วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 04:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2013, 11:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
ความหมายแห่งบริบท ถ้าฎีกา ไม่ตรงกับ อรรถกถา ให้ยึดถืออรรถกถา
อรรถกถา ไม่ตรงกับ บาลีพุทธวัจนะ ให้ยึดถือบาลีพุทธวัจนะ

ความหมายเกี่ยวกับ " บริบท"และ บาลีพุทธวจนะ อรรถกถาและฎีกา
จะบอกให้ครับ มันไม่ใช่แบบที่คุณกล่าวนะครับ ความเห็นที่คุณกำลังแสดงอยู่
มันเป็นเรื่องของคนไม่รู้ หาข้ออ้างเพื่อที่จะไม่ยอมรับความเห็นคนอื่น
เลยหาเรื่องอ้างแบบที่คุณพูดนั้นแหละครับ

พูดตามตรงเลยมันเป็นความไร้เหตุผล อ้างผิดหลักความเป็นจริง
ผิดจากบัญญัติที่เขากำหนดไว้

จะมาบอกได้ไงครับว่า "ถ้าฎีกาไม่ตรงกับอรรถกถา ให้ยึดอรรถกถา"
ฎีกาคือสิ่งที่มีขึ้นเพื่ออธิบายความในอรรถกถา เป็นแบบนี้ฎีกามันต้องตรงกับอรรถกถาครับ

ถ้าไม่ตรงเขาก็ไม่เรียกฎีกาครับ เขาเรียกความเห็นส่วนตัว
หรืออีกกรณีหนึ่งก็คือ คนๆนั้นเอาฎีกาที่เอาไว้อธิบายอรรถกถาในบทอื่นมาอ้าง
แบบนี้ทำให้ความหมายมันผิดไป มันผิดที่คนอ้างไม่ใช่ผิดที่ฎีกา

อรรถกถาก็เช่นกัน มีไว้อธิบายหรือแปลบาลีในพุทธพจน์ ถ้าแปลผิดจากพุทธพจน์
เขาไม่เรียกอรรถกถา เขาเรียกความเห็น และอีกเช่นกันไปหยิบอรรถกถาคนละบทกับพุทธพจน์

ดังนั้นว่าด้วยเรื่องบริบท สิ่งที่เป็นบริบทเดียวกัน มันต้องคล้อยตามเป็นเหตุเป็นผลแก่กันครับ
เนื้อหาของฎีกาจะต้องตรงกับอรรถกถา.....จึงจะเรียกว่า ฎีกา
เนื้อหาของอรรถกถาจะต้องตรงกับบาลีพุทธวจนะ ......จึงจะเรียกอรรถกถา

มหาราชันย์ เขียน:
ที่คุณยกพจนานุกรมบาลี ไทย(สยามรัฐ) มา ซึ่งไม่ใช่ทั้งฎีกา และไม่ใช่ทั้งอรรถกถา และไม่ตรงกับ บาลีพุทธวัจนะ
ด้วย ให้ยึด บาลีพุทธวัจนะ ครับ ไม่ยึดพจนานุกรมบาลีครับ
แยกให้ดีครับ ระหว่าง คำว่า คำแปล กับคำว่า ตัวอย่าง

ถามหน่อยที่พูดแน่ใจแล้วหรือว่ายึดแต่บาลีพุทธวจนะ ผมถามหน่อย คุณเป็นคนในสมัยพุทธกาลหรือครับ
คุณเข้าใจบาลีได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยคำแปลเลยหรือครับ พูดแบบนี้เขาเรียกว่าพูดไปเรื่อย
ต่อให้เป็นมหาเปรียญ๙ คุณลองไปถามดูว่า เรียนบาลีต้องให้ครูแปลไทยให้ฟังก่อนหรือเปล่า

แล้วที่บอกว่า พจนานุกรมบาลีไทย(สยามรัฐ) ไม่ตรงกับบาลีพุทธวจนะ
แล้วอะไรถึงจะตรงครับ บาลีก็บาลีภาษาไทยก็ภาษาไทย ครูบาอาจารย์ท่านกำหนดเอาไว้แล้ว
ว่าบาลีตัวนี้แปลไทยว่าอย่างนี้ คุณพูดไม่แยกแยะภาษาครับ

จะบอกให้ครับ พจนานุกรมสยามรัฐเป็นหลักของอรรถกถาครับ
เขาเอาไว้แปลบาลีพุทธวจนะ เราไม่ใช่คนจากแคว้นมคธนี่ครับ ถึงจะได้ไม่ต้อง
เรียนแปลบาลีด้วยภาษาไทยหรือไม่ต้องอาศัยพจนานุกรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2013, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
จากพระสูตรนี้ คำว่า ปรมัตถธรรม จึงหมายถึงพระนิพพานเท่านั้น


จาก ๒ ตัวอย่างนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า
คำว่า ปรมัตถธรรม หมายถึง นิพพาน เท่านั้น ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป

นิพพาน มี ๒ อย่าง
๑.สอุปาทิเสสนิพพาน คือความดับกิเลสสังโยชน์โดยที่ขันธ์ยังเหลืออยู่
ได้แก่
๑.๑โสดาปัตติมัคค โสดาปัตติผล เพราะจิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และละสังโยชน์ได้ ๓
๑.๒สกทาคามีมัคค สกทาคามีผล เพราะจิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และละสังโยชน์ได้ ๓ ทำกามราคะและพยาบาทให้บางเบา
๑.๓อนาคามีมัคค อนาคามีผล เพราะจิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และละสังโยชน์ได้ ๕ ละกามราคะและพยาบาทได้หมดสิ้น
๑.๔อรหัตตมัคค อรหัตตผล เพราะจิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และละสังโยชน์ได้ ๑๐

๒.อนุปาทิเสสนิพพาน คือความดับกิเลสสังโยชน์และความดับขันธ์ทั้ง ๕
ได้แก่ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ คือความดับจิตตสังขารของพระอนาคามีและพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่
และการดับขันธ์ปรินิพพานของพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อหมดอายุขัย


ดังนั้นที่กล่าวว่า ปรมัตถธรรม หมายถึง อริยมัคค ๔ อริยผล ๔ และนิพพาน
ผมกล่าวไว้ถูกต้องแล้วครับ

อยากรู้ครับว่า คุณไปเอาความเห็นแบบนี้มาจากไหนกันครับ
อ่านพระสูตร เรื่องนิพพานธาตุบ้างหรือเปล่า
........

๗. ธาตุสูตร
[๒๒๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้
มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน คือ สอุปาทิเสสนิพพาน
ธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำ
กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มี
สังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเสวย
อารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕
เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่ง
โมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของ
ตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมี
ตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรา
เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการ
นี้แล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี
พระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหา
และทิฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว อันนิพพานธาตุ
อย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหา
เครื่องนำไปสู่ภพ ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) เป็นที่
ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า
ชื่อว่าอนุปาทิเสส ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ชน
เหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลสเพราะบรรลุธรรม
อันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 242&Z=5274


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2013, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
นิพพาน มี ๒ อย่าง
๑.สอุปาทิเสสนิพพาน คือความดับกิเลสสังโยชน์โดยที่ขันธ์ยังเหลืออยู่
ได้แก่
๑.๑โสดาปัตติมัคค โสดาปัตติผล เพราะจิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และละสังโยชน์ได้ ๓
๑.๒สกทาคามีมัคค สกทาคามีผล เพราะจิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และละสังโยชน์ได้ ๓ ทำกามราคะและพยาบาทให้บางเบา
๑.๓อนาคามีมัคค อนาคามีผล เพราะจิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และละสังโยชน์ได้ ๕ ละกามราคะและพยาบาทได้หมดสิ้น
๑.๔อรหัตตมัคค อรหัตตผล เพราะจิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และละสังโยชน์ได้ ๑๐

๒.อนุปาทิเสสนิพพาน คือความดับกิเลสสังโยชน์และความดับขันธ์ทั้ง ๕
ได้แก่ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ คือความดับจิตตสังขารของพระอนาคามีและพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่
และการดับขันธ์ปรินิพพานของพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อหมดอายุขัย


โฮฮับ เขียน:
ถามครับ อริยมัคค๔ ผล๔ หายไปไหนครับ


อ่านใหม่ให้ดีครับคุณโฮฮับ

โฮฮับ เขียน:
นิพพานคือปรมัตถ์ถูกต้อง แต่นิพพานไม่ใช่ทางปรมัตถ์ มันเป็นคนละส่วนกัน


ตรงนี้คุณคิดเอง คิดแทนผมเอง ผมไม่ได้คิดอย่างนี้

ที่ผมบอกในกระทู้นี้คือ ปรมัตถธรรม หมายถึง อริยมัคค ๔ อริยผล ๔ และนิพพาน


ถ้ามีเวลาก็อ่านทบทวนดูในสิ่งที่คุณกล่าวมาให้ดีครับ
อย่าเอาความคิดคุณมาเป้นความคิดของผมเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2013, 03:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
มหาราชันย์ เขียน:
นิพพาน มี ๒ อย่าง
๑.สอุปาทิเสสนิพพาน คือความดับกิเลสสังโยชน์โดยที่ขันธ์ยังเหลืออยู่
ได้แก่
๑.๑โสดาปัตติมัคค โสดาปัตติผล เพราะจิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และละสังโยชน์ได้ ๓
๑.๒สกทาคามีมัคค สกทาคามีผล เพราะจิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และละสังโยชน์ได้ ๓ ทำกามราคะและพยาบาทให้บางเบา
๑.๓อนาคามีมัคค อนาคามีผล เพราะจิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และละสังโยชน์ได้ ๕ ละกามราคะและพยาบาทได้หมดสิ้น
๑.๔อรหัตตมัคค อรหัตตผล เพราะจิตสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และละสังโยชน์ได้ ๑๐

๒.อนุปาทิเสสนิพพาน คือความดับกิเลสสังโยชน์และความดับขันธ์ทั้ง ๕
ได้แก่ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ คือความดับจิตตสังขารของพระอนาคามีและพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่
และการดับขันธ์ปรินิพพานของพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อหมดอายุขัย


โฮฮับ เขียน:
ถามครับ อริยมัคค๔ ผล๔ หายไปไหนครับ


อ่านใหม่ให้ดีครับคุณโฮฮับ

ผมอ่านดีแล้วถึงได้ถามไง พระสูตรที่คุณเอามาอ้างยังไม่รู้อีกหรือว่ามันผิดกาลเทศะ
คุณไปต่อเติมเสริมแต่งพุทธพจน์ เอาสิ่งที่ไม่ใช่มาใส่ ผมเอาพระสูตรแท้มาให้อ่านแล้วก็ยังไม่สำเหนียกครับ
สอุปาทิเสสนิพพาน พระพุทธองค์ท่านทรงหมายถึง...พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตแค่นั้น
พระอริยะระดับอื่นไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยเลย คุณแต่งเรื่องขึ้นมาเองครับ

มหาราชันย์ เขียน:
โฮฮับ เขียน:
นิพพานคือปรมัตถ์ถูกต้อง แต่นิพพานไม่ใช่ทางปรมัตถ์ มันเป็นคนละส่วนกัน

ตรงนี้คุณคิดเอง คิดแทนผมเอง ผมไม่ได้คิดอย่างนี้
ที่ผมบอกในกระทู้นี้คือ ปรมัตถธรรม หมายถึง อริยมัคค ๔ อริยผล ๔ และนิพพาน
ถ้ามีเวลาก็อ่านทบทวนดูในสิ่งที่คุณกล่าวมาให้ดีครับ
อย่าเอาความคิดคุณมาเป้นความคิดของผมเลย

ความคิดผมก็คือความคิดผม เป็นเพราะผมไม่เห็นด้วยกับความคิดคุณผมถึงเข้ามาแย้ง
ดังนั้นควรพูดให้ถูกลักษณะ
ถึงคุณจะแก้ตัวอย่างไรก็ตามแต่ ที่เห็นๆคุณเอาพระสูตรมาโพส
แล้วแสดงความเห็นว่า.....

๑.ทางปรมัตถ์หมายถึงนิพพานอย่างเดียว ถึงคุณจะแก้ตัวว่าไม่ได้หมายถึงนิพานอย่างเดียว
ยังไงมันก็ผิดอยู่ดี เพราะทางปรมัตถ์ไม่ใช่นิพพาน
แต่ทางปรมัตถ์คือการปฏิบัติของจิตที่มุ่งตรงต่อนิพพาน

๒. เอาพระสูตรมาสนับสนุนตัวเองผิดกาลเทศะ บอกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน
หมายถึง อริยมัคค๔ ผล๔ ซึ่งในความเป็นจริงตามพระสูตรมันไม่ใช่
พระสูตรหมายถึงพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตเพียงอย่างเดียว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2013, 08:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ผมอ่านดีแล้วถึงได้ถามไง พระสูตรที่คุณเอามาอ้างยังไม่รู้อีกหรือว่ามันผิดกาลเทศะ
คุณไปต่อเติมเสริมแต่งพุทธพจน์ เอาสิ่งที่ไม่ใช่มาใส่ ผมเอาพระสูตรแท้มาให้อ่านแล้วก็ยังไม่สำเหนียกครับ


อ่านดีจริง แล้วนะครับ

ผมกล่าวว่า ปรมัตถธรรม หมายถึง อริยมัคค ๔ อริยผล ๔ และนิพพาน
ผมกล่าวถึงคำว่า ปรมัตถธรรม เอาเฉพาะคำว่า ปรมัตถมาจากพระสูตร
ผมไม่กล่าวในคำตอบไหนเลยว่า
โฮฮับ เขียน:
นิพพานคือปรมัตถ์ถูกต้อง แต่นิพพานไม่ใช่ทางปรมัตถ์ มันเป็นคนละส่วนกัน


ตรงนี้คำกล่าวของคุณล้วน ๆ

เอาละ ก่อนจะพูดว่าผิดอย่างไรตรงไหนบ้างพักไว้ก่อนแล้วจะอธิบายกันภายหลัง

เรามาพูดถึงเรื่องของคุณก่อน
โฮฮับ เขียน:
ผมเอาพระสูตรแท้มาให้อ่านแล้วก็ยังไม่สำเหนียกครับ

โฮฮับ เขียน:
คุณก็ต้องดูว่า ไอ้สิ่งที่เพิ่มขึ้นมา มันอยู่ในบริบทไหนครับ จะบอกให้ครับ
ไอ้ที่ว่า เพื่มขึ้นมา มันอยู่ในบริบทของ "ครูบาอาจารย์หรืออรรถกถาจารย์"นะครับไม่ใช่พระพุทธเจ้า


ตกลงคุณจะยอบรับไหมว่า คุณโฮฮับและ"ครูบาอาจารย์หรืออรรถกถาจารย์" รู้ผิดเข้าใจผิดในเรื่องปรมัตถ์
โฮฮับ เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ดังนั้นการจะให้ความหมายของปรมัตถ์ธรรมจะต้องเป็น
จิต เจตสิก รูป นิพพาน เท่านั้น


ถามนะครับ คุณจะยอมรับไหมว่า คุณโฮฮับและ"ครูบาอาจารย์หรืออรรถกถาจารย์" รู้ผิดเข้าใจผิดในเรื่องปรมัตถ์

ผมต้องการคำตอบจากคุณในเรื่องนี้ก่อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2013, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
เรามาพูดถึงเรื่องของคุณก่อน
โฮฮับ เขียน:
ผมเอาพระสูตรแท้มาให้อ่านแล้วก็ยังไม่สำเหนียกครับ

โฮฮับ เขียน:
คุณก็ต้องดูว่า ไอ้สิ่งที่เพิ่มขึ้นมา มันอยู่ในบริบทไหนครับ จะบอกให้ครับ
ไอ้ที่ว่า เพื่มขึ้นมา มันอยู่ในบริบทของ "ครูบาอาจารย์หรืออรรถกถาจารย์"นะครับไม่ใช่พระพุทธเจ้า


ตกลงคุณจะยอบรับไหมว่า คุณโฮฮับและ"ครูบาอาจารย์หรืออรรถกถาจารย์" รู้ผิดเข้าใจผิดในเรื่องปรมัตถ์

ครูบาอาจารย์หรืออรรถกถาจารย์ไม่ผิด
ปรมัตถ์ธรรมเป็นสภาวะธรรม เป็นพุทธพจน์ พระพุทธองค์ทรงสอนให้สาวกปฏิบัติให้เห็นซึ่ง
สภาวะธรรมที่เป็นปรมัตถ์ นั้นหมายความว่า ให้สาวกปฏิบัติให้เห็นด้วยใจตนเอง
เพราะเป็นสภาวะที่เกิดจากใจของตนเอง

อรรถกถาจารย์ ได้เห็นสภาวะตามความจริง จึงได้ตั้งบัญญัติขึ้นตามสภาวะที่ตนเห็น
ซึ่งสภาวะนั้นก็เป็นเหมือนที่พระพุทธองค์ทรงเห็น เพียงแต่พระองค์ไม่ได้บัญญัติอธิบายความไว้

มันก็เหมือนกับที่ผมบอกคุณว่า ทางปรมัตถ์ธรรม ไม่ใช่นิพพาน
แต่ทางปรมัตถ์เป็นวิธีการปฏิบัติให้ถึงนิพพาน พระพุทธองค์ทรงบอกแค่วิธี แล้วให้สาวกไปเห็นเอง
เพราะพระพุทธองค์ไม่ได้บัญญัติรายละเอียดของสภาวะธรรมไว้ เหล่าสาวกที่ได้เห็นสภาวะธรรมไปตามจริง
จึงได้บัญญัติสภาวะที่ตนได้ไปเห็นไปตามจริง ซึ่งมันก็เป็นสภาวะเดียวกันกับที่พระพุทธ์องค์ทรงเห็นนั้นแหล่ะ


พูดง่ายก็คือ สภาวะธรรมใดที่พระพุทธองค์ทรงเรียกจนเป็นบัญญัติแล้ว
อรรถกถาจารย์ก็จะไม่ไปแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพียงแต่จะอธิบายเพิ่มเติมพุทธพจน์หรือบัญญัติ
ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสนั้นๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2013, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
ตกลงคุณจะยอบรับไหมว่า คุณโฮฮับและ"ครูบาอาจารย์หรืออรรถกถาจารย์" รู้ผิดเข้าใจผิดในเรื่องปรมัตถ์
โฮฮับ เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ดังนั้นการจะให้ความหมายของปรมัตถ์ธรรมจะต้องเป็น
จิต เจตสิก รูป นิพพาน เท่านั้น


ถามนะครับ คุณจะยอมรับไหมว่า คุณโฮฮับและ"ครูบาอาจารย์หรืออรรถกถาจารย์" รู้ผิดเข้าใจผิดในเรื่องปรมัตถ์

ผมต้องการคำตอบจากคุณในเรื่องนี้ก่อน

ไม่ผิด! ปรมัตถ์ธรรมของพระพุทธองค์กับของอรรถกถาจารย์เป็นอย่างเดียวกัน
เพียงแต่คุณไม่เคยเห็นสภาวะธรรม อ่านแต่บัญญัติและคำศัพที่เป็นตัวหนังสือ พอเห็นตัวหนังสือที่ไม่เหมือนกัน
ก็เลยเข้าใจไปเองอีกฝ่ายผิด.....มันเป็นตัวคุณทั้งนั้นที่ไปเข้าใจอรรถกถาจารย์ผิด
ขาดปัญญามองธรรมตามความจริง ก็เลยคิดเอาเองว่าบัญญัติเป็นสภาวะปรมัตถ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2013, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ครูบาอาจารย์หรืออรรถกถาจารย์ไม่ผิด


โฮฮับ เขียน:
ไม่ผิด! ปรมัตถ์ธรรมของพระพุทธองค์กับของอรรถกถาจารย์เป็นอย่างเดียวกัน




ถ้าไม่ยอมรับว่าผิด ก็เลิกสนทนากันครับ ไม่มีประโยชน์

ขอให้ผู้อ่านทุกท่านรุ่งเรืองและยั่งยืนครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร