อไมอื่น
ทําเปนลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป). ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเขา
หลายครั้งหลายคราวเชนนั้นนานเขาก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไมเดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป
เหลืออยูแตเนื้อไมที่ทําเสริมเขาใหมเทานั้น;
ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย,
สุตตันตะเหลาใด ที่เปนคําของตถาคต เปนขอความลึก มีความหมายซึ้ง เปนชั้นโลกุตตระ
วาเฉพาะดวยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผูนําสุตตันตะเหลานั้นมากลาวอยู; เธอจักไมฟงดวยดี
จักไมเงี่ยหูฟง จักไมตั้งจิตเพื่อจะรูทั่วถึง และจักไมสําคัญวาเปนสิ่งที่ตนควรศึกษาเลาเรียน.
สวนสุตตันตะเหลาใด ที่นักกวีแตงขึ้นใหม เปนคํารอยกรองประเภทกาพยกลอน มีอักษร
สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เปนเรื่องนอกแนว เปนคํากลาวของสาวก, เมื่อมีผูนํา
สุตตันตะที่นักกวีแตงขึ้นใหมเหลานั้นมากลาวอยู; เธอจักฟงดวยดี จักเงี่ยหูฟง จักตั้งจิต
เพื่อจะรูทั่วถึง และจักสําคัญวาเปนสิ่งที่ตนควรศึกษาเลาเรียนไป.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหลานั้น ที่เปนคําของตถาคต เปน
ขอความลึก มีความหมายซึ้ง เปนชั้นโลกุตตระ วาเฉพาะดวยเรื่องสุญญตา จักมีไดดวย
อาการอยางนี้ แล.
นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓


แก้ไขล่าสุดโดย amazing เมื่อ 18 ก.ค. 2013, 18:02, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 17:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


คำของพระพุทธองค์เท่านั้นถึงจะมีอนุศาสนปาฎิหารย์ คำที่ดูดีคล้ายคำพระพุทธองค์นั้นมีการคลาดเคลื่อนไม่สามารถจะนำพาให้สู่วิถีความจริงได้ เพียงอาจจะจดจำนำมากล่าวเพื่อดูดีถูกต้องตามตำรา แต่ไม่สามมารถกำจัดไฟในทรวงได้เลย และอานาปานสตินั้นแหล่ะที่พระองค์ได้ย่อเรื่องราวทั้งหมดให้เล็กลงแคบลงเพื่อสู่ความสำเร็จได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 19:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ใครอ่านธรรมบทไหนแล้ว...เบื่อหน่าย..คลายกำหนัด...สงบ...สว่าง...โปร่ง..โล่ง...เบาสบาย...ก็โมทนาสาธุ..ด้วย
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 20:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ใครอ่านธรรมบทไหนแล้ว...เบื่อหน่าย..คลายกำหนัด...สงบ...สว่าง...โปร่ง..โล่ง...เบาสบาย...ก็โมทนาสาธุ..ด้วย
:b8: :b8: :b8:
ธรรมะของพระองค์ทุกบทต้องสร้างความบันเทิงใจทุกบทไม่สร้างความมึนงงเพราะเป็นอนุศาสนีปาฎิหารย์ครับ พุทธวจนเท่านั้นที่จะคลายความทุกข์ได้จริง ขอเพียงหยั่งลงมั่นในตถาคต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 21:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไม...จึงคลายทุกข์ได้?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2013, 21:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ทำไม...จึงคลายทุกข์ได้?
เพราะพระองค์เกิดมาเพื่อกำจัดสิ่งนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 228 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 16  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร