วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 05:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2012, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ช่วงนี้ ผมมีอาการเหมือนหลงอะไรบางอย่าง เหมือนว่าใกล้ปีใหม่จิตใจไม่อยุ่กับตัว อยากเที่ยวอย่างเดียว จึงเหมือน ไม่อยู่กับธรรมเท่าไหร่ คิดไม่ออกเลยครับว่าจะตอบอย่างไร

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2012, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


คิดว่าเมตตาเป็นอาการของความเป็นมิตรครับ คือความเข้าข้างและยอมรับ เช่น มองดูต้นไม้ที่อยู่กลางเกาะถนน ไม่อยากให้ต้นไม้นั้นโดนตัดทิ้งเพราะต้นไม้ใหญ่ขึ้นทุกปี

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2012, 02:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
cool พี่โฮจ๋า แล้วอาการของจิตที่จะต้องให้สิ่งที่เรารักปานแก้วตาดวงใจแก่คนอื่น เพราะเราอยากให้เค้าไปมีอนาคตที่ดี มีชีวิตที่ดี แบบนี้เค้าเรียกว่าเมตตาหรือเปล่าเจ้าค่ะ อยากเอาคืนนะเจ้าค่ะเพราะคิดถึงใจจะขาด cry cry คุนน้องทั้งรักทั้งเมตตาอ่ะ เลยทำแบบนี้ :b45:

น้องคิงคองถ้าจะมีปัญหาเรื่องลูกล่ะซิ เราเป็นแม่ทำอะไรเพื่อลูก เมื่อทำไปแล้ว
ก็ไม่ต้องเป็นทุกข์ เราต้องเชื่อมั่นในสิ่งที่เราทำ เพราะการกระทำของเรามัน
เป็นการกระทำของแม่ที่มีต่อลูก

น้องคิงคองรู้มั้ยว่า ในความเป็นแม่ลูกมันมีธรรมเชื่อมโยงกันอยู่
ธรรมที่ไม่ต้องสร้างมันเกิดขึ้นเองโดย อัตโนมัติ มันขึ้นอยู่ว่าน้องคิงคอง
จะเอามันมาใช้หรือไม่ และการใช้ต้องใช้ให้ถูก

สิ่งที่น้องคิงคองกำลังประสบ มันเป็นโอกาสดีของน้องที่จะได้รู้จัก ธรรมที่เรียกว่า
พรหมวิหารที่แท้ เพราะประสบการของน้องมันเป็นธรรมที่ครบองค์แห่งพรหมวิหาร
ว่าด้วยเรื่องพรหมวิหารสี่ จะรู้ได้ไงว่าเราได้ใช้ธรรมนี้แล้ว ก็ต้องดูว่า..
เรายังทุกข์กับเรื่องที่ให้ลูกเขาไปมั้ย ถ้ายังทุกข์แสดงว่า ยังไม่ได้ใช้พรหมวิหารสี่
จิตของน้องคิงคองกำลังโดนกิเลสที่เรียกว่า ความรักเข้าครอบงำ
กิเลสทำให้จิตของน้องไม่ได้อยู่ที่ลูก มันเปลี่ยนไปอยู่ที่ญาติผู้ใหญ่
นั้นคือน้องกำลังคิดว่า มีคนเอาของรักของน้องไป


ถ้าเรามั่นใจว่า คนที่เราให้ลูกเขาไป จะทำให้ลูกมีอนาคตที่ดีกว่าที่อยู่กับเรา
ธรรมที่ควรระลึกถึงก็คือ มุทิตาจิต นั้นก็คือ ยินดีกับลูก

จะบอกจิตของน้องคิงคองให้ฟัง การที่ลูกอยู่กับน้องคิงคอง
แล้วมีคนมาขอลูกไปเลี้ยง จิตของคนเป็นพ่อเป็นแม่ร้อยทั้งร้อย
ย่อมต้องอยากให้ลูกประสบพบเจอแต่สิ่งที่ดี

นั้นก็คือน้องคิงคองกำลังคิดว่า การให้ลูกไปอยู่กับญาติผู้ใหญ่
ย่อมต้องมีความสุขกว่าอยู่กับตน อาการของจิตแบบนี้...ไม่เรียกว่า...เมตตา
เขาเรียก..กรุณา คือเห็นลูกอยู่กับตนแล้วจะไม่มีอนาคต
เมื่อให้ลูกกับเขาไปแล้ว เชื่อว่าลูกย่อมต้องเป็นสุขมีอนาคต แบบนี้เรียกว่า..
มุทิตา

การทำสติปัฏฐาน ในเรื่องของจิตตานุปัสนาฯ ก็เพื่อให้รู้อาการของจิต ณ.ปัจจุบันนั้น
เมื่อรู้อาการของจิตจึงจะสามารถ ละเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ได้
การที่เรายังทุกข์ เป็นเพราะเราไม่รู้จักการทำสติปัฎฐาน
การใช้ธรรมให้ถูกกับกาล ไม่รู้จักแยกแยะธรรมให้ตรงกับตัวบุคคล
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2012, 03:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าพวกท่านรู้จักการทำวิปัสสนา ท่านย่อมต้องรู้จักปรมัตถ์ธรรมที่เรียกว่า..เจตสิก(อาการของจิต)
การทำวิปัสสนาที่ว่าด้วยการดูจิต มันเปรียบเหมือนการทำวิปัสสนาเบื้องต้นเรื่องก็ว่าได้
การดูเจตสิกทันและเข้าใจอาการของจิตได้ แสดงว่า บุคคลนั้นเริ่มจะเข้าใจว่า
การมองเห็นธรรมตามความเป็นจริงเป็นอย่างไร

การทำวิปัสสนา สิ่งที่สำคัญคือการทำให้จิตพิจารณาธรรมที่เกิดขึ้นณ.ปัจจุบันนั้น
ธรรมปัจจุบันที่ว่าก็คือ ผัสสะที่ได้รับ อยากจะยกตัวอย่างที่ว่าด้วยเมตตาครับ

ถ้าเราแปลความหมายเมตตาว่า "ปรารถณาให้ผู้อื่นมีสุข" ในความเป็นจริงมันเป็นไปได้มั้ย
ผัสสะหรือการมองเห็นบุคคล เราจะรู้สึกได้ก็ต่อเมื่อเห็นบุคคลกำลังสุขหรือกำลังทุกข์
เมื่อเห็นบุคคลที่กำลังทุกข์จิตย่อมเกิดอาการ ที่เรียกว่า...."กรุณา"คือปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์
หรือเมื่อเห็นบุคคลกำลังมีความสุข จิตย่อมเกิดอาการที่เรียกว่า..."มุทิตา"คือยินดีไปกับเขา

อยากให้เพื่อนๆมาสังเกตุ คำว่าเมตตาครับ การแปลความหมายเมตตาว่า
ปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข แท้จริงแล้วว่าด้วยการวิปัสสนา ความหมายที่ว่า
มันเป็นการปรุงแต่ง มันเป็นอกุศล
ที่สำคัญในเรื่องเจตสิก(อาการของจิต)ไม่มีกำหนดไว้ ในเจตสิก๕๒

ความหมายของเมตตา และทำอย่างไรไม่ให้จิตปรุงแต่ง
ทำความเข้าใจ จิตปรุงแต่งหมายถึง จิตที่จินตนาการไปเองล่วงหน้า ไม่ได้อยู่กับธรรมปัจจุบัน

ความหมายของเมตตาจิตที่แท้จริงก็คือ เมื่อได้รับผัสสะแล้ว จิตจะต้อง
ไม่เกิดโทสะที่เรียกว่า....."มัจฉะริยะ"
มัจฉะริยะคืออะไร ขอยกความหมายมาให้ดู...ความตระหนี่, ความหวง,
ความคิดกีดกันไม่ให้ผู้อื่นได้ดี หรือมีส่วนร่วม


เนื่องจากมัจฉะริยะ เป็นส่วนหนื่ง ของอกุศลที่เรียกว่าโทสะ
เมื่อเราพบผัสสะนอกเหนือจาก บุคคลที่กำลังทุกข์หรือกำลังสุขนั้นคือ
นั้นคือมีความรู้สึกว่า บุคคลที่เห็นไม่สุขไม่ทุกข์ ก็คือเฉยๆนั้นอง
ดังนั้นการทำใจให้เป็นกุศลต่อผัสสะหรือบุคคลที่พบเห็น ก็คือทำใจอย่าให้เกิด
อกุศลโทสะที่เรียกว่า.."มัจฉะริยะ" พยายามทำใจให้เกิดกุศลที่เรียกว่า...อโทสะ

อาการของจิตที่เรียกว่า...อโทสะครับมีความหมายว่า.."เมตตา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2012, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พรหมวิหาร แปลกันว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่ (หรือ ท่านผู้เป็นใหญ่) ท่านผู้ใหญ่ หรือท่านผู้เป็นใหญ่นี้ คือ พรหม

ปรากฏว่า ได้เกิดความเข้าใจเพี้ยนขึ้นในภาษาไทย เรามักเข้าใจว่า พรหมวิหาร เช่น เมตตานี้ เป็นธรรมของผู้ใหญ่โดยวัย หรือโดยสถานะในสังคม ถ้าอย่างนั้น เด็กก็ไม่ต้องมีเมตตา เป็นต้น ใช่ไหม เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่จะต้องเมตตาต่อเด็ก หรือต่อผู้น้อย อะไรทำนองนี้
แต่ถ้าไปดูในหลักธรรมต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนทั่วไป แม้แต่ในหลักธรรมที่คฤหัสถ์พึงปฏิบัติ ก็มีวิธีปฏิบัติของคฤหัสถ์ต่อพระภิกษุ เริ่มต้นเลยว่า ๑-๒-๓ คฤหัสถ์พึงปฏิบัติต่อพระภิกษุด้วยกายกรรมมีเมตตา ด้วยวจีกรรมมีเมตตา ด้วยมโนกรรมมีเมตตา คือ ให้ญาติโยมมีเมตตาต่อพระ อ้าว ถ้าเมตตาเป็นธรรมของผู้ใหญ่ ก็น่าจะให้พระเมตตาโยม นี่ทำไมให้โยมเมตตาพระล่ะ

ตามคำอธิบายในคัมภีร์บาลี พระผู้น้อยก็ตาม ญาติโยมก็ตาม ตักน้ำล้างเท้า และพัดวีถวายแก่พระเถระ เรียกว่า เรียกว่าเป็นการกระทำด้วยเมตตาจิต หรือ อย่างหมอชีวกผ่าฝีถวายการบำบัดแด่พระพุทธเจ้า ก็เป็นการกระทำด้วยเมตตาจิต นี่ก็เป็นตัวอย่างที่ว่าเราเข้าใจ และเอาธรรมะมาใช้คลาดเคลื่อน ไม่ตรงตามความหมายที่ท่านว่าไว้ เพราะปัญหาทางภาษา


ผู้ใหญ่ หรือ ท่านผู้เป็นใหญ่นี้ คือ พรหม ในพระพุทธศาสนา หมายถึงผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่ คือยิ่งใหญ่ด้วยความดีงาม หรือมีคุณธรรมยิ่งใหญ่ หรือไม่ก็แปลว่าประเสริฐ ท่านสอนทุกคนให้ทำตัวเป็นพรหม


เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ครบทั้งชุดของเค้าก็ที่

http://meditation.fix.gs/index.php?topic=93.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2012, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จิตของน้องคิงคองกำลังโดนกิเลสที่เรียกว่า ความรักเข้าครอบงำ
กิเลสทำให้จิตของน้องไม่ได้อยู่ที่ลูก มันเปลี่ยนไปอยู่ที่ญาติผู้ใหญ่
นั้นคือน้องกำลังคิดว่า มีคนเอาของรักของน้องไป
ใครจะสามารตบอกอาการของจิตผู้อื่นได้ ที่พี่พูดมันเป็นแค่การคาดเดาสภาวะนามธรรมเท่านั้น พี่โฮนะรู้สภาวะนามธรรมของคนอื่นได้ยังงัย กิเลสความรักมันทำๆด้เพียงแค่ ทำให้คุนน้องคิดถึง อยากได้ยินเสียงอยากได้เห็นหน้า แต่มันไม่สามารถมาทำให้คุนน้องเกิดอกุศลจิตว่าคนอื่นมาเอาของรักของเราไป :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2012, 21:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:


ผู้ใหญ่ หรือ ท่านผู้เป็นใหญ่นี้ คือ พรหม ในพระพุทธศาสนา หมายถึงผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่ คือยิ่งใหญ่ด้วยความดีงาม หรือมีคุณธรรมยิ่งใหญ่ หรือไม่ก็แปลว่าประเสริฐ ท่านสอนทุกคนให้ทำตัวเป็นพรหม


เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ครบทั้งชุดของเค้าก็ที่



:b8: เห็นด้วยครับ...ว่า..พรหมในความหมายของพุทธ...คือผู้ประเสริฐ

เมตตา...คือความรัก

กรุณา...คือความสงสาร...เห็นเขาทุกข์...ก็อยากให้เขาพ้นทุกข์...หากไม่มีความรัก(ในสัตวโลก)แล้วละก้อ...การจะไปสงสารใครมันเป็นไปไม่ได้เลย...ดังนั้น...จะสงสารได้ก็เพราะมีความรักเป็นทุนอยู่ก่อนแล้ว

มุทิตา....คือยินดีกับเขาด้วยเมื่อเห็นเขามีสุข...หากรักใครสงสารใครไม่เป็น...ความรู้สึกว่าดีใจกับเขาเมื่อเขามีความสุขก็คงไม่เกิด

จะเห็นว่า...เมตตา...กรุณา...มุทิตา....เป็นธรรมเนื้อเดียวกัน...มีพร้อมกัน...แยกเป็นอิสระเมื่อไร..ตัวมันเองก็ไม่เป็นตัวมันเองเมื่อนั้น...และหากแยกมองทีละตัวเมื่อไร...ก็เห็นมันเป็นกิเลสเมื่อนั้น...

และสุดท้าย...ธรรมที่ทำให้ธรรมหรืออารมณ์ของเมตตา...กรุณา..มุทิตา....เป็นธรรมที่ยิ่งใหญ่...คือ..อุเบกขาธรรม...เพราะ..เป็นธรรมที่รักษาใจไม่ให้เกิดภพ.....ทั้งสุคติภพ....และ...ทุกคติภพ

ดังนั้น...พรหมวิหาร 4 เป็นธรรมของผู้ประเสริฐ...จริง ๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2012, 03:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
อ้างคำพูด:
จิตของน้องคิงคองกำลังโดนกิเลสที่เรียกว่า ความรักเข้าครอบงำ
กิเลสทำให้จิตของน้องไม่ได้อยู่ที่ลูก มันเปลี่ยนไปอยู่ที่ญาติผู้ใหญ่
นั้นคือน้องกำลังคิดว่า มีคนเอาของรักของน้องไป
ใครจะสามารตบอกอาการของจิตผู้อื่นได้ :

ใช่มันบอกไม่ได้หรอก ถ้าเจ้าตัวไม่มาแสดงอาการหรือเล่าอาการให้คนอื่นฟัง
น้องคิงคองครับจะบอกให้ สิ่งที่เหมือนกันของมนุษย์คือกิเลส และที่เหมือนกัน
อีกอย่างก็คือผลอันเกิดจากกิเลสที่เรียกว่า อาการของจิต

กิเลสและอาการของจิตจะแตกต่างกันได้ มันขี้นอยู่ที่สถานะของบุคคล
สถานะที่ว่าก็คือความเป็น ปุถุชนและอริยชน

ถ้าเรารู้ว่าผู้ที่กำลังตกอยู่ในความทุกข์ เป็นผู้อยู่ในสถานะใด ก็สามารถบอกถึง
อาการของจิตผู้นั้นได้ครับ การเกิดขี้นและดับไปมันเป็นไปตามเหตุปัจจัย
อาการของจิตก็เช่นกันเกิดตามเหตุปัจจัยก็คือกิเลสนั้นเอง

อนึ่งเราต้องแยก อาการของจิตและความคิดนึกปรุงแต่งออกจากกัน
สิ่งที่ต้องรู้และเป็นจริงคืออาการของจิต ความคิดนึกปรุงแต่งเป็นเพียง
จินตนาการมันไม่ใช่ความจริง

สภาวะของจิตมันเกิดดับรวดเร็ว การเกิดดับทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ของกิเลส อาการของจิตก็เปลี่ยนแปลงไปตามกิเลสที่มาบ่งการ

และตัวหลักสำคัญที่ทำให้เกิดกาเปลี่ยนแปลงก็คือ ผัสสะ

สรุปให้ฟัง การยอมรับหรือไม่ยอมรับของน้อง ถ้าเป็นเรื่องความคิด
การปรุงแต่ง น้องอาจจะปฏิเสธได้ครับ เพราะมันไม่ใช่สาระหรือสัจจะธรรม
แต่สิ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยก็คือ ปรมัตถ์ที่เรียกว่า กิเลสและเจตสิก(อาการของจิต)ครับ
ที่น้องกำลังปฏิเสธสิ่งที่พี่โฮบอกเป็นเพราะน้อง ขาดสติรับรู้ผัสสะตัวใหม่ที่เรียกว่า ธัมมามณ์
นั้นเอง

nongkong เขียน:
ที่พี่พูดมันเป็นแค่การคาดเดาสภาวะนามธรรมเท่านั้น

ฟังน่ะน้องคิงคอง ง่ายๆไม่ต้องมากความ ถ้าสิ่งที่น้องเล่ามา มันเป็นความจริงที่มาจากใจ
สิ่งที่พี่บอกมันก็คือความจริง แต่ถ้าน้องมั่วหรือไม่ยอมรับสิ่งที่เกิดในใจตนเอง สิ่งที่พี่บอก
มันอาจเป็นการคาดเดา
nongkong เขียน:
พี่โฮนะรู้สภาวะนามธรรมของคนอื่นได้ยังงัย

ถ้าน้องคิงคองไม่บอกพี่โฮจะรู้ได้ไง มันก็แค่ฟังการพิราบร่ำพรรณของน้อง
แล้วก็เอาไปเทียบกับกิเลสตัวใดตัวหนึ่งในสังโยชน์ แค่นี้ก็รู้ว่าจิตของน้องมีอาการอะไร
nongkong เขียน:
กิเลสความรักมันทำๆด้เพียงแค่ ทำให้คุนน้องคิดถึง อยากได้ยินเสียงอยากได้เห็นหน้า แต่มันไม่สามารถมาทำให้คุนน้องเกิดอกุศลจิตว่าคนอื่นมาเอาของรักของเราไป :b1:

ก็มันเป็นแบบนี้ไง พี่ถึงพยายามโยงเรื่องนี้ไปหาเรื่องของสติปัฏฐาน
จิตมันเกิดดับรวดเร็ว กิเลสมันก็เกิดดับไปพร้อมกันด้วย ที่ว่ากิเลสเกิดดับ
มันหมายถึงมันเปลี่ยนแปลงเป็นกิเลสตัวอื่น

พี่โฮจะอธิบายสภาวะธรรมของน้องให้ฟัง ......
ไอ้การคิดถึงของน้อง แล้ว"อยากได้ยินเสียง อยากเห็นหน้า"
แบบนี้เขาเรียกว่า ถูกกิเลสเบื้องต่ำเล่นงาน นั้นก็คือถูกสักกายะทิฐิ
ยีดมั่นถือมั่นในตัวตน คิดว่า สิ่งที่คิดเป็นลูกของตน ตัวเองเป็นตัวตน
ลูกของตัวก็เป็นตัวตน และนี้เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกามคุณห้า อยากได้ยินเสียง
อยากเห็นหน้า
ไอ้ที่น้องบอกว่าคิดถึงน่ะเขาเรียกว่า......ปฏิฆะ มันเข้ามากระทบจิตใจ
เพราะตัวเองไปคิดถึงมัน เมื่อคิดแล้วไม่เป็นไปตามนั้น มันก็เกิดโทสะ
และเมื่อเกิดโทสะ มันก็เกิดโลภะคืออยากให้เป็นไปตามที่ตัวเองคิด

น้องคิงคองลองใช้สติค่อยๆดูว่า มันเป็นจริงตามนี้มั้ย

nongkong เขียน:
พี่ทำให้คุนน้องเกิดอกุศลจิตว่าคนอื่นมาเอาของรักของเราไป :b1:


จะอธิบายให้ฟังว่า "คนอื่นเอาของรักเราไป" มันไม่ใช่สาระ
จะคนอื่นเอาไปหรือให้คนอื่นไป มันเป็นสมมุติ แต่ความเป็นจริงก็คือ
มันสามารถทำให้น้องเกิด อกุศลจิต(อาการของจิต)
อกุศลจิตที่ว่าไม่ได้อยู่เนื้อหาบัญญัติ แต่มันอยู่ที่ ความอยากของน้อง
มันไปทำให้เกิดโลภะ นั้นคือ อยากเห็นหน้า อยากได้ยินเสียง
เมื่อคิดแล้วไม่ได้ดังใจ มันจีงเกิด ความไม่อยากขึ้นคือไม่อยากอยู่ในสภาวะที่บีบขั้นนั้น
มันจีงเกิดอากรของจิตเป็นโทสะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2012, 02:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พรหมวิหาร แปลกันว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่ (หรือ ท่านผู้เป็นใหญ่) ท่านผู้ใหญ่ หรือท่านผู้เป็นใหญ่นี้ คือ พรหม

การตีความในคำศัพท์หรือหลักการพิจารณาธรรมบทนี้ เราต้องเอาสถานะของบุคลเป็นหลัก
พรหมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงผู้ใหญ่ด้วยวัยวุฒิ และก็ไม่ได้เจาะจงลงไปว่า พระพรหมที่เป็นพระเจ้า

ความหมายที่แท้จริง เขาให้ดูที่กิริยา เอากิริยาของผู้เป็นใหญ่มาเป็นแบบอย่าง
ผู้ใหญ่ในที่นี้ก็คือ ...พระพรหม
กิริยาของพระพรหม เป็นการสร้างในลักษณะการให้ กิริยาของพระพรหมก็คือการ...ให้

ดังนั้นความหมายที่เกี่ยวกับพระพรหมมีแค่เป็นลักษณะของการให้เพียงอย่างเดียว
ไม่ได้เกี่ยวขัองกับเนื้อหาในส่วนอื่นของพรหมวิหารสี่
หลักการในพรหมวิหารสี่ เป็นหลักหรือการกระทำของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่หลักของ พระพรหม
ทำไมถึงกล่าวเช่นนี้ ก็เพราะ พระพุทธเจ้ารู้จักการวางอุเบกขา แต่พระพรหมไม่รู้จัก

กรัชกาย เขียน:

ปรากฏว่า ได้เกิดความเข้าใจเพี้ยนขึ้นในภาษาไทย เรามักเข้าใจว่า พรหมวิหาร เช่น เมตตานี้ เป็นธรรมของผู้ใหญ่โดยวัย หรือโดยสถานะในสังคม ถ้าอย่างนั้น เด็กก็ไม่ต้องมีเมตตา เป็นต้น ใช่ไหม เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่จะต้องเมตตาต่อเด็ก หรือต่อผู้น้อย อะไรทำนองนี้

ธรรมของพระพุทธเจ้ามีตั้ง84000พระธรรมขันธ์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จัก
การเลือกเฟ้นธรรมให้เหมาะกับกาลเทศะ

ที่กรัชกายแสดงความเห็นแบบนี้ เป็นเพราะขาดหลักการพิจารณาธรรม
คิดเองเออเองว่า คนอื่นเป็นแบบนั้นแบบนี้ ลงถ้าใช้หลักการคิดแบบกรัชกาย
คนอื่นก็ผิดหมด แต่ที่ว่าผิดมันไม่ได้หมายถึงผิดหลักธรรม แต่ผิดจากความคิด
ของกรัชกาย และความคิดของกัชกายใช่ว่าจะถูก

กรัชกายจะทำอะไรซักอย่างโดยเอาธรรมใดธรรมหนึ่งมาเป็นหลัก
พอมีคนอื่นเขาทำผิดจากหลักของกรัชกาย กรัชกายไปว่าการกระทำของเขาทำผิด
ไปจากหลักธรรมของกรัชกาย อยากใหคิดครับว่าใครผิด คนอื่นผิดหรือกรัชกายผิด


ก็บอกไว้ข้างต้นว่า ธรรมของพระพุทธเจ้ามีมากมาย เราต้องรู้จักใช้ให้ถูกต้องตามกาล
และสถานะ
กรัชกายมาตั้งข้อสมมุติฐานเอาเอง แล้วก็มาว่าคนอื่นเข้าใจผิดเพี้ยน
มันเป็นการเข้าใจผิดหรือเป็นการตีความหมายผิดของกรัชกายแต่แรกแล้ว

คำว่าผู้ใหญ่ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง วัยวุฒิที่สูงกว่า
และสถานะก็ไม่ได้หมายถึงสถานะในสังคม
คำว่าผู้ใหญ่หรือสถานะมีความหมายว่า .....
มีกำลังกายกำลังทรัพย์ที่สูงกว่าคนอื่น


ส่วนเรื่องเด็กกับผู้ใหญ่ที่กรัชกายยกเอามาพูด มันเป็นการเข้าใจผิดของกรัชกายเอง
กรัชกายไปตีความหมายของบัญญัติ "พรหมวิหารสี่" ผิดเพี้ยนแต่แรก

ฟังให้ดีน่ะกรัชกาย ถ้าจะเอาวัยวุฒิเป็นหลัก เด็กที่ปฏิบัติต่อผู้ใหญ่
เด็กไม่ได้ยึดหลักพรหมวิหาร แต่เด็กต้องยึดหลักของ...ความกตัญญูกตเวที

กรัชกาย เขียน:

ผู้ใหญ่ หรือ ท่านผู้เป็นใหญ่นี้ คือ พรหม ในพระพุทธศาสนา หมายถึงผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่ คือยิ่งใหญ่ด้วยความดีงาม หรือมีคุณธรรมยิ่งใหญ่ หรือไม่ก็แปลว่าประเสริฐ ท่านสอนทุกคนให้ทำตัวเป็นพรหม

การปฏิบัติธรรมไม่ใช่มาตีความหมายของคำศัพท์ พระพุทธองค์ทรงเน้นให้รู้จักการ
พิจารณาธรรม รู้จักประมวลเหตุปัจจัยหรือหาเหตุผล หาที่มาของบัญญัติ
พระพุทธองค์ไม่ใช่ครูสอนภาษา
แต่สอนเรื่องที่ไปที่มาของธรรม :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2012, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




j2019.gif
j2019.gif [ 31.58 KiB | เปิดดู 4329 ครั้ง ]
เจ้าลัทธิโฮก็ว่าไปตามทิฐิของตน ส่วนกรัชกายผู้เป็นพุทธบุตรก็ว่าไปตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2012, 02:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เจ้าลัทธิโฮก็ว่าไปตามทิฐิของตน ส่วนกรัชกายผู้เป็นพุทธบุตรก็ว่าไปตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า :b32:

จนตรอกที่ไร ด่ากลับทุกที ไม่ได้เรื่อง :b32:
กรัชกาย พ่อพุทธบุตร แน่จริง ไหนลองก็อปปี้ความเห็นที่โพสในเว็บคุณมา
แล้วจะรู้ว่าพุทธบุตรหรืออวชาตบุตรกันแน่ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2012, 03:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ควรรู้ภูมิหลังว่า ในศาสนาพราหมณ์เดิมถือว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก และสร้างสังคมมนุษย์ แล้วก็ทำให้โลกสังคมมนุษย์นี้ดำรงอยู่ได้

แต่พระพุทธศาสนาปฏิเสธลัทธินั้น ท่านไม่สอนให้นับถือเรื่องพระพรหมสร้างโลก แต่บอกว่ามนุษย์ทุกคนนี่แหละ มีหน้าที่สร้างโลก ช่วยกันผดุงโลก อภิบาลโลก

ใครบอกว่าพุทธศาสนา ปฏิเสธลัทธิที่คุณว่า พระพุทธองค์ไม่ได้ไปปฏิเสธศาสนาหรือลัทธิใด
แต่พระพุทธองค์ ทรงเอาคำสอนของศาสนาอื่นมาปรับปรุงให้ดีขึ้น อย่างเช่น พระวินัยใน
พุทธศาสนาก็เอาเรืองศีลในศาสนาพราหมมาปรับปรุงและเพิ่มเติมเข้าไป

อย่างเรื่องพรหมวิหารสี่ก็เช่นกัน พระพุทธองค์เอาเรื่องพรหมผู้สร้างโลกมา
ปรับปรุงและเพิ่มคำสอนของพระองค์เข้าไป นั้นก็คือ....อุเบกขา

อธิบายให้ฟัง ....เรื่องเมตตา กรุณา มุทิตา มันมีอยู่ก่อนที่พุทธศาสนาจะเกิด
ภายหลังพระพุทธองค์ ทรงมาสอนให้รู้ว่า เมตตา กรุณาและมุทิตา มันเป็นกิเลสอย่างหนึ่ง
มันเป็นกิเลสเบื้องสูงเป็นกุศล ถึงแม้เป็นกุศล แต่ถ้าเราไม่ต้องการเวียนว่ายตายเกิดอีก
หรือต้องการบรรลุอรหันต์ จะต้องละธรรมสามข้อนี้ให้ได้ด้วยการ....วางอุเบกขา


กรัชกายมั่วแล้วมั่วอีก ดันบอกมาได้ว่า พุทธศาสนาให้มนุษย์
สร้างโลก ฯลฯ เลอะเทอะ ธรรมของพระพุทธเจ้ามีจุดหมายเพื่อละวางทุกข์
ไอ้ตัวทุกข์ก็คือโลกนั้นแหล่ะ มีเยี่ยงอย่างที่ไหนมาสอนให้คนสร้างทุกข์

กรัชกาย เขียน:
ถ้ามนุษย์ประพฤติปฏิบัติดี คือมีธรรมชุดนี้ ได้แก่ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แล้ว เราก็เป็นพรหมกันทุกคน แล้วเราก็เป็นผู้สร้างสรรค์โลก บำรุงรักษาอภิบาลโลกให้อยู่ดีได้ โดยไม่ต้องไปรอพระพรหม

แต่ในทางตรงข้าม ถ้าเรามัวรอพระพรหมอยู่ และทำอะไรๆโดยไม่รับผิดชอบ เราก็ทำลายโลก และทำลายสังคมนี้ แล้วก็ได้แต่รอพระพรหมมาสร้างโลกให้ใหม่ ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ไหว โลกแย่แน่

พระพุทธเจ้าไม่ให้เรามัวรอพระพรหม แต่ในมนุษย์ทุกคนเป็นพรหมเอง ด้วยการมีพรหมวิหาร เพราะฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องมีพรหมวิหาร คือ มีธรรมที่จะทำให้มีจิตใจของพระพรหม หรือมีใจกว้างขวาง มีคุณความดียิ่งใหญ่ดุจพระพรหมนั่นเอง ไม่ใช่ผู้ใหญ่ในความหมายที่เข้าใจกันทั่วไป

มันใช่ที่ไหนกัน เรื่องของ เมตตา กรุณาและมุทิตา มันเป็นเรื่องของการเอาธรรมหรือกิเลสเบื้องสูง
มาละกิเลสเบื้องต่ำ เช่นมีความโกรธความแค้นก็รู้จักให้อภัย

เรื่องการวางอุเบกขา ถ้าเรายังมีกิเลสเบื้องต่ำอยู่ เรายังไม่จำเป็นต้องใช้
เพราะถ้าเรายังมีกิเลสเบี้องต่ำอยู่ ก็ยังไม่สามารถวางอุเบกขาในกิเลสเบื้องสูงได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2012, 04:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พรหมวิหารสี่ เป็นข้อธรรมที่พระอนาคามีปฏิบัติ ปฏิบัติเพื่อละทิ้งกิเลส
เบื้องสูง

เมตตา กรุณาและมุทิตา เป็นอาการของจิตอันเกิดจากกิเลสเบื้องสูง
ที่เรียกว่า"รูปราคะ"

อุเบกขา เป็นผลอันเกิดจากการปฏิบัติหลักธรรมโพชฌงค์๗

โพชฌงค์๗เป็นหลักธรรมที่ใช้ละกิเลสเบื้องสูง :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2012, 12:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 22:55
โพสต์: 213

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
สังเกตมานานแล้ว ถ้ามีใครเข้ามาถามปัญหาในทำนอง เป็นทุกข์ใจหรือกำลังแค้นใจ
มีบ้างท่านแนะนำว่าให้ใช้พรหมวิหารสี่ ผมอ่านแล้ว ไม่รู้ว่าผมผิดมนุษย์เขาหรือเปล่า
แทนที่จะออกมาในแนวดร่าม่า ผมกลับไปตลกขบขันกับสิ่งที่เพื่อนๆให้คำแนะนำครับ

พรหมมวิหารสี่!? คุณโฮฮับใครตอบแบบนี้?? ฮา

กำลังฐานยังไม่มี จะเอาพรหมวิหารสี่มาจากไหน
ถ้าแค้นใจ ก็เล่นกีฬา หรือให้อาหารปลา ทำกิจกรรมที่สนุกๆ ก่อน จากนั้นค่อยพิจารณาโทษของความโกรธ พิจารณาดูว่าโกรธแล้วได้อะไร แล้วตั้งมั่นกับตัวเองว่าจะยกความโกรธออกไป คือพออารมณ์หรืออาการทางกายเกิดที่เรียกว่าความโกรธเกิดขึ้น ก็บอกกับตัวเองว่าจะไม่ขอโกรธ อาการที่เกิดขึ้นก็สักแต่เป็นอาการทางกาย แค่นี้ก็ระงับผุดๆ โผล่ๆ ไม่ให้ถี่ไม่ให้แรงได้ส่วนหนึ่งแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2012, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:


ผู้ใหญ่ หรือ ท่านผู้เป็นใหญ่นี้ คือ พรหม ในพระพุทธศาสนา หมายถึงผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่ คือยิ่งใหญ่ด้วยความดีงาม หรือมีคุณธรรมยิ่งใหญ่ หรือไม่ก็แปลว่าประเสริฐ ท่านสอนทุกคนให้ทำตัวเป็นพรหม


เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ครบทั้งชุดของเค้าก็ที่



:b8: เห็นด้วยครับ...ว่า..พรหมในความหมายของพุทธ...คือผู้ประเสริฐ

เมตตา...คือความรัก

กรุณา...คือความสงสาร...เห็นเขาทุกข์...ก็อยากให้เขาพ้นทุกข์...หากไม่มีความรัก(ในสัตวโลก)แล้วละก้อ...การจะไปสงสารใครมันเป็นไปไม่ได้เลย...ดังนั้น...จะสงสารได้ก็เพราะมีความรักเป็นทุนอยู่ก่อนแล้ว

มุทิตา....คือยินดีกับเขาด้วยเมื่อเห็นเขามีสุข...หากรักใครสงสารใครไม่เป็น...ความรู้สึกว่าดีใจกับเขาเมื่อเขามีความสุขก็คงไม่เกิด

จะเห็นว่า...เมตตา...กรุณา...มุทิตา....เป็นธรรมเนื้อเดียวกัน...มีพร้อมกัน...แยกเป็นอิสระเมื่อไร..ตัวมันเองก็ไม่เป็นตัวมันเองเมื่อนั้น...และหากแยกมองทีละตัวเมื่อไร...ก็เห็นมันเป็นกิเลสเมื่อนั้น...

และสุดท้าย...ธรรมที่ทำให้ธรรมหรืออารมณ์ของเมตตา...กรุณา..มุทิตา....เป็นธรรมที่ยิ่งใหญ่...คือ..อุเบกขาธรรม...เพราะ..เป็นธรรมที่รักษาใจไม่ให้เกิดภพ.....ทั้งสุคติภพ....และ...ทุกคติภพ

ดังนั้น...พรหมวิหาร 4 เป็นธรรมของผู้ประเสริฐ...จริง ๆ
พี่กบผมเลี้ยงหมาขี้เรื้อนไว้สามตัวไม่รู้หมาใครผมสงสารให้ข้าวมันกินซื้อยามาให้มันเรียกว่าอะไรครับ

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร