วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 23:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 82 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2014, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
อาณาปาณสติ สิ่งจำเป็นของชีวิต
เราไม่เข้าใจในการทำอาณาปาณสติอยู่นิดหนึ่งค่ะ
คือถ้าเราทำอาณาปาณสติ ทำในขณะที่เราทำงานบ้าน
ถ้าเรากำหนดจิตให้นิ่งตลอด อย่างนี้เรียกว่าเราทำอาณาปาณสติหรือปล่าวค่ะ
แล้วถ้าทำอยู่ตลอด แล้วปัญญาจะเกิดยังไงค่ะ ในเมื่อจิตเรานิ่งอยู่ตลอด
หรือว่าสิ่งที่เราเห็นทุกข์จากการยึดติด ใช่เรียกว่าเกิดปัญญาหรือปล่าวค่ะ
ขอคำแนะนำด้วยค่ะ


การทำงานบ้าน โดยมีอานาปานสติเป็นเครื่องอยู่สุขสบาย ....ทำได้ครับ

ผมเข้าใจคำถามว่า "การกำหนดจิตให้นิ่ง ขณะที่ทำงานบ้าน" โดยให้จิตนิ่งอยู่กับลมหายใจเข้าออกอย่างนั้นหรือครับ... ถ้าผมเข้าใจถูกตามที่คุณ bbby เข้าใจ
ไม่เรียกว่าทำอานาปานสติครับ ... เป็นเพียงการทำจิตจดจ่ออยู่กับการงานครับ

การทำอานาปานสติ จึงไม่ใช่การให้จิตนิ่ง
การให้จิตนิ่งแล้วเกิดปัญญา จึงเป็นไปไม่ได้ครับ

สิ่งที่เราเห็นทุกข์จากการยึดติด .... เกิดจากสัญญาจำได้จากการทรงจำครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2014, 00:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำงานด้วยจิตที่ทรงไว้ซึ่งอานาปานสติ
เป็นจิตที่ทำงาน ต่างๆ โดยมีการงานนั้นเป็นอารมณ์ ของจิต
โดยจิตที่มีคุณภาพ ของสติที่ตั้งขึ้นโดยลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
แต่ไม่มี ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เป็นนิมิตเคริ่องหมายอารมณ์ แต่ลมหายใจเข้าลมหายใจออกนั้น ก็ยังปรากฏแก่สตินั้นอยู่ และสตินั้นก็ปรากฏด้วยครับ

ผู้ที่ทรงฌาน ในอานาปานสติจนแนบแน่น จะใช้จิตที่มีคุณภาพนั้นทำการงานประจำวันได้
ด้วยคุณภาพของจิตที่เป็นอยู่แบบนั้น จิตก็จะระลึกอยู่ซึ่งลมหายใจได้ตลอดวัน แต่ไม่มีลมหายใจเข้าลมหายใจออกเป็นนิมิตอารมณ์ของจิตแล้วครับ

เพราะเหตุไร เพราะจิตหน่วงเอาองค์ฌานอย่างแนบแน่น แม้ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน หรือจตุตถฌาน เป็นที่ตั้งของสติ ซึ่งไม่ใช่ตัวลมหายใจเข้า ลมหายใจออก......จึงใช้จิตคุณภาพนี้ทำงานอื่นต่อไป
เช่นใช้ทำงานทางวิปัสสนา หรือทำกิจวัตรประจำวันต่อไปก็ได้ครับ แต่ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกนี้ก็ปรากฏแก่สติอยู่ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2014, 00:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
หมายถึงว่าถ้าล้างจานอยู่ ก็ให้จิตนิ่งอยู่ที่ล้างจาน
คือไม่ใช่จิตไปจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก เหมือนการทำสมาธิใช่หรือปล่าวค่ะ
เพียงแต่ไม่ปรุงแต่งอะไรเข้าไป มากกว่า ให้จิตรับรู้แค่ล้างจานอย่างเดียวใช่หรือไม่ค่ะ

แล้วถ้าเริ่มต้นทำแล้วมีอาการ คือเหมือนฝืนตัวเอง คือบังคับจิตให้อยู่ที่ล้างจาน
จะมีวิธียังไงที่จะไม่ต้องบังคับจิตล่ะค่ะ
คือเวลาที่เราทำนะคะ จะเหมือนมีอาการแน่นหายใจไม่ค่อยออก
คือรู้สึกอึดอัดตลอดนะคะ แล้วทีนี้จะแก้เหตุตรงนี้อย่างไงค่ะ


สติที่ถูกฝึกแล้ว
และตั้งสติขึ้นได้แล้ว จากอานาปานสติ
หมายความว่า จิตเป็นสมาธิตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาทคือตัวสติ อันเกิดจากอานาปานสติ
ใช้จิตที่เป็นสมาธิอย่างนั้น ไปล้างจาน
ขณะล้างจานนั้น จิตจึงไม่ต้องมีลมหายใจเข้าลมหายใจออกเป็นนิมิตเคริ่องหมายของอารมณ์
เพราะจิตตั้งไว้ดีแล้วจากอานาปานสติ ซึ่งลมหายใจเข้าลมหายใจออกก็ยังปรากฏอยู่แก่สติ ^ ^

ถ้าเข้าใจได้ ก็จะไม่มีอาการแน่นหายใจไม่ออก ไม่อึดอัด

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2014, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1375241010-1370203825-o.gif
1375241010-1370203825-o.gif [ 497.16 KiB | เปิดดู 2988 ครั้ง ]
อนุสติ คือ อารมณ์ดีงามที่ควรระลึกถึงเนืองๆ ในแบบท่านประมวลไว้ 10 อย่าง...อานาปานสติ ก็อยู่ในนี้ อานาปานะ = ลมเข้ากับลมออก + สติ = อานาปานสติ หมายความว่าใช้ลมหายใจเข้าออกเป็นที่ฝึกฝนสติ (องค์ธรรมอื่นๆ เช่น สัมปชัญญะ (หรือปัญญา) สมาธิ ที่เรียกว่า เจตสิก ซึ่งร่วมกับจิตแต่ละขณะๆยังมีอีก แต่ท่านไม่กล่าวถึง)


ปัญหาเกิดจากนักศึกษาติดแน่นกับตัวหนังสือจึงกลัวว่า ทำนอกจากนี้แล้วกลัวไม่เหมือนแบบกลัวไม่เกิดสติไม่เป็นสติ :b32: อันที่จริงในชีวิตประจำวัน เราทำอะไรๆ จิตอยู่กับงานที่ทำ สติสมาธิเกิดได้ทั้งนั้น ดูนะจะทำเทียบเคียงกับหลักให้ดุู

กินข้าวด้วยระลึกรู้ทุกขณะ เช่น ตัก,ยกขึ้น,ใส่ปาก,เคี้ยว,กลืน รู้ตัวทุกขณะ สติเกิดแล้ว กินข้าวสติ คิกๆๆ ทำอย่างอื่นๆนอกจากนี้ก็ทำนองเดียวกัน เช่น เปิดประตูสติ ปิดประตูสติ วิ่งสติ เดินสติ เตะฟุตบอลสติ อ่านหนังสื่อสติ เขียนหสังสือสติ สับหมูสติ อาบน้ำสติ ล้างถ้อยล้างจานสติ ซักผ้าสติ รีดผ้าสติ ตัดหญ้าสติ ตัดแต่งต้นไม้สติ ฯลฯ ชอบสติกันนักจัดให้ คิกๆๆ ปู้โธ่ :b9:

เก็บเล็กผสมน้อยไป

สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติ หมายถึงงานนันๆแหละเป็นที่ตั้งหรือที่พัฒนาสติ แค่นี้เอง

กัมมัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต คือให้จิตมันอยู่กับกับงานที่ทำ ณ ขณะนั้นๆ เป้าหมายแค่นี้เอง

เมื่อรู้หลักอย่างนี้แล้ว มองเห็นทะลุหมด วางหนังสือได้เลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2014, 10:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
คุยกันในประเด็นอานาปานสติแต่แลบเลยกันไปขยายถึงสติปัฏฐาน 4 และการเจริญวิปัสสนา ทำไมไม่คุยกันให้ลึกละอียดลงไปในเรื่องของอนาปานสติโดยเฉพาะล่ะครับ จะได้จบเป็นเรื่องๆ ตอนๆไป ไม่วุ่นวาย
s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2014, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเช่นนั้นเขียน


อ้างคำพูด:
การทำงานบ้าน โดยมีอานาปานสติเป็นเครื่องอยู่สุขสบาย ....ทำได้ครับ

ผมเข้าใจคำถามว่า "การกำหนดจิตให้นิ่ง ขณะที่ทำงานบ้าน" โดยให้จิตนิ่งอยู่กับลมหายใจเข้าออกอย่างนั้นหรือครับ... ถ้าผมเข้าใจถูกตามที่คุณ bbby เข้าใจ
ไม่เรียกว่าทำอานาปานสติครับ ... เป็นเพียงการทำจิตจดจ่ออยู่กับการงานครับ

การทำอานาปานสติ จึงไม่ใช่การให้จิตนิ่ง
การให้จิตนิ่งแล้วเกิดปัญญา จึงเป็นไปไม่ได้ครับ

:b8:

ใช่ค่ะในขณะที่เราทำงาน เราทำจิตให้นิ่งอยู่กับลมหายใจเข้าออก
ก็เลยทำให้เรารู้สึกอึดอัด บางครั้งมีความรูสึกเหมือนลมขึ้นไปอัดที่สมองน่ะ
ก็ต้องหายใจยาวๆทีหนึ่ง ใจก็คิดแล้วจะเกิดปัญญายังไงล่ะเนี่ยะ
ในเมื่อจิตนิ่งตลอด
ทำให้เรารู้ว่า นี่คือสิ่งที่อวดเก่งเกิน ไม่ต้องถามผู้รู้

เราทำนานแล้วค่ะ แต่ไปไม่ถึงไหนซะที แล้วเราก็ไม่รู้ว่า เค้าเรียกว่า การทำอาณาปาณสติ
พออ่านๆดู ฟังๆดู ก็เลยเอ๊ะ!นี่คือสิ่งที่เราต้องการจะทำนี่นา
ไม่งั้นแล้ว เราทำตลอดชีวิต ก็ทำไม่ได้แน่ๆเลย พอทำแล้วรู้สึกว่าดี ค่ะ :b1: :b41: :b55: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2014, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12:
คุยกันในประเด็นอานาปานสติแต่แลบเลยกันไปขยายถึงสติปัฏฐาน 4 และการเจริญวิปัสสนา ทำไมไม่คุยกันให้ลึกละอียดลงไปในเรื่องของอนาปานสติโดยเฉพาะล่ะครับ จะได้จบเป็นเรื่องๆ ตอนๆไป ไม่วุ่นวาย
s004


คุณเต้ดูนะครับ จะถกเถียงเรื่อง สติปัฏฐาน อานาปานสติ กัมมัฏฐาน กับอโศกให้ดู อย่ากระพริบตา คิกๆๆ :b1:

อโศก สติปัฏฐาน อานาปานสติ กัมมัฏฐาน เหมือนกันหรือต่างกัน :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2014, 22:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b12:
คุยกันในประเด็นอานาปานสติแต่แลบเลยกันไปขยายถึงสติปัฏฐาน 4 และการเจริญวิปัสสนา ทำไมไม่คุยกันให้ลึกละอียดลงไปในเรื่องของอนาปานสติโดยเฉพาะล่ะครับ จะได้จบเป็นเรื่องๆ ตอนๆไป ไม่วุ่นวาย
s004


คุณเต้ดูนะครับ จะถกเถียงเรื่อง สติปัฏฐาน อานาปานสติ กัมมัฏฐาน กับอโศกให้ดู อย่ากระพริบตา คิกๆๆ :b1:

อโศก สติปัฏฐาน อานาปานสติ กัมมัฏฐาน เหมือนกันหรือต่างกัน :b32:

:b16:
ไม่เหมือนกันแต่อาจส่งต่อถึงกันได้ เป็นเหตุปัจจัยเกื้อหนุนกันได้
ไปอ่านสติปัฏฐานสูตร กับอานาปานสติสูตรที่แปลไทยให้ดีๆหรือจะไปคัดลอกมาวิเคราะกันดูในกระทู้นี้ก็ยังได้
:b11:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2014, 04:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b12:
คุยกันในประเด็นอานาปานสติแต่แลบเลยกันไปขยายถึงสติปัฏฐาน 4 และการเจริญวิปัสสนา ทำไมไม่คุยกันให้ลึกละอียดลงไปในเรื่องของอนาปานสติโดยเฉพาะล่ะครับ จะได้จบเป็นเรื่องๆ ตอนๆไป ไม่วุ่นวาย
s004


คุณเต้ดูนะครับ จะถกเถียงเรื่อง สติปัฏฐาน อานาปานสติ กัมมัฏฐาน กับอโศกให้ดู อย่ากระพริบตา คิกๆๆ :b1:

อโศก สติปัฏฐาน อานาปานสติ กัมมัฏฐาน เหมือนกันหรือต่างกัน :b32:

:b16:
ไม่เหมือนกันแต่อาจส่งต่อถึงกันได้ เป็นเหตุปัจจัยเกื้อหนุนกันได้
ไปอ่านสติปัฏฐานสูตร กับอานาปานสติสูตรที่แปลไทยให้ดีๆหรือจะไปคัดลอกมาวิเคราะกันดูในกระทู้นี้ก็ยังได้



อ้างคำพูด:
ไม่เหมือนกันแต่อาจส่งต่อถึงกันได้ เป็นเหตุปัจจัยเกื้อหนุนกันได้


นักปฏิบัติใหญ่พูดยังงั้น ไม่ชัด ยังคลุมเครือ :b1:

เอาชัดๆขอรับ ไม่คัดไม่ลอกล่ะ เอากันเท่าที่มีนี่แหละ ในสามอย่างนี้ "สติปัฏฐาน" "อานาปานสติ" "กัมมัฏฐาน" ไม่เหมือนกันยังไง เป็นเหตุปัจจัยหนุนกันยังไง อโศกชำแหละแต่ละอย่างๆออกมาให้ผู้ปฏิบัติได้แลเห็นสิครับ เอ้าาา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2014, 09:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ :b8: :b46:

จิต เหมือน ลิงป่า เลย ซนมาก ไม่อยู่กับที่ วิ่งทั้งวัน

ลมหายใจ เหมือน ลูกมะพร้าวสีน้ำตาล

คนฝึก เหมือน ลุงสมพรฝึก

คนฝึก ฝึกจิตให้อยู่กับลมหายใจ เพื่อนำจิตที่ฝึกดีแล้วนำไปใช้งาน

ลุงสมพร ฝึก ลิง ให้อยู่กับลูกมะพร้าว เพื่อนำลิงที่ฝึกดีแล้วนำไปใช้งาน

ลุงบอกว่า ใช้ความรัก สอน ลิง ให้อยู่กับ ลูกมะพร้าว

คนฝึก ใช้กุศล สอน จิต ให้อยู่ กับ ลมหายใจ :b46:

เหมือน

จับนกตัวหนึ่ง

จับนกไม่แน่น นกก็บินหนี :b41:

จับนก แน่นไป นกก็อึดอัด

จับนก พอดี คลายความอึดอัดของนกทางกายได้ส่วนหนึ่ง และคลายความอึดอัดทางใจของนกได้ส่วนหนึ่ง

จับนก ด้วยอารมณ์ อกุศล นกก็กลัวเกิดความอึดอัดทางใจ

จับนก ด้วยอารมณ์ กุศล นกก็คลายความกลัว ความอึดอัดทางใจได้เพิ่มอีกส่วนหนึ่ง

อื่นๆ :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2014, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณกรัชกายเขียน

อ้างคำพูด:
คุณเต้ดูนะครับ จะถกเถียงเรื่อง สติปัฏฐาน อานาปานสติ กัมมัฏฐาน กับอโศกให้ดู อย่ากระพริบตา คิกๆๆ :b1:




คุณกรัชกายกำลังจะบอกว่า ในสติปัฏฐาน อานาปานสติ กัมมัฏฐาน3อย่าง
ต้องอาศัยกันและกันแบบนั้นใช่หรือปล่าวคะ :b8:



คุณRotalaเขียน


อ้างคำพูด:
อนุโมทนาครับ :b8: :b46:

จิต เหมือน ลิงป่า เลย ซนมาก ไม่อยู่กับที่ วิ่งทั้งวัน

ลมหายใจ เหมือน ลูกมะพร้าวสีน้ำตาล

คนฝึก เหมือน ลุงสมพรฝึก

คนฝึก ฝึกจิตให้อยู่กับลมหายใจ เพื่อนำจิตที่ฝึกดีแล้วนำไปใช้งาน

ลุงสมพร ฝึก ลิง ให้อยู่กับลูกมะพร้าว เพื่อนำลิงที่ฝึกดีแล้วนำไปใช้งาน

ลุงบอกว่า ใช้ความรัก สอน ลิง ให้อยู่กับ ลูกมะพร้าว

คนฝึก ใช้กุศล สอน จิต ให้อยู่ กับ ลมหายใจ :b46:



ใช่ค่ะ ตอนนี้มีความรู้สึกว่าเหมือนเป็นการไล่จับจิตให้นิ่งๆตรงๆ
ถ้าใครทำได้ เราคิดว่าดีมากๆเลยนะ คือจิตไม่เตลิด
ในมุมมองของเรานะคะ

เราคิดว่าการทำอานาปานสติ นี่จะช่วยตอนที่จิตจะละออกจากร่างนี้(ตาย)
ถ้าฝึกจนชินแล้ว จะช่วยให้จิตของคนเรากำหนดจิตได้ ว่าเราจะไปที่ไหน
เป็นอย่างนั้นหรือปล่าวค่ะ :b8: :b41: :b55: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2014, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:


เราคิดว่าการทำอานาปานสติ นี่จะช่วยตอนที่จิตจะละออกจากร่างนี้(ตาย)
ถ้าฝึกจนชินแล้ว จะช่วยให้จิตของคนเรากำหนดจิตได้ ว่าเราจะไปที่ไหน
เป็นอย่างนั้นหรือปล่าวค่ะ :b8: :b41: :b55: :b49:




เรื่องที่เกิดขึ้น ขณะใกล้ตาย สิ่งที่เกิดขึ้น ขณะนั้น เป็นเรื่องของ จิตใต้สำนึก

เช่น ความกลัวตาย ความไม่อยากตาย ความห่วงครอบครัว
การคุ่นคิดถึงสิ่งใดอยู่ จะด้วยเหตุอันใดก็ตามฯลฯ

เราไม่สามารถกำหนด ให้เกิดขึ้น เป็นไปตามใจเราได้
สิ่งเหล่านี้ อยู่เหนืออำนาจการบังคับบัญชา

การทำอานาปนสติ เป็นการฝึกให้มีสติ
หากฝึกอย่างต่อเนื่อง แม้เวลาใกล้ตาย ความอาลัยในธาตุขันธ์ก็ไม่มี
แม้กระทั่ง ความกลัวตาย ก็ไม่มี

อันนี้ก็คาดเดาไม่ได้อีกนะ ขึ้นอยู่กับว่า กำลังสติที่เกิดขึ้นขณะนั้น
จะมีกำลังมากกว่าจิตใต้สำนึก(กิเลส/มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม/สิ่งที่เคยกระทำไว้ และความกลัว)
ที่เกิดขึ้น ขณะนั้นหรือเปล่า

นี่ก็พูดจริงนะ คุณเต้ต้องเคยเจอความตายด้วยตัวเอง ถึงจะรู้ว่า เป็นยังไง
ต้องเจอของจริง ไม่ใช่เรื่องที่สมมุติขึ้นมา นั่นแหละถึงจะได้คำตอบที่แท้จริง

อย่าไปลองวิธีใดๆ ที่ทำให้ตัวเองต้องตาย
นั่นตายไปพร้อมกับความหลง

เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ทำความเพียรไปนี่แหละ
ถึงเวลา เหตุปัจจัยพร้อม เดี๋ยวรู้ด้วยตนเอง
พอรู้ด้วยตนเอง จะสิ้นสงสัย ในเรื่อง ที่สงสัยอยู่

ส่วนการคาดเดาต่างๆ
ล้วนเป็นการให้ค่า ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่


คำถามที่คุณเต้นำมาถาม
เป็นความปกติของความอยาก ที่เกิดขึ้น

ถ้าเพียงแค่รู้ว่ามีสิ่งใดเกิดขึ้น
อย่าไปเติมแต่ง คำเรียกลงไป จะพาสงสัยไปไม่รู้จบสิ้น


เพียงทำความเพียรต่อเนื่อง เกิดสภาวะใดขึ้น ก็แค่รู้
แค่รู้ว่า มีเกิดขึ้น รู้ว่า มีอยู่ เท่านั้นเอง

ที่สำคัญ ที่เคยบอกกับคุณเต้ไว้
เรื่องให้พยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว

ที่ไม่ค่อยคุยด้วย ไม่มีอะไรหรอก
เห็นคุณเต้ ขยันสร้างเหตุใหม่ ให้เกิดขึ้นกับตัวคุณเต้เอง

ถ้าอยากให้อธิบายให้ฟัง
อธิบายไปก็แค่นั้น เพราะ เหมือนจะฟัง แต่ก็ยังทำอีก
สภาวะการปฏิบัติ ถึงเป็นแบบนี้ไง

น้ำ จึงเลือกที่จะเงียบ มากกว่าสนทนาด้วย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2014, 13:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าวิตกกังวลตีตนไปก่อนไข้ก่อนตายเลย มันตายแหง๋ๆอยู่แล้ว ตายก็สวดก็เผาก็ฝังกันไปตามประเพณี

http://www.youtube.com/watch?v=MhOOfL8J_4U

:b13: ว่ากันว่าตอนเป็นๆที่ยังหายใจเข้าๆออกๆอยู่เนื่ยะนะ เราจะทำจะปฏิบัติยังไง ให้ทุกข์ลดลง ให้ชีวิตคือทั้งกาย และใจนี้อยู่ดีมีความสุข เออ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2014, 17:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b12:
คุยกันในประเด็นอานาปานสติแต่แลบเลยกันไปขยายถึงสติปัฏฐาน 4 และการเจริญวิปัสสนา ทำไมไม่คุยกันให้ลึกละอียดลงไปในเรื่องของอนาปานสติโดยเฉพาะล่ะครับ จะได้จบเป็นเรื่องๆ ตอนๆไป ไม่วุ่นวาย
s004


คุณเต้ดูนะครับ จะถกเถียงเรื่อง สติปัฏฐาน อานาปานสติ กัมมัฏฐาน กับอโศกให้ดู อย่ากระพริบตา คิกๆๆ :b1:

อโศก สติปัฏฐาน อานาปานสติ กัมมัฏฐาน เหมือนกันหรือต่างกัน :b32:

:b16:
ไม่เหมือนกันแต่อาจส่งต่อถึงกันได้ เป็นเหตุปัจจัยเกื้อหนุนกันได้
ไปอ่านสติปัฏฐานสูตร กับอานาปานสติสูตรที่แปลไทยให้ดีๆหรือจะไปคัดลอกมาวิเคราะกันดูในกระทู้นี้ก็ยังได้



อ้างคำพูด:
ไม่เหมือนกันแต่อาจส่งต่อถึงกันได้ เป็นเหตุปัจจัยเกื้อหนุนกันได้


นักปฏิบัติใหญ่พูดยังงั้น ไม่ชัด ยังคลุมเครือ :b1:

เอาชัดๆขอรับ ไม่คัดไม่ลอกล่ะ เอากันเท่าที่มีนี่แหละ ในสามอย่างนี้ "สติปัฏฐาน" "อานาปานสติ" "กัมมัฏฐาน" ไม่เหมือนกันยังไง เป็นเหตุปัจจัยหนุนกันยังไง อโศกชำแหละแต่ละอย่างๆออกมาให้ผู้ปฏิบัติได้แลเห็นสิครับ เอ้าาา

s004
กรัชกาย นี่ชอบถามและแตกประเด็นให้เป็นหลายเรื่องในเรื่องเดียวกัน ทำของสั้นให้เป็นของยาว ทำของน้อยให้เป็นของมาก ทำของง่ายให้เป็นของยาก จนติดนิสัย

ดังที่ท้วงติงไว้ กระทู้หัวข้ออานาปานสติ ก็จะบอกเรื่องอื่นไว้พอให้รู้จัก แต่จะพูดกันให้มากในเรื่องอานาปานสตินะครับ

สติปัฏฐาน....สติ+อุปัฏฐาน.......ฐาน ที่ตั้งที่เกิดแห่งสติ มีอยู่ 4 ฐาน คือ กาย เวทนา จิต ธรรม

กัมมัฏฐาน....กัมมะ + อุปัฏฐาน ฐาน ที่ตั้งที่เกิดแห่งการกระทำ มี 2 อย่างคือ

ก.สมถะกัมมัฏฐาน....ฐาน ที่ตั้งแห่งการเกิดสมาธิ ที่นิยมกันมาแต่โบราณมี 40 อย่าง
กรรมฐาน 40 แบ่งเป็น 7 หมวดคือ

1. กสิณกรรมฐาน 10 อย่าง

2. อสุภกรรมฐาน 10 อย่าง

3. อนุสสติกรรมฐาน 10 อย่าง

4. พรหมวิหารกรรมฐาน 4 อย่าง

5. อรูปกรรมฐาน 4 อย่าง

6. อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 อย่าง

7. จตุธาตุววัฏฐาน 1 อย่าง

รวมทั้ง 7 หมวดเป็น 40 อย่างพอดี

ข.วิปัสสนากัมมัฏฐาน วิ = วิเศษ.......ปัสสนา. ทัศนา = ดู เห็น รู้ กัมมัฏฐาน = ที่ตั้งที่เกิดแห่งการกระทำ
การสังเกต ดูให้เห็นให้รู้สิ่งวิเศษอันเป็นต้นเหตุให้เกิดกรรมหรือการกระทำ

สิ่งวิเศษอันเป็นต้นเหตุให้เกิดการกระทำ คือธรรมะทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นภายในกายในจิตมีปรมัตถธรรม 4 ธาตุ 4 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 กิเลส 1,500 ตัณหา 108 สามัญลักษณะ 3 เป็นต้น

รู้แล้ว ถอนเหตุแห่งการกระทำได้ ก็ไม่ทุกข์ ถึงสุขอันเป็นอมตะ คือนิพพาน

อานาปานสติภาวนา การเจริญสติอยู่กับลมหายใจเข้าออก

เป็นวิธีการภาวนาที่ทำให้เกิดทั้งสมาธิและปัญญา พาให้หลุดพ้นจากเหตุแห่งทุกข์ได้ ถ้าเข้าใจเทคนิคปฏิบัติ ตามแนวทาง 16 ขั้นตอนในอานาปานสติสูตร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอานาปานาสติอยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไรทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า
1.เธอย่อมมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
2.เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
3.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
4.สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
5.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดปีติ หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นกำหนดรู้ปีติ หายใจออก
6.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก
7.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก
8.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
9.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจ ว่าเราจักเป็นกำหนดรู้จิต หายใจออก
10.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
11.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
12.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้าว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก
13.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก
14.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจออก
15.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
16.สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้พิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร? ทำให้มากแล้วอย่างไร? จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจเข้าลมหายใจออกนี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจเข้า ลมหายใจออกเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า เราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า เราจักเปลื้องจิต หายใจออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวอานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชาฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2014, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณน้ำเขียน

อ้างคำพูด:
การทำอานาปนสติ เป็นการฝึกให้มีสติ
หากฝึกอย่างต่อเนื่อง แม้เวลาใกล้ตาย ความอาลัยในธาตุขันธ์ก็ไม่มี
แม้กระทั่ง ความกลัวตาย ก็ไม่มี

:b8:


ใช่ค่ะเราก็จะพูดอย่างนี้แหละค่ะ แต่พูดไม่ถูก :b1:
พอตอนนี้รู้หลักในการฝึกแล้ว เหมือนสติไม่ค่อยจะฟุ้ง คือรู้สึกได้เลยไม่เหมือนแต่ก่อน
มีความรู้สึกว่า เหมือนเราคุมสติ-คุมจิตของตัวเราเองได้ โดยไม่ต้องบังคับ

อ้างคำพูด:
ที่สำคัญ ที่เคยบอกกับคุณเต้ไว้
เรื่องให้พยายามหยุดสร้างเหตุนอกตัว



คุณน้ำใช่หมายถึง เราชอบไปมองการกระทำของคนอื่นใช่หรือปล่าวค่ะ
ถ้าใช่เหตุนี้ เหตุผลคือเรามักจะดูการกระทำของคนอื่น แล้วก็นำมาพิจารณาธรรมว่า
มนุษย์กับกิเลสเป็นของที่คู่กัน แล้วเราจะทำอย่างไง
ให้กิเลสนั้นเหลืออยูในตัวเองน้อยที่สุด
ซึ่งบางครั้ง เราก็นึกตำหนิตัวเราเองเหมือนกันว่า"เรานี่ใช้ไม่ได้" :b8:
:b41: :b55: :b49:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 82 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร