วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 02:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 00:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิศีล คือ ศีลของพระสงฆ์ ห้ามผิดศีลเด็ดขาดถ้าผิดศีลต้องปาราชิก อย่าขาดตกบกพร่องเด็ดขาด
ศีลใหญ่ ศีลยิ่ง ศีลหลวง ก็น่าจะอันเดียวกัน ความหมายใกล้ๆเคียงกัน

ฆราวาสก็เป็นศีลธรรมดา ขาดตกบกพร่องได้เพราะเป็นแค่ฆราวาส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อธิศีล คือ ศีลของพระสงฆ์ ห้ามผิดศีลเด็ดขาดถ้าผิดศีลต้องปาราชิก อย่าขาดตกบกพร่องเด็ดขาด
ศีลใหญ่ ศีลยิ่ง ศีลหลวง ก็น่าจะอันเดียวกัน ความหมายใกล้ๆเคียงกัน

ฆราวาสก็เป็นศีลธรรมดา ขาดตกบกพร่องได้เพราะเป็นแค่ฆราวาส


เอ...พิกลๆนะเนี่ย

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 19:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อธิศีล คือ ศีลของพระสงฆ์ ....

ฆราวาสก็เป็นศีลธรรมดา ขาดตกบกพร่องได้เพราะเป็นแค่ฆราวาส

:b9: :b9:
ถามหน่อย....โสดาบันที่เป็นฆารวาสนี้นะ....ถือศีล แค่5 ข้อนี้นะ...ศีลของท่านจะขาดตกบกพร่องมั้ย??

บกพร่องไม่ได้หรอก..เพราะท่านมีสติสมบูรณ์...เป็นปกติ...มันเป็นธรรมดาของท่าน

เพราะสติสมบูรณ์พร้อม..ศีลจึงสมบูรณ์..อาการมีศีลของท่านจึงเป็น..อธิศีล..แปลเต็ม ๆ ว่า..ศีลสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง...ก็ไม่ผิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 23:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
อธิศีล คือ ศีลของพระสงฆ์ ....

ฆราวาสก็เป็นศีลธรรมดา ขาดตกบกพร่องได้เพราะเป็นแค่ฆราวาส

:b9: :b9:
ถามหน่อย....โสดาบันที่เป็นฆารวาสนี้นะ....ถือศีล แค่5 ข้อนี้นะ...ศีลของท่านจะขาดตกบกพร่องมั้ย??

บกพร่องไม่ได้หรอก..เพราะท่านมีสติสมบูรณ์...เป็นปกติ...มันเป็นธรรมดาของท่าน

เพราะสติสมบูรณ์พร้อม..ศีลจึงสมบูรณ์..อาการมีศีลของท่านจึงเป็น..อธิศีล..แปลเต็ม ๆ ว่า..ศีลสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง...ก็ไม่ผิด



- ฆราวาสที่ยังไม่ได้โสดาบัน ถ้าศีลขาดตกบกพร่องการปฏิบัติเพื่อไปสู่โสดาบันจะทำได้ยาก มีโอกาสขาดตกบกพร่องเพราะยังมีปัญญาน้อย

- ฆราวาสที่ได้โสดาบัน ก็จะเป็นอริยบุคคล ท่านจะเป็นผู้ทรงศีล 5 บริสุทธิ์ มีสมาธิเล็กน้อย ดำเนินชีวิตไม่ประมาท เข้าสู่กระแสธรรม แต่ยังมีกิเลสตัณหา ราคะอยู่มาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จะว่าไปแล้ว

คุณไม่เที่ยง เกิด ดับ

ก็เป็นนักกระทู้ตัวยง

บางครั้งจะขวางๆอยู่บ้าง

แต่ในความขวางก็เป็นเงือนไขให้มีการแสดงความเห็นได้ดี

สาธุ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 10:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:

- ฆราวาสที่ได้โสดาบัน ก็จะเป็นอริยบุคคล ท่านจะเป็นผู้ทรงศีล 5 บริสุทธิ์ มีสมาธิเล็กน้อย ดำเนินชีวิตไม่ประมาท เข้าสู่กระแสธรรม แต่ยังมีกิเลสตัณหา ราคะอยู่มาก

เห็นมั้ยละ....ยังดับทุกข์ไม่ได้....แต่ศีลบริสุทธิ์ได้
แต่ศีลบริสุทธิ์....นำไปสู่การดับทุกข์ได้

ดังนั้น...
อ้างคำพูด:
: หากดับเหตุแห่งทุกข์ไม่ได้จะเป็นคนมีศีลได้อย่างไร

ผิด...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 11:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:

- ฆราวาสที่ได้โสดาบัน ก็จะเป็นอริยบุคคล ท่านจะเป็นผู้ทรงศีล 5 บริสุทธิ์ มีสมาธิเล็กน้อย ดำเนินชีวิตไม่ประมาท เข้าสู่กระแสธรรม แต่ยังมีกิเลสตัณหา ราคะอยู่มาก

เห็นมั้ยละ....ยังดับทุกข์ไม่ได้....แต่ศีลบริสุทธิ์ได้
แต่ศีลบริสุทธิ์....นำไปสู่การดับทุกข์ได้

ดังนั้น...
อ้างคำพูด:
: หากดับเหตุแห่งทุกข์ไม่ได้จะเป็นคนมีศีลได้อย่างไร

ผิด...



โสดาบัน คือขั้นต้น ยังไม่สามารถพ้นทุกข์ได้ คือเข้าสู่กระแสธรรมเท่านั้น ยังมีกิเลสมาก แค่ทำให้ทุกข์เบาบางเท่านั้น ดับทุกข์ได้เล็กน้อยจึงมีศีลเล็กน้อย (ศีล 5) เชื่อว่าในคำสอนของพระุพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คิดว่าตนเองต้องตาย มีศีล 5 บริสุทธ์ มีปัญญา และสมาธิเล็กน้อย ดับทุกข์ได้ต้องมีปัญญามากๆ หรือเจริญปัญญา (วิปัสสนาภาวนา) จะละโกรธ โลภ หลง ได้ตามลำดับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:

- ฆราวาสที่ได้โสดาบัน ก็จะเป็นอริยบุคคล ท่านจะเป็นผู้ทรงศีล 5 บริสุทธิ์ มีสมาธิเล็กน้อย ดำเนินชีวิตไม่ประมาท เข้าสู่กระแสธรรม แต่ยังมีกิเลสตัณหา ราคะอยู่มาก

เห็นมั้ยละ....ยังดับทุกข์ไม่ได้....แต่ศีลบริสุทธิ์ได้
แต่ศีลบริสุทธิ์....นำไปสู่การดับทุกข์ได้

ดังนั้น...
อ้างคำพูด:
: หากดับเหตุแห่งทุกข์ไม่ได้จะเป็นคนมีศีลได้อย่างไร

ผิด...



โสดาบัน คือขั้นต้น ยังไม่สามารถพ้นทุกข์ได้ คือเข้าสู่กระแสธรรมเท่านั้น ยังมีกิเลสมาก แค่ทำให้ทุกข์เบาบางเท่านั้น ดับทุกข์ได้เล็กน้อยจึงมีศีลเล็กน้อย (ศีล 5) เชื่อว่าในคำสอนของพระุพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ คิดว่าตนเองต้องตาย มีศีล 5 บริสุทธ์ มีปัญญา และสมาธิเล็กน้อย ดับทุกข์ได้ต้องมีปัญญามากๆ หรือเจริญปัญญา (วิปัสสนาภาวนา) จะละโกรธ โลภ หลง ได้ตามลำดับ



อ้างคำพูด:
ดับทุกข์ได้ต้องมีปัญญามากๆ หรือเจริญปัญญา (วิปัสสนาภาวนา) จะละโกรธ โลภ หลง ได้ตามลำดับ


ตอบอย่างนี้เรียกบันลือสีหนาถ (ฟันธง) เป็นการตอบแบบเอกังวาท

สำหรับที่ถกเถียงกันอยู่ไม่เป็นไปในทางเดียวประการเดียว

ต้องตอบแบบวิภิชชรวาท คิอแยกแยะ

พระพุทธเจ้าทรงรับการยกย่องว่าทรงเป็นวิภัชชรวาท

หนทางการดับทุกข์ถึงแม้สุดท้ายต้องใช้ปัญญก็จริง

แต่วิธีการมีหลากหลายวิธีตามจริตขิงแต่ละคน
อ้างคำพูด:
หลักปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ (จริต) ๑๕


ตอนที่แล้วได้กล่าวถึงครูอาจารย์ที่ควรไปฝากตัวเป็นศิษย์

เมื่อเข้าไปพบอาจารย์กรรมฐานแล้ว เราจะต้องเรียนกรรมฐานจากอาจารย์ให้เหมาะสมกับจริตของตนเอง จึงจะทำให้การปฏิบัติธรรมประสบผลสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว

๓.๒ จริต

จริต หมายถึงบุคคลที่มีพื้นเพของจิตใจหรือนิสัยลักษณะความประพฤติหนักไปในทางใดทางหนึ่ง อันเป็นปกติประจำสันดาน พื้นเพของจิต อุปนิสัย แบบหรือประเภทใหญ่ ๆ แห่งพฤติกรรมของคน

จริต จัดเป็นประเภทใหญ่ได้ ๖ ประเภท คือ

๑. ราคจริต ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยหนักไปทางราคะ รักสวยรักงาม ละมุนละไม

๒. โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยหนักไปโทสะ มีใจร้อน หงุดหงิดง่าย

๓. โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยหนักไปทางโมหะ มีความเขลา เหงาซึม งมงาย ใครว่าอย่างไรก็เห็นคล้อยตามไป

๔. สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยหนักไปด้วยศรัทธา มีจิตซาบซึ้ง ชื่นบาน น้อมใจเลื่อมใสง่าย

๕. พุทธิจริต ผู้มีความใฝ่รู้เป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยชอบหาความรู้ ชอบใช้ความคิดพิจารณาหาความจริง และมองไปตามความจริงนั้น ๆ

๖. วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัย ชอบครุ่นคิด วกวน นึกคิดจับจด ฟุ้งซ่าน ไม่กล้าตัดสินใจ

บุคคลทั่วไปมักมีจริตต่าง ๆ กัน แต่ไม่ใช่ว่าคนนั้น ๆ จะมีจริตอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น บางคนอาจมีจริตปนกัน เช่น ราคโทสจริต ราคโมหจริต ราคโทสโมหจริต สัทธาพุทธิจริต สัทธาวิตกจริต พุทธวิตกจริต สัทธาพุทธิวิตกจริต

ตัวความประพฤติเรียกว่า จริยา บุคคลผู้ประพฤติอย่างนั้นเรียกว่า จริต ดังนั้น อาจารย์ผู้สอนกรรมฐานจะต้องรู้ว่าศิษย์ของตนคนนั้น ๆ มีจริตอย่างไร ควรให้กรรมฐานแบบไหนให้เหมาะสมกับจริตนิสัยของศิษย์คนนั้น ๆ

วิธีสังเกตจริต

ในหนังสือวิมุตติมรรคท่านได้แสดงวิธีสังเกตจริตไว้ ๗ ประการ คือ

๑. ลักษณะการมองดูรูป

๒. ลักษณะการเดิน

๓. ลักษณะการนุ่งห่ม

๔. ลักษณะการบริโภค

๕. ลักษณะการทำงาน

๖. ลักษณะการนอน

๑.ลักษณะการมองดูรูป

บุคคลราคจริต มองดูรูปเสมือนหนึ่งเขาไม่เคยเห็นมาก่อน เขามองไม่เห็นข้อเสียของรูปนั้น และไม่ได้พิจารณาแม้คุณความดีของรูปแม้เพียงเล็กน้อย เขาไม่เป็นอิสระจากความต้องการในรูปารมณ์นั้นได้ แม้หลังพิจารณาแล้วก็ยังไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้

บุคคลโทสจริต มองดูรูปไม่นานราวกับว่าเหนื่อยหน่าย เมื่อเขารู้สึกหงุดหงิดจะก่อการ ทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นบ่อย ๆ แม้สิ่งใดไม่ดีเขาก็ไม่ชอบใจ วิถีชีวิตของเขากำหนดโดยโทษ เขามีท่าทีต่ออารมณ์ทางทวารอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

บุคคลโมหจริต มองดูรูปด้วยอาการดังนี้ คือ ในเรื่องคุณและโทษของสิ่งใด ๆ ก็ตามเขาจะเชื่อคนอื่น ใครเห็นว่าอะไรมีค่าหรือน่าชมเขาก็ว่าตาม ใครว่าไม่ดีไม่น่าชมเขาก็ว่าตาม ทั้งนี้ก็เพราะเขาไม่รู้อะไร เขามีท่าทีต่ออารมณ์ทางทวารอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน

๒. ลักษณะการเดิน

บุคคลราคจริต อาการที่ก้าวเดินตามธรรมชาติ คือ ยกเท้าเดินเร็ว ก้าวสม่ำเสมอ สาวเท้าสม่ำเสมอ วางลงไม่ราบเต็มพื้นเท้า ยกเท้ากาวเดินสง่างาม

บุคคลโทสจริต อาการที่ก้าวเดินตามธรรมชาติ คือ กระตุกเท้ายกขึ้นและเวลาเหยียบลงผลุนผลัน เท้าเฉียดกัน วางเท้าคล้ายกับจะขุดดิน

บุคคลโมหจริต อาการที่ก้าวเดินตามธรรมชาติ คือ ยกเท้าปัดไปปัดมา และเวลาเหยียบลงก็เช่นกัน ทำให้เท้ากระทบกัน

๓.ลักษณะการนุ่งห่ม

บุคคลราคจริต เธอไม่ชอบครองจีวรเก่าหรือขาด เวลาครองจีวรจะช้า ไม่ห้อยรุ่มร่าม ห่มจีวรเป็นปริมณฑลเรียบร้อย น่าดู น่าชม

บุคคลโทสจริต จะครองจีวรเร็ว จีวรจะสูงเกินควรไม่เป็นปริมณฑล ไม่เรียบร้อย

บุคคลโมหจริต จะครองจีวรช้า แต่ไม่เป็นปริมณฑล ไม่เรียบร้อย ไม่น่าดู ไม่น่าชม

๔.ลักษณะการบริโภค

บุคคลราคจริต ชอบอาหารมีรสกลมกล่อม ประณีต มีรสหวาน ขณะบริโภคตะล่อมอาหารเรียบรอยพอเหมาะเป็นคำ ๆ และค่อย ๆ บริโภคด้วยความพอใจในรส แม้จะไม่อร่อยนักก็รู้สึกพอใจมาก ต้องการอาหารพอสมควร

บุคคลโทสจริต ชอบอาหารรสเปรี้ยว ขณะบริโภคไม่ตะล่อมให้เป็นคำเรียบร้อย บริโภคคำโต ถ้ามีอาหารไม่อร่อยจะไม่พอใจบริโภคน้อย

บุคคลโมหจริต ชอบอาหารไม่แน่นอบ ขณะบริโภคไม่ตะล่อมให้เป็นคำเรียบร้อย บริโภคคำเล็ก ทำอาหารเปรอะเปื้อน อาหารเข้าปากบ้างตกลงภาชนะบ้าง การบริโภคไม่สำรวม

๕. ลักษณะการทำงาน

บุคคลราคจริต จับไม้กวาดพอดีและกวาดอย่างไม่รีบเร่ง ไม่ทำให้ขยะกระจัดกระจาย ทำงานเรียบร้อย ทำอะไรทุกอย่างสม่ำเสมอโดยไม่คิดฟุ้งซ่าน

บุคคลโทสจริต คว้าไม้กวาดได้อย่างเร่งรีบและกวาดรวดเร็ว ทำให้ขยะกระจัดกระจายไปทั้งสองทาง และเกิดเสียงดังน่ารำคาญ ทำงานได้เรียบร้อยแต่ไม่สม่ำเสมอ และไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอยมีสมาธิในการทำงาน

บุคคลโมหจริต จับไม้กวาดเชื่องช้า ทำงานไม่เรียบร้อยและไม่สม่ำเสมอ มีจิตใจวุ่นวาย ชอบทำงานหลายอย่างพร้อม ๆ กันแต่ไม่สำเร็จสักอย่าง

๖. ลักษณะการนอนหลับ

บุคคลราคจริต จัดเตรียมที่นอนเรียบร้อยไม่รีบร้อน ค่อย ๆ เอนกายลงนอนและงอแขนงอขาเข้า เมื่อถูกปลุกให้ลุกขึ้นในเวลากลางคืนจะลุกขึ้นทันทีทันใด และตอบแบบไม่เต็มใจ

บุคคลโทสจริต ไม่จัดที่นอนให้เรียบร้อย รีบร้อนและนอนลง ณ สถานที่ที่ได้พบ เกิดอาการหน้านิ่วคิ้วขมวดเวลานอนหลับ เมื่อถูกปลุกให้ตื่นในเวลากลางคืน จะลุกขึ้นทันทีและตอบแบบไม่พอใจ

บุคคลโมหจริต ไม่เตรียมที่นอนให้เรียบร้อย เวลาหลับแขนขาอ้าถ่างออกเหลือแต่ตัวที่มีการปกคลุม เมีอถูกเรียกให้ตื่นในเวลากลางคืน จะบ่นพึมพำ และใช้เวลานานจึงค่อยตอบ

๗.สังเกตจากกิเลส

บุคคลราคจริต มี ๕ ประการ คือ ริษยา มานะ เจ้าเล่ห์ โอ้อวด มักมาก

บุคคลโทสจริต มี ๕ ประการ คือ มักโกรธ พยาบาท ลบหลู่คุณท่าน ตระหนี่ ผูกโกรธ ผูกใจเจ็บ

บุคคลโมหจริต มี ๕ ประการ คือ ยินดีในกาม ง่วงเหงาซึมเซา หงุดหงิดรำคาญ เจ้าอารมณ์ ขี้สงสัย หลงใหลงมงาย

เมื่ออาจารย์สังเกตจริตจากศิษย์แล้วจึงให้กรรมฐานที่เหมาะแก่จริตของแต่ละบุคคล จึงจะทำให้การปฏิบัติได้ผลรวดเร็ว






.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 13:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จากหนังสือพุทธธรรมหน้853-854

จริย แปลว่าความประพฤติปกติ หมายถึงพื้นเพของจิต พื้นนิสัย ลักษณะความประพฤติที่หนักไปทางใดทางหนึ่งตามสภาพจิตที่เป็นปกติของบุคคลนั้นๆ ตัวความประพฤติหรือลักษณะนิสัยนั้นเรียกว่า จริยา บุคลลที่มีลักษณะนิสัยและความประพฤติอย่างนั้นๆเรียกว่า จริต เช่นคนมีราคจริยา เรียกว่า ราคจริต เป็นต้น จริตประเภทใหญ่มี6คื่อ

1.ราคจริต ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยหนักไปทางราคะ ประพฤติหนักไปทางรักสวยรักงาม ลัมุนละไม ควรใช้กรรมฐานคู่ปรับคือ อสุภะ(และกายคตาสติ)

2.โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยหนักไปทางโทสะ ประพฤติหนักไปทางใจร้อนหงุดหงิดรุนแรง กรรมฐานที่เหมาะคือ เมตตา (รวมไปถึงพรหมวิหารข้ออืนๆและกสิณโดยเฉพาะวรรณกสิณ)

3.โมหจริต ผู้มี"มหะเป็รความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยหนักไปทางโมหะ ประพฤติหนักไปทางเขลา เหงาซึม เงื่อนงง งมงาย ใครว่าอย่างไรก็คอยเห็นคล้อยตามไป พึงแก้ด้วยมีการเรียน ไถ่ถาม ฟังธรรม สนทนาธรรมตามกาล หรืออยู่กับครู(กรรมฐานที่เกื้อกูลคือ อานาปานสติ)

4.สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ มีนิสัยมากด้วยศรัทธา ประพฤติหนักไปทางมีจิตซาบซึ้ง ชื่นบาน น้อมใจ เลื่อมใสโดยง่าย พึงชักนำไปในสิ่งที่ควรแก่ความเลื่อมใส และความเชื่อที่มีเหตุผล เช่น ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และศีลของตน(อนุสต 6 ข้อแรก ได้ทั้งหมด)

5.พุทธจริต หรือ ญาณจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยความประพฤติหนักไปทางใช้ความคิดพิจารณา และมองไปตามความจริง พึงส่งเสริมด้วยแนะนำให้ใช้ความคิดพิจารณา อุปสมานุสติ จตุธาตุวัฏฐาน อาหาเร ปฏิกูลสัญญา)

6.วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยความประพฤติหนักไปทางชอบครุ่นคิดวกวน นึกคิดจับจดฟุ้งซ่าน พึงแก้ด้วยสิ่งที่สะกดอารมณ์ เช่น เจริญอานาปานสติ (หรือเพ่งกสิณเป็นต้น)

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้

แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 14 พ.ค.2010, 12:23 pm, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาที่เป็นปัญญาในการบรรลุธรรมคือปัญญาญาณ

ส่วนหนึ่งเกิดจากผลของการทำสมาธิ

อาจเป็นในรูปของนิมิต

http://board.plungjai.com/index.php?topic=1292.0


อ้างคำพูด:
นิมิตอันเกิดแต่การปฏิบัติพระกรรมฐาน ผู้เขียนขอจำแนกแตกธรรมออกเป็นไปใน ๓ ลักษณะใหญ่ ที่มักเกิดขึ้นทั่วไปเสมอๆ ในการปฏิบัติ หรือแม้แต่ในชีวิตประจำวันในผู้ที่มีความชำนาญ มีดังนี้



1. รูปนิมิต หมายถึง การเห็น ภาพ อันปรากฏขึ้นเฉพาะแก่ผู้ปฏิบัตินั้นๆ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติหรือผู้เจริญกรรมฐานเป็นสำคัญ เช่น การเห็นภาพอดีต อนาคต หรือเห็นภาพในสิ่งที่อยากเห็น เช่น เทวดา ผี นรก สวรรค์ วิมาน พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ แม้แต่พระพุทธเจ้า หรือโอภาสการเห็นเป็นแสง, สี, ดวงไฟต่างๆ อันต่างล้วนน่าพิศวงชวนให้ตื่นตาเร้าใจ จึงมักอธิโมกข์น้อมเชื่ออย่างงมงายด้วยอวิชชาอันมีมาแต่การเกิดเป็นธรรมดา หรือการเห็นภาพที่ปรากฏเฉพาะขึ้นของนักปฏิบัติในสิ่งที่กำหนดเป็นอารมณ์, กสิณ หรือบริกรรมจากการปฏิบัติภาวนา และยิ่งเกิดง่ายขึ้นเมื่อมีผู้ฝึกสอนที่นักปฏิบัติเชื่อหรือศรัทธาอย่างอธิโมกข์คอยโน้มน้าวจิตให้เห็นในสิ่งต่างๆนั้น


2. เสียงนิมิต การได้ยินเป็นเสียง อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นเหตุหรือเป็นสำคัญ เช่น เป็นเสียงเตือนระวังอะไรๆ เสียงสั่งสอน เสียงเทพ เสียงผีเสียงปีศาจ เสียงระฆัง เสียงกลอง เสียงสวดมนต์ เสียงพูดต่างๆ เสียงคนพูดบอกกล่าวต่างๆ แม้แต่เสียงในใจจากผู้ที่พบปะ ฯ. แล้วย่อมน้อมเชื่ออย่างรุนแรงด้วยอธิโมกข์ เพราะอวิชชาเป็นเหตุ


3. นามนิมิต เป็นความคิดหรือความรู้ที่ผุดแสดงแวบปิ๊งขึ้นในใจ อันมักเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติที่ไปพัวพัน แต่มิได้เกิดแต่ปัญญาไปเห็นความจริง เช่น เกิดความคิด ที่คิดว่าเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องราวที่หมกมุ่นพิจารณา หรือศึกษา หรืออยากรู้ หรือเป็นความรู้ในธรรมต่างๆนาๆที่พิจารณา ซึ่งอาจถูกหรือผิดก็ได้ แต่มักจะผิดถ้าไม่ได้เกิดแต่การพิจารณาโดยปัญญา อย่างถูกต้อง และเมื่อบังเอิญเกิดถูกต้องขึ้นบ้าง ก็กลับเป็นบ่อเกิดของอธิโมกข์อันแรงกล้าในภายหน้า


นิมิตเหล่านี้ มักเกิดขึ้นในภาวะของภวังคจิตที่จะกล่าวในลำดับต่อไป จิตจึงเกิดการอธิโมกข์น้อมเชื่ออย่างรุนแรงแต่เป็นไปอย่างผิดๆหรือขาดเหตุผล จึงยังให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสในข้อญาณ คือมิจฉาญาณ คือไปยึดไปเข้าใจว่าความเข้าใจเหล่านั้นเป็นไปอย่างถูกต้องแน่นแฟ้นด้วยอธิโมกข์เป็นเครื่องหนุน


บางครั้งยังเกิดนิมิตทางจมูกก็ยังมี คือ ได้กลิ่นอันเกิดแต่ใจตนเป็นเหตุ ก็ยังมีได้ เช่นเกิดจากจิตเป็นกังวลหมกมุ่น ฯ.


อนึ่งเป็นสิ่งที่น่ารู้ไว้อย่างยิ่งว่า นิมิต นั้นเมื่อปฏิบัติไปด้วยความเชื่อจนเกิดการสั่งสม ความชำนาญขึ้น บางครั้งนิมิตนั้นก็เกิดขึ้นในวิถีจิตหรือวิถีชีวิตปกติได้เช่นกัน กล่าวคือเมื่อเคยเกิดนิมิตขึ้นในขณะปฏิบัติแล้ว ซึ่งแรกๆก็มักเกิดขึ้นจากการปฏิบัติพระกรรมฐานโดยตรง แล้วเกิดนิมิตขึ้น จนเกิดการเห็นการใช้ในนิมิตต่างๆชำนาญขึ้นโดยไม่รู้ตัว เมื่อเกิดการสั่งสมได้ระยะหนึ่งจนเกิดความชำนาญ จึงอาจเกิดนิมิตได้แม้ในยามวิถีจิต(วิถีชีวิตที่มีการรับรู้ตามปกติ)นี่เอง เมื่อน้อมนำหรือถูกกระตุ้นเร้าขึ้น จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดี และมักเข้าใจผิดไปยึดไปเชื่อกันว่าถูกต้องแน่นนอนเป็นอิทธิฤทธิ์หรือปาฏิหาริย์ จึงพาให้ทั้งตนเองและอีกทั้งผู้อื่นพากันไปหลงเชื่ออย่างหัวปักหัวปำ(อธิโมกข์)ในสิ่งที่เห็น หรือในสิ่งที่เข้าใจไปนั้นๆ ก็ด้วยอวิชชานั้นแล

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร