วันเวลาปัจจุบัน 29 ก.ค. 2025, 00:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2017, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธาตุ สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย ธาตุ ๔ คือ

๑. ปฐวีธาตุ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่ เรียกสามัญว่า ธาตุแข้นแข็งหรือธาตุดิน

๒. อาโปธาตุ สภาวะที่เอิบอาบดูดซึม เรียกสามัญว่า ธาตุเหลวหรือธาตุน้ำ

๓. เตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่า ธาตุไฟ

๔. วาโยธาตุ สภาวะที่ทำให้เคลื่อนไหว เรียกสามัญว่า ธาตุลม

ธาตุ ๖ คือ เพิ่ม ๕ อากาสธาตุ สภาวะที่ว่าง
๖. วิญญาณธาตุ สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ หรือ ธาตุรู้


ธาตุกัมมัฏฐาน กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์, กำหนดพิจารณาร่างกายแยกเป็นส่วนต่างๆ ให้เห็นว่าเป็นเพียงธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันอยู่ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ธิติ 1. ความเพียร, ความเข้มแข็งมั่นคง, ความหนักแน่น, ความอดทน 2. ปัญญา


ธุดงค์ องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส, ชื่อข้อปฏิบัติประเภทวัตร ที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษ เป็นต้น


ธุระ “สิ่งที่จะต้องแบกไป” หน้าที่, ภารกิจ, การงาน, เรื่องที่จะต้องรับผิดชอบ, กิจในพระศาสนา แสดงไว้ในอรรถกถา ๒ อย่าง คือ คันถธุระ และวิปัสสนาธุระ

ธุลี ฝุ่น, ละออง, ผล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2017, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมทูต “ผู้นำส่งสาส์นแห่งธรรม” หรือ “ผู้ถือสาส์นส่งข่าวธรรม” “ทูตของธรรม” หรือ “ทูตผู้นำธรรมไปสื่อสาร”

ผู้สื่อข่าวสารแห่งธรรม พระภิกษุผู้ได้รับมอบหมายหรือแต่งตั้งให้เดินทางไปเผยแผ่ประกาศธรรมในต่างถิ่นต่างแดน
ในช่วงต้นพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศธรรม มีผู้ศรัทธาและรู้แจ้งธรรมเพิ่มขึ้นๆอย่างรวดเร็ว ในไม่ช้า พระอรหันตสาวกก็มีจำนวนถึง ๖๐ รูป ครั้งนั้น ประมาณ ๕ เดือนหลังตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้ส่งพระสาวก ๖๐ รูปแรกออกไปประกาศพระศาสนา ด้วยพระดำรัสที่เรามักนำเฉพาะตอนที่ถือกันว่าสำคัญมาก มาอ้างอิงอยู่เสมอ คือพุทธพจน์ที่ว่า “จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย” แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงจาริกไป เพื่อประโยชน์และความสุขของชนจำนวนมาก เพื่อเกื้อการุณย์แก่โลก

(พระดำรัสเต็มว่า ภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้ว จากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
เธอทั้งหลาย จงจาริกไป เพื่อประโยชน์และความสุขของชนจำนวนมาก เพื่อเกื้อการุณย์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ทวยเทพและมวลมนุษย์
พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรม อันงามในเบื้องตน งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจริยะ อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ
สัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย มีอยู่ แต่เพราะไม่ได้ฟังธรรม ก็จะเสื่อมไปเสีย ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมี
แม้เรา ก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรม, วินย.4/32/39)

พระอรรถกถาจารย์ นำพุทธพจน์ครั้งนี้ ไปประพันธ์เป็นคาถา ให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงส่งพระอรหันตสาวกทั้งหมดนั้นไปทำงานพระธรรมทูต ดังความในคาถานั้นว่า (พุทธ.อ. 2/27) “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ เมื่อจะบำเพ็ญ ประโยชน์ตนและ ประโยชน์ผู้อื่น จงแยกย้ายกันเที่ยวจาริกนำธรรมไปให้แก่มนุษย์ทั้งหลาย ตลอดทั่วแผ่นดินผืนนี้.

เธอทั้งหลาย อยู่ในที่สงัดวิเวก ตามเขาเขินเนินวนา ทำหน้าที่ประกาศสัทธรรมแก่โลก สืบจากเรา สม่ำเสมอต่อเนื่องไป.

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ เมื่อทำงานพระธรรมทูต จงเป็นผู้มีวัตรปฏิบัติอันงาม จงกล่าวไขคำสั่งสอนของเราแก่เหล่าประชาให้แจ่มแจ้ง เพื่อเห็นแก่สันติสุขของเขา.

เธอทั้งหลาย ผู้ไร้อาสวกิเลส หาใครเทียบเทียมมิได้ จงปิดประตูอบายเสียให้หมดสิ้น และจงเปิดประตู สู่ทางแห่งสวรรค์และโมกษธรรม.

เธอทั้งหลาย ผู้เป็นแหล่งแห่งคุณความดีมีการุญธรรมเป็นต้น จงเพิ่มพูนปัญญาและศรัทธาแก่ชาวโลก ทั้งด้วยการเทศนาแก่เขา และการปฏิบัติตนเอง ให้พร้อมทุกประการ.

คฤหัสถ์ทั้งหลาย อุปการะพวกเธออยู่เป็นนิตย์ด้วยอามิสทาน เธอทั้งหลายก็จงอุปการะตอบต่อพวกเขาด้วยธรรมทาน.

เธอทั้งหลาย ผู้ได้ทำกิจที่ควรทำของตนเองเสร็จแล้ว จงบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยแสดงสัทธรรม ยกธงชัยของผู้แสวงธรรมขึ้นชูเถิด

เฉพาะคาถามี “ธรรมทูต” เป็นคำบาลี (ธมฺมทูเตยฺยํ = งานพระธรรมทูต) ดังนี้

กโรนฺตา ธมฺมทูเตยฺยํ วิขฺยาปยถ ภิกฺขโว
สนฺติอตฺถาย สตฺตานํ สุพฺพตา วจนํ มม.


คาถาที่พระอรรถกถาจารย์ประพันธ์ขึ้น เพื่อแสดงนัยแห่งพุทธพจน์นี้ นอกจากเป็นหลักฐานอันแสดงว่า “ธรรมทูต” เป็นคำที่ท่านใช้เรียกพระอรหันตสาวก ๖๐ องค์ ที่พระพุทธเจ้าทรงส่งไปประกาศพระศาสนา โดยถือเป็นพระ “ธรรมทูต” ชุดแรก ในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนาแล้ว ก็เป็นคาถาซึ่งให้คติที่นำมาพ่วงประกอบเข้าได้กับพุทธพจน์ข้างต้นและพระคาถาโอวาทปาฏิโมกข์ เพื่อใช้เป็นหลักนำทางการทำงานของพระธรรมทูตทั้งหลายสืบต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร