วันเวลาปัจจุบัน 25 ก.ค. 2025, 20:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2015, 08:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโสดาบันละสังโยชน์ได้สามข้อ มีสามจำพวก




ภิกษุนั้น,
เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม
เป็นผู้ สัตตักขัตตุปรมะ (สัทธานุสารี)

ยังต้องท่องเที่ยวไปในภพแห่งเทวดาและมนุษย์อีกเจ็ดครั้ง เป็นอย่างมาก
แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.




ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม
เป็นผู้ โกลังโกละ (ธัมมานุสารี)

จักต้องท่องเที่ยวไปสู่สกุลอีกสองหรือสามครั้ง
แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.






ภิกษุนั้น,
เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม
เป็นผู้เป็น เอกพีชี (โสดาปัตติผล)

คือ จักเกิดในภพแห่งมนุษย์ อีกหนเดียวเท่านั้น
แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

ติก. อํ. ๒๐/๒๙๙-๓๐๑/๕๒๗.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2015, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โสดาบัน ๓ จำพวก



ก. สัทธานุสารี

ภิกษุ ท .! จักษุ….โ ส ต ะ ….ฆ า น ะ ….ชิว ห า …ก า ย ะ …ม น ะ
เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเป็นปกติ.

ภิกษุ ท.! บุคคลใด มีความเชื่อ น้อมจิตไป ในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ ;
บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น สัทธานุสารี

หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม(ระบบแห่งความถูกต้อง)
หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)
ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำ กรรม อันกระทำ แล้วจะเข้าถึงนรก กำเนิดดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย
และไม่ควรที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.






ข. ธัมมานุสารี


ภิกษุ ท.! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ทนต่อการเพ่งโดยประมานอันยิ่ง
แห่งปัญญาของบุคคลใด ด้วยอาการอย่างนี้ ;
บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมานุสารี

หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ
ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรมอันกระทำ แล้วจะเข้าถึงนรก กำเนิดดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย
และไม่ควรที่จะกระทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.






ค. โสตาปันนะ

ภิกษุ ท.! บุคคลใดย่อมรู้ย่อมเห็นในซึ่งธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้
(ตามที่กล่าวแล้วในข้อบน มีความเห็นความไม่เที่ยงเป็นต้น) ;

บุคคลนี้เราเรียกว่า โสดาบัน (ผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส)
ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา (อวินิปาตธมฺม)
เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน (นิยต)
มีสัมโพธิเป็นเบื้องหน้า (สมฺโพธิปรายน).

– ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๗๘/๔๖๙.




สารีบุตร ! อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแหละ ชื่อว่า กระแส (โสต) ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

– มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๕/๑๔๓๑.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2015, 09:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


แว่นธรรม


ขณะประทับอยู่ที่โกฏิคาม พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระอานนท์ว่า

“ดูก่อนอานนท์ เราตถาคตจะสอนสิ่งที่เรียกว่าแว่นธรรม
ซึ่งถ้าอริยสาวกมีแล้ว ถ้าปรารถนาย่อมสามารถพยากรณ์ด้วยตนเองได้ว่า

ตนเองจะไม่เกิดในภพที่เลวอีกต่อไป แต่จะเป็นพระโสดาบัน
และเที่ยงแท้แน่นอน ที่จะบรรลุความหลุดพ้นในที่สุด

แว่นธรรมคืออะไร คือ การที่พระอริยสาวกมีศรัทธาอันมั่นคง
ในพระพุทธเจ้า
ในพระธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว
และในคณะสงฆ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า นี้แลคือ แว่นธรรม”

ท.๑๐/๘๙/๑๑๐






ขณะที่จาริกเผยแพร่ธรรมพระพุทธเจ้าได้ทรงสนทนากับพราหมณ์คนหนึ่ง
ชื่อ คณกโมคคัลลานะ ดังต่อไปนี้

“พราหมณ์ สมมติว่า บุรุษคนหนึ่งมาขอให้ท่านบอกทาง ไปยังเมืองราชคฤห์ ท่านก็ได้ชี้บอกทางที่จะไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดย สวัสดิภาพ แต่บุรุษคนนั้นไปผิดทางจึงไม่ถึงเมืองราชคฤห์

บุรุษคนที่ ๒ มาถามทางจากท่านเช่นเดียวกัน และได้รับคำแนะนำนั้นจากท่าน เขาเดินไปตามที่ท่านชี้แนะและไปถึงเมืองราชคฤห์โดยสวัสดิภาพ

ในทำนองเดียวกันนั่นแหละ พราหมณ์ พระนิพพานก็มีอยู่
หนทางนำไปสู่พระนิพพานก็มีอยู่ เราตถาคตผู้ชี้บอกหนทางก็มีอยู่


สาวกของเราตถาคต บางจำพวก ได้รับคำแนะนำและฝึกฝนจากเราแล้ว
สามารถบรรลุพระนิพพานได้


แต่บางจำพวกไม่สามารถบรรลุ
ตถาคตเป็นเพียง ผู้ชี้บอกหนทางเท่านั้น”

ม.๑๔/๙๓/๘

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2015, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ฟังธรรมจาก พระพุทธเจ้า

รวมพระสูตร จากพระไตรปิฎก เกี่ยวกับ “พระโสดาบัน”

https://archive.org/details/SohDaaBanSootFromTripitaka

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2015, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:




https://archive.org/details/Ooppanissasoot

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2015, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๘. อนาคตสูตรที่ ๒

[๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้
ก็ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

ภัย ๕ ประการ เป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
บัดนี้ เรายังเป็นหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มอันเจริญ ตั้งอยู่ในปฐมวัย
ถึงกระนั้น ก็มีสมัยที่ชราย่อมจะถูกต้องกายนี้ได้ ก็ผู้ที่แก่แล้ว ถูกชราครอบงำแล้ว
จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้ง่าย จะเสพเสนาสนะอันสงัด
คือ ป่า และป่าชัฏ ก็ไม่ใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่
น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง เสียก่อนที
เดียว ซึ่งเราประกอบแล้ว แม้แก่ก็จักอยู่สบาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๑ นี้
ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง ไม่ได้ทำให้แจ้ง ฯ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้ เรามีอาพาธน้อย
มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่
ร้อนนัก ขนาดกลาง ควรแก่การบำเพ็ญเพียร แต่ย่อมมีสมัยที่พยาธิจะถูกต้อง
กายนี้ ก็ผู้ที่ป่วยไข้อันความป่วยไข้ครอบงำแล้ว จะมนสิการคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้าไม่ใช่ทำได้ง่าย ... ซึ่งเราประกอบแล้ว แม้ป่วยไข้ก็จักอยู่สบาย
ภิกษุเห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ... ฯ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แล ข้าวกล้าดี
บิณฑบาตก็หาได้ง่าย สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ แต่ก็ย่อมมีสมัยที่มีข้าวแพง
ข้าวกล้าไม่ดี บิณฑบาตหาได้ยาก ไม่สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ อนึ่ง ใน
สมัยข้าวแพง พวกมนุษย์ย่อมหลั่งไหลไปในที่ที่มีอาหารดี ในที่นั้นย่อมมีการอยู่
คลุกคลีด้วยหมู่คณะ มีการอยู่พลุกพล่านกัน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ อยู่
พลุกพล่านกัน จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ทำได้ง่าย ... ซึ่งเรา
ประกอบแล้ว ก็จักอยู่สบายแม้ในเวลาทุพภิกขภัย
ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ... ฯ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แลมนุษย์ทั้งหลายย่อม
เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นดังน้ำนมกับน้ำ มองดูกัน
ด้วยนัยน์ตาแสดงความรักอยู่ แต่ย่อมมีสมัยที่มีภัย มีความปั่นป่วนในดง ประชาชน
วุ่นวายและเมื่อมีภัย พวกมนุษย์ย่อมหลั่งไหลไปในที่ที่ปลอดภัย ในที่นั้นย่อม
มีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ มีการอยู่พลุกพล่านกัน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วย
หมู่คณะ อยู่พลุกพล่านกัน จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้
ง่าย ... ซึ่งเราประกอบแล้วก็จักอยู่สบายแม้ในสมัยที่มีภัย
ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ... ฯ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แลสงฆ์เป็นผู้พร้อม
เพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศร่วมกัน อยู่ผาสุก แต่ก็ย่อมมี
สมัยที่สงฆ์แตกกัน ก็เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ไม่ใช่ทำได้ง่าย จะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า และป่าชัฏ ก็ไม่ใช่ทำได้ง่าย
ก่อนที่ธรรมอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบ
ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ซึ่งเราประกอบแล้ว ก็จักอยู่สบายแม้ในเมื่อสงฆ์แตกกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ด
เดี่ยวอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ฯ
จบสูตรที่ ๘


๙. อนาคตสูตรที่ ๓

[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่บังเกิดใน
ปัจจุบัน แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ภัยในอนาคต ๕ ประการเป็นไฉน คือ


ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต
ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา

แม้กุลบุตรเหล่านั้น ก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
ก็จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล
อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา

เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม
การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๑ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป
ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น



อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลาย จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
ก็จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา

เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม
การลบล้างธรรมย่อมมี เพราะการลบล้างวินัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป
ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ


อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
เมื่อแสดงอภิธรรมกถา เวทัลลกถา หยั่งลงสู่ธรรมที่ผิด ก็จักไม่รู้สึก
เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม
การลบล้างธรรมย่อมมี เพราะการลบล้างวินัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป
ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ



อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล
ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา

พระสูตรต่างๆ ที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ เป็นสูตรลึกซึ้ง
มีอรรถลึกซึ้งเป็นโลกุตระ ประกอบด้วยสุญญตาธรรม
เมื่อพระสูตรเหล่านั้นอันบุคคลแสดงอยู่ ก็จักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยโสตลงสดับ
จักไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ จักไม่ใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน
แต่ว่าสูตรต่างๆ ที่นักกวีแต่งไว้ ประพันธ์เป็นบทกวี มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะสละสลวย
เป็นพาหิรกถา เป็นสาวกภาษิต

เมื่อพระสูตรเหล่านั้น อันบุคคลแสดงอยู่ ก็จักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ
จักตั้งจิตเพื่อรู้ จักฝักใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน

เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม
การลบล้างธรรมย่อมมี เพราะการลบล้างวินัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป
ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ




อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมจิต ไม่อบรมศีล ไม่อบรมปัญญา
เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
ภิกษุผู้เถระก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในความล่วงละเมิด
ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

ประชุมชนรุ่นหลังก็จักถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง แม้ประชุมชนนั้นก็จักเป็นผู้มักมาก
มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด
จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมี
เพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป
ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้
แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึง
พยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ฯ
จบสูตรที่ ๙


http://www.84000.org/tipitaka/read/byit ... 78&items=2

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2015, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๗. อนาคตสูตรที่ ๑
[๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า เห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้
ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ภัย ๕ ประการ
เป็นไฉน คือ


ภิกษุผู้อยู่ป่าในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว งูพึงกัดเรา แมลงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เพราะการกัดต่อย
แห่งสัตว์เหล่านั้น เราพึงทำกาละ พึงมีอันตรายแก่เรา ผิฉะนั้น เราจะปรารภ
ความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า เห็นภัยในอนาคตข้อ
ที่ ๑ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ฯ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราอยู่ใน
ป่าผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว พึงพลาดล้มลง ภัตตาหารที่ฉันแล้วไม่ย่อย ดี
ของเราพึงกำเริบ เสมหะพึงกำเริบ หรือลมมีพิษเพียงดังศัตราพึงกำเริบ เพราะ
เหตุนั้นๆ เราพึงทำกาละ พึงมีอันตรายแก่เรา ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร
... ภิกษุผู้อยู่ป่าเห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ... ฯ



อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เรา
อยู่ในป่าผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว พึงพบสัตว์ร้าย คือสีหะ เสือโคร่ง
เสือเหลือง หมี หรือเสือดาว สัตว์เหล่านั้นพึงทำร้ายเราถึงตาย เพราะการทำร้าย
นั้น เราพึงทำกาละ พึงมีอันตรายแก่เรา ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ... ภิกษุ
ผู้อยู่ป่า เห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ... ฯ



อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราอยู่ใน
ป่าผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว เราพึงพบคนร้าย ผู้มีกรรมอันทำแล้ว หรือมี
กรรมยังไม่ได้ทำ คนร้ายเหล่านั้นพึงปลงเราจากชีวิต เพราะการปลงนั้น เราพึง
ทำกาละ พึงมีอันตรายแก่เรา ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ... ภิกษุผู้อยู่ป่า
เห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ... ฯ



อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราอยู่ใน
ป่าผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว ในป่าย่อมมีพวกอมนุษย์ดุร้าย อมนุษย์เหล่า
นั้นพึงปลงชีวิตเรา เพราะการปลงชีวิตนั้นเราพึงทำกาละ พึงมีอันตรายแก่เรา
ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่
ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่
ป่าเห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ด
เดี่ยว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า เห็นภัยในอนาคต ๕
ประการนี้แล ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึง
ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้
ทำให้แจ้ง ฯ
จบสูตรที่ ๗





๘. อนาคตสูตรที่ ๒

[๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ก็
ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ภัย ๕ ประการ
เป็นไฉน คือ



ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้ เรายังเป็นหนุ่ม
แน่น มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มอันเจริญ ตั้งอยู่ในปฐมวัย ถึง
กระนั้น ก็มีสมัยที่ชราย่อมจะถูกต้องกายนี้ได้ ก็ผู้ที่แก่แล้ว ถูกชราครอบงำแล้ว
จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้ง่าย จะเสพเสนาสนะอันสงัด
คือ ป่า และป่าชัฏ ก็ไม่ใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่
น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง เสียก่อนที
เดียว ซึ่งเราประกอบแล้ว แม้แก่ก็จักอยู่สบาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็น
ภัยในอนาคตข้อที่ ๑ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง
ไม่ได้ทำให้แจ้ง ฯ



อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้ เรามีอาพาธน้อย
มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่
ร้อนนัก ขนาดกลาง ควรแก่การบำเพ็ญเพียร แต่ย่อมมีสมัยที่พยาธิจะถูกต้อง
กายนี้ ก็ผู้ที่ป่วยไข้อันความป่วยไข้ครอบงำแล้ว จะมนสิการคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้าไม่ใช่ทำได้ง่าย ... ซึ่งเราประกอบแล้ว แม้ป่วยไข้ก็จักอยู่สบาย
ภิกษุเห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ... ฯ




อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แล ข้าวกล้าดี
บิณฑบาตก็หาได้ง่าย สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ แต่ก็ย่อมมีสมัยที่มีข้าวแพง
ข้าวกล้าไม่ดี บิณฑบาตหาได้ยาก ไม่สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ อนึ่ง ใน
สมัยข้าวแพง พวกมนุษย์ย่อมหลั่งไหลไปในที่ที่มีอาหารดี ในที่นั้นย่อมมีการอยู่
คลุกคลีด้วยหมู่คณะ มีการอยู่พลุกพล่านกัน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ อยู่
พลุกพล่านกัน จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ทำได้ง่าย ... ซึ่งเรา
ประกอบแล้ว ก็จักอยู่สบายแม้ในเวลาทุพภิกขภัย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อ
ที่ ๓ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ... ฯ




อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แลมนุษย์ทั้งหลายย่อม
เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นดังน้ำนมกับน้ำ มองดูกัน
ด้วยนัยน์ตาแสดงความรักอยู่ แต่ย่อมมีสมัยที่มีภัย มีความปั่นป่วนในดง ประชาชน
วุ่นวายและเมื่อมีภัย พวกมนุษย์ย่อมหลั่งไหลไปในที่ที่ปลอดภัย ในที่นั้นย่อม
มีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ มีการอยู่พลุกพล่านกัน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วย
หมู่คณะ อยู่พลุกพล่านกัน จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้
ง่าย ... ซึ่งเราประกอบแล้วก็จักอยู่สบายแม้ในสมัยที่มีภัย ภิกษุผู้เห็นภัยใน
อนาคตข้อที่ ๔ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ... ฯ





อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แลสงฆ์เป็นผู้พร้อม
เพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศร่วมกัน อยู่ผาสุก แต่ก็ย่อมมี
สมัยที่สงฆ์แตกกัน ก็เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ไม่ใช่ทำได้ง่าย จะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า และป่าชัฏ ก็ไม่ใช่ทำได้ง่าย
ก่อนที่ธรรมอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบ
ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ซึ่งเราประกอบแล้ว ก็จักอยู่สบายแม้ในเมื่อสงฆ์แตกกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ด
เดี่ยวอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ฯ
จบสูตรที่ ๘



๙. อนาคตสูตรที่ ๓

[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่บังเกิดใน
ปัจจุบัน แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ภัยในอนาคต ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต
ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล
อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้น ก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรม
จิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา ก็
จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล
อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรม
จิต ไม่อบรมปัญญาเพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้าง
ธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต
ข้อที่ ๑ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอ
ทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น


อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลาย จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล
ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่
อบรมปัญญา จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตร
เหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรมกาย ไม่
อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่
อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา ก็จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำ
แม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรม
กาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้าง
วินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิด
ในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละ
ภัยนั้น ฯ
อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล
ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่
อบรมปัญญา เมื่อแสดงอภิธรรมกถา เวทัลลกถา หยั่งลงสู่ธรรมที่ผิดก็จักไม่รู้สึก
เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรม
ย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่
บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ
อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล
ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่
อบรมปัญญา พระสูตรต่างๆ ที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ เป็นสูตรลึกซึ้ง มีอรรถลึกซึ้ง
เป็นโลกุตระ ประกอบด้วยสุญญตาธรรม เมื่อพระสูตรเหล่านั้นอันบุคคลแสดงอยู่
ก็จักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยโสตลงสดับ จักไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ จักไม่ใฝ่ใจในธรรม
เหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน แต่ว่าสูตรต่างๆ ที่นักกวีแต่งไว้ ประพันธ์เป็นบท
กวี มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะสละสลวย เป็นพาหิรกถา เป็นสาวกภาษิต
เมื่อพระสูตรเหล่านั้น อันบุคคลแสดงอยู่ ก็จักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ
จักตั้งจิตเพื่อรู้ จักฝักใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน เพราะเหตุดังนี้
แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการ
ลบล้างวินัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้
แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึง
พยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ
อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมจิต
ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
ภิกษุผู้เถระก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในความล่วง
ละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ประชุมชน
รุ่นหลังก็จักถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง แม้ประชุมชนนั้นก็จักเป็นผู้มักมาก
มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด
จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมี
เพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภัยในอนาคต ข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาล
ต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้
แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึง
พยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ฯ
จบสูตรที่ ๙


๑๐. อนาคตสูตรที่ ๔

[๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ซึ่งยังไม่บังเกิด
ในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบจีวรดีงาม เมื่อชอบจีวรดีงาม ก็
จักละความเป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ
จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคมและราชธานี และจักถึงการแสวงหาไม่สมควร อัน
ไม่เหมาะสมต่างๆ เพราะเหตุจีวร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๑ นี้
ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้
เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ
อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาตที่ดีงาม
เมื่อชอบบิณฑบาตที่ดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ละเสนา-
*สนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี แสวง
หาบิณฑบาตที่มีรสอันเลิศด้วยปลายลิ้น และจักถึงการแสวงหาอันไม่สมควร ไม่
เหมาะสมต่างๆ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อ
ที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอ
ทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ
อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะดีงาม
เมื่อชอบเสนาสนะดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ละเสนาสนะ
อันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี และจักถึง
การแสวงหาอันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่างๆ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาล
ต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ
อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วยภิกษุณี
นางสิกขมานา และสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลีด้วยภิกษุณี นางสิกขมานา
และสมณุทเทส พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติ
พรหมจรรย์ จักต้องอาบัติเศร้าหมองบางอย่าง หรือจักบอกคืนสิกขาเวียนมา
เพื่อเป็นคฤหัสถ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่
บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ
อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้คลุกคลีด้วยอารามิก-
*บุรุษ และสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลีด้วยอารามิกบุรุษ และสมณุทเทส
พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ประกอบการบริโภคของที่สะสมไว้มี
ประการต่างๆ จักกระทำนิมิตแม้อย่างหยาบที่แผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียวบ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดใน
กาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิดใน
บัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบโยธาชีวรรคที่ ๓


http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... 306&Z=2507

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2015, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สัปปุริสสังเสวะ การคบสัตบุรุษ ๑



สุภาษิตสอนการคบมิตร

[๓๒๒] บุคคลปรารถนาความสุขอันแน่นอน พึงเว้นบาปมิตรแล้ว
พึงคบหากัลยาณมิตร และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของกัลยาณมิตรนั้น
เต่าตาบอดเกาะขอนไม้เล็กๆ จมอยู่ในห้วงน้ำใหญ่ ฉันใด

กุลบุตรอาศัยคนเกียจคร้านเป็นอยู่ ย่อมจมลงในสังสารวัฏ ฉันนั้น
เพราะฉะนั้น บุคคลพึงเว้นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม

ควรอยู่ร่วมกับบัณฑิตทั้งหลาย ผู้สงัดเป็นอริยะ
มีใจเด็ดเดี่ยว เพ่งฌาน ปรารภความเพียรเป็นนิตย์.


ในติกนิบาตนี้ รวมพระเถระได้ ๑๖ องค์ คือ

๑. พระอังคณิกภารทวาชเถระ
๒. พระปัจจยเถระ

๓. พระพากุลเถระ
๔. พระธนิยเถระ

๕. พระมาตังคปุตตเถระ
๖. พระขุชชโสภิตเถระ

๗. พระวารณเถระ
๘. พระปัสสิกเถระ

๙. พระยโสชเถระ
๑๐. พระสาฏิมัตติยเถระ

๑๑. พระอุบาลีเถระ
๑๒. พระอุตตรปาลเถระ

๑๓. พระอภิภูตเถระ
๑๔. พระโคตมเถระ

๑๕. พระหาริตเถระ
๑๖. พระวิมลเถระ

เป็นคาถาที่ท่านรจนาไว้รวม ๔๘ คาถา ฉะนี้แล.

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 171&Z=6190

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2015, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สัทธาสูตร

[๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีลอย่างนี้
เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น

เธอนั้นพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า
ไฉนหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธาและศีล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและศีล
เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต ฯลฯ
เป็นพหูสูต แต่ไม่เป็นพระธรรมกถึก ฯลฯ
เป็นพระธรรมกถึก แต่ไม่เข้าสู่บริษัท ฯลฯ
เข้าสู่บริษัท แต่ไม่แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ฯลฯ
แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แต่ไม่ทรงวินัย ฯลฯ
ทรงวินัย แต่ไม่อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันสงัด ฯลฯ

อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันสงัด
แต่ไม่ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบาก
ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ

ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
แต่ไม่ได้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ อย่างนี้
เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น

เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ไฉนหนอ
เราพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าสู่บริษัทได้
แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ทรงวินัย อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันสงัด
ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง
เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา
อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ... กระทำให้แจ้งซึ่ง
เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็น
ผู้ก่อให้เกิดความเลื่อมใสโดยรอบ และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... =251&Z=277

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2015, 12:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การกำหนดรู้(โยนิโสมนสิการ)

ดูกรอัคคิเวสสนะ !
เราแนะนำสาวกทั้งหลายอย่างนี้
และคำสั่งสอนของเรามีส่วนอย่างนี้
ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลายว่า


รูปไม่เที่ยง
เวทนาไม่เที่ยง
สัญญาไม่เที่ยง
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
วิญญาณไม่เที่ยง


รูปไม่ใช่ตน
เวทนาไม่ใช่ตน
สัญญาไม่ใช่ตน
สังขารทั้งหลายไม่ใช่ตน
วิญญาณไม่ใช่ตน


สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน ดังนี้


ดูกรอัคคิเวสสนะ !
เราแนะนำสาวกทั้งหลายอย่างนี้
และคำสั่งสอนของเรามีส่วนอย่างนี้
ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลาย



ผลของการกำหนดรู้

ก. สัทธานุสารี

ภิกษุ ท .! จักษุ….โ ส ต ะ ….ฆ า น ะ ….ชิว ห า …ก า ย ะ …ม น ะ
เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเป็นปกติ.

ภิกษุ ท.! บุคคลใด มีความเชื่อ น้อมจิตไป ในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ ;
บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น สัทธานุสารี

หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม(ระบบแห่งความถูกต้อง)
หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)
ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำ กรรม อันกระทำ แล้วจะเข้าถึงนรก กำเนิดดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย
และไม่ควรที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 15 ก.ค. 2015, 12:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2015, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อไม่กำหนดรู้(อโยนิโสมนสิการ)

[๓๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง
ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร
ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด

นิวรณ์ ๕ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร
ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๓๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหาร ให้กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศุภนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในศุภนิมิตนั้น
นี้เป็นอาหารให้กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

[๓๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิฆนิมิตมีอยู่
การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิตนั้น
นี้เป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

[๓๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ ความเมาอาหาร ความที่ใจหดหู่ มีอยู่
การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในสิ่งเหล่านั้น
นี้เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

[๓๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่สงบใจมีอยู่
การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในความไม่สงบใจนั้น
นี้เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

[๓๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่
การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น
นี้เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

[๓๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง
ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้

แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง
ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 15 ก.ค. 2015, 12:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2015, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อาหารของโพชฌงค์ ๗

[๓๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง
ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร
ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้

แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง
ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร
ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๓๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์ มีอยู่
การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น
นี้เป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

[๓๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและ
อกุศลที่มีโทษ และไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีอยู่ การกระทำให้มาก
ซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

[๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความริเริ่ม ความพยายาม ความบากบั่น
มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในสิ่งเหล่านี้ นี้เป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

[๓๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์
มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยัง
ไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

[๓๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสงบกาย ความสงบจิต
มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในความสงบนั้น นี้เป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

[๓๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต มีอยู่
การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

[๓๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหาร
ให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

[๓๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร
ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด

โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะ
อาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2015, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โสตาปัตติยังคะ


๒.สัทธรรมสวนะ ฟังคำสั่งสอนของท่าน

มีพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้
ยังมีปรากฏร่องรอยให้เห็นอยู่ในพระไตรปิฎก

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2015, 09:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เวรภยสูตรที่ ๑
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ



[๑๕๗๔] สาวัตถีนิทาน.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า

ดูกรคฤหบดี ภัยเวร ๕ ประการของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ
และญายธรรมอันประเสริฐ

อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.



[๑๕๗๕] ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน?

ดูกรคฤหบดี บุคคลผู้มีปกติฆ่าสัตว์ ย่อมประสพภัยเวรอันใด ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี ได้เสวยทุกขโทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี ก็เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย
เมื่ออริยสาวกเว้นจากการฆ่าสัตว์แล้ว ภัยเวรอันนั้นเป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้


บุคคลผู้ลักทรัพย์ …
บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม …
บุคคลผู้พูดเท็จ …
บุคคลผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ย่อมประสพภัยเวรอันใด ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี
ที่เป็นไปในสัมปรายภพก็มี ได้เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี
ก็เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นปัจจัย

เมื่ออริยสาวกงดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ภัยเวรอัน อันนั้น เป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้
ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ สงบระงับแล้ว.



[๑๕๗๖] อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน?

ดูกรคฤหบดีอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า … ในพระธรรม … ในพระสงฆ์ …
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้.


[๑๕๗๗] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน?

ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียว
โดยอุบายอันแยบคายเป็นอย่างดีว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ย่อมเกิด ด้วยประการดังนี้

เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ
ด้วยประการดังนี้ คือ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้

ก็เพราะอวิชชาดับด้วยการสำรอก โดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ … ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้
ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา.


[๑๕๗๘] ดูกรคฤหบดี เมื่อใด ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้ และญายธรรมอันประเสริฐนี้
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว
เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๘



เวรภยสูตรที่ ๒
ผู้ระงับภัยเวร ๕ ได้พยากรณ์ตนเองได้


[๑๕๗๙] สาวัตถีนิทาน ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว
อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้ และญายธรรมอันประเสริฐนี้
อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา

เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า
เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว

เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
จบ สูตรที่ ๙




ลิจฉวีสูตร
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน



[๑๕๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี
ครั้งนั้น มหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวีชื่อนันทกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
กะมหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวีชื่อนันทกะว่า

[๑๕๘๑] ดูกรนันทกะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นพระโสดาบัน
มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน?

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า … ในพระธรรม …
ในพระสงฆ์ … ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด … เป็นไปเพื่อสมาธิ

ดูกรนันทกะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล
เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.


[๑๕๘๒] ดูกรนันทกะ ก็แลอริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้
เป็นผู้ประกอบด้วยอายุทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
เป็นผู้ประกอบด้วยวรรณะทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
เป็นผู้ประกอบด้วยสุขทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
เป็นผู้ประกอบด้วยยศทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นใหญ่ทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์

ดูกรนันทกะ ก็เราได้ฟังแต่สมณะหรือพราหมณ์อื่น จึงกล่าวเรื่องนั้น หามิได้
ความจริง เรารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง จึงกล่าวเรื่องนั้น.

[๑๕๘๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว บุรุษคนหนึ่งได้กล่าวกะมหาอำมาตย์
ของเจ้าลิจฉวีชื่อนันทกะว่า ถึงเวลาอาบน้ำแล้ว ท่านผู้เจริญ

นันทกะมหาอำมาตย์กล่าวว่า ดูกรพนาย บัดนี้ยังไม่ต้องการอาบน้ำภายนอก
ต้องการจักอาบน้ำภายใน คือ ความเลื่อมใสใน พระผู้มีพระภาค.


จบ สูตรที่ ๑๐
จบ สรกานิวรรคที่ ๓
—————————————————–
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มหานามสูตรที่ ๑ ๒. มหานามสูตรที่ ๒
๓. โคธาสูตร ๔. สรกานิสูตรที่ ๑
๕. สรกานิสูตรที่ ๒ ๖. ทุสีลยสูตรที่ ๑
๗. ทุสีลยสูตรที่ ๒ ๘. เวรภยสูตรที่ ๑
๙. เวรภยสูตรที่ ๒ ๑๐. ลิจฉวีสูตร.



http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... 223&Z=9299

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2015, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่พึงถือประมาณในบุคคลอื่น

ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า
ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ
เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี
ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน


ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน
เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ




มิคสาลาสูตร

[๗๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวลาเช้าท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย

ครั้งนั้น มิคสาลาอุบาสิกาเข้าไปหาท่านพระอานนท์กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร


คือบิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านกระทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต
บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ (แต่) ยินดีด้วยภรรยาของตน แม้เขาทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีสติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร ฯ

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรน้องหญิง ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างนั้นแล

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์รับบิณฑบาตที่นิเวศน์ของมิคสาลาอุบาสิกา ลุกจากอาสนะกลับไปแล้ว
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของอุบาสิกาชื่อมิคสาลา แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย ลำดับนั้น มิคสาลาอุบาสิกาเข้าไปหาข้าพระองค์ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามข้าพระองค์ว่า

ข้าแต่ท่านอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร

คือ บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกลงดเว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านกระทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต
บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ยินดีด้วยภรรยาของตนแม้เขาทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงชั้นดุสิต

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร

เมื่อมิคสาลาอุบาสิกากล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะมิคสาลาอุบาสิกาว่า ดูกรน้องหญิง ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างนี้แล ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาลไม่ฉลาด เป็นคนบอด มีปัญญาทึบ เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล


ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้มีอยู่ในโลก
๑๐ จำพวกเป็นไฉน


ดูกรอานนท์บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อมไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อม ไม่ถึงความเจริญ


ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีลแต่รู้ชัดซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม


ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน


ดูกรอานนท์ ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ทุศีลและรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติ แม้อันเกิดในสมัย

ดูกรอานนท์บุคคลนี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต

ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคลและอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล แต่ไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นไม่ทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ

ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล และรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจ แม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติ แม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม
ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้า ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจ แม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียวไม่ถึงความเจริญ

ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้าแต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขาตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัยเมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียวไม่ถึงความเสื่อม
ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขาตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ

ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟังกระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม
ดูกรอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

ดูกรอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ทั้งไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริงบุคคลนั้นไม่กระทำกิจ แม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ


ดูกรอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูตแทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม

ดูกรอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณ ย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน


ดูกรอานนท์ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ฟุ้งซ่านแต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุติแม้อันเกิดในสมัยบุคคลนี้ดีกว่า และประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต

ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคลและอย่าได้ถือประมาณในบุคคลเพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ฯ

ดูกรอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาล ไม่ฉลาด เป็นคนบอดมีปัญญาทึบ เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล
ดูกรอานนท์ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ดูกรอานนท์ บุรุษชื่อปุราณะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นใดบุรุษชื่ออิสิทัตตะก็เป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นนั้น บุรุษชื่อปุราณะจะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่ออิสิทัตตะก็หามิได้ บุรุษชื่ออิสิทัตตะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด บุรุษชื่อปุราณะก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้นบุรุษชื่ออิสิทัตตะจะได้รู้แม้คติ ของบุรุษชื่อปุราณะก็หามิได้

ดูกรอานนท์ คนทั้งสองนี้เลวกว่ากันด้วยองค์คุณคนละอย่าง ด้วยประการฉะนี้ ฯ

จบสูตรที่ ๕
หน้า ๑๒๒

http://etipitaka.com/read/thai/24/119/

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร