วันเวลาปัจจุบัน 03 พ.ค. 2025, 15:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2012, 13:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
walaiporn เขียน:
eragon_joe เขียน:
walaiporn เขียน:
หุหุ คิดว่าอะไร จิตวิเวก

ผู้ไม่ประกอบด้วยกาล ไม่มีเวลากลางวันและกลางคืน เพราะ จิตเป็นสมาธิเนืองๆ จึงไม่มีทั้งกลางวันและกลางคืน


:b32: อ่านแล้วเข้าถึงง่ายมั๊ยล่ะ ...

:b13:



ตลกอ่ะ นั่นแหละ สิ่งที่วลัยพรเป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็เขียนตามลักษณะอาการที่เกิดขึ้น เพียงแต่ไม่รู้ว่า มันมีคำเรียก

เลยไปหาในกูเกิ้ล แบบที่คุณบอก ไปเจอที่หลวงพ่อชาพูด ก็เอาสิ่งที่ท่านพูดมาแบบท้ายไว้อีกที ที่เข้าไปแก้ไขข้อความ


คุณน่ะแหละ ไม่เข้าใจ ไม่แปลกหรอก นั่นแหละคุณ


แค่คิดว่า วิเวก ก็ไม่ วิเวก แร๊ว :b32: :b32:




คุณนี่ มันเป็นบุคคลิกเฉพาะตัวคุณเลยนะ ลักษณะอาการที่แสดงออกมา ถึงแม้จะเป็นทางตัวหนังสือก็ตาม

คุณเป็นคนถามมา แต่วลัยพรไม่รู้จักคำเรียก ก็ไปหามา ก็เลยรู้ว่า สิ่งที่เป็นอยู่ มันมีคำเรียก รู้แค่นั้น เพราะมันก็แค่คำเรียก การกระทำ สำคัญกว่า

รู้แค่คำเรียก แต่ทำไม่ได้ มันก็แค่นั้นเอง


ส่วนที่คุณบอกว่า แค่คิดว่า วิเวก ก็ไม่วิเวกแล้ว อันนี้ มันก็เป็นเรื่องปกติของคุณ เพราะคุณคิดเอาเอง วลัยพรไม่ได้เป็นคนคิด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2012, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ที่คุณเล่ามา ประสบการณ์ของคุณ

มีแต่ แสดงจิตที่มีพฤติกรรม ตลอด...
พฤติกรรมของมัน ที่แสดงไปต่าง ๆ นานา ไม่เคยหยุด...

และคุณก็ตามรู้พฤติกรรมต่าง ๆ นานานั้น ตามที่มันเป็นไป
มันเป็นอาการที่เข้าไปตั้งอยู่ในสมาธิบ้าง หลุดออกจากสมาธิบ้าง
อุเบกขาบ้าง นั่นบ้าง โนน่บ้าง นี่บ้าง

คุณจะรู้จักสภาวะอะไรอื่นนอกจากสภาวะอาการเหล่านี้

:b48: :b48: :b48:




เพราะคุณรู้แค่ในแบบของคุณ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวคุณเองหรือที่เคยได้อ่าน ได้ฟังมา

วันใด คุณมีสภาวะ สัมมาสมาธิเกิด นั่นแหละ คุณถึงจะเข้าใจในสภาวะต่างๆเหล่านี้ ที่คุณนำมาพูดว่านั่น ว่านี่น่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2012, 13:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วิเวก ๓

วิเวก หมายถึง ความสงบสงัด ที่ได้รับจากการปลีกตัวออกไปจากสิ่งที่เข้ามารบกวนจิตใจให้วุ่นวายได้ อันได้แก่ อารมณ์ที่น่ารักน่าชอบใจทั้งหลายนั่นเอง

วิเวกมีความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติทางจิตมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ปฏิบัติใหม่ๆ ผู้ปฏิบัติจะต้องปลีกตัวออกจากสิ่งที่เข้ามารบกวนจิตใจให้มากที่สุดเสียก่อน จึงจะปฏิบัติได้ก้าวหน้า และสามารถนำจิตของตนให้หลุดพ้น จากการปรุงแต่งของอารมณ์ทั้งหลายได้ในที่สุด

วิเวก มีอยู่ ๓ ประการ คือ กายวิเวก จิตวิเวก และอุปธิวิเวก

๑.กายวิเวก คือ เพิกอารมณ์ที่จะเข้ามารบกวนทางร่างกาย ได้แก่ ทางตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส รวม ๕ ทาง เป็นขั้นแรก

๒.จิตวิเวก คือ เพิกเรื่องที่นึกคิดออกไป ด้วยการยกจิตออกจากเรื่องที่นึกคิดนี้ไปตั้งไว้ที่ฐานที่ตั้งสติ ที่ได้อุปโลกน์ไว้อย่างมั่นคง อารมณ์ที่กำลังนึกคิดก็จะดับไป เป็นขั้นที่ ๒

๓.อุปธิวิเวก คือ เพิกความยินดียินร้าย ที่ปรุงแต่งให้จิต แลบออกไปยึดถืออารมณ์ทั้งปวง ออกไปให้หมดอย่างสิ้นเชิง ถ้ามีสิ่งใดมารบกวนให้จิตกระเพื่อมขึ้นมาเมื่อใด ก็ให้รีบยกจิต ออกจากสิ่งนั้นๆ และนำเข้าสู่ฐานที่ตั้งสติทันทีเมื่อนั้น จนชำนาญ เป็นขั้นที่ ๓

จิตที่ปฏิบัติได้เช่นนี้เรียกว่า วิมุตติจิต (จิตหลุดพ้น) จัดเป็น สัมมาสมาธิ คือ ย่างเข้าสู่สภาพสงบถึงขีดสุดแล้ว ซึ่งเปรียบดังผิวน้ำในท้องทะเลที่ไม่มีลมพายุพัดรบกวน จนเหลือผิวน้ำเป็นเส้นระดับราบเรียบไปทั่วกัน ไม่มีระลอกคลื่นปรากฏอยู่เลย ฉนั้น

รวมความแล้ว อุปธิวิเวกนี้จะเกิดอย่างสมบูรณ์มั่นคงได้เพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับ สัมมาสมาธิ ฌานที่ ๔ เพียงอย่างเดียว

ถ้าจิตไม่รู้จักฐานที่ตั้งสติ หรือลืมทางที่จะยกจิตเข้าสู่ฐานที่ตั้งสติเสียแล้ว กายก็จะยังไม่สงบ และอุปธิก็ยังไม่สงบลงได้เลย เพราะจิตยังคงแลบออกจากฐานที่ตั้งสติ ไปวุ่นวายอยู่กับเรื่องที่เข้ามารบกวนตามธรรมชาติตลอดไป

ความสงบสงัดทั้ง ๓ ประการนี้ จะเป็นปัจจัยส่งเสริมกันให้มีพลังมากขึ้นโดยลำดับ กล่าวคือ ถ้ากายสงบ จิตจึงจะสงบตามได้ ถ้าจิตสงบ อุปธิก็ย่อมสงบ เพราะรู้จักวิธีสลัดความยินดี-ยินร้ายออกไปได้มากขึ้น ตามลำดับ

ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงต้องฝึกวิธีเพิกอารมณ์ทั้งหลายให้ชำนาญทุกขณะจิต จนถึงขั้นที่ว่า ถ้ามีสิ่งใดมากระทบ ก็ให้เป็นสักแต่ว่ากระทบเท่านั้น (คือ รู้แล้วละเรื่องที่รู้ออกไปทันที) ความสงบสงัด (อุปธิวิเวก) ย่อมเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ตลอดไป.


เอ้า ลองเอาวิเวก มาให้อ่านน๊ะจ๊ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2012, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
bigtoo เขียน:
ที่เขียนมาเหมือนจะรู้นี่ครับว่าอะไรคืออะไร แล้วทำไมไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องปกติละครับ อ่านแล้วก็ผ่านไป



อะไร คือ อะไร อะไรๆๆๆๆ ของตาทู่ล่ะ
ป้า ป้ายังไม่ตกกระแสธรรมเลยป้ารู้มั้ยที่ป้าเป็นอยู่ คนที่เขาถ้าตกกระแสธรรมจริงๆแล้ว ถ้าสังคมสิ่งแวดล้อม ไม่บีบคั้นจริงๆเขาจะไม่มีคู่ครองครับ เพราะเขามองเห็น การมีคู่ครองเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด มองเห็นวัฎฎะมันน่ากลัว มันน่ากลัวยิ่งกว่าอะไรซะอีกครับ เพราะอะไรป้าคงรู้เนาะ ตอนนี้ป้าก็น่าจะรู้แล้วละมั้ง เพราะขี้เต่ามันเหม็น หรือยังไม่รู้ เพราะสิ่งที่ป้าไปเอามานะ มันถุงขี้ทั้งนั้น แต่สิ่งที่ป้ารู้อยู่นี้ มันเป็นการเรียน การปฎิบัติเท่านั้นเอง ยังเข้าไม่ถึงธรรมมะจริงๆ ยอมรับเถอะครับ แล้วตั้งต้นใหม่ดีๆๆจะได้ไม่หลงทาง (โยนิโสที่ป้าว่านั้นแหละครับโยให้มันลึกสุดทาง ไม่ใช่แต่ว่ามันเป็นเช่นนั้นเองแบบนั้นมันลูกสาวพยามารครับ)โดยเฉพาะผู้หญิงนะครับมันต้องให้หนักกว่าผู้ชาย มันมีอะไรอีกเยอะ ผู้หญิงนะมันมีต่อมอยู่ต่อมหนึ่งซี้งเขาเรียกอะไรกันก็ไม่รู้ ต่อมนี้แหละอันตราย เข้าไปดูศิลของภิกษุณีให้มากๆ แต่ตอนนี้ป้า มีครอบครัวแล้ว เรื่องมันก็ยิ่งยุ่งไปใหญ่เลย ตัวใครตัวมันแล้วกัน ก็เตือนกันไว้แค่นี้ก็แล้วกัน :b4: :b4: :b4:

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2012, 14:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ว่าด้วยวิเวก ๓
[๒๒๙] คำว่า จะศึกษาในวิเวก มีความว่า วิเวก ได้แก่ วิเวก ๓ คือ กายวิเวก ๑
จิตตวิเวก ๑ อุปธิวิเวก ๑.
กายวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า
โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่ คือ
เดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งอยู่ใน
ที่หลีกเร้นผู้เดียว อธิษฐานจงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยว อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ
รักษา เป็นไป ให้เป็นไป นี้ชื่อว่า กายวิเวก.
จิตตวิเวกเป็นไฉน? ภิกษุเข้าปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์ เข้าทุติยฌาน มีจิตสงัด
จากวิตกและวิจาร เข้าตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ เข้าจตุตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์
เข้าอากาสานัญจายตนฌาน มีจิตสงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา เข้าวิญญาณัญจา
ยตนฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา เข้าอากิญจัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจาก
วิญญาณัญจายตนสัญญา เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา
(เมื่อภิกษุนั้น) เป็นโสดาบันบุคคล มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐา
นุสัย วิจิกิจฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น เป็นพระ
สกทาคามี มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่าง
หยาบๆ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น เป็นพระอนาคามี
มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียดๆ
และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์อย่างละเอียดเป็นต้นนั้น เป็นพระ-
*อรหันต์ มีจิตสงัดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย
อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้นนั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวงใน
ภายนอก นี้ชื่อว่า จิตตวิเวก.
อุปธิวิเวกเป็นไฉน? กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่าอุปธิ. อมตนิพพาน
เรียกว่าอุปธิวิเวก ได้แก่ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา
ความสำรอก ความดับ ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่า อุปธิวิเวก.
ก็กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออก ผู้ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตตวิเวก ย่อมมี
แก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้วอย่างยิ่ง อุปธิวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้หมด
อุปธิ ถึงซึ่งนิพพานอันเป็นวิสังขาร. (๑)-


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2012, 14:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
อ้างคำพูด:
วิเวก ๓

วิเวก หมายถึง ความสงบสงัด ที่ได้รับจากการปลีกตัวออกไปจากสิ่งที่เข้ามารบกวนจิตใจให้วุ่นวายได้ อันได้แก่ อารมณ์ที่น่ารักน่าชอบใจทั้งหลายนั่นเอง

วิเวกมีความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติทางจิตมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ปฏิบัติใหม่ๆ ผู้ปฏิบัติจะต้องปลีกตัวออกจากสิ่งที่เข้ามารบกวนจิตใจให้มากที่สุดเสียก่อน จึงจะปฏิบัติได้ก้าวหน้า และสามารถนำจิตของตนให้หลุดพ้น จากการปรุงแต่งของอารมณ์ทั้งหลายได้ในที่สุด

วิเวก มีอยู่ ๓ ประการ คือ กายวิเวก จิตวิเวก และอุปธิวิเวก

๑.กายวิเวก คือ เพิกอารมณ์ที่จะเข้ามารบกวนทางร่างกาย ได้แก่ ทางตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส รวม ๕ ทาง เป็นขั้นแรก

๒.จิตวิเวก คือ เพิกเรื่องที่นึกคิดออกไป ด้วยการยกจิตออกจากเรื่องที่นึกคิดนี้ไปตั้งไว้ที่ฐานที่ตั้งสติ ที่ได้อุปโลกน์ไว้อย่างมั่นคง อารมณ์ที่กำลังนึกคิดก็จะดับไป เป็นขั้นที่ ๒

๓.อุปธิวิเวก คือ เพิกความยินดียินร้าย ที่ปรุงแต่งให้จิต แลบออกไปยึดถืออารมณ์ทั้งปวง ออกไปให้หมดอย่างสิ้นเชิง ถ้ามีสิ่งใดมารบกวนให้จิตกระเพื่อมขึ้นมาเมื่อใด ก็ให้รีบยกจิต ออกจากสิ่งนั้นๆ และนำเข้าสู่ฐานที่ตั้งสติทันทีเมื่อนั้น จนชำนาญ เป็นขั้นที่ ๓

จิตที่ปฏิบัติได้เช่นนี้เรียกว่า วิมุตติจิต (จิตหลุดพ้น) จัดเป็น สัมมาสมาธิ คือ ย่างเข้าสู่สภาพสงบถึงขีดสุดแล้ว ซึ่งเปรียบดังผิวน้ำในท้องทะเลที่ไม่มีลมพายุพัดรบกวน จนเหลือผิวน้ำเป็นเส้นระดับราบเรียบไปทั่วกัน ไม่มีระลอกคลื่นปรากฏอยู่เลย ฉนั้น

รวมความแล้ว อุปธิวิเวกนี้จะเกิดอย่างสมบูรณ์มั่นคงได้เพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับ สัมมาสมาธิ ฌานที่ ๔ เพียงอย่างเดียว

ถ้าจิตไม่รู้จักฐานที่ตั้งสติ หรือลืมทางที่จะยกจิตเข้าสู่ฐานที่ตั้งสติเสียแล้ว กายก็จะยังไม่สงบ และอุปธิก็ยังไม่สงบลงได้เลย เพราะจิตยังคงแลบออกจากฐานที่ตั้งสติ ไปวุ่นวายอยู่กับเรื่องที่เข้ามารบกวนตามธรรมชาติตลอดไป

ความสงบสงัดทั้ง ๓ ประการนี้ จะเป็นปัจจัยส่งเสริมกันให้มีพลังมากขึ้นโดยลำดับ กล่าวคือ ถ้ากายสงบ จิตจึงจะสงบตามได้ ถ้าจิตสงบ อุปธิก็ย่อมสงบ เพราะรู้จักวิธีสลัดความยินดี-ยินร้ายออกไปได้มากขึ้น ตามลำดับ

ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงต้องฝึกวิธีเพิกอารมณ์ทั้งหลายให้ชำนาญทุกขณะจิต จนถึงขั้นที่ว่า ถ้ามีสิ่งใดมากระทบ ก็ให้เป็นสักแต่ว่ากระทบเท่านั้น (คือ รู้แล้วละเรื่องที่รู้ออกไปทันที) ความสงบสงัด (อุปธิวิเวก) ย่อมเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ตลอดไป.


เอ้า ลองเอาวิเวก มาอ่านน๊ะจ๊ะ





โถ่เอ๊ย แค่สมาธิเด็กๆ ไม่ได้ดูถูกนะ แต่พูดตามความเป็นจริง

ที่นำมาน่ะ เป็นการฝึกพื้นฐานที่ต้องทำ คือ สมาธิ พอทำได้แล้ว ปรับอินทรีย์ สัมมาสมาธิจึงเกิดขึ้นได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2012, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่ะเอาไปอ่าน เบื่ออธิบาย เลือกอ่านเอาเองนะ เพราะ วลัยพร เป็นคนชอบบันทึก และอาจจะมีประโยชน์กับคนอื่นๆ อย่างน้อยๆ จะได้ไม่หลง เหมือนที่วลัยพรเคยหลง คือโง่กับกิเลสของตัวเอง


ส่วนใครอ่านแล้ว รู้สึกนึกคิดอะไร ยังไง นั่นคือเหตุที่มีต่อกันอยู่ มันมีแค่นั้นเอง



http://walailoo2010.wordpress.com/2012/ ... %E0%B8%99/


ไม่ได้นั่งเทียนเขียน แต่เขียนจากสภาวะของตัวเอง เขียนอยู่ทุกๆวัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2012, 14:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


คนที่คุณนำมายกตัวอย่างนั้น

เขายังอายุ 14 เขาปฏิบัติ เขายังไม่ได้มีความรู้ทางธรรมอะไรมากนัก

แต่สิ่งที่ สภาพแวดล้อมพาไป คือ นำเขาไปสู่ วิเวก

ดังนั้นเมื่อเขา เจอสภาวะ ไม่แปลกที่เมื่อเขาพยายามเล่า
เขาจะยังแสดงเหมือนคนที่เข้าใจธรรมครึ่ง ๆ กลาง ๆ
เพราะเขาไม่ได้เข้าใจ

แต่เขาถึงธรรม ด้วย วิเวก เป็นปัจจัยพาไป

ความรู้ไม่ได้บ่งบอกอะไร

แต่ จิต นั่นล่ะ จะบอกเองว่าจิตเดินทางไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร ...

:b13: :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2012, 14:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
eragon_joe เขียน:
อ้างคำพูด:
วิเวก ๓

วิเวก หมายถึง ความสงบสงัด ที่ได้รับจากการปลีกตัวออกไปจากสิ่งที่เข้ามารบกวนจิตใจให้วุ่นวายได้ อันได้แก่ อารมณ์ที่น่ารักน่าชอบใจทั้งหลายนั่นเอง

วิเวกมีความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติทางจิตมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ปฏิบัติใหม่ๆ ผู้ปฏิบัติจะต้องปลีกตัวออกจากสิ่งที่เข้ามารบกวนจิตใจให้มากที่สุดเสียก่อน จึงจะปฏิบัติได้ก้าวหน้า และสามารถนำจิตของตนให้หลุดพ้น จากการปรุงแต่งของอารมณ์ทั้งหลายได้ในที่สุด

วิเวก มีอยู่ ๓ ประการ คือ กายวิเวก จิตวิเวก และอุปธิวิเวก

๑.กายวิเวก คือ เพิกอารมณ์ที่จะเข้ามารบกวนทางร่างกาย ได้แก่ ทางตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส รวม ๕ ทาง เป็นขั้นแรก

๒.จิตวิเวก คือ เพิกเรื่องที่นึกคิดออกไป ด้วยการยกจิตออกจากเรื่องที่นึกคิดนี้ไปตั้งไว้ที่ฐานที่ตั้งสติ ที่ได้อุปโลกน์ไว้อย่างมั่นคง อารมณ์ที่กำลังนึกคิดก็จะดับไป เป็นขั้นที่ ๒

๓.อุปธิวิเวก คือ เพิกความยินดียินร้าย ที่ปรุงแต่งให้จิต แลบออกไปยึดถืออารมณ์ทั้งปวง ออกไปให้หมดอย่างสิ้นเชิง ถ้ามีสิ่งใดมารบกวนให้จิตกระเพื่อมขึ้นมาเมื่อใด ก็ให้รีบยกจิต ออกจากสิ่งนั้นๆ และนำเข้าสู่ฐานที่ตั้งสติทันทีเมื่อนั้น จนชำนาญ เป็นขั้นที่ ๓

จิตที่ปฏิบัติได้เช่นนี้เรียกว่า วิมุตติจิต (จิตหลุดพ้น) จัดเป็น สัมมาสมาธิ คือ ย่างเข้าสู่สภาพสงบถึงขีดสุดแล้ว ซึ่งเปรียบดังผิวน้ำในท้องทะเลที่ไม่มีลมพายุพัดรบกวน จนเหลือผิวน้ำเป็นเส้นระดับราบเรียบไปทั่วกัน ไม่มีระลอกคลื่นปรากฏอยู่เลย ฉนั้น

รวมความแล้ว อุปธิวิเวกนี้จะเกิดอย่างสมบูรณ์มั่นคงได้เพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับ สัมมาสมาธิ ฌานที่ ๔ เพียงอย่างเดียว

ถ้าจิตไม่รู้จักฐานที่ตั้งสติ หรือลืมทางที่จะยกจิตเข้าสู่ฐานที่ตั้งสติเสียแล้ว กายก็จะยังไม่สงบ และอุปธิก็ยังไม่สงบลงได้เลย เพราะจิตยังคงแลบออกจากฐานที่ตั้งสติ ไปวุ่นวายอยู่กับเรื่องที่เข้ามารบกวนตามธรรมชาติตลอดไป

ความสงบสงัดทั้ง ๓ ประการนี้ จะเป็นปัจจัยส่งเสริมกันให้มีพลังมากขึ้นโดยลำดับ กล่าวคือ ถ้ากายสงบ จิตจึงจะสงบตามได้ ถ้าจิตสงบ อุปธิก็ย่อมสงบ เพราะรู้จักวิธีสลัดความยินดี-ยินร้ายออกไปได้มากขึ้น ตามลำดับ

ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงต้องฝึกวิธีเพิกอารมณ์ทั้งหลายให้ชำนาญทุกขณะจิต จนถึงขั้นที่ว่า ถ้ามีสิ่งใดมากระทบ ก็ให้เป็นสักแต่ว่ากระทบเท่านั้น (คือ รู้แล้วละเรื่องที่รู้ออกไปทันที) ความสงบสงัด (อุปธิวิเวก) ย่อมเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ตลอดไป.


เอ้า ลองเอาวิเวก มาอ่านน๊ะจ๊ะ





โถ่เอ๊ย แค่สมาธิเด็กๆ ไม่ได้ดูถูกนะ แต่พูดตามความเป็นจริง

ที่นำมาน่ะ เป็นการฝึกพื้นฐานที่ต้องทำ คือ สมาธิ พอทำได้แล้ว ปรับอินทรีย์ สัมมาสมาธิจึงเกิดขึ้นได้


:b32: คุณหมายถึงผู้เขียนบทความนี้เหร๋อ ..

หนังสือธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์

http://dhama9.exteen.com/20091105/entry


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2012, 14:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


วันเป็นวันหยุดกันรึเปล่าเนี้ย.... s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2012, 14:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
อ่ะเอาไปอ่าน เบื่ออธิบาย เลือกอ่านเอาเองนะ เพราะ วลัยพร เป็นคนชอบบันทึก และอาจจะมีประโยชน์กับคนอื่นๆ อย่างน้อยๆ จะได้ไม่หลง เหมือนที่วลัยพรเคยหลง คือโง่กับกิเลสของตัวเอง


ส่วนใครอ่านแล้ว รู้สึกนึกคิดอะไร ยังไง นั่นคือเหตุที่มีต่อกันอยู่ มันมีแค่นั้นเอง



http://walailoo2010.wordpress.com/2012/ ... %E0%B8%99/


ไม่ได้นั่งเทียนเขียน แต่เขียนจากสภาวะของตัวเอง เขียนอยู่ทุกๆวัน


อ้อ นั่นล่ะคือสิ่งที่แสดงว่าตลอดเวลานั้นคุณมีแต่พฤติกรรมจิตที่ยังไม่ วิเวก เรยไง
จิตมันฟุ้งไปในธรรมอยู่ตลอดเวลา

:b13:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 27 ก.ค. 2012, 14:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2012, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
คนที่คุณนำมายกตัวอย่างนั้น

เขายังอายุ 14 เขาปฏิบัติ เขายังไม่ได้มีความรู้ทางธรรมอะไรมากนัก

แต่สิ่งที่ สภาพแวดล้อมพาไป คือ นำเขาไปสู่ วิเวก

ดังนั้นเมื่อเขา เจอสภาวะ ไม่แปลกที่เมื่อเขาพยายามเล่า
เขาจะยังแสดงเหมือนคนที่เข้าใจธรรมครึ่ง ๆ กลาง ๆ
เพราะเขาไม่ได้เข้าใจ

แต่เขาถึงธรรม ด้วย วิเวก เป็นปัจจัยพาไป

ความรู้ไม่ได้บ่งบอกอะไร

แต่ จิต นั่นล่ะ จะบอกเองว่าจิตเดินทางไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร ...

:b13: :b13: :b13:
ขอเสริมนะครับ ท่านนี้เขาเข้าถึงธรรมมากแล้วด้วย เพียงแต่เขาขาดสุตตะเท่านั้นเอง

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2012, 14:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


สุญญตวิโมกข์

เมื่อได้ปฏิบัติสัมมาสมาธิจนถึงฌานที่ ๔ แล้ว จิตมีพลังสามารถแยกตัวออกจากอารมณ์ และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ได้อย่างสิ้นเชิงและเป็นคนละส่วน จนสามารถปฏิเสธ อารมณ์และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ทั้งปวงว่า ไม่เที่ยง(อนิจฺจํ)เป็นทุกข์(ทุกฺขํ)ไม่ใช่สภาพเดิมของตนเอง(อนตฺตา)โดยปราศจากความสงสัย

อารมณ์และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ ก็ดับไปหมดสิ้น คงมีแต่สภาวะของจิตที่รู้อยู่ว่าว่างจากอารมณ์ และไม่มีนิมิตหมายอันใดเหลืออยู่ ที่จะทำให้ยึดถืออารมณ์และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ ว่าเป็นสภาพเดิมของตนเอง(อัตตา)อีกต่อไป,เท่านั้น

ทั้งนี้มิได้หมายความว่า จิตหายไปหรือไม่มีตัวตนแต่ประการใด สภาวะดังกล่าวนี้ จะต้องเกิดขึ้นจากความพากเพียรฝึกฝนปฏิบัติสัมมาสมาธิ เพื่อให้จิตบรรลุถึงฌานที่ ๔ มิใช่นึกเอาเองลอยๆ ก็จะบรรลุถึงสภาวะเช่นนี้ได้(จิตไม่เคยดับตายหายสูญไปไหนเลย)

เราเรียกสภาวะที่จิตว่างจากอารมณ์ทั้งปวงว่า สุญญตา

และเรียกจิตว่าพ้นจากการถูกอารมณ์ปรุงแต่งเป็น วิโมกข์ คือ

๑.อนิมิตตวิโมกข์ พ้นจากนิมิตหมายที่เห็นว่าอารมณ์เที่ยง

๒.อัปปณิหิตวิโมกข์ พ้นจากการเข้าไปมีที่ตั้งว่าอารมณ์เป็นสุข

๓.สุญญตวิโมกข์ พ้นจากการเห็นว่าอารมณ์เป็นอัตตา

จิตที่บรรลุถึงสภาวะสุญญตานี้ เป็นสภาพเดิมของตนเองที่มีพลัง เป็นจิตที่ควรแก่การงาน (กมฺมนิโย จิตฺตํ) ต่างๆ และเป็นสภาพที่ไม่มีการดับตายหายสูญไปไหน กล่าวคือ รู้อยู่ทุกกาลสมัย ประตูทุคติย่อมปิดตายสำหรับผู้ปฏิบัติและรักษาไว้ได้ จึงดีกว่าผู้ที่สนใจสร้างแต่ถาวรวัตถุหลายร้อยเท่า

สติของผู้ปฏิบัติสัมมาสมาธิย่อมมั่นคง ว่องไว และไม่หลงลืมอะไรง่ายๆ สภาพหลงๆ ลืมๆ ในวัยสูงอายุย่อมไม่ปรากฏ ผู้ที่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ ก็จะมีความทรงจำในวิชาความรู้ได้ดีอย่างยิ่ง

ผู้ที่อ่านตำรามาอย่างเดียว ย่อมคิดเอาเองว่า สภาวะสุญญตานี้ว่างๆ ไม่มีตัวตน-สัตว์-บุคคล-เรา-เขา อยู่เลย ผู้ที่นึกคิดเองเช่นนี้ ย่อมไม่รู้จักสภาพเดิมของตนเองเพราะขาดความเฉลียวใจ

อุปมาดั่งการใช้คนโง่ ให้เข้าไปตรวจดูห้องโถงห้องหนึ่ง ที่ไม่มีใครอยู่ที่นั่นในขณะนั้น ว่ามีคนอยู่หรือไม่ คนโง่คนนั้น ก็ย่อมบอกผู้ใช้ให้เข้าไปดู อย่างหน้าตาเฉยว่า ไม่มีคนอยู่ในห้องโถงเลยสักคน คนที่โง่ด้วยกัน ก็พากันเชื่อว่าเป็นความจริง แต่ผู้มีสติปัญญา ย่อมไม่เชื่อคำบอกเล่าอันนั้น เพราะคนเข้าไปดูนั้นลืมนับตัวเองว่า ตัวเองก็คือคนที่อยู่ในห้องโถงด้วยเหมือนกัน ข้อนี้ฉันใด

จิตที่บรรลุถึงสภาวะสุญญตาแล้ว โดยเฉพาะในขณะที่ดำรงอยู่ในสภาวะนี้เท่านั้นที่ไม่แสดงความติดข้องอารมณ์ เพราะมีพลังสลัดอารมณ์ต่างๆออกหมดชั่วขณะ แต่ถ้าสภาวะเช่นนี้เสื่อมไปเสีย จิตดวงนี้แหละ ที่เป็นสัตว์-บุคคล ที่ติดข้องอยู่ในอารมณ์ ดังนั้น จิตผู้บรรลุสภาวะสุญญตานี้แหละ ยังเป็นสัตว์-บุคคล เพราะเป็นเพียงฌานที่ ๔ เท่านั้

ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่อ่านตำรามาอย่างเดียว แล้วคิดเอาเองว่า ไม่มีสัตว์-บุคคล-ตัวตน-เรา-เขา จึงลืมนับตัวเองว่า เป็นสัตว์-บุคคล และกลายเป็นผู้ที่เห็นผิดจากความเป็นจริงไป ข้อนี้ก็ฉันนั้น

นั่นคือ จิต ก็คือ สัตว์บุคคล จนกว่าจะย่างเข้าสู่นิโรธ

กล่าวตามข้อเท็จจริงแล้ว สภาวะของจิตที่ติดข้องอารมณ์ทั้งปวงที่ทยอยเข้ามากระทบโดยลำดับนั้น เป็นสภาวะที่ได้สั่งสมมาตลอดเวลาในอดีตอันยาวนานแล้ว ถ้าไม่พากเพียรรักษาสภาวะสุญญตานี้ไว้ จิตย่อมปรุงแต่งไปตามอารมณ์เหล่านั้นอย่างไม่มีปัญหา ดังนั้น จึงต้องพากเพียรปฏิบัติสัมมาสมาธิให้ชำนาญ เพื่อจำทางเดินของจิต ให้เข้าสมาธิถึงสุญญตวิหารให้ได้อย่างแม่นยำ

จิตที่บรรลุถึงสภาวะสุญญตา แยกตัวออกจากอารมณ์ทั้งปวงด้วยอำนาจสัมมาสมาธิ จัดเป็น เจโตวิมุตติ คือ เข้าสู่เขตติดต่อระหว่างโลกียะกับโลกุตตระ (ซึ่งฝ่ายพระอภิธรรม เรียกว่า โคตรภู)

ถ้าหากปฏิบัติต่อไปอีกด้วยความพากเพียรและเต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะแล้ว สัมมาสังกัปปะซึ่งเป็นมรรคองค์สุดท้าย ก็ย่อมทำหน้าที่ปล่อยวางอารมณ์และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ ที่เข้ามากระทบเฉพาะหน้าตามลำดับ จัดเป็น ปัญญาวิมุตติ ในพระศาสนา



คัดลอกจากธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ อ.ไชยทรง จันทรอารีย์ หน้า ๑๓๖-๑๓๙


http://dhama9.exteen.com/20091110/entry


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2012, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ทั้งหมด ไม่ว่าคุณแสดงหรือพูดอะไรมา นั่นคือเหตุของคุณ ที่คุณมีอยู่และเป็นอยู่

วลัยพรคิดว่า ไม่จำเป็นต้องพูดหรืออธิบายอะไรอีกต่อไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2012, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ทั้งหมด ไม่ว่าคุณแสดงหรือพูดอะไรมา นั่นคือเหตุของคุณ ที่คุณมีอยู่และเป็นอยู่

วลัยพรคิดว่า ไม่จำเป็นต้องพูดหรืออธิบายอะไรอีกต่อไป
ฝากเพลงสบายๆอย่าเป็นหมือนพี่แจ้นะครับhttp://www.youtube.com/watch?v=CsCU9CxIAps

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร