วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 06:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2013, 16:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7520

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes
asoka เขียน:
"รู้มาก ยากนาน รู้น้อย พลอยรำคาญ รู้พอดีๆ คือรู้ที่แก่นสาร พระนิพพานไม่ไกล ใช้เวลาไม่นาน ขอเชิญทุกท่าน ชวนกันพิจารณา"
:b8:
เข้าพรรษาปีนี้มีโอกาสได้ปลีกภาวนา ประเมินผลการปฏิบัติธรรมของตนเอง ทำให้ได้ข้อสังเกตว่า
:b14:

"รู้มาก นี่ทำให้ยากนาน" จริงๆ
:b16: :b2:

การศึกษาปริยัติในพระพุทธศาสนา ต้องถือว่าเป็น กรรม อย่างหนึ่งที่มีผลเป็น วิบากให้ต้องเสวย....วิบากของปริยัติมากก็คือ ความฟุ้งซ่านในธรรม.....เวลาเข้านั่งภาวนา สติ ปัญญา จะไปวุ่นอยู่กับการ วิตก วิจารณ์ธรรม ไปตามปริยัติที่ได้ศึกษา จนทำให้เนิ่นช้ากว่าที่จิตจะสงบ วางอุทธัจจะนิวรณ์...คือความฟุ้งในธรรมนี้ลงได้ กลายเป็นต้องเจริญธรรมานุปัสสนาภาวนาโดยใช้เวลาค่อนข้างจะยาวนาน....จึงทำให้เกิดความคิดความเห็นขึ้นมาว่า ปริยัตินี่ถ้าเราเอามากเกินพอดี มีผลให้สงบช้า ทำสัมมาสมาธิได้ช้า
:b11: :b41:
คิดถึงผู้ใหม่ทั้งหลาย....ที่กำลังเดินอยู่บนเส้นทางแห่งมรรคมีองค์ 8 ไปด้วยกันว่าจะมีปัญหาเช่นนี้ด้วยหรือไม่ อย่างไร และได้ปรับปรุงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้นอย่างไร ซึ่งน่าจะได้นำมาแลกเปลี่ยนสนทนากัน ให้เป็นข้อคิดสะกิดใจ ให้ได้พบอุบายการปฏิบัติที่เหมาะสมเฉพาะตัวของใครของมันที่ดียิ่งๆขึ้นไปอันอาจทำให้งานชำระจิตใจให้ขาวรอบ หมดขยะ เป็นงานที่ง่ายและไม่เนิ่นช้าจนชวดเชยเวลาชีวิตของชาตินี้ที่ได้โอกาสมาเกิดเป็นคน
:b38:

:b12:

...รู้มากแล้วมาดูหมิ่นว่าผู้อื่นรู้น้อยกว่า...คือความรู้ที่ทำให้ยากนาน...แน่นอน...ฟันธง!!!
...รู้มากเพราะรู้แต่ความจำได้หมายรู้...แต่ไม่รู้ความจริงก็จำเป็นต้องยากไปอีกนาน...
...รู้มากแต่ก็ไม่เท่าปฏิบัติมาก...เพราะรู้มากแต่ไม่ทำ...เรียกว่าพูดดีแต่พูดมากไป...
...รู้มากคือต้องรู้ปฏิเวธ...รู้ผลการปฏิบัติแล้ว...เรียกว่ามีปัญญามากก็พูดได้มาก...
:b16: :b13:
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2013, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้มากจะยากนาน รู้น้อย พลอยรำคาญ

อันนี้ เป็นสำบัดสำนวนทางโลกๆ
มีเหตุปัจจัยจาก การนำตัวตน(ตัวกู ของกู) เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะ/สิ่งที่เกิดขึ้น

เมื่อมีการเปรียบเทียบ เขา-เราอยู่ จึงเป็นที่มาของคำว่า รู้มากจะยากนาน รู้น้อย พลอยรำคาญ


ส่วนจะรู้มาก หรือ รู้น้อย ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะ ทุกสรรสิ่งที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีอยู่(เก่า)และที่กำลังสร้าง ให้เกิดขึ้นใหม่

เรื่องการบรรลุธรรมก็เช่นเดียวกัน ไม่เกี่ยวกับเรื่อง รู้มากหรือรู้น้อย แต่เกิดจาก เหตุปัจจัยของบุคคลนั้น

เฉกเช่นเดียวกับเรื่องของ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และท่านอื่นๆ ที่สำเร็จมรรคผล แตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัย

พระโพธิละ รอบรู้ในพระไตรปิฏก สอนคนสำเร็จอรหันต์ได้มากมาย

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเห็นเช่นนั้น จึงกล่าวเตือนพระโพธิละ โดยการเรียก พระโพธิละว่า พระใบลานเปล่า

หมายถึง สอนคนอื่นสำเร็จอรหันต์ได้ แต่ตัวเอง ทำไม่ได้

เมื่อถูกกระตุ้นเตือนแบบนั้น พระโพธิละ จึงหันกลับมาปฏิบัติด้วยตนเอง



การที่นำมากล่าวว่า รู้มากจะยากนาน รู้น้อย พลอยรำคาญ ล้วนเป็นการกล่าวโทษนอกตัว ทำไม่ได้ ก็โยนไปทางอื่น แทนที่จะตั้งใจทำความเพียร แก้ต้องแก้ให้ถูกจุด

ไม่ว่าจะรู้มาก หรือรู้น้อย ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ไม่ว่าจะรู้แบบไหนก็ตาม รู้แล้ว รู้นั้นๆ ขณะที่ผัสสะเกิด ยังไม่สามารถช่วยให้ หยุดสร้างเหตุนอกตัวได้

รู้แบบนี้ มีแต่เหตุของการเกิด เรียกว่า รู้นอกตัว มากกว่า รู้ในตัว

ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยอีกน่ะแหละ


ส่วนสำนวนโวหารทางโลกๆ ปล่อยให้เกิดขึ้น ไปตามเหตุปัจจัย เดี๋ยวก็ดับหายไปเอง ตามเหตุปัจจัย


สิ่งที่สำคัญ คือ การทำความเพียรต่อเนื่อง
และการหยุดสร้างเหตุนอกตัว โดยมี ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย แล้วทำให้เกิด ความรู้สึกนึกคิดต่างๆนานา แต่ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ขณะนั้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2013, 20:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
asoka เขียน:
1.การบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ของท่านพระสารีบุตร ที่เนิ่นช้ากว่าพระโมคคัลลานะไปถึง 7 วัน ก็เพราะพระสารีบุตรท่านเป็นผู้ยิ่งในปัญญา มีความจำแนกแจกธรรม วิตกวิจารณ์ธรรมมากกว่า จึงใช้เวลามาก ส่วนพระโมมคคัลลานะเจ้า ท่านเป็นผู้ยิ่งด้วยสมถะและสมาธิ พูดง่ายๆว่าไม่คิดมาก ไม่วิตกวิจารณ์มาก อยู่กับปัจจุบันธรรมสภาวธรรมที่พ้นบัญญัติปรุงแต่งล้วนๆจึงถึงธรรม ถึงอรหัตผลเร็วกว่า




พระสารีบุตร สำเร็จ ขณะฟังธรรมอันว่าด้วยเรื่อง เวทนา
ส่วน
พระโมคคัลลา สำเร็จ ขณะปฏิบัติธรรมอันว่าด้วยการ พิจารณา ธาตุ

:b1:

ท่านคิดว่า กรณีไหนกันแน่ ที่อาศัยปัญญายิ่งกว่า ...

:b12: :b12: :b12:

:b8:
:b27:
ธาตุ....น่าจะหมายถึงธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็น รูปธรรมเป็นของหยาบกว่านามธรรม เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ง่ายและเร็วกว่า ไม่ต้องใช้สติปัญญามาก

เวทนา เป็นนามธรรม.....ต้องมีสติ ปัญญา คมกล้าจริงๆ จึงจะเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้...

นี่คือความต่างของระดับการใช้ปัญญา


onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2013, 21:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:
:b27:
ธาตุ....น่าจะ หมายถึงธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็น รูปธรรมเป็นของหยาบกว่านามธรรม เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ง่ายและเร็วกว่า ไม่ต้องใช้สติปัญญามาก

เวทนา เป็นนามธรรม.....ต้องมีสติ ปัญญา คมกล้าจริงๆ จึงจะเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้...

นี่คือความต่างของระดับการใช้ปัญญา


onion


:b27:

:b12: :b1: :b12:

เวทนา ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฎโดย ลำพัง

ถ้าไม่เนื่องด้วย ธาตุ และ อายตนะ... :b12:

นามธรรม ละเอียดถึงไหน
การพิจารณาธาตุ และ อายตนะ ก็ละเอียดได้ถึงนั่น
เอกอนเข้าใจเช่นนั้น...

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2013, 22:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


บางครั้ง
เมื่อ เวทนา ไม่ใช่ เวทนา

เมื่อ อุณหภูมิในร่างกายสูง
เรารู้สึกถึงความร้อนในร่างกาย
บางคนไปมอง ร้อน เป็น ทุกข์ ไม่พอใจ
แต่บางคนพิจารณา ไฟ ที่ปรากฎให้ได้รู้
และเมื่อ ร่างกายเย็นลง
บางคนก็ไปมอง เย็น เป็น สุข พอใจ
ทุกข์/ไม่พอใจ ปรากฎเกิดดับ สุข/พอใจปรากฎเกิดดับ

แต่บางคนพิจารณาเห็น น้ำ ที่ปรากฎให้ได้รับรู้
ไฟ ปรากฎและไม่ปรากฎ.... น้ำ ปรากฎและไม่ปรากฎ

มันก็พิจารณาไปถึง ธาตุที่เข้าไปรู้ ธาตุที่ถูกรู้...ได้
และ ธาตุที่เป็นกลาง ๆ ธาตุนั้น ไม่ใช่ดิน ไม่ใช่น้ำ ไม่ใช่ลม ไม่ใช่ไฟ
แต่รับรู้ได้ เป็นได้ทุกธาตุ :b1:

ธรรมอันเป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ต่างกัน

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2013, 03:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ความว่า"รู้มาก ยากนาน" นี้ มีทั้งตัวอย่างในพระสูตรและตัวอย่างในชีวิตจริงทุกยุคทุกสมัย

รู้มาก ที่ทำให้ยากนาน คือ ไปศึกษาหาความรู้ รับฟังมาหลายแบบหลายประการ จนทำให้เกิดความสงสัยลังเลใจว่า วิธีนั้นก็ดี วิธีนี้ก็ใช่...แล้วฉันจะเอาวิธีใดดี...เลยทดลองมันไปเสียทุกวิธี..ทดลองไป ๆ พอไปเจอกับอุปสรรค และทุกขเวทนา สู้ไม่ได้ ถอย..แล้วก็ยังไปเห็นว่า เอ วิธีนี้ไม่ถูกจริตฉัน วิธีนี้ยังไม่ใช่ ต้องไปลองวิธีโน้นดูมั่งดีกว่า แล้วก็เลยละความเพียรที่จะพิสูจน์ธรรม พิสูจน์วิธีการปฏิบัติไปจนถึงที่สุด

ไม่ทราบว่าโสกะ เข้าใจอกุศลจิตอันเกิดจากทิฐิมานะหรือเปล่า
การแสดงออกมันก็เป็นแบบที่โสกะเป็นอยู่นี้แหล่ะ
ทั้งหมดทั้งมวลก็คือ.....ไม่ยอมรับว่าตัวเองยังขาดปัญญาที่จะเอามา
พิจารณาธรรมเพื่อให้เกิดความรู้

โสกะไม่ยอมรับรู้ว่าปัญญาของตนมีในระดับไหน เอาความคิดอันประกอบด้วยอกุศล
มาตีความหมายของธรรมผิดๆ เอาสุภาษิตมาใช้ผิดหลักการ

โสกะรู้มั้ยว่า "รู้มาก อยากนาน"ที่โสกะเอามาพุด
โสกะกำลังเข้าใจผิดในความหมายของคำ
"รู้มาก ยากนาน" รู้มากในที่นี้ไม่ใช่รู้ในสิ่งที่เป็น..วิชชา

"รู้มาก ยากนาน" หมายถึงรู้แบบผิดๆ จำได้แต่ในสิ่งที่ไม่มีเหตุผล
พูดได้เรื่อยๆ แต่ไม่สามารถหาเหตุปัจจัยมาแสดงในสิ่งที่ตัวพูด


ตัวอย่างก็คือ
โสกะพูดว่า การปฏิบัติแบบโสกะสุดท้ายทำให้ไม่มีลมหายใจ แบบนี้เรียกว่า....."พูดมาก ยากนาน"


ดังนั้นความหมายของ....."รู้มาก ยากนาน" ก็คือ
ความรู้ที่ไม่ได้ประกอบด้วยปัญญา ความรู้ที่ว่า ...ไม่ใช่วิชชา
เป็นเพียงสิ่งที่สมองไปจำสิ่งที่ผ่านมาหรือเป็นการจินตนาการขึ้้นเองของสมอง
การรู้แบบนี้จึงเรียก รู้มากยากนาน

การรู้ปริยัติ ไม่ใช่การ..รู้มากยากนาน
เพราะการรู้ปริยัติจะต้องอาศัยปัญญา จึงจะเรียกว่า วิชชาความรู้
รู้แบบนี้ก็เพื่อความเป็นไปแห่งการพิจารณาธรรมหรือเรียกอีกอย่างว่า....
ธัมมวิจยะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2013, 04:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ตัวอย่างจากพระสูตรก็ดังเช่น
1.การบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ของท่านพระสารีบุตร ที่เนิ่นช้ากว่าพระโมคคัลลานะไปถึง 7 วัน ก็เพราะพระสารีบุตรท่านเป็นผู้ยิ่งในปัญญา มีความจำแนกแจกธรรม วิตกวิจารณ์ธรรมมากกว่า จึงใช้เวลามาก ส่วนพระโมมคคัลลานะเจ้า ท่านเป็นผู้ยิ่งด้วยสมถะและสมาธิ พูดง่ายๆว่าไม่คิดมาก ไม่วิตกวิจารณ์มาก อยู่กับปัจจุบันธรรมสภาวธรรมที่พ้นบัญญัติปรุงแต่งล้วนๆจึงถึงธรรม ถึงอรหัตผลเร็วกว่า

คนล่ะเรื่อง ที่ท่านสารีบุตร ได้เป็นเอทัคคะทางปัญญาเพราะท่านมีปัญญามาก
ปัญญากับความจำมันเป็นคนล่ะอย่างกัน

ปัญญาคือ ความสามารถพิจารณาธรรมต่างๆแบบเป็นเหตุเป็นผลได้ แม้ธรรมนั้นไม่เคยผ่านตามาก่อน
ส่วนความจำก็คือ การรู้แต่บัญญัติต่างๆ แต่ยังไม่มีปัญญาไปพิจารณาธรรมหรือทำบัญญัติให้แจ้ง

แค่โสกะยกตัวอย่างก็มั่วแล้ว เรื่องเนิ่นช้าหรือเรื่องวิตก วิจารณ์
มันเป็นเรื่องของพระอานนท์ ไม่ใช่พระสารีบุตรหรือแม้แต่พระโมคคัลลานะ

พระอานนท์สามารถจำคำสอนของพระพุทธเจ้าได้หมด แต่ที่ท่านบรรลุอรหันต์ช้า
เป็นเพราะท่านยังขาดปัญญาไคร่ครวญหรือพิจารณาธรรมที่ท่านจำ

ความต่างของพระสารีบุตรกับพระอานนท์ ก็อยู่ตรงปัญญาและความจำ
พระสารีบุตรไม่ต้องอาศัยความจำ เพียงแค่เห็นธรรมก็สามารถ พิจารณาธรรมและอธิบายธรรม
นั้นได้


ตัวอย่างการไม่เข้าใจธรรมหรือขาดปัญญาทางธรรมก็คือ การโพสพระไตรปิฎกแต่อย่างเดียว
แต่ไม่สามารถอธิบายเหตุและผลของพระไตรปิฎกนั้นได้ แบบนี้คือตัวอย่างที่เรียกว่า...
จำได้แต่ไม่มีปัญญา


แล้วเรื่องที่บอกว่า พระสารีบุตรบรรลุอรหันต์ช้ากว่าพระโมคคัลลานะ มันก็ไม่เกี่ยวกับปัญญา
นี่มันเป็นเรื่อง..ทิฐิในตัวบุคคล ท่านโมคัลลามีทิฐิในสัญญา
ส่วนท่านสารีบุตรมีทิฐิในเวทนา เวลาบรรลุจึงแตกต่างกัน
เพราะความลึกซึ่งของเวทนาและสัญญามันต่างกัน

ซึ่งแนวทางปฏิบัติของท่านสารีบุตร ทำให้ท่านสามารถเข้า นิโรธสมาบัติได้ ซึ่งเป็นการดับเวทนาและสัญญาได้ในคราวเดียวกัน เรียกว่า...เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

ความต่างของพระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะมันอยู่ตรงนี้
ไม่ใช่เพราะมีปัญญามากจึงบรรลุช้าแบบที่โสกะเข้า


โสกะพูดแบบไร้ปัญญาทำให้เสียถึงพระสารีบุตร โสกะใช้ไม่ได้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2013, 05:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

2.ท่านโพธิละเถระ กับพระอรหันต์อายุ 7 ขวบ

ท่านโพธิละเถระเป็นผู้รอบรู้ในพระไตรปิฏก จนพระบรมศาสดาต้องมาสะกิดเตือนว่า "ภิกษุคัมภีร์เปล่า"จึงเกิดธรรมสังเวช หลีกเร้นไปทำความเพียร

ตรงกันข้ามกับสามเณรน้อยอรหันต์....ธรรมะของท่านสั้นและเรียบง่าย...ธรรมะอุปมาของท่านกล่าวถึงเรื่องจอมปลวกมีรูเข้า 5 รู มีรูเข้าออก 1 รู ให้ไปอุดรูเข้า 5 รู แล้วไปคอยเฝ้าที่ รู เข้า-ออก รูเดียวนั้น คอยจับเอาตัวเหี้ยที่วิ่งเข้าวิ่งออกมาฆ่าเสียให้ได้.......ฆ่าตัวเหี้ยนั้นได้ ก็จักถึงอมตะสุข..ดังนี้

ยังมีเรื่องเล่าต่ออีกครับ


โสกะยังขาดความเข้าใจสิ่งที่เรียก ปริยัติ

รู้แล้วนำสิ่งที่รู้ไปปฏิบัติ จึงจะเรียกสิ่งที่รู้นั้นว่า...ปริยัติ

ตรงข้ามถ้ารู้ในสิ่งที่นำไปปฏิบัติไม่ได้ก็ไม่เรียกปริยัติ
แบบนี้เรียกรู้ผิด ตัวอย่างการรู้ผิด ก็ดูได้จากการกระทำของโสกะที่ไปหยิบเรื่อง
โยงเรื่องที่มันไม่ได้เกี่ยวกัน จินตนาการเอาเองว่าเป็นอย่างโน้นอย่างนี้
อย่างเช่นเรื่อง พระโปฐิละเช่นกัน

พระโปฐิละก่อนที่จะบรรลุอรหันต์ หรือยังไม่ปฏิบัติ สิ่งที่ท่านรู้ไม่เรียกปริยัติ
มันเป็นเพียงความจำในส่วนของท่าน
มีหลายท่านนำเอาสิ่งที่ท่านโปฐิละกล่าว เอาไปปฏิบัติจนบรรลุอรหันต์
ธรรมของท่านโปฐิละจึงเป็นปริยัติ แต่เป็นปริยัติในส่วนของผู้อื่นที่นำไปปฏิบัติ

เช่นเดียวกัน พระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าเพียงแค่รู้ แล้วไม่นำไปปฏิบัติ
ความรู้นั้นก็ไม่เรียก ปริยัติมันเป็นเพียงความจำได้ เป็นใบลานเปล่าตามพุทธพจน์


และที่โสกะยกเอาเรื่องตะกรวดมุดรู นี้ก็แสดงให้เห็นถึงการ"พูดมาก ยากนาน"
เอาเรื่องอะไรต่อมิอะไรมาพูด ทั้งๆที่มันไม่ได้เกี่ยวกันเลย

จำไว้คนที่เขาสามารถอธิบายธรรมด้วยเหตุผล
นั้นเป็นเพราะเขาผ่าน ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ จนเกิดปัญญามาแล้ว
การอธิบายธรรมของเขาไม่เรียก รู้มาก ยากนาน
แต่เรียกว่า......รู้ด้วยปัญญา เข้าใจมั้ย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2013, 19:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8:
อนุโมทนา สาธุกับความเห็น ข้อคิด ข้อสังเกต พิจารณาของกัลยาณมิตรทุกท่าน ตั้งแต่น้องพลอย คุณ Student +Eragon + Rosarin + Walaiporn+โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณโฮฮับ ที่ดูจะเหน็ดเหนื่อยและเมื่อยมือ (แต่มันส์ในอารมณ์) กว่าเพื่อนๆ
:b12: :b12: :b12: :b12:

กระทู้ดี ก็ขยี้ใจ ชวนให้อยากคุยอยากสนทนา และพาให้ได้เห็นกระแสความรู้ ความคิด ความเห็นของแต่ละท่านแต่ละคน แตกต่างกันออกไปหลายแง่หลายมุมซึ่งพอจะแบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้คร่าวๆในตอนนี้คือ

1.กลุ่มที่เห็นเป็นบวกและชื่นชม
2.กลุมที่เห็นเป็นลบและโต้แย้งทัดทาน
3.กลุ่มที่เห็นเป็นกลาง
4.กลุ่มที่เห็นต่างและมีแง่มุมที่แปลกแยกออกไป

จะอย่างไร ทั้งหมดก็คือความเห็น....และทัศนะของแต่ละคนแต่ละกลุ่ม

ในการสนทนาธรรมเราคงไม่มาคอยตัดสินว่าใครผิดใครถูก คนนั้นจะต้องทำอย่างนี้ คนนี้จะต้องทำอย่างนั้น
มันขึ้นอยู่กับ สติ ปัญญา มโนธรรม การวินิจฉัย ตัดสินใจของแต่ละท่านแต่ละคนที่เข้ามาอ่านกระทู้และแสดงความคิดเห็น

ขอให้มันเป็นกลางๆ ราบรื่น สนทนากันไปด้วยถ้อยทีถ้อยอาศัย น้ำใจไมตรีอันดีต่อกันไปเรื่อยๆนะครับ

:b27:
กระทู้นี้ความจริง แยกย่อยออกเป็น 3 หัวข้อ ลองดูให้ดีนะครับ คือ

1."รู้มาก ยากนาน"

2."รู้น้อย พลอยรำคาญ"

3."รู้พอดีๆคือรู้ที่แก่นสาร พระนิพพานไม่ไกล ใช้เวลาไม่นาน"

ตั้งแต่ต้นจนมาถึงวันนี้ เรายังคง วิตกวิจารณ์กันอยู่ที่ "รู้มาก ยากนาน" ซึ่งคิดว่ายังจะมีความคิดเห็นและตัวอย่างที่หลากหลายออกไปอีกนะครับ

ต้องขอบคุณคุณโฮฮับที่ทำให้ผมนึกได้อีก 1 ตัวอย่าง คือการบรรลุอรหันต์ของพระอานนท์เถระเจ้า นี่ก็เป็นตัวอย่างสำคัญที่ใกล้เราจริงๆ น่าคิด พิจารณาว่า เพราะเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ท่านเนิ่นช้า

อีกประเด็นหนึ่งที่สังเกตเห็น คือหลายท่านกล่าวว่า "รู้มาก ยากนาน" นี่เป็นภาษิตโลก ไม่น่าจะเกี่ยวกับธรรม เพราะไปนึกเทียบเอาแต่ภาษิตที่มีในคัมภีร์ ....จริงๆแล้ว ภาษิตนี้เป็นข้อสังเกตและคำคมที่เกี่ียวกับธรรมชาติของมนุษย์ หรือเกี่ยวกับธรรมนั่นแหละ แต่เป็นธรรมประยุกต์นอกตำราที่เราคุ้นเคย

ใครว่า "รู้มาก ยากนาน" ไม่ใช่ธรรม....ต้องมาคิดพิจารณากันดูใหม่ให้ดีๆเสียแล้วนะครับ

มันเป็นสัจจธรรมเสียด้วยซ้ำไป......เหตุและผลมันมีให้รู้ได้ง่ายๆว่า

"สร้างเหตุไว้มาก ผล มันก็จะเยอะ"...ปริยัติในสัญญาหรือสมองของเรานี้ ถ้าใส่เอาไว้เยอะโดยไม่มีสติปัญญา เลือกเฟ้น จัดระบบหมวดหมู่ให้ดี เวลาที่จะค้นเอากลับขึ้นมาใช้ประโยชน์ก็ย่อมจะต้องใช้เวลานานและค่อนข้างจะยุ่งยากสับสน จนเกิดเป็นวิจิกิจฉา ลังเลใจได้ง่าย ทำให้งานเสร็จช้า

"ถ้ามีประสิทธิภาพสูงในการเลือกเฟ้นและจัดเก็บข้อมูลเข้าใส่ในสัญญาหรือสมองของเรา เราจะไม่ต้องเสียเวลาไปกับข้อมูลขยะ".......เวลาจะค้นกลับมาใช้ก็ง่ายและรวดเร็ว

ตรงลงมาที่การปฏิบัติจริง......ถ้าทฤษฎีในสมองไม่มาก ที่มีอยู่ก็ถูกต้องและตรงทาง ความที่จะเกิดสมาธิ ฌาณ และญาณ นั้นจะเกิดเร็วมากกว่า คนที่ต้องรบกับอุทธัจจะนิวรณ์หรือ ความฟุ้งซ่านในความรู้ความคิด เป็นต้น

จะเห็นว่าอีกตัวอย่างที่สำคัญและรับรู้กันไปทั่วเช่น

มีพระป่าสายพระอาจารย์มั่น ซึ่ง มีผู้รู้ปริยัติมากระดับท่านมหาปาเรียญ นับจำนวนรูปได้ เทียบกับ พระมหาเปรียญ 1-9 ประโยค พระนักธรรมตรี โท เอก มากมายหลายหมื่น หรือนับแสนรูป พระสองกลุ่มนี้

ท่านที่เสวยสมาธิสุข...เสวยผลสมบัติ ....เสวยวิมุติสุข.......กลุ่มไหนจะมีจำนวนมากกว่ากัน......


หรือจะให้ใกล้ตัวมากที่สุดตอนนี้ก็คือ

ในบรรดาท่านผู้รู้ทั้งหลายที่มาสนทนาธรรมแสดงธรรม แสดงความเห็นในกระทู้ในลานธรรมจักรแห่งนี้ จะมีใครสักกี่ท่านที่เสวยสมาธิสุข...เสวยผลสมบัติ ....เสวยวิมุติสุข.ได้อยู่เป็ปกติธรรมดาในชีวิตจริงขณะนี้บ้าง กี่ท่าน...น่าจะมีวิธีสำรวจและทำสถิติกันดูนะครับ


นี่ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ "รู้มาก ยากนาน" ด้วยเช่นกันนะครับ
:b12: :b12: :b12:
:b16: :b16: :b16:
:b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2013, 23:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
onion
โฮฮับ เขียน:
กรุณาทำความเข้าใจและควรเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสียใหม่นะครับ

cool

ที่อ้างอิงนี้มาให้คุณโฮฮับพิจารณานะครับ........ที่คุณบ่นมาทั้งหมดนั้นไม่ใช่ธรรมทั้งสิ้น แถมยังเต็มไปด้วย ปิสุณาวาจา ไม่น่าฟัง
grin



เวลาคนอื่นพูด บอกว่า ไม่ใช่ธรรม


asoka เขียน:
อีกประเด็นหนึ่งที่สังเกตเห็น คือหลายท่านกล่าวว่า "รู้มาก ยากนาน" นี่เป็นภาษิตโลก ไม่น่าจะเกี่ยวกับธรรม เพราะไปนึกเทียบเอาแต่ภาษิตที่มีในคัมภีร์ ....จริงๆแล้ว ภาษิตนี้เป็นข้อสังเกตและคำคมที่เกี่ียวกับธรรมชาติของมนุษย์ หรือเกี่ยวกับธรรมนั่นแหละ แต่เป็นธรรมประยุกต์นอกตำราที่เราคุ้นเคย


เวลาตัวเองพูด กลับบอกว่า เป็นธรรมประยุกต์นอกตำรา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2013, 00:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:
เชิญตามสบายนะครับคุณ Walaiporn

ธรรมที่หลั่งจากอกุศลจิต ไม่น่าจะเป็นธรรมกับผู้แสดงธรรมด้วยกุศลจิต
:b4: :b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2013, 02:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กระทู้นี้ความจริง แยกย่อยออกเป็น 3 หัวข้อ ลองดูให้ดีนะครับ คือ
1."รู้มาก ยากนาน"
2."รู้น้อย พลอยรำคาญ"
3."รู้พอดีๆคือรู้ที่แก่นสาร พระนิพพานไม่ไกล ใช้เวลาไม่นาน"
ตั้งแต่ต้นจนมาถึงวันนี้ เรายังคง วิตกวิจารณ์กันอยู่ที่ "รู้มาก ยากนาน" ซึ่งคิดว่ายังจะมีความคิดเห็นและตัวอย่างที่หลากหลายออกไปอีกนะครับ

ต้องขอบคุณคุณโฮฮับที่ทำให้ผมนึกได้อีก 1 ตัวอย่าง คือการบรรลุอรหันต์ของพระอานนท์เถระเจ้า
นี่ก็เป็นตัวอย่างสำคัญที่ใกล้เราจริงๆ น่าคิด พิจารณาว่า เพราะเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ท่านเนิ่นช้า

โสกะเอาอกุศลจิตเพ่งโทษพระอานนท์อีกแล้ว แบบนี้แหล่ะที่เขาเรียก มองมุมลบ
มันเป็นวิบากกรรมของคุณจริงๆ โสกะเอ๋ย

ความรู้หรือสิ่งที่พระอานนท์จำมา มันไม่ได้เกี่ยวหรือไม่ได้ทำให้พระอานนท์เนิ่นช้าแม้แต่น้อย
ก่อนหน้าที่พระพุทธองค์ยังไม่ปรินิพพาน พระอานนท์ยังมีภาระอันมีต่อพระพุทธองค์
จึงยังไม่เอาความรู้ที่มีไปทำให้เป็นปริยัติ หมายความว่า ยังไม่ได้ปฏิบัติ

ต่อเมื่อพระพุทธองค์ทรงปรินิพพานแล้ว สาวกจะทำการสังคายนาพระไตรปิฎก
พระอานนท์ได้เข้าร่วมด้วย แต่เนื่องจากพระอานนท์ยังไม่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
ทำให้วิตก วิจารณ์ในส่วนนี้ ทำให้เร่งปฏิบัติ แต่ก็ไม่เกิดผล
จวบจนเหน็ดเหนื่อยจะล้มตัวลงนอนจึงทำให้บรรลุเป็นพระอรหันต์

ทั้งหมดนี้ความเนิ่นช้าของพระอานนท์ ไม่ได้เกี่ยวกับสิ่งที่พระอานนท์รู้
มันเป็นเรื่องของการปฏิบัติล้วนๆ ทำมากไป น้อยไป ติดทิฐิ มันก็ไม่เกิดปฏิเวธ

และสิ่งที่ทำให้พระอานนท์ไม่ประสบผลก็คือ.......
ความวิตกกังวลว่า จะตกร่วมทำสังคายนากับพระอรหันต์ ไม่ใช่เพราะพระอานนท์รู้มากแม้แต่น้อย


asoka เขียน:
อีกประเด็นหนึ่งที่สังเกตเห็น คือหลายท่านกล่าวว่า "รู้มาก ยากนาน" นี่เป็นภาษิตโลก ไม่น่าจะเกี่ยวกับธรรม เพราะไปนึกเทียบเอาแต่ภาษิตที่มีในคัมภีร์ ....จริงๆแล้ว ภาษิตนี้เป็นข้อสังเกตและคำคมที่เกี่ียวกับธรรมชาติของมนุษย์ หรือเกี่ยวกับธรรมนั่นแหละ แต่เป็นธรรมประยุกต์นอกตำราที่เราคุ้นเคย
ใครว่า "รู้มาก ยากนาน" ไม่ใช่ธรรม....ต้องมาคิดพิจารณากันดูใหม่ให้ดีๆเสียแล้วนะครับ
มันเป็นสัจจธรรมเสียด้วยซ้ำไป......เหตุและผลมันมีให้รู้ได้ง่ายๆว่า

โสกะอย่าว่าแต่ความรู้ทางธรรมเลย แม้แต่ความรู้ทางโลกโสกะก็ไม่มีแม้แต่น้อย

คำสุภาษิตคำพังเพยที่โสกะไปมั่วเอามาตั้งเป็นหัวข้อกระทู้ในการสนทนาธรรม
ในความเป็นจริง คำว่า"รู้มาก"ในสุภาษิตนั้นไม่ใช่ "ความรู้"อย่างที่เราเข้าใจกัน

แต่"รู้มาก"ในที่นี้หมายถึง ...ความเห็นแก่ตัว
คนรู้มากหมายถึงคนที่เห็นแก่ตัว พูดจาอะไรก็เพื่อประโยชน์ตนเอง
ทำให้คนรู้น้อยหรือคนที่ไม่เห็นแก่ตัวรู้สึกรำคาญ.....เข้าใจมั้ยโสกะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2013, 10:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s002
ก็ยังคงแสดงความเห็นตามสไตล์ของโฮฮับ..........
grin
เชิญตามสบายนะครับ คุณโฮฮับ.....เหนื่อยแล้วก็พัก ....ผู้อ่านทั้งหลายท่านจะวินิจฉัยและตัดสินเอง
onion
จิตเพ่งโทษผู้อื่น เป็นอกุศล เมื่อปฐมจิต เป็นอกุศลเสียแล้ว มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ที่ตามมาก็พลอยมัวหมอง เป็นอกุศลไปหมด ถึงแม้จะดูเหมือนเป็นธรรม หรือแม้จะคัดลอกธรรมดีๆ มาประกอบเหตุผลของตนเอง ธรรมที่ยกมาประกอบนั้นก็พลอยเศร้าหมองไปด้วย

จิตเพ่งโทษตนเป็นกุศล...ไม่มัวหม่น..ได้ชำระ ปฏิกูลใจ
ยกจิต ให้ขาวใส จนขาวรอบ ชอบกระทำ
ปฐมจิต ดีเสียแล้ว ย่อมผ่องแผ้วธรรมที่ตาม
ต้นดี ปลายก็งาม สมดั่งนาม บัณฑิตเอย



:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2013, 09:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
รู้มาก กับ รู้จริง นี่ต่างกันเยอะเลยนะครับ

เป็นปกติวิสัยของคนที่มีนิสัยอยากรู้อยากเห็นอยากศึกษาสิ่งใหม่ๆเอามาเก็บไว้ในสัญญาความจำ เพื่อจะได้พูดคุยกับผู้คนในสังคมรู้เรื่อง

เมื่อแรกๆ ก็เก็บข้อมูลต่างๆเข้าสมองแบบไม่เลือก....หลังจากนั้นไม่นานพอเริ่มเหนื่อยและหนักกับความรู้(เห็นทุกข์) ก็จึงเริ่มมีปัญญา วิเคราะห์ วิตก วิจารณ์ วินิจฉัย ตัดสินใจ คัดเลือก เลือกเฟ้น ข้อมูลเข้ามาบรรจุในสมอง

แต่ก็อีกนั่นแหละ มันจะเลือกเฟ้นเอาแต่สิ่งที่ชอบ ที่อยาก ปฏิเสธ สิ่งที่ไม่ชอบไม่อยาก.....ในที่สุดก็ทุกข์มากขึ้นกว่าเก่า และละเอียดลึกซึ้ง ซับซ้อนยิ่งขึ้น มีวิบากคือภาระที่ต้องแบกรับมากขึ้น อุทธัจจะ และกุกุจจะ จากอารมณ์ที่ชอบและไม่ชอบจะทวีมีมากขึ้น จนถึงระดับทุกข์แสนสาหัส คือหยุดความคินึกฟุ้งซ่าน รำคาญในใจตนเองไม่ได้

ถึงจุดที่ทุกขัง ความทนอยู่ไม่ได้ ชัดเจนเช่นนี้แล้ว ผู้คนทั้งหลายจึงจะวิ่งวุ่นแสวหาทางพ้นทุกข์.....ตอนนั้นแหละที่จะรู้ซึ้งรู้จริงว่า

"รู้มาก ทำให้ยากนาน" ..."รู้น้อย พลอยรำคาญ"........แล้วจะรู้อย่างไรจึงจะเป็นแก่นเป็นสาร เป็นงานเป็นการจริงๆ โดยไม่หนักใจและรกสมองเปล่าๆ ไปด้วยขยะความรู้

:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2013, 14:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโสกะครับ ผมอ่านความเห็นของคุณแล้ว พูดได้คำเดียวว่า
คุณกำลังฟุ้งหยิบโน้นผสมนี่ เอาซะความหมายของคำผิดเพี้ยน
เอาเป็นว่าพูดเหมือนไม่มีสติกลั่นกรองคำพูด
แต่ไม่เป็นไรผมจะค่อยๆพูดค่อยอธิบาย เพื่อให้คุณมีความเข้าใจในภาษาและความหมาย
ถึงแม้ไม่ได้ทางธรรมเอาทางโลกก็ยังดี


asoka เขียน:
รู้มาก กับ รู้จริง นี่ต่างกันเยอะเลยนะครับ


โสกะผมจะบอกให้น่ะ คำว่า...รู้มากกับรู้จริง เอาแบบที่ไม่ใช่สำนวนสุภาษิต
ความหมายของคำ รู้มากกับรู้จริงมันสัมพันธ์ รู้มากก็คือรู้ว่าถูกคืออะไร ผิดคืออะไร
คนที่รู้ถูกรู้ผิดเขาเรียกว่า....รู้จริง เข้าใจมั้ย :b13:


asoka เขียน:
เป็นปกติวิสัยของคนที่มีนิสัยอยากรู้อยากเห็นอยากศึกษาสิ่งใหม่ๆเอามาเก็บไว้ในสัญญาความจำ
เพื่อจะได้พูดคุยกับผู้คนในสังคมรู้เรื่อง

แบบนี้มันก็ถูกต้องแล้วไง การศึกษาเพื่อรู้สิ่งใหม่ๆ เขาเรียกว่าไฝ่รู้
คนอย่างนี้เป็นคนที่มีความเพียร ควรได้รับคำสรรเสริญ
ถ้าผู้ใดเห็นว่าไม่สมควรทำ เขาเรียกบุคคลนั้นว่า คนเกียจคร้านเห็นกงจักรเป็นดอกบัว

เรื่องนี้แม้พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสไว้ในพระสุตร มันเป็นเรื่องของ....ปฏิภานไหวพริบ
และเรื่องปฏิภานไหวพริบนี้มันเกี่ยวข้องกับปริยัติโดยตรง
ถือโอกาสเอาพระสุตรมาแก้กิเลสให้โสกะ.......

มิตรเป็นผู้ยิ่งด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในอุเทศว่า
มิตฺตํ อุฬารํ ปฏิภาณวนฺตํ ดังนี้.
บุคคลผู้มีปฏิภาณ ในคำว่า ปฏิภาณวนฺตํ นี้ มี ๓ ประเภท คือ ผู้มีปฏิภาณเพราะ
อาศัยปริยัติ ๑ ผู้มีปฏิภาณเพราะอาศัยปริปุจฉา ๑ ผู้มีปฏิภาณโดยการบรรลุ ๑.

บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอาศัยปริยัติเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เล่าเรียน
พระพุทธพจน์ คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม
เวทัลละ. พระพุทธวจนะย่อมแจ่มแจ้งแก่บุคคลนั้น เพราะอาศัยการเล่าเรียน. บุคคลนี้ชื่อว่า
ผู้มีปฏิภาณเพราะอาศัยปริยัติ.


บุคคลผู้มีปฏิภาณเพราะอาศัยปริปุจฉาเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไต่ถาม
ในอรหัตผล ในอริยมรรคมีองค์ ๘ ในอนิจจตาทิลักษณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ.
พระพุทธพจน์ ย่อมแจ่มแจ้งแก่บุคคลนั้น เพราะอาศัยการไต่ถาม. บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณ
เพราะอาศัยปริปุจฉา.

บุคคลผู้มีปฏิภาณโดยการบรรลุเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้บรรลุสติปัฏฐาน
๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ อริยมรรค ๔
สามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖. บุคคลนั้นรู้อรรถ รู้ธรรม รู้นิรุติ. เมื่อรู้อรรถ อรรถ
ก็แจ่มแจ้ง เมื่อรู้ธรรม ธรรมก็แจ่มแจ้ง เมื่อรู้นิรุติ นิรุติก็แจ่มแจ้ง. ญาณในปฏิสัมภิทา ๓
ประการนี้ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเข้าไป เข้าไปพร้อม เข้ามา เข้า
มาพร้อม เข้าถึง เข้าถึงพร้อม ประกอบแล้วด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทานี้ เพราะเหตุนั้น พระ-
*ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงชื่อว่ามีปฏิภาณ. ผู้ใดไม่มีปริยัติ ไม่มีปริปุจฉา ไม่มีอธิคม บทธรรม
อะไรจักแจ่มแจ้งแก่บุคคลนั้นเล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ซึ่งมิตรมีคุณยิ่ง มีปฏิภาณ.

http://www.84000.org/tipitaka/read/byit ... &preline=0


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร