วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 23:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 03:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12:
เพราะคุณโฮฮับรู้และจำงานและหน้าที่ของสติมาได้เพียงอย่างเดียวคือ ระลึกได้ จึงดื้อดึงยึดมั่นในความเห็นนั้นใครเห็นต่างจากนี้ก็ไปถือว่าเขาเห็นผิด

งานและหน้าที่ของสติมีถึง 3 อย่างคือ
รู้ทัน
ระลึกได้
ไม่ลืม

ที่คุณเถียงหัวชนฝา ก็เพราะยังไม่เข้าใจเรื่องของอภิธรรม สภาวะที่เรียกว่า จิตและเจตสิก
เจตสิก จะต้องมีจิตสัมปยุตหรือมีจิตร่วมด้วยทุกตัวเจตสิก เหตุนี้จึงให้ความหมายของ
เจตสิกว่า เป็นอาการของจิต
สติเป็นอาการที่จิตระลึกได้ มีอย่างเดียวเรียกว่า.....สติ

"รู้ทัน" หมายถึง ........จิตผู้รู้ การรู้อารมณ์เขาเรียกว่าจิต

"ระลึกได้" หมายถึง......อาการของจิต ที่รู้ตัวว่าหลงเรียกว่า สติ

"ไม่ลืม" หมายถึง.....อาการที่จำได้หมายรู้ของจิต เรียกว่า สัญญา

สิ่งที่โสกะพูดมาทั้งหมด มันเป็นเรื่องของบุคคลที่ยังไม่เกิดปัญญา
เมื่อยังไม่เกิดปัญญา ย่อมมองไม่เห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริง
และมองไม่สิ่งที่มาบดบังการมองเห็นธรรมตามความเป็นจริงก็คือ....

สันตติและฆนะ นั้นคือ มองไม่เห็นการเกิดดับของจิตที่เกิดขึ้นทุกขณะ
เมื่อมองไม่เห็นการเกิดดับ จึงทำให้มองสภาวะของจิตเป็นกลุ่มเดียวกัน
ซึ่งในความเป็นจริง "รู้ทัน"...."ระลึกได้"..."ไม่ลืม" เป็นจิตที่เกิดและดับ
มันเป็นอาการของจิต ที่เกิดกับจิตคนล่ะดวงกัน


asoka เขียน:
:b12:

ลองพิจารณาให้ดีตามธรรม ตัวอย่างเช่น เสียงกระทบหู...จิต(โสตวิญญาณธาตุ)รู้เสียง...สติรู้ทันเสียง....ระลึกได้ว่าเป็นเสียงนก เพราะจำเสียงนกได้ ไม่ลืม

สติทำงานครบ 3 หน้าที่

อีกตัวอย่างหนึ่งลองพิจารณา

นายโฮเดินบนคันนา...งูเห่าเลื้อยผ่านหน้า นายโฮมองเห็น..สติรู้ทัน...ระลึกได้ว่าเป็นงู จำได้ไม่ลืมว่าเป็นงูเห่าฉกตาย....จึงกระโดดข้ามและวิ่งหนีไปจนพ้นงูตัวนั้น


ก็นั้นน่ะซิ แล้วโสกะมาพูดได้ไงว่า..."ทุกสิ่ง ที่เกิดขึ้นแล้วดับไปให้เห็นต่อหน้าต่อตานั้น
ไม่มีทางจะหวนคืนกลับมาเป็นดังเดิมอีก เหมือนสายน้ำที่ไม่ไหลกลับคืน "


มาตอนนี้บอกว่า......"จำได้ไม่ลืม" :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 09:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
ไปไหนมา วาสี่ศอกแล้วคุณโฮฮับ
อดีตอารมณ์มันถูกเก็บไว้ในสัญญา
ถ้าสติดี จะจำอารมณ์นั้นได้ ไม่ลืม เมื่อไม่ลืมจึงค้นคืนมาใช้ได้เสมอ อันเป็น หน้าที่ของสตินั่นเอง

ความรู้เสียงเป็นวิญญาณ ความรู้ทันว่าหูรู้เสียงแล้ว เป็นสตินทรีย์เจตสิก เมื่อรู้ทันแล้ว ความไม่ลืมแลระลึกได้อันเป็นหน้าที่ต่อเนื่องของสติจึงเกิดตามมา

ถามคุณโฮฮับเสียบ้างว่า
1.ความรู้ทันเป็นอะไร มีกิริยาอาการหรือสภาวะอย่างไร.....?

2.ปัจจุบันอารมณ์ เป็นอย่างไร มีกิริยาอาการหรือสภาวอย่างไร....?

อธิบายกิริยาหรือสภาวะที่เรียกว่า "ทัน" ยกอุปมาหรือตัวอย่างในชีวิตจริงมาให้ดูด้วยยิ่งดีครับ
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12:
ไปไหนมา วาสี่ศอกแล้วคุณโฮฮับ
อดีตอารมณ์มันถูกเก็บไว้ในสัญญา
ถ้าสติดี จะจำอารมณ์นั้นได้ ไม่ลืม เมื่อไม่ลืมจึงค้นคืนมาใช้ได้เสมอ อันเป็น หน้าที่ของสตินั่นเอง

ความรู้เสียงเป็นวิญญาณ ความรู้ทันว่าหูรู้เสียงแล้ว เป็นสตินทรีย์เจตสิก เมื่อรู้ทันแล้ว ความไม่ลืมแลระลึกได้อันเป็นหน้าที่ต่อเนื่องของสติจึงเกิดตามมา

ถามคุณโฮฮับเสียบ้างว่า
1.ความรู้ทันเป็นอะไร มีกิริยาอาการหรือสภาวะอย่างไร.....?

2.ปัจจุบันอารมณ์ เป็นอย่างไร มีกิริยาอาการหรือสภาวอย่างไร....?

อธิบายกิริยาหรือสภาวะที่เรียกว่า "ทัน" ยกอุปมาหรือตัวอย่างในชีวิตจริงมาให้ดูด้วยยิ่งดีครับ
:b13:


ผมขี้เกียจคุยเรื่องนี้กับโสกะแล้ว แต่อยากแนะนำให้ไปเรียน พวกคำศัพท์หรือบัญญัติกับ
อิตากรัชกายก่อน ขานั้นชอบทื่จะคุยเรื่องคำศัพท์

ไอ้อาการที่โสกะบอก"ไปไหนมาสามวาสองศอก" เป็นเพราะแม้แต่คำศัพท์ง่ายๆ
โสกะยังสับสน แล้วที่ผมคุยให้ฟังมันเป็นสภาวะธรรมล้วนๆ แล้วจะรู้เรื่องหรือ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 10:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: กลัวตอบผิดเลยเลี่ยงบาลีหนีไปเลยเหรอครับ
ไม่ใช่ผมไม่เข้าใจสภาวะแต่คงจะเป็นคุณโฮฮับเข้าใจลำดับของสภาวธรรมผิดมากกว่า
ที่ถามปัญหาง่ายๆแค่ข้อสองข้อนี้ก็เพื่อจะได้ประกอบการวนิจฉัยระดับความรู้ความเห็นของคุณโฮให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
s004
คุณโฮเลี่ยงผม 2 เรื่องแล้วนะครับ เรื่องปัญญา กับเรื่องนี้
wink


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
:b12:
ไปไหนมา วาสี่ศอกแล้วคุณโฮฮับ
อดีตอารมณ์มันถูกเก็บไว้ในสัญญา
ถ้าสติดี จะจำอารมณ์นั้นได้ ไม่ลืม เมื่อไม่ลืมจึงค้นคืนมาใช้ได้เสมอ อันเป็น หน้าที่ของสตินั่นเอง

ความรู้เสียงเป็นวิญญาณ ความรู้ทันว่าหูรู้เสียงแล้ว เป็นสตินทรีย์เจตสิก เมื่อรู้ทันแล้ว ความไม่ลืมแลระลึกได้อันเป็นหน้าที่ต่อเนื่องของสติจึงเกิดตามมา

ถามคุณโฮฮับเสียบ้างว่า
1.ความรู้ทันเป็นอะไร มีกิริยาอาการหรือสภาวะอย่างไร.....?

2.ปัจจุบันอารมณ์ เป็นอย่างไร มีกิริยาอาการหรือสภาวอย่างไร....?

อธิบายกิริยาหรือสภาวะที่เรียกว่า "ทัน" ยกอุปมาหรือตัวอย่างในชีวิตจริงมาให้ดูด้วยยิ่งดีครับ
:b13:


ผมขี้เกียจคุยเรื่องนี้กับโสกะแล้ว แต่อยากแนะนำให้ไปเรียน พวกคำศัพท์หรือบัญญัติกับ
อิตากรัชกายก่อน ขานั้นชอบทื่จะคุยเรื่องคำศัพท์

ไอ้อาการที่โสกะบอก"ไปไหนมาสามวาสองศอก" เป็นเพราะแม้แต่คำศัพท์ง่ายๆ
โสกะยังสับสน แล้วที่ผมคุยให้ฟังมันเป็นสภาวะธรรมล้วนๆ แล้วจะรู้เรื่องหรือ




อ้างคำพูด:
ที่ผมคุยให้ฟังมันเป็นสภาวะธรรมล้วนๆ



เห็นโฮฮับอ้างแล้ว นึกถึง....บางคน ทำผิดกฎหมาย ถูกเจ้าหน้าที่จัีบได้ ก็อ้างชื่อพ่อ ... คุณรู้ไหมว่าพ่อผมเป็นใคร ....เดี๋ยๆ สั่งย้ายไปอยู่ อ. แม่อายเลยเอ้า :b9:

ถามพี่โฮว่า สภาวธรรมๆ อะไรสภาวธรรม หมายถึงอะไร เพื่อให้เห็นภาพ ยกตัวอย่า่งด้วยขอรับ :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 11:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
:b12:
ไปไหนมา วาสี่ศอกแล้วคุณโฮฮับ
อดีตอารมณ์มันถูกเก็บไว้ในสัญญา
ถ้าสติดี จะจำอารมณ์นั้นได้ ไม่ลืม เมื่อไม่ลืมจึงค้นคืนมาใช้ได้เสมอ อันเป็น หน้าที่ของสตินั่นเอง

ความรู้เสียงเป็นวิญญาณ ความรู้ทันว่าหูรู้เสียงแล้ว เป็นสตินทรีย์เจตสิก เมื่อรู้ทันแล้ว ความไม่ลืมแลระลึกได้อันเป็นหน้าที่ต่อเนื่องของสติจึงเกิดตามมา

ถามคุณโฮฮับเสียบ้างว่า
1.ความรู้ทันเป็นอะไร มีกิริยาอาการหรือสภาวะอย่างไร.....?

2.ปัจจุบันอารมณ์ เป็นอย่างไร มีกิริยาอาการหรือสภาวอย่างไร....?

อธิบายกิริยาหรือสภาวะที่เรียกว่า "ทัน" ยกอุปมาหรือตัวอย่างในชีวิตจริงมาให้ดูด้วยยิ่งดีครับ
:b13:


ผมขี้เกียจคุยเรื่องนี้กับโสกะแล้ว แต่อยากแนะนำให้ไปเรียน พวกคำศัพท์หรือบัญญัติกับ
อิตากรัชกายก่อน ขานั้นชอบทื่จะคุยเรื่องคำศัพท์

ไอ้อาการที่โสกะบอก"ไปไหนมาสามวาสองศอก" เป็นเพราะแม้แต่คำศัพท์ง่ายๆ
โสกะยังสับสน แล้วที่ผมคุยให้ฟังมันเป็นสภาวะธรรมล้วนๆ แล้วจะรู้เรื่องหรือ




อ้างคำพูด:
ที่ผมคุยให้ฟังมันเป็นสภาวะธรรมล้วนๆ



เห็นโฮฮับอ้างแล้ว นึกถึง....บางคน ทำผิดกฎหมาย ถูกเจ้าหน้าที่จัีบได้ ก็อ้างชื่อพ่อ ... คุณรู้ไหมว่าพ่อผมเป็นใคร ....เดี๋ยๆ สั่งย้ายไปอยู่ อ. แม่อายเลยเอ้า :b9:

ถามพี่โฮว่า สภาวธรรมๆ อะไรสภาวธรรม หมายถึงอะไร เพื่อให้เห็นภาพ ยกตัวอย่า่งด้วยขอรับ :b13:

ไปเล่นทายคำศัพท์ ๒๐คำถามกับโสกะก่อนไป
พี่โฮไม่ว่างเล่นด้วย ว่างเมื่อไรค่อยว่ากัน :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
:b12:
ไปไหนมา วาสี่ศอกแล้วคุณโฮฮับ
อดีตอารมณ์มันถูกเก็บไว้ในสัญญา
ถ้าสติดี จะจำอารมณ์นั้นได้ ไม่ลืม เมื่อไม่ลืมจึงค้นคืนมาใช้ได้เสมอ อันเป็น หน้าที่ของสตินั่นเอง

ความรู้เสียงเป็นวิญญาณ ความรู้ทันว่าหูรู้เสียงแล้ว เป็นสตินทรีย์เจตสิก เมื่อรู้ทันแล้ว ความไม่ลืมแลระลึกได้อันเป็นหน้าที่ต่อเนื่องของสติจึงเกิดตามมา

ถามคุณโฮฮับเสียบ้างว่า
1.ความรู้ทันเป็นอะไร มีกิริยาอาการหรือสภาวะอย่างไร.....?

2.ปัจจุบันอารมณ์ เป็นอย่างไร มีกิริยาอาการหรือสภาวอย่างไร....?

อธิบายกิริยาหรือสภาวะที่เรียกว่า "ทัน" ยกอุปมาหรือตัวอย่างในชีวิตจริงมาให้ดูด้วยยิ่งดีครับ
:b13:


ผมขี้เกียจคุยเรื่องนี้กับโสกะแล้ว แต่อยากแนะนำให้ไปเรียน พวกคำศัพท์หรือบัญญัติกับ
อิตากรัชกายก่อน ขานั้นชอบทื่จะคุยเรื่องคำศัพท์

ไอ้อาการที่โสกะบอก"ไปไหนมาสามวาสองศอก" เป็นเพราะแม้แต่คำศัพท์ง่ายๆ
โสกะยังสับสน แล้วที่ผมคุยให้ฟังมันเป็นสภาวะธรรมล้วนๆ แล้วจะรู้เรื่องหรือ




อ้างคำพูด:
ที่ผมคุยให้ฟังมันเป็นสภาวะธรรมล้วนๆ



เห็นโฮฮับอ้างแล้ว นึกถึง....บางคน ทำผิดกฎหมาย ถูกเจ้าหน้าที่จัีบได้ ก็อ้างชื่อพ่อ ... คุณรู้ไหมว่าพ่อผมเป็นใคร ....เดี๋ยๆ สั่งย้ายไปอยู่ อ. แม่อายเลยเอ้า :b9:

ถามพี่โฮว่า สภาวธรรมๆ อะไรสภาวธรรม หมายถึงอะไร เพื่อให้เห็นภาพ ยกตัวอย่า่งด้วยขอรับ :b13:

ไปเล่นทายคำศัพท์ ๒๐คำถามกับโสกะก่อนไป
พี่โฮไม่ว่างเล่นด้วย ว่างเมื่อไรค่อยว่ากัน :b32:



พี่โฮขอรับ ถ้าไม่รู้ความหมายของเขา อย่านำมาพูดเลยขอรับ อายเขา :b15:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลงระบบของธรรมให้คิดเป็นอาหารสมองกัน :b1:


ธรรม คือ ความจริง, ความถูกต้อง, ความดีงาม

แต่ในที่นี้ (ความหมายแรก) หมายถึงความจริงตามสภาวะของธรรมชาติ ถ้าเรียกชื่อเต็ม ก็คือสภาวธรรม (เรียกหลวมๆแบบไทยเราว่า สัจธรรม)

วินัย เป็นเรื่องที่คนบัญญัติจัดตั้งวางขึ้น เมื่อวางเป็นหลักเป็นแบบแผนแล้ว ก็เรียกได้ว่าเป็นธรรมอย่างหนึ่ง (ดังเช่นกฎหมายก็เรียกว่า “ธรรม” เช่น ในคำว่า ธรรมศาสตร์ คือวิชากฎหมาย) ดังนั้น วินัยเมื่อจัดเข้าในชุดของธรรม (เป็นเรื่องสืบเนื่องจากธรรมนั่นแหละ) ก็เรียกว่า เป็นบัญญัติธรรม

มีธรรม 2 อย่างแล้วนะ คือ สภาวธรรม ในข้างธรรมชาติ และบัญญัติธรรม ในข้างคนหรือสังคมมนุษย์
อย่างหลัง คือ บัญญัติธรรม ตั้งอยู่บนฐานของอย่างแรก คือ สภาวธรรม....แล้วในระหว่างธรรมจะมาตั้งวินัยขึ้นนั้น มีตัวเชื่อมโยง ซึ่งสำคัญมากเหมือนกัน ตัวเชื่อมโยงนั่นแหละ คือ ธรรมอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า จริยธรรม


คราวนี้มาครบชุดตลอดทั้งระบบเป็น 3 อย่าง เรียกตามลำดับเป็น
-สภาวธรรม
-จริยธรรม
-บัญญัติธรรม

สภาวธรรม (หลักหรือแบบแผนที่เป็นอยู่เป็นไปในชาติตามธรรมดาของมัน)
จริยธรรม (ข้อที่เสมือนเป็นเงื่อนไขที่ธรรมชาติเรียกร้องต่อมนุษย์ว่า ถ้ามนุษย์ต้องการผลดี จะต้องปฏิบัติอย่างไร)
บัญญัติธรรม (หลักหรือแบบแผนที่มนุษย์บัญญัติขึ้นเพื่อสนองตามเงื่อนไขของธรรมชาติ)

ถ้าเรียกให้สั้น ก็คือ สภาวะ จริยะ และ บัญญัติ (ใช้คำว่า ธรรม ต่อท้าย เพื่อให้รู้ว่าอยู่ในระบบแห่งธรรม หรือเป็นส่วนของระบบแห่งธรรมนั้น)

(คำว่า จริยธรรม ในที่นี้ มีความทางศาสนาซึ่งเป็นเจ้าของศัพท์มาแต่เดิม มิใช่ความหมายทั่วไปในบัดนี้)


เท่านี้ก่อน พรุ่งนี้ค่อยลงตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเป็นเชิงเทียบเคียงเพื่อให้เข้าใจง่ายต่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2013, 21:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


deecup เขียน:
มีใครทำได้บ้าง ทั้ง เดิน ยืน นั่ง แม้แต่การนอน ตลอด 24 ชม.


จิตประภัสสร...ยังเคลื่อนไปเป็น...สัตตานัง...ได้

:b1: :b1: :b1:

มันไม่ใช่เรื่องง่าย...กับการที่จะ "ตระหนักรู้" ใน "วิชา" ตลอดเวลา

ดังนั้น...การมีสติตลอดเวลา
เอกอนจึงยังทำไม่ได้ :b1: :b1: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 05:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ลงระบบของธรรมให้คิดเป็นอาหารสมองกัน :b1:


ธรรม คือ ความจริง, ความถูกต้อง, ความดีงาม

แต่ในที่นี้ (ความหมายแรก) หมายถึงความจริงตามสภาวะของธรรมชาติ ถ้าเรียกชื่อเต็ม ก็คือสภาวธรรม (เรียกหลวมๆแบบไทยเราว่า สัจธรรม)

วินัย เป็นเรื่องที่คนบัญญัติจัดตั้งวางขึ้น เมื่อวางเป็นหลักเป็นแบบแผนแล้ว ก็เรียกได้ว่าเป็นธรรมอย่างหนึ่ง (ดังเช่นกฎหมายก็เรียกว่า “ธรรม” เช่น ในคำว่า ธรรมศาสตร์ คือวิชากฎหมาย) ดังนั้น วินัยเมื่อจัดเข้าในชุดของธรรม (เป็นเรื่องสืบเนื่องจากธรรมนั่นแหละ) ก็เรียกว่า เป็นบัญญัติธรรม

มีธรรม 2 อย่างแล้วนะ คือ สภาวธรรม ในข้างธรรมชาติ และบัญญัติธรรม ในข้างคนหรือสังคมมนุษย์
อย่างหลัง คือ บัญญัติธรรม ตั้งอยู่บนฐานของอย่างแรก คือ สภาวธรรม....แล้วในระหว่างธรรมจะมาตั้งวินัยขึ้นนั้น มีตัวเชื่อมโยง ซึ่งสำคัญมากเหมือนกัน ตัวเชื่อมโยงนั่นแหละ คือ ธรรมอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า จริยธรรม


คราวนี้มาครบชุดตลอดทั้งระบบเป็น 3 อย่าง เรียกตามลำดับเป็น
-สภาวธรรม
-จริยธรรม
-บัญญัติธรรม

สภาวธรรม (หลักหรือแบบแผนที่เป็นอยู่เป็นไปในชาติตามธรรมดาของมัน)
จริยธรรม (ข้อที่เสมือนเป็นเงื่อนไขที่ธรรมชาติเรียกร้องต่อมนุษย์ว่า ถ้ามนุษย์ต้องการผลดี จะต้องปฏิบัติอย่างไร)
บัญญัติธรรม (หลักหรือแบบแผนที่มนุษย์บัญญัติขึ้นเพื่อสนองตามเงื่อนไขของธรรมชาติ)

ถ้าเรียกให้สั้น ก็คือ สภาวะ จริยะ และ บัญญัติ (ใช้คำว่า ธรรม ต่อท้าย เพื่อให้รู้ว่าอยู่ในระบบแห่งธรรม หรือเป็นส่วนของระบบแห่งธรรมนั้น)

(คำว่า จริยธรรม ในที่นี้ มีความทางศาสนาซึ่งเป็นเจ้าของศัพท์มาแต่เดิม มิใช่ความหมายทั่วไปในบัดนี้)


เท่านี้ก่อน พรุ่งนี้ค่อยลงตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเป็นเชิงเทียบเคียงเพื่อให้เข้าใจง่ายต่อ

เขาปฏิบัติธรรมเพื่อวางอุเบกขา เพื่อลดความฟุ้งซ่านปรุงแต่ง
นี่มันอะไรดันมาขยายความพระธรรม

จะบอกให้การอธิบายธรรม มันต้องอธิบายในลักษณะทำบัญญัติให้เป็นสภาวะ
ไม่ใช่ทำสภาวะให้เป็นการปรุงแต่งบัญญัติ แบบนี้เอาบัญญัติมาเป็นล้านๆคำ มันก็ไม่จบสิ้น

ปฏิบัติธรรมปะสาอะไร เอาบัญญัติที่เป็นวิชชาไปปรุงแต่งเป็นอวิชา
เหนื่อยกับกรัชกายจริงๆ
:b7:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 05:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ลงระบบของธรรมให้คิดเป็นอาหารสมองกัน :b1:


ธรรม คือ ความจริง, ความถูกต้อง, ความดีงาม

แต่ในที่นี้ (ความหมายแรก) หมายถึงความจริงตามสภาวะของธรรมชาติ ถ้าเรียกชื่อเต็ม ก็คือสภาวธรรม (เรียกหลวมๆแบบไทยเราว่า สัจธรรม)

วินัย เป็นเรื่องที่คนบัญญัติจัดตั้งวางขึ้น เมื่อวางเป็นหลักเป็นแบบแผนแล้ว ก็เรียกได้ว่าเป็นธรรมอย่างหนึ่ง (ดังเช่นกฎหมายก็เรียกว่า “ธรรม” เช่น ในคำว่า ธรรมศาสตร์ คือวิชากฎหมาย) ดังนั้น วินัยเมื่อจัดเข้าในชุดของธรรม (เป็นเรื่องสืบเนื่องจากธรรมนั่นแหละ) ก็เรียกว่า เป็นบัญญัติธรรม

มีธรรม 2 อย่างแล้วนะ คือ สภาวธรรม ในข้างธรรมชาติ และบัญญัติธรรม ในข้างคนหรือสังคมมนุษย์
อย่างหลัง คือ บัญญัติธรรม ตั้งอยู่บนฐานของอย่างแรก คือ สภาวธรรม....แล้วในระหว่างธรรมจะมาตั้งวินัยขึ้นนั้น มีตัวเชื่อมโยง ซึ่งสำคัญมากเหมือนกัน ตัวเชื่อมโยงนั่นแหละ คือ ธรรมอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า จริยธรรม


คราวนี้มาครบชุดตลอดทั้งระบบเป็น 3 อย่าง เรียกตามลำดับเป็น
-สภาวธรรม
-จริยธรรม
-บัญญัติธรรม

สภาวธรรม (หลักหรือแบบแผนที่เป็นอยู่เป็นไปในชาติตามธรรมดาของมัน)
จริยธรรม (ข้อที่เสมือนเป็นเงื่อนไขที่ธรรมชาติเรียกร้องต่อมนุษย์ว่า ถ้ามนุษย์ต้องการผลดี จะต้องปฏิบัติอย่างไร)
บัญญัติธรรม (หลักหรือแบบแผนที่มนุษย์บัญญัติขึ้นเพื่อสนองตามเงื่อนไขของธรรมชาติ)

ถ้าเรียกให้สั้น ก็คือ สภาวะ จริยะ และ บัญญัติ (ใช้คำว่า ธรรม ต่อท้าย เพื่อให้รู้ว่าอยู่ในระบบแห่งธรรม หรือเป็นส่วนของระบบแห่งธรรมนั้น)

(คำว่า จริยธรรม ในที่นี้ มีความทางศาสนาซึ่งเป็นเจ้าของศัพท์มาแต่เดิม มิใช่ความหมายทั่วไปในบัดนี้)


เท่านี้ก่อน พรุ่งนี้ค่อยลงตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเป็นเชิงเทียบเคียงเพื่อให้เข้าใจง่ายต่อ

เขาปฏิบัติธรรมเพื่อวางอุเบกขา เพื่อลดความฟุ้งซ่านปรุงแต่ง
นี่มันอะไรดันมาขยายความพระธรรม

จะบอกให้การอธิบายธรรม มันต้องอธิบายในลักษณะทำบัญญัติให้เป็นสภาวะ
ไม่ใช่ทำสภาวะให้เป็นการปรุงแต่งบัญญัติ แบบนี้เอาบัญญัติมาเป็นล้านๆคำ มันก็ไม่จบสิ้น

ปฏิบัติธรรมปะสาอะไร เอาบัญญัติที่เป็นวิชชาไปปรุงแต่งเป็นอวิชา
เหนื่อยกับกรัชกายจริงๆ
:b7:



อ้างคำพูด:
เขาปฏิบัติธรรมเพื่อวางอุเบกขา เพื่อลดความฟุ้งซ่านปรุงแต่ง


งั้นตามใจหน่อย ปฏิบัติยังไง :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลงให้ครบ แต่เพื่อให้เห็นง่ายนำมาเรียงต่อกัน (หยิบมาส่วนหนึ่ง จากหนังสือ "ผู้พิพากษา ตั้งตุลาให้สังคมสมในดุล หน้า 32 " โดยพระพรหมคุณาภรณ์)


ธรรม คือ ความจริง, ความถูกต้อง, ความดีงาม
แต่ในที่นี้ (ความหมายแรก) หมายถึงความจริงตามสภาวะของธรรมชาติ ถ้าเรียกชื่อเต็ม ก็คือสภาวธรรม (เรียกหลวมๆแบบไทยเราว่า สัจธรรม)

วินัย เป็นเรื่องที่คนบัญญัติจัดตั้งวางขึ้น เมื่อวางเป็นหลักเป็นแบบแผนแล้ว ก็เรียกได้ว่าเป็นธรรมอย่างหนึ่ง (ดังเช่นกฎหมายก็เรียกว่า “ธรรม” เช่น ในคำว่า ธรรมศาสตร์ คือวิชากฎหมาย) ดังนั้น วินัยเมื่อจัดเข้าในชุดของธรรม (เป็นเรื่องสืบเนื่องจากธรรมนั่นแหละ) ก็เรียกว่า เป็นบัญญัติธรรม

มีธรรม 2 อย่างแล้วนะ คือ สภาวธรรม ในข้างธรรมชาติ และบัญญัติธรรม ในข้างคนหรือสังคมมนุษย์
อย่างหลัง คือ บัญญัติธรรม ตั้งอยู่บนฐานของอย่างแรก คือ สภาวธรรม แล้วในระหว่างธรรมจะมาตั้งวินัยขึ้นนั้น มีตัวเชื่อมโยง ซึ่งสำคัญมากเหมือนกัน ตัวเชื่อมโยงนั่นแหละ คือ ธรรมอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า จริยธรรม


คราวนี้มาครบชุดตลอดทั้งระบบเป็น 3 อย่าง เรียกตามลำดับเป็น
-สภาวธรรม
-จริยธรรม
-บัญญัติธรรม

สภาวธรรม (หลักหรือแบบแผนที่เป็นอยู่เป็นไปในชาติตามธรรมดาของมัน)

จริยธรรม (ข้อที่เสมือนเป็นเงื่อนไขที่ธรรมชาติเรียกร้องต่อมนุษย์ว่า ถ้ามนุษย์ต้องการผลดี จะต้องปฏิบัติอย่างไร)

บัญญัติธรรม (หลักหรือแบบแผนที่มนุษย์บัญญัติขึ้นเพื่อสนองตามเงื่อนไขของธรรมชาติ)
ถ้าเรียกให้สั้น ก็คือ สภาวะ จริยะ และ บัญญัติ (ใช้คำว่า ธรรม ต่อท้าย เพื่อให้รู้ว่าอยู่ในระบบธรรมแห่งธรรม หรือเป็นส่วนของระบบแห่งธรรมนั้น)


(คำว่า จริยธรรม ในที่นี้ เป็นความหมายทางศาสนาซึ่งเป็นเจ้าของศัพท์มาแต่เดิม มิใช่ความหมายทั่วไปในบัดนี้)

ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเป็นเชิงเทียบเคียง เพื่อให้เข้าใจง่าย

สภาวะ (ความจริงตามธรรมชาติ) ไฟเป็นของร้อน มีอำนาจเผาไหม้ ทำให้เกิดแสงสว่างและความเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากน้อย ตามระดับของอุณหภูมิ (มองในแง่ของมนุษย์ มีทั้งเป็นคุณ และเป็นโทษแก่ตน)

จริยะ (เงื่อนไขหรือข้อพึงประพฤติที่มนุษย์ต้องปฏิบัติเมื่อต้องการผลดีแก่ตน) พึงเข้าไปเกี่ยวข้องและปฏิบัติต่อไฟด้วยความระมัดระวัง สอดส่องป้องกันมิให้เกิดอุบัติภัย ไม่เอาไฟไปใช้ทำร้ายใครหรือทำลายสิ่งใด รู้จักใช้ทำประโยชน์ต่างๆ นำมาใช้ประโยชน์ภายใต้การควบคุม ฯลฯ

บัญญัติ (จัดตั้งวางระเบียบกฎกติกา และมาตรการที่ให้มั่นใจว่าจะเกิดผลดีตามจริยะ) วางกฎมิให้ปล่อยเด็กเล็กอายุเท่านั้นๆ ไว้ในที่ใกล้ระยะเท่านั้นๆ จากวัตถุก่อไฟ วางข้อห้ามมิให้ผู้ใดนำไฟหรือวัตถุสื่อไฟเข้าไปในเขตรัศมีเท่านั้นๆ จากโรงเก็บวัตถุระเบิด ตั้งข้อกำหนดมิให้กอกองไฟเผาหญ้าหรือผิงไฟเป็นต้น ใกล้สิ่งก่อสร้างในระยะเท่านั้นๆ วางระเบียบในการก่อสร้างครัวและโรงครัวว่าจะต้องใช้วัสดุอะไรสำหรับส่วนประกอบใด ต้องจัดวางส่วนประกอบภายในที่ตรงไหน อย่างไรได้ อย่างไม่ได้ ฯลฯ


ตัวอย่างทางนามธรรม ก็เช่น

สภาวะ ความโลภ คือสภาพจิตที่อยากได้อยากเอามาเพื่อตน อาจเป็นเหตุให้ทำการเสวงหาต่างๆ อาจถึงกับทำให้ไปเอาทรัพย์สินของคนอื่น ทำการลักขโมย เป็นต้น โทสะ คือภาวะจิตที่เคืองแค้นมุ่งร้าย ทำให้ใจเร่าร้อน หัวใจเต้นเร็ว ใจเครียด กล้ามเนื้อเขม็งเกร็ง เลือดลมติดขัด กระบวนการเผาผลาญในร่างกายทำงานหนัก ทรุดโทรมแก่เร็วขึ้น ง่ายที่จะก่อความขัดแย้งกับผู้อื่น รุนเร้าขัดดันให้ไปรังควาญคนที่ตนเกลียดชัง อาจถึงกับทำให้ไปทำร้ายทุบตีหรือฆ่าคนอื่น เมตตา คือสภาพจิตที่รักปรารถนาดีอยากให้คนอื่นเป็นสุข ทำให้จิตใจสงบเย็น ทำให้ระบบของร่างกายผ่อนคลาย หายใจสบาย เลือดลมเดินดี เผาผลาญน้อย ทรุดโทรมแก่ช้า ทำให้มีความเป็นมิตร และอยากช่วยเหลือผู้อื่น ไปบำเพ็ญประโยชน์ เกื้อกูลสังคม ฯลฯ

จริยะ ควรควบคุมความโลภ ไม่ให้ทำการแสวงหาเกินขอบเขตที่ถึงกับไปเอาของของคนอื่น ถึงกับเบียดเบียน หรือก่อความเดือดร้อนแก่สังคม ควรจัดการให้โลภะระบายออกไนระบบการแสวงหาลาภด้วยการทำงาน ควรดับโทสะ เพื่อสุขภาพกายใจของตน ระงับยังยั้งโทสะไม่ให้ทำการประทุษร้าย ผู้อื่น มิให้แสดงออกมาในการก่อความเดือดร้อนเบียดเบียนสังคม ควรเจริญเมตตาให้เอื้อต่อสุขภาพกายใจ ควรพัฒนาตนในทางมีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูล ควรหาทางแสดงน้ำใจไมตรี ไปร่วมมือกัน ไปบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ ฯลฯ

บัญญัติ ตรากฎหมายห้ามลักขโมย ตรากฎหมายวางบทบัญญัติเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกาย ทำลายทรัพย์สิน การฆ่าการสังหาร การก่อการร้าย วางระเบียบการจัดอบรมผู้ต้องขัง อบรมเด็กมีปัญหา จัดตั้งค่ายคุณธรรมเพื่อพัฒนาเมตตาธรรม ให้ซื่อสัตย์ ให้กตัญญู จัดตั้งชมรมสุขภาพกายสุขภาพจิตใจ ฯลฯ


ตามตัวอย่างเหล่านี้ จะเห็นได้ไม่ยากว่า สภาวะ เป็นความจริงของธรรมชาติ และจริยะ ก็เป็นความจริงเกี่ยวกับความต้องการของชีวิตของคน ไม่ว่าที่ไหน เมื่อใด ทุกกาลเทศะ ก็เป็นอย่างนั้น
ดังนั้น สภาวธรรม และจริยธรรม ซึงสืบเนื่องต่อกันมา จึงอยู่ในระดับที่เป็นสัจธรรมด้วยกัน

ส่วนบัญญัตินั้น กำหนดหรือจัดตั้งวางขึ้น เพื่อให้จริยะมีผลเป็นจริง หรือให้ได้ผลตามจริยะ เห็นได้ชัดว่าเป็นสมมติ หรือสมมติธรรม คือ ไม่มีอยู่จริง แต่เป็นเรื่องของการตกลง หรือยอมรับร่วมกันของมนุษย์
ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2013, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อผู้ศึกษาพิจารณาระบบธรรม คือ สภาวธรรม จริยธรรม และบัญญัติธรรม เข้าใจแล้ว จะเห็นธรรมะทะลุทะลวง ไม่ติดไม่ตันอยู่ตรงจุดใดจุดหนึ่ง :b1: เข้าใจธรรมและสังคมมนุย์ (เข้าใจโลกและชีวิต) ตามสมควรแก่สติปัญญาของตนๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร