วันเวลาปัจจุบัน 19 พ.ค. 2025, 07:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 338 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 23  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
อ้างคำพูด:
เช่นนั้น
อวิชชา เป็นปัจจัย แก่สังขาร...

สัตว์(ผู้ข้องในภพ 3) คือจิตที่เจือไปด้วยอวิชชา สัตว์นี้เมื่อประสพกับอารมณ์ ย่อมหน่วงรั้งเอาอารมณ์นั้นมาปรุงแต่งประกอบกรรมทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง...
นี่เป็นห่วงแรก มีต้นคืออวิชชา มีปลายคือสังขาร กองทุกข์ทั้งมวลย่อมเกิดขึ้น
เมื่ออวิชชาดับ สังขารจึงดับ
คือเมื่อรู้ เมื่อสัตว์นั้น ได้แล้วซึ่งวิชชา เป็นผู้รู้ผู้เห็น คือวิมุติญาณทัสสนะ ย่อมไม่หน่วงเอาอารมณ์นั้นมาปรุงแต่งประกอบกรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ

สังขาร เป็นปัจจัยแก่วิญญาณ
สัตว์นั้นเมื่อประกอบเจตนาเป็นกรรมทางกายบ้าง เป็นกรรมทางวาจาบ้าง เป็นกรรมทางใจบ้าง
วิญญาณจึงตั้งขึ้น ไปรู้ ตามชนิดของเจตนาที่ประกอบกรรมนั้น
เมื่อประกอบกรรมทางกาย วิญญาณก็ไปตั้งอยู่ที่กาย
เมื่อประกอบกรรมทางวาจา วิญญาณก็ไปตั้งอยู่รู้อยู่ที่วาจา
เมื่อประกอบกรรมทางใจ วิญญาณก็ไปตั้งอยู่รู้อยู่ทางใจ
เพราะกรรม คือเจตนา เจตนาคือสังขาร
สังขาร เป็นปัจจัยแก่วิญญาณ
เมื่อสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
นี่เป็นห่วงถัดมา มีต้น คือสังขาร มีปลายคือวิญญาณ

เจริญธรรม




สวัสดีค่ะ คุณเช่นนั้น...เมื่อคืนดิฉันพิจารณา ในสิ่งที่คุณเช่นนั้นแนะทั้งคืน..คิดถึงเรื่องอวิชชาเกี่ยวข้องกับขันธ์5 ได้อย่างไร ในสิ่งที่คุณได้แนะนำนั้น ดิฉันไม่เคยคิดถึงความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันและกันเลย เนื่องจากว่า จิตของดิฉันไม่ได้ละเอียดพอ แค่รู้สึกว่า ใจเราไม่ติด ไม่ข้อง ก็เพียงพอ แต่เมื่อได้อ่านข้อความที่คุณเช่นนั้นได้เขียน ได้ทำให้ดิฉันต้องมาคิดทบทวน ความเป็นมาเป็นไปในการปฎิบัติและผลปฎิบัติของตัวเอง และพิจารณาต่อยอดจากสิ่งที่คุณเช่นนั้น ได้ให้ปัญญาไว้


เนื่องจากในการปฎิบัติที่ผ่านมา ดิฉันจะเทียบกับสังโยชน์ 10 เป็นเกณฑ์เสมอ ในสิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้คือ สิ่งที่ดิฉันได้พิจารณาและทบทวนดูว่า อวิชชากับขันธ์5 นั้นเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ดิฉันอยากให้คุณเช่นนั้น ช่วยเช็คให้ดิฉันหน่อยว่า สิ่งที่ดิฉันได้ทบทวนและเขียนออกมานั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะธรรมนั้นเป็นของสูงเป็นของละเอียดจะมาผิดหรือบิดเบือนตามใจตัวเองนั้นไม่ได้ ดิฉันไม่ใช่ผู้รู้ แค่เป็นผู้ฝึกและเป็นผู้เรียนรู้เท่านั้น ดิฉันจึงอยากได้ความเมตตาจากคุณเช่นนั้น และผู้รู้ท่านอื่นๆ ช่วยเช็คให้ดิฉันด้วยค่ะ

ดิฉันพิจารณาว่า

1 เมื่ออวิชชาดับ รูปนั้นยังคงอยู่แต่ จิตเราไม่เกี่ยวข้อง เห็นความเป็นไปในธรรมดาแห่งรูปนั้น ในความเป็นจริงรูปนั้นยังคงอยุ่ แต่ในทางปฎิบัตินั้นด้วยใจเราไม่ติดเราจึงคิดว่า รูปนั้นดับ ที่ดับคือดับออกไปจากใจเรา

2 เวทนา ซึ่งแปลว่า สุข ทุกข์ ไม่สุขและไม่ทุกข์นั้น ถ้าอวิชชาดับ เวทนาจะดับด้วย เพราะจากที่เราสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ อารมณ์ทั้งสามนี้ จะเปลี่ยนเป็นการวางเฉยแทน ไม่รู้สึกแทน ศัพท์ธรรมก็จะตรงกับคำว่า อุเบกขา......เวทนาจะเปลี่ยนเป็นอุเบกขาแทน

3 สัญญา เมื่ออวิชชาดับ สัญญาทั้งหมดจะเปลี่ยนเป็นปัญญาแทน เนื่องจากปัญญาเกิดทำให้มองย้อนไปถึงสัญญาที่เราได้เรียนรุ้มาในอดีตทำให้เราสามารถมองได้ทะลุแจ้งแทงได้ตลอด สัญญาถึงเปลี่ยนมาเป็นปัญญาได้ทั้งหมด

4 สังขาร ซึ่งแปลว่า การปรุงแต่ง เมื่ออวิชชาดับ การปรุงแต่งต่างๆก็จะดับไปด้วย เพราะเมื่ออวิชชาดับแล้ว จะไม่มีการปรุงต่างๆ เราก็จะไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต จะมีแต่ปัจจุบันอย่างเดียว เราจะอยู่กับปัจจุบันอย่างเดียว

5 วิญญาณ แปลว่า ประสาทการรับรู้เมื่ออวิชชาดับประสาทการรับรู้ไม่ได้ดับไปด้วย แต่เนื่องจากอวิชชาดับ ความยึดมึ่นถือมั่นในตัวตนก็ดับ ทำให้ทุกอย่างที่ประสาทการรับรู้สมผัสหรือแสดงออกมา จะเป็นกิริยาที่แสดงออกทั้งหมด เหมือนที่เราเคยเห็นพระทองคำหลายๆท่าน ยังแสดงการ ดุ การเตือน การว่า บางที่กิริยาเดิม ที่มีนิสัยโวยวายก็ยังโวยวายอยู่ นั้นคือมีแต่กิริยาที่แสดงออก เพราะตัวตน มานะตัวตนได้ถอนออกจากจิตแล้ว

สิ่งที่ดิฉันเขียนเป็นสิ่งที่ดิฉันได้พิจารณาแต่ไม่แน่ใจว่าถูกหรือไม่ และดิฉันยังไม่เข้าใจ ในขันธ์แต่ละขันธ์ว่าเกี่ยวเนื่องกันได้อย่างไร เพราะในความรุ้สึกดิฉันเห็นว่า ขันธ์แต่ละขันธ์แยกกันเป็นกองๆ ไม่มีกองใหนที่จะเชื่อมต่อกันได้ คือ ในใจนั้น กองแต่ละกองของขันธ์นั้นขาดกันอย่างชัดเจน เมื่อดิฉันมาอ่านในสิ่งที่คุณเช่นนั้นเขียนทำให้เข้าใจได้มากขึ้น

ถึงตอนนี้ คุณเช่นนั้นแนะนำดิฉันต่อได้ไหมค่ะว่า ความเกี่ยวเนื่องแต่ละขันธ์นั้นเป็นอย่างไร เพราะผลที่ใจออกมานั้นมันขาดกันอย่างสิ้นเชิง แต่ถ้าใครจะถามดิฉัน ดิฉันนั้นจะตอบไม่ได้ รุ้แต่ว่าขาด และเป็นผลอย่างที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น.....ขอบพระคุณล่วงหน้านะค่ะ :b8: :b8:
อนุโมทนา สาธุเจ้าค่ะ :b8: ในธรรมทานที่เอามาแบ่งปันทำให้ดิฉันเข้าใจรายละเอียดเพิ่มขึ้นเพราะดิฉันยังมีจุดบอด แต่ยังแก้จุดบอดตัวเองไม่ได้ โชคดีจังที่ได้ผลปฏิบัติมาเทียบเคียง
:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัตว์ ที่จิตเจือแล้วด้วยอวิชชา สัตว์รับอารมณ์ ประกอบกรรม สัตว์นั้นแล่นขึ้นสู่ทางเดินแห่งกรรม
ความเป็นสัตว์นั้น จะตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปและนามนี้ ไม่ได้ตั้งอยู่ในที่แห่งใดเลย

วิญญาณ จึงเป็นปัจจัยแก่นามรูป เพราะจิตอันเจือด้วยอวิชชา แล่นขึ้นสู่วิถี จึงรู้จึงเห็นขันธ์ 5 ต่างๆนาๆ ไปตามกรรม ความประกอบด้วยอำนาจแห่งอาสวะอนุัสัยอันเป็นพื้นจิตนั้น

วิญญาณ จึงเป็นเบื้องต้น มีนามรูปเป็นเบื้องปลาย
กองทุกข์ทั้งมวลจึงเกิดขึ้น

ถ้าวิญญาณอันเจือด้วยอวิชชาดับ นามรูปอันเป็นที่รักที่น่าปราถนาน่าพอใจจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลจึงอุบัติขึ้น

ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
1 เมื่ออวิชชาดับ รูปนั้นยังคงอยู่แต่ จิตเราไม่เกี่ยวข้อง เห็นความเป็นไปในธรรมดาแห่งรูปนั้น ในความเป็นจริงรูปนั้นยังคงอยุ่ แต่ในทางปฎิบัตินั้นด้วยใจเราไม่ติดเราจึงคิดว่า รูปนั้นดับ ที่ดับคือดับออกไปจากใจเรา

1.เมื่ออวิชชาดับ ด้วยการอุบัติขึ้นแห่งวิมุติญาณทัสสนะ คืออรหัตผล
รูปอันอาศัยภพ หลังจากจุติจิตของอรหัตผลบุคคล ย่อมดับ คือจิตไม่ทำปฏิสนธิในภพใหม่
2.เมื่ออวิชชาดับ รูปอันเป็นที่รักที่น่าปราถนาน่าพอใจนั้นดับ ที่เห็นอยู่รู้อยู่คือ รูป ตามสภาพตามเป็นจริง
จิตที่เข้าไปเกี่ยวข้องจึงเป็นเพียงกิริยาจิต
ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
2 เวทนา ซึ่งแปลว่า สุข ทุกข์ ไม่สุขและไม่ทุกข์นั้น ถ้าอวิชชาดับ เวทนาจะดับด้วย เพราะจากที่เราสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ อารมณ์ทั้งสามนี้ จะเปลี่ยนเป็นการวางเฉยแทน ไม่รู้สึกแทน ศัพท์ธรรมก็จะตรงกับคำว่า อุเบกขา......เวทนาจะเปลี่ยนเป็นอุเบกขาแทน

ถึงอวิชชาดับ เวทนาอันเป็นธรรมชาติธรรมดา ไม่ได้ดับไปด้วย เพราะแม้พระพุทธเจ้าก็ตาม พระอรหันต์ก็ตาม ก็ยังคงเสวยสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา อยู่
แต่ อวิชชาดับ เวทนาอันเป็นที่น่ารักน่าปราถนาน่ายินดี อันก่อให้เกิดความทุกข์ นั้นดับ คือความไม่ตามยินดี ไม่ตามยินร้ายในเวทนานั้น เวทนาอันเจือไปกับอวิชชานั้นดับเพราะรู้แจ้ง
ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
3 สัญญา เมื่ออวิชชาดับ สัญญาทั้งหมดจะเปลี่ยนเป็นปัญญาแทน เนื่องจากปัญญาเกิดทำให้มองย้อนไปถึงสัญญาที่เราได้เรียนรุ้มาในอดีตทำให้เราสามารถมองได้ทะลุแจ้งแทงได้ตลอด สัญญาถึงเปลี่ยนมาเป็นปัญญาได้ทั้งหมด

สัญญา คือสัญญาขันธ์
ปัญญา คือสังขารขันธ์
ไม่มีการเปลี่ยนจากขันธ์หนึ่งสู่ขันธ์หนึ่งได้
เมืออวิชชาดับ สัญญาอันเป็นที่รักที่ปราถนาที่พอใจ จึงดับ สัญญาที่ยังคงอยู่เป็นสัญญาที่ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ในโลก
ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
4 สังขาร ซึ่งแปลว่า การปรุงแต่ง เมื่ออวิชชาดับ การปรุงแต่งต่างๆก็จะดับไปด้วย เพราะเมื่ออวิชชาดับแล้ว จะไม่มีการปรุงต่างๆ เราก็จะไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต จะมีแต่ปัจจุบันอย่างเดียว เราจะอยู่กับปัจจุบันอย่างเดียว

สังขารขันธ์ ในขันธ์ 5 เป็นความคิดปรุง ปรุงคิด โดยคิดปรุงปรุงคิด จากสัญญา จากเวทนา
หากไม่มีสัญญาไม่มีเวทนาความคิดปรุงหรือปรุงคิดย่อมทำไม่ได้ คือปรุงประกอบไม่ได้
เมื่ออวิชชาดับ ความคิดความปรุงอันซ่านไปกับความเศร้าหมองต่างๆ ความรักความชังความยินดีความไม่ยินดี จึงดับ ความคิดความปรุงจึงคิดไปกับจิตอันรู้อารมณ์ในปัจจุบันตามเป็นจริง
ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
5 วิญญาณ แปลว่า ประสาทการรับรู้เมื่ออวิชชาดับประสาทการรับรู้ไม่ได้ดับไปด้วย แต่เนื่องจากอวิชชาดับ ความยึดมึ่นถือมั่นในตัวตนก็ดับ ทำให้ทุกอย่างที่ประสาทการรับรู้สมผัสหรือแสดงออกมา จะเป็นกิริยาที่แสดงออกทั้งหมด เหมือนที่เราเคยเห็นพระทองคำหลายๆท่าน ยังแสดงการ ดุ การเตือน การว่า บางที่กิริยาเดิม ที่มีนิสัยโวยวายก็ยังโวยวายอยู่ นั้นคือมีแต่กิริยาที่แสดงออก เพราะตัวตน มานะตัวตนได้ถอนออกจากจิตแล้ว

สัตว์นั้นแล่นไปใน รูปบ้าง ในเวทนาบ้าง ในสัญญาบ้าง ในสังขารบ้าง คือแล่นไปในขันธ์ทั้งหลาย
รู้ไปในขันธ์ทั้งหลายนั้น แต่รู้ไปตามสภาพของสัตว์คือเจือด้วยอวิชชา
เมื่ออวิชชาดับ ด้วยการอุบัิติแห่งวิมุติญาณทัสสนะ ความเห็นแจ้งในขันธ์ทั้งหลายย่อมเห็นตามเป็นจริง
วิญญาณที่แล่นไปสู่ขันธ์ต่างๆ ย่อมไม่ก่อให้เกิดทุกข์

อวิชชา ที่สัมพันธ์ กับขันธ์5
จึงอธิบายได้ว่า วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 16:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2012, 17:37
โพสต์: 35


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
สัตว์ ที่จิตเจือแล้วด้วยอวิชชา สัตว์รับอารมณ์ ประกอบกรรม สัตว์นั้นแล่นขึ้นสู่ทางเดินแห่งกรรม
ความเป็นสัตว์นั้น จะตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปและนามนี้ ไม่ได้ตั้งอยู่ในที่แห่งใดเลย

วิญญาณ จึงเป็นปัจจัยแก่นามรูป เพราะจิตอันเจือด้วยอวิชชา แล่นขึ้นสู่วิถี จึงรู้จึงเห็นขันธ์ 5 ต่างๆนาๆ ไปตามกรรม ความประกอบด้วยอำนาจแห่งอาสวะอนุัสัยอันเป็นพื้นจิตนั้น

วิญญาณ จึงเป็นเบื้องต้น มีนามรูปเป็นเบื้องปลาย
กองทุกข์ทั้งมวลจึงเกิดขึ้น

ถ้าวิญญาณอันเจือด้วยอวิชชาดับ นามรูปอันเป็นที่รักที่น่าปราถนาน่าพอใจจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลจึงอุบัติขึ้น

ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
1 เมื่ออวิชชาดับ รูปนั้นยังคงอยู่แต่ จิตเราไม่เกี่ยวข้อง เห็นความเป็นไปในธรรมดาแห่งรูปนั้น ในความเป็นจริงรูปนั้นยังคงอยุ่ แต่ในทางปฎิบัตินั้นด้วยใจเราไม่ติดเราจึงคิดว่า รูปนั้นดับ ที่ดับคือดับออกไปจากใจเรา

1.เมื่ออวิชชาดับ ด้วยการอุบัติขึ้นแห่งวิมุติญาณทัสสนะ คืออรหัตผล
รูปอันอาศัยภพ หลังจากจุติจิตของอรหัตผลบุคคล ย่อมดับ คือจิตไม่ทำปฏิสนธิในภพใหม่
2.เมื่ออวิชชาดับ รูปอันเป็นที่รักที่น่าปราถนาน่าพอใจนั้นดับ ที่เห็นอยู่รู้อยู่คือ รูป ตามสภาพตามเป็นจริง
จิตที่เข้าไปเกี่ยวข้องจึงเป็นเพียงกิริยาจิต
ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
2 เวทนา ซึ่งแปลว่า สุข ทุกข์ ไม่สุขและไม่ทุกข์นั้น ถ้าอวิชชาดับ เวทนาจะดับด้วย เพราะจากที่เราสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ อารมณ์ทั้งสามนี้ จะเปลี่ยนเป็นการวางเฉยแทน ไม่รู้สึกแทน ศัพท์ธรรมก็จะตรงกับคำว่า อุเบกขา......เวทนาจะเปลี่ยนเป็นอุเบกขาแทน

ถึงอวิชชาดับ เวทนาอันเป็นธรรมชาติธรรมดา ไม่ได้ดับไปด้วย เพราะแม้พระพุทธเจ้าก็ตาม พระอรหันต์ก็ตาม ก็ยังคงเสวยสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา อยู่
แต่ อวิชชาดับ เวทนาอันเป็นที่น่ารักน่าปราถนาน่ายินดี อันก่อให้เกิดความทุกข์ นั้นดับ คือความไม่ตามยินดี ไม่ตามยินร้ายในเวทนานั้น เวทนาอันเจือไปกับอวิชชานั้นดับเพราะรู้แจ้ง
ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
3 สัญญา เมื่ออวิชชาดับ สัญญาทั้งหมดจะเปลี่ยนเป็นปัญญาแทน เนื่องจากปัญญาเกิดทำให้มองย้อนไปถึงสัญญาที่เราได้เรียนรุ้มาในอดีตทำให้เราสามารถมองได้ทะลุแจ้งแทงได้ตลอด สัญญาถึงเปลี่ยนมาเป็นปัญญาได้ทั้งหมด

สัญญา คือสัญญาขันธ์
ปัญญา คือสังขารขันธ์
ไม่มีการเปลี่ยนจากขันธ์หนึ่งสู่ขันธ์หนึ่งได้
เมืออวิชชาดับ สัญญาอันเป็นที่รักที่ปราถนาที่พอใจ จึงดับ สัญญาที่ยังคงอยู่เป็นสัญญาที่ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ในโลก
ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
4 สังขาร ซึ่งแปลว่า การปรุงแต่ง เมื่ออวิชชาดับ การปรุงแต่งต่างๆก็จะดับไปด้วย เพราะเมื่ออวิชชาดับแล้ว จะไม่มีการปรุงต่างๆ เราก็จะไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต จะมีแต่ปัจจุบันอย่างเดียว เราจะอยู่กับปัจจุบันอย่างเดียว

สังขารขันธ์ ในขันธ์ 5 เป็นความคิดปรุง ปรุงคิด โดยคิดปรุงปรุงคิด จากสัญญา จากเวทนา
หากไม่มีสัญญาไม่มีเวทนาความคิดปรุงหรือปรุงคิดย่อมทำไม่ได้ คือปรุงประกอบไม่ได้
เมื่ออวิชชาดับ ความคิดความปรุงอันซ่านไปกับความเศร้าหมองต่างๆ ความรักความชังความยินดีความไม่ยินดี จึงดับ ความคิดความปรุงจึงคิดไปกับจิตอันรู้อารมณ์ในปัจจุบันตามเป็นจริง
ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
5 วิญญาณ แปลว่า ประสาทการรับรู้เมื่ออวิชชาดับประสาทการรับรู้ไม่ได้ดับไปด้วย แต่เนื่องจากอวิชชาดับ ความยึดมึ่นถือมั่นในตัวตนก็ดับ ทำให้ทุกอย่างที่ประสาทการรับรู้สมผัสหรือแสดงออกมา จะเป็นกิริยาที่แสดงออกทั้งหมด เหมือนที่เราเคยเห็นพระทองคำหลายๆท่าน ยังแสดงการ ดุ การเตือน การว่า บางที่กิริยาเดิม ที่มีนิสัยโวยวายก็ยังโวยวายอยู่ นั้นคือมีแต่กิริยาที่แสดงออก เพราะตัวตน มานะตัวตนได้ถอนออกจากจิตแล้ว

สัตว์นั้นแล่นไปใน รูปบ้าง ในเวทนาบ้าง ในสัญญาบ้าง ในสังขารบ้าง คือแล่นไปในขันธ์ทั้งหลาย
รู้ไปในขันธ์ทั้งหลายนั้น แต่รู้ไปตามสภาพของสัตว์คือเจือด้วยอวิชชา
เมื่ออวิชชาดับ ด้วยการอุบัิติแห่งวิมุติญาณทัสสนะ ความเห็นแจ้งในขันธ์ทั้งหลายย่อมเห็นตามเป็นจริง
วิญญาณที่แล่นไปสู่ขันธ์ต่างๆ ย่อมไม่ก่อให้เกิดทุกข์

อวิชชา ที่สัมพันธ์ กับขันธ์5
จึงอธิบายได้ว่า วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป

เจริญธรรม



:b8: สาธุค่ะ ยากมาก อ่านเข้าใจแต่ไม่กระจ่างได้ทั้งหมด เพราะศัพท์ธรรมนั้นแปลยากเลยเกิน สำนวนธรรมดิฉันก็ไม่ชิน เนื่องจากเรียนมาไม่ได้สูงมากนัก..เลยเข้าใจได้นิดๆหน่อยๆค่ะ คงต้องใช้เวลาในการอ่านซ้ำๆเพื่อให้ซึมแก่ใจ ถึงจะเข้าใจได้..

มีเข้าใจและกระจ่างชัดอยุ่ประโยคเดียวคือคำว่า..วิญญาณเป็นปัจจัยแห่งรูปนาม..คำๆนี้ ทำให้เข้าใจในมวลรวมทั้งหมดของขันธ์5 แต่จะบอกว่าเข้าใจยังไง ก็อธิบายไม่ได้อยู่ดี รู้แต่ว่าเข้าใจด้วยใจเท่านั้น แต่ถ้าจะให้เรียบเรียงเป็นคำพูดคงใช้เวลานาน....กราบขอบพระคุณนะค่ะที่ได้มาให้ความรู้ความกระจ่างในเรื่อง อวิชชาและขันธ์5 :b8: :b8:

ที่เหลือต้องค่อยๆไปอ่านให้เข้าใจก่อน เพราะมันยังไม่สามารถเรียบเรียงที่สมองให้กระจ่างแก่ใจได้ค่ะ :b27: :b27: ... :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 16:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2012, 17:37
โพสต์: 35


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
สัตว์ ที่จิตเจือแล้วด้วยอวิชชา สัตว์รับอารมณ์ ประกอบกรรม สัตว์นั้นแล่นขึ้นสู่ทางเดินแห่งกรรม
ความเป็นสัตว์นั้น จะตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปและนามนี้ ไม่ได้ตั้งอยู่ในที่แห่งใดเลย

วิญญาณ จึงเป็นปัจจัยแก่นามรูป เพราะจิตอันเจือด้วยอวิชชา แล่นขึ้นสู่วิถี จึงรู้จึงเห็นขันธ์ 5 ต่างๆนาๆ ไปตามกรรม ความประกอบด้วยอำนาจแห่งอาสวะอนุัสัยอันเป็นพื้นจิตนั้น

วิญญาณ จึงเป็นเบื้องต้น มีนามรูปเป็นเบื้องปลาย
กองทุกข์ทั้งมวลจึงเกิดขึ้น

ถ้าวิญญาณอันเจือด้วยอวิชชาดับ นามรูปอันเป็นที่รักที่น่าปราถนาน่าพอใจจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลจึงอุบัติขึ้น

ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
1 เมื่ออวิชชาดับ รูปนั้นยังคงอยู่แต่ จิตเราไม่เกี่ยวข้อง เห็นความเป็นไปในธรรมดาแห่งรูปนั้น ในความเป็นจริงรูปนั้นยังคงอยุ่ แต่ในทางปฎิบัตินั้นด้วยใจเราไม่ติดเราจึงคิดว่า รูปนั้นดับ ที่ดับคือดับออกไปจากใจเรา

1.เมื่ออวิชชาดับ ด้วยการอุบัติขึ้นแห่งวิมุติญาณทัสสนะ คืออรหัตผล
รูปอันอาศัยภพ หลังจากจุติจิตของอรหัตผลบุคคล ย่อมดับ คือจิตไม่ทำปฏิสนธิในภพใหม่
2.เมื่ออวิชชาดับ รูปอันเป็นที่รักที่น่าปราถนาน่าพอใจนั้นดับ ที่เห็นอยู่รู้อยู่คือ รูป ตามสภาพตามเป็นจริง
จิตที่เข้าไปเกี่ยวข้องจึงเป็นเพียงกิริยาจิต
ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
2 เวทนา ซึ่งแปลว่า สุข ทุกข์ ไม่สุขและไม่ทุกข์นั้น ถ้าอวิชชาดับ เวทนาจะดับด้วย เพราะจากที่เราสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ อารมณ์ทั้งสามนี้ จะเปลี่ยนเป็นการวางเฉยแทน ไม่รู้สึกแทน ศัพท์ธรรมก็จะตรงกับคำว่า อุเบกขา......เวทนาจะเปลี่ยนเป็นอุเบกขาแทน

ถึงอวิชชาดับ เวทนาอันเป็นธรรมชาติธรรมดา ไม่ได้ดับไปด้วย เพราะแม้พระพุทธเจ้าก็ตาม พระอรหันต์ก็ตาม ก็ยังคงเสวยสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา อยู่
แต่ อวิชชาดับ เวทนาอันเป็นที่น่ารักน่าปราถนาน่ายินดี อันก่อให้เกิดความทุกข์ นั้นดับ คือความไม่ตามยินดี ไม่ตามยินร้ายในเวทนานั้น เวทนาอันเจือไปกับอวิชชานั้นดับเพราะรู้แจ้ง
ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
3 สัญญา เมื่ออวิชชาดับ สัญญาทั้งหมดจะเปลี่ยนเป็นปัญญาแทน เนื่องจากปัญญาเกิดทำให้มองย้อนไปถึงสัญญาที่เราได้เรียนรุ้มาในอดีตทำให้เราสามารถมองได้ทะลุแจ้งแทงได้ตลอด สัญญาถึงเปลี่ยนมาเป็นปัญญาได้ทั้งหมด

สัญญา คือสัญญาขันธ์
ปัญญา คือสังขารขันธ์
ไม่มีการเปลี่ยนจากขันธ์หนึ่งสู่ขันธ์หนึ่งได้
เมืออวิชชาดับ สัญญาอันเป็นที่รักที่ปราถนาที่พอใจ จึงดับ สัญญาที่ยังคงอยู่เป็นสัญญาที่ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ในโลก
ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
4 สังขาร ซึ่งแปลว่า การปรุงแต่ง เมื่ออวิชชาดับ การปรุงแต่งต่างๆก็จะดับไปด้วย เพราะเมื่ออวิชชาดับแล้ว จะไม่มีการปรุงต่างๆ เราก็จะไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต จะมีแต่ปัจจุบันอย่างเดียว เราจะอยู่กับปัจจุบันอย่างเดียว

สังขารขันธ์ ในขันธ์ 5 เป็นความคิดปรุง ปรุงคิด โดยคิดปรุงปรุงคิด จากสัญญา จากเวทนา
หากไม่มีสัญญาไม่มีเวทนาความคิดปรุงหรือปรุงคิดย่อมทำไม่ได้ คือปรุงประกอบไม่ได้
เมื่ออวิชชาดับ ความคิดความปรุงอันซ่านไปกับความเศร้าหมองต่างๆ ความรักความชังความยินดีความไม่ยินดี จึงดับ ความคิดความปรุงจึงคิดไปกับจิตอันรู้อารมณ์ในปัจจุบันตามเป็นจริง
ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
5 วิญญาณ แปลว่า ประสาทการรับรู้เมื่ออวิชชาดับประสาทการรับรู้ไม่ได้ดับไปด้วย แต่เนื่องจากอวิชชาดับ ความยึดมึ่นถือมั่นในตัวตนก็ดับ ทำให้ทุกอย่างที่ประสาทการรับรู้สมผัสหรือแสดงออกมา จะเป็นกิริยาที่แสดงออกทั้งหมด เหมือนที่เราเคยเห็นพระทองคำหลายๆท่าน ยังแสดงการ ดุ การเตือน การว่า บางที่กิริยาเดิม ที่มีนิสัยโวยวายก็ยังโวยวายอยู่ นั้นคือมีแต่กิริยาที่แสดงออก เพราะตัวตน มานะตัวตนได้ถอนออกจากจิตแล้ว

สัตว์นั้นแล่นไปใน รูปบ้าง ในเวทนาบ้าง ในสัญญาบ้าง ในสังขารบ้าง คือแล่นไปในขันธ์ทั้งหลาย
รู้ไปในขันธ์ทั้งหลายนั้น แต่รู้ไปตามสภาพของสัตว์คือเจือด้วยอวิชชา
เมื่ออวิชชาดับ ด้วยการอุบัิติแห่งวิมุติญาณทัสสนะ ความเห็นแจ้งในขันธ์ทั้งหลายย่อมเห็นตามเป็นจริง
วิญญาณที่แล่นไปสู่ขันธ์ต่างๆ ย่อมไม่ก่อให้เกิดทุกข์

อวิชชา ที่สัมพันธ์ กับขันธ์5
จึงอธิบายได้ว่า วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป

เจริญธรรม


อ่านซ้ำๆอีกครั้ง เข้าใจแล้วค่ะ กราบขอบพระคุณนะค่ะที่แก้ไขข้อผิดให้ทราบว่า ได้คิดและตรองผิดตรงไหน ขออนุญาติถามต่อน่ะค่ะ

ถามว่า..เมื่ออวิชชาดับ..เป็นไปได้ไหมที่กองของขันธ์จะแยกออกกันอย่างชัดเจน แบบไม่เกี่ยวเนื่องกันเลย :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
ถามว่า..เมื่ออวิชชาดับ..เป็นไปได้ไหมที่กองของขันธ์จะแยกออกกันอย่างชัดเจน แบบไม่เกี่ยวเนื่องกันเลย

เมื่ออวิชชา ดับ
คือความดับแห่งความไม่รู้ตามเป็นจริงของจิตอันทำให้จิตพัวพันเวียนกลับสู่ภพ คือภาวะแห่งความมีความเป็น

พระโพธิสัตว์ในคืนแห่งการตรัสรู้ ได้ดับอวิชชา สำเร็จมรรคผล อุบัติเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระสัมมาสัมพุทธองค์ ก็ยังมีกองขันธ์ทั้ง 5 นี้อยู่
แต่จิตของพระองค์ เป็นวิมุตติจิต พระองค์จึงดำรงอยู่ด้วยวิชชา วิมุตติ
และทรงดำเนิน สั่งสอนเวไนยสัตว์ตลอดพระชนม์ชีพก็ด้วยอาศัยขันธ์ทั้ง 5 นี้

ในคืนแห่งปรินิพพาน คืนสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพที่มีร่างกายอันหยาบนี้
ในคืนนั้นพระพุทธองค์ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน
ขันธ์ของพระองค์จึงแตกทำลายจากกัน

จิตของพระองค์ทำหน้าที่สุดท้ายคือจุติ และไม่แต่งปฏิสนธิอีกต่อไป

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
ถามว่า..เมื่ออวิชชาดับ..เป็นไปได้ไหมที่กองของขันธ์จะแยกออกกันอย่างชัดเจน แบบไม่เกี่ยวเนื่องกันเลย

สำหรับเราๆ ท่านๆ
อวิชชา จะดับ ในขณะแ่ห่งอรหัตมรรค เท่านั้นครับ
แต่เราทำความรู้แจ้งไปตามลำดับๆ ไปเพื่อบรรเทาเบาบาง อวิชชาไปตามลำดับๆ ครับ
ไม่เกี่ยวกับกองขันธ์ห้าแต่ประการใด
แต่ มีความเกีียวเนื่องกับ อุปาทานขันธ์ (ขันธ์อันเป็นที่ยึดถือ ทั้ง5 นั้น)ครับ
เพราะ อุปาทานขันธ์ นี้เองจึง มีตัวเรา เป็นเรา เป็นของเรา
เป็นความเกิดพร้อมแห่งกองทุกข์ ครับ

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 17:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2012, 17:37
โพสต์: 35


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
ถามว่า..เมื่ออวิชชาดับ..เป็นไปได้ไหมที่กองของขันธ์จะแยกออกกันอย่างชัดเจน แบบไม่เกี่ยวเนื่องกันเลย

เมื่ออวิชชา ดับ
คือความดับแห่งความไม่รู้ตามเป็นจริงของจิตอันทำให้จิตพัวพันเวียนกลับสู่ภพ คือภาวะแห่งความมีความเป็น

พระโพธิสัตว์ในคืนแห่งการตรัสรู้ ได้ดับอวิชชา สำเร็จมรรคผล อุบัติเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระสัมมาสัมพุทธองค์ ก็ยังมีกองขันธ์ทั้ง 5 นี้อยู่
แต่จิตของพระองค์ เป็นวิมุตติจิต พระองค์จึงดำรงอยู่ด้วยวิชชา วิมุตติ
และทรงดำเนิน สั่งสอนเวไนยสัตว์ตลอดพระชนม์ชีพก็ด้วยอาศัยขันธ์ทั้ง 5 นี้

ในคืนแห่งปรินิพพาน คืนสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพที่มีร่างกายอันหยาบนี้
ในคืนนั้นพระพุทธองค์ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน
ขันธ์ของพระองค์จึงแตกทำลายจากกัน

จิตของพระองค์ทำหน้าที่สุดท้ายคือจุติ และไม่แต่งปฏิสนธิอีกต่อไป

เจริญธรรม


สาธุค่ะ :b8: ดิฉันเข้าใจในสิ่งที่คุณเช่นนั้นได้เขียน แต่ดิฉันผิดเองที่เขียนสั้นๆ มันเลยคนละความหมาย ในความหมายของดิฉันคือ เป็นไปได้ไหม ที่ในจิตเรานั้น จะรู้สึกว่า ขันธ์แต่ละขันธ์แยกกันออกอย่างชัดเจน ที่ถามเพราะดิฉันรุ้สึกอย่างนี้ ไม่มีขันธ์ไหนเกี่ยวข้องกันในความรู้สึกนะค่ะ

เนื่องจากดิฉันเป็นผู้ฝึกผู้เรียนรู้ ดิฉันเลยไม่แน่ใจว่า สิ่งที่ดิฉันรู้นั้นถูกหรือไม่ จึงต้องมาขอความเมตตาจากท่านผู้รู้ในนี้นะค่ะ ดิฉันจะยกตัวอย่างความรุ้สึกให้ดูนะค่ะ จะได้เข้าใจกันได้ตรงกัน

- เมื่อเห็นรูป ใจมันตัด รูปก็คือรูป ใจไม่ติดไม่สนใจ เห็นรูป ก็คือเห็นรูป ไม่มีความรู้สึกต่อ มันหยุดที่เห็นรูปเท่านั้น

- มีไหม ที่ทุกข์ สุข ไม่ทุกข์ไม่สุขไม่มี มีแต่ความเฉย และมีรำคาญกับสิ่งที่กระทบภายนอกบ้าง ในใจนั้นจะมีอารมณ์เดียว คือ คือนิ่งอยุ่กับตัวไม่ได้สนใจรูป ไม่ได้สนใจสังขาร ไม่ได้สนใจวิญญาณ

ยกตัวอย่างแบบนี้นะค่ะ เพราะจริงๆดิฉันไม่ใช่ผู้รู้ ดิฉันเป็นเพียงผู้ฝึก และยังต้องเรียนรู้อีกมาก เลยต้องมาถามผู้รู้ กราบขอบพระคุณค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 17:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




เหตุ ปัจจัย นิพพาน_82kb_resize.jpg
เหตุ ปัจจัย นิพพาน_82kb_resize.jpg [ 35.2 KiB | เปิดดู 3630 ครั้ง ]
:b8:
สาธุ อนุโมทนากับคุณขนมจีบซาลาเปา เป็นอย่างยิ่ง สิ่งที่เกิดเป็นกังขาในใจของคุณนั้นก็เพราะคุณไปพบสภาวะจริงๆซึ่งบัญญัติทั้งหลายยากจะบรรยายได้ถึง ต้องรู้ที่ใจเจ้าของ
คุณลองมาฟังเรื่อง อวิชชาปัจจัยาสังขาราสำนวนลูกทุ่งดูซิครับ ดูซิว่าจะถึงบางอ้อได้ไหม?

สังเกตให้ดี ปฏิจจสมุปบาททั้ง 12 พูดถึงแต่ปัจจัย ไม่พูดถึง "เหตุ" เหตุอะไรหนอ มากระทบกับปัจจัยทั้ง 12 จึงทำให้วงปฏิจจสมุปบาทหมุนวน?

จากธัมมวิจัยหรือการวิเคราะห์ธรรมของท่านผู้ปฏิบัติท่านหนึ่งท่านสรุปว่า

อวิชชา คือความไม่รู้ ..... เพราะไม่รู้จึงเห็นผิด.....เห็นผิดคือเห็นเป็นอัตตาตัวตน.....อัตตาตัวตนแรกคือความเห็นว่าเป็นรูปสังขารตั้งอยู่.......เป็นสังขารตัวนี้ (อวิชชาปัจจัยาสังขารา) ยังไม่ใช่จิตสังขารการปรุงแต่ง.....
เมื่อรูป(สังขาร)มี จึงเป็นปัจจัยให้สิ่งที่ไปรู้รูปสังขารคือ "วิญญาณ" เกิดขึ้นมา ถึงตอนนี้ รูปแรก นามแรกเกิดครบ
รูปสังขารที่ตั้งให้รู้เป็น "รูป"
จิตที่ไปรู้รูปคือวิญญาณ เป็น "นาม"
วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิด นาม - รูป

:b1:
เมื่อมี ผู้รู้ กับ สิ่งที่ถูกรู้ เกิดขึ้น จึงเป็นปัจจัยให้ สฬายตนะคือประสาทสัมผัสทั้ง 6 เกิดขึ้น และต่อๆกันไปจนครบองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท
:b16:
ทุกปัจจัยล้วนมีเหตุอันซ่อนไว้ให้กระทบอยู่ตลอดเวลา ความนี้ยิ่งน่าพิจารณาต่อไปว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างช่วงต่อของเวทนากับตัณหา และสัมพันธ์กับสติปัฏฐาน 4 ซึ่งท่านกล่าวว่า วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง คือเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก ซึ่งแสดงว่า ทั้งฐาน กาย เวทนา จิต ธรรมสิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นผลรวม คืออภิชฌา โทมนัสสัง ความยินดียินร้าย
:b10:
ใคร ? เป็นผู้ยินดียินร้าย ?

นั่นแหละคือตัวเหตุหรืออวิชชาที่ซ่อนอยู่หลังฉาก การเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายที่ถูกวิธีก็ต้องไปเอาตัวผู้ยินดียินร้ายออกเสียให้ได้ ไม่มีผู้ยินดียินร้ายเสียแล้ว ความยินดียินร้ายจะเกิดมาแต่ที่ใด? นี่เป็นประเด็นธรรมที่สำคัญมากและเป็นเป้าหมายแรกที่ชาวพุทธทุกคนควรไปถึงให้ได้ในชาติปัจจุบันนี้
:b8:
อวิชชานิโรธา สังขารานิโรโธ.............นี่ตรงกับประเด็นของมรรค 1 ไหม? อวิชชาตัวหยาบคือ “สักกายทิฐิ” ต้องถูกทำลายก่อนใช่หรือไม่? แล้วอวิชชาตัวละเอียดคือ "มานะทิฏฐิ"จึงจะสามารถทำลายให้หมดสิ้นไปในอีก 3 มรรคที่เหลือ
onion
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
เป็นไปได้ไหม ที่ในจิตเรานั้น จะรู้สึกว่า ขันธ์แต่ละขันธ์แยกกันออกอย่างชัดเจน ที่ถามเพราะดิฉันรุ้สึกอย่างนี้ ไม่มีขันธ์ไหนเกี่ยวข้องกันในความรู้สึกนะค่ะ

เนื่องจากดิฉันเป็นผู้ฝึกผู้เรียนรู้ ดิฉันเลยไม่แน่ใจว่า สิ่งที่ดิฉันรู้นั้นถูกหรือไม่ จึงต้องมาขอความเมตตาจากท่านผู้รู้ในนี้นะค่ะ ดิฉันจะยกตัวอย่างความรุ้สึกให้ดูนะค่ะ จะได้เข้าใจกันได้ตรงกัน

เราสามารถเห็นได้ชัดเจน ถึงการแยกออกจากกันถึง รูปขันธ์ และนามขันธ์
ส่วนนามขันธ์ การแยกความเจือกันของนามขันธ์ทำได้ยากมาก
เช่น เรารู้ว่า นี่เวทนา แต่เราไม่อาจกำหนดเพียงเวทนาเท่านั้นได้ เพราะ วิญาญาณก็ตั้งอยู่พร้อมกับเวทนานั้น ขณะที่เรารู้สัญญา เราก็ไม่อาจกำหนดเพียงสัญญาอย่างเดียวได้ เพราะขณะรู้สัญญานั้นก็มีวิญญาณกับเวทนาเจืออยู่เช่นกัน
เวทนา สัญญา กับวิญญาณ มักจะเจือกันเสมอ ดังนั้นในการเข้าเวทยิตนิโรธสมาบัติจึงดับจิตสังขาร คือเวทนากับสัญญา
สังขารขันธ์ เช่นสติ กับปัญญา จะดับลงพร้อมกับวิญญาณ
การเข้าไปรู้แยกแยะขันธ์ทั้ง 5 ออกจากกันอย่างชัดเจน ต้องอาศัยฌานและปัญญาที่มีกำลังมาก

ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
- เมื่อเห็นรูป ใจมันตัด รูปก็คือรูป ใจไม่ติดไม่สนใจ เห็นรูป ก็คือเห็นรูป ไม่มีความรู้สึกต่อ มันหยุดที่เห็นรูปเท่านั้น

เมื่อเห็นรูป แต่รูปนั้น ไม่เป็นที่รักที่ยินดี จิตโดยธรรมชาติแม้ไม่ตัด ก็ไม่หน่วงเอาอารมณ์นั้นมาสู่จิต
เช่น เราเดินเล่นไประหว่างทาง เราเห็นรูปผ่านเข้ามามากมาย แต่เราก็ไม่ได้ใส่ใจ เพราะรูปที่ผ่านมาไม่ได้เป็นที่ตั้งแห่งความยินดีพอใจหรือสนใจอย่างไรเลย

เมื่อเห็นรูปอันเคยเป็นที่รักที่น่ายินดี ยินร้าย หรือรูปอันมีความเคยชินที่จะเข้าไปรักเข้าไปยินดี เข้าไปยินร้าย การเห็นรูปเช่นนี้แล้วไม่ใส่ใจไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ด้วยกำลังสติ และความรู้ึึสึกตัว ก็ทำได้ ทำบ่อยๆ ทำเนืองๆ จนความยินดียินร้ายต่อรูปนั้นสิ้นไปหมดไป จางคลายไปในทีสุด


ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
- มีไหม ที่ทุกข์ สุข ไม่ทุกข์ไม่สุขไม่มี มีแต่ความเฉย และมีรำคาญกับสิ่งที่กระทบภายนอกบ้าง ในใจนั้นจะมีอารมณ์เดียว คือ คือนิ่งอยุ่กับตัวไม่ได้สนใจรูป ไม่ได้สนใจสังขาร ไม่ได้สนใจวิญญาณ

ความวางเฉยต่ออารมณ์อันจิตเข้าไปพัวพัน มีลักษณะอยู่ 2 อย่างคือ วางเฉยด้วยความไม่รู้ และวางเฉยด้วยความเห็นแจ้ง

วางเฉยด้วยความไม่รู้ คือไม่รู้จะต้องไปทำอะไรกับอารมณ์นั้นต่อ จึงหลีกอารมณ์นั้นวางเฉยเสียมีความพอใจที่จะอยู่กับอทุกขมสุขเวทนา แทนที่จะไปตั้งอยู่ในทุกขเวทนานั้น กล่าวง่ายๆ คือหนีอย่างหนึ่งเพื่อจะไปสู่อีกอย่างหนึ่ง

วางเฉยด้วยความเห็นแจ้ง
วางเฉยด้วยความรู้สึกถึงสภาพธรรม ถึงความเป็นไปตามกรรมของสัตว์นั้น ถึงความเห็นแจ้งต่อความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของสังขารต่างๆนั้นเป็นความวางเฉยที่ทำความเห็นแจ้งชัดต่ออารมณ์ที่จิตเข้าไปพัวพันด้วย อย่างนี้เป็นความวางเฉยตั้งมั่นอยู่
ส่วนกรณีที่จิตเข้าสู่ ความตั้งมั่นมีอารมณ์เดียวคือ ความกำหนดอยู่ในอารมณ์เดียวนั้น ก็ทำได้ แต่ไม่ใช่ไม่สนใจสังขาร ไม่สนใจรูป ไม่สนใจวิญญาณ เช่นการกำหนดรูปสัญญา เป็นอารมณ์จิตตั้งมั่นอยู่ในรูปสัญญานั้น ไม่กำหนดรูปสัญญาอื่นใด
หรือการกำหนดอรูปสัญญา ในขณะแห่งจตุถฌาน จิตละรูปสัญญาไม่ใส่ใจในรูปทั้งหลาย ใส่ใจอรูปสัญญาไม่สนใจรูป ก็ยังมี แต่สังขารกับ วิญญาณต้องดำเนินต่อไป

หากวางเฉยแล้วยังมีความรำคาญกับสิ่งกระทบภายนอกบ้าง ไม่ได้วางเฉยครับ แต่เป็นความยินร้ายครับเกิดทุกขเวทนาครับ เมือรำคาญย่อมมีรูปเป็นอารมณ์ สังขารปรุงคิดไปตามดำริต่อรูปต่อเวทนา วิญญาณก็แล่นไปตามรูป เวทนา สัญญา สังขารนั้นครับ

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 19:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2012, 17:37
โพสต์: 35


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:
สาธุ อนุโมทนากับคุณขนมจีบซาลาเปา เป็นอย่างยิ่ง สิ่งที่เกิดเป็นกังขาในใจของคุณนั้นก็เพราะคุณไปพบสภาวะจริงๆซึ่งบัญญัติทั้งหลายยากจะบรรยายได้ถึง ต้องรู้ที่ใจเจ้าของ
คุณลองมาฟังเรื่อง อวิชชาปัจจัยาสังขาราสำนวนลูกทุ่งดูซิครับ ดูซิว่าจะถึงบางอ้อได้ไหม?

สังเกตให้ดี ปฏิจจสมุปบาททั้ง 12 พูดถึงแต่ปัจจัย ไม่พูดถึง "เหตุ" เหตุอะไรหนอ มากระทบกับปัจจัยทั้ง 12 จึงทำให้วงปฏิจจสมุปบาทหมุนวน?

จากธัมมวิจัยหรือการวิเคราะห์ธรรมของท่านผู้ปฏิบัติท่านหนึ่งท่านสรุปว่า

อวิชชา คือความไม่รู้ ..... เพราะไม่รู้จึงเห็นผิด.....เห็นผิดคือเห็นเป็นอัตตาตัวตน.....อัตตาตัวตนแรกคือความเห็นว่าเป็นรูปสังขารตั้งอยู่.......เป็นสังขารตัวนี้ (อวิชชาปัจจัยาสังขารา) ยังไม่ใช่จิตสังขารการปรุงแต่ง.....
เมื่อรูป(สังขาร)มี จึงเป็นปัจจัยให้สิ่งที่ไปรู้รูปสังขารคือ "วิญญาณ" เกิดขึ้นมา ถึงตอนนี้ รูปแรก นามแรกเกิดครบ
รูปสังขารที่ตั้งให้รู้เป็น "รูป"
จิตที่ไปรู้รูปคือวิญญาณ เป็น "นาม"
วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิด นาม - รูป

:b1:
เมื่อมี ผู้รู้ กับ สิ่งที่ถูกรู้ เกิดขึ้น จึงเป็นปัจจัยให้ สฬายตนะคือประสาทสัมผัสทั้ง 6 เกิดขึ้น และต่อๆกันไปจนครบองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท
:b16:
ทุกปัจจัยล้วนมีเหตุอันซ่อนไว้ให้กระทบอยู่ตลอดเวลา ความนี้ยิ่งน่าพิจารณาต่อไปว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างช่วงต่อของเวทนากับตัณหา และสัมพันธ์กับสติปัฏฐาน 4 ซึ่งท่านกล่าวว่า วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง คือเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก ซึ่งแสดงว่า ทั้งฐาน กาย เวทนา จิต ธรรมสิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นผลรวม คืออภิชฌา โทมนัสสัง ความยินดียินร้าย
:b10:
ใคร ? เป็นผู้ยินดียินร้าย ?

นั่นแหละคือตัวเหตุหรืออวิชชาที่ซ่อนอยู่หลังฉาก การเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายที่ถูกวิธีก็ต้องไปเอาตัวผู้ยินดียินร้ายออกเสียให้ได้ ไม่มีผู้ยินดียินร้ายเสียแล้ว ความยินดียินร้ายจะเกิดมาแต่ที่ใด? นี่เป็นประเด็นธรรมที่สำคัญมากและเป็นเป้าหมายแรกที่ชาวพุทธทุกคนควรไปถึงให้ได้ในชาติปัจจุบันนี้
:b8:
อวิชชานิโรธา สังขารานิโรโธ.............นี่ตรงกับประเด็นของมรรค 1 ไหม? อวิชชาตัวหยาบคือ “สักกายทิฐิ” ต้องถูกทำลายก่อนใช่หรือไม่? แล้วอวิชชาตัวละเอียดคือ "มานะทิฏฐิ"จึงจะสามารถทำลายให้หมดสิ้นไปในอีก 3 มรรคที่เหลือ
onion


:b8: :b8: ..ประทานโทษนะค่ะ ไม่อยากจะบอกเลย ขนาดลูกทุ่งแล้ว ดิฉันก็ยังอ่านไม่รู้เรื่อง s002
ศัพท์วิชาการเยอะ จนตาลาย ที่บอกนี่ ไม่ได้จะว่าอะไรท่านนะค่ะ แต่มาบอกเพื่อให้รู้ว่าปํญญาดิฉันคงไม่ถึงขั้น จึงแปลไทยเป็นไทยไม่ออก..คือ ดิฉันอ่านแล้วมึนนะค่ะ กราบขอประทานโทษอีกทีนะค่ะ :b8:

(คือ ดิฉันพยายามแล้วแต่หมดปัญญาที่จะเข้าใจนะค่ะ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 20:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2012, 17:37
โพสต์: 35


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
เป็นไปได้ไหม ที่ในจิตเรานั้น จะรู้สึกว่า ขันธ์แต่ละขันธ์แยกกันออกอย่างชัดเจน ที่ถามเพราะดิฉันรุ้สึกอย่างนี้ ไม่มีขันธ์ไหนเกี่ยวข้องกันในความรู้สึกนะค่ะ

เนื่องจากดิฉันเป็นผู้ฝึกผู้เรียนรู้ ดิฉันเลยไม่แน่ใจว่า สิ่งที่ดิฉันรู้นั้นถูกหรือไม่ จึงต้องมาขอความเมตตาจากท่านผู้รู้ในนี้นะค่ะ ดิฉันจะยกตัวอย่างความรุ้สึกให้ดูนะค่ะ จะได้เข้าใจกันได้ตรงกัน

เราสามารถเห็นได้ชัดเจน ถึงการแยกออกจากกันถึง รูปขันธ์ และนามขันธ์
ส่วนนามขันธ์ การแยกความเจือกันของนามขันธ์ทำได้ยากมาก
เช่น เรารู้ว่า นี่เวทนา แต่เราไม่อาจกำหนดเพียงเวทนาเท่านั้นได้ เพราะ วิญาญาณก็ตั้งอยู่พร้อมกับเวทนานั้น ขณะที่เรารู้สัญญา เราก็ไม่อาจกำหนดเพียงสัญญาอย่างเดียวได้ เพราะขณะรู้สัญญานั้นก็มีวิญญาณกับเวทนาเจืออยู่เช่นกัน
เวทนา สัญญา กับวิญญาณ มักจะเจือกันเสมอ ดังนั้นในการเข้าเวทยิตนิโรธสมาบัติจึงดับจิตสังขาร คือเวทนากับสัญญา
สังขารขันธ์ เช่นสติ กับปัญญา จะดับลงพร้อมกับวิญญาณ
การเข้าไปรู้แยกแยะขันธ์ทั้ง 5 ออกจากกันอย่างชัดเจน ต้องอาศัยฌานและปัญญาที่มีกำลังมาก

ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
- เมื่อเห็นรูป ใจมันตัด รูปก็คือรูป ใจไม่ติดไม่สนใจ เห็นรูป ก็คือเห็นรูป ไม่มีความรู้สึกต่อ มันหยุดที่เห็นรูปเท่านั้น

เมื่อเห็นรูป แต่รูปนั้น ไม่เป็นที่รักที่ยินดี จิตโดยธรรมชาติแม้ไม่ตัด ก็ไม่หน่วงเอาอารมณ์นั้นมาสู่จิต
เช่น เราเดินเล่นไประหว่างทาง เราเห็นรูปผ่านเข้ามามากมาย แต่เราก็ไม่ได้ใส่ใจ เพราะรูปที่ผ่านมาไม่ได้เป็นที่ตั้งแห่งความยินดีพอใจหรือสนใจอย่างไรเลย

เมื่อเห็นรูปอันเคยเป็นที่รักที่น่ายินดี ยินร้าย หรือรูปอันมีความเคยชินที่จะเข้าไปรักเข้าไปยินดี เข้าไปยินร้าย การเห็นรูปเช่นนี้แล้วไม่ใส่ใจไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ด้วยกำลังสติ และความรู้ึึสึกตัว ก็ทำได้ ทำบ่อยๆ ทำเนืองๆ จนความยินดียินร้ายต่อรูปนั้นสิ้นไปหมดไป จางคลายไปในทีสุด


ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
- มีไหม ที่ทุกข์ สุข ไม่ทุกข์ไม่สุขไม่มี มีแต่ความเฉย และมีรำคาญกับสิ่งที่กระทบภายนอกบ้าง ในใจนั้นจะมีอารมณ์เดียว คือ คือนิ่งอยุ่กับตัวไม่ได้สนใจรูป ไม่ได้สนใจสังขาร ไม่ได้สนใจวิญญาณ

ความวางเฉยต่ออารมณ์อันจิตเข้าไปพัวพัน มีลักษณะอยู่ 2 อย่างคือ วางเฉยด้วยความไม่รู้ และวางเฉยด้วยความเห็นแจ้ง

วางเฉยด้วยความไม่รู้ คือไม่รู้จะต้องไปทำอะไรกับอารมณ์นั้นต่อ จึงหลีกอารมณ์นั้นวางเฉยเสียมีความพอใจที่จะอยู่กับอทุกขมสุขเวทนา แทนที่จะไปตั้งอยู่ในทุกขเวทนานั้น กล่าวง่ายๆ คือหนีอย่างหนึ่งเพื่อจะไปสู่อีกอย่างหนึ่ง

วางเฉยด้วยความเห็นแจ้ง
วางเฉยด้วยความรู้สึกถึงสภาพธรรม ถึงความเป็นไปตามกรรมของสัตว์นั้น ถึงความเห็นแจ้งต่อความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของสังขารต่างๆนั้นเป็นความวางเฉยที่ทำความเห็นแจ้งชัดต่ออารมณ์ที่จิตเข้าไปพัวพันด้วย อย่างนี้เป็นความวางเฉยตั้งมั่นอยู่
ส่วนกรณีที่จิตเข้าสู่ ความตั้งมั่นมีอารมณ์เดียวคือ ความกำหนดอยู่ในอารมณ์เดียวนั้น ก็ทำได้ แต่ไม่ใช่ไม่สนใจสังขาร ไม่สนใจรูป ไม่สนใจวิญญาณ เช่นการกำหนดรูปสัญญา เป็นอารมณ์จิตตั้งมั่นอยู่ในรูปสัญญานั้น ไม่กำหนดรูปสัญญาอื่นใด
หรือการกำหนดอรูปสัญญา ในขณะแห่งจตุถฌาน จิตละรูปสัญญาไม่ใส่ใจในรูปทั้งหลาย ใส่ใจอรูปสัญญาไม่สนใจรูป ก็ยังมี แต่สังขารกับ วิญญาณต้องดำเนินต่อไป

หากวางเฉยแล้วยังมีความรำคาญกับสิ่งกระทบภายนอกบ้าง ไม่ได้วางเฉยครับ แต่เป็นความยินร้ายครับเกิดทุกขเวทนาครับ เมือรำคาญย่อมมีรูปเป็นอารมณ์ สังขารปรุงคิดไปตามดำริต่อรูปต่อเวทนา วิญญาณก็แล่นไปตามรูป เวทนา สัญญา สังขารนั้นครับ

เจริญธรรม


:b8: สาธุค่ะแจ้งแก่ใจมากขึ้นค่ะ :b8:

ถามต่อนะค่ะ ในความรำคาญที่เกิดขึ้น เกิดจาก เราเห็นความวุ่นวายของโลก เห็นความวุ่นวายของจิตที่ส่งออก ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่..ทำให้เรารู้สึกรำคาญ อยากหลีกหนี ความวุ่นวายของจิตของสิ่งแวดล้อมที่ไม่จบสิ้นอาการแบบนี้เรียกว่า จิตปรุงแต่งใช่ไหมค่ะ

..การหลีกหนีที่ทำได้คือ การสงบอยู่กับจิต อยู่กับธรรม ไม่ส่งจิตออก อยู่กับอารมณ์เดียว (แต่ไม่ได้ทำสมาธิ ไม่ได้เข้าทั้งรุปและอรูป อยู่เฉยๆ แต่สงบอยู่กับตัวแบบมีสติ ไม่ได้ตั้งท่า แต่ทุกอย่างเป็นธรรมชาติของตัวเรา จิตที่รู้สึกถึงความวุ่นวาย จิตอยากสงบเองนะค่ะ..อย่างนี้เขาเีรียกว่าอะไรค่ะ..ไม่ได้ทำสมาธิมาเป็นเดือนแล้ว มีแต่ดูความเป็นไปในธรรมดาของโลก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 20:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2012, 17:37
โพสต์: 35


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การเข้าเวทยิตนิโรธสมาบัติจึงดับจิตสังขาร คือเวทนากับสัญญา
สังขารขันธ์ เช่นสติ กับปัญญา จะดับลงพร้อมกับวิญญาณ


ขออนุญาติถามต่อน่ะค่ะ การเข้าเวทยตนิโรธสมาบัตินี้ อย่างที่ท่านอธิบาย ว่า สังขารซึ่งแปลภาษาชาวบ้านแปลว่าสิ่งปรุงแต่ง กับวิญญาณ ซึ่งแปลว่า ประสาทสัมผัสนี้นะค่ะ มันดับลงพร้อมกัน....การดับลงพร้อมกัน มันมีอาการยังไงค่ะ ไม่รู้สึกตัวเหรอค่ะ ...อยากทราบนะค่ะ หรือว่า มันเป็นลักษณะ ของ ขันธ์แยกจิต คล้าย คนที่เข้าฌาน4 ที่จะไม่รับรู้อาการทางกายนะค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
ถามต่อนะค่ะ ในความรำคาญที่เกิดขึ้น เกิดจาก เราเห็นความวุ่นวายของโลก เห็นความวุ่นวายของจิตที่ส่งออก ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่..ทำให้เรารู้สึกรำคาญ อยากหลีกหนี ความวุ่นวายของจิตของสิ่งแวดล้อมที่ไม่จบสิ้นอาการแบบนี้เรียกว่า จิตปรุงแต่งใช่ไหมค่ะ

..การหลีกหนีที่ทำได้คือ การสงบอยู่กับจิต อยู่กับธรรม ไม่ส่งจิตออก อยู่กับอารมณ์เดียว (แต่ไม่ได้ทำสมาธิ ไม่ได้เข้าทั้งรุปและอรูป อยู่เฉยๆ แต่สงบอยู่กับตัวแบบมีสติ ไม่ได้ตั้งท่า แต่ทุกอย่างเป็นธรรมชาติของตัวเรา จิตที่รู้สึกถึงความวุ่นวาย จิตอยากสงบเองนะค่ะ..อย่างนี้เขาเีรียกว่าอะไรค่ะ..ไม่ได้ทำสมาธิมาเป็นเดือนแล้ว มีแต่ดูความเป็นไปในธรรมดาของโลก

ความฟุ้งซ่านรำคาญใจที่เกิดขึ้น เพราะจิตไปหน่วงรั้งเอาอารมณ์นั้นไว้กับจิต จิตปรุงแต่งด้วยอำนาจของปฏิฆานุสัย ราคานุสัย ทิฏฐานุสัย ไปตามความวิตกความตรึกในขณะแห่งการรับอารมณ์นั้นอยู่ ความทุกข์คือความรู้ว่าประสพกับสิ่งที่ไม่ยินดีจึงเกิดขึ้น

ความฟุ้งซ่านรำคาญใจนี้เอง คือเครื่องกั้นจิตอันทำให้จิตวุ่นวายเห็นสิ่งไรไม่ชัดแจ้ง จิตจะแล่นไปทางอคติทั้งหลาย เป็นรัก ชอบ ชัง หลง เห็นผิดเป็นถูก เห็นถูกเป็นผิด

การที่จะขจัดความฟุ้งซ่านรำคาญใจในขณะนั้น ก็ต้องทำด้วยจิตอันเป็นสมาธิ มีสติสัมปชัญญะ หน่วงจิตไว้กลับมาในภายใน ไม่ปรุงแต่งยินดี ยินร้าย ต่ออารมณ์ภายนอกที่จิตรู้
การที่ดึงจิตกลับมาอยู่ที่อารมณ์เดียว โดยรู้อยู่ที่อทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นการทำสมาธิประการหนึ่ง
เพียงแต่เป็นสมาธิที่ยังไม่ได้บำรุงขึ้นให้แข็งแรงขึ้น เพราะขาดความเพียร จึงไม่อาจเป็นบาทเป็นเท้าให้ปัญญาทำหน้าที่ได้อย่างเต็มความสามารถ ดังนั้นอย่าประมาทในการบำรุงสมาธิให้มีกำลังให้มีพละมากขึ้น
ท่านอาจจะสงบได้ชั่วครั้งชั่วคราว เพราะกำลังสมาธินั้นอ่อน ไม่เพียงพอต่อการกำจัดได้เด็ดขาด

สัมมาสมาธิ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน
สัมมาสมาธิในขณะแห่งปฐมฌาน ย่อมกำจัดความฟุ้งซ่านรำคาญที่เกิดขึ้นได้แล้วครับ

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
ขออนุญาติถามต่อน่ะค่ะ การเข้าเวทยตนิโรธสมาบัตินี้ อย่างที่ท่านอธิบาย ว่า สังขารซึ่งแปลภาษาชาวบ้านแปลว่าสิ่งปรุงแต่ง กับวิญญาณ ซึ่งแปลว่า ประสาทสัมผัสนี้นะค่ะ มันดับลงพร้อมกัน....การดับลงพร้อมกัน มันมีอาการยังไงค่ะ ไม่รู้สึกตัวเหรอค่ะ ...อยากทราบนะค่ะ หรือว่า มันเป็นลักษณะ ของ ขันธ์แยกจิต คล้าย คนที่เข้าฌาน4 ที่จะไม่รับรู้อาการทางกายนะค่ะ


เช่นนั้น ยังเข้าสัญญาเวยิตนิโรธสมาบัติไม่ได้ครับ

เพียงแต่ทราบว่า การเข้าสัญญาเวยิตนิโรธสมาบัติ เข้าได้ด้วยกำลังอธิษฐาน ให้จิตสังขารดับไปในเวลาที่กำหนด ทำความดับแห่ง จิตตสังขาร คือสัญญา และเวทนา แต่ไม่ได้ดับสังขารขันธ์ คือตัวสติและปัญญาครับ เป็นคนละเรื่องกัน

เพราะถ้าดับสติ และปัญญา อันเป็นสังขารขันธ์ ก็คงจะเข้าและออกจากสมาบัตินี้ไม่ได้ครับ

ส่วนอาการ ความรู้สึกเป็นอย่างไร ตอบไม่ได้ครับ เพราะกำลังสมาธิและกำลังปัญญาไม่แข็งแรงเพียงพอจึงอธิบายไม่ได้ครับ

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 21:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: :b16: :b16:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 338 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 23  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร