วันเวลาปัจจุบัน 23 พ.ค. 2024, 09:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 13:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
การศึกษาการเรียนปริยัติก็มีความสำคัญ แต่ต้องเรียนสำนักที่เขามีการจัดสอบสนามหลวง เพื่อสอบทานความรู้เบื้องต้น เท่าที่ดู จขกท.ยังเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่มาก เมื่อเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลือนแล้วนำไปทำไปปฏิบัติก็ผิด

เรียนไม่ไหวหรอกครับ ขนาดไปสอบนักธรรมตรียังสอบตกเลย ถ้าไปสอบเปรียญธรรม น่าจะอีกไกลครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 13:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
นำศัพท์พร้อมความหมาย ซึ่งชอบพูดชอบถาม-ตอบกันบ่อยๆให้สังเกต


สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้


สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้, มักมาคู่ กับ สติ


สติปัฏฐาน ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลายโดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่าง คือ

๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย

๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา

๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต

๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม, เรียกสั้นๆว่า กาย เวทนา จิต ธรรม

กำหนด หมายไว้, การหมายไว้ ฯลฯ

สัญญา การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และอารมณ์ที่เกิดกับใจ

ขอบคุณมากครับ ถามอีกว่าฐานทั้ง4 ต้องเอาสติกำหนดไว้ที่ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ของร่างกายไว้ทั้งหมดเลยใช่ไหมครับ โดยให้กำหนดไว้ที่อาการปัจจุบันที่เข้ามาทางทวารทั้ง6 เลยเหรอครับ แล้วเราต้องกำหดไปถึงที่เข้ามาอะไรเป็นรูปอะไรเป็นนาม รวมไปถึงรูปทำเกิดนาม นามทำให้เกิดรูป รูปดับไป นามดับไป แบบนี้ด้วยใช่ไหมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 13:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


deecup เขียน:
หลายสำนัก หลายวัด เน้นการเจริญสติทุกอริยาบท มากกว่าเน้นการนั่งสมาธิเป็นชั่วโมง ข้ามคืนจนก้นใส้ติ่งแตก ก้นแตกก็มี

หลายสำนักเน้นการเคลื่อนไหว เช่นเคลื่อนไหวมือ แขน และรวมไปถึงการเดินจงกรม แต่นั่งสมาธิก็ทำนะแต่ทำไม่นาน

เป็นเพราะอะไรครับ หรือแม้แต่การดูจิตในชีวิตประจำวัน รู้เท่าทันจิต นี่ก็เน้นอริยาบทประจำวัน แต่ส่วนใหย่เขาจะนั่งสมาธิกันน้อย หรือเพราะ ทางโลกต้องทำงานมาก จะหาเวลาว่าง มานั่งสมาธิเป็นวันๆข้ามขืนนั้นยาก

หลายสำนักเลยเน้นการเจริญสติทุกอริยาบท ตั้งแต่ยืนเดินนั่งนอน กินข้าวก็ยังกินแบบพระ กำหนดอริยาบทการเคี้ยวการกลืน การดื่มน้ำลงคอ ต้องพิจารณาไม่ให้ติดรสชอบไม่ชอบ รวมไปถึงกินกล้วยก็อย่างับทั้งปาก ให้เอาช้อนแบ่งออก ไม่งั้นต้องปลงอาบัติแบบทางโลก เข้มมากเลย มีใครทำบ้าง ?

Kiss
ต้องเข้าใจก่อนค่ะว่าความจริงต้องตรงจริงคือเดี๋ยวนี้เลยค่ะ
ถ้าเราใช้ชีวิตตามปกติในการทำงานต่างๆก็คือมีสมาธิในการทำค่ะ
แต่เป็นมิจฉาสมาธิเพราะไม่ได้กำลังระลึกตามคือคิดถึงคำตถาคตอยู่
การเป็นผู้ตรงต้องกระทำตรงคือคิดตามตรงทีละ1คำตรงคำพร้อมรู้สึกตัว
ที่ตัวตนของตนเองว่ากำลังมีอะไรตรงตามคำที่กำลังได้ยินค่ะจึงเรียกว่าเริ่ม
มีสัมมาคือคิดตามได้ตรงความจริงที่ตนกำลังมีจริงๆไม่ใช่คิดอย่างอื่นไปด้วยค่ะ
:b20:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


deecup เขียน:
กรัชกาย เขียน:
นำศัพท์พร้อมความหมาย ซึ่งชอบพูดชอบถาม-ตอบกันบ่อยๆให้สังเกต


สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้


สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้, มักมาคู่ กับ สติ


สติปัฏฐาน ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลายโดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่าง คือ

๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย

๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา

๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต

๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม, เรียกสั้นๆว่า กาย เวทนา จิต ธรรม

กำหนด หมายไว้, การหมายไว้ ฯลฯ

สำเหนียก กำหนด, จดจำ, คอยเอาใจใส่, ฟัง, ใส่ใจคิดที่จะนำไปปฏิบัติ, ใส่ใจสังเกตพิจารณาจับเอาสาระเพื่อจะนำไปปฏิบัติให้สำเร็จประโยชน์ (คำพระว่า สิกขา หรือ ศึกษา)

สัญญา การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และอารมณ์ที่เกิดกับใจ


ขอบคุณมากครับ ถามอีกว่าฐานทั้ง4 ต้องเอาสติกำหนดไว้ที่ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ของร่างกายไว้ทั้งหมดเลยใช่ไหมครับ โดยให้กำหนดไว้ที่อาการปัจจุบันที่เข้ามาทางทวารทั้ง 6 เลยเหรอครับ แล้วเราต้องกำหดไปถึงที่เข้ามาอะไรเป็นรูปอะไรเป็นนาม รวมไปถึงรูปทำเกิดนาม นามทำให้เกิดรูป รูปดับไป นามดับไป แบบนี้ด้วยใช่ไหมครับ


อ้างคำพูด:
แล้วเราต้องกำหดไปถึงที่เข้ามาอะไรเป็นรูปอะไรเป็นนาม รวมไปถึงรูปทำเกิดนาม นามทำให้เกิดรูป รูปดับไป นามดับไป แบบนี้ด้วยใช่ไหม


ไม่ต้องไปถึงขนาดนั้นหรอกครับ ยังงั้นเรียนจากตำราก็รู้ได้ แต่ภาคปฏิบัตินี้ต้องเห็นมันเป็นอย่างนั้น

ปฏิบัติใหม่ๆ ไม่ควรบีบบังคับัตั้งกฎเกณฑ์ว่าต้องให้ครบถ้วนตกหล่นไม่ได้เลย ไม่ต้องให้ถึงขนาดนั้น แต่ทำไปเท่าที่ระลึกได้ เช่น ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รับรู้รส สัมผัสถูกต้องนั่นนี่ และใจมันคิด (ทั้งหมดทั้งมวลก็ใจ นี่เองกำหนดรู้ทางตาเป็นต้น)

ทาง ตา (จักขุ) เห็นปั๊บ กำหนดปุ๊บ (ว่าในใจ) เห็นหนอ
ทาง หู (โสต)
ทาง จมูก (ฆาน)
ทาง ลิ้น (ชิวหา)
ทาง กาย (กาย)
ทาง ใจ (มโน,จิต,วิญญาณ) คิดปั้บ กำหนดปุ๊บ (ว่าในใจ) คิดหนอ

ทางทวารอื่นๆมีทางหู เป็นต้น ก็ทำนองเดียวกัน

คร่าวๆเท่านี้ก่อน สงสัยประเด็นไหนอีก ถามให้หายสงสัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้เห็นภาพอิริยาบถนั่งปฏิบัติชัด ลงรูปภาพให้เพื่อถามข้อสังสัย

รูปภาพ


ใช้ลมหายใจเข้า-ออก ใช้พอง-ยุบ อะไรถามได้หมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จงกรม เดินไปมาโดยมีสติกำกับ (กล่าวคือ สติกำกับการก้าวเดินสลับไปสลับมา ...จิตก็คล่องแคล่วไม่จมแช่)


รูปภาพ


วิ่งออกกำลังกายก็ใช้ได้ ทำนองฝึกทหารใหม่ ซ้ายๆๆ ขวา ซ้าย ... อย่าติดในรูปแบบ เพราะนี่มันคือการใช้การเคลื่อนไหวต่างๆฝึกจิต แม้แต่แต่เราทำการทำงานอะไรอยู่เดี๋ยวนั้นขณะนั้น ก็ควบจิตให้อยู่กับสิ่งที่ทำที่เกี่ยวข้องต้องทำในขณะนั้นๆ ก็ได้อีก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เปิดกว้างให้อีก

รูปภาพ


การเคลื่อนไหวทุกรูปแบบใช้ฝึกจิต,ฝึกสมาธิ, เจริญสติ สัมปชัญญะได้ทั้งเพทั้งระยอง คือ ควบคุมจิตใจให้อยู่กับการเคลื่อนไหว เอียงไปทางขวา เอียงไปทางซ้าย รู้สึกตัว รู้สึกตัวๆๆ มันก็แข็งแรงทั้้งร่างกาย และจิตใจ ร่างกายจะแข็งด้วยการเคลื่อนไหว ส่วนจิตใจจะเข้มแข็ง แข็งแรงมันต้องสงบ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 18:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เพื่อให้เห็นภาพอิริยาบถนั่งปฏิบัติชัด ลงรูปภาพให้เพื่อถามข้อสังสัย

รูปภาพ


ใช้ลมหายใจเข้า-ออก ใช้พอง-ยุบ อะไรถามได้หมด

ผม งงตรงพองยุบ คือเวลาหายใจเข้า ท้องก็กำลังพอง ให้กำหนดตั้งแต่ท้องกำลังเริ่มพอง แล้วจิตก็ตามดูอาการ และท่องว่า พอง...ๆๆๆ พอท้องพองได้สุดแค่ใหน ก็หยุดคำว่าพอง แล้วเอาตัวสติคือหนอ มาปิดกำกับไว้ เป็นเขตแดนของเรา ไม่ให้จิตส่งไปนอก กิเลสเข้ามาข้างใน แบบนี้ถูกเปล่า มันกำหนดอาการยากนะ ไอ้พองยุบเนี่ย เห่อๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 18:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
จงกรม เดินไปมาโดยมีสติกำกับ (กล่าวคือ สติกำกับการก้าวเดินสลับไปสลับมา ...จิตก็คล่องแคล่วไม่จมแช่)


รูปภาพ


วิ่งออกกำลังกายก็ใช้ได้ ทำนองฝึกทหารใหม่ ซ้ายๆๆ ขวา ซ้าย ... อย่าติดในรูปแบบ เพราะนี่มันคือการใช้การเคลื่อนไหวต่างๆฝึกจิต แม้แต่แต่เราทำการทำงานอะไรอยู่เดี๋ยวนั้นขณะนั้น ก็ควบจิตให้อยู่กับสิ่งที่ทำที่เกี่ยวข้องต้องทำในขณะนั้นๆ ก็ได้อีก

จำได้ว่าสำนักทางแถวภาคเหนือ เขาบอกเวลาเดินจงกรม อย่าเอามือไขว้หลัง แต่บางสำนักบอกไขว้หลังได้ ไม่ต้องเอามือประสานกันที่ตรงหน้าท้องก็ได้ สรุปยังไง ได้หรือไม่ได้ :b23:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แล้วเราต้องกำหนดไปถึงที่เข้ามาอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม รวมไปถึงรูปทำเกิดนาม นามทำให้เกิดรูป รูปดับไป นามดับไป แบบนี้ด้วยใช่ไหม


ข้างต้นได้บอกว่า ภาคปฏิบัติต้องเห็นชีวิตคือรูปนามมันเป็นเช่นนั้นจากภาวนามยปัญญา เช่น ตัวอย่างนี้

อ้างคำพูด:
รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรมนี่ได้ยินเขาสอนหมด เสียดายจำไม่ได้ ตอนฝึกก็ทำไม่เป็น

ตอนดิฉันเดินจงกรม ช่วงนาทีที่เห็นเป็นกายมันเดินเอง ร้องให้เลย ตอนนั้นรู้สึกว่า แม้ร่างกายมันยังไม่ใช่ของเราจะมีอะไรเป็นของเราบ้างหนอ แบบนี้มันเกิดปัญญาใช่ไหมแต่มันแบบไม่ถึงที่สุด ปัญญาแค่เสี่ยว ต่อมาก็เลยหลงจนเพี้ยน


ผู้นี้เริ่มเห็นสัจจธรรมแล้ว แต่เขาขาดผู้รู้ภาคปฏิบัติแนะนำ เพราะฉะนั้น จขกท.เองไม่ว่าจะไปทำกับใครที่ไหนวัดอะไรก็แล้วแต่ ควรมีผู้รู้แนะนำ คือ รู้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 18:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
deecup เขียน:
หลายสำนัก หลายวัด เน้นการเจริญสติทุกอริยาบท มากกว่าเน้นการนั่งสมาธิเป็นชั่วโมง ข้ามคืนจนก้นใส้ติ่งแตก ก้นแตกก็มี

หลายสำนักเน้นการเคลื่อนไหว เช่นเคลื่อนไหวมือ แขน และรวมไปถึงการเดินจงกรม แต่นั่งสมาธิก็ทำนะแต่ทำไม่นาน

เป็นเพราะอะไรครับ หรือแม้แต่การดูจิตในชีวิตประจำวัน รู้เท่าทันจิต นี่ก็เน้นอริยาบทประจำวัน แต่ส่วนใหย่เขาจะนั่งสมาธิกันน้อย หรือเพราะ ทางโลกต้องทำงานมาก จะหาเวลาว่าง มานั่งสมาธิเป็นวันๆข้ามขืนนั้นยาก

หลายสำนักเลยเน้นการเจริญสติทุกอริยาบท ตั้งแต่ยืนเดินนั่งนอน กินข้าวก็ยังกินแบบพระ กำหนดอริยาบทการเคี้ยวการกลืน การดื่มน้ำลงคอ ต้องพิจารณาไม่ให้ติดรสชอบไม่ชอบ รวมไปถึงกินกล้วยก็อย่างับทั้งปาก ให้เอาช้อนแบ่งออก ไม่งั้นต้องปลงอาบัติแบบทางโลก เข้มมากเลย มีใครทำบ้าง ?

Kiss
ต้องเข้าใจก่อนค่ะว่าความจริงต้องตรงจริงคือเดี๋ยวนี้เลยค่ะ
ถ้าเราใช้ชีวิตตามปกติในการทำงานต่างๆก็คือมีสมาธิในการทำค่ะ
แต่เป็นมิจฉาสมาธิเพราะไม่ได้กำลังระลึกตามคือคิดถึงคำตถาคตอยู่
การเป็นผู้ตรงต้องกระทำตรงคือคิดตามตรงทีละ1คำตรงคำพร้อมรู้สึกตัว
ที่ตัวตนของตนเองว่ากำลังมีอะไรตรงตามคำที่กำลังได้ยินค่ะจึงเรียกว่าเริ่ม
มีสัมมาคือคิดตามได้ตรงความจริงที่ตนกำลังมีจริงๆไม่ใช่คิดอย่างอื่นไปด้วยค่ะ
:b20:
:b4: :b4:

คิด คือ ไม่คิด พอไม่คิด ก็คือคิด ผมมึนหัวมาก เช่นเราเคลื่อนไหวอยู่ เราไม่คิด บางอาจารย์ก็บอกว่า ไอ้ที่คุณไม่คิดนั่นแหละั คือคุณกำลังคิด :b14:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 18:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
แล้วเราต้องกำหนดไปถึงที่เข้ามาอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม รวมไปถึงรูปทำเกิดนาม นามทำให้เกิดรูป รูปดับไป นามดับไป แบบนี้ด้วยใช่ไหม


ข้างต้นได้บอกว่า ภาคปฏิบัติต้องเห็นชีวิตคือรูปนามมันเป็นเช่นนั้นจากภาวนามยปัญญา เช่น ตัวอย่างนี้

อ้างคำพูด:
รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรมนี่ได้ยินเขาสอนหมด เสียดายจำไม่ได้ ตอนฝึกก็ทำไม่เป็น

ตอนดิฉันเดินจงกรม ช่วงนาทีที่เห็นเป็นกายมันเดินเอง ร้องให้เลย ตอนนั้นรู้สึกว่า แม้ร่างกายมันยังไม่ใช่ของเราจะมีอะไรเป็นของเราบ้างหนอ แบบนี้มันเกิดปัญญาใช่ไหมแต่มันแบบไม่ถึงที่สุด ปัญญาแค่เสี่ยว ต่อมาก็เลยหลงจนเพี้ยน


ผู้นี้เริ่มเห็นสัจจธรรมแล้ว แต่เขาขาดผู้รู้ภาคปฏิบัติแนะนำ เพราะฉะนั้น จขกท.เองไม่ว่าจะไปทำกับใครที่ไหนวัดอะไรก็แล้วแต่ ควรมีผู้รู้แนะนำ คือ รู้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ

บางเทคนิค เขาบอกให้เอาตำราขึ้นหิ้งอย่าพึ่งไปรู้ก่อน เช่น ถ้ารู้ว่าฌาน1 อาการฌาน1เป็นยังไง พอได้ฌานปุ๊บ จิตมีความรู้ตำราลักษณะฌาน1 แล้วร้องอ๋อนี่แหละฌาน1 ปรากฎว่าฌาน1 เด้งออกเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


deecup เขียน:
กรัชกาย เขียน:
จงกรม เดินไปมาโดยมีสติกำกับ (กล่าวคือ สติกำกับการก้าวเดินสลับไปสลับมา ...จิตก็คล่องแคล่วไม่จมแช่)


รูปภาพ


วิ่งออกกำลังกายก็ใช้ได้ ทำนองฝึกทหารใหม่ ซ้ายๆๆ ขวา ซ้าย ... อย่าติดในรูปแบบ เพราะนี่มันคือการใช้การเคลื่อนไหวต่างๆฝึกจิต แม้แต่แต่เราทำการทำงานอะไรอยู่เดี๋ยวนั้นขณะนั้น ก็ควบจิตให้อยู่กับสิ่งที่ทำที่เกี่ยวข้องต้องทำในขณะนั้นๆ ก็ได้อีก

จำได้ว่าสำนักทางแถวภาคเหนือ เขาบอกเวลาเดินจงกรม อย่าเอามือไขว้หลัง แต่บางสำนักบอกไขว้หลังได้ ไม่ต้องเอามือประสานกันที่ตรงหน้าท้องก็ได้ สรุปยังไง ได้หรือไม่ได้ :b23:


บอกแล้วว่าอย่าติดในรูปแบบ เอาไว้หน้าไว้หลังไม่ใช่ปัญหา ปัญหามันอยู่ตรงนี้ คือ เราไปสำนักไหนเขาบอกเอามือไขว่หลัง เราเอามือไขว่หลัง สำนักไหนเขาบอกเอาประสานไว้หน้า เราก็เอาไว้หน้า คิกๆๆ

แต่ถ้าเราทำคนเดียว เอาไว้หน้ามันเมื่อยก็เอาไว้หลังบ้าง เอาไว้หลังมันเมื่อยก็เอาไว้หน้าได้ แต่ขณะที่มันคิดจะเปลี่ยนไปนั่นมานี่ให้กำหนดความรู้สึกนั้นด้วย นี่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


deecup เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
แล้วเราต้องกำหนดไปถึงที่เข้ามาอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม รวมไปถึงรูปทำเกิดนาม นามทำให้เกิดรูป รูปดับไป นามดับไป แบบนี้ด้วยใช่ไหม


ข้างต้นได้บอกว่า ภาคปฏิบัติต้องเห็นชีวิตคือรูปนามมันเป็นเช่นนั้นจากภาวนามยปัญญา เช่น ตัวอย่างนี้

อ้างคำพูด:
รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรมนี่ได้ยินเขาสอนหมด เสียดายจำไม่ได้ ตอนฝึกก็ทำไม่เป็น

ตอนดิฉันเดินจงกรม ช่วงนาทีที่เห็นเป็นกายมันเดินเอง ร้องให้เลย ตอนนั้นรู้สึกว่า แม้ร่างกายมันยังไม่ใช่ของเราจะมีอะไรเป็นของเราบ้างหนอ แบบนี้มันเกิดปัญญาใช่ไหมแต่มันแบบไม่ถึงที่สุด ปัญญาแค่เสี่ยว ต่อมาก็เลยหลงจนเพี้ยน


ผู้นี้เริ่มเห็นสัจจธรรมแล้ว แต่เขาขาดผู้รู้ภาคปฏิบัติแนะนำ เพราะฉะนั้น จขกท.เองไม่ว่าจะไปทำกับใครที่ไหนวัดอะไรก็แล้วแต่ ควรมีผู้รู้แนะนำ คือ รู้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ

บางเทคนิค เขาบอกให้เอาตำราขึ้นหิ้งอย่าพึ่งไปรู้ก่อน เช่น ถ้ารู้ว่าฌาน1 อาการฌาน1เป็นยังไง พอได้ฌานปุ๊บ จิตมีความรู้ตำราลักษณะฌาน1 แล้วร้องอ๋อนี่แหละฌาน1 ปรากฎว่าฌาน1 เด้งออกเลย



ฌานเชิญอะไรนั่นอย่าคิดถึงขณะปฏิบัติ คิกๆๆ พูดถึงฌานต้องที่นี่

https://palungjit.org/forums/%E0%B8%AD% ... 0%B8%B4.4/

พูดกันสารพัดชาน :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2018, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่บอกว่าขณะปฏิบัติ ก็ทำไปคือควบคุมจิตใจให้อยู่กับสิ่งที่ทำขณะนั้นๆ ถ้าไปคิดถึงญาณ คิดถึงฌาน คิดถึงพระอริยบุคคลขั้นนั้นนี้ มันก็ได้แค่คิด

ให้ดูตัวอย่าง เขาคิดขณะปฏิบัติคิดขณะที่ทำ (ให้ดูหลายครั้งแล้ว ตัดมา)


ฯลฯ

รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ ความรู้สึกนี้มันเกิดในเวลาแค่แปปเดียว กายขยายไปทุกทิศจนรู้สึกว่ากายหายไป คือไม่มีกาย เวลานี้รู้สึกว่าความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปิติ มีแต่ความสุขไปหมด จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า

"มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลกมัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คนในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้นผมก็สังเกตลมหายใจก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก :)

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปิติ คือปิติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้นเลยนะครับ แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือมีความรู้พร้อมอยู่

จากนั้นผมก็รู้สึกยินดี กับ สิ่งที่เกิดขึ้น แล้ว คิด ไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ" จน จิต เริ่ม ไม่เป็นสมาธิ เริ่ม ปั่นป่วน หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น

http://larndham.org/index.php?/topic/27 ... ntry393770

มันไปถึงตรงนั้น เพราะจิตมันสงบ พอสงบแล้วเราไปคิดนั่นนี่ มันก็หลุด มันต้องประคองจิตให้อยู่กับสิ่งที่ทำ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร