วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 21:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2016, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฆานะ จมูก

ฆานวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะกลิ่นกระทบจมูก, กลิ่นกระทบจมูกเกิดความรู้ขึ้น, ความรู้กลิ่น (ข้อ ๓ ในวิญญาณ ๖)


ฆานสัมผัส อาการที่ จมูก กลิ่น และฆานวิญญาณประจวบกัน


ฆานสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้น เพราะฆานสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่จมูก กลิ่น และฆานวิญญาณประจวบกัน


โฆสัปปมาณิกา คนพวกที่ถือเสียงป็นประมาณ, คนที่นิยมเสียง เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเพราะเสียง ชอบฟังเสียงไพเราะ เช่น เสียงสวดสรภัญญะเทศน์มหาชาติเป็นทำนอง เสียงประโคม เป็นต้น

อีกนัยหนึ่งว่า ผู้ถือชื่อเสียงกิตติศัพท์ หรือความโด่งดังเป็นประมาณ เห็นใครมีชื่อเสียงก็ตื่นไปตาม


งมงาย ไม่รู้ท่า, ไม่เข้าใจ, เซ่อเซอะ, หลงเชื่อโดยไม่มีเหตุผล หรือโดยไม่ยอมรับฟังผู้อื่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ค. 2016, 16:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2016, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เครื่องราง ของที่นับถือว่าเป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันอันตราย โดยทำให้รอดปลอดภัย เช่น พระเครื่อง ตะกรุด ผ้ายันต์ มักเชื่อกันในทางรุนแรง เช่นว่า ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เป็นต้น

นิยมพูดรวมกับคำ “ของขลัง” (ของที่เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์มีอำนาจบันดาลให้สำเร็จผลดังประสงค์ เช่นนำโชคลาภมาให้) ควบคู่กันว่า เครื่องรางของขลัง

เมื่อประมาณ ๒๐-๓๐ ปี หลัง พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้มีผู้คิดคำใหม่ขึ้นมาใช้ว่า วัตถุมงคล และนิยมใช้ตามกันทั่วไป จนบัดนี้ เหมือนว่าได้แทนที่คำว่าเครื่องรางของขลัง แม้ว่าคำ “วัตถุมงคล” จะแปลความหมายได้กว้างกว่าว่า สิ่งทีเป็นสิริมงคล หรือสิ่งที่นำสิริมลคลคือความดีงามความสุข ความเจริญมาให้ แต่คนทั่วไปมักเห็นความหมายอย่างเครื่องรางของขลังเท่าเดิม

สำหรับพุทธศาสนิกชน การนับถือพระเครื่อง คือเป็นหลักยึดเหนี่ยว ที่สื่อใจโยงให้สนิทแน่วในพระพุทธคุณ มาจนถึงคุณมารดาบิดาอุปัชฌาย์อาจารย์ และปลุกใจให้ปสาทะ เกิดความชื่นบาน มั่นแน่ว เข็มแข็ง มีกำลัง ทำให้จิตมีสติและสมาธิที่จะทำการนั้นๆ อย่างได้ผลดีเต็มที่และใจสว่าง ใช้ปัญญาคิดการได้โปร่งโล่ง ทำการได้ลุรอด และลุล่วงสำเร็จถึงจุดหมาย

ถ้าใช้ถูกต้องอย่างนี้ ก็จะไม่ผิดหลักกรรม ไม่ขัดต่อศรัทธาในกรรม คือ เชื่อการกระทำ ว่าจะต้องทำเหตุปัจจัยให้เกิดผลที่ต้องการด้วยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามของตน และจะเกิดผลดีทั้งระยะสั้นและระยะยาว

แต่ถ้า ไม่รู้จักใช้ คือใช้ผิดหลักกรรม ขัดต่อศรัทธาในกรรม ก็จะเกิดความเสื่อมทั้งแก่ชีวิตและสังคม (ดู ปริตร)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2016, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์ ๑ ลึกซึ้ง ๒. ตำราที่นับถือว่า สำคัญหรือเป็นของสูง หนังสือสำคัญที่ถือเป็นหลักเป็นแบบแผน เช่น คัมภีร์ศาสนา คัมภีร์โหราศาสตร์


คาถา ๑ คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี ตรงข้ามกับ จุณณิยบท

คาถาหนึ่งๆ มี ๔ บาท เช่น

อาโรคยปรมาลาภา - สนฺตุฏฺฐีปรมํ ธนํ

วิสฺสาสปรมาญาติ - นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ


๒. พุทธพจน์ที่เป็นคาถา (ข้อ ๔ ในนวังคสัตถุศาสน์) เทียบ ไวยากรณ์

๓ ในภาษาไทย บางทีใช้ในความหมายว่า คำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ อย่างที่เรียกว่า ถาคาอาคม


คาถาพัน “คาถาหนึ่งพัน” เป็นชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกบทประพันธ์เรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งแต่งเป็นคาถาล้วนๆ ๑ พันบท
การเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่เป็นคาถาล้วนๆอย่างนี้ เรียกว่า เทศน์คาถาพัน


คาถาพันธ์ ข้อความที่ผูกเป็นคาถา, คำประพันธ์ที่แต่งเป็นบทร้อยกรอง คือ คาถานั่นเอง


คารวโวหาร ถ้อยคำแสดงความเคารพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 30 ก.ค. 2016, 16:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2016, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คารวะ ความเคารพ, ความเอื้อเฟื้อ, ความใส่ใจมองเห็นความสำคัญที่จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ ให้ถูกต้องเหมาะสม มี ๖ อย่าง คือ

๑. พุทูธคารวตา - ความเคารพในพระพุทธเจ้า

๒ ธมฺมคารวตา - ความเคารพในพระธรรม

๓. สงฺฆคารวตา - ความเคารพในพระสงฆ์

๔. สิกฺขาคารวตา -ความเคารพในการศึกษา

๕.อปฺปมาทคารวตา - ความเคารพในความไม่ประมาท

๖.ปฏิสนฺถารคารวตา - ความเคารพในความปฏิสันถาร คือ การต้อนรับปราศรัย


คุณของพระรัตนตรัย คุณของรัตนะ ๓ คือ

๑.พระพุทธเจ้า รู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย

๒.พระธรรม เป็นหลักแห่งความจริง และความดีงาม ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว

๓. พระสงฆ์ ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตามด้วย


คุณธรรม ธรรมที่เป็นคุณ, ความดีงาม, สภาพที่เกื้อกุล


คุณบท บทที่แสดงคุณ, บทที่กล่าวถึงคุณงามความดี, คำแสดงคุณสมบัติ


คำรบ ครบ, ถ้วน, เต็มตามจำนวนที่กำหนดไว้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2017, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตันติ ๑. แบบแผน เช่น ตันติธรรม (ธรรมที่เป็นแบบแผน) ตันติประเพณี (แนวทางที่ยึดถือปฏิบัติสืบกันมาเป็นแบบแผน) เช่น ภิกษุทั้งหลายควรสืบต่อตันติประเพณีแห่งการเล่าเรียนพระธรรมวินัย และเที่ยวจาริกไปแสดงธรรม โดยดำรงอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส ๒. เส้น, สาย เช่น สายพิณ

ตันติภาษา ภาษาที่มีแบบแผน คือมีหลักภาษา มีไวยากรณ์ เป็นระเบียบ เป็นมาตรฐาน, เมื่อพระพุทธโฆษาจารย์แปลอรรถกถาจากภาษาสิงหล ท่านกล่าวว่า ยกขึ้นสู่ตันติภาษา คำว่า “ตันติภาษา” ในที่นี้หมายถึง ภาษาบาลี (บาลี ตนฺติภาสา)

บาลี ๑. “ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์” ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึกรักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ ภาษามคธ ๒. พระพุทธวจนะ ซึ่งพระสังคีติกาจารย์รวบรวมไว้ คือ พระธรรมวินัยที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนา และรักษาไว้ด้วยภาษาบาลี สืบต่อกันมาในรูปที่เรียกว่า พระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิม ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท, พุทธพจน์, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก,

ในการศึกษาพระพุทธศาสนา มีประเพณีที่ปฏิบัติกันมาในเมืองไทย ให้แยกคำว่า “บาลี”


ในความหมาย ๒ อย่างนี้ ด้วยการเรียกให้ต่างกัน คือ ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๑. ให้ใช้คำว่า ภาษาบาลี (หรือ ศัพท์บาลี คำบาลีหรือบาลี) แต่ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๒. ให้ใช้คำว่า พระบาลี

มคธภาษา ภาษาของชนชาวมคธ, ภาษาของชนผู้อยู่ในแคว้นมคธ

มคธ ๑. ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล ตั้งอยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำคงคาตอนกลาง เป็นแคว้นที่มีอำนาจมากแข่งกันกับแคว้นโกศล และเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล มคธมีนครหลวงชื่อ ราชคฤห์ ราชาผู้ปกครองพระนามว่า พิมพิสาร


ตอนปลายพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารถูกพระโอรสชื่อ อชาตศัตรู ปลงพระชนม์ และขึ้นครองราชย์สืบแทน

ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาลาโศก หรือก่อนนั้น เมืองหลวงของมคธ ย้ายไปตั้งที่เมืองปาฏลีบุตร บนฝั่งแม่น้ำคงคา เหนือเมืองราชคฤห์ขึ้นไป มคธรุ่งเรืองถึงที่สุดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งแคว้นใหญ่อื่นทั้งหมดได้รวมเข้าอยู่ภายในมหาอาณาจักรของพระองค์ทั้งหมดแล้ว

บัดนี้ บริเวณที่เคยเป็นแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล เรียกว่า แคว้นพิหาร ๒. เรียกภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ หรือภาษาของชาวแคว้นมคธว่า ภาษามคธ และถือกันว่าภาษาบาลีที่ใช้รักษาพระพุทธพจน์สืบมาจนบัดนี้ คือ ภาษามคธ


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร