วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 17:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2016, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ในการแสดงพุทธธรรมนี้ ผู้แสดงถือว่าได้พยายามที่จะแสดงตัวพุทธธรรมแท้อย่างที่องค์พระบรมศาสดาทรงสอนและทรงมุ่งหมาย
ในกรณีนี้ ได้ตัดความหมายที่ประชาชนเข้าใจออกโดยสิ้นเชิง ไม่นำมาพิจารณาเลย เพราะถือว่าเป็นเรื่องข้างปลาย ไม่จำเป็นต่อการเข้าใจตัวพุทธธรรมที่แท้แต่ประการใด


แหล่งสำคัญอันเป็นที่มาของเนื้อหา และความหมายของพุทธธรรมที่จะแสดงต่อไปนี้ ได้แก่ คัมภีร์พุทธศาสนา ซึ่งในที่นี้ ถ้าไม่มีกรณีเกี่ยวข้องเป็นพิเศษ จะหมายถึงพระไตรปิฎกบาลีอย่างเดียว เพราะเป็นคัมภีร์ย่อมรับกันทั่วไปแล้วว่าเป็นแหล่งรวบรวมรักษาพุทธธรรม ที่แม่นยำและสมบูรณ์ที่สุด

แม้กระนั้น ก็ได้เลือกสรรเอาเฉพาะส่วนที่เห็นว่าเป็นหลักการตั้งเดิม เป็นความหมายแท้จริงมาแสดง โดยยึดเอาหลักความกลมกลืนสอดคล้องกันในหน่วยรวมเป็นหลัก และเพื่อให้มั่นใจ ยิ่งขึ้น จึงได้นำพุทธจริยา และพุทธกิจ ที่ได้ทรงบำเพ็ญมาประกอบการพิจารณาตัดสินแนวทางและขอบเขตของพุทธธรรมด้วย


เมื่อได้หลักการพิจารณาเหล่านี้มาเป็นเครื่องกำกับการแสดงแล้ว ก็มั่นใจว่าจะสามารถแสดงสาระแห่งพุทธธรรมได้ใกล้เคียงตัวแท้เป็นอย่างยิ่ง


อย่างไรก็ตาม ในขั้นพื้นฐาน การแสดงนี้ก็ยังต้องขึ้นกับกำลังสติปัญญาของผู้แสดง และความโน้มเอียงบางอย่างที่ผู้แสดงเองอาจไม่รู้ตัวอยู่นั่นเอง ฉะนั้น จึงขอให้ถือว่าเป็นความพยายามครั้งหนึ่ง ที่จะแสดงพุทธธรรมให้ถูกต้องที่สุดตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนและมุ่งหมาย โดยอาศัยวิธีการและหลักการแสงพร้อมทั้งหลักฐานต่างๆที่เชื่อว่าให้ความมั่นใจมากที่สุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2016, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าแยกพุทธธรรมออกเป็น ๒ ส่วน คือ สัจธรรมส่วนหนึ่ง กับ จริยธรรมส่วนหนึ่ง
สัจธรรมเป็นส่วนแสดงสภาวะหรือรูปลักษณะตัวจริง
และ
จริยธรรมเป็นฝ่ายข้อประพฤติปฏิบัติทั้งหมด ก็จะเห็นว่าสัจธรรมในพุทธศาสนา ย่อมหมายถึงคำสอนเกี่ยวกับสภาวะของสิ่งทั้งหลาย หรือธรรมชาติ และความเป็นไปโดยธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย หรือกฎธรรมชาตินั่นเอง

ส่วนจริยธรรม ก็หมายถึง การถือเอาประโยชน์จากความรู้ความเข้าใจในสภาพ และความเป็นไปของสิ่งทั้งหลาย หรือการรู้กฎธรรมชาติ แล้วนำมาใช้ในทางที่เป็นประโยชน์
อีกนัยหนึ่ง
สัจธรรม คือ ธรรมชาติ และกฎธรรมดา
จริยธรรม คือ ความ รู้ในการประยุกต์สัจธรรม
หลักการทั้งหมดนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับตัวการนอกเหนือธรรมชาติ เช่น พระผู้สร้าง เป็นต้น แต่ประการใดเลย


ด้วยเหตุนี้ ในการแสดงพุทธธรรมเพื่อความรู้ความเข้าใจที่มุ่งในแนวทฤษฎี คือ มุ่งให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร มีขอบเขตแค่ไหนเพียงไร จึงควรแสดงควบคู่กันไปทั้งสัจธรรม และจริยธรรม คือแสดงหลักคำสอนในแง่สภาวะ แล้วชี้ถึงคุณค่าที่จะนำมาใช้ในทางปฏิบัติไว้ด้วยให้เสร็จไปแต่ละอย่างๆ


ดังนั้น บทตอนทั้งหลายในหนังสือนี้ ที่ว่าด้วยธรรมซึ่งเป็นฝ่ายสภาวะ จึงมีส่วนที่กล่าวถึงคุณค่าทางจริยธรมประกอบไว้ด้วย
เช่น
เมื่อกล่าวถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลก และชีวิตเสร็จแล้ว ก็กล่าวถึงความหมายและคุณค่าในทางปฏิบัติของความรู้ความเข้าใจนั้นต่อท้ายด้วย แม้มองอย่างกว้างตลอดทั้งเล่ม ก็ดำเนินตามแนวนี้เช่นเดียวกัน กล่าวคือ ภาคแรกทั้งหมดแสดงธรรมฝ่ายสภาวะ และตัวกฏของธรรมชาติ เรียกว่า มัชเฌนธรรมเทศนา

ภาคหลังกล่าวถึงความรู้ภาคปฏิบัติ คือ การนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาวะและตัวกฎนั้น ไปใช้ประโยชน์ในการประพฤติปฏิบัติ หรือดำเนินชีวิตจริง เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2016, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง ในบางตอนของข้อเขียนนี้ ได้แสดงความหมายภาษาอังกฤษของศัพท์ที่สำคัญๆไว้ด้วย โดยเหตุผลอย่างน้อย ๓ อย่าง คือ

ประการแรก ในภาษาไทยปัจจุบัน ได้มีผู้นำศัพท์ธรรมบางคำมาใช้เป็นศัพท์บัญญัติ สำหรับคำในภาษาอังกฤษ ที่มีความหมายไม่ตรงกันกับศัพท์ธรรมนั้น อันอาจทำให้ความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ จึงนำความหมายในภาษาอังกฤษมาแสดงควบไว้ด้วย เพื่อไม่ให้ผู้อ่านถือไปตามความหมายที่มีผู้บัญญัติใช้ใหม่ในภาษาไทย

ประการที่สอง จำต้องยอมรับความจริงว่า นักศึกษาวิชาการสมัยใหม่จำนวนไม่น้อย เข้าใจความหมายในภาษาไทยได้ชัดเจนขึ้น ในเมื่อเห็นคำภาษาอังกฤษควบอยู่ด้วย

ประการที่สาม ตำราภาษาต่างประเทที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในปัจจุบันนี้ มีจำนวนมาก การรู้ความหมายศัพท์ธรรมที่นิยามใช้ในภาษาอังกฤษ ย่อมเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาที่ต้องการค้นคว้าอย่างกว้างขวางต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2016, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลิงค์ศึกษา ตัดออกไปบ้างจะลงเท่าที่เห็นว่าง่ายไม่ยากจนเกินไป

มี คคห.โต้แย้งกันขั้นบ้าง ไม่เสียหาย แต่กลับช่วยเน้นประเด็นที่ว่ายากด้วย

ภาค ๑ มัชเฌนธรรมเทศนา

(ก็ได้แก่)

ตอน ๑ ชีวิต คืออะไร

-ขันธ์ ๕

viewtopic.php?f=1&t=52543

-อายตนะ ๖

viewtopic.php?f=1&t=52608

ตอน ๒ ชีวิตเป็นอย่างไร

- ไตรลักษณ์

viewtopic.php?f=1&t=52626

ตอน ๓ ชีวิตเป็นไปอย่างไร

- ปฏิจจสมุปบาท

viewtopic.php?f=1&t=52652

- กรรม

viewtopic.php?f=1&t=52660&p=394977#p394977


ตอน ๔ ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร

วิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน

ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร