วันเวลาปัจจุบัน 26 ก.ค. 2025, 05:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 58 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2019, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sssboun เขียน:
กรัชกาย เขียน:
sssboun เขียน:
แม้พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสสั่งสอนว่า สิ่งใดไม่เที่ยง
สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่มีตัวไม่มีตน บุคคลเราเขา
แม้ร่างกายนี้ ก็มิใช่ของเรา แม้กายนี้ก็เป็นทุกข์ แต่ก็ยังเสาะแสวง
หาสิ่งที่เป็นทุกข์ ดั่งเช่นกับเรา หาสิ่งของเพิ่มอีกเรื่อยๆไม่มีวันจบ
สิ้น

เรามีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทำมะดา ก็ยังเสาะแสวงสิ่งที่
มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย อีก


นี่อีกผู้หนึ่ง ซึ่งเข้าใจแง่มุมคำสอนพุทธศาสนาผิด คือ ไปยกเอาเรื่องเกิดแก่ เจ็บ ตาย มาคิด คิดแล้วก็ตีความไปเช่นว่านั้น
จริงคำสอนเช่นว่ามีจริงๆ เกิด แก่ เจ็บ ตาย มีจริง
แต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย นี่มันเป็นธรรมดาธรรมชาติ คนเกิดมาแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย
คำพระท่านบอกอย่างนี้ เพื่ออะไร ? ก็เพื่อไม่ให้คนประมาทมัวเมาในวัย ในชีวิต ให้เร่งทำกิจทำหน้าที่ที่ควรทำ ตนมีหน้าที่อะไร ก็ดูแลรับผิดชอบให้ดีที่สุด เช่น พ่อแม่ลูกเมีย ดูแลกันและกัน มีความขยันหมั่นเพียรไม่เกียจคร้านในหน้าที่การงาน ฯลฯ คำสอนประเภทนี้มีเยอะแยะ

แต่เมื่อ จขกท.ไปคิดเสียอย่างนั้น จิตใจก็เกิดความท้อแท้จะลงนอนท่าเดียว :b13: ทำงานทำการอะไรชักเบื่อ ก็คิดว่า นี่กูจะทำไปทำไม ตายไปก็เอาไปไม่ได้ ... แต่ยังไม่ตายกินข้าวกับเกลือ ใส่เสื้อผ้าปอนๆทำตัวประหลาดๆ ถือไม้เท้าสะพายย่ามเดินตะหรัดตุเหร่
ตีความคำสอนผิดแล้วขอรับ


ลองอ่านนี้ดูครับ
Quote Tipitaka:
[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนริยปริเยสนา การแสวงหาอันไม่ประเสริฐ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเองเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหา
สิ่งที่มีชราเป็นธรรมดานั่นเอง ๑ ตนเองเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาสิ่งที่มีพยาธิเป็น
ธรรมดานั่นเอง ๑ ตนเองเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาสิ่งที่มีมรณะเป็นธรรมดานั่นเอง ๑

ตนเองเป็นผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดานั่นเอง ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนริยปริเยสนา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยปริเยสนา การแสวงหา
อย่างประเสริฐ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉนคือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเองเป็นผู้มีชรา
เป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีชราเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มีชรา เป็นแดน

เกษมจากโยคะอย่างเยี่ยม ๑ ตนเองเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีพยาธิเป็นธรรมดาแล้ว
ย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มีพยาธิ เป็นแดนเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ๑ตนเองเป็นผู้มีมรณะเป็น
ธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีมรณะเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมแสวงหานิพพานอันไม่ตาย เป็นแดนเกษม

จากโยคะชั้นเยี่ยม ๑ ตนเองเป็นผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีความเศร้าหมอง
เป็นธรรมดาแล้วย่อมแสวงหานิพพานอันไม่เศร้าหมอง เป็นแดนเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ๑ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย อริยปริเยสนา ๔ ประการนี้แล ฯ




นั่นแหละคือเอาหลักบางแง่บางมุมมาตีความไป

คุณไม่ไปหามาแล้วใครจะหาให้คุณกิน

หรือให้เมียหาให้กิน ตัวเองนอนรอที่บ้าน บอกเมียผิดหลักธรรม :b13:

พอเมียไปตลาดขายของ ก็ร้องสั่งว่า ที่รักจ๊ะ ขากลับซื้อข้าวเหนียวหมูปิ้งมาฝากฉันห่อหนึ่งนะ น้ำไม่ต้องยังเหลืออีกขวดหนึ่ง

เมียใจดีถามว่า ห่อเดียวอิ่มหรือพี่

พอจ้ะ ฉันกินไม่มากหรอก เดี๋ยวอ้วน

เมียว่า จ้ะ ทูลหัว พี่รอน้องนะคะ

จ้ะ พี่ไม่ไปไหนหรอก จะไปนิพพาน

เมียว่า ค่ะ นิพพาน แล้วก็หาบของไปขายตลาดนัดวันพุธ :b31:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2019, 12:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความสุขอันชอบธรรมที่คฤหัสถ์ควรมี

หลักการต่อไปนี้ เรียกกันง่ายๆว่า ความสุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ ดังที่พุทธพจน์ที่ตรัสแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า

“ดูกร คหบดี ความสุข 4 ประการนี้ เป็นสิ่งที่คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ควรได้ควรถึงอยู่เรื่อยๆ ตามสมัย ความสุข 4 ประการนั้น คือ อัตถิสุข โภคสุข อนณสุข อนวัชชสุข

1. อัตถิสุข (สุขเกิดจากความมีทรัพย์) เป็นไฉน? คือกุลบุตรมีโภคะอันหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม
เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า เรามีโภคะที่หามาได้ ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขนอย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม นี่เรียกว่า อัตถิสุข

2. โภคสุข (สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์บริโภค) เป็นไฉน? คือกุลบุตรกินใช้และทำสิ่งดีงาม
อันเป็นบุญทั้งหลาย ด้วยโภคะที่หามาได้ ด้วยความขยันหมั่นเพียรอัน เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ ซึ่งเป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม
เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า ด้วยทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร....ได้มาโดยธรรม เราก็ได้กิน ใช้ และได้ทำสิ่งดีงาม อันเป็นบุญทั้งหลาย นี้เรียกว่า โภคสุข

3. อนณสุข (สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้) เป็นไฉน? คือกุลบุตรไม่ติดหนี้สินไรๆของใครๆ ไม่ว่าน้อยหรือมาก
เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่าไม่ติดหนี้สินไรๆของใครๆ เลยไม่ว่าน้อยหรือมาก นี้เรียกว่า อนณสุข

4. อนวัชชสุข (สุขเกิดจากกรรมดีงามไร้โทษ) เป็นไฉน? คืออริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมดีงาม ไร้โทษ ประกอบด้วยวจีกรรมดีงาม ไร้โทษประกอบด้วยมโนกรรมดีงาม ไร้โทษ
เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมดีงาม ไร้โทษ ประกอบด้วยวจีกรรมดีงาม ไร้โทษ ประกอบด้วยมโนกรรมดีงาม ไร้โทษ นี้เรียกว่า อนวัชชสุข


“เมื่อตระหนักถึงความสุขจาก ความไม่เป็นหนี้แล้ว คนจะพึงระลึกถึงสุขที่เกิดจากความมีทรัพย์ เมื่อกินใช้ก็เห็นแจ้งชัดด้วยปัญญา ถึงโภคสุข เมื่อเห็นอย่างแจ้งชัด เขามีปัญญาดี ย่อมเข้าใจทั้งสองส่วนเทียบกันได้ แลเห็นว่า ความสุขทั้ง 3 อย่างข้างต้นนั้น มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 ของความสุข ที่มีความประพฤติสุจริตไร้โทษ”* (องฺ.จตุกฺก.21/62/90)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2019, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การใช้จ่ายทรัพย์

ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้า ได้ตรัสแสดงเหตุผลในการที่จะมีทรัพย์ หรือประโยชน์ที่ควรถือเอาจากทรัพย์สมบัติ แก่อนาถบิณฑิกคฤหบดี โดยตรัสให้เหมาะกับสภาพสังคมสมัยนั้น พึงพิจารณาจับเอาสารัตถะตามสมควร ดังต่อไปนี้

"ดูกรคฤหบดี ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะทั้งหลาย มี ๕ ประการ ดังนี้ คือ

๑) ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ ซึ่งเป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม
อริยสาวก ย่อมเลี้ยงตัวให้เป็นสุข ให้เอิบอิ่ม เอาใจใส่ดูแลตนให้เป็นสุขโดยชอบ ย่อมเลี้ยงมารดาบิดา...บุตรภรรยา คนรับใช้กรรมกรคนงาน ให้เป็นสุข ให้เอิบอิ่ม เอาใจใส่ดูแลให้เป็นสุขโดยชอบ นี้คือ ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ข้อที่ ๑

๒) อีกประการหนึ่ง ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร....ได้มาโดยธรรม อริยสาวก ย่อมเลี้ยงมิตรสหาย และผู้ร่วมกิจการงานทั้งหลาย ให้เป็นสุข ให้เอิบอิ่ม เอาใจใส่ดูแลให้เป็นสุขโดยชอบ นี้คือ ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ข้อที่ ๒

๓) อีกประการหนึ่ง ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร....ได้มาโดยธรรม อริยสาวก ย่อมป้องกันโภคะจากภยันตราย ที่จะเกิดแต่ไฟ น้ำ พระราชา โจร หรือทายาทอัปรีย์ ทำตนให้สวัสดี นี้คือ ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ข้อที่ ๓

๔) อีกประการหนึ่ง ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร....ได้มาโดยธรรม อริยสาวก ย่อมกระทำพลีกรรม ๕ อย่าง คือ ญาติพลี (สงเคราะห์ญาติ) อติถิพลี (ต้อนรับแขก) ปุพพเปตพลี (ทำบุญอุทิศผู้ล่วงลับ) ราชพลี (บำรุงราชการ-เสียภาษี) เทวตาพลี (ถวายเทวดาหรือบำรุงศาสนา) นี้คือ ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ข้อที่ ๔

๕) อีกประการหนึ่ง ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร....ได้มาโดยธรรม อริยสาวก ย่อมประดิษฐานทักขิณาอันส่งผลสูง อันอำนวยอารมณ์ดีงาม มีผลเป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้เว้นจากความมัวเมาประมาท ตั้งอยู่ในขันติโสรัจจะ ซึ่งฝึกฝนตนเอง ทำตนเองให้สงบ ทำตนเองให้หายร้อนกิเลสได้ นี้คือ ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ข้อที่ ๕

"คหบดี ประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะมี ๕ ประการเหล่านี้แล"

"ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาอยู่ ซึ่งประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ๕ ประการเหล่านี้ โภคะหมดสิ้นไป เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า อันใดเป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ประโยชน์เหล่านั้นเราก็ถือเอาแล้ว และโภคะของเราก็หมดสิ้นไป โดยนัยนี้ อริยสาวกนั้นก็ไม่มีความเดือดร้อนใจ

"และหากว่า เมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาอยู่ ซึ่งประโยชน์ที่ควรถือเอาแห่งโภคะ ๕ ประการเหล่านี้ โภคะทรัพย์เพิ่มพูนยิ่งขึ้น โดยนัยนี้ อริยสาวกนั้นก็ไม่มีความเดือดร้อนใจ เป็นอันไม่มีความเดือดร้อนใจทั้งสองกรณี" (องฺ.ปญฺจก.22/41/48)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2019, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสั่งสอนนั้นก็มีหลายระดับ
แล้วแต่ละบุคคลจะเลือกเรียนเลือกปฏิบัติ ตามกำลังของ
ตนๆ เมื่อกำลังยังมีน้อยก็ควรเรียนสิ่งที่ใช้กำลังน้อย และ
ปฏิบัติตามกำลังของตน ผมถึงพูดอยู่เสมอว่า

การพูดกับการลงมือกระทำนั้นต่างกัน

พูดได้แต่ทำไม่ได้นั้นมีมาก

ในโลกนี้มีอยู่หลายสิ่งที่เรียนรู้จนเข้าใจดีแล้วแต่พอลงมือกระ
ทำ หรือปฏิบัติก็ทำไม่ได้เช่น ว่ายน้ำ ยกน้ำหนัก หลายร้อยกิโล
หรือแม้แต่การเสียสละ ราชสมบัติอย่างเจ้าชายสิทธัตถะนั้นเป็น
ธรรมขั้นสูง ต้องใช้กำลังบารมีที่มากถึงจะทำได้

แม้แต่ร่างกายพระองค์ก็ทรงตรัสสอนว่าไม่ใช่ตัวเราของเรา คำ
พูดเหล่านี้ล้วนแล้วแต่บอกให้สละ แต่ทางปฏิบัตินั้นยาก หากบารมี
ไม่พอทำไม่ได้ ได้แค่พูด ได้แค่คุย สอน แนะ นำ บอกต่อ เท่านั้น

การที่คิดว่าเราปฏิบัตินิดเดียวหรือ แค่ฟัง แค่เรียนรู้เข้าใจแล้วจะสำ
เร็จผลได้ง่ายๆนั้นมิควรคิด เพราะผู้ที่จะสำเร็จได้นั้นจะต้องปฏิบัติมา
หลายภพหลายชาติแล้ว และที่สำคัญจะทำแบบเล่นๆก็มิได้อีก

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2019, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้สิ่งที่เริ่มต้นทั้งหลายที่ผมเคยเสนอ เคยเล่าให้ฟัง
คนสนใจก็ยังมีน้อย แล้วน้อยคนคิดจะทำแล้ว อย่าเพิ่งไป
พูดถึงเรื่องไกลนั้นก็คือพระนิพพานเลย เพียงแต่กล่าวไว้
เพียงเป็นแนวทาง เพื่อความคุ้นเคย เพื่ออนาคต และชาติ
ต่อๆไป เพื่อบุคคลที่มีบุญมาก ปานกลาง น้อยบ้าง ได้เลือก
เอาสิ่งที่สมควรแก่ตน ส่วนตัวผมนั้นก็ยังอีกไกลครับ แค่เพิ่ง
ก้าวเข้าสู่ความสงบเพียงน้อยนิด และสัมผัสสุขที่เกิดจากความ
สงบมาบ้างแล้ว ก็เพียงอยากทำหน้าที่แบ่งปันสิ่งที่ดี ให้กับเพื่อนๆ
ที่สนใจ และยังไม่สนใจ ในปัจจุบัน แต่อนาคตอาจจะสนใจครับ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2019, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
หลักการต่อไปนี้ เรียกกันง่ายๆว่า ความสุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ ดังที่พุทธพจน์ที่ตรัสแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า


พระองค์ทรงตรัสสอนใคร พระองค์ก็ทรงรู้ว่าควรเอาธรรมระ
ดับไหนให้ รู้ว่าผู้นี้ควรเทสอย่างไร เมื่อไหร่ รู้ว่าผู้นี้ มีกิเลส
มาก ปานกลาง น้อย รู้ว่าผู้ใดที่ไหนจะบรรลุ พระองค์ก็ทรง
เสด็ดไปโปรดแม้จะอยู่ไกลแค่ไหน แต่ผู้ที่อยู่ใกล้หากกิเลส
มากพระองค์ก็มิได้ทรงโปรด

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2019, 13:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sssboun เขียน:
ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสั่งสอนนั้นก็มีหลายระดับ
แล้วแต่ละบุคคลจะเลือกเรียนเลือกปฏิบัติ ตามกำลังของ
ตนๆ เมื่อกำลังยังมีน้อยก็ควรเรียนสิ่งที่ใช้กำลังน้อย และ
ปฏิบัติตามกำลังของตน ผมถึงพูดอยู่เสมอว่า

การพูดกับการลงมือกระทำนั้นต่างกัน

พูดได้แต่ทำไม่ได้นั้นมีมาก

ในโลกนี้มีอยู่หลายสิ่งที่เรียนรู้จนเข้าใจดีแล้วแต่พอลงมือกระ
ทำ หรือปฏิบัติก็ทำไม่ได้เช่น ว่ายน้ำ ยกน้ำหนัก หลายร้อยกิโล
หรือแม้แต่การเสียสละ ราชสมบัติอย่างเจ้าชายสิทธัตถะนั้นเป็น
ธรรมขั้นสูง ต้องใช้กำลังบารมีที่มากถึงจะทำได้

แม้แต่ร่างกายพระองค์ก็ทรงตรัสสอนว่าไม่ใช่ตัวเราของเรา คำ
พูดเหล่านี้ล้วนแล้วแต่บอกให้สละ แต่ทางปฏิบัตินั้นยาก หากบารมี
ไม่พอทำไม่ได้ ได้แค่พูด ได้แค่คุย สอน แนะ นำ บอกต่อ เท่านั้น

การที่คิดว่าเราปฏิบัตินิดเดียวหรือ แค่ฟัง แค่เรียนรู้เข้าใจแล้วจะสำ
เร็จผลได้ง่ายๆนั้นมิควรคิด เพราะผู้ที่จะสำเร็จได้นั้นจะต้องปฏิบัติมา
หลายภพหลายชาติแล้ว และที่สำคัญจะทำแบบเล่นๆก็มิได้อีก


ก็คุณไม่แสวงหา ไม่ทำงาน นั่นแปลว่า ไม่ลงมือทำแล้ว ดังที่ยกตัวอย่าง เรื่องผัวเมียนั่น ผัวนอนอยู่บ้านไปทำงานบอกผิดธรรม เมียหาบของไปขาย นี่เมียทำงานแล้ว จริงไม่จริง อ้าว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2019, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


นกบนฟ้า ย่อมจะไม่เข้าใจความเป็นอยู่ของปลาได้
หากนกไม่มาเป็นปลา คำพูดนี้อาจไม่ถูกทั้งหมดแต่เคย
ได้ยินหลวงปูชาท่านเคยตรัสสอนไว้ คุณ กรัชชกาย ไม่
ได้มาเป็นผมแล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าถูกหรือไม่ถูก แต่ความ
จริงมีอยู่ว่า หากคนไม่ดีแล้วที่ไหนคนเขาก็รังเกียจกันทั้งนั้น

รวมทั้งตัวผมด้วยหากไม่ดี แล้วภรรยาก็คงจะไล่ผมหนีแล้วแม้
แต่ผมขอเธอไปบวชเธอก็ยังมิให้เลย เธอบอกว่ายังไม่ถึงเวลา
เพราะผมเคยให้สัญญาเธอไว้แล้วว่าจะอยู่จนกว่าลูกโตเป็นหนุ่ม
สาวชึ่งเวลานี้ก็ใกล้แล้ว

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2019, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างที่เราได้ยินกันบ่อยๆ นั้นก็คือ ทาน ศีล ภาวนา
อย่าเพิ่งว่าแต่ทานเลยหากบุคคลนั้นไม่มีศัทธาแล้วก็
ยากที่จะเชื่อ เมื่อไม่เชื่อก็ยากที่จะลงมือปฏิบัติ แม้แต่
การให้สิ่งของบางคนยังไม่คิดอยากจะให้เลย แม้แต่คน
ภายในครอบครัว แม้แต่ตนเองก็ยังตระหนี่ ดั่งเศษฐีตระ
หนี่ ที่ตัวเองแม้จะร่ำรวยมาก แต่ก็ยังตระหนี่

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2019, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บ่นออกนอกประเด็นไปเรื่อย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2019, 14:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


การศึกษาทางโลก และทางธรรมนั้นมีจุดที่คล้ายกัน
นั้นก็คือ ระดับ มีจากง่าย ปานกลาง จนถึงระดับสูง

ระดับสูงสุดทางธรรมนั้นโดยส่วนมากพระพุทธเจ้าพระองค์
จะทรงเน้นตรัสสอนเหล่าภิกษุ และผู้ที่พร้อมจะบรรลุแล้ว ก็
สมัยนั้นเป็นสมัยของเหล่าผู้มีบุญทั้งหลาย มาเกิด จะเห็นว่า
สอดคล้องกับคำว่า กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ พระพุทธเจ้าเป็น
ผู้มีบุญมาก เป็นผู้นำเป็นผู้สั่งสอน ดั่งนั้นเหล่าผู้มีบุญน้อยกว่า
พระองค์ก็ย่อมจะไปเกิดร่วมกับพระองค์ เพราะผลของกรรมที่

เคยทำมา และสิ่งที่ปราถนาไว้ตั้งไว้แล้ว ทำกันมาหลายภพหลาย
ชาตินับไม่ถ้วน ดั่งนั้นเวลาพระองค์ทรงแสดงก็ย่อมจะนำหลักธรรม
ขั้นสูงสุดโดยส่วนมาก แบบหย่อ แบบสั้น ฟังแล้วบรรลุเลยก็มี
เป็นต้น และคนยุคนั้นก็มีคนรักษาศีล ๕ มากมาย เพราะวัตถุยัง
ไม่เจริญมาก

แต่ยุคนี้วัตถุเจริญมาก ทำให้คนโดยส่วนมากหลงติดกับวัตถุต่างๆ
นา แม้คนที่รักษาศีล ๕ ก็ยังหาได้ยากเช่นกัน เมื่อศีล ๕ ยังไม่มีหรือ
ทำไม่ได้เลย ก็เป็นการยากที่จะปฏิบัติธรรมให้ยิ่งๆขึ้นไปได้ครับ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2019, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผ่านประสบการณ์ที่ผมอ่านมา ฉบับแรกของพระไตรปิฏก
นั้นจัดไว้ระดับสูง แบบหย่อ หากท่านศึกษาแล้วปฏิบัติไม่
ได้หรือไม่รู้ไม่เข้าใจแนวทางการปฏิบัติเริ่มต้น ก็ให้มาอ่าน
อรรถกถลองดู ถ้ายังละกิเลสความอยากทาง ตา หู จมูก ลิ้น
กาย ใจ มิได้สักอย่างสักเรื่องอยู่ก็ควรศึกษาฉบับต่อไป หรือ
เข้าไปเรียนเข้าไปศึกษากับครูบาอาจารย์ก็ได้ครับ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2019, 15:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุปุพพิกถา เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาสัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้น ๆ จากง่ายไปหายาก เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังอริยสัจ มี ๕ คือ

๑.ทานกถา พรรณนาทาน

๒. สีลกถา พรรณนาศีล

๓.สัคคกถา พรรณนาสวรรค์ คือ ความสุขที่พรั่งพร้อมด้วยกาม

๔. กามาทีนวกถา พรรณนาโทษของกาม

๕. เนกขัมมานิสังสกถา พรรณนาอานิสงส์แห่งการออกจากกาม

อนุปุพพีกถา ก็มี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2019, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sssboun เขียน:
ผ่านประสบการณ์ที่ผมอ่านมา ฉบับแรกของพระไตรปิฏก
นั้นจัดไว้ระดับสูง แบบหย่อ หากท่านศึกษาแล้วปฏิบัติไม่
ได้หรือไม่รู้ไม่เข้าใจแนวทางการปฏิบัติเริ่มต้น ก็ให้มาอ่าน
อรรถกถลองดู ถ้ายังละกิเลสความอยากทาง ตา หู จมูก ลิ้น
กาย ใจ
มิได้สักอย่างสักเรื่องอยู่ก็ควรศึกษาฉบับต่อไป หรือ
เข้าไปเรียนเข้าไปศึกษากับครูบาอาจารย์ก็ได้ครับ


พูดกำกวมกว้างๆทำให้มีคำถาม

ละกิเลสความอยากทาง จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน

คุณละกิเลสทางนั้นๆ ด้วยการอ่านพระไตรปิฎกเอาหรือขอรับ

ตอบตรงๆ ใช่ ไม่ใช่ พอ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2019, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับผมแล้วทั้ง ๒ อย่าง นั้นคือหลักการศึกษา
คือเรียนรู้เข้าใจ แล้วลงมือปฏิบัติ เกิดผลคือความสำเร็จ
แต่ยังไม่ถึงขั้นพระอริยะเจ้านะครับ เดียวเข้าใจผิดไปอีก
เพียงกระทำสิ่งที่คนทั่วไปกระทำได้ยากหลายอย่างเช่น
ถือศีล ๕ ได้ ไม่ฆ่าสัตว์แม้กระทั่งยุง เคยฝึกอดข้าวได้ เกือบ

๓ วันโดยดื่มแค่น้ำเปล่า เคยติดเกมส์มาหลายสิบปีเลิกได้เด็ด
ขาด ไม่ยุ่งกับการพนันทุกชนิด ไม่ติดในรสของอาหารมาก
เหมือนเมื่อก่อน ทั้งเครื่องดื่ม จนทำให้อารมณ์เสียหงุดหงิด
มีความกล้าหาญขึ้น เข้าใจสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น สงบมากขึ้น ปล่อย
วางได้มากขึ้นกว่าเดิม ดั่งเช่นที่ผมฝึกฝนอยู่นั้นก็คือ งดเว้นใน
การใช้คำหยาบในการพิมพ์คำเหล่านี้ ตั้งแต่ฝึกมาคุณ ลองไปไล่
ดูมีมากน้อยแค่ไหน ตั้งแต่ผมมาที่ลานแห่งนี้ (กู มึง มัน แก ไอ้)

เป็นการฝึกสติ และปัญญา เพราะได้ใช้ความคิดว่าเมื่อเราไม่ใช้
คำนั้นแล้วเราจะเขียนเช่นไรให้ผู้อ่านเข้าใจได้ เอาง่ายๆแค่กระทู้นี้
ลองไล่ตามหาดูนะครับ คนที่ใช้จนชินแล้วการที่จะเอาออกนั้นเป็น
สิ่งที่ยากพอสมควร หากไม่มีกำลังของสติปัญญาที่เพียงพอแล้วคง
ทำไม่ได้ แม้แต่การหัวเราะ ก็ถือเป็นการฝึกเช่นกัน ยิ่งในชีวิตจริงแล้ว
ก็ยิ่งทำยากเพราะเวลาเร็วกว่า การพิมพ์

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 58 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร