วันเวลาปัจจุบัน 16 พ.ค. 2025, 14:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2012, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของพระเดชพระคุณเจ้าพระธรรมปิฏก ก็ได้กล่าวถึงจิตไว้ดังนี้
"จิต มีไวพจน์ คือ คำที่ต่างเพียงรูป แต่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน ใช้แทนกันได้หลายคำ เช่น มโน มานัส หทัย บัณฑร มนายตนะ มนินทรีย์ และ วิญญาณ เป็นต้น คำเหล่านี้มีความหมายเกยกัน มิใช่ตรงกันโดยสมบูรณ์ ใช้แทนกันได้ในบางโอกาส มิใช่เสมอไป
เมื่อจัดแบ่งสภาวธรรมทั้งหลายเป็นประเภทๆ ที่เรียกว่า ขันธ์ ๕ จิตได้แก่ วิญญาณขันธ์.
ส่วนคัมภีร์อภิธรรมรุ่นอรรถกถา ประมวลเรื่องจิตที่แสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฎกแล้ว แจงนับสภาพจิตทั้งหลายไว้ว่ามีจำนวน ๘๙ หรือโดยพิสดารมี ๑๒๑ เรียกว่า จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑
แบ่ง โดยชาติหรือลักษณะของการเกิดแบบต่างๆ เป็น อกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗) วิปากจิต ๓๖ (๕๒) และกิริยาจิต ๒๐;
แบ่ง โดยภูมิ เป็น กามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)."

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2012, 07:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
อ้างคำพูด:
ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของพระเดชพระคุณเจ้าพระธรรมปิฏก ก็ได้กล่าวถึงจิตไว้ดังนี้
"จิต มีไวพจน์ คือ คำที่ต่างเพียงรูป แต่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน ใช้แทนกันได้หลายคำ เช่น มโน มานัส หทัย บัณฑร มนายตนะ มนินทรีย์ และ วิญญาณ เป็นต้น คำเหล่านี้มีความหมายเกยกัน มิใช่ตรงกันโดยสมบูรณ์ ใช้แทนกันได้ในบางโอกาส มิใช่เสมอไป
เมื่อจัดแบ่งสภาวธรรมทั้งหลายเป็นประเภทๆ ที่เรียกว่า ขันธ์ ๕ จิตได้แก่ วิญญาณขันธ์.
ส่วนคัมภีร์อภิธรรมรุ่นอรรถกถา ประมวลเรื่องจิตที่แสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฎกแล้ว แจงนับสภาพจิตทั้งหลายไว้ว่ามีจำนวน ๘๙ หรือโดยพิสดารมี ๑๒๑ เรียกว่า จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑
แบ่ง โดยชาติหรือลักษณะของการเกิดแบบต่างๆ เป็น อกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗) วิปากจิต ๓๖ (๕๒) และกิริยาจิต ๒๐;
แบ่ง โดยภูมิ เป็น กามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)."


แล้วท่านคิดว่า ทำไมพระองค์จึงตรัสเพี่ยงว่า จิตหลุดพ้น จิตวิมุติ แต่ไม่มี วิญญาณหลุดพ้น หรือ มโนหลุดพ้น ครับ
ถามท่าน อโสกะ ด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2012, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
nongkong เขียน:
คุนน้องสงสัยว่า ถ้าบอกว่า จิตกับวิญญาณอย่างเดียวกัน แล้วทำไมเราต้องพิจารณา ขันธ์5 ว่า องค์ประกอบของขันธ์5 รูป เวทนา สังขาร สัญญา วิญญาณ นั่นไม่ใช่เราไม่มีเราในขันธ์5 จิต คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเรามีเรา แล้วขันธ์5ก็ประกอบไปด้วยกิเลศที่เรียกว่าสังโยชน์10 แล้วเราจะละขันธ์5ไปเพื่ออะไร ถ้ายังมีวิญญาณอยู่ ก็ไอ้ตัววิญญาณไม่ใช่หรือเจ้าค่ะที่เป็นตัว ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์5ทั้งปวง คุนน้องว่าจิตกับวิญญาณไม่ใช่อย่างเดียวกันเจ้าค่ะ มาตอบคำถามให้คุนน้องหายสงสัยด้วยเจ้าค่ะ ว่าคุนน้องเข้าใจผิดถูกประการใด ผู้อาวุโสท่านใดที่เมตตา อนุโมทนาเจ้าค่ะ :b8:


ออกความคิดเห็นนิดนึงนะครับ ว่า
แสดงว่า คุณน้อง อยากปฏิบัติเพื่อ ให้มีคุณน้อง ไปอยู่ในนิพพาน ชั้ยมั้ยครับ
แล้วที่สติปัฏฐานสี่ ให้วิปัสสนาที่ จิต ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อนัตตา นั้น คุณน้อง คิดว่าอย่างไร ละครับ

:b8:

คุนน้องไม่ได้โลภอยากไปนิพพาน คุณน้องปฏิบัติได้แค่ไหนก็แค่นั้น ตามกำลังของตน รู้จักโพธิปักขิยธรรม 37 รึป่าวเจ้าค่ะ แล้วคุณน้องมีลิงค์มาอ้างอิงเกี่ยวกับจิตและวิญาณ อยากน้อยคุณน้องก็เข้าใจถูกตามความเข้าใจของตน
http://dhama9.exteen.com/20090628/entry


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2012, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิต วิญญาณ อันเดียวกันแหละ
ที่เรียกต่างกัน เพราะทำหน้าที่ต่างกัน

เหมือนคนเรา มีแขน ขา ตา หู จมูก ฯลฯ
รวมกันเข้า เราก็เรียกว่า คน ..

:b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2012, 16:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
nongkong เขียน:
คุนน้องสงสัยว่า ถ้าบอกว่า จิตกับวิญญาณอย่างเดียวกัน แล้วทำไมเราต้องพิจารณา ขันธ์5 ว่า องค์ประกอบของขันธ์5 รูป เวทนา สังขาร สัญญา วิญญาณ นั่นไม่ใช่เราไม่มีเราในขันธ์5 จิต คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเรามีเรา แล้วขันธ์5ก็ประกอบไปด้วยกิเลศที่เรียกว่าสังโยชน์10 แล้วเราจะละขันธ์5ไปเพื่ออะไร ถ้ายังมีวิญญาณอยู่ ก็ไอ้ตัววิญญาณไม่ใช่หรือเจ้าค่ะที่เป็นตัว ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์5ทั้งปวง คุนน้องว่าจิตกับวิญญาณไม่ใช่อย่างเดียวกันเจ้าค่ะ มาตอบคำถามให้คุนน้องหายสงสัยด้วยเจ้าค่ะ ว่าคุนน้องเข้าใจผิดถูกประการใด ผู้อาวุโสท่านใดที่เมตตา อนุโมทนาเจ้าค่ะ :b8:


ออกความคิดเห็นนิดนึงนะครับ ว่า
แสดงว่า คุณน้อง อยากปฏิบัติเพื่อ ให้มีคุณน้อง ไปอยู่ในนิพพาน ชั้ยมั้ยครับ
แล้วที่สติปัฏฐานสี่ ให้วิปัสสนาที่ จิต ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อนัตตา นั้น คุณน้อง คิดว่าอย่างไร ละครับ

:b8:

คุนน้องไม่ได้โลภอยากไปนิพพาน คุณน้องปฏิบัติได้แค่ไหนก็แค่นั้น ตามกำลังของตน รู้จักโพธิปักขิยธรรม 37 รึป่าวเจ้าค่ะ แล้วคุณน้องมีลิงค์มาอ้างอิงเกี่ยวกับจิตและวิญาณ อยากน้อยคุณน้องก็เข้าใจถูกตามความเข้าใจของตน
http://dhama9.exteen.com/20090628/entry


รู้จักโพธิปักขิยธรรม 37 รึป่าวเจ้าค่ะ : รู้จัก แต่ไม่รู้จะดีแค่ไหน :b16:

หากคุณน้องจะเชื่ออะไร ผมว่า พิจารณาหลายๆด้านนะครับ ลองหาอ่านดู
..ความหมายของจิตในพระไตรปิฎก จากพระไตรปิฎก เล่มที่ 29
..จิต เกิดได้อย่างไร ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ก็จะทำให้เข้าใจได้ชัดแจ้งขึ้น. จากพระไตรปิฎก เล่มที่ 14 เรื่อง มหาปุณณมสูตร
..นามรูป เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่ง จิต ซึ่งจะไปสัมพันธ์กับพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 19 เรื่อง
สมุทยสูตร
..สัตว์เกิดขึ้นได้อย่างไร พระพุทธพจน์ ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 16 และ 25
..จากพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 มโนวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
..ความหมายของ จิตหลุดพ้น อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 14
ลองศึกษาแล้ววิปัสสนา ดูนะครับ ก่อนจะเชื่อ
สาธุครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2012, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
nongkong เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
nongkong เขียน:
คุนน้องสงสัยว่า ถ้าบอกว่า จิตกับวิญญาณอย่างเดียวกัน แล้วทำไมเราต้องพิจารณา ขันธ์5 ว่า องค์ประกอบของขันธ์5 รูป เวทนา สังขาร สัญญา วิญญาณ นั่นไม่ใช่เราไม่มีเราในขันธ์5 จิต คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเรามีเรา แล้วขันธ์5ก็ประกอบไปด้วยกิเลศที่เรียกว่าสังโยชน์10 แล้วเราจะละขันธ์5ไปเพื่ออะไร ถ้ายังมีวิญญาณอยู่ ก็ไอ้ตัววิญญาณไม่ใช่หรือเจ้าค่ะที่เป็นตัว ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์5ทั้งปวง คุนน้องว่าจิตกับวิญญาณไม่ใช่อย่างเดียวกันเจ้าค่ะ มาตอบคำถามให้คุนน้องหายสงสัยด้วยเจ้าค่ะ ว่าคุนน้องเข้าใจผิดถูกประการใด ผู้อาวุโสท่านใดที่เมตตา อนุโมทนาเจ้าค่ะ :b8:


ออกความคิดเห็นนิดนึงนะครับ ว่า
แสดงว่า คุณน้อง อยากปฏิบัติเพื่อ ให้มีคุณน้อง ไปอยู่ในนิพพาน ชั้ยมั้ยครับ
แล้วที่สติปัฏฐานสี่ ให้วิปัสสนาที่ จิต ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อนัตตา นั้น คุณน้อง คิดว่าอย่างไร ละครับ

:b8:

คุนน้องไม่ได้โลภอยากไปนิพพาน คุณน้องปฏิบัติได้แค่ไหนก็แค่นั้น ตามกำลังของตน รู้จักโพธิปักขิยธรรม 37 รึป่าวเจ้าค่ะ แล้วคุณน้องมีลิงค์มาอ้างอิงเกี่ยวกับจิตและวิญาณ อยากน้อยคุณน้องก็เข้าใจถูกตามความเข้าใจของตน
http://dhama9.exteen.com/20090628/entry


รู้จักโพธิปักขิยธรรม 37 รึป่าวเจ้าค่ะ : รู้จัก แต่ไม่รู้จะดีแค่ไหน :b16:

หากคุณน้องจะเชื่ออะไร ผมว่า พิจารณาหลายๆด้านนะครับ ลองหาอ่านดู
..ความหมายของจิตในพระไตรปิฎก จากพระไตรปิฎก เล่มที่ 29
..จิต เกิดได้อย่างไร ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ก็จะทำให้เข้าใจได้ชัดแจ้งขึ้น. จากพระไตรปิฎก เล่มที่ 14 เรื่อง มหาปุณณมสูตร
..นามรูป เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่ง จิต ซึ่งจะไปสัมพันธ์กับพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 19 เรื่อง
สมุทยสูตร
..สัตว์เกิดขึ้นได้อย่างไร พระพุทธพจน์ ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 16 และ 25
..จากพระไตรปิฎกเล่มที่ 35 มโนวิญญาณธาตุ เป็นไฉน
..ความหมายของ จิตหลุดพ้น อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 14
ลองศึกษาแล้ววิปัสสนา ดูนะครับ ก่อนจะเชื่อ
สาธุครับ

เจ้าค่ะ เด่วคุนน้องจะไปศึกษาอ่านให้เข้าใจมากกว่านี้ แต่คุนน้องก็ไม่เก่งเรื่องแปลความในพระไตรปิฏกเท่าไหร่นัก แต่ปัญญาพอจะเข้าใจธรรมมะของพระพุทธองค์อยู่ไม่มากก็น้อยเจ้าค่ะ :b44: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2012, 17:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
ฝึกจิต....ถาม
แล้วท่านคิดว่า ทำไมพระองค์จึงตรัสเพี่ยงว่า จิตหลุดพ้น จิตวิมุติ แต่ไม่มี วิญญาณหลุดพ้น หรือ มโนหลุดพ้น ครับ
ถามท่าน อโสกะ ด้วยนะครับ
:b4:
asoka ตอบ
อย่างที่คุณฝึกจิตถามเนี้ยะ ลงล๊อคแล้วครับที่ว่าเรียกจิตนามธรรมนี้ตามลักษณะการทำงาน
:b48:
เมื่อรู้หรือ หลุดพ้น เป็นจิต
เมื่อรับรู้ทางทวารทั้ง 6 และเป็นปฏิสนธิจิต เรียกว่าวิญญาณ

:b39:
อ้างอิง ....อีกนัยยะหนึ่งคือ การเรียกชื่อตามลักษณะการทำงาน
จิต คือธรรมชาติ "รู้" เกิดขึ้น จากเหตุและปัจจัยกระทบกัน
วิญญาณ คือ ผู้รับรู้ อาศัยทวารทั้ง 6 เป็นที่เกิด
:b32:
ถ้าจะให้ลงในเรื่องของขันธ์ 5 ต้องสังเกตให้ดีตอนที่นั่งภาวนาจะสังเกตเห็นว่ามีจิตที่มาทำงานอยู่หลายลักษณะ (จิตเวลาไปทำงานต้องมีเจตสิกมาประกอบจึงจะทำงานได้ อันนี้คุณฝึกจิตคงเข้าใจดีอยู่แล้วนะครับ)
จิต+สตินทรีย์เจตสิก ทำหน้าที่รู้ทันสภาวะและอารมณ์ที่เกิดขึ้นดับไป ระลึกได้ ไม่ลืม
จิต+ปัญญินทรีย์เจตสิก(สัมมาทิฏฐิ) ทำหน้าที่ ดู เห็น รู้ สภาวธรรมและอารมณ์
จิต+ปัญญินทรีย์เจตสิก(สัมมาสังกัปปะ) ทำหน้าที่สังเกต พิจารณา สภาวธรรมและอารมณ์
จิต+เจตสิกทั้ง 3 ชุดจะรวมเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า "ผู้รู้"และจะเกิดขึ้นแทรกในระหว่างของสภาวธรรมและอารมณ์ต่างๆเสมอ(จิตหยาบจะมองไม่เห็นตรงนี้)
:b48:
ดังนั้นขณะที่เรานั่งภาวนาตั้งสติปัญญาขึ้นมาทำงาน เราจะได้รู้ถึงลำดับการทำงานในธาตุขันธ์ กาย ใจ หรืออินทรีย์ทั้ง 5 ตามลำดับ เริ่มต้นจากการสัมผัสของทวาร ตัวอย่างเช่น
ตา กระทบ รูป จักขุวิญญาณธาตุ(ประสาทตา) รับรู้ รูป(แสง สีและลักษณะ) ตอนนี้วิญญาณรู้รูปเกิดขึ้นแต่ยังไม่มีคำแปลว่าเป็นอะไร แล้วส่งต่อไปยัง มโนวิญญาณธาตุ ประสาทรับรู้ที่หัวใจ
:b42:
มโนวิญญาณธาตุรับรู้ แล้ว ส่งไปค้นเทียบกับ สัญญา ความจำหมาย ถ้าสิ่งที่เห็นนั้นไม่มีบันทึกในสัญญา สังขาร อันจะเริ่มจากปัญญาสัมมาสังกัปปะ จะมาสังเกต พิจารณา ค้นหาคำตอบเพื่อป้อนกลับมาให้ใจรู้
เมื่อใจรู้ว่าเป็นอะไรนั้นเป็น ทิฏฐิ เป็นสัมมาถ้าเห็นตามที่มันเป็นจริง เป็น มิจฉา ถ้าเห็นตามสมมุติบัญญัติ สังขารความปรุงแต่งว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้จะเกิดขึ้นเต็มที่ตอนนี้ ทันทีนั้นเวทนาจะเกิดขึ้นตามมา เมื่อมีความยินดียินร้ายหรือเฉยๆกับสิ่งที่รู้และปรุง ถึงตอนนี้ขันธ์ 5 ก็ครบองค์ลองเช็คกลับดูนะครับ
:b16:
ที่อธิบายมาคร่าวๆนี้เป็นแบบลูกทุ่ง ถ้าจะเอาแบบลูกกรุงต้องเอาอภิธรรม มาจับ ต้องอธิบายโดยนักอภิธรรมครับ ผมไม่ชำนาญคัมภีร์และคงจะยกคำภีร์มาอ้างอย่างที่นิยมทำกันนั้นคงหวังไม่ได้จากASOKA แน่ครับ
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2012, 20:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12:
ฝึกจิต....ถาม
แล้วท่านคิดว่า ทำไมพระองค์จึงตรัสเพี่ยงว่า จิตหลุดพ้น จิตวิมุติ แต่ไม่มี วิญญาณหลุดพ้น หรือ มโนหลุดพ้น ครับ
ถามท่าน อโสกะ ด้วยนะครับ
:b4:
asoka ตอบ
อย่างที่คุณฝึกจิตถามเนี้ยะ ลงล๊อคแล้วครับที่ว่าเรียกจิตนามธรรมนี้ตามลักษณะการทำงาน
:b48:
เมื่อรู้หรือ หลุดพ้น เป็นจิต
เมื่อรับรู้ทางทวารทั้ง 6 และเป็นปฏิสนธิจิต เรียกว่าวิญญาณ

:b39:
อ้างอิง ....อีกนัยยะหนึ่งคือ การเรียกชื่อตามลักษณะการทำงาน
จิต คือธรรมชาติ "รู้" เกิดขึ้น จากเหตุและปัจจัยกระทบกัน
วิญญาณ คือ ผู้รับรู้ อาศัยทวารทั้ง 6 เป็นที่เกิด
:b32:
ถ้าจะให้ลงในเรื่องของขันธ์ 5 ต้องสังเกตให้ดีตอนที่นั่งภาวนาจะสังเกตเห็นว่ามีจิตที่มาทำงานอยู่หลายลักษณะ (จิตเวลาไปทำงานต้องมีเจตสิกมาประกอบจึงจะทำงานได้ อันนี้คุณฝึกจิตคงเข้าใจดีอยู่แล้วนะครับ)
จิต+สตินทรีย์เจตสิก ทำหน้าที่รู้ทันสภาวะและอารมณ์ที่เกิดขึ้นดับไป ระลึกได้ ไม่ลืม
จิต+ปัญญินทรีย์เจตสิก(สัมมาทิฏฐิ) ทำหน้าที่ ดู เห็น รู้ สภาวธรรมและอารมณ์
จิต+ปัญญินทรีย์เจตสิก(สัมมาสังกัปปะ) ทำหน้าที่สังเกต พิจารณา สภาวธรรมและอารมณ์
จิต+เจตสิกทั้ง 3 ชุดจะรวมเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า "ผู้รู้"และจะเกิดขึ้นแทรกในระหว่างของสภาวธรรมและอารมณ์ต่างๆเสมอ(จิตหยาบจะมองไม่เห็นตรงนี้)
:b48:
ดังนั้นขณะที่เรานั่งภาวนาตั้งสติปัญญาขึ้นมาทำงาน เราจะได้รู้ถึงลำดับการทำงานในธาตุขันธ์ กาย ใจ หรืออินทรีย์ทั้ง 5 ตามลำดับ เริ่มต้นจากการสัมผัสของทวาร ตัวอย่างเช่น
ตา กระทบ รูป จักขุวิญญาณธาตุ(ประสาทตา) รับรู้ รูป(แสง สีและลักษณะ) ตอนนี้วิญญาณรู้รูปเกิดขึ้นแต่ยังไม่มีคำแปลว่าเป็นอะไร แล้วส่งต่อไปยัง มโนวิญญาณธาตุ ประสาทรับรู้ที่หัวใจ
:b42:
มโนวิญญาณธาตุรับรู้ แล้ว ส่งไปค้นเทียบกับ สัญญา ความจำหมาย ถ้าสิ่งที่เห็นนั้นไม่มีบันทึกในสัญญา สังขาร อันจะเริ่มจากปัญญาสัมมาสังกัปปะ จะมาสังเกต พิจารณา ค้นหาคำตอบเพื่อป้อนกลับมาให้ใจรู้
เมื่อใจรู้ว่าเป็นอะไรนั้นเป็น ทิฏฐิ เป็นสัมมาถ้าเห็นตามที่มันเป็นจริง เป็น มิจฉา ถ้าเห็นตามสมมุติบัญญัติ สังขารความปรุงแต่งว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้จะเกิดขึ้นเต็มที่ตอนนี้ ทันทีนั้นเวทนาจะเกิดขึ้นตามมา เมื่อมีความยินดียินร้ายหรือเฉยๆกับสิ่งที่รู้และปรุง ถึงตอนนี้ขันธ์ 5 ก็ครบองค์ลองเช็คกลับดูนะครับ
:b16:
ที่อธิบายมาคร่าวๆนี้เป็นแบบลูกทุ่ง ถ้าจะเอาแบบลูกกรุงต้องเอาอภิธรรม มาจับ ต้องอธิบายโดยนักอภิธรรมครับ ผมไม่ชำนาญคัมภีร์และคงจะยกคำภีร์มาอ้างอย่างที่นิยมทำกันนั้นคงหวังไม่ได้จากASOKA แน่ครับ
onion


:b8: ครับ
ตามที่ผมคิดว่าเห็น และหาข้อมูลมาบ้างนั้น ภายในขันธ์5 นั้น ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ การทำงาน หรือจำเป็นต้องเกิดครบ หรือ บ้างครั้ง ก็เกิดซ้ำกันได้

แต่ผมว่า มันเริ่มจะเลยเถิด พ้นจากหนทางดับทุกข์ไปเสียแล้ว
ขอจบแค่นี้ดีกว่า ฟุ้งซ่าน จนจะเป็น ดีซ่าน แย้ว
ขอบคุณที่สนทนา ครับ ทุกท่าน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2012, 23:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แล้วท่านคิดว่า ทำไมพระองค์จึงตรัสเพี่ยงว่า จิตหลุดพ้น จิตวิมุติ แต่ไม่มี วิญญาณหลุดพ้น หรือ มโนหลุดพ้น ครับ
ถามท่าน อโสกะ ด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ


คุณฝึกจิตได้ศึกษาพระพุทธพจน์โดยละเอียดแล้วหรือ จึงกล่าวว่า พระพุทธองค์ ไม่ได้ตรัสว่าวิญญาณหลุดพ้น หรือมโนหลุดพ้น


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 23 พ.ค. 2012, 01:27, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 00:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


เคยอ่านเจอของท่านพ่อลีครับ

โค้ด:
ต่อไปนี้จะย้อนกล่าวในเรื่องจิตอีกสักหน่อย คำที่ว่าจิตๆ นั้นแยกออกโดยอาการ ๓ อย่างคือ

๑. สภาพจิตเดิม
๒. จิต
๓. จิตประสมด้วยอารมณ์

อาการทั้งหลายเหล่านี้รวมเรียกว่าจิต ถ้าใครไม่รู้เช่นนี้ไม่เรียกว่าเป็นผู้รู้จิตได้ มีแต่จะพูดกันว่าจิตเกิดจิตดับ จิตไม่เกิดไม่ดับ จิตดี จิตชั่ว จิตสูญ จิตไม่สูญ จิตเป็นธรรม จิตไม่ใช่ธรรม จิตพ้น จิตไม่พ้น จิตเป็นนิพพาน จิตไม่ใช่นิพพาน จิตเป็นวิญญาณ จิตไม่ใช่วิญญาณ จิตเป็นใจ ใจไม่ใช่จิต

ตามพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ แนวทางปฏิบัติมีอยู่สองทางเท่านั้น คือ กายวาจาใจนี้หนึ่ง กายวาจาจิตนี้หนึ่ง สองจุดนี้ในที่สุดก็ไปรวมจุดเดียวกัน จุดที่ประสงค์แท้จริงนั้นก็คือความหลุดพ้น

ฉะนั้น เมื่อท่านทั้งหลายต้องการทราบความจริงนั้นๆ จำเป็นอยู่ที่จะต้องปฏิบัติให้เข้าถึงด้วยตนเอง มิฉะนั้น ก็จะต้องทุ่มเถียงกันอยู่ไม่เว้นวาย ปัญหาอันนี้ถ้าผู้ใดปฏิบัติไม่รู้แจ้งเห็นจริงแล้ว นักปราชญ์ท่านกล่าวว่า “เสทโมจนคาถา” แปลว่าคำพูดที่เหงื่อไหลขี้ไคลแตก ฉะนั้น จึงมีความประสงค์จะอธิบายสักหน่อยว่า

สภาพจิตนั้นเป็นสภาพที่รู้อยู่อย่างเดียวนี้หนึ่ง

กระแสที่คิดแล่นออกมาจากรู้ไปสู่อารมณ์ต่างๆ นั้นเรียกว่า จิตนี้หนึ่ง

เมื่อเข้าไปสัมปยุตกับอารมณ์แล้วหลงอารมณ์นั้นๆ กลายตัวเป็นกิเลส เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมองเรียกว่าจิตผสมนี้หนึ่ง

๑. จิต ๒. จิตผสม จิตสองดวงนี้ จะดีก็ตามจะชั่วก็ตาม ต้องเกิด ต้องดับ ต้องทำลายอยู่เป็นธรรมดา ต้นของจิตทั้งสองนี้เป็นสภาพจิตเดิม ย่อมไม่เกิดไม่ดับ เป็นฐิติธรรมประจำอยู่ด้วยอาการเช่นนั้น สภาพจิตเดิมนั้นที่เรียกว่าปภัสสร ผู้แต่งหมายเอาสภาพจิตอันเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ที่เป็นอยู่ตามธรรมดานี้เอง แต่ไม่มีใครสามารถเข้าไปล่วงรู้ เมื่อไม่รู้ย่อมไม่ให้ผลดี ตัวอย่างเช่น พูดกันว่าลิงได้แก้ว ฉะนั้นจึงสมควรแท้ที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าอวิชชา แปลว่า ความรู้มืด ความรู้ไม่จริง สมกับว่า “ปพฺพนฺเต อญาณํ” แปลว่า ไม่รู้เบื้องต้น ได้แก่ ไม่รู้ในสภาพจิตเดิม “ปรนฺเต อญาณํ” แปลว่าไม่รู้เบื้องปลาย คือ ไม่รู้จิตที่ผสมกับอารมณ์แล้ว “มชฺฌนฺติก อญาณํ” แปลว่าไม่รู้ในท่ามกลาง คือ ไม่รู้จักกระแสจิตที่แล่นออกจากสภาพที่รู้เดิม เมื่อเป็นเช่นนี้จิตก็กลายเป็นสังขาร ย่อมปรุงแต่งเสกสรรค์ฟั่นเฟือนไปด้วยประการต่างๆ ดังมีอธิบายในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานด้วยประการฉะนี้


จาก viewtopic.php?f=2&t=38465

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 01:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: หลวงพ่อลี...กล่าวได้ดีมากเลย

สาธุ..คุณคนธรรมดา...ที่นำธรรมะดี ดี...มาให้ได้อ่าน :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 01:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
อ้างคำพูด:
แล้วท่านคิดว่า ทำไมพระองค์จึงตรัสเพี่ยงว่า จิตหลุดพ้น จิตวิมุติ แต่ไม่มี วิญญาณหลุดพ้น หรือ มโนหลุดพ้น ครับ
ถามท่าน อโสกะ ด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ


คุณฝึกจิตได้ศึกษาพระพุทธพจน์โดยละเอียดแล้วหรือ จึงกล่าวว่า พระพุทธองค์ ไม่ได้ตรัสว่าวิญญาณหลุดพ้น หรือมโนหลุดพ้น


จริงๆ แล้วผมก็ไม่เคยพบในพระไตรปิฎกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าวิญญาณหลุดพ้นเช่นกัน
ก็จะพบคำว่า จิตหลุดพ้น นี่แหละเยอะแยะไปหมด


Quote Tipitaka:
ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้ อาสวะ นี้อาสวสมุทัย
นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ
แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติ
สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 01:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


จากธรรมสังคณีปกรณ์ มหันตรทุกะ


[๗๖๖] ธรรมมีอารมณ์ เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมี
อารมณ์.

ธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นไฉน?
รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีอารมณ์.

[๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.

ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.


[๗๖๘] ธรรมเป็นเจตสิก เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเจตสิก.

ธรรมไม่เป็นเจตสิก เป็นไฉน?
จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเจตสิก
.
[๗๖๙] ธรรมสัมปยุตด้วยจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยจิต.
ธรรมวิปปยุตจากจิต เป็นไฉน?

รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปยุตจากจิต.
จิต จะกล่าวว่าสัมปยุตด้วยจิตก็ไม่ได้ ว่าวิปปยุตจากจิตก็ไม่ได้.

[๗๗๐] ธรรมเจือกับจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเจือกับจิต.

ธรรมไม่เจือกับจิต เป็นไฉน?
รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิต.
จิต จะกล่าวว่าเจือกับจิตก็ไม่ได้ ว่าไม่เจือกับจิตก็ไม่ได้.
......................................
..............................


.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 06:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
เคยอ่านเจอของท่านพ่อลีครับ

โค้ด:
ต่อไปนี้จะย้อนกล่าวในเรื่องจิตอีกสักหน่อย คำที่ว่าจิตๆ นั้นแยกออกโดยอาการ ๓ อย่างคือ

๑. สภาพจิตเดิม
๒. จิต
๓. จิตประสมด้วยอารมณ์

อาการทั้งหลายเหล่านี้รวมเรียกว่าจิต ถ้าใครไม่รู้เช่นนี้ไม่เรียกว่าเป็นผู้รู้จิตได้ มีแต่จะพูดกันว่าจิตเกิดจิตดับ จิตไม่เกิดไม่ดับ จิตดี จิตชั่ว จิตสูญ จิตไม่สูญ จิตเป็นธรรม จิตไม่ใช่ธรรม จิตพ้น จิตไม่พ้น จิตเป็นนิพพาน จิตไม่ใช่นิพพาน จิตเป็นวิญญาณ จิตไม่ใช่วิญญาณ จิตเป็นใจ ใจไม่ใช่จิต

ตามพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ แนวทางปฏิบัติมีอยู่สองทางเท่านั้น คือ กายวาจาใจนี้หนึ่ง กายวาจาจิตนี้หนึ่ง สองจุดนี้ในที่สุดก็ไปรวมจุดเดียวกัน จุดที่ประสงค์แท้จริงนั้นก็คือความหลุดพ้น

ฉะนั้น เมื่อท่านทั้งหลายต้องการทราบความจริงนั้นๆ จำเป็นอยู่ที่จะต้องปฏิบัติให้เข้าถึงด้วยตนเอง มิฉะนั้น ก็จะต้องทุ่มเถียงกันอยู่ไม่เว้นวาย ปัญหาอันนี้ถ้าผู้ใดปฏิบัติไม่รู้แจ้งเห็นจริงแล้ว นักปราชญ์ท่านกล่าวว่า “เสทโมจนคาถา” แปลว่าคำพูดที่เหงื่อไหลขี้ไคลแตก ฉะนั้น จึงมีความประสงค์จะอธิบายสักหน่อยว่า

สภาพจิตนั้นเป็นสภาพที่รู้อยู่อย่างเดียวนี้หนึ่ง

กระแสที่คิดแล่นออกมาจากรู้ไปสู่อารมณ์ต่างๆ นั้นเรียกว่า จิตนี้หนึ่ง

เมื่อเข้าไปสัมปยุตกับอารมณ์แล้วหลงอารมณ์นั้นๆ กลายตัวเป็นกิเลส เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมองเรียกว่าจิตผสมนี้หนึ่ง

๑. จิต ๒. จิตผสม จิตสองดวงนี้ จะดีก็ตามจะชั่วก็ตาม ต้องเกิด ต้องดับ ต้องทำลายอยู่เป็นธรรมดา ต้นของจิตทั้งสองนี้เป็นสภาพจิตเดิม ย่อมไม่เกิดไม่ดับ เป็นฐิติธรรมประจำอยู่ด้วยอาการเช่นนั้น สภาพจิตเดิมนั้นที่เรียกว่าปภัสสร ผู้แต่งหมายเอาสภาพจิตอันเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ที่เป็นอยู่ตามธรรมดานี้เอง แต่ไม่มีใครสามารถเข้าไปล่วงรู้ เมื่อไม่รู้ย่อมไม่ให้ผลดี ตัวอย่างเช่น พูดกันว่าลิงได้แก้ว ฉะนั้นจึงสมควรแท้ที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าอวิชชา แปลว่า ความรู้มืด ความรู้ไม่จริง สมกับว่า “ปพฺพนฺเต อญาณํ” แปลว่า ไม่รู้เบื้องต้น ได้แก่ ไม่รู้ในสภาพจิตเดิม “ปรนฺเต อญาณํ” แปลว่าไม่รู้เบื้องปลาย คือ ไม่รู้จิตที่ผสมกับอารมณ์แล้ว “มชฺฌนฺติก อญาณํ” แปลว่าไม่รู้ในท่ามกลาง คือ ไม่รู้จักกระแสจิตที่แล่นออกจากสภาพที่รู้เดิม เมื่อเป็นเช่นนี้จิตก็กลายเป็นสังขาร ย่อมปรุงแต่งเสกสรรค์ฟั่นเฟือนไปด้วยประการต่างๆ ดังมีอธิบายในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานด้วยประการฉะนี้


จาก viewtopic.php?f=2&t=38465


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 06:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
จากธรรมสังคณีปกรณ์ มหันตรทุกะ


[๗๖๖] ธรรมมีอารมณ์ เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมี
อารมณ์.

ธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นไฉน?
รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีอารมณ์.

[๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.

ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.


[๗๖๘] ธรรมเป็นเจตสิก เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเจตสิก.

ธรรมไม่เป็นเจตสิก เป็นไฉน?
จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเจตสิก
.
[๗๖๙] ธรรมสัมปยุตด้วยจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยจิต.
ธรรมวิปปยุตจากจิต เป็นไฉน?

รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปยุตจากจิต.
จิต จะกล่าวว่าสัมปยุตด้วยจิตก็ไม่ได้ ว่าวิปปยุตจากจิตก็ไม่ได้.

[๗๗๐] ธรรมเจือกับจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเจือกับจิต.

ธรรมไม่เจือกับจิต เป็นไฉน?
รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือกับจิต.
จิต จะกล่าวว่าเจือกับจิตก็ไม่ได้ ว่าไม่เจือกับจิตก็ไม่ได้.
......................................
..............................
.

ลงตัวเลยครับท่าน กับพระพุทธพจน์นี้ ทำให้มันใจขึ้นกับการที่ได้วิปัสสนามาว่า ............
ผมขอสรุปแบบคนโง่ๆ สักนิดนะครับ

สมมุติ นะครับ ว่า ที่พระพุทธองค์ ตรัส คือ วิญญาณ เป็นสิ่งเดียวกับ จิต เพียงแต่คนละกิริยา ของมันเท่านั้น วิญญาณ=รับรู้ จิต=นึกรู้ จากนั้น มาดูที่ว่า จิตเห็นจิต หรือ จิตในจิต ดูนะครับว่ามันคืออะไร
เมื่อวิญญาณรับผัสสะมา วิญญาณกลายเป็นหรือถูกเรียกว่า จิต(นึกรู้)(ที่มีอวิชชา) ทำงานร่วม เจตสิก กลายเป็น กระแส ปฏิจจสมุปบาท จนเกิดทุกข์
ทุกข์เกิด จาก เจตสิก ทำงาน ที่ทำงานร่วมกับ จิต ทุกข์จึง มาเป็นที่จิต
แล้วมาดูว่าทำไมจึง ว่า จิตเห็นจิต หรือ จิตในจิต นะครับ
ในแง่ปัจจุบันขณะ และ ข้ามภพชาติ
จิตเห็นจิต(วิญญาณที่รับผัสสะมา) นำธรรมมาพิจารณาลงตัดกระแส ปฏิจจสมุปบาท ทุกข์ไม่ทันเกิด และพิจารณา ในความเป็นอนัตตาของจิตนั้นที่ เดี่ยวเกิดเดียวดับได้ด้วย(ลงสติปัฏฐานจิต) หรือหากตัดไม่ทันเกิดทุกข์ ก็จะพิจารณา ให้เห็นว่า จิตหรือ วิญญาณ นั้นแหละ คือตัวทุกข์ สู่การละจางคลายยึดมั่น ใน ขันธ์
ในแง่ กาย เวทนา และ ธรรมก็เช่นเดียวกัน ครับ
จะเห็นว่า หากเพียร จิตเห็นจิต จะเป็นการเดินมรรค อย่างยิ่ง ทำได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ต้องเริ่มจาก สติ ก่อน
นั้นแล
คงจะเห็นแล้วนะครับว่า ทำไม พระองค์จึงเรียกว่า จิตหลุดพ้น
แล้วแต่จะพิจารณา ครับ
ขอบคุณครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร