วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 11:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2016, 10:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
เมื่อรู้อย่างนี้...กรัชกายก็ให้เป็นธรรมบ้างซิ....

เช่นพวกตัวเองบอกให้เผาไปเลยพี่น้อง...กรัชกายก็หัดตักเตือนพวกตัวเองบ้าง...ไม่ใช่มาหาเหตุแก้ตัวอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม...พอพวกทำชั่วผิดศีลผิดธรรมก็เฉย...

:b32: :b32: :b32:



มันมีความจริงที่ปิดอยู่อีกมากนัก

รูปภาพ

ความจริงรอวันเวลาเปิดอยู่ :b13:

http://g-picture2.wunjun.com/5/full/954 ... ?s=459x456


เช่นพวกตัวเองบอกให้เผาไปเลยพี่น้อง...กรัชกายก็หัดตักเตือนพวกตัวเองบ้าง...ไม่ใช่มาหาเหตุแก้ตัวอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม...พอพวกทำชั่วผิดศีลผิดธรรมก็เฉย...

:b32: :b32:


ถ้าเขาพูดแค่นั้น ผิดก็ไปจับเขาซี่ คิกๆๆ


ถ้าหากผมเป็นเจ้าหน้าที่..มีหน้าที่รักษากฎหมาย...แล้วเห็นว่าผิดกฎหมาย..ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายในสังคม...ให้คนไปทำผิดกฎหมาย..ผมจับแน่..

เมื่อไม่ใช่เจ้าหน้าที่...แต่เป็นเพื่อนเป็นพี่เป็นน้อง..เป็นคนที่มาพบเจอกัน...ก็จะตักเตือนกันด้วยธรรม..อย่างที่ผมกำลังตักเตือนกรัชกายอยู่นี้งัย...ที่ไปเรียกร้องให้คนอื่นเป็นธรรมเป็นธรรมนั้นนะ...เตือนตัวเองให้เป็นธรรมบ้างซะหน่อยเป็นไร
:b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2016, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
เมื่อรู้อย่างนี้...กรัชกายก็ให้เป็นธรรมบ้างซิ....

เช่นพวกตัวเองบอกให้เผาไปเลยพี่น้อง...กรัชกายก็หัดตักเตือนพวกตัวเองบ้าง...ไม่ใช่มาหาเหตุแก้ตัวอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม...พอพวกทำชั่วผิดศีลผิดธรรมก็เฉย...

:b32: :b32: :b32:



มันมีความจริงที่ปิดอยู่อีกมากนัก

รูปภาพ

ความจริงรอวันเวลาเปิดอยู่ :b13:

http://g-picture2.wunjun.com/5/full/954 ... ?s=459x456


เช่นพวกตัวเองบอกให้เผาไปเลยพี่น้อง...กรัชกายก็หัดตักเตือนพวกตัวเองบ้าง...ไม่ใช่มาหาเหตุแก้ตัวอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม...พอพวกทำชั่วผิดศีลผิดธรรมก็เฉย...

:b32: :b32:


ถ้าเขาพูดแค่นั้น ผิดก็ไปจับเขาซี่ คิกๆๆ


ถ้าหากผมเป็นเจ้าหน้าที่..มีหน้าที่รักษากฎหมาย...แล้วเห็นว่าผิดกฎหมาย..ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายในสังคม...ให้คนไปทำผิดกฎหมาย..ผมจับแน่..

เมื่อไม่ใช่เจ้าหน้าที่...แต่เป็นเพื่อนเป็นพี่เป็นน้อง..เป็นคนที่มาพบเจอกัน...ก็จะตักเตือนกันด้วยธรรม..อย่างที่ผมกำลังตักเตือนกรัชกายอยู่นี้งัย...ที่ไปเรียกร้องให้คนอื่นเป็นธรรมเป็นธรรมนั้นนะ...เตือนตัวเองให้เป็นธรรมบ้างซะหน่อยเป็นไร
:b1: :b1:



ถ้าผิดเขาจับแล้ว แค่ขันแดงยังจับเลย กบเอ้ย คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2016, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อๆ

รู้ธรรมยังไม่พอ จะจัดชีวิต-สังคมให้ดีจริง ก็ยังไม่ได้ หันไปจัดการกับธรรมชาติ ก็พลาดมาแทบพัง

ถ้ามนุษย์ไม่รู้ไม่เข้าใจความจริงของธรรมชาติเพียงพอ เรียกว่า ปัญญาเข้าไม่ถึงความจริงนั้น ถึงแม้ว่า เขาจะต้องการผลดีโดยมีเจตนาดี เช่น ปรารถนาดี มีเมตตา เป็นต้น แก่สังคมของตน แล้วพยายามบัญญัติจัดตั้งวางกฎ กติกา ระเบียบ แบบแผนขึ้นมา ให้คนทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เมื่อบัญญัตินั้นไม่สอดคล้องกับความจริงแท้ มันก็คือความผิดพลาด แล้วก็ไม่ได้ผลจริง จึงต้องให้สองอย่าง นี้สัมพันธ์และสอดคล้องซึ่งกันและกัน

ตกลงว่า หนึ่ง ความจริง ที่มีอยู่ตามธรรมดาของธรรมชาติ เรียกว่า "ธรรม" และ

สอง อาศัยความรู้ในความจริงของธรรมชาตินั้น มนุษย์เรานี้แหละ ก็มาบัญญัติจัด วางกติกา ระเบียบ แบบแผน ขึ้นในสังคม เพื่อให้ มนุษย์ปฏิบัติโดยสอดคล้องกับความจริงของธรรมชาตินั้น ในทางที่จะเกิดผลดีแก่ชีวิต และสังคมของตน เรียกว่า "วินัย"

พระพุทธศาสนา ก็จึงมีหลักใหญ่อยู่ ๒ อย่างเท่านี้ แล้วก็เรียกพระพุทธศาสนาว่า "ธรรมวินัย" เท่านี้เอง เป็นชื่อที่สั้นที่สุด และเป็นชื่อเดิมด้วย

ส่วนคำว่า "พระพุทธศาสนา" เป็นคำที่ใช้กว้างๆ ซึ่งแต่เดิมนั้น ก็หมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นด้านหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งระบบของพระพุทธศาสนา และก็มองภาพรวมได้ไม่ชัด ไม่เหมือนคำว่า พระธรรมวินัย

เพราะฉะนั้น สำหรับพระเวลาใช้คำที่เป็นทางการหรือเป็นหลักฐาน ก็จะใช้คำว่าพระธรรม วินัย ซึ่งชี้ตรงไปที่ตัวหลักเลย และเห็นกันชัดออกมาเลยว่ามี ๒ อย่างนี้นะ มารวมกันเป็นหนึ่ง

ทั้งที่มี ๒ อย่าง แต่เวลาเรียกรวมกันว่าพระธรรมวินัยนี่ ท่านใช้เป็นคำเอกพจน์ คือ ๒ อย่าง รวมกันแล้วกลายเป็นหน่วยอันหนึ่งอันเดียว

เหมือนอย่างชีวิตเรานี้ ที่มีรูป กับ นาม เวลารวมกันแล้ว ท่านเรียกว่า นามรูป เป็นชีวิตอันหนึ่งอันเดียวหน่วยเดียว ประกอบด้วยด้านนาม กับ ด้านรูป หรือด้านร่างกาย กับ ด้านจิตใจ แต่คำที่เรียกรวมกันนั้น เป็นคำเอกพจน์ นี่คือ นามรูปเป็นหน่วยรวม อันเดียวคือชีวิต เหมือนกับธรรมวินัยเป็นหน่วยรวมอันเดียว คือ พระพุทธศาสนา

ที่ว่ามานี้ เป็นหลักการใหญ่ ที่เหมือนกับเป็นเครื่องเตือนใจเราว่า มนุษย์จะต้องพยายามเข้าถึงความจริงอยู่เสมอ การบัญญัติ จัดตั้ง วางและเปลี่ยนแปลง ระเบียบ แบบแผน กฎเกณฑ์ ต่างๆ จะต้องสอดคล้องกับความจริง เช่น ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ทั้งลึกลงไปในธรรมชาติที่เป็นพื้นฐาน และในสังคมที่อยู่บนฐานของธรรมชาติ


ความเป็นจริงในธรรมชาติ เป็น ความเป็นจริงพื้นฐาน จะพูดว่า ความจริงในชีวิตและในสังคมมนุษย์ ตั้งอยู่บนฐานของความจริงของธรรมชาติ หรือว่าชีวิตและสังคมต้องเป็น ไปตามความเป็นจริงของธรรมชาติ ก็ถูกทั้งนั้น เพราะฉะนั้น จึงหนีไม่พ้นว่า ถ้ามนุษย์จะให้ชีวิตและสังคมของตนอยู่ดีมีสุข ได้ มนุษย์ก็ต้องพยายามเข้าให้ถึงความจริงของธรรมชาติ หรือธรรมดานี้

อาการเป็นไปที่เป็นความจริงของธรรมชาตินั้น มอง รวมๆ แล้ว ก็เป็นระเบียบ เป็นระบบ ซึ่งมนุษย์ที่ต้องการจะเป็นอยู่ให้ดีและทำอะไรให้ได้ผล ก็ต้องทำให้เป็นระเบียบ เป็นระบบตามนั้น ตั้งแต่จะกิน จะทำงาน จะนอนไปตามวันเวลาที่ดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ โคจร ต้องทำการกสิกรรมไปให้ถูกลำดับและระบบของฤดูกาล เป็นต้น

เพื่อจะเป็นอยู่ให้ดีและทำอะไรได้ผลยิ่งขึ้น มนุษย์ที่ฉลาดก็มาพยายามคิด บัญญัติจัดตั้งวางระเบียบระบบชีวิตและสังคมของตน มากขึ้นๆ

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ ถ้าเราไม่เข้าถึงความจริงของธรรมชาติแล้วบัญญัติจัดตั้งวางระเบียบระบบของชีวิตของสังคมให้สอดคล้องกับความจริงของธรรมชาตินั้นแล้ว กฎเกณฑ์ กติกา กฎหมายอะไรต่างๆนั้น ก็เป็นไปได้ยากที่จะได้ผลดี ที่แท้ก็คือ มันจะไม่สำเร็จผลจริง

แม้ในยุคอุตสาหกรรม ที่มนุษย์มุ่งจะเอาชนะธรรมชาติ จะไม่ยอมขึ้นต่อธรรมชาติ ก็ยังต้องรู้ความจริงธรรมชาติในด้านที่จะเอาชนะนั้นให้มากที่สุด และต้องทำให้ถูกต้องตามกฎธรรมชาติในเรื่องนั้น

เพียงแต่ว่า นั่นเป็นการพยายามรู้ด้วยท่าทีแบบศัตรู หรือเป็นปฏิปักษ์ คือใช้วิธีล้วงความลับ เพื่อเอาความจริงของศัตรูมาใช้จัดการมัน โดยทำตามความจริงนั้นแหละ แต่ทำในทางที่ย้อนทางหรือยักเยื้องให้เข้ากับความต้องการของตน (เหมือนคนเอาความรู้เกี่ยวกับการไหลของน้ำมาใช้ทำเขื่อนกั้นน้ำ)

แม้จะประสบความสำเร็จไม่น้อย แต่ปัญหาก็มักเกิดขึ้น เพราะมนุษย์รู้ความจริงในเรื่องนั้นไม่เพียงพอ หรือรู้ครบถ้วนเฉพาะในเรื่องนั้นด้านนั้น แต่ไม่รู้ไปถึงเหตุปัจจัยข้างเคียงที่สัมพันธ์โยงต่ออกไป คือ ระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยในสิ่งทั้งหลาย ที่โยงกันทั่วตลอด (ระบบปัจจยาการ)

ดังนั้น บ่อยครั้ง แม้จะได้ผลที่ต้องการแล้ว แต่พร้อมนั้น หรือบางครั้งทีหลังจากนั้น เร็วบ้าง ช้าบ้าง ก็เกิดผลพ่วงอย่างอื่นตามมา ที่มักไม่ได้คาดคิด ซึ่งบางทีก็เป็นเรื่องร้ายแรง ทำให้ผลดีที่ได้มานั้นไม่คุ้มกัน อย่างปัญหาสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ที่นับวันดูจะยิ่งรุนแรงจนแทบไม่เห็นทางแก้

เรื่องเบี่ยงเบนและ ข้างเคียงจะไม่พูดมาก พูดแค่รวมๆว่า แม้จะก้าวหน้าในการพิชิตธรรมชาติมามากมายจนบัดนี้ มนุษย์ก็ยังเอาชนะธรรมชาติไม่ได้ แต่ตรงข้าม มนุษย์ได้เริ่มเปลี่ยนท่าทีหันมาขออยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเป็นมิตร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2016, 06:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
เมื่อรู้อย่างนี้...กรัชกายก็ให้เป็นธรรมบ้างซิ....

เช่นพวกตัวเองบอกให้เผาไปเลยพี่น้อง...กรัชกายก็หัดตักเตือนพวกตัวเองบ้าง...ไม่ใช่มาหาเหตุแก้ตัวอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม...พอพวกทำชั่วผิดศีลผิดธรรมก็เฉย...

:b32: :b32: :b32:



มันมีความจริงที่ปิดอยู่อีกมากนัก

รูปภาพ

ความจริงรอวันเวลาเปิดอยู่ :b13:

http://g-picture2.wunjun.com/5/full/954 ... ?s=459x456


เช่นพวกตัวเองบอกให้เผาไปเลยพี่น้อง...กรัชกายก็หัดตักเตือนพวกตัวเองบ้าง...ไม่ใช่มาหาเหตุแก้ตัวอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม...พอพวกทำชั่วผิดศีลผิดธรรมก็เฉย...

:b32: :b32:


ถ้าเขาพูดแค่นั้น ผิดก็ไปจับเขาซี่ คิกๆๆ


ถ้าหากผมเป็นเจ้าหน้าที่..มีหน้าที่รักษากฎหมาย...แล้วเห็นว่าผิดกฎหมาย..ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายในสังคม...ให้คนไปทำผิดกฎหมาย..ผมจับแน่..

เมื่อไม่ใช่เจ้าหน้าที่...แต่เป็นเพื่อนเป็นพี่เป็นน้อง..เป็นคนที่มาพบเจอกัน...ก็จะตักเตือนกันด้วยธรรม..อย่างที่ผมกำลังตักเตือนกรัชกายอยู่นี้งัย...ที่ไปเรียกร้องให้คนอื่นเป็นธรรมเป็นธรรมนั้นนะ...เตือนตัวเองให้เป็นธรรมบ้างซะหน่อยเป็นไร
:b1: :b1:



ถ้าผิดเขาจับแล้ว แค่ขันแดงยังจับเลย กบเอ้ย คิกๆๆ


ถึงจะยังไม่ผิดกฎหมาย..ไม่เข้าข่ายเป็นคนสั่งการให้เผา...แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ผิดในฐานอื่น..เจ้าหน้าที่อาจดูกฏหมายไม่ครบถ่วนก็ได้...รึไม่ก็เขาไม่อย่ากจะเอาเรื่องเด้วถูกมันด่าเอา.. :b32: :b32:

แล้วที่พูดไปอย่างนั้น..เผามันไปเลยพี่น้อง..นี้..มันถูกศีลถูกธรรม..หรือ..ผิดศีลผิดธรรม..ละกรัชกาย? :b13: :b13:

ขันแดง...มันไม่ได้ผิดที่ขันสีแดง...แต่มันผิดที่เจตนาสร้างความวุ่นวาย..กรัชกายอย่าอินโนเซ็นต์แกล้งไม่รู้..

มาดูนี้ซิกรัชกาย...ต้นแบบประชาธิปไตย์...กรัชกายกับพวกไปด่าเขาซิว่า..ไม่เป็นประชาธิปไตย์..เห็นชอบไม่ใช่หรอ...กับคำนี้นะ..

:b32: :b32: :b32:

รูปภาพ

อ้างคำพูด:
แข้งกรีซโดนแบนตลอดชีวิตเหตุทำท่า “นาซี”
http://www.thaiday.com/Golf/ViewNews.as ... 0000032800


ยกมือชี้ไปข้างหน้าแบบนี้..มันผิดอะไร... :b32: :b32: :b32:

ี่ที่ยกมาซะยืดยาวนี้...ก็เพื่อเตือนสติกรัชกาย..เมื่อพูดเรื่องธรรม...กรัชกายก็ให้ระลึกว่า..ตัวควรจะมีธรรมด้วย...อย่าสองมาตราฐาน...ว่าแต่คนอื่นเขา..ทีพวกของตัวทำ...กลับเฉย..นี้...ไม่เข้าท่าไม่เป็นธรรมเลยนะ..

ผมเคยพูดใว้กระทู้ไหนก็ไม่รู้..นานแล้ว..ว่า..คนมีธรรม..ต้องยุติธรรมด้วย
หากตัวเองยังไม่ยุติธรรม..พวกเขาผิดทำอย่าง..พวกตัวเองผิดทำอีกอย่าง..เรียกว่าสองมาตราฐาน..อย่างนี้...ปากก็พูด ๆ..ธรรม..ธรรม..นั้นนะ..ก็ให้รู้สึกละอายใจตัวเองบ้าง

แค่นี้คงพอ..กรัชกาย..

เอาละ..ดำเนินกระทู้ต่อไปได้..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2016, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:


ถึงจะยังไม่ผิดกฎหมาย..ไม่เข้าข่ายเป็นคนสั่งการให้เผา...แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ผิดในฐานอื่น..เจ้าหน้าที่อาจดูกฏหมายไม่ครบถ่วนก็ได้...รึไม่ก็เขาไม่อย่ากจะเอาเรื่องเด้วถูกมันด่าเอา.. :b32: :b32:

แล้วที่พูดไปอย่างนั้น..เผามันไปเลยพี่น้อง..นี้..มันถูกศีลถูกธรรม..หรือ..ผิดศีลผิดธรรม..ละกรัชกาย? :b13: :b13:

ขันแดง...มันไม่ได้ผิดที่ขันสีแดง...แต่มันผิดที่เจตนาสร้างความวุ่นวาย..กรัชกายอย่าอินโนเซ็นต์แกล้งไม่รู้..

มาดูนี้ซิกรัชกาย...ต้นแบบประชาธิปไตย์...กรัชกายกับพวกไปด่าเขาซิว่า..ไม่เป็นประชาธิปไตย์..เห็นชอบไม่ใช่หรอ...กับคำนี้นะ..


อ้างคำพูด:
แข้งกรีซโดนแบนตลอดชีวิตเหตุทำท่า “นาซี”
http://www.thaiday.com/Golf/ViewNews.as ... 0000032800


ยกมือชี้ไปข้างหน้าแบบนี้..มันผิดอะไร... :b32: :b32: :b32:

ี่ที่ยกมาซะยืดยาวนี้...ก็เพื่อเตือนสติกรัชกาย..เมื่อพูดเรื่องธรรม...กรัชกายก็ให้ระลึกว่า..ตัวควรจะมีธรรมด้วย...อย่าสองมาตราฐาน...ว่าแต่คนอื่นเขา..ทีพวกของตัวทำ...กลับเฉย..นี้...ไม่เข้าท่าไม่เป็นธรรมเลยนะ..

ผมเคยพูดใว้กระทู้ไหนก็ไม่รู้..นานแล้ว..ว่า..คนมีธรรม..ต้องยุติธรรมด้วย
หากตัวเองยังไม่ยุติธรรม..พวกเขาผิดทำอย่าง..พวกตัวเองผิดทำอีกอย่าง..เรียกว่าสองมาตราฐาน..อย่างนี้...ปากก็พูด ๆ..ธรรม..ธรรม..นั้นนะ..ก็ให้รู้สึกละอายใจตัวเองบ้าง

แค่นี้คงพอ..กรัชกาย..

เอาละ..ดำเนินกระทู้ต่อไปได้..



มาอีกแระ เจตนา คิกๆๆ

รูปภาพ

มันมีอะไรซ่อนอยู่ใต้พรมอีกมากนักกบเอ้ย

http://www.lokwannee.com/web2013/?p=196024

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2016, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ปัญญาก็ต้องรู้ชัดแจ้งตรงความจริง เจตนาก็ต้องตั้งถูกต้องตรงความดี

กลับไปพูดเรื่องการที่มนุษย์จะบัญญัติจัดตั้งวางระบบชีวิต และสังคมของตนให้ได้ผลดี รวมแล้ว มีข้อสำคัญ ๒ อย่าง คือ

๑. ปัญญา ที่รู้จริง คือ ต้องมีปัญญารู้เข้าใจความจริงของธรรมชาติ รู้ธรรมชาติตามที่มันเป็นของ มัน หรือรู้สิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น อันเป็นความรู้ขั้นที่ ่๑ เรียก สั้นๆว่า รู้ธรรม

๒. ปัญญา ที่รู้จัด คือ ปัญญา ที่ ทำให้สามารถนำเอาความรู้ในความจริงของธรรมชาตินั้น มาดำเนินการจัดสรร สังคมมนุษย์ ตั้งต้นแต่การดำเนินชีวิต ให้ได้ผลดี ด้วยการบัญญัติจัดตั้ง วางกฎกติกาบนฐานแห่งความจริงของธรรมชาตินั้น เป็นความรู้ขั้นที่ ่๒ ที่ อาศัยปัญญา เรียกสั้นๆว่า รู้วินัย

พระพุทธเจ้าที่ทรงเป็นบุคคลพิเศษ ก็เพราะมีปัญญาทั้ง ๒ ด้าน เชื่อมต่อโยงทอดกันเป็น ๒ ขั้น คือ

๑. มีปัญญา รู้สภาวธรรม (หรือสัจธรรม) คือความจริงของธรรมชาติ หรือความจริงที่ดำรงอยู่ตามธรรมดา

๒. มีปัญญา รู้วินัยบัญญัติ (หรือบัญญัติธรรม) คือรู้จักบัญญัติ จัดตั้งวางระเบียบระบบต่างๆ ที่จะ ช่วยให้คนอื่น หรือให้หมู่ชนจำนวนมาก พัฒนาชีวิตพัฒนาตัวขึ้นมาจนเข้า ถึงความจริงแห่งธรรมเหมือนกับพระองค์ได้ เช่น ตั้งสังฆะ บัญญัติวินัย ให้มีวัด วางระบบการฝึกการศึกษาสั่งสอนเผยแผ่ธรรมให้ได้ผล

เมื่อมีปัญญาความรู้ความสามารถครบทั้ง ๒ ขั้นนี้ จึงเป็นพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า สัมมาสัมพุทธได้

ถ้ามีแค่ปัญญารู้ความจริงของธรรมชาติ รู้แล้วก็เกิดผลต่อตนเอง คือรู้ เข้าใจความจริง ทำให้จิตใจของตนหยุดพ้นเป็นอิสระ แต่ขาดความสามารถที่ จะไปสอนคนอื่น ที่จะไปจัดตั้งวางแบบแผนจัดสรรชุมชนให้คนหมู่ใหญ่ได้ ประโยชน์ด้วย ได้ประโยชน์เฉพาะแก่ตัวเอง ก็เรียกว่าเป็นพระปัจเจกพุทธะ

การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีปัญญา ๒ ระดับ คือ ระดับรู้ธรรม กับ ระดับบัญญัติวินัยนี้ เป็นเครื่องเตือนใจมนุษย์อย่างที่กล่าวแล้วว่าขั้น แรก เราจะต้องพยายามเข้าถึงความจริงของธรรมชาติอยู่เสมอ มิฉะนั้น การจัดตั้งวางระบบระเบียบแบบแผนในสังคมมนุษย์ ก็จะไม่สอดคล้องเข้า กันกับความจริงของธรรมชาติ ซึ่งก็คือรวมไปถึงความจริงที่เป็นไปในชีวิตและ สังคมของเราเองด้วย แล้วการบัญญัติจัดตั้งนั้นก็จะเอาคืนแท้จริงไปได้

อย่างไรก็ตาม คนเรานี้ เมื่อจะทำอะไรก็ตาม ไม่ใช่จะมีเพียงความรู้ ที่ใช้ในการทำการนั้นเท่านั้น แต่เรามีความคำนึ่งถึงจุดหมายที่ตนต้องการ และ "ตั้งใจ" ที่จะให้การกระทำของตนเกิดผลลุถึงจุดหมายนั้นด้วย

สำหรับท่านที่มีปัญญา เข้าถึงความจริงถ่องแท้ และมีปัญญารู้ว่าควรหรือ จะต้องทำอะไรให้เป็นอย่างไร และจะเป็นอย่างนั้นได้อย่างไรแล้ว ใจก็ เพียงตั้งไปตามความรู้นั้น ทำเหตุปัจจัยที่ความรู้บอกให้ตรงไปตรง มา ความตั้งใจก็จึงไม่บทบาทพิเศษอะไร

แต่มนุษย์ทั่วไป ที่เรียกว่าปุถุชนนั้น นอกจากปัญหาว่า เขามีปัญญาที่รู้ความจริงถ่องแท้หรือไม่แล้ว ก็ยังมีปัญหาที่ความตั้งใจอีกด้วย โดยเฉพาะปัญหาที่ความตั้งใจนี้แหละมักเป็นเรื่องใหญ่ยิ่ง จนบางทีทำให้ลืมมองเรื่องความรู้ไปเลย ทั้งที่ตัวแท้ของเรื่องมีแต่ปัญญาเท่านั้น

ปัญหาเกี่ยวกับความ "ตั้งใจ" ของปุถุชนนั้น โยงไปถึงปัญหา ความต้องการ คือ เขามีความ ต้องของเขาเอง อาจจะเป็นความต้องการเพื่อตัวเขาเองบ้าง เพื่อคนหรือ เพื่อพวกของเขาบ้าง เพื่อข้ามเพื่อขัดหรือกั้นคนอื่นพวกอื่นบ้าง เป็นต้น ซึ่งทำให้เขาตั้งใจทำการไปเป็นไปตามความต้องการนั้น ดี บ้าง ร้ายบ้าง ไม่ใช่แค่ตรงไปตรงมาตามความรู้

ความ "ตั้งใจ" ของคนทั่วไปนี้ มีชื่อเฉพาะว่า เจตนา หรือเจตจำนง การกระทำของมนุษย์ทั้งหลาย ก็มาจากเจตนา และรวมศูนย์อยู่ที่เจตนานี้แหละ

การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนานั้น ท่านเรียกว่า "กรรม"

จะเป็นกรรมที่ออกมาทางกาย หรือพูดออกมาทางวาจา ก็ตาม ก็เริ่มต้นด้วยการคิดข้างในใจ โดยมีความตั้งใจที่เรียกว่าเจตนานี้ ดังนั้น เมื่อเรียกแบบรวมตลอดทั้งกระบวน ก็บอกว่า เจตนานั่นเอง เป็นกรรม

กรรม หรือลึกลงไปคือเจตนานี้ เป็นธรรมชาติหน่วย สำคัญในตัวมนุษย์ เป็นปัจจัยตัวแปรที่มนุษย์นำตัวเข้าไปร่วมผันแผกกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยใน ธรรมชาติทั้งหมด

ถึงตอนนี้ เมื่อพูดถึงกระบวนการบัญญัติจัดตั้งในสังคมมนุษย์และกล่าวถึงองค์ประกอบที่ เกี่ยวข้องให้ครบ ก็จึงต้องพูดว่า มี ๒ อย่าง คือ

๑. ปัญญา ที่รู้เข้าใจเข้าถึงความจริงของธรรมชาติ แยกเป็น ๒ ขั้น

ก) ปัญญา ที่รู้จริง (หรือรู้แจ้ง) หยั่งเห็นธรรมชาติตามที่มันเป็นจริง เช่น ระบบและกระบวนความเป็นไปแห่งเหตุปัจจัยในสิ่งทั้งหลาย

ข) ปัญญา ที่รู้จัด มองเห็นว่าจะจัดสรรดำเนินให้ระบบ และกระบวนแห่งปัจจยาการนั้น เป็นไปในทางที่จะเกิดผลดี เป็นประโยชน์แก่ชีวิตและสังคมมนุษย์นี้ ได้อย่างไร

๒. เจตนา คือ ความตั้งใจในการกระทำ ที่จะให้เป็นไปเพื่อผลที่พึงเกิดพึงมีพึงเป็นตามที่ปัญญารู้ตรงไปตรงมา อย่างบริสุทธิ์ หรือเพื่อสนองความต้องการของตน ที่ดีหรือร้าย อย่างใดอย่างหนึ่ง

พึงระลึกไว้เสมอว่า ในชีวิตประจำวันและสังคมมนุษย์นี้ เจตนาเป็นเจ้า บทบาทใหญ่ โดยมนุษย์ คือ โลกแห่งเจตจำนง และเป็นไปตามกระบวนของเตจำนง คือ กรรม

เจตจำนงเป็นแกนนำของอารยธรรม มนุษย์สร้างอารยธรรมทั้งหมดขึ้นด้วยเจต จำนง หรือพูดให้เต็มว่า เจตนาอาศัยปัญญาสร้างอารยธรรมขึ้นมา (คำพระว่า โลกอันจิตนำไป เป็นไปตามกรรม)

เจตนาหรือเจตจำนงนั้นกำกับและครอบคลุมเรื่องจริยธรรม (ที่จะพูดต่อไป) และเรื่องบัญญัติธรรมทั้งหมด

จะต้องตระหนักไว้อย่างแม่นใจว่า เจตจำนงหรือเจตนานี้ ก็เป็นธรรมชาตินั่นเอง มันเป็นธรรมชาติในตัวมนุษย์ เช่นเดียวกับปัญญา เป็นต้น ทีพามนุษย์เข้าไปเป็นส่วนร่วมอันสำคัญในปัจจยาการ คือ กระบวนการแห่งเหตุปัจจัยในธรรมชาติ

เอาละเป็นอันว่า เมื่อมองไปที่พระพุทธเจ้า เราได้หลักใหญ่ คือ

๑. มีปัญญา ที่เข้าถึงความจริงของธรรมชาติ

๒. มีปัญญา ที่จะจัดตั้งจัดการให้มนุษย์ได้รับผลดี บนฐานของความเป็นจริงนั้น

จะต้องพยายามให้การกระทำของเราสำเร็จผล ด้วยปัญญาสองขั้น ที่บริสุทธิ์ตรงไปตรงมาอย่างนี้


เป็น ธรรมดาว่า มนุษย์ที่ดำเนินชีวิตและทำการทางสังคมกันอยู่นี้ ก็ต้องทำต้องดำเนินไปตามความจริงของกฎธรรมชาติ ในเรื่องเหตุปัจจัยต่างๆเหล่านี้ ทั้งนั้น แต่จะทำด้วยความรู้ ตรงความจริง หรือไม่ แล้วก็ได้ผลหรือไม่ได้ผลไปตามเหตุปัจจัยเท่าที่รู้และทำหรือไม่ทำอย่างไรนั้น

ถ้ารู้ธรรม ชัดเจนสว่างแจ้ง ก็รู้ว่าอย่างไรดีงามเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่ชีวิต และสังคมแท้จริง ก็ทำตามเจตนาให้ตรงที่จะเกิดผลดีนั้น

ถ้าไม่รู้หรือรู้ไม่พอ ก็ทำไม่ได้ตรงความจริง หรือพอจะรู้ แต่ตั้งใจ ทำไม่ให้ตรงที่จะดี ก็เลยทำไม่ตรงธรรม คือ ไม่ตรงความจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2016, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบ ไม่ขั้นเลย ถ้างั้น ต่อๆเลย ธรรมะก็อยู่ในตัวคน หรือ ที่เรียกว่าคนหมดทั้งเนื้อทั้งตัวนี่แหละธรรมะที่พระพุทธเจ้าค้นพบ

บัญญัติจะดีได้ ปัญญาก็ต้องเต็ม เจตนาก็ต้องตรง

ทีนี้ พอเราเข้ามาดูความเป็นไปในขั้นที่เป็นเรื่องราวเป็นกิจการของสังคมมนุษย์ ตั้งแต่งานนิติบัญญัติ เป็นต้นไป จะเห็นว่าถึงกับมีบุคคล ผู้ทำหน้าที่ในเรื่องนี้ทีเดียว คือ มีผู้เป็นเจ้าการใหญ่ ที่ต้องพิจารณาว่า ทำอย่างไรจะจัดตั้งวางตรา ระเบียบ แบบแผน บทบัญญัติ กฎหมาย ที่เป็นกติกาของสังคมขึ้นมา ให้เกิดผลดีแก่สังคมประเทศชาติได้

ถึงตอนนี้ เราต้องบอกว่า ผู้ที่จะเป็นนักนิติบัญญัตินั้น

หนึ่ง จะต้องมีปัญญา ทั้งปัญญาที่รู้ความจริง และปัญญาที่จะสามารถมาจัดตั้งวางระเบียบแบบแผนให้แก่สังคม

แค่ข้อหนึ่งนี้ก็เป็นเรื่องที่ใหญ่มาก มันเป็นตัววัดเบื้องแรก เริ่มด้วยบอกว่า คนที่จะมาเป็นนักนิติบัญญัติ ที่ดี ทำงานได้สำเร็จนั้น ต้องมีปัญญารู้เข้าใจความจริงของธรรมชาติ ตั้งต้นแต่ความต้องการของชีวิตมนุษย์ ต้องรู้ว่าชีวิตมนุษย์ที่เป็นอยู่ดีคืออย่างไร ชีวิตมนุษย์ควรจะเป็นอย่างไร ชีวิตมีจุดหมายเพื่ออะไร สังคมที่ดีเป็นอย่างไร ตามที่เป็นจริง โดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ อะไรต่างๆเหล่านี้

แค่ปัญญา ที่รู้ความจริงในขั้นตามที่มันเป็นของธรรมชาตินี้ บุคคลที่จะเป็นนักนิติบัญญัติได้จริง ก็จะต้องเป็นมนุษย์ที่ล้ำเลิศทีเดียว แต่ก็จำเป็นต้องเลิศอย่างนั้น มิฉะนั้น จะมาจัดตั้งวางระบบระเบียบแบบแผนให้เกิดผลดีที่พึงหมายให้แก่สังคมได้อย่างไร ในเมื่อตัวเอง ก็ไม่รู้จริงว่า อะไรเป็นของดี

แล้วไม่แค่นั้น ยังต้องรู้ต่อไปอีกว่า ทำอย่างไร จะให้เกิดผลดีที่ต้องการนั้น เหตุปัจจัยมันเป็นอย่างไร และจะทำเหตุปัจจัยนั้นๆให้เกิดผลได้อย่างไร ซึ่งก็เป็นเรื่องใหญ่มาก จึงพูดได้เลยว่า ถ้าปัญญาไม่ถึงขั้นอย่างพระพุทธเจ้า จะมาวางแบบแผนนิติบัญญัติให้สังคมดี ย่อมเป็นไปได้ยาก

จึงต้องตั้งอุคมคติไว้เลยว่า คนที่จะมาทำงานหรือดำเนินการให้เรื่องนิติบัญญัตินี้ได้ จะต้องมี ทั้งปัญญาที่เข้าถึงความจริงอย่างที่ว่าแล้ว และปัญญาที่จะมาจัดตั้งวางระบบ ต้องเก่งกาจด้วยทั้ง ๒ ขั้น

แต่มิใช่เท่านั้น สอง ยังมีอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่ในตัวมนุษย์ที่จะต้องจัดการอย่างสำคัญ คือ เจตนา ที่เป็นตัวกำหนดในเรื่องจริยธรรม

พอมาถึงขั้นจัดทำดำเนินการของมนุษย์ ปัญญาก็มาประสาน กับ เจตนา หรือเจตจำนงนี้เพิ่มเข้ามาอีกตัวหนึ่ง

แน่ละ เจตนาของมนุษย์ ผู้จะวางระเบียบแบบแผน หรือกติกาบุคคล และกติกาสังคม ก็ต้องมุ่งเพื่อจุดหมายที่ดีแน่นอนอยู่แล้ว คือ เพื่อให้ชีวิตดี ให้คนทั้งหลายอยู่กันด้วยดี มีความสัมพันธ์ที่ดีไม่เบียดเบียน ซึ่งกันและกัน ให้สังคมดี เจริญมั่นคง พัฒนาอย่างดี มีความสงบสุข อะไรต่างๆเหล่านี้

เจตนาที่ว่านี้ จะต้องมีอยู่อย่างแนบแน่ว กับ จุดมุ่งหมาย เป็นความมุ่งมั่นที่แรงกล้า เด็ดเดี่ยว อยู่ในใจของผู้ที่จะทำหน้าที่นิติบัญญัติ ในการจัดตั้งวางระเบียบ ตรากฎหมาย กำหนดกติกาสังคม โดยมีใจที่ตั้งมั่นในเมตตาการุณยธรรม มีความปรารถนาดีต่อชีวิตและสังคม ใฝ่สร้างสรรค์อย่างจริงใจ

เจตนานี้ จึงเป็นเรื่องใหญ่อีกด้านหนึ่ง ซึ่งเข้ามาสู่แดนที่บอกแล้ว ว่าเราเรียกกันถือกันเป็นจริยธรรม ครอบคลุมมาถึงบัญญัติธรรม

เป็นอันว่า ต่อจากข้อที่หนึ่ง คือ ปัญญา ก็ต้องมีเป็นหลักใหญ่ ก็มาถึงข้อสอง คือต้องมีเจตนาดี ที่ประกอบด้วยคุณธรรม มีเมตตา กรุณา เป็นต้น ที่บริสุทธิ์สะอาด ไม่มีความปรารถนาที่เห็นแก่ตน เช่น ไม่มีความโลภที่จะหาผลประโยชน์ให้แก่ตน ไม่มีโทสะที่จะขัดเคืองคิดมุ่งร้ายจะหาทางทำลายหรือกลั่นแกล้งใคร ไม่มีเจตนาซ่อนเร้นแอบแฝงใดๆ

นี้คือองค์ประกอบจำเป็น อันขาดมิได้ ซึ่งนักนิติบัญญัติต้องมีอย่างแน่นอน หนึ่ง ปัญญาที่เข้าถึงความจริง ทั้งสองขั้น แล้วก็ สอง เจตนาที่เที่ยงตรง บริสุทธิ์ สะอาด

ถ้าอย่างนี้ ก็จะได้ผลดีที่สุดในการบัญญัติจัดตั้งวางกำหนดระเบียบแบบแผนกฎกติกาให้แก่สังคม ก็แค่ ๒ ตัวเท่านั้นเอง

..................
กบ กับโฮฮับ ไม่สนใจแล้วทิ้งให้กระทู้ตกไป

ส่วนบทความเรื่องนี้ยังไม่จบ ไปต่อที่

viewtopic.php?f=7&t=52285

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2016, 18:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


onion
คำว่า "ธรรมะ" ไม่มีคำแปลตรงตัว ถึงแม้จะมีผู้คนจำนวนมากพยายามแปลว่า ธรรมะ คือความจริง

ธรรมะ เป็นสมมุติบัญญัติที่ใช้เรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำร่วมกันของเหตุ ปัจจัยและผล

ธรรมะไม่สามารถอธิบายให้ถูกต้องตามที่มันเป็นจริงได้ด้วยคำพูดหรือบทเขียนแต่จะรู้ได้ด้วยใจของผู้สัมผัสธรรมนั้นๆ

ตัวอย่างเช่นความเผ็ด ความเค็ม ร้อน หนาว สุข ทุกข์ เจ็บ ปวด สบาย นิพพาน

อธิบายให้เข้าใจไม่ได้ต้องให้ผู้อยากรู้สัมผัสดูด้วยตนเอง

ธรรมะ จึงเป็นคำกลางๆที่เมื่อนำไปประกอบกับคำอื่นแล้วจึงจะสามารถระบุชี้ชัดลงไปได้ว่าเป็นธรรมะประเภทใด เพื่ออะไร

อย่างเช่นธรรมะในทางพระพุทธศาสนานั่นมีการระบุชี้ไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้ศึกษาได้ใช้ธรรมะในทางพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง ตรงประเด็น
ดังระบุไว้ในบทสวดมนต์แปลเรื่องธรรมคุณ 6 ประการว่า
สวากขาโตภัคควตาธัมโม = พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้น

สังเกตดูกันให้ดีๆ ถ้าตีความ จับประเด็นจากตรงนี้ผิดไป ธรรมะจะกลายเป็นของยากและมีเรื่องมากมายที่จะต้องพูดต้องอธิบายถกเถียงกันไม่รู้จบและหาผู้ตัดสินได้ยาก

แต่ในทางกลับกันถ้าจับประเด็นและตีความตรงนี้ได้ถูกต้อง ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนหรือตรัสไว้ดีแล้วนั้น มีนิดเดียว ง่ายมากและหมดข้อถกเถียงกัน

ดูคำนี้ให้ดี "พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้น"


พูดหรือแปลให้ฟังง่ายขึ้นว่า "ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น....(คืออะไร?)
นี่คือความหมายของธรรมคุณข้อที่ 1 ที่ให้ชาวพุทธหรือผู้ศึกษาพุทธศาสนาทุกคนตอบให้ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ซึ่งจะต้องเป็นคำตอบเดียวกันอย่างแน่นอนเพราะมันคือ "สัจจธรรม"
คำตอบเรื่องธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้นอยู่ในธรรมคุณข้อถัดๆไปอีก 5 ข้อนั่นเอง ใครสนใจให้ค้นดูได้จากบทเขียนที่อโศกะเคยแสดงไว้หลายๆครั้งหลายๆที่หรือถ้าค้นหาไม่เจอก็อดใจไว้รอฟังหรืออ่านในตอนต่อๆไปจากนี้


แต่วันนี้เราจะได้ชี้ให้เห็นประะเด็นสำคัญที่ทำให้ผู้คนที่จำนวนมากพากันส่งเสริมเผยแพร่ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไปอย่างผิดๆด้วยความเข้าใจผิดตั้งแต่แรกเริ่ม

ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้นมีประเด็นเน้นชัดไว้แล้วตามอริยสัจ 4 ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ เป็นโลกุตรธรรม
ดูให้ดี "โลกุตรธรรม"
แต่ในคำสอนหลายครั้งพระองค์ทรงจำเป็นต้องสอนเรื่องโลกียธรรมเพราะมีเหตุปัจจัยให้ต้องกล่าวถึงแต่ท้ายที่สุดพระองค์ก็ทรงขมวดสรุปนำสาวกทุกคนเข้าสู่โลกุตรธรรม คือธรรมเพื่อพ้นโลก


ธรรมเพื่อพ้นโลกเอาอะไรมาเป็นเครื่องชี้วัด?

ตอบ: เอาอริยสัจ 4 มาเป็นเครื่องชี้วัด

พระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ในหลายที่มีความหมายว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายหากเธอมีความสงสัยว่าธรรมนี้ใช่คำสอนของเราตถาคตหรึอไม่ให้เอาหลักนี้ไปจับพิจารณา

ถ้าธรรมใดเป็นไปเพื่อความรู้ทุกข์ ละเหตุเกิดทุกข์ ทำให้แจ้งความดับทุกข์และวิธีปฏิบัติหรือเจริญเพื่อให้ถึงความดับทุกข์
นั่นแหละคือธรรมะคำสั่งสอนของเราตถาคต"

ใครก็ตามที่ประกาศตนว่าเป็นชาวพุทธปารถนาจะให้ได้ถึงความเป็นชาวพุทธอย่างแท้จริงจึงพึงศึกษาอริยสัจ 4 ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ละเอียดถี่ถ้วนและเข้าใจอย่างถ่องแท้ถูกต้องเพราะมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติสอนไว้ครบถ้วนอยู่ในนั้นแล้วจึงย่อมจะได้รับธรรมะจริงๆจากพระพุทธเจ้าพาเข้าถึงนิพพานอันเป็นบรมสุขอย่างแท้จริงได้ทันในชาตินี้โดยมิต้องเสียเวลาหลงทางไปอื่นไกล ครั้นเมื่อได้ถึงอมตะสุขแล้วก็ย่อมจะได้กลายเป็นกัลยาณมิตร มหากัลยาณมิตรชักชวนช่วยเหลือผู้คนเพื่อนร่วมโลกให้พ้นโศกสู่สุขบนเส้นทางอันประเสริฐที่
พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสาวกเจ้าทั้งหลายได้บุกเบิกทางนำทาง นำหน้าไปก่อนแล้ว ทุกๆคน


เจริญสุข เจริญธรรม ขอให้ได้ดวงตาเห็นธรรมกันทุกท่านทุกคนเทอญ
อโศกะ
26 เมย.59


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร