วันเวลาปัจจุบัน 25 ก.ค. 2025, 19:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2012, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนมาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี
เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์

ดูตามศัพท์นั้นก็ตรงๆ
เขาไปฟ้อนรำ ไปร้องเพลง ไปเล่นไปบรรเลงดนตรีดีดสีตีเป่าไหม เปล่า

ถ้าเราไม่ได้เป็นผู้กระทำ การฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี
ทั้งหมดรวมเรียกว่า...การละเล่น

และเว้นจากการดู การละเล่นคือ เว้นจากการดูฟ้อนรำ ฟังเพลง และฟังดนตรี
กรัชกาย เขียน:
และเขาไปดู...สิ่งเหล่านั้นไหม เปล่า เขาอยู่ที่บ้าน ฟังเรียกว่า เพลงแล้วกัน ซึ่งมีเนื้อที่ประกอบด้วยอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เท่ากับว่าเขาได้ข้อคิดจากสิ่งที่ฟังนั้นแล้ว แล้วก็ไม่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ (ชีวิตประเสริฐ)

กรัชกาย พูดแบบนี้แหล่ะที่สหประชาชาติ ให้สัตยาบันร่วมกันว่าเวอรี่ดริ๊ฟ
แปลว่า..ไอ้นี่มันตะแบงแถ สมควรแอนตี้คนอย่างนี้คบไม่ได้ :b9:

ที่เขารัองเพลงแล้วมีเนื้อ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาน่ะ
เพราะไม่มีใครเขาอยากฟังเสียงเทศนาเปล่าๆ
ที่เขาฟังเพลงนั้นเป็นเพราะเขาอยากฟังเสียงดนตรี กับทำนองเพลง
แบบนี้เขาเรียกว่า..เอากิเลสไปล่อคนมีกิเลส :b13:
กรัชกาย เขียน:
แต่ในวงเล็บ (และการดูมันรวมไปถึงการฟังด้วย) นี่ตะแบง ทำไปทำมาจะเป็นสีลัพพตปรามาส :b1: ไปล่ะน้า

ตะแบงน่ะมันเป็นนายกรัชกายเอ๋ย ถามหน่อยที่เรียกว่า เสียงเพลงนายใช้ตาฟังหรือ

เอาศีลพรตปรามาสมาคุยอีกแล้ว บอกกี่ครั้งแล้วว่า ให้แยกศีลข้อห้ามกับสัมมาศีล
ที่คุยกันอยู่มันเป็นเรื่องของศีลข้อห้าม
กรัชกาย เขียน:
เอางี้ก่อนดีไหม ทำความเข้าใจจุดเริ่มต้นกันก่อน ที่..ถือศีลสมาทานสิกขาบทกันอยู่เนี่ย ทำทำไม ? และเพื่ออะไร ?

จะคุยเรื่องต่อไปเอาเรื่องเก่าให้จบก่อนไปดีหรือ
ไอ้เรื่องที่บอกว่า นางกุมภทาสีร้องเพลงสอนคนน่ะ
ทวงพุทธพจน์ ทวงพระไตรปิฎกหลายหนแล้วนะ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2012, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะแตกหน่อออกเกินไป มาทำความเข้าใจถึงการสมาทานศีลก่อนว่า ทำไปทำไม ? และทำไปเพื่ออะไร? เอาจุดนี้ให้ตรงหลักก่อน

ศีลไม่ใช่ข้อห้าม (ศีลเป็นข้อห้ามเป็นศีลของศาสนาอื่น) ศีลหรือสิกขาบทเป็นการฝึกหัดขัดเกลาตนเองในระดับต้นๆคือระดับกาย เช่นศีล 8 :b1:

ส่วนศีล 5 เพื่อความสงบเรียบร้อยอยู่เป็นปกติสุขของหมู่ชน :b1: ลองใล่ดูเป็นข้อๆ

ส่วนเรื่องนางกุมภาทาสีดังกล่าว มีเรื่องเล่าไว้ว่า นางกำลังหักฟืนอยู่ในป่า แล้วมีสามเณรเดินทางมาได้ฟังเสียงเพลงขับซึ่งมีเนื้อประกอบด้วยอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาตามก็บรรลุพระอรหันต์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2012, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายและขอบเขตของศีล 5 และศีลจำพวกเดียวกันนั้น ที่จำกันมามักว่าตามที่อธิบายสืบๆกันมาในชั้นหลัง ตอนนี้จะนำพุทธพจน์มาให้สังเกตก่อนดังนี้

“คหบดีทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายสำหรับน้อมเข้ามาเทียบตัว...

1. อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเองอยากมีชีวิต ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์
ถ้าใครจะปลงชีวิตเรา ผู้อยากอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา
ก็ถ้าเรา จะปลงชีวิตคนอื่นผู้อยากอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่นเหมือนกัน

สิ่งใด ตัวเราเองไม่ชื่นชอบ ไม่พอใจ ถึงคนอื่นเขาก็ไม่ชื่นชอบ ไม่พอใจเหมือนกัน
สิ่งใด ตัวเราเองก็ไม่ชอบ ไม่พอใจ ไฉนจะพึงเอาไปผูกใส่ ให้คนอื่นเล่า

อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้ ย่อมงดเว้นจากปาณาติบาต ด้วยตนเองด้วย ย่อมชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากปาณาติบาตด้วย ย่อมกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์ทั้งสามด้านอย่างนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2012, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


2. อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ถ้าใคร จะถือเอาสิ่งของที่มิได้ให้ด้วยอาการขโมย ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา
ก็ถ้าเรา จะถือเอาของที่ผู้อื่นมิได้ให้ด้วยอาการขโมย ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน....

3. อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็ถ้าใคร จะประพฤติผิดในภรรยาของเรา ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา
ก็ถ้าเรา จะประพฤติผิดในภรรยาของคนอื่น ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน....


4. อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็ถ้าใคร จะทำลายประโยชน์ของเรา ด้วยการกล่าวเท็จ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา
ก็ถ้าเรา จะทำลายประโยชน์ของคนอื่น ด้วยการกล่าวเท็จก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน....

5. อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ถ้าใครจะยุยงเราให้แตกจากมิตร ด้วยคำส่อเสียด ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา
ก็ถ้าเราจะยุยงคนอื่นให้แตกจากมิตร ด้วยคำส่อเสียด ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบ ที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน...

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2012, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


6. อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ถ้าใครจะพูดจากะเราด้วยคำหยาบ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา
ก็ถ้าเราจะพูดจากะคนอื่นด้วยคำหยาบ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน...

7. อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ถ้าใครจะพูดจากะเราด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา
ก็ถ้าเราจะพูดจากะคนอื่นด้วยคำเพ้อเจ้อ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบไม่พอใจเหมือนกัน
สิ่งใดตัวเราเอง ก็ไม่ชอบ ไม่พอใจ ไฉนจะพึงเอาไปผูกใส่ให้คนอื่นเล่า

อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อด้วยตนเองด้วย ย่อมชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อด้วย ย่อมกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการพูดเพ้อเจ้อด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์ทั้งสามด้านอย่างนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2012, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าใจว่าอย่างไร เธอทั้งหลายเคยได้เห็นหรือได้ยินบ้างไหมว่า บุรุษนี้ละปาณาติบาต เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตแล้ว พระราชาทั้งหลายจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำการตามปัจจัย เพราะการงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นเหตุ ?

“ไม่เคย พระเจ้าข้า”

“ถูกแล้ว ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน...มีแต่เขาจะประกาศการกระทำชั่วว่า คนผู้นี้ ฆ่าหญิงหรือชายตาย พระราชาทั้งหลายจึงจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำการตามปัจจัย เพราะปาณาติบาตเป็นเหตุ อย่างนี้เธอทั้งหลาย เคยเห็นหรือเคยได้ยินบ้างไหม ?

“เคยเห็น เคยได้ยิน และจักได้ยินต่อไปด้วย พระเจ้าข้า”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2012, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ตัดข้อความที่ซ้ำๆกันออก)

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าใจว่าอย่างไร เธอทั้งหลายเคยได้เห็นหรือได้ยินบ้างไหมว่า (บุรุษนี้ละอทินนาทาน เป็นผู้งดเว้นจากอทินนาทานแล้ว....
จากกาเมสุมิจฉาจารแล้ว...
จากมุสาวาทแล้ว...
จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานแล้ว)

พระราชาทั้งหลาย จึงจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำการตามปัจจัย เพราะการงดเว้นจากอทินนาทาน...
จากกาเมสุมิจฉาจาร...
จากมุสาวาท...
จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานเป็นเหตุ”

“ไม่เคย พระเจ้าข้า”

“ถูกแล้ว ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน...มีแต่เขาจะประกาศการกระทำชั่วว่า คนผู้นี้ ลักทรัพย์เขามาจากบ้าน หรือจากป่า... คนผู้นี้ ประพฤติละเมิดในสตรีหรือในบุตรีของผู้อื่น....
คนผู้นี้ ทำลายประโยชน์ของชาวบ้าน หรือลูกชาวบ้านด้วยการกล่าวเท็จ...

คนผู้นี้ ร่ำสุราเมรัย ฯ แล้วประพฤติละเมิดในสตรี หรือ ในบุตรีของผู้อื่น....
คนผู้นี้ ร่ำสุราเมรัย ฯ แล้วทำลายประโยชน์ของชาวบ้าน หรือลูกชาวบ้าน ด้วยการกล่าวเท็จ
พระราชาทั้งหลายจึงจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำการตามปัจจัย
เพราะอทินนาทาน.. .
กาเมสุมิจฉาจาร...
มุสาวาท...
สุราเมรัย ฯ เป็นเหตุ อย่างนี้เธอทั้งหลาย เคยเห็น หรือเคยได้ยินบ้างไหม”

“เคยเห็น เคยได้ยิน และจักได้ยินต่อไปด้วย พระเจ้าข้า”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2012, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไปดูที่อรรถกถากล่าวไว้บ้าง


พระอรรถกถาจารย์ได้ประมวลหลักเกณฑ์บางอย่างไว้สำหรับกำหนดว่า การกระทำแค่ไหนเพียงใดจึงจะชื่อว่า เป็นการละเมิดศีลแต่ละข้อๆ เป็นการให้ความสะดวกแก่ผู้รักษาศีล โดยจัดวางเป็นองค์ประกอบของการละเมิด เรียกว่าสัมภาระ หรือเรียกกันง่ายๆว่า องค์

บุคคลจะชื่อว่าละเมิดศีล (เรียกกันง่ายๆว่าศีลข้อนั้นจะขาด) ต่อเมื่อกระทำการครบองค์ทั้งหมด
ของการละเมิด ดังนี้

ศีลข้อ 1 ปาณาติบาต มีองค์ 5 คือ

1. สัตว์มีชีวิต
2. รู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต
3. จิต คิดจะฆ่า
4. มีความพยายาม
5. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น


ต้องการดูต่อก็ที่ :b1:

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=1694.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2012, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับศีลข้อที่ 1 แม้ว่าการฆ่าสัตว์ ท่านจะมุ่งเอาสัตว์ที่เรียกว่ามนุษย์เป็นหลัก ดังพุทธพจน์ที่ยกมาแสดงแล้ว แต่สัตว์จำพวกที่เรียกว่าดิรัจฉานก็รักชีวิต รักสุข เกลียดทุกข์ เป็นเพื่อนร่วมโลก เกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน ไม่ควรเบียนเช่นเดียวกัน

ศีลข้อนี้ ท่านจึงให้แผ่คลุมไปถึงสัตว์จำพวกที่เรียกว่าดิรัจฉานด้วย แต่ยอมรับว่าการฆ่าสัตว์จำพวกดิรัจฉานมีโทษน้อยกว่าการฆ่าสัตว์จำพวกมนุษย์

และพระอรรถกถาจารย์ก็ได้แสดงหลักสำหรับวินิจฉัยว่า การฆ่าสัตว์ใดมีโทษน้อยหรือโทษมาก คือ

1. คุณ สัตว์มีคุณมาก ฆ่าก็มีโทษมาก สัตว์มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณก็มีโทษน้อย เช่น ฆ่าพระอรหันต์มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ฆ่าสัตว์ช่วยงานมีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ดุร้าย เป็นต้น

2. ขนาดกาย สำหรับสัตว์จำพวกดิรัจฉานที่ไม่มีคุณเหมือนกัน ฆ่าสัตว์ใหญ่มีโทษมาก ฆ่าสัตว์เล็กมีโทษน้อย

3. ความพยายาม มีความพยายามมากในการฆ่ามีโทษมาก มีความพยายามน้อยมีโทษน้อย

4. กิเลสหรือเจตนา กิเลสหรือเจตนาแรงมีโทษมาก กิเลสหรือเจตนาอ่อนมีโทษน้อย เช่น ฆ่าสัตว์ด้วยโทสะหรือจงใจเกลียดชัง มีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ด้วยป้องกันตัว เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2012, 15:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เอาศีลพรตปรามาสมาคุยอีกแล้ว บอกกี่ครั้งแล้วว่า ให้แยกศีลข้อห้ามกับสัมมาศีล
ที่คุยกันอยู่มันเป็นเรื่องของศีลข้อห้าม



ใครห้าม บอกหน่อยดิ :b10:

เขาเต็มใจฝึกหัดขัดเกลาตัวเขาเองตามนั้น หากวันใดเขาหมดความอดทนที่จะฝึกต่อแล้ว (เหมือนผู้ที่เข้าบวชชีพราหมณ์ เป็นระยะเวลาสั้นๆ) เขาก็กลับมาที่สิกขาบท 5 หรือ ศีล 5 ที่เป็นนิจศีล ซึ่งมนุษย์ผู้หวังความสงบเรียบร้อยของพวกตนพึงปรารถนา

หากสมัยใดมนุษย์ไม่ปรารถนาความเป็นปกติสุขในสังคมของพวกตน ศีล 5 ข้อก็ปฏิเสธ ไม่มีไม่เอามันแล้วสมัยนั้น มนุษย์จะรู้ด้วยตัวของเขาเองว่า อะไรเกิดขึ้นกับพวกตน :b1: (พูดกว้างๆให้เห็นภาพสภาพสังคมมี ไม่มีศีล 5)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2012, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เอาศีลพรตปรามาสมาคุยอีกแล้ว บอกกี่ครั้งแล้วว่า ให้แยกศีลข้อห้ามกับสัมมาศีล
ที่คุยกันอยู่มันเป็นเรื่องของศีลข้อห้าม


สัมมาศีล


อะไรสัมมาศีล เป็นไง ช่วยอธิบายชัดๆหน่อยดิ :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2012, 01:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
จะแตกหน่อออกเกินไป มาทำความเข้าใจถึงการสมาทานศีลก่อนว่า ทำไปทำไม ? และทำไปเพื่ออะไร? เอาจุดนี้ให้ตรงหลักก่อน

กรัชกายจะคุยธรรมน่ะ กรุณาอย่าเล่ห์เหลี่ยมได้มั้ย รู้ก็บอกว่ารู้ ไม่รู้ก็บอกไม่รู้ ทำไมต้องโยกโย้
อย่าลืมซิว่าเราไม่ได้กำลังพนันขันต่อกันอยู่ ที่เข้ามาคุยก็ปรารถนาให้ธรรมมะเป็นทาน

เรื่องแตกหน่อนี่ใครมันแตก มันก็กรัชกายเองนั้นแหล่ะ ประเด็นมันอยู่ที่
ผมเข้ามาวิจารณ์บิกทู่เรื่องการถือศีลแปด ไม่เห็นด้วยกับการที่บิกทู่เอาศีลแปด
มาคุยโม้คุยโต แสดงอาการทำให้ดูเหมือน เป็นคนเคร่งอยู่ในศีลแปดอย่างเคร่งครัด
ก็แสดงบอกถึง การถือศีลแปดอย่างเคร่งครัดเขาทำกันอย่างไร

กรัชกายไปลากเอาบุคคลที่อยู่ในพระไตรปิฎกมา
พอเข้าถามหาที่มา ก็หาให้เขาไม่ได้ แกล้งเปลี่ยนเรื่อง ...
อย่างนี่ใครกันที่มันแตกหน่อ


เรื่องทำความเข้าใจกับสมาทานศีลน่ะ ผมว่ากรัชกายไปทำความเข้าใจกับ
กับสติ สมาธิให้ดีก้อนไม่ดีกว่าหรือ จะได้มีสัมปขัญญะจับต้นชนปลาย
กับเนื้อหาในประเด็นที่คุยกัน

บอกกรัชกายไว้เลยว่า ให้เอาสติอยู่กับประเด็นสำคัญ
และประเด็นสำคัญก็ ตัวบิกทู่ คุยในสิ่งที่บิกทู่คุยและทำ
เรากำลังวิจารณ์ตัวบิกทู่กับศีลแปดอยู๋เข้าใจมั้ย

แล้วเรื่องที่เอานางกุมภทาสีมาอ้าง แล้วหาพุทธพจน์มาเป็นหลักฐานไม่ได้ก็ไม่เป็นไร
มันรู้นิสสัยกันดีอยู่แล้ว แค่อยากบอกว่า....
นิทานชาดกไม่ใช่พุทธพจน์น่ะไอ้นู๋ คุยกับใครอยู่ให้มันรู้ซะบ้าง :b32:

กรัชกาย เขียน:
ศีลไม่ใช่ข้อห้าม (ศีลเป็นข้อห้ามเป็นศีลของศาสนาอื่น) ศีลหรือสิกขาบทเป็นการฝึกหัดขัดเกลาตนเองในระดับต้นๆคือระดับกาย เช่นศีล 8 :b1:
ส่วนศีล 5 เพื่อความสงบเรียบร้อยอยู่เป็นปกติสุขของหมู่ชน :b1: ลองใล่ดูเป็นข้อๆ

พูดไม่คิด เมื่อกี้เห็นพูดเรื่อง สมาทานศีลอยู่เหย่งๆ

ความหมายของศีล ถ้าจะกล่าวโดยเนื้อแท้แล้ว มันเป็นสติ
นั้นก็คือ การระลึกนึกถึงเรื่องที่เป็นกุศลเพื่อมาดับ สิ่งที่เป็นอกุศลนี่หมายถีงจิต
เนื้อแท้แล้วคือ ไม่ให้เกิดการกระทำอกุศลทางกายและวาจา

ศีลไม่จำเป็นว่าจะกี่ข้อ ขอให้มีสติระลึกรู้กุศลไม่ให้เกิดอกุศลทางกายและวาจาเขาก็เรียกว่า...ศีล

แล้วทำไมถึงเรียกศีลเป็นข้อห้าม อันที่จริงศีลหมายถึงความเป็นปกติทางกาย ทางวาจา
การไม่ทำอะไรที่เป็นอกุศลทางกายและวาจา เขาเรียกว่า...ความปกติ
การไปสมาทานศีลห้าหรือศีลแปดเข้ามาปฏิบัติเมื่อไร สิ่งที่สมาทานมาย่อมต้องเป็นกฎที่ต้องปฏิบัติ
ไม่ว่าจะเป็นการกระทำหรือไม่กระทำ ศีลที่ไม่กระทำจึงเรียกว่า ศีลข้อห้าม


ศีลห้าหรือศีลแปด ถ้าไม่ได้สมาทานศีล เขาเรียกว่าความเป็นปกติ
แต่เมื่อใดไปสมาทานศีลห้าหรือศีลแปด เขาเรียกว่า....ศีลข้อห้าม :b13:

กรัชกาย เขียน:
ส่วนเรื่องนางกุมภาทาสีดังกล่าว มีเรื่องเล่าไว้ว่า นางกำลังหักฟืนอยู่ในป่า แล้วมีสามเณรเดินทางมาได้ฟังเสียงเพลงขับซึ่งมีเนื้อประกอบด้วยอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาตามก็บรรลุพระอรหันต์

ความสำคัญมันอยู่ที่ใครเป็นคนเล่า ถ้าไม่ใช่พุทธพจน์หรือพระอานนท์เป็นผู้เล่า
แบบนี่เอามาอ้างอิงไม่ได้ เขาเรียก...ตีไข่ใส่สี :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2012, 10:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ฝึกศึกษาพัฒนาในศีล จะต้องเข้าใจหลักการ สาระสำคัญ และสิ่งที่สำคัญยิ่ง คือ วัตถุประสงค์ของศีลเหล่านั้น ทั้งในส่วนรายละเอียดที่ต่างกัน และส่วนรวมสูงสุด ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงจะมีความเข้าใจถูกต้อง ไม่งมงาย ปฏิบัติธรรมไม่ผิดพลาดและได้ผลจริง



สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต คือความยึดถือผิดพลาดไปว่า จะบริสุทธิ์ จะหลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลพรต ได้แก่ การถือศีล ระเบียบ แบบแผน บทบัญญัติ และข้อปฏิบัติต่างๆ โดยสักว่าทำตามๆกันไปอย่างงมงาย เห็นเป็นขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แต่รูปแบบหรือพิธีรีตอง ก็ดี ถือด้วยตัณหาและทิฐิ คือปฏิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะเห็นว่าจะทำไห้ได้เป็นนั่นเป็นนี่ ก็ดี ไม่เป็นไปตามความหมาย และความมุ่งหมายที่แท้จริงของศีลและพรต ทำให้เขวออกนอกลู่นอกทาง หรือเลยเถิดไป เป็นอย่างศีลและพรตของนักบำเพ็ญตบะเป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2012, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิกขาปทัง (สิกขาบท ) หมายถึง ข้อศึกษา หรือข้อฝึกความประพฤติ

ที่เราเรียกกันว่าศีลๆนั้น เดิมเรียก “สิกขาบท” เราสมาทานศีล (ขอศีล) แต่พระท่านให้สิกขาบท (ไม่ใช่ให้ศีล) เพื่อไปศึกษา ไปฝึกเอาเอง เมื่อฝึกสำเร็จ...เราก็เป็นผู้มีศีลตามข้อนั้นๆ

ดังนั้นศีลแต่ละข้อๆ มีคำว่า “สิกขาบท” อยู่ทุกๆข้อ ไม่ว่าเป็น ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ดู สังเกตสิกขาปทัง (สิกขาบท)

1. ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปทัง สมาทิยามิ

ฯลฯ

5. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปทัง สมาทิยามิ

6. วิกาลาโภชนา เวรมณี สิกขาปทัง สมาทิยามิ

7. นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนา มาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา เวรมณี สิกขาปทัง สมาทิยามิ

8. อุจจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกขาปทัง สมาทิยามิ


ศีล 5 (นิจศีล) (สิกขาบท 5) คลุมกว้างถึงสภาพแวดล้อมคนในสังคมทั้งสิ้นต้องมีศีล 5 เพื่อความสงบเรียบร้อยของหมู่ชน

และแล้วต่อมา เมื่อผู้นั้นๆ มีอุตสาหะวิริยะมีจิตสำนึกว่า เออ...ปกติเราก็มีศีล 5 อยู่พอควรแล้ว อย่ากระนั้นเลยมาฝึกหัดพัฒนาตนไปอีกขั้นหนึ่ง ก็จึงสมาทานศีล 8 (สิกขาบท 8) ...ปกติก็สทารสันโดษอยู่แล้ว ไหนลองงดเว้นสักระยะหนึ่งสิ มันจะเป็นอะไรไหม เราจะอยู่ได้ไหม ฯลฯ

ปกติเคยกินข้าววันละสามมื้อ ไหนลองงดมื้อเย็นสักมื้อสิ มันจะเป็นอะไรไหม จะอยู่ได้ไหม ฯลฯ

ปกติเคยดูละครทีวีเรื่องชิงรักหักสวาท นางร้ายกับนางเอกตบตีกันสนั่นจอ นึกสงสารนางเอก น้ำตาไหลพลอยเกลียดนางอิจฉาไปด้วย ไหนลองงดเว้นไม่ดูสิจะอยู่ได้ไหม จะเป็นอะไรไหม ฯลฯ จะหันมาดูสิ่งที่ให้แง่คิดบันเทิงธรรม...จะฟังก็ฟังเรื่องให้แง่คิดชวนบันเทิงในธรรมสิ (ไม่ใช่ห้ามฟังห้ามดู) มันจะเป็นอะไรไหม จะอยู่ได้ไหม ฯลฯ

ปกติหลังอาบน้ำเคยผัดหน้าทาปากใส่น้ำอบน้ำปรุง ฯลฯ ไหนมาลองเว้นดูบ้างสิ มันจะเป็นอะไรไหม จะอยู่ได้ไหม ฯลฯ

ปกติเคยนอนบนเตียงบนที่นอนอันอ่อนนุ่ม ไหนลองปูเสื่อนอนกับพื้นบ้างสิ มันจะเป็นอะไรไหม มันจะอยู่ได้ไหม ฯลฯ

ทั้งหมดนี้คือการฝึกตนเองเพื่อความเบาสบายไม่เป็นภาระเกินจำเป็น

ศีล 5 เพ่งกว้างออกไป แต่ศีล 8 เพ่งแคบเข้ามาที่ตนเองเพื่อฝึกหัดขัดเกลายิ่งๆขึ้นอีก เพื่อเป็นฐานของสมาธิขั้นต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ก.ย. 2012, 10:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2012, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
เอาศีลพรตปรามาสมาคุยอีกแล้ว บอกกี่ครั้งแล้วว่า ให้แยกศีลข้อห้ามกับสัมมาศีล
ที่คุยกันอยู่มันเป็นเรื่องของศีลข้อห้าม

ใครห้าม บอกหน่อยดิ :b10:

มันไม่เกี่ยวว่าใครห้าม แต่บางขณะศีลข้อห้ามกับสัมมาศีลมันไปในทางเดียวกันไม่ได้
อย่างคนที่เข้าใจเรื่องสัมมาศีล ยังกล่าวว่า พวกถือศีลอย่างเคร่งครัดโดยไม่คำนึงถึง
สถานะ ความเป็นอยู่และสภาวะแวดล้อม เขาเรียกพวกนี้ว่า ศีลพรตปรามาส

ศีลห้าศีลแปดมันเป็นก้าวแรกของการปฏิบัติ มันเป็นเรื่องของปุถุชน
ที่ยังปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ จึงจำเป็นตัองปฏิบัติในเรื่องศีล
เพื่อมิให้ประมาท จะได้ไม่ต้องตกไปในอบายภูมิ เรียกว่าถ้าจิตยังยึด
ก็ให้ยึดแต่สิ่งดีๆสิ่งที่เป็นกุศล

ส่วนอริยบุคคลเป็นผู้วางดีวางชั่วแล้ว ตายไปก็ไม่ไปอบายภูมิ
ท่านจึงไม่ได้สนใจเรื่องศีลข้อห้าม เห็นแต่เพียงเป็นความปกติของกายใจ
คือท่านไม่ล่วงศีล แต่ก็ไม่ได้เห็นศีลเป็นสิ่งสำคัญ
กรัชกาย เขียน:
เขาเต็มใจฝึกหัดขัดเกลาตัวเขาเองตามนั้น หากวันใดเขาหมดความอดทนที่จะฝึกต่อแล้ว (เหมือนผู้ที่เข้าบวชชีพราหมณ์ เป็นระยะเวลาสั้นๆ) เขาก็กลับมาที่สิกขาบท 5 หรือ ศีล 5 ที่เป็นนิจศีล ซึ่งมนุษย์ผู้หวังความสงบเรียบร้อยของพวกตนพึงปรารถนา

อยากฝึกไม่มีใครเขาว่าหรอก แต่ที่เขาพูดน่ะเพื่อให้รู้ว่ากำลังปฏิบัติผิด
เคยบอกว่าศีลเป็นก้าวแรกๆ แทนที่จะก้าวไปข้างหน้าดันเดินถอยหลัง

อย่างเรื่องศีลแปดท่านกำหนดไว้ตายตัวแล้วว่า ห้ามทำอะไร
พอมีคนมาชี้จุดบกพร่องให้ดู ยังมีหน้ามาแถโน้นนี่ ทำไม่ได้ก็ไม่ต้องทำ
ใครเขาจะไปยุ่งด้วย แต่ไอ้ประเภททำไม่ได้แล้วยังมีหน้ามาคุยโตโอ้อวด
แบบนี่พูดให้โหดหน่อยก็ต้องว่า ต้องแล่เนื้อเถือหนังแล้วเอาเกลือทา :b32:
กรัชกาย เขียน:
หากสมัยใดมนุษย์ไม่ปรารถนาความเป็นปกติสุขในสังคมของพวกตน ศีล 5 ข้อก็ปฏิเสธ ไม่มีไม่เอามันแล้วสมัยนั้น มนุษย์จะรู้ด้วยตัวของเขาเองว่า อะไรเกิดขึ้นกับพวกตน :b1: (พูดกว้างๆให้เห็นภาพสภาพสังคมมี ไม่มีศีล 5)

เลอะเทอะแล้ว กรัชกายบ้าน้ำลาย พูดคนละเรื่อง เรื่องในประเด็นไม่พูด
เอาเรื่องที่ไม่เกี่ยวมาพูดสงสัยจะกลบเกลื่อน เรื่องเก่า :b13:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร