วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 06:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 200 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2014, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เอาทุกข์หลักกลางคือตามความหมายของพุทธศาสนา


เว้นวรรคให้อ่านแล้วได้ใจความหน่อยครับ กรัชกาย



ถ้างั้นเอาใหม่ เอาความหมายของทุกข์ซึ่งเป็นกลาง ตามนัยของพระพุทธศาสนา

"อัตตา"



อะไรอัตตา ขยายความหน่อยซี่ :b1:

ทุกข์ ซึ่งเป็นกลาง
ก็คืออัตตา
อัตตา เกิดขึ้นเพราะ ความยึดถืออย่างไม่รู้
มีความไม่รู้และความหลง เป็นสิ่งก่อเกิด
อัตตา นั่นล่ะทุกข์


แล้ว อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ล่ะเป็นไง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2014, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
แล้ว อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ล่ะเป็นไง

http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=22&p=4
พระภาษิตนี้เต็ม ก็คือ
พุทธภาษิต เขียน:
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.

ตนแลเป็นที่พึ่งของตน, บุคคลอื่นใครเล่า
พึงเป็นที่พึ่งได้ เพราะบุคคล มีตนฝึกฝน
ดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่ง อันบุคคลได้โดยยาก.


อรรถกถา เขียน:
บุคคลตั้งอยู่ในตน คือสมบูรณ์แล้วด้วยตน สามารถจะทำกุศลแล้วถึงสวรรค์ หรือเพื่อยังมรรคให้เจริญ หรือทำให้แจ้งซึ่งผลได้ เพราะเหตุนั้นแหละ ตนแลพึงเป็นที่พึ่งของตน. คนอื่นใครเล่า? พึงเป็นที่พึ่งของใครได้ เพราะบุคคลมีตนฝึกดีแล้ว คือมีความเสพผิดออกแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งบุคคลได้โดยยาก กล่าวคือพระอรหัตผล."
ก็คำว่า "นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ" นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาพระอรหัต.


เมื่ออ่านแล้ว ทำให้ได้ความชัดเจนขึ้นว่า
ทุกข์ของใคร ก็ทุกข์ของผู้นั้น
จะดับทุกข์ ผู้นั้นก็ต้องเป็นผู้ดับเอง
คนอื่นจะมาดับให้ไม่ได้

V
อัตตาของสัตว์ใด ก็เป็นอัตตาของสัตว์นั้น
จะละอัตตา สัตว์นั้นก็ต้องเป็นผู้ละเอง
สัตว์อื่นจะมาดับให้ก็ไม่ได้

"บุคคลตั้งอยู่ในตน คือสมบูรณ์แล้วด้วยตน"
สัตว์ชื่อว่าตั้งอยู่ในตน ก็ด้วยเหตุว่าได้ถึงความมีสติตั้งอยู่ในภายใน
คือสมบูรณ์แล้วด้วยตน ด้วยเหตุว่าเป็นสัมมาสติที่มี สัมมาทิฏฐิเป็นประธาน และมี สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาสมาธิ ห้อมล้อม
สัตว์นั้นถึงความเป็นโพธิสัตว์ ที่จะตรัสรู้ ยังมรรคให้เจริญ ทำให้แจ้งซึ่งผลได้
การยังมรรคให้เจริญทำให้แจ้งซึ่งผล ไม่อาจให้โพธิสัตว์อื่นทำแทนได้เช่นกัน

เพราะฉะนั้น ยกพุทธภาษิตมา แบบหมาหางด้วน
กรัชกาย อย่ายกมาเลย จะเป็นการล่วงเกินพระธรรม โดยไม่รู้ตัว

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2014, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
แล้ว อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ล่ะเป็นไง

http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=22&p=4
พระภาษิตนี้เต็ม ก็คือ
พุทธภาษิต เขียน:
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.

ตนแลเป็นที่พึ่งของตน, บุคคลอื่นใครเล่า
พึงเป็นที่พึ่งได้ เพราะบุคคล มีตนฝึกฝน
ดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่ง อันบุคคลได้โดยยาก.


อรรถกถา เขียน:
บุคคลตั้งอยู่ในตน คือสมบูรณ์แล้วด้วยตน สามารถจะทำกุศลแล้วถึงสวรรค์ หรือเพื่อยังมรรคให้เจริญ หรือทำให้แจ้งซึ่งผลได้ เพราะเหตุนั้นแหละ ตนแลพึงเป็นที่พึ่งของตน. คนอื่นใครเล่า? พึงเป็นที่พึ่งของใครได้ เพราะบุคคลมีตนฝึกดีแล้ว คือมีความเสพผิดออกแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งบุคคลได้โดยยาก กล่าวคือพระอรหัตผล."
ก็คำว่า "นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ" นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาพระอรหัต.


เมื่ออ่านแล้ว ทำให้ได้ความชัดเจนขึ้นว่า
ทุกข์ของใคร ก็ทุกข์ของผู้นั้น
จะดับทุกข์ ผู้นั้นก็ต้องเป็นผู้ดับเอง
คนอื่นจะมาดับให้ไม่ได้

V
อัตตาของสัตว์ใด ก็เป็นอัตตาของสัตว์นั้น
จะละอัตตา สัตว์นั้นก็ต้องเป็นผู้ละเอง
สัตว์อื่นจะมาดับให้ก็ไม่ได้

"บุคคลตั้งอยู่ในตน คือสมบูรณ์แล้วด้วยตน"
สัตว์ชื่อว่าตั้งอยู่ในตน ก็ด้วยเหตุว่าได้ถึงความมีสติตั้งอยู่ในภายใน
คือสมบูรณ์แล้วด้วยตน ด้วยเหตุว่าเป็นสัมมาสติที่มี สัมมาทิฏฐิเป็นประธาน และมี สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาสมาธิ ห้อมล้อม
สัตว์นั้นถึงความเป็นโพธิสัตว์ ที่จะตรัสรู้ ยังมรรคให้เจริญ ทำให้แจ้งซึ่งผลได้
การยังมรรคให้เจริญทำให้แจ้งซึ่งผล ไม่อาจให้โพธิสัตว์อื่นทำแทนได้เช่นกัน

เพราะฉะนั้น ยกพุทธภาษิตมา แบบหมาหางด้วน
กรัชกาย อย่ายกมาเลย จะเป็นการล่วงเกินพระธรรม โดยไม่รู้ตัว



เช่นนั้น ถ้าเรายังไม่ถึงอรหัตผล ไม่ต้องพึงตนเองใช่มั้ย

เป็นทุกข์ (เอาง่ายๆ) เราประสบอุบัติเหตุเลือดท่วมตัว ไม่ต้องหาหมอพึงหมอให้ช่วยดับทุกข์ให้ใช่มั้ย :b32:

บอกแล้วว่า กรัชกายมองพระธรรมเหมือนอุปกรณ์สำหรับใช้ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2014, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น ถ้าเรายังไม่ถึงอรหัตผล ไม่ต้องพึงตนเองใช่มั้ย

เป็นทุกข์ (เอาง่ายๆ) เราประสบอุบัติเหตุเลือดท่วมตัว ไม่ต้องหาหมอพึงหมอให้ช่วยดับทุกข์ให้ใช่มั้ย :b32:
บอกแล้วว่า กรัชกายมองพระธรรมเหมือนอุปกรณ์สำหรับใช้ :b1:


กรัชกาย คงเข้าใจอะไรผิดครับ
ถ้าถึงอรหัตผล จึงไม่ต้องทำที่พึ่ง

พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนในบทเรื่องการพึ่งตนมีตนเป็นที่พึ่ง
พระพุทธองค์จะทรงตรัสสอน ว่าคือให้มีธรรม ใช้ธรรมเสมอ กล่าวคือให้มีสติตั้ง

ดังนั้น การยกตัวอย่างเกี่ยวกับ อุบัติเหตุ กับหมอ
ที่กรัชกายยกตัวอย่างมา
จะบอกได้ว่า ถ้าผู้ประสบอุบัติเหตุ เป็นผู้มีสติตั้งแล้ว ความทุกข์ที่เกิดจากความเจ็บปวดทางกายก็ไม่มี เหลือเพียงความเจ็บปวดทางกายที่อาศัยบุคคลอื่นมารักษา ความเจ็บปวดทางกายนั้นไม่ใช่ความทุกข์ เป็นเพียงเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น แต่บุคคลนั้นไม่ยึดมั่นไว้เป็นอัตตา เวทนาที่เกิดขึ้นด้วยความรู้เท่าทัน จึงสักแต่ว่าเวทนา

เปรียบได้กับ การอาพาธของพระพุทธองค์ ที่ได้รับการเยียวยารักษาจากหมอชีวก
พระพุทธองค์ก็หายจากอาพาธ

หวังว่ากรัชกายคงเข้าใจ เรื่องมองธรรมเป็นอุปกรณ์
ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ ไม่บำรุงรักษา ไม่มีความชำนาญในการใช้ ไม่ถือให้ดีในอุปกรณ์ กรัชกายจะใช้อุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร....

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2014, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น ถ้าเรายังไม่ถึงอรหัตผล ไม่ต้องพึงตนเองใช่มั้ย

เป็นทุกข์ (เอาง่ายๆ) เราประสบอุบัติเหตุเลือดท่วมตัว ไม่ต้องหาหมอพึงหมอให้ช่วยดับทุกข์ให้ใช่มั้ย :b32:
บอกแล้วว่า กรัชกายมองพระธรรมเหมือนอุปกรณ์สำหรับใช้ :b1:


กรัชกาย คงเข้าใจอะไรผิดครับ
ถ้าถึงอรหัตผล จึงไม่ต้องทำที่พึ่ง

พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนในบทเรื่องการพึ่งตนมีตนเป็นที่พึ่ง
พระพุทธองค์จะทรงตรัสสอน ว่าคือให้มีธรรม ใช้ธรรมเสมอ กล่าวคือให้มีสติตั้ง

ดังนั้น การยกตัวอย่างเกี่ยวกับ อุบัติเหตุ กับหมอ
ที่กรัชกายยกตัวอย่างมา
จะบอกได้ว่า ถ้าผู้ประสบอุบัติเหตุ เป็นผู้มีสติตั้งแล้ว ความทุกข์ที่เกิดจากความเจ็บปวดทางกายก็ไม่มี เหลือเพียงความเจ็บปวดทางกายที่อาศัยบุคคลอื่นมารักษา ความเจ็บปวดทางกายนั้นไม่ใช่ความทุกข์ เป็นเพียงเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น แต่บุคคลนั้นไม่ยึดมั่นไว้เป็นอัตตา เวทนาที่เกิดขึ้นด้วยความรู้เท่าทัน จึงสักแต่ว่าเวทนา

เปรียบได้กับ การอาพาธของพระพุทธองค์ ที่ได้รับการเยียวยารักษาจากหมอชีวก
พระพุทธองค์ก็หายจากอาพาธ

หวังว่ากรัชกายคงเข้าใจ เรื่องมองธรรมเป็นอุปกรณ์
ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ ไม่บำรุงรักษา ไม่มีความชำนาญในการใช้ ไม่ถือให้ดีในอุปกรณ์ กรัชกายจะใช้อุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร....



อ้างคำพูด:
กรัชกาย คงเข้าใจอะไรผิดครับ
ถ้าถึงอรหัตผล จึงไม่ต้องทำที่พึ่ง



ที่ถามว่ายังไม่ถึงน่ะ ไม่ต้องทำไม่ต้องฝึกตนใช่มั้ย ใช่ ไม่ใช่

เวทนา 5 มีอะไรบ้างเช่นนั้น

คิดอย่างเช่นนั้น คิดแบบชีวิตสำเร็จรูป (คิดแบบอาหารสำเร็จรูป ฉีกซองเอาน้ำร้อนใส่กินได้เลย) ไม่ต้องฝึกต้องทำอะไร ตกฟากก็เป็นอริยบุคคล เป็นพระอรหันต์กันทีเลยทีเดียว :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2014, 11:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
กรัชกาย คงเข้าใจอะไรผิดครับ
ถ้าถึงอรหัตผล จึงไม่ต้องทำที่พึ่ง

ที่ถามว่ายังไม่ถึงน่ะ ไม่ต้องทำไม่ต้องฝึกตนใช่มั้ย ใช่ ไม่ใช่

ยังไม่ถึงอรหัตผล ก็ต้องทำ ต้องฝึกตนอยู่
กรัชกาย เขียน:
คิดอย่างเช่นนั้น คิดแบบชีวิตสำเร็จรูป (คิดแบบอาหารสำเร็จรูป ฉีกซองเอาน้ำร้อนใส่กินได้เลย) ไม่ต้องฝึกต้องทำอะไร ตกฟากก็เป็นอริยบุคคล เป็นพระอรหันต์กันทีเลยทีเดียว

กรัชกาย เข้าใจว่า อริยบุคคล เป็นอย่างไร

กรัชกายถามเวทนา 5
กรัชกายรู้ไหม อุปาทานในเวทนา 5 และ เวทนา 5
สิ่งไหน เป็นอริยะสัจจทุกข์

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2014, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
กรัชกาย คงเข้าใจอะไรผิดครับ
ถ้าถึงอรหัตผล จึงไม่ต้องทำที่พึ่ง

ที่ถามว่ายังไม่ถึงน่ะ ไม่ต้องทำไม่ต้องฝึกตนใช่มั้ย ใช่ ไม่ใช่

ยังไม่ถึงอรหัตผล ก็ต้องทำ ต้องฝึกตนอยู่
กรัชกาย เขียน:
คิดอย่างเช่นนั้น คิดแบบชีวิตสำเร็จรูป (คิดแบบอาหารสำเร็จรูป ฉีกซองเอาน้ำร้อนใส่กินได้เลย) ไม่ต้องฝึกต้องทำอะไร ตกฟากก็เป็นอริยบุคคล เป็นพระอรหันต์กันทีเลยทีเดียว

กรัชกาย เข้าใจว่า อริยบุคคล เป็นอย่างไร

กรัชกายถามเวทนา 5
กรัชกายรู้ไหม อุปาทานในเวทนา 5 และ เวทนา 5
สิ่งไหน เป็นอริยะสัจจทุกข์



อ้างคำพูด:
ยังไม่ถึงอรหัตผล ก็ต้องทำ ต้องฝึกตนอยู่


ก็นั่นน่าซี่ แล้วมัน อัตตา หิ อตตโน นาโถ ไหมล่ะ

อ้างคำพูด:
กรัชกาย เข้าใจว่า อริยบุคคล เป็นอย่างไร


เข้าใจว่าเหมือนเช่นนั้นกระมัง :b14: อ่านจบสูตรใดสูตรหนึ่งก็สำเร็จ

อ้างคำพูด:
กรัชกายรู้ไหม อุปาทานในเวทนา 5 และ เวทนา 5
สิ่งไหน เป็นอริยะสัจจทุกข์



ไม่รู้ขอรับ มันเป็นยังไงหรือที่ว่านั่นน่า :b10: :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2014, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:

หวังว่ากรัชกายคงเข้าใจ เรื่องมองธรรมเป็นอุปกรณ์
ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ ไม่บำรุงรักษา ไม่มีความชำนาญในการใช้ ไม่ถือให้ดีในอุปกรณ์ กรัชกายจะใช้อุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร....



ต้องฝึกขอรับ เช่นนั้น อิเมโจได๋ๆๆ ไม่เกิดหรอก แต่เบื้องต้นควรรู้จักสภาวะของมันก่อน ต่อไปรู้จักวิธีฝึกหรือเจริญเออ


สัญญา - สติ - ความจำ


มักมีความเข้าใจสับสนกันในเรื่องความจำว่าตรงกับธรรมข้อใด คำว่า สัญญา ก็มักแปลกันว่า ความจำ คำว่า สติ โดยทั่วไปแปลว่า ความระลึกได้ บางครั้งก็แปลว่า ความจำ และตัวอย่างที่เด่น เช่น พระอานนท์ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางทรงจำพุทธพจน์ คำบาลีในกรณีนี้ท่านใช้คำว่า สติ ดังพุทธพจน์ว่า "อานนท์เป็นเลิศ กว่าประดาสาวกของเราผู้มีสติ"

(องฺ.เอก.20/149/32)

เรื่องนี้ในทางธรรมไม่มีความสับสน ความจำไม่ใช่กิจของธรรมข้อเดียว แต่เป็นกิจของกระบวนธรรมและในกระบวนธรรมแห่งความจำนี้ สัญญาและสติเป็นองค์ธรรมใหญ่ ทำหน้าที่เป็นหลัก มีบทบาทสำคัญที่สุด


สัญญาก็ดี สติก็ดี มีความหมายคาบเกี่ยว และเหลี่ยมกันกับความจำ กล่าวคือ ส่วนหนึ่งของสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของความจำ อีกส่วนหนึ่งของสัญญา อยู่นอกเหนือความหมายของความจำ แม้สติก็เช่นเดียวกัน ส่วนหนึ่งของสติเป็นส่วนหนึ่งของความจำ อีกส่วนหนึ่งของสติ อยู่นอกเหนือความหมายของกระบวนการทรงจำ


ข้อที่พึงกำหนดหมายและระลึกไว้อย่างสำคัญ คือ สัญญา และ สติ ทำหน้าที่คนละอย่างในกระบวนการทรงจำ



สัญญา กำหนดหมาย หรือหมายรู้อารมณ์ไว้ เมื่อประสบอารมณ์อีก ก็เอาข้อที่กำหนดหมายไว้นั้น มาจับเทียบหมายรู้ว่าตรงกันเหมือนกันหรือไม่ ถ้าหมายรู้ว่าตรงกัน เรียกว่าจำได้ ถ้ามีข้อต่างก็หมายรู้เพิ่มเข้าไว้ การกำหนดหมาย จำได้ หรือหมายรู้อารมณ์ไว้ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ใช่นั่น ใช่นี่ (การเทียบเคียงและเก็บข้อมูล) ก็ดี สิ่งที่กำหนดหมายไว้ (ตัวข้อมูลที่สร้างและเก็บไว้นั้น) ก็ดี เรียกว่าสัญญา ตรงกับความจำในแง่ที่เป็นการสร้างปัจจัยแห่งความจำ ลักษณะสำคัญของสัญญา คือ ทำงานกับอารมณ์ที่ปรากฏตัวอยู่แล้ว กล่าวคือ เมื่ออารมณ์ปรากฏอยู่ต่อหน้า จึงกำหนดได้ หมายรู้หรือจำได้ซึ่งอารมณ์นั้น


สติ มีหน้าที่ดึงอารมณ์มาสู่จิต เหนี่ยวอารมณ์ ไว้กับจิต คุมหรือกำกับจิตไว้กับอารมณ์ ตรึงเอาไว้ไม่ยอมให้ลอยผ่านหรือคลาดกันไป จะเป็นการดึงมาซึ่งอารมณ์ที่ผ่านไปแล้ว หรือดึงไว้ซึ่งอารมณ์ที่จะผ่านไปก็ได้ สติ จึงมีขอบเขตความหมายคลุมถึง การระลึก นึกถึง นึกไว้ นึกได้ ระลึกได้ ไม่เผลอ สติเป็น การริเริ่มเองจากภายใน โดยอาศัยพลังแห่งเจตนา หรือเจตจำนง ในเมื่ออารมณ์อาจจะไม่ปรากฏอยู่ต่อหน้า เป็นฝ่ายจำนงต่ออารมณ์ จึงจัดอยู่ในพวกสังขาร



สัญญา บันทึกเก็บไว้ สติดึงออกมาใช้ สัญญาดี คือ รู้จักกำหนดหมายให้ชัดเจน เป็นระเบียบ สร้างขึ้นเป็นรูปร่างที่มีความหมายและเชื่อมโยงกันดี (ซึ่งอาศัยความใส่ใจ เป็นต้น อีกต่อหนึ่ง) ก็ดี สติดี คือมีความสามารถในการระลึก (ซึ่งอาศัยสัญญาดี และการหมั่นใช้สติ ตลอดจนสภาพจิตที่สงบผ่องใส ตั้งมั่น เป็นต้น อีกต่อหนึ่ง) ก็ดี ย่อมเป็นองค์ประกอบ ที่ช่วยให้เกิดความจำดี


พูดถึงนามธรรมมองไม่เห็น ดูตัวอย่างบุคลาธิษฐาน ระหว่าง สัญญา กับ สติ


นายแดง กับ นายดำ เคยรู้จักกันดี แล้วแยกจากกันไป ต่อมาอีกสิบปี นายแดงพบนายดำอีก จำได้ว่า ผู้ที่ตนพบนั้นคือนายดำ แล้วระลึกนึกได้ต่อไปอีกว่าตน กับ นายดำ เคยไปเที่ยวด้วยกันที่นั่นๆ ได้ทำสิ่งนั้นๆ ฯลฯ การจำได้เมื่อพบนั้นเป็นสัญญา การนึกได้ต่อไปถึงเรื่องราวที่ล่วงแล้ว เป็นสติ



วันหนึ่ง นาย ก. ได้พบปะสนทนา กับ นาย ข. ต่อมาอีกหนึ่งเดือน นาย ก. ถูกเพื่อนถามว่า เมื่อเดือนที่แล้ววันที่เท่านั้นๆ นาย ก. ได้พบปะสนทนากับใคร นาย ก. นึกทบทวนดู ก็จำได้ว่าพบปะสนทนากับ นาย ข. การจำได้ในกรณีนี้ เป็นสติ



เครื่องโทรศัพท์ตั้งอยู่มุมห้องข้างหนึ่ง สมุดหมายเลขโทรศัพท์อยู่อีกมุมห้องด้านหนึ่ง นายเขียวเปิดสมุดหา เลขหมายโทรศัพท์ที่ตนต้องการ ระหว่างเดินไปก็นึกหมายเลขนั้นไว้ตลอด การอ่านและกำหนดหมายเลขที่สมุดโทรศัพท์ เป็นสัญญา การนึกหมายเลขนั้นตั้งแต่ละจากสมุดโทรศัพท์ เป็นสติ



เมื่ออารมณ์ปรากฏอยู่ต่อหน้าแล้ว ก็กำหนดหมายได้ทันที แต่เมื่ออารมณ์ไม่ปรากฏอยู่ และถ้าอารมณ์นั้นเป็นธรรมารมณ์ (เรื่องในใจ) ก็ใช้สติดึงอารมณ์นั้นมาแล้วกำหนดหมาย อนึ่ง สติสามารถระลึกถึงสัญญา คือดึงเอาสัญญาที่มีอยู่เก่ามาเป็นอารมณ์ของจิต แล้วสัญญาจะกำหนดหมายอารมณ์นั้น สำทับเข้าอีกให้ชัดเจนแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น หรือกำหนดหมายแนวใหม่เพิ่มเข้าไปตามวัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งก็ได้


สติ ด้านหนึ่งแปลกันว่า recall, recollection อีกด้านหนึ่งว่า mindfulness



บางกลุ่มมองธรรมชาติคือสัญญาแต่แง่ร้าย ปุดโธ่ ถ้าไม่มีสัญญา ก็คนเป็นโรคอัลไซเมอร์ จำอะไรไม่ได้ กินก็ไม่ได้กิน ขี้เต็มกุงเกงก็ว่าขี้คนอื่น แล้วจะมีประโยชน์ :b32:

ควรรู้ว่า สัญญามีสองอย่าง คือ กุศลสัญญา กับ อกุศลสัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2014, 13:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ยังไม่ถึงอรหัตผล ก็ต้องทำ ต้องฝึกตนอยู่

ก็นั่นน่าซี่ แล้วมัน อัตตา หิ อตตโน นาโถ ไหมล่ะ

อ่านให้เข้าใจใหม่
กรัชกาย ยกพุทธภาษิตใดมา ก็ยกออกมาให้ครบกระทงความ อย่ายกแบบหมาหางด้วน

กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
กรัชกาย เข้าใจว่า อริยบุคคล เป็นอย่างไร


เข้าใจว่าเหมือนเช่นนั้นกระมัง :b14: อ่านจบสูตรใดสูตรหนึ่งก็สำเร็จ

กรัชกาย อย่าเฉไฉ

กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
กรัชกายรู้ไหม อุปาทานในเวทนา 5 และ เวทนา 5
สิ่งไหน เป็นอริยะสัจจทุกข์

ไม่รู้ขอรับ มันเป็นยังไงหรือที่ว่านั่นน่า :b10: :b14:

ไม่รู้จริงๆ หรือครับ กรัชกาย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2014, 14:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ต้องฝึกขอรับ เช่นนั้น อิเมโจได๋ๆๆ ไม่เกิดหรอก แต่เบื้องต้นควรรู้จักสภาวะของมันก่อน ต่อไปรู้จักวิธีฝึกหรือเจริญเออ
อ้างคำพูด:
สัญญา - สติ - ความจำ
มักมีความเข้าใจสับสนกันในเรื่องความจำว่าตรงกับธรรมข้อใด คำว่า สัญญา ก็มักแปลกันว่า ความจำ คำว่า สติ โดยทั่วไปแปลว่า ความระลึกได้ บางครั้งก็แปลว่า ความจำ และตัวอย่างที่เด่น เช่น พระอานนท์ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางทรงจำพุทธพจน์ คำบาลีในกรณีนี้ท่านใช้คำว่า สติ ดังพุทธพจน์ว่า "อานนท์เป็นเลิศ กว่าประดาสาวกของเราผู้มีสติ" ..ฯลฯ......ควรรู้ว่า สัญญามีสองอย่าง คือ กุศลสัญญา กับ อกุศลสัญญา

กรัชกาย
ไปลอกสิ่งนี้มาจากไหน (สิ่งนี้ คือบทความทั้งหมดนั้น)
ตั้งแต่บรรทัดแรกจนบรรทัดสุดท้าย
ผู้เขียน เขียนด้วยความสับสนต่อสภาวะมาก

กรัชกาย ถามจริงๆ นะ เชื่อและเห็นตามสิ่งที่กรัชกายลอกมาจริงๆ ใช่ หรือไม่?

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2014, 14:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ต้องฝึกขอรับ เช่นนั้น อิเมโจได๋ๆๆ ไม่เกิดหรอก แต่เบื้องต้นควรรู้จักสภาวะของมันก่อน ต่อไปรู้จักวิธีฝึกหรือเจริญเออ
อ้างคำพูด:
สัญญา - สติ - ความจำ
มักมีความเข้าใจสับสนกันในเรื่องความจำว่าตรงกับธรรมข้อใด คำว่า สัญญา ก็มักแปลกันว่า ความจำ คำว่า สติ โดยทั่วไปแปลว่า ความระลึกได้ บางครั้งก็แปลว่า ความจำ และตัวอย่างที่เด่น เช่น พระอานนท์ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางทรงจำพุทธพจน์ คำบาลีในกรณีนี้ท่านใช้คำว่า สติ ดังพุทธพจน์ว่า "อานนท์เป็นเลิศ กว่าประดาสาวกของเราผู้มีสติ" ..ฯลฯ......ควรรู้ว่า สัญญามีสองอย่าง คือ กุศลสัญญา กับ อกุศลสัญญา

กรัชกาย
ไปลอกสิ่งนี้มาจากไหน (สิ่งนี้ คือบทความทั้งหมดนั้น)
ตั้งแต่บรรทัดแรกจนบรรทัดสุดท้าย
ผู้เขียน เขียนด้วยความสับสนต่อสภาวะมาก

กรัชกาย ถามจริงๆ นะ เชื่อและเห็นตามสิ่งที่กรัชกายลอกมาจริงๆ ใช่ หรือไม่?


เช่นนั้นว่า บ้าง รู้เข้าใจยังไงก็ว่าไป :b1: บ่นเป็นหมีกินผึ้งเชีย เอ้าว่าไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2014, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ยังไม่ถึงอรหัตผล ก็ต้องทำ ต้องฝึกตนอยู่

ก็นั่นน่าซี่ แล้วมัน อัตตา หิ อตตโน นาโถ ไหมล่ะ

อ่านให้เข้าใจใหม่

กรัชกาย ยกพุทธภาษิตใดมา ก็ยกออกมาให้ครบกระทงความ อย่ายกแบบหมาหางด้วน

กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
กรัชกาย เข้าใจว่า อริยบุคคล เป็นอย่างไร


เข้าใจว่าเหมือนเช่นนั้นกระมัง :b14: อ่านจบสูตรใดสูตรหนึ่งก็สำเร็จ

กรัชกาย อย่าเฉไฉ

กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
กรัชกายรู้ไหม อุปาทานในเวทนา 5 และ เวทนา 5
สิ่งไหน เป็นอริยะสัจจทุกข์


ไม่รู้ขอรับ มันเป็นยังไงหรือที่ว่านั่นน่า :b10: :b14:


ไม่รู้จริงๆ หรือครับ กรัชกาย


เอ้าก็บอกว่าไม่รู้ เพราะอยากรู้ จึงได้ถาม ว่าไปเช่นนั้น เป็นยังไงขอรับ :b1:


อ้างคำพูด:
กรัชกาย อย่าเฉไฉ


แล้วมันยังไงล่ะขอรับ ตามนิยามเช่นนั้น ว่าไปครับ :b38:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2014, 18:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
กรัชกาย อย่าเฉไฉ

แล้วมันยังไงล่ะขอรับ ตามนิยามเช่นนั้น ว่าไปครับ :b38:


เล่ามา ตามที่กรัชกาย นิยามอย่างไร......อย่าเฉไฉ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2014, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ต้องฝึกขอรับ เช่นนั้น อิเมโจได๋ๆๆ ไม่เกิดหรอก แต่เบื้องต้นควรรู้จักสภาวะของมันก่อน ต่อไปรู้จักวิธีฝึกหรือเจริญเออ
อ้างคำพูด:
สัญญา - สติ - ความจำ
มักมีความเข้าใจสับสนกันในเรื่องความจำว่าตรงกับธรรมข้อใด คำว่า สัญญา ก็มักแปลกันว่า ความจำ คำว่า สติ โดยทั่วไปแปลว่า ความระลึกได้ บางครั้งก็แปลว่า ความจำ และตัวอย่างที่เด่น เช่น พระอานนท์ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางทรงจำพุทธพจน์ คำบาลีในกรณีนี้ท่านใช้คำว่า สติ ดังพุทธพจน์ว่า "อานนท์เป็นเลิศ กว่าประดาสาวกของเราผู้มีสติ" ..ฯลฯ......ควรรู้ว่า สัญญามีสองอย่าง คือ กุศลสัญญา กับ อกุศลสัญญา

อ้างคำพูด:
กรัชกาย
ไปลอกสิ่งนี้มาจากไหน (สิ่งนี้ คือบทความทั้งหมดนั้น)
ตั้งแต่บรรทัดแรกจนบรรทัดสุดท้าย
ผู้เขียน เขียนด้วยความสับสนต่อสภาวะมาก

กรัชกาย ถามจริงๆ นะ เชื่อและเห็นตามสิ่งที่กรัชกายลอกมาจริงๆ ใช่ หรือไม่?


ไม่ได้บ่น
อยากรู้ ไง ว่า กรัชกาย เชื่อและเห็นตาม ใช่ หรือไม่
จะไม่ต้องมาคาดเดา....

ใช่ หรือ ไม่ ........

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2014, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
กรัชกาย อย่าเฉไฉ

แล้วมันยังไงล่ะขอรับ ตามนิยามเช่นนั้น ว่าไปครับ :b38:


เล่ามา ตามที่กรัชกาย นิยามอย่างไร......อย่าเฉไฉ


ตามนิยามของกรัชกายเกี่ยวกับเรื่องนี้เท่าที่ดูเช่นนั้นคิดวาดภาพ ก็คืออ่านๆพระสูตรเกี่ยวพระอรหันต์ แล้วก็เพ้อฝันตาลอยๆ ทำใจให้ทะลุทะลวงจะเป็นพระอริยะ เช่นนั้นออกโทนนี้ จริงไม่จริงบอกมา :b1:


ตามนิยามของกรัชกายเคยบอกแล้ว ต้องปฏิบัติ (ถูกทางด้วย) แล้วอาสวกิเลสหมดไป ผู้ที่กำจัดอาสวะได้แล้วนั่นแหละเรียกอริยะบุคคลตามหลักพุทธศาสนา :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 200 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร