วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 19:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2011, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
จางบาง เขียน:
ศีล ไม่ได้ทำให้เกิดสมาธิ
สมาธิ ไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา
s004


วิปัสสนาทำให้เกิดปัญญา (ปัญญาดับทุกข์) รู้ผิดชอบ ชั่วดี นี่เรียกว่าคนมีปัญญา
ทำให้เราละกิเลส นี่เรียกว่าคนมีศีล เมื่อมีศีลจิตใจก็ผ่องใส นี่เรียกว่าคนมีสมาธิ เมื่อมีสมาธิแล้วใจก็สงบ ผ่องใส ไม่ฟุ้งซ่าน

- ที่ว่าสมาธิไม่ทำให้เกิดปัญญาผมเห็นด้วย
- แต่เรื่องศีล ไม่ได้ทำเกิดสมาธิผมขอคัดค้านครับ เพราะเมื่อมีศีลแล้วกิเลสเราก็เบาบาง เราก็มีสมาธิเกิดขึ้น (สมาธิของผมไม่ใช่การนั่งสมาธิ แต่คือจิตใจผ่องใส สงบ)

เรื่องสมาธิหรือปัญญา มีเหตุปัจจัยมาจากสติทั้งนั้นครับ เขาเรียกว่าสติปัสฐาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 04:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าหากจะกล่าวถึง สมาธิตามธรรมชาติ ก็ไม่จำเป็นต้องจำกัดขอบเขตว่าศีลเป็นเครื่องทำให้เกิด
เพราะแค่สมาธิในระดับตั้งมั่น อ่อนโยน และยังไม่ถูกรบกวนด้วยอกุศล ก็มีได้ในหลายโอกาส

แต่ถ้าจะกล่าวถึงสมาธิในชั้นของความเป็นฌาณ หรืออัปปณาสมาธิขึ้นไป การสมาทานศีล
ไม่ได้ช่วยให้ฌาณเกิดมีขึ้นเมื่อแค่มีศีล แต่บุคคลจะมีสมาธิชั้นนี้ได้ ต้องไปศึกษาฝึกฝน
ในเรื่องของเทคนิคการทำสมาธิด้วยกัมมัฏฐานกองใดกองหนึ่ง และเมื่อมีการกระทำสาธิให้ถูกวิธี
ต่างหากจึงเกิดมีสมาธิขึ้นมาได้ ไม่ใช่ศีลทำให้เกิดสมาธิ แต่ศีลคือรากฐานที่สำคัญในการที่
จะช่วยให้บุคคลผู้มุ่งหวังสมาธิทำมาธิได้ง่ายขึ้น

ส่วนสมาธิ ไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา หรือเกิดญาณทัสสนะ
เพราะการจะเกิดปัญญา หรือญาณทัสสะ ต้องเติมเทคนิคของวิปัสสนาเข้าไป
แต่สมาธิที่ดีจะเป็นรากฐานสำคัญในการส่งเสริมการกระทำวิปัสสนาให้สมบูรณ์ได้


onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 10:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


จางบาง เขียน:
ถ้าหากจะกล่าวถึง สมาธิตามธรรมชาติ ก็ไม่จำเป็นต้องจำกัดขอบเขตว่าศีลเป็นเครื่องทำให้เกิด
เพราะแค่สมาธิในระดับตั้งมั่น อ่อนโยน และยังไม่ถูกรบกวนด้วยอกุศล ก็มีได้ในหลายโอกาส

แต่ถ้าจะกล่าวถึงสมาธิในชั้นของความเป็นฌาณ หรืออัปปณาสมาธิขึ้นไป การสมาทานศีล
ไม่ได้ช่วยให้ฌาณเกิดมีขึ้นเมื่อแค่มีศีล แต่บุคคลจะมีสมาธิชั้นนี้ได้ ต้องไปศึกษาฝึกฝน
ในเรื่องของเทคนิคการทำสมาธิด้วยกัมมัฏฐานกองใดกองหนึ่ง และเมื่อมีการกระทำสาธิให้ถูกวิธี
ต่างหากจึงเกิดมีสมาธิขึ้นมาได้ ไม่ใช่ศีลทำให้เกิดสมาธิ แต่ศีลคือรากฐานที่สำคัญในการที่
จะช่วยให้บุคคลผู้มุ่งหวังสมาธิทำมาธิได้ง่ายขึ้น

ส่วนสมาธิ ไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา หรือเกิดญาณทัสสนะ
เพราะการจะเกิดปัญญา หรือญาณทัสสะ ต้องเติมเทคนิคของวิปัสสนาเข้าไป
แต่สมาธิที่ดีจะเป็นรากฐานสำคัญในการส่งเสริมการกระทำวิปัสสนาให้สมบูรณ์ได้


onion


การนั่งสมาธิ ทำให้เราสงบเท่านั้นไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา เรียกว่า มิจฉาสมาธิ คือ สมาธิไม่มีปัญญาประกอบ
แต่ที่สงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้านั่งทำสมาธิ เรียกว่า สัมมาสมาธิ คือ สมาธิที่มีปัญญาประกอบแล้ว


ตอนนั่งทำสมาธิไม่ถูกอกุศลรบกวนเพราะเราสงบ แต่หลังเลิกทำสมาธิหากมีคนมาด่า หรือได้เห็นภาพ ได้กลิ่นเหม็น หรือใจกุศล เป็นต้น แล้วเราเกิดความพอใจ ไม่พอใจ ได้ทันทีนี่ นี่แหละเรากำลังบำเพ็ญโลภะ โทสะ หรือโมหะ สะสมในตัวเราทุกวินาที นี่แหละสาเหตุแห่งทุกข์ที่แท้จริง จุดประสงค์ของเราคือต้องการดับทุกข์เราต้องฝึกจากชีวิตประจำวันของเราเจอผู้คนหลากหลาย เจอวัตถุสิ่งของ ได้กลิ่น ได้ยิน ได้รส สัมผัสต่างๆ พิจารณาว่าสิ่งต่างๆไม่เที่ยง มีเกิด มีดับเป็นธรรมดา
นี่คือการวิปัสสนา ไม่ใช่ไปสงบชั่วคราว พอลืมตาจากสมาธิ แค่ใจคิดลึกอยากได้นั้นอยากได้นี่
แค่นี่ก็บำเพ็ญความพอใจแล้ว (ความโลภ) บริสุทธิ์ต้องบริสุทธิ์ทั้ง 3 ทาง กาย วาจา ใจ



ไตรสิกขา "ปัญญา ศีล สมาธิ"
สมาธิในไตรสิกขา คือ นำไปสู่ความสงบเท่านั้นไม่มีโลภ โำกรธ หลง
ศีล คือ ทำความดี ให้ทาน ทำบุญ กิเลสเบาบาง
หากเรามีศีล สมาธิก็เกิดขึ้น จะทำงาน ทำกิจการ ธุรกิจ ดำเนินชีวิตอย่างราบรื่น มีสติ ทำอะไรคิดหน้าคิดหลัง

ไม่ใช่การนั่งทำสมาธิ (ที่ไม่มีปัญญาประกอบ) หรือถือศีล 5 วัน 7 วัน
นี่ไม่ใช่วิธีดับเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง การดับทุกข์ต้องดับที่ขันธ์ 5 และอินทรีย์ 6 คือ การวิปัสนา
เพื่อให้ได้มาซึ่งปัญญานำมาใช้ในการดับเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง ไม่ใช่ดับที่ผล (ถือศีล)
นี่เป็นหนทางเดียว หรือทางสายเอกเดียวเท่านั้นนอกนั้นดับทุกข์ไม่ได้

ในพระไตรปิฎกสอนเรื่องทุกข์ และการดับทุกข์เท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 16:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณของสมาธิ คือ การทำให้ผู้สัมผัสสมาธิ รู้เวทนา/อารมณ์สมาธิ

เช่นเดียวกับผัสสะอื่น ๆ
คุณของผัสสะ ก็คือ ทำให้รู้เวทนา/อารมณ์

และ/เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้แยกแยะเลือกใช้อารมณ์อันเป็นคุณ
พิจารณาธรรมอันสมควรตามธรรม(อริยสัจจ)เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ตามคำสอนพระพุทธองค์

และเพื่อทำให้ผู้เพียรเพ่งอยู่ได้พิจารณาผัสสะ พิจารณาเวทนา/อารมณ์
วิปัสสนาคือ เพ่งในกระบวนการรู้ (การทำงานของวิญญาณ)

:b46: :b41: :b46: :b41: :b46:

เมื่อ เวทนา สัญญา วิญญาณ เกิดร่วมกัน เราจะเห็นสิ่งที่เราเห็น
คือเห็นว่าเป็น/รู้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกรู้

เมื่อ ปัญญา วิญญาณ เกิดร่วมกัน เราจะเห็นการรู้
คือเห็นว่า เราเป็นรู้ รู้เป็นเรา รู้เป็นจิต
และสภาวะนั้น ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
จิตเป็นเช่นนั้นเอง
จิตเป็นประภัสสร เศร้าหมองเพราะกิเลสจรมา

คิดไม่เห็น จะเห็นเมื่อหยุดคิด

เมื่อผู้ปฏิบัติที่เข้าไปเห็นเช่นนั้น
จะเหมือนเห็นดวงแก้วอัญมณีล้ำค่าอันเป็นที่รัก
แตกสลายลงกับตา แต่ก็กลับมาประกอบรวมกันใหม่ แต่ไม่อาจกลับเป็นเหมือนเดิม
หรือลองลอยหลุดมือไป แสดงความเป็นอิสระจากเราครอบครอง
แต่อาลัยนั้นมีอยู่ แต่มันรู้แก่ใจสิ้นแล้วมิอาจครอบครอง
ด้วยอาลัยก็ยังอาจเดินตามประคองสายตามองดวงแก้วนั้นไปห่าง ๆ
รอวัน อาลัย สิ้นเชื้อ
ถ้าผู้ที่กล้าแข็ง อาจจะตัดอาลัยใน ธาตุ(ดวงแก้ว) นั้นได้ทันที

:b48: :b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 17:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณไม่เที่ยง เคยปฏิบัติสมาธิเหร๋อ
ดูเหมือนคุณจะรู้แง่เสียของสมาธิดีน่ะ

ลองเล่าประสบการณ์ให้ฟังหน่อยก็ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 20:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดี..... :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 21:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สวัสดี..... :b12:


:b1: :b12: :b16:

ดีเลยยยยยยยยยยย....

จะได้ไปแอบหลับต่อ....

:b30: :b30: :b30:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 21:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
คุณไม่เที่ยง เคยปฏิบัติสมาธิเหร๋อ
ดูเหมือนคุณจะรู้แง่เสียของสมาธิดีน่ะ

ลองเล่าประสบการณ์ให้ฟังหน่อยก็ได้


การทำสมาธิไม่มีปัญญาประกอบ หรือไม่มีสัมมาทิฏฐิ ก็ได้แค่ความสงบเท่านั้นไม่มีทางดับทุกข์
ฝึกจนเป็นนิสัย หรือลึกเข้าไปถึงญาณเราก็จะติดสุขกับการทำสมาธิเพราะว่ามันสงบ ยากที่จะเลิกได้
ยิ่งกว่า เลิกยาเสพติด เหล้า บุหรี่เสียอีก และผลักตัวเองออกจากศาสนาพุทธ ไปสู่ศาสนาพรหม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 21:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
eragon_joe เขียน:
คุณไม่เที่ยง เคยปฏิบัติสมาธิเหร๋อ
ดูเหมือนคุณจะรู้แง่เสียของสมาธิดีน่ะ

ลองเล่าประสบการณ์ให้ฟังหน่อยก็ได้


การทำสมาธิไม่มีปัญญาประกอบ หรือไม่มีสัมมาทิฏฐิ ก็ได้แค่ความสงบเท่านั้นไม่มีทางดับทุกข์
ฝึกจนเป็นนิสัย หรือลึกเข้าไปถึงญาณเราก็จะติดสุขกับการทำสมาธิเพราะว่ามันสงบ ยากที่จะเลิกได้
ยิ่งกว่า เลิกยาเสพติด เหล้า บุหรี่เสียอีก และผลักตัวเองออกจากศาสนาพุทธ ไปสู่ศาสนาพรหม


:b6: อืมมมม

นี่เป็นการเล่าประสพการณ์การฝึกสมาธิของคุณแล้วหรือนี่
เหมือนคุณกำลังเล่าความเชื่อของคุณเลย

นี่คุณกลัวการเกิดเป็นพรหมเหร๋อ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 21:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
การทำสมาธิไม่มีปัญญาประกอบ หรือไม่มีสัมมาทิฏฐิ ก็ได้แค่ความสงบเท่านั้นไม่มีทางดับทุกข์
ฝึกจนเป็นนิสัย หรือลึกเข้าไปถึงญาณเราก็จะติดสุขกับการทำสมาธิเพราะว่ามันสงบ ยากที่จะเลิกได้
ยิ่งกว่า เลิกยาเสพติด เหล้า บุหรี่เสียอีก และผลักตัวเองออกจากศาสนาพุทธ ไปสู่ศาสนาพรหม


คุณแสดงธรรมที่ว่าจะทำให้คุณพ้นทุกข์
แต่คุณก็ยังแสดงธรรมที่คุณว่ามันน่ากลัว และเหตุผลที่คุณเห็นว่ามันน่ากลัวเต็มไปหมด
เมื่อยังมีสิ่งที่คุณกลัว คุณยังคิดว่าสิ่งที่คุณปฏิบัติทำให้คุณพ้นทุกข์ได้จริง ๆ เหร๋อ

เหมือนที่มีคนกล่าวว่า สมาธิเหมือนหินทับหญ้า

ก็ยังเห็นสมาธิเป็นหินทับหญ้า ไง

จึงไม่เห็นอารมณ์

ผู้ไม่เห็นอารมณ์ ยังจะกล่าวว่าเป็นผู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ได้หรือ

ความเป็นพระพุทธองค์ กับ ความเป็นพรหม ไม่ใช่สิ่งที่ขัดแย้งกัน
ต่างเป็นเช่นนั้น

สิ่งที่ขัดแย้งกันคือความเชื่อของคนเกี่ยวกับพระพุทธองค์ เกี่ยวกับพรหม
และสรรพสิ่งอื่น ๆ ในสังการวัฏ เพราะต่างก็คิดจะให้เป็นเช่นั้นบ้าง เช่นนี้บ้าง

:b45: :b42: :b45: :b42: :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 21:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิ....ในจิตนาการ

เขาว่ามาอย่างงั้นอย่างงี้....ก็คิดไปแล้วววว....

เอาให้ติดสมาธิให้ได้ก่อนเถอะ....ก่อนจะว่าติดสมาธิมันไม่ดี

เพราะอะไร..นะรึ

ก็เพราะ....การจะออกมันเป็นหน้าที่ของคนที่ติด

คนไม่เคยติด...จะรีบชิงสุกก่อนห่าม...แล้วมันไม่ได้อะไร

จะจบ ป. 6 ก็ต้องเข้าเรียนก่อน..ไม่เข้าเรียนแล้วมันจะจบไปได้ยังงัย??

ไม่จบชั้น ป. แล้วไปเรียน ม. มันก็แค่คนขโมยเรียน

ต่อให้คิดว่าตัวเองรู้....แต่จริง ๆ คือยังไม่จบ :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 22:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
สมาธิที่แท้จริงคือผลที่ตามมาของการมีศีล หากมีศีลจิตใจก็มีสมาธิ สมาธินำไปสู่ความสงบ
ศีลเป็นผลที่ได้จากปัญญา (ปัญญาที่รู้เห็นความจริงของโลกและชีวิตเห็นว่าทุกสิ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป)
ปัญญาเป็นผลทีได้มาจากการวิัปัสสนาพิจารณาขันธ์ 5 และิอินทรีย์ 6

คุณเจ้าของกระทู้ เข้าใจในเรื่องศีล เรื่องปัญญาคลาดเคลื่อนครับ

ศีลที่เป็นข้อห้ามของปุถุชน กับศีลที่เป็นส่วนหนึ่งของมรรคมีองค์แปด
มันเป็นคนละเรื่องกันเลยนะครับ


ที่คุณว่าศีลเป็นผลที่เกิดจากปัญญา ถูกครับแต่มันไม่ใช่ศีลข้อห้าม
มันเป็น สัมมาศีลมีสามองค์คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ

ถ้าเรามีหรือเข้าใจสัมมาศีลเราก็จะละ กิเลสในเรื่องศีลพตรปรามาสได้ครับ
แนะนำครับคุณไปดูความหมายของศีลพรตปรามาสดู ก็จะเข้าใจว่า
ศีลที่มีปัญญานำ กับศีลข้อความแตกต่างกัน


ขอบคุณครับที่เข้าใจเรื่องศีล

และช่วยแยกศีลข้อห้าม และศีลที่เกิดจากปัญญาครับ
แต่ถ้าเรามีศีล เราก็จะไม่ผิดศีลข้อห้าม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 00:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
จางบาง เขียน:
ศีล ไม่ได้ทำให้เกิดสมาธิ
สมาธิ ไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา
s004


วิปัสสนาทำให้เกิดปัญญา (ปัญญาดับทุกข์) รู้ผิดชอบ ชั่วดี นี่เรียกว่าคนมีปัญญา
ทำให้เราละกิเลส นี่เรียกว่าคนมีศีล เมื่อมีศีลจิตใจก็ผ่องใส นี่เรียกว่าคนมีสมาธิ เมื่อมีสมาธิแล้วใจก็สงบ ผ่องใส ไม่ฟุ้งซ่าน

- ที่ว่าสมาธิไม่ทำให้เกิดปัญญาผมเห็นด้วย
- แต่เรื่องศีล ไม่ได้ทำเกิดสมาธิผมขอคัดค้านครับ เพราะเมื่อมีศีลแล้วกิเลสเราก็เบาบาง เราก็มีสมาธิเกิดขึ้น (สมาธิของผมไม่ใช่การนั่งสมาธิ แต่คือจิตใจผ่องใส สงบ)

เรื่องสมาธิหรือปัญญา มีเหตุปัจจัยมาจากสติทั้งนั้นครับ เขาเรียกว่าสติปัสฐาน


สติมีในทุกคนเราใช้สติตลอดยกเว้นตอนหลับ สติทำหน้าที่ระลึก หรือดึงความจำมารับการกระทบการสัมผัสจากภายนอก ถ้ามีความจำทางลบมากก็จะดึงเอาลบออกมา ปัญญาทำหน้าที่ดับอกุศล หรือทางลบ สมาธิคือผลที่ได้จากการใช้ปัญญาดับเหตุแห่งทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
จางบาง เขียน:
ศีล ไม่ได้ทำให้เกิดสมาธิ
สมาธิ ไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา
s004


วิปัสสนาทำให้เกิดปัญญา (ปัญญาดับทุกข์) รู้ผิดชอบ ชั่วดี นี่เรียกว่าคนมีปัญญา
ทำให้เราละกิเลส นี่เรียกว่าคนมีศีล เมื่อมีศีลจิตใจก็ผ่องใส นี่เรียกว่าคนมีสมาธิ เมื่อมีสมาธิแล้วใจก็สงบ ผ่องใส ไม่ฟุ้งซ่าน

- ที่ว่าสมาธิไม่ทำให้เกิดปัญญาผมเห็นด้วย
- แต่เรื่องศีล ไม่ได้ทำเกิดสมาธิผมขอคัดค้านครับ เพราะเมื่อมีศีลแล้วกิเลสเราก็เบาบาง เราก็มีสมาธิเกิดขึ้น (สมาธิของผมไม่ใช่การนั่งสมาธิ แต่คือจิตใจผ่องใส สงบ)

เรื่องสมาธิหรือปัญญา มีเหตุปัจจัยมาจากสติทั้งนั้นครับ เขาเรียกว่าสติปัสฐาน


สติมีในทุกคนเราใช้สติตลอดยกเว้นตอนหลับ สติทำหน้าที่ระลึก หรือดึงความจำมารับการกระทบการสัมผัสจากภายนอก ถ้ามีความจำทางลบมากก็จะดึงเอาลบออกมา ปัญญาทำหน้าที่ดับอกุศล หรือทางลบ สมาธิคือผลที่ได้จากการใช้ปัญญาดับเหตุแห่งทุกข์

กระบวนการของสติมันมีอยู่ แต่จะใช้ว่ามีกันทุกคนไม่ได้
และจะบอกว่าคนเรามีสติตลอดเวลาก็ไม่ได้

อาการของจิตที่มีลักษณะคล้ายสติ ถ้าเกิดจากเหตุปัจจัยที่เป็นอกุศล
เขาก็ไม่เรียกว่าสติ สิ่งนั้นเขาเรียกการปรุงแต่ง สติต้องมีเหตุปัจัยให้เกิด
เท่านั้นกุศล

และสติไม่ได้ทำหน้าระลึก สติเป็นผลของการระลึกรู้
จิตในส่วนของมโนมีหน้าที่ระลึกรู้สัญญา(เหตุ)
เมื่อระลึกรู้แล้วเกิด(ผล) เขาเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้ว่าสติ

ที่สำคัญเมื่อเกิดการกระทบจากภายนอก จะเกิดเวทนาซึ่งเป็นกระบวนการของขันธ์
การไปดึงเอาความจำรับการกระทบที่คุณบอก มันไม่ใช่สติแต่มันเป็นจิตสังขาร
เกิดเป็นอารมณ์ต่างๆขึ้น สติจะเกิดหลังจากนี้(ไม่ได้เกิดเอง ต้องเกิดจากการระลึกรู้)

ปัญญาที่แท้จริงไม่เพียงดับอกุศลเพียงอย่างเดียว แต่ดับกุศลด้วย(ถ้าเป็นกุศลในความหมายสาสวะ)
ปัญญาที่เป็นอนาสวะหรือที่เรียกว่าสัมมาทิฐิ มีเหตุปัจจัยมาจากสติที่เป็นสาสวะ
หรือจะกล่าวนัยหนึ่งว่า ปัญญาแห่งโลกุตระเกิดจากสติที่เป็นโลกียะ

สัมมาสมาธิที่เป็นอนาสวะ มีเหตุปัจจัยมาจาก
สัมมาสติที่เป็นอนาสวะ กล่าวโดยรวมก็คือ ในอริยมรรคมีองค์แปด
จะต้องมี สัมมาทิฐิอนาสวะเป็นประธาน จึงจะเกิดอริยมรรคอีก7องค์ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
eragon_joe เขียน:
คุณไม่เที่ยง เคยปฏิบัติสมาธิเหร๋อ
ดูเหมือนคุณจะรู้แง่เสียของสมาธิดีน่ะ

ลองเล่าประสบการณ์ให้ฟังหน่อยก็ได้


การทำสมาธิไม่มีปัญญาประกอบ หรือไม่มีสัมมาทิฏฐิ ก็ได้แค่ความสงบเท่านั้นไม่มีทางดับทุกข์
ฝึกจนเป็นนิสัย หรือลึกเข้าไปถึงญาณเราก็จะติดสุขกับการทำสมาธิเพราะว่ามันสงบ ยากที่จะเลิกได้
ยิ่งกว่า เลิกยาเสพติด เหล้า บุหรี่เสียอีก และผลักตัวเองออกจากศาสนาพุทธ ไปสู่ศาสนาพรหม


ใครสั่งสอนคุณมาอย่างนี้ครับ
Quote Tipitaka:
http://www.84000.org...p?b=25&i=35&p=7

ฌานย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่มีปัญญา, ปัญญาย่อมไม่มีแก่
ผู้ไม่มีฌาน, ฌานและปัญญาย่อมมีในบุคคลใด, บุคคลนั้นแลตั้ง
อยู่แล้วในที่ใกล้พระนิพพาน.

ความยินดีมิใช่ของมีอยู่แห่งมนุษย์ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไป
แล้วสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบแล้ว ผู้เห็นแจ้งธรรมอยู่โดยชอบ.
ภิกษุพิจารณาอยู่ ซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่ง
ขันธ์ทั้งหลายโดยอาการใดๆ, เธอย่อมได้ปีติและปราโมทย์โดย
อาการนั้นๆ, การได้ปีติและปราโมทย์นั้น เป็นธรรมอันไม่ตาย
ของผู้รู้แจ้งทั้งหลาย,
ธรรมนี้ คือความคุ้มครองซึ่งอินทรีย์ ๑ ความสันโดษ ๑
ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑ เป็นเบื้องต้นในธรรมอันไม่
ตายนั้น มีอยู่แก่ภิกษุผู้มีปัญญาในพระศาสนานี้. เธอจงคบมิตร
ที่ดีงาม มีอาชีวะอันหมดจด ไม่เกียจคร้าน.
ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติในปฏิสันถาร พึงเป็นผู้ฉลาดใน
อาจาระเพราะเหตุนั้น เธอจักเป็นผู้มากด้วยปราโมทย์ กระทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร