วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 06:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2011, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าว่าตามความจริงแท้แล้ว

ความเป็นอรหันต์ ไม่มีในรูป ไม่มีในเวทนา ไม่มีในสัญญา ไม่มีในสังขาร ไม่มีในวิญญาณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2011, 11:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


พระโยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสนา ๓ ในวิปัสสนา ๔
ช่วยอธิบาย อนุปัสนา ๓ ในวิปัสสนา ๔ หน่อยครับ


จิตมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ
จิตมีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ
จิตมีสังขารเป็นอารมณ์ ฯลฯ
จิตมีวิญญาณเป็นอารมณ์ ฯลฯ
จิตมีจักษุเป็น อารมณ์ ฯลฯ
จิตมีชราและมรณะเป็นอารมณ์
เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป

พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว พิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อม พิจารณาเห็นอย่างไร
ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของ ไม่เที่ยง เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ฯ

การก้าวไปสู่อัญญวัตถุแต่ปุริมวัตถุ
การหลีกไปด้วยปัญญาอันรู้ชอบ
การคำนึงถึงอันเป็นกำลังธรรม ๒ ประการ คือ การพิจารณาหาทาง และความเห็นแจ้ง

บัณฑิตกำหนดเอาด้วยสภาพเดียวกัน โดยความเป็นไปตามอารมณ์
ความน้อมจิตไปในความดับ ชื่อว่าวิปัสสนาอันมีความเสื่อมไปเป็นลักษณะ

การที่พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์แล้ว พิจารณาเห็นความ แตกไปแห่งจิตและความปรากฏโดยความเป็นของสูญ ชื่อว่า อธิปัญญาวิปัสสนา (ความเห็นแจ้งด้วยอธิปัญญา)

พระโยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสนา ๓ ในวิปัสสนา ๔ ย่อมไม่ หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดความ ปรากฏ ๓ ประการ ฯ

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์ แล้วพิจารณาเห็น ความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ ฯ

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องคำสั่งสอนของพระพุทธองค์เป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ควรไม่มีมานะเข้ามาเกี่ยวข้อง ทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นกุศลหรืออกุศล อยู่ที่เจตนาขณะที่ทำ ไม่ใช่ก่อนทำหรือหลังทำ การศึกษาพระธรรม ทำให้เราได้ขัดเกลากิเลสตัณหาให้เบาบางและหมดไป เมื่อไมยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเรา ไม่มีเรา สัตว์ สิ่งของ ไม่เที่ยง บังคับบัญชาไม่ได้ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) เมื่อปฏิบัติแล้วเห็นถึงความประจักษ์แจ้งในสภาวะธรรมจริง ๆ ซึ่งมีจริง เพียงแต่เราไปบัญญัติมันขึ้นมาให้เป็นเรื่องเป็นราว ประจักษ์แจ้งสภาพธรรมที่แท้จริงได้เมื่อไหร่ ก็ไม่ทุกข์ ไม่สุข แต่ก็ไม่ใช่ทำกันง่าย ๆ ไม่งั้นคงเป็นพระอริยบุคคล พระอรหันต์กันหมด ผิดพลาดประการใดโปรดชี้แนะด้วยนะคะ

ธรรมรักษา ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน อนุโมทนา

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2011, 22:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อความจาก ยมกสูตร

ดูกรท่านยมกะ ส่วนพระอริยสาวกผู้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาด ในอริยธรรม ได้รับแนะนำในอริยธรรมดีแล้ว ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ฉลาดในสัปปุริสธรรม ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรมดีแล้ว

ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ย่อมไม่เห็นรูปในตน หรือย่อมไม่เห็นตนในรูป
ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน ฯลฯ
ย่อมไม่ เห็นสัญญา โดยความเป็นตน ฯลฯ
ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน ฯลฯ
ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนมีวิญญาณ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน หรือย่อมไม่
เห็นตนใน วิญญาณ.

เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยงว่า ไม่เที่ยง.
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ว่า เป็นทุกข์.
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา ว่า เป็นอนัตตา.
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัย ปรุงแต่ง ว่าปัจจัยปรุงแต่ง.
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นผู้ฆ่า ว่าเป็นผู้ฆ่า.
เขาย่อมไม่เข้าไปถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เป็นตัวตนของเรา.

อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันอริยสาวกนั้น ไม่เข้าไปถือมั่น ยึดมั่นแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2011, 23:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า? บุคคลแม้เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่.

ดูกรคฤหบดี คือ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในอริยธรรม ผู้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม

ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ๑ ย่อมไม่เห็นรูปในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในรูป ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา.

เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นรูป รูปของเรา รูปนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไปโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น.

ย่อมไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ย่อมไม่เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ย่อมไม่เห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ

ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีวิญญาณ ๑
ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในวิญญาณ ๑

ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา.

เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น.

ดูกรคฤหบดี อย่างนี้แล บุคคลแม้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่.

ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำเช่นนี้แล้ว นกุลปิตคฤหบดี ชื่นชมยินดีภาษิตของท่าน
พระสารีบุตร ฉะนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑

http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%82 ... 5%E0%B8%A3


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2011, 00:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาค่ะ คุณ FLAME

ขอให้เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นนะคะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2011, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาครับ คุณ Flame

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2011, 14:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
คล้าย ๆ กับ
เมื่อ ตาเราเห็นรูป และเกิดความคิดเกี่ยวกับรูป มันจะมีการเกิดดับ 2 ส่วน
1 ความคิด
ซึ่งความคิดเกิด-ดับ การเห็นความคิดกระโดดจากเรื่องหนึ่งไปสู่งอีกเรื่องหนึ่ง
ก็อาจจะนับว่าเป็น วิปัสสนา ในระดับหนึ่งได้
2 กริยาจิต คือเห็น วิถีจิตที่เข้าไปจับขันธ์ แล้วคลายออกมาจากขันธ์
ซึ่ง พระสูตรนี้ เรารู้สึกว่า กล่าวถึง กริยาจิต

ดังนั้น อนุปัสสนาในลักษณะนี้ จึงเป็นอนุปัสสนาในระดับจิต

:b7: ซึ่งเราอาจจะคิดมากไปก็ได้ :b14: :b9: :b9:


:b12: เห็นมั๊ย ธรรมแบบบ้าน ๆ มันจะมีความไม่ชัดเจน
และมันจะมีจุดที่ ครึ่งผีครึ่งคน เหมือนจะใช่ แต่มันไม่ใช่
พอดีวันก่อนได้อ่านบทความบางส่วนของพระอาจารย์
และวันนี้ก็เลยได้ไปสำรวจเพิ่มเติมก็เลยเจอบทธรรมดี ๆ

บทที่ 9 จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน กับการเจริญองค์คุณแห่งปฐมฌาน
http://onoi.org/images/stories/pdf/argarnjit/chap9.pdf

ก็ดี...ทำให้เราเห็นความหละหลวม :b8: :b8:

แต่ที่เป็นเรื่องแปลกก็คือ เมื่อสามคืนก่อนเราฝัน
เห็นเราสนทนาธรรมเรื่องการปฏิบัติกับพระสอนกรรมฐาน
ซึ่งพอเราหยิบความเห็นเราขึ้นมา
พระอาจารย์ก็สวนกลับมาทันทีว่า ว่ามันผิดตั้งแต่ต้น
ซึ่งเราก็ทำหน้างง :b10: :b10: :b10:
พออาจารย์จะสอน เราก็ตื่นพอดี

แต่...สังหรณ์มันบอกว่า เราจะได้รับรู้การแสดงความเห็นที่ผิดพลาดในส่วนนี้ แต่เราจะรู้ได้ยังไง
จะมีผู้ที่มีความรู้เข้ามาชี้ให้เราเห็นจุดหละหลวม
ก็คิดว่า จะเป็นไปได้ก็มีท่าน FRAME ,ท่านเช่นนั้น
หรือจะเป็นผู้มีความรู้ท่านใด..หนอ :b10:

แต่แล้วคนผู้นั้น ก็ดันเป็นเราซะเอง
และก็ต้องหยิบมา หักล้าง ลบล้าง หักหน้าตัวเอง ซะเอง :b6: :b6:
บางครั้ง "โลกใบ/จิตนี้ก็แสดงตัวคล้ายกับกระจกเงา ที่เราส่องไปเห็นเราเอง" huh

แต่จะว่ามันเป็นเรื่องแปลกก็ไม่เชิง
เพราะ การแสดงความเห็นในลักษณะดังกล่าว
คือเราจะมีนิสัยที่ไม่ค่อยมั่นใจกับการแสดงความเห็นในลักษณะนี้อยู่แล้ว
และบางทีมันจะเป็นความตรึกที่ตกค้าง
ซึ่งก่อนนอนเรามักทำสมาธิ
และมันก็เลยไปแอบทำงานต่อตอนที่เรานอนหลับ :b12:
มันก็ไปควานหาข้อมูลมาให้เรา และมันก็พาเราไปหาข้อมูลด้วย :b14: :b14:

:b18: :b18: :b18:

ปัญหา การตรึกตกค้าง มันส่งผลให้จิตมันไปสร้างวิถีการเกิด
ซึ่งบางที มันเหมือนกับเป็นความรู้ที่พิเศษ
แต่ในมุมหนึ่ง เราเห็นเงาร่างการดำเนินแห่ง กรรม กรรม กรรม
แม้ความรู้นี้จะนำเราไปสู่ ความรู้ ทางธรรมก็ตาม
แต่...ผู้รู้ย่อมรู้ตัวดีว่า...ถ้าจิตมันไม่น้อมไปในวิตกนั่นอยู่
มันจะเที่ยวออกไปแสวงหา หรือ
เพราะมันเที่ยวแสวง และมันก็พบ และเท่านั้นไม่พอ
มันก็กลับมาสร้างเส้นทางที่จะเชื่อมโยงไปสู่สิ่งนั้นด้วย

มันนำไปสู่นามธรรม และ รูปธรรม

เคยมีคนที่มักกล่าวว่า "ไม่ใช่พรหมลิขิตที่กำหนดชะตาชีวิตเรา
เราต่างหากคือผู้ที่กำหนดชะตาชีวิตเราเอง"
("กรรมเป็นสิ่งที่เรากระทำเอง")
ซึ่งครั้งหนึ่งเราจึงเคยคิดว่า เพราะผู้ที่กล่าวเช่นนี้ เห็นในสิ่งอย่างที่เราเห็น

และในโลกแห่งจิต ก็เหมือนกับเรากำลังเดินทางอยู่บนถนน
ณ ตรงแยกไฟแดง แม้เราจอดรถอยู่เฉย ๆ
ถ้ามีรถแหกโค้งมาตรงเรา มันก็เกิดผัสสะ
มันก็ทำให้เห็นภาพ"กรรมเป็นสิ่งที่ผู้อื่นกระทำ"ให้เกิดกับเเรา

แต่มันก็ไม่เชิง เพราะมันก็มีเหตุปัจจัยส่งมาให้เราต้องมาอยู่ ณ ตรงนั้น เวลานั้น พอดี

ซึ่งเมื่อไล่สาวกลับไป ก็จะพบ แต่ปัจจัย

จากหลาย ๆ กรณี มันทำให้เราเห็นว่า

"คำพูด" "ทิฐิ" "ความเชื่อ" ใด ๆ ก็ตามไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุปัจจัย
เป็นเบื้องหลัง

ทุกอย่างมีความจริง ณ ขณะ

ส่วน ความจริงที่ครอบคลุมทั้งหมด
คือ ความจริงที่เป็นอกาลิโก
และทุกขณะ ก็เป็นอกาลิโก อยู่แล้ว

:b30: :b30: :b30:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2011, 07:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b23: สาธุอนุโมทนากับคุณเอรากอน โจ ที่ยกข้อธรรมอันดีเยี่่ยมจากพระไตรปิฏกมาแสดง อนุโมทนากับทุกท่านที่สนทนากันในเรื่องวิปัสสนาภาวนาอันเป็นสาระ แก่น และความหมายที่แท้จริงของพุทธศาสนา ภาพที่แนบมาน่าจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนาภาวนาด้วยหรือไม่ครับกรุณาช่วยพิจารณา :b8: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2011, 07:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
:b27:

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2011, 07:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: tongue สำหรับคุณไม่เที่ยง เกิด ดับ ภาพที่แนบมานี้น่าจะเกี่ยวกับ โลกนี้มีแต่เหตุกับปัจจัยเท่านั้น หรือไม่นะครับรูปภาพ Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2011, 15:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:

:b8:

เอกอนเข้าใจความเพียรพยายามที่ท่านเพียรอยู่
และท่านก็เป็นผู้ที่มีความสามารถสูงท่านหนึ่ง
ตั้งแต่ที่สังเกตเห็นแววทางธรรมของท่านตั้งแต่วันแรก
จวบจนวันนี้ก็ยังชื่นชม
การนำธรรมมาจัดวางเป็นไดอะแกรม ทำให้ผู้ปฏิบัติเห็นภาพ และนำไปปฏิบัติได้ง่าย
แต่ข้อจำกัดของไดอะแกรม ก็มี

ท่านลองฟังคำกล่าวนี้นะ
"ตำแหน่งการจัดวาง -ไตรลักษณ์ ผิด ก็ผิด"

คือ แบบว่าพออ่านคำถามของท่าน ไม่ทันได้ดูรายละเอียด ไดอะแกรม
เอกอนก็ เห็นภาพขึ้นในใจเกี่ยวกับ การจัดวางไตรลักษณ์ เป็นตำแหน่งที่เป็นจุดอับ
:b12: แบบว่า เหมือนพรายกระซิ๊บบบบบบบบ หง่ะ :b9: :b9:
ท่านก็ใช้วิจารณญาณให้การอ่านเอาเองเด้อ... :b12: :b12: อิอิ

เหมือนทฤษฎี นิวตัน ให้ผลที่ตรงได้ในระดับหนึ่ง
ทฤษฎี สัมพันธภาพ ก็ให้ผลที่ตรงได้ในระดับหนึ่ง
ทฤษฎี ควอนตัม ก็ให้ผลที่ตรงได้ในระดับหนึ่ง

:b1:

ไดอะแกรมนี้จะใช้ได้ผลภายใต้สภาวะธรรมหนึ่ง ๆ
แต่เมื่อผู้ปฏิบัติก้าวไปอีกสภาวะหนึ่ง ท่านต้องรู้ ต้องดูให้ออก
และต้องมีกลยุทธอื่นเสริมเข้ามาช่วยขยายผลต่อ :b8:

สิ่งที่อยู่นอกกฎไตรลักษณ์ คือ สังขตธาตุ :b1:

เอกอนเชื่อว่าทุกวันนี้ท่านต้องได้พบความสงบสุขในระดับหนึ่ง

คำถาม

ท่านลอง แจกแจงไตรลักษณ์แห่ง ดินที่ท่านพบในธรรมชาติ
และท่านลองแจกแจง ไตรลักษณ์แห่ง ธาตุดิน

ท่านลอง แจกแจงไตรลักษณ์แห่ง น้ำที่ท่านพบในธรรมชาติ
และท่านลองแจกแจง ไตรลักาณ์แห่ง ธาตุน้ำ ,
.... ลม ,
........ ไฟ

และ ตถตา คือ อะไรจากการแจกแจงนี้

และ ท่านลองกลับมาพิจาณา ธาตุอันเป็นไปใน รูป-นาม

:b8: :b8: :b8: :b8:

ท่าน พิจารณาด้วยอาศัย จิตตรึก คิด พิจารณา อยู่หรือไม่

และในโลกธาตุนี้ ผู้ที่ฝึกกสินและเข้าสู่การชำระองค์ธรรม จนกสินบริสุทธิ์
เขาเห็นธรรมเป็นเช่นนั้น จึงเข้าสู่กระบวนการวางการยึดมั่นถือมั่นอย่างหมดใจ มีอยู่

:b8: :b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 07 พ.ย. 2011, 21:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2011, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อยู่นอกกฏไตรลักษณ์เป็นสังขตธาตุ?!? :b32: :b5: :b5: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2011, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจุบันอารมณ์ถ้าเป็นอารมณ์หื่นๆกามๆหรือที่เป้นอกุศลก็ตายแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2011, 21:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
ที่อยู่นอกกฏไตรลักษณ์เป็นสังขตธาตุ?!? :b32: :b5: :b5: :b32: :b32:


s004 ตก อ.หน่อยเดียว เอง :b28: :b28: :b28:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2011, 21:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
ปัจจุบันอารมณ์ถ้าเป็นอารมณ์หื่นๆกามๆหรือที่เป้นอกุศลก็ตายแล้ว


นี่ท่านยังกลัวอารมณ์นั้นคุกคามอยู่ :b10:

:b6: :b6: :b6:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร