วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 19:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2012, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


อานิสงส์ของฌาน 1
ที่มาของบทความนี้มาจากที่ว่ามีผู้ปฏิบัติหลายท่านฝึกสมาธิมานาน แต่ว่าเกิดความไม่แน่ใจในผลของการปฏิบัติก็ดี ทำได้แล้วแต่ด้วยกิจการงานทำให้ไม่ค่อยได้ฝึกอีกก็ดี รวมทั้งท่านพระโยคาวจรใหม่ที่มีความมุ่งมั่นจะปฏิบัติให้บังเกิดผลก็ดี จะได้พิจารณาข้อธรรมบางประการอันเป็นเครื่องเชิดชูกำลังใจ ปฏิปทา รวมทั้งปลดเปลื้องความสงสัยในผลของการปฏิบัติ อานิสงส์ใดจะพึงมีขอเทิดทูลไว้เป็นของบิดามารดา คุณครูอาจารย์ทั้งสิ้นครับ

หลวงพ่อพระราชพรหมยาท่านเทศน์สอนพระในวัดบ่อยๆว่าให้พระถือจรณะ 15 มี ฌาน 1, 2, 3, 4 เป็นต้น แต่สำหรับฆราวาสแล้วไม่ใช่สิ่งบังคับ แต่ถ้าจะปฏิบัติธรรมให้ได้ผลจริงๆจังๆแล้ว การฝึกสมาธิให้คงตัวแบบฌานเป็นเรื่องที่ทอดทิ้งไม่ได้เลยทีเดียว

ถ้าเราได้ไปฟังเทปหลวงพ่อฯ เรื่องอานาปานสติ หลวงพ่อฯเริ่มตั้งแต่การจัดลมสามฐาน มีจมูก อก และศูนย์เหนือสะดือ
หายใจเข้า ลมกระทบจมูก อก ศูนย์เหนือสะดือ (ใครที่ยังจับความรู้สึกที่อกไม่ได้ก็จับเฉพาะที่จมูกก่อน ใครที่จับศูนย์เหนือสะดือไม่ได้ก็จับความรู้สึกเฉพาะจมูกกับอกก่อน) ขอเน้นว่าจับลมแบบ “รู้สึกว่ากระทบ” เท่านั้น ไม่ต้องบังคับลมให้หนักขึ้น ความรู้สึกที่จิตจับการกระทบของลมนี้จึงเรียกว่า อานาปานสติ (มีสติรู้ในลมหายใจ)
หายใจออก ลมออกจากศูนย์เหนือสะดือ กระทบอก และจมูก ในรายคนที่ริมฝีปากเชิดขึ้นจะกระทบที่ริมฝีปาก ก็ให้จับความรู้สึกตรงนั้น
จับความรู้สึกแบบนี้สัก 5 – 10 ช่วงลมหายใจ คือหายใจเข้าและออกนับ 1 หายใจเข้าและออกนับ 2 ไปเรื่อยๆ โดยตั้งใจว่าระหว่างที่จับลมนี้เราจะไม่ยอมให้จิตของเราไปรับรู้เรื่องอื่นเลย ถ้าจิตเผลอก็ให้กำหนดรู้เท่าทันว่า “เราเผลอไปแล้ว” แต่ไม่ต้องตำหนดตัวเองมาก เพราะจะทำให้จิตตกและหมดกำลังใจ เป็นการปฏิบัติแบบตึงเกินไป แล้วกลับมาจับลมเริ่มนับใหม่ ทำแบบนี้เรื่อยไปจนอยู่ตัว

อานาปานสตินี้มีนิมิตมาก แต่ไม่ใช่นิมิตที่จะจับมาเพ่งเหมือนกสิน นิมิตก็จะมีตั้งแต่อาการของปีติ 5 อย่าง รวมถึงแสงสีต่างๆที่เห็น (โอภาสนิมิต) แม้ว่าจะเป็นเครื่องแสดงออกว่าได้มาถึงสมาธิระดับหนึ่งแล้ว แต่ไม่ใช่สิ่งที่พึงยึดถือให้หลงออกนอกทางไป สิ่งที่ควรทำคือกำหนด “รู้” ว่ามีนิติอย่างไรเกิดขึ้น วางนิมิตนั้นลง (ไม่สนใจ) แล้วจับลม 3 ฐานต่อไป

การไม่ติดอยู่ในปีติทั้ง 5 และแสงสีนี้สำคัญมาก เพราะนักปฏิบัติหลายเกิดความวิตกกังวล ตกใจ หรือกลัวจนไม่กล้านั่งเลยก็มี ปีติ 5 อย่างมีอะไรบ้างหลายท่านทราบแล้ว แต่จะขอทบทวนอีกเล็กน้อยคือ
1.น้ำตาไหลริน คือ อยู่ดีๆ น้ำตามั่นเอ่อล้นจากตา มีได้ทั้งที่ตอนนั่งสมาธิและไม่ได้นั่งสมาธิแต่จิตเกาะกุศล เช่น ทำบุญที่วัน กราบบิดามารดา เป็นต้น2.ตัวไหวโยกโคลง คือ บังคับให้ร่างกายตั้งอยู่นิ่งๆไม่ได้ ไม่เฉพาะแต่ร่างกายเท่านั้น บางท่านตัวไม่ได้ไหว แต่มือสั่น คอหมุนเป็นวงกลม แข้งขากระตุก แบบนี้ก็เป็นปีติ3.ขนลุกชูชัน นี่ไม่ต้องอธิบายมาก ขนลุกตอนเห็นผีอย่างไรอย่างนั้น บางท่านก็เกิดปีติแบบนี้ตอนที่กรวดน้ำ หรืออุทิศส่วนกุศล แปลว่าบุคคลที่อุทิศให้นั้นได้รับแล้ว โมทนาสาธุ4.ตัวลอย คือ ตัวลอยจริงๆ กับรู้สึกว่าเบาเหมือนจะลอย บางท่านรู้สึกว่าหน้าใหญ่ ตัวโตขึ้น ใหญ่ขึ้นคับสถานที่ หรือบางท่านเกิดความรู้สึกว่าจิตมีกำลังมากเปล่งอุทาน หรือหัวเราะเสียงดังก็ใช่5.ปีติแปลบๆ คือ มีความรู้สึกแปลบปลาบประดุจฟ้าแลบสำหรับเรื่องนี้หนังสือของหลวงพ่อได้อธิบายไว้ดีแล้ว โปรดอ่านที่ http://www.palungjit.com/smati/books/index.php?cat=2
หรือฟังได้ที่ http://audio.palungjit.com/f58/การตั้งอารมณ์อานิสงส์ของสมาธิอาการของปิติทั้ง5การก-ำหนดนิมิต-111.html

จะรู้ได้อย่างไรว่าถึงฌาน 1 แล้ว นี่ไม่ได้จะมาบอกว่าคนเขียนได้ฌานนั้นฌานนี้นะครับ แต่เอาเป็นว่าผู้เขียน เขียนไปตามที่ได้เคยปฏิบัติมา และขอเล่าไปตามที่หลวงพ่อฯท่านได้เทศน์ไว้ดีแล้ว
1. จิตห่างจากนิวรณ์ 5 นิวรณ์คือเครื่องร้อยรัดให้ใจเศร้าหมองมี 5 อย่างคือ
1) ความพอใจในรูปว่านั่นสวย นี่งาม รสอร่อย กลิ่นหอม เสียงเพราะหรือติดในเสียง สัมผัสระหว่าเพศ
2) ความง่วงเหงาหาวนอน ความหงุดหงิด รำคาญคนนั้นคนนี้ การใส่ใจในกิริยาของผู้อื่น
3) ความโกรธ ความพยาบาท
4) ความฟุ้งซ่าน หมายความว่าเรื่องที่ทำให้คิดไปนอกจากลมหายใจ เรื่องที่ติดค้างคาใจอยู่ หรือแม้แต่ว่าวันนี้ตั้งใจนั่งมากเกินไป ก็จัดเป็นความฟุ้งซ่าน
5) ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ระหว่างที่นั่งได้อะไรอยู่ หรือพอเลิกนั่งมาแล้วมานั่งสงสัยว่าจริงหรือไม่จริง
สิ่งเหล่านี้หลวงพ่อบอกว่าเป็นความเลวของจิตที่ เมื่อจิตไปคบหาเมื่อไหร่ กรรมฐานพังเมื่อนั้น

2. ฌาน 1 มีอาการ 5 อย่าง สรุปให้สั้นและง่ายคือ ตราบใดที่ภาวนา (เช่นหายใจเข้าพุท ออกโธ) รู้ว่านี่หายในออก นี่หายใจเข้า รู้ว่าคำภาวนายังอยู่และถูกต้อง (ไม่ใช่สลับหายใจออกพุทธ เข้าโธ) มีจิตสงบระงับแต่คำภาวนาและลมหายในนั้น คือองค์ประกอบของฌาน 1 แต่จะได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับการรักษาจิตให้ห่างจากนิวรณ์ด้วย
บางคนระหว่างที่นั่งสมาธิจะรู้สึกว่ามีความสุขอย่างบอกไม่ถูก เป็นความสุขที่ไม่เคยได้จากทรัพย์สิน ก็ขอให้กำหนดค่า “รู้” แล้ววางอารมณ์นั้นไว้ กลับมาจับลม 3 ฐานต่อไป

3. ลมที่จับได้นั้นจะค่อยๆละเอียดและเบาขึ้นๆ ถ้าจับได้ครบ 3 ฐานตามเวลาที่กำหนดไว้ หลวงพ่อบอกว่าถึง ฌาน 1 ทั้งนี้ไม่จำกัดแต่เฉพาะอิริยาบถนั่งเท่านั้น ฌาน 1 ก็สามารถทำได้เวลายืน เวลาเดิน (คนที่ได้ใหม่ๆ ถึงกับก้าวขาไม่ออกทีเดียว เพราะว่าจิตเริ่มถอยออกจากประสาทสัมผัสของร่างกาย) นอน ขับรถ ดูทีวี ฟังเพื่อนคุย ก็ควรจะฝึกให้จิตนี้อยู่ในฌาน 1 ตลอดเวลา ทุกอิริยาบท
หลวงพ่อเคยให้คาถาอิทธิบาท 4 ไว้ เป็นหลักของการปฏิบัติให้สำเร็จว่า “มันมาเรามุด มันหยุด เราแหย่ มันแย่เราตาม” ซึ่งก็หมายความว่าให้จิตของเรานี้มันมุดอยู่ในกองกรรมฐานเป็นปกติ เพื่อหลบกิเลสชั่วคราว

4. อาการของฌาน 1 จะไม่รำคาญในเสียง ต่อให้เปิดเพลงดังแค่ไหนก็ไม่รำคาญ ถ้าคนที่ไม่เคยได้จะไม่ค่อยเข้าใจ ก็ขอเปรียบเทียบง่ายๆอย่างโลกๆว่า เวลาที่เรากลุ้มเรื่องอะไรอยู่จนไปนั่งที่ไหน ก็ไม่สนใจเรื่องที่ชาวบ้านเขาคุยกัน ไม่สนใจเพื่อนข้างห้องเปิดเพลงดัง นี่เป็นอาการของการไม่รำคาญในเสียง (แต่ไม่ใช่ฌาน 1 ในที่นี้)
หลวงพ่อให้วิธีปฏิบัติที่เร็วๆไวๆเอาไว้ 2 วิธีคือ
1. เอาวิทยุมาเปิดดังๆข้างตัว แล้วภาวนา จนเรารู้สึกว่าเสียงทำให้ใจของเรากระเพื่อมไม่ได้ สติของเรากุมลมหายใจไว้ ประหนึ่งว่าสติร้อยรัดเข้ากับลมหายใจ
2. วิธีนี้เป็นวิธีตรงข้ามกับวิธีก่อนคือ เอาเทปเทศน์หรือสวดมนต์มาเปิด แล้วตั้งใจว่า เราจะไม่ให้หูของเรานี้คลาดไปจากเสียงเลย ตั้งแต่ต้น จนจบ

ตอนนี้มาถึงตอนที่สำคัญตอนหนึ่งคือ ทำฌาน 1 แล้วได้อะไร (อานิสงส์)
1. เป็นผู้ไม่ว่างจากฌาน คือตั้งแต่ระดับขณิกสมาธิเป็นต้นมา พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าเป็นผู้ไม่ว่างจากฌาน
2. เป็นผู้รักษาจิตด้วยดี คือ ภิกษุที่บวชแล้ว 100 พรรษา ก็สู้อานิสงส์ของผู้ทำจิตให้ว่างจากกิเลสแม้วาระจิตเดียวไม่ได้
3. เทวดาย่อมรักษา ตามที่หลวงพ่อฯท่านเทศน์ไว้ว่า ผู้ที่จิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ เป็นต้นไปท่านเท้าจตุโลกบาลทั้ง 4 จะส่งทหารของท่านมาคุ้มครอง :b20:
4. ขึ้นชื่อว่าได้กระทำเปลือกความดี คือได้อบรมศีลมาครบถ้วน (อย่างน้อยตอนนั่งสมาธิไม่ได้ไปผิดศีลที่ไหน)
5. ทำอารมณ์อย่างพระอริยะเจ้าได้ (ในกรณีที่ทำสังโยช 3 จนเป็นฌาน 1)
6. ไม่สะดุ้งต่อบาป
7. ถ้าเจริญพุทธานุสติควบคู่ไปด้วยก็ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้สมควรอยู่กับพระพุทธเจ้า
8. ละอัตตาภาพระหว่างทรงฌาน 1 มีพรหมที่ 1 เป็นที่ไปเป็นอย่างน้อย มีพระนิพพานเป็นที่สุด
9. เป็นบาทของฌาน 2 และการตัดกิเลสให้เป็นสมุทเฉทปหานต่อไป

ต่อไปนี้คือเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ได้รวบรวมมาจากประสบการณ์ของหลายๆท่าน
- ฌาน 1 ในพระคาถาเงินล้าน เงินจะเริ่มขังตัว ความคล่องตัวในชีวิตเริ่มเกิดมีขึ้น
- ฌาน 1 ในเมตตาพรหมวิหาร ติดต่อราชการแล้วง่าย สะดวก
- ฌาน 1 ในพุทธานุสติ จะไม่กลัวผี
- ฌาน 1 ในศีลานุสติ จะเป็นผู้องอาจในสังคม คือเข้าไปอยู่ในหมู่คณะโดยไม่ระแวงว่าเขาจะเอาความผิดบาปมาโจทก์ตน
- ฌาน 1 ทำให้เราไม่เป็นคนจับจด ย้ำคิดย้ำทำ บางคนที่ล็อครถแล้วล็อกอีก ก็เพราะจิตตอนที่ล็อกไม่เป็นสมาธิ
- ฌาน 1 เถียงใครก็ชนะ ยกเว้นไปเถียงกับคนที่ได้ฌาน 4 (นี่เจอมากับตัวเอง เรื่องไม่เป็นเรื่องแต่แพ้ชนะกันเพราะว่าคนชนะอารมณ์เยือกเย็น คนแพ้เป็นคนใจร้อน)
- ฌาน 1 ทำให้เราเป็นผู้อยู่ทน คือทนความลำบากได้ เช่นรถติดก็ไม่ร้อนใจ เพราะเราใช้เวลาไปกับการภาวนา, ทนแดดได้เพราะใจเราเย็น, ทนแบกของหนักได้เพราะใจเราเบา
- ฌาน 1 เป็นผู้มีสันดานอ่อน รับฟังคำสั่งสอนได้ ไม่ดื้อด้าน และเป็นผู้อยู่กับคนใดก็ได้
- ฌาน 1 เป็นคนที่คิดการงานรอบคอบ ไม่ตกหล่น รวมทั้งเป็นคนที่ใช้วัตถุต่างๆอย่างรอบคอบ เช่น จอดรถในที่สาธารณะก็จะเผื่อทางออก, บ้านช่องห้องจะเรียบร้อยเป็นระเบียบ (ศีลอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญาว่าบ้านรถไม่ดี สิ่งใดไม่ดี เราไม่ทำ)
- ฌาน 1 เป็นคนจดจำไม่หลงลืมง่าย
เป็นต้น

หมายเหตุว่า
- อานิสงส์ต่างๆนี้ขึ้นอยู่กับกองกรรมฐานด้วยนะครับ ว่าทำอยู่กองใด
- การภาวนาพระคาถาทุกชนิดอานิสงส์เต็มที่พึงได้จะเกิดขึ้นเมื่อเราได้ภาวนาจนเป็นฌาน 4 ครับ
จนจิตคงตัว คือจับได้
จริงๆแล้วการทำฌาน 1 ให้เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่เรื่องยากครับ เป็นสิ่งเล็กน้อย แค่หายใจเข้าพุทธ ออกโธ หรือสำหรับการภาวนาคาถาก็คือภาวนาถูกต้องครบถ้วน แต่อาศัยว่าต้องทำ “อยู่เนืองๆ” คือทุกครั้งที่นึกได้ บางคนเลยมาองว่าเป็นเรื่องยาก

ขอให้กำลังทุกท่านครับ เห็นอานิสงส์มากมายแล้ว คุ้มค่ากับความพยายาม ถูกไหมครับ

โมทนาในจินตมยปัญญาและภาวนามยปัญญาของทุกท่านครับ

อนุโมทนาเจ้าค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2012, 12:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ไม่ถนัดการนั่งสมาธิ ส่วนใหญ่เจริญสติแบบเคลื่อนใหว

การฝึกเอาจิตจับดูการเคลื่อนไหวเป็นวิธีที่ดีมากวิธีหนึ่ง ผมเคยลองฝึกของฉบับหลวงพ่อเทียนทำไปได้สัก5 นาที แล้วก้เลิกทำ แล้วไปหาอะไรกิน ในช่วงนั้นมีความรู้สึกว่าสติว่องไวมาก การรับรู้อารมณ์จะเด่นชัด แล้วความคิดอย่างอื่นจะไม่มารบกวนเรย ติดแต่เพียงว่าฝึกวิธีกำลังสมาธิไม่ค่อยแรงเลย ไม่เหมือนฝึกแบบสมถะ ระงับนิวรณ์ได้ กายเบา จิตเบา ปล่อดโปร่ง เพราะมีสุขกับปิติหล่อเลี้ยง แม้เลิกนั่งมาแล้วก้มีความสุขจากปิติ ติดมาด้วย เพียงแต่ว่าจะมีความคิดอื่นๆแทรกมาได้ง่าย จะนิ่งสงบก้แค่ตอนนั่งเท่านั้น :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2012, 13:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์5 เขียน:
อ้างคำพูด:
ไม่ถนัดการนั่งสมาธิ ส่วนใหญ่เจริญสติแบบเคลื่อนใหว

การฝึกเอาจิตจับดูการเคลื่อนไหวเป็นวิธีที่ดีมากวิธีหนึ่ง ผมเคยลองฝึกของฉบับหลวงพ่อเทียนทำไปได้สัก5 นาที แล้วก้เลิกทำ แล้วไปหาอะไรกิน ในช่วงนั้นมีความรู้สึกว่าสติว่องไวมาก การรับรู้อารมณ์จะเด่นชัด แล้วความคิดอย่างอื่นจะไม่มารบกวนเรย ติดแต่เพียงว่าฝึกวิธีกำลังสมาธิไม่ค่อยแรงเลย ไม่เหมือนฝึกแบบสมถะ ระงับนิวรณ์ได้ กายเบา จิตเบา ปล่อดโปร่ง เพราะมีสุขกับปิติหล่อเลี้ยง แม้เลิกนั่งมาแล้วก้มีความสุขจากปิติ ติดมาด้วย เพียงแต่ว่าจะมีความคิดอื่นๆแทรกมาได้ง่าย จะนิ่งสงบก้แค่ตอนนั่งเท่านั้น :b39:


:b9: ครับกำลังสมาธิจะไม่ค่อยแรงแต่มีข้อดีคือจะไม่มากจนเพลินหรือติดจนไม่อยากกระทบอารมณ์โลก ผมใช้กำลังสมาธิและสติกำหนดรู้ความคิดที่เกิดกับจิต เหมือนดูสายน้ำใหลไป ข้อดีคือสามารถเจริญสติและทำงานไปด้วยได้(คล้ายกับการทำงานคือการปฏิบัติธรรมของท่านพุทธทาส) และจิตเกิดความรู้(วิปัสนา)เสมอเมื่อสัมผัสอารมณ์ที่เิกิดจริงในปัจจุบันขณะ เหมาะกับจริตผมครับเพราะทำสมถะแล้วคอยจะเพลินและง่วง :b30:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2012, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
แต่ถ้าอยู่บ้าน ครองเรือนอยู่อย่างนี้ น่าจะยกวิปัสสนาภาวนาขึ้นมาเจริญสลับไปด้วย ที่สุดจะช่วยให้เข้าฌาณได้ในระดับที่สูงยิ่งๆขึ้นไปโดยไม่ต้องหลีกปลีกวิเวกเข้าวัดเข้าป่า
ขอให้เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาภาวนาเทอญ

อยากทราบว่า วิปัสนาภาวนากับกรรมฐานต่างกันอย่างไรหรอเจ้าค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2012, 22:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
asoka เขียน:
แต่ถ้าอยู่บ้าน ครองเรือนอยู่อย่างนี้ น่าจะยกวิปัสสนาภาวนาขึ้นมาเจริญสลับไปด้วย ที่สุดจะช่วยให้เข้าฌาณได้ในระดับที่สูงยิ่งๆขึ้นไปโดยไม่ต้องหลีกปลีกวิเวกเข้าวัดเข้าป่า
ขอให้เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาภาวนาเทอญ

อยากทราบว่า วิปัสนาภาวนากับกรรมฐานต่างกันอย่างไรหรอเจ้าค่ะ

:b8:
สาธุ
วิปัสสนาภาวนา ทำให้จิต "รู้" รู้ธรรมตามความเป็นจริงจนละความเห็นผิด ยึดผิดได้

กรรมฐาน ทำให้จิต "รวม" รวมเป็นหนึ่งเดียว จนเอาชนะนิวรณ์ธรรมทั้ง 5 ได้ ได้นิมิตและฌาณ ความสงบอย่างยิ่งเป็นผล

สั้นๆอย่างนี้ก่อนนะครับ คนมีสติปัญญาดีเฉียบแหลมอย่าง nongkong คงแทงทะลุรู้ต่อไปได้อีกมากนะครับ
สาธุ
tongue


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร