วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b6:
...ไม่เข้าใจธรรมสติปัฏฐานไม่เกิด...
http://www.dhammahome.com/front/videoclip/show.php?tof=pl&id=118
:b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2010, 23:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41:
:b46: :b51: :b51: :b53: :b47: :b47: :b48: :b45: :b45: :b45:
[๕๐๕] อิทธิบาท ๔ คือ
๑. ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน-
*สังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร

:b41:
:b46: :b51: :b51: :b53: :b47: :b47: :b48: :b45: :b45: :b45:

[๕๐๖] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย ฉันทสมาธิปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ถ้าภิกษุทำฉันทะให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต สมาธิ
นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิด
ขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำ
ฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อ
ความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความ
บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร
ฉันทสมาธิและปธานสังขารดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้นเข้า
เป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า ฉันทสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
[๕๐๗] ในบทเหล่านั้น ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความใคร่เพื่อจะทำ ความฉลาด ความ
พอใจในธรรม นี้เรียกว่า ฉันทะ
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่
ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์
สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความ
ตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น
ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความ
ประคับประคองธุระไว้ด้วยดี วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันใด
นี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึง
แล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยฉันทะ สมาธิ และ
ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยฉันทสมาธิ
ปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
[๕๐๘] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ
สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความ
ถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม
เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท

:b41:
:b46: :b51: :b51: :b53: :b47: :b47: :b48: :b45: :b45: :b45:
[๕๐๙] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ถ้าภิกษุทำความเพียรให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต
สมาธินี้เรียกว่า วิริยสมาธิ ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความ
เพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
มิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้างกุศล-
*ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง
ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรม
เหล่านี้ เรียกว่าปธานสังขาร
วิริยสมาธิและปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้นเข้า
เป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า วิริยสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
[๕๑๐] ในบทเหล่านั้น วิริยะ เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า วิริยะ
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่
ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ
สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า
ปธานสังขาร
ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยวิริยะ สมาธิ และ
ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้นจึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธาน-
*สังขาร ด้วยประการฉะนี้
[๕๑๑] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การสำเร็จ
การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความถูกต้อง
ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม
เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท


อนุโมทนาครับ เพิ่มเติมครับ :b48: :b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2010, 23:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41:
:b46: :b51: :b51: :b53: :b47: :b47: :b48: :b45: :b45: :b45:

[๕๑๒] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ถ้าภิกษุทำจิตให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต สมาธินี้
เรียกว่า จิตตสมาธิ ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้
เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้างกุศลธรรมที่
ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความ
ไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรม
เหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร
จิตตสมาธิและปธานสังขารดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้น เข้า
เป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า จิตตสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
[๕๑๓] ในบทเหล่านั้น จิต เป็นไฉน
จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า
ปธานสังขาร
ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้ว ด้วยจิต สมาธิและ
ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธาน-
*สังขาร ด้วยประการฉะนี้
[๕๑๔] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ
สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความ
ถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม
เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท


:b41:
:b46: :b51: :b51: :b53: :b47: :b47: :b48: :b45: :b45: :b45:

[๕๑๕] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร
เป็นอย่างไร
ถ้าภิกษุทำปัญญาให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต
สมาธินี้เรียกว่า วีมังสาสมาธิ ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความ
เพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
มิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้างกุศล-
*ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประ
คองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง
ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาว-
*ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร
วีมังสาสมาธิและปธานสังขารดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้นเข้า
เป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า วีมังสาสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
[๕๑๖] ในบทเหล่านั้น วีมังสา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด นี้เรียกว่า วีมังสา
สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ
ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า
ปธานสังขาร
ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวีมังสา สมาธิ
และปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิ-
*ปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้
[๕๑๗] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ
สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความ
ถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น
คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น
คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม
เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท
อ่านข้อความต่อ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... reak=0:b41:
:b46: :b51: :b51: :b53: :b47: :b47: :b48: :b45: :b45: :b45:


แก้ไขล่าสุดโดย Rotala เมื่อ 18 มิ.ย. 2010, 23:36, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2010, 23:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(จากหนังสือพุทธธรรมหน้า 842 เป็นต้น)

การเจริญสมาธิตามหลักอิทธิบาท

อิทธิบาท แปลว่า ธรรมเครื่องให้ถึงอิทธิ (อิทธิ ฤทธิ์ หรือ ความสำเร็จ)

หรือ ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จ

หรือแปลง่ายๆว่า ทางแห่งความสำเร็จ มี 4 อย่าง คือ

-ฉันทะ ความพอใจ

-วิริยะ ความเพียร

-จิตตะ ความคิดจดจ่อ

-วิมังสา ความสอบสวนไตร่ตรอง

แปลให้จำง่ายตามลำดับว่า

-มีใจรัก

- พากเพียรทำ

- เอาจิตฝักใฝ่

-ใช้ปัญญาสอบสวน

อิทธิบาทนั้น


พระพุทธเจ้าตรัสพัวพันไว้กับเรื่องสมาธิ เพราะอิทธิบาท เป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้เกิดสมาธิ

และนำไปสู่ผลสำเร็จที่เป็นจุดหมายของสมาธิ

สมาธิเกิดจากอิทธิบาทข้อใด ก็มีชื่อเรียกตามอิทธิบาทข้อนั้น

โดยนัยนี้จึงมีสมาธิ 4 ข้อ (สํ.ม.19/1150/343) คือ


1. ฉันทสมาธิ สมาธิที่เกิดจากฉันทะ หรือสมาธิที่มีฉันทะเป็นใหญ่

2. วิริยสมาธิ สมาธิที่เกิดจากวิริยะ หรือสมาธิที่มีฉันทะเป็นใหญ่

3. จิตตสมาธิ สมาธิที่เกิดจากจิตตะ หรือสมาธิที่มีจิตตะเป็นใหญ่

4. วิมังสาสมาธิ สมาธิที่เกิดจากวิมังสา หรือสมาธิที่มีวิมังสาเป็นใหญ่


สมาธิเหล่านี้ จะเกิดมีควบคู่ไปด้วยกันกับความเพียรพยายาม ที่เรียกว่า ปธานสังขาร

ปธานสังขาร แปลว่า สังขารที่เป็นตัวความเพียร หรือ ความเพียรที่เป็นเครื่องปรุงแต่ง

แปลง่ายๆว่า ความเพียรที่เป็นแรงสร้างสรรค์ หรือความเพียรสร้างสรรค์

(อิทธิบาท 4 ก็เป็นธรรมหมวดหนึ่งในโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ)

อ่านข้อความต่อได้ที่
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14744

อนุโมทนาครับ
:b41:
:b45: :b45: :b45: :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2010, 23:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานสติ เป็นการทำสมาธิเพื่อให้จิตเกิดสมาธิได้ดีมาก แต่ว่าต้องเป้นประจำทุกวัน
เมื่อสมาธิมีมากขึ้น สติก้จะดีขึ้นเช่นกัน เพียงแต่ว่าการทำสมาธิคือให้จิตสงบหรือดีไปกว่านั้น
เกิดพลังทางจิต ที่เรียกว่า "จิตตานุภาพ" ส่วนการเจริญสติ ที่พูดถึงเน้นให้เกิดสติปัญญา เพื่อไว้ไข
ข้อข้องใจและแก้ไขปัญหาชีวิต

ผมคิดว่าทำแบบอานาปานสติ ต่อไปน่ะครับ วันละ10-15 นาทีกำลังดี ทำแล้วสมองโล่งดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2010, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


โอวาทธรรม หลวงปู่ คำดี ปภาโส

วัดถ้ำผาปู่ เลย


ผู้ที่ สามารถทำจิตรวมได้แล้ว ก็ให้กำหนดจิตตามเดิม กำหนดอย่างใดที่ทำให้จิตรวมได้ก็ให้กำหนดอย่างนั้น

ถ้าจิตรวมสนิทก็อย่าเพิ่งออกจากสมาธิเสียทีเดียว ก่อนออกจากสมาธิให้พิจารณาเสียก่อน เราจะได้ทราบว่าเราบริกรรมอย่างใด ตั้งสติอย่างใด ละวางอารมณ์สัญญาอย่างใด จิตของเราจึงรวมได้เช่นนี้ ถ้าเราสามารถพิจารณาถึงกรรมวิธีต่างๆได้ ก็จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติครั้งต่อไป

ขอย้ำ อีกครั้ง กำหนดให้แน่วแน่ นิ่งอยู่กับผู้รู้ สติกับผู้รู้อย่าให้เคลื่อน ไปตามกิริยาอาการใดๆ จิตก็จะรวมลงได้ ก็เพราะสติ อย่างเดียวเท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2010, 14:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


Rotala เขียน:

[๕๑๕] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร
เป็นอย่างไร

ถ้าภิกษุทำปัญญาให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต
สมาธินี้เรียกว่า วีมังสาสมาธิ


ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความ
เพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
มิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้างกุศล-
*ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประ
คองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง
ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาว-
*ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร

วีมังสาสมาธิและปธานสังขารดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้นเข้า
เป็นอันเดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า วีมังสาสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้

[๕๑๖] ในบทเหล่านั้น วีมังสา เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ
อันใด นี้เรียกว่า วีมังสา


สมาธิ เป็นไฉน
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ


ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า
ปธานสังขาร

ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวีมังสา สมาธิ
และปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิ-
*ปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้

ๆลๆ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... reak=0:b41:




สาธุ ครับ


พระไตรปิฎก ส่วนนี้ แสดง วิมังสาสมาธิ

เอกัคคตาแห่งจิต(สมถะ) นี้ ..... เป็นผลจากกระบวนการทางปัญญา คือ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์/อนาสวะสัมมาทิฏฐิ (ซึ่ง จัดว่าเป็นฝ่ายวิปัสสนา)

ลอง เทียบเคียงกับ การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า (จาก ยุคนัธวรรค ยุคนัธกถา) ดู น่ะครับ


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 19 มิ.ย. 2010, 14:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2010, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 พ.ค. 2010, 15:28
โพสต์: 103

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จันทร์ ณ ฟ้า เขียน:
สติ
คือความระลึกได้ถึงความปรากฏของ รูปนามสติเป็นอนัตตาเช่นเดียวกับธรรมทั้งปวง
ดังนั้นไม่มีใครที่จะสั่งหรือจงใจให้สติเกิดขึ้นได้ สติจะเกิดขึ้นเองเมื่อทำเหตุที่สมควรให้ถึงพร้อม
โดยไม่ต้อง พยายามทำให้เกิด เหตุให้เกิดสติได้แก่ การที่จิตรู้จักและจดจำสภาวะของรูปนามได้แม่นยำ
เพราะได้เจริญสติปัฏฐานหรือตามรู้สภาวะของกาย เวทนา จิต หรือธรรมเนืองๆ
และทันทีที่สติเกิดขึ้น สติจะทำหน้าที่คุ้มครองจิต คืออกุศลจะดับไปแล้วกุศลเกิดขึ้นทันที

สติหรือสัมมาสตินี้จะแตกต่างจากมิจฉาสติหรือสติธรรมดา
ตรงที่สัมมาสตินั้นเป็นเครื่องระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์ ได้แก่ รูปนามในขั้นการเจริญมรรคเบื้องต้น
และระลึกรู้นิพพานในขณะที่เกิดอริยมรรค
ส่วนมิจฉาสติเป็นเครื่องระลึกรู้อารมณ์ บัญญัติอันเป็นสาธารณกุศลต่างๆ
สัมมาสติจะสักว่าระลึกรู้อารมณ์ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปพร้อมกับจิตเป็นขณะๆ
ส่วนสติธรรมดามักจะเข้าไปตั้งแข็งหรือนอนแช่อยู่ในอารมณ์
และให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าสตินั้นเป็นของที่ตั้งอยู่ได้นานๆ โดยไม่เกิดดับ

มิจฉาสมาธิ
หลักสำคัญคือการเพ่งเพื่อให้จิตหยุดอยู่ในอารมณ์อันเดียว
โดยเอาความสงบเป็นเป้าหมาย
มักจะเกิดจากโลภะ คือความอยากจะรู้อารมณ์ให้ชัดๆ แล้วเกิดการกำหนด การประคอง การเพ่ง
การรักษาจิตและอารมณ์ไว้ จิตมักจะเกิดโมหะและโลภะแทนที่จะเกิดปัญญา
รู้ความจริงของรูปนาม จิตมักมีอาการหนักแทนที่จะเบา แข็งแทนที่จะอ่อน
ถูกนิวรณ์ครอบงำแทนที่จะควรแก่การงาน ซึมทื่อแทนที่จะปราดเปรียว
และเข้าไปแทรกแซงอารมณ์แทนที่จะรู้อารมณ์อย่างซื่อๆ ตรงๆ

สัมมาสมาธิ
คือความตั้งมั่นของจิตในการ ระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์
ได้แก่ ความตั้งมั่นของจิตในขณะที่รู้รูปนามในขั้นการเจริญมรรคเบื้องต้น
และความตั้งมั่นของจิตในขณะที่รู้นิพพานเมื่อเกิด อริยมรรค
ความตั้งมั่นนี้ไม่ได้หมายความว่าจิตเข้าไปตั้งแช่หรือนอนนิ่งอยู่กับอารมณ์
แต่เป็นสภาวะที่จิตไม่คลาดเคลื่อนจากอารมณ์ปรมัตถ์นั้นๆ แล้วไหลไปสู่อารมณ์บัญญัติแทน
พูดง่ายๆ ก็คือในขณะที่รู้รูปนามก็รู้ด้วยความไม่ลืมตัว ไม่หลงไปหาอารมณ์อื่น
และไม่เพ่งอารมณ์ที่กำลังรู้นั้นจนลืมตัว จิตจะตั้งมั่นและเป็นกลาง ไม่เผลอไป แต่ก็ไม่เพ่งอารมณ์ไว้

สัมมาสมาธิต่างจากมิจฉาสมาธิ ตรงที่จิตที่ตั้งมั่นอย่างมีสัมมาสมาธินั้นจะมีความเบา
ความอ่อน ความควรแก่การงาน ความคล่องแคล่ว และความซื่อตรงในการรู้อารมณ์รูปนาม
โดยไม่เข้า ไปแทรกแซง และเกิดขึ้นได้เพราะจิตมีความสุขใน การรู้รูปนาม
ซึ่งความสุขนั้นก็เกิดเพราะจิตมีสตินั่นเอง

สัมมาสมาธิต้องประกอบด้วยศีล และปัญญาด้วยเสมอ
เพราะในขณะที่จิตตั้งมั่น มีสติระลึกรู้อารมณ์นั้น
จิตย่อมมีศีล คือความเป็นปกติของจิต เป็นตัวของตัวเองไม่ถูกกิเลสครอบงำ
และมีปัญญารอบรู้การเกิดดับของรูปนามอย่างเป็นปัจจุบัน


ลองสอบทานกับอาจารย์ท่านอื่นดูอีกครั้งนะครับ ว่าถูกตามที่เข้าใจหรือไม่ แต่ต้องเป็นอาจารย์ที่"เป็น"จริงๆนะครับ อย่าไปถามกับอาจารย์ที่"ไม่เป็น" นะครับ อันตรายครับ shocked


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2010, 23:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 23:37
โพสต์: 31

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีสติ...ทรงสมาธิ
มีสมาธิ..ทรงสติ
:b51:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 06:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีบทธรรมที่น่าสนใจ จาก พระผู้รู้ มานำเสนอเพิ่มเติม



โอวาทธรรม หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย


อุบายที่จะทำให้ตัณหาดับนั้นคือทำอย่างไร

ทำสติอย่างเดียว

สิ่งใดเกิดขึ้นทางตาทำสติรู้ ถ้าจิตเกิดความยินดียินร้าย พิจารณาหามูลเหตุว่าทำไมจึงยินดียินร้าย
เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ก็เหมือนกัน ในเมื่อสัมผัสเข้าแล้วเกิดความพอใจ ไม่พอใจ มาทำสติพิจารณาสิ่งนั้น

แม้ว่าเราจะไม่รู้จริงเห็นจริง แต่เราเอาสิ่งนั้นเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ โดยธรรมชาติของจิตแล้ว ถ้าหากว่ามีสิ่งรู้แล้วมีสติระลึกอยู่กับสิ่งนั้น ในเมื่อตั้งใจ สนใจ เอาใจใส่ จดจ้องดูอยู่ตลอดเวลา เป็นการปฏิบัติคือการทำสมาธิ เป็นการเจริญสมถวิปัสสนาไปในตัว

เพราะสิ่งใดที่เราดูด้วยความมีสติสัมปชัญญะ ย่อมเป็นอุบายให้จิตสงบเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วย่อมมีปีติ มีความสุข และมีเอกัคคตา เช่นเดียวกับการภาวนาอย่างอื่น

จุดหมายของการภาวนา คือ การสร้างพลังสติสัมปชัญญะ

เพราะฉะนั้น จุดมุ่งหมายของการเจริญสมถวิปัสสนา ที่แน่ๆ ที่สุด อยู่ตรงที่ฝึกฝนอบรมให้มีสติสัมปชัญญะมีพลังเข็มแข็ง ซึ่ง เรียกว่า สติพละ

สติพละสามารถที่จะประคับประคองจิตให้อยู่ในสภาพปกติเมื่อประสบกับอารมณ์ต่างๆ สตินทรีย์ เมื่อสติพละเพิ่มกำลังขึ้นกลายเป็นสตินทรีย์ เป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวงสามารถที่จะปฏิวัติตนไปสู่การค้นคว้าพิจารณาหาเหตุผลในสิ่งนั้นๆ จนกระทั่งรู้แจ้งเห็นจริงตามกฎแห่งความเป็นจริง

เมื่อสตินทรีย์มีพลังแก่กล้าขึ้น จะกลายเป็น สติวินโย คือมีสติเป็นผู้นำ กระชับแน่นอยู่ที่ดวงจิตของผู้ปฏิบัติไม่พรากจากกันตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด หลับ และตื่น สายสัมพันธ์แห่งสติสัมปชัญญะตัวนี้จะต่อเนื่องกันโดยไม่ขาดสาย



........................................................



อ้างคำพูด:
อุบายที่จะทำให้ตัณหาดับนั้นคือทำอย่างไร

ทำสติอย่างเดียว



คำว่า ทำสติ ที่หลวงพ่อพุธ ท่านใช้ ก็ตรงกับคำว่า เจริญสติ นั้นเองครับ...ดังนั้น สติทำได้

อ้างคำพูด:
พจนานุกรม

เจริญ [จะเริน] ก. เติบโต, งอกงาม, ทําให้งอกงาม,


ไม่ว่าจะใช้คำว่า เจริญ หรือ ทำ ก็ไม่ถือว่าผิดอะไร

สติ ที่ถึงแม้นจะเป็นอนัตตา ก็ฝึก หรือ ทำให้เจริญขึ้นได้.... การ ฝึก หรือ ทำให้เจริญขึ้นนี้ ไม่ใช่เป็นการบังคับให้สติที่เป็นอนัตตาบังเกิดขึ้นหรอกครับ



นอกจากนี้ ในขั้นการฝึกฝนอบรมเจริญสตินี้ ก็ สามารถ ตั้งใจ และ จดจ้องดูอยู่ ได้ด้วย

อ้างคำพูด:
แม้ว่าเราจะไม่รู้จริงเห็นจริง แต่เราเอาสิ่งนั้นเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ โดยธรรมชาติของจิตแล้ว ถ้าหากว่ามีสิ่งรู้แล้วมีสติระลึกอยู่กับสิ่งนั้น ในเมื่อตั้งใจ สนใจ เอาใจใส่ จดจ้องดูอยู่ตลอดเวลา เป็นการปฏิบัติคือการทำสมาธิ เป็นการเจริญสมถวิปัสสนาไปในตัว


ปัจจุบัน บางท่าน จะถือว่า การตั้งใจ(จงใจ)เจริญสติในขั้นฝึกฝน เป็นสภาวะผิดพลาด

แต่ ครูบาอาจารย์พระป่า พระสุปฏิปันโน ท่านไม่ได้ห้าม ผู้ที่เป็นทันทาภิญญา(ตรัสรู้ได้ช้า ต้องอาศัยความพากเพียรเป็นลำดับๆ จึงจะบรรลุธรรม) ตั้งใจ(จงใจ) ในขั้นการฝึกเจริญสติ หรอกครับ



ส่วน เรื่อง สติอัตโนมัติ นั้น ท่านก็สอนเอาไว้ครับ .

อ้างคำพูด:
เมื่อสตินทรีย์มีพลังแก่กล้าขึ้น จะกลายเป็น สติวินโย คือมีสติเป็นผู้นำ กระชับแน่นอยู่ที่ดวงจิตของผู้ปฏิบัติไม่พรากจากกันตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด หลับ และตื่น สายสัมพันธ์แห่งสติสัมปชัญญะตัวนี้จะต่อเนื่องกันโดยไม่ขาดสาย


สติอัตโนมัติ เป็นไปหลังจากได้ตั้งใจ(จงใจ)เจริญสติ ไปจน การปฏิบัติเคี่ยวตกผลึก.... ไม่ใช่ ไม่ให้ตั้งใจตั้งแต่ไก่โห่(ตั้งใจที่จะไม่ตั้งใจ?) หรือ ไปเอา ขิปปาภิญญาโมเดล(รูปแบบท่านผู้ตรัสรู้อย่างฉับพลัน ที่มีอินทรีย์บารมียิ่ง )มาปฏิบัติ .....โดยไม่ได้ดูความเหมาะสมกับตนเอง


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 02 ก.ค. 2010, 07:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 11:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ใน ปัจจุบัน บางท่าน อาจจะมองว่า การฝึกเจริญสติที่ยังคงมีการ จงใจ-ตั้งใจ-กำหนด อยู่นั้น เป็น “การบังคับ” ให้ สติที่เป็นอนัตตา เกิดขึ้น ....
ซึ่ง ฟังดูแล้ว เหมือนจะแสดงความหมายไปในทางลบ


ในขณะ ที่ ทางแนวทางคำสอนของครูบาอาจารย์พระป่า ท่านไม่ได้ถือว่า การฝึกจริญสติที่ยังคงมีการจงใจ-ตั้งใจ-กำหนด อยู่ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่สมควร แต่อย่างใดเลย .
หากแต่ เป็น ลักษณะของ “การฝึกจิต” คล้ายๆกับใน พระพุทธพจน์ที่ตรัสว่า “จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้” มากกว่า....




ผมขออนุญาตเสนอ โอวาทธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


พระธรรมเจดีย์ :

นิวรณ์แลสังโยชน์นั้น ข้าพเจ้าทำไมจึงไม่รู้จักอาการ คงรู้จักแต่ชื่อของนิวรณ์แลสังโยชน์ ?

พระอาจารย์มั่น :

ตามแบบในมหาสติปัฏฐานพระพุทธเจ้าสอนสาวก ให้รู้จักนิวรณ์แลสังโยชน์

พระสาวกของท่านตั้งใจ กำหนด สังเกต ก็ละนิวรณ์แลสังโยชน์ได้หมดจนเป็นพระอรหันต์โดยมาก

ส่วนท่านที่อินทรีย์อ่อน ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็เป็นพระเสขบุคคล

ส่วนเราไม่ตั้งใจไม่สังเกต เป็นแต่จำว่านิวรณ์หรือสังโยชน์ แล้วก็ตั้งกองพูดแลคิดไปจึงไม่พบตัวจริงของนิวรณ์และสังโยชน์ เมื่ออาการของนิวรณ์แลสังโยชน์อย่างไรก็ไม่รู้จัก แล้วจะละอย่างไรได้


...........................


เสนอ สังเกตุ หลวงปู่มั่น ท่านไม่ได้ห้ามตั้งใจ หรือ ห้ามกำหนด




ส่วน เรื่อง สติอัตโนมัติ(รวมถึงองค์แห่งอริยมรรคอื่นๆอีกด้วย) ที่ พ้นความตั้งใจ พ้นความจงใจ พ้นเจตนา คือ เป็นเองโดยสมบูรณ์ในขณะนั้น


เสนออ่าน


สนทนาธรรมภาคปฏิบัติ ปฏิปัตติวิภัชน์

โดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ผ. ถามว่า การปฏิบัติก็มุ่งต่อความพ้นจากกิเลส แต่ทำไมตั้งใจจะละอาสวะให้หมดไป จึงไม่หมดไปได้อย่างใจ

ฝ. ตอบว่า อาสวะเป็นกิเลสที่ไม่ประกอบด้วยเจตนา ต้องอาศัยอริยมรรคที่เป็นกุศลพ้นเจตนาจึงละไว้ได้

การตั้งใจละนั้นเป็นกุศลที่ประกอบด้วยเจตนา เพราะฉะนั้นจึงละอาสวะไม่ได้ คงละได้แต่กิเลสที่ประกอบด้วยเจตนา แต่ก็ละได้ชั่วคราว ภายหลังอาจเกิดขึ้นได้อีก เพราะเป็นโลกิยกุศล

ผ. พูดว่า อ้อ อย่างนี้นี่เล่า ข้าพเจ้าไม่รู้ว่ากิเลสที่ไม่ประกอบด้วยเจตนา ต้องละด้วยกุศลที่พ้นจากเจตนา คือ อริยมรรค ส่วนกิเลสที่ประกอบด้วยเจตนา เป็นกรรมวัฏฝ่ายบาป ต้องละด้วยกุศลที่ประกอบด้วยเจตนา ซึ่งเป็นกรรมวัฏฝ่ายบุญ

ฝ. พูดว่า ถ้าตั้งใจจะละอาสวะได้ง่าย ๆ เหมือนอย่างตั้งใจทำกรรมวัฏฝ่ายบุญแล้ว พระอรหันต์ก็คงหาได้ง่าย ๆ ในโลก พระอริยสงฆ์คงไม่น่าอัศจรรย์เท่าไหร่ แม้พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี เสขบุคคล ๓ จำพวกนี้ก็ต้องอาศัยอริยมรรค ซึ่งเป็นกุศลที่พ้นจากเจตนา จึงจะฆ่าสังโยชน์ได้




เรื่อง กุศลที่พ้นเจตนาอันเป็นเหตุให้ละสังโยชน์ได้ นั้น .... ครูบาอาจารย์พระป่ารุ่นก่อนๆ ท่านกล่าวไว้นานแล้ว....

แต่ ท่านไม่ได้ห้ามตั้งใจเจริญสติในช่วงฝึกฝน น่ะครับ


สำหรับ ผู้ที่ไม่ใช่ขิปปาภิญญา แล้ว.... การจะนำไปสู่ กุศลที่พ้นเจตนา นั้น ก็ต้องอาศัยเจตนา คือ ความพากเพียรพัฒนาเป็นไปในเบื้องต้น .....หรือ อาจจะกล่าวได้ว่า ต้องมีความตั้งใจในเบื้องต้นเสียก่อน จนเมื่ออินทรีย์ทั้งห้าพอเหมาะ อริยมรรคบริบูรณ์ ความเป็นอัตโนมัติจึงปรากฏ



สำหรับ ผู้ที่ไม่ใช่ขิปปาภิญญา การตั้งใจเจริญสติที่ยังอยู่ในขั้นฝึกฝน คือ มาถูกทางแล้ว แต่ ยังไม่บริบูรณ์ ...

วิธีปฏิบัติคือ เพียรเจริญสติให้ยิ่งๆขึ้นไป(พหุลีกตา).... จนบริบูรณ์ ชำนาญ และ เป็นอัตโนมัติในที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 11:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐาน ๔


พระอาจารย์ มหาบัว ญาณสัมปันโน


การบำเพ็ญเพียรที่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าและพระสัทธรรม คือความจงใจใคร่ต่อการประพฤติดีจริง ๆ ธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกอย่าง ควรทำด้วยความจงใจ การประกอบการงานทุกประเภทถ้าขาดความจงใจแล้ว แม้จะเป็นงานเล็กน้อย ย่อมไม่สำเร็จลงได้ด้วยความเรียบร้อยและน่าดูเลย เพราะ ความจงใจเป็นเรื่องของสติและหลักใจ ที่จะยังงานนั้น ๆ ให้สำเร็จ ได้ขาดไปจากตัวและวงงาน ผู้มีสติและหลักใจประจำตัวและงานจึงชื่อว่าผู้มีความเพียรไปในตัว

ทั้งกิจนอกการในถ้าขาดความจงใจเป็นเครื่องจดจ่อต่องานแล้ว แม้ผู้เป็นนายช่างทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีความฉลาดอยู่บ้าง ทำอะไรมีความสวยงามและแน่นหนามั่นคง แต่ถ้าขาดความจงใจใคร่ต่องานแล้ว แม้งานนั้นจะสำเร็จก็ย่อมลดคุณภาพและความสวยงาม ฉะนั้นความตั้งใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยผู้มุ่งต่อผลของงานอันสมบูรณ์จึงไม่ควรมองข้ามไป

เราเป็นนักบวชและนักปฏิบัติ ควรเห็นความตั้งใจ จดจ่อ ต่อธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกประเภท โดยมีความรู้สึกอยู่กับงานนั้น ๆ

แม้ที่สุดปัดกวาดลานวัด เช็ดถูกุฎีและศาลา ปูอาสนะ ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน ตลอดการเคลื่อนไหวไปมา เหลือบซ้ายแลขวา ควรมีสติประจำอยู่ทุก ๆ ขณะ ชื่อว่าผู้มีความเพียรประจำตน

การฝึกหัดนิสัยเพื่อเป็นคนมีสติอันเคยชิน จำต้องอาศัยการงานเป็นเครื่องฝึกหัด

การประกอบการงานภายนอกแต่ละประเภทเป็นธุระชิ้นหนึ่ง ๆ

การเดินจงกรมและนั่งสมาธิภาวนาเป็นธุระชิ้นหนึ่ง ๆ

ทั้งนี้ถ้ามีสติจดจ่อกับงานที่ทำ ชื่อว่ามีความเพียรไม่ขาดวรรคขาดตอน การฝึกหัดนิสัยของผู้ใคร่ต่อธรรมชั้นสูง จึงควรเริ่มและรีบเร่งฝึกหัดสติไปกับงานทุกประเภทแต่ต้นมือ
เพื่อความแน่นอนและมั่นคงในอนาคตของเรา โปรดฝึกหัดนิสัยตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกลายเป็นคนมีสติประจำตนทั้งขณะที่ทำและขณะอยู่เฉย ๆ ถึงเวลาจะทำความสงบภายในใจ สติจะกลายเป็นธรรมติดแนบอยู่กับใจ และตั้งขึ้นพร้อมกับความเพียรได้อย่างใจหมาย ทั้งมีกำลังพอจะบังคับจิตใจให้หยั่งลงสู่ความสงบได้ตามต้องการ

ส่วนมากที่พยายามให้จิตเข้าสู่ความสงบไม่ได้ตามใจหวังนั้น เนื่องจากสติที่เป็นแม่แรงไม่มีกำลังพอ จิตจึงมีโอกาสเล็ดลอดออกไปสู่อารมณ์ได้อย่างง่ายดาย เหมือนเด็กซนซึ่งปราศจากพี่เลี้ยงผู้ตามดูแล เด็กอาจได้รับอันตรายในเวลาใดก็ได้

จิตที่มีความเพลินประจำตนโดยปราศจากสติตามรักษา จึงมีสิ่งรบกวนตลอดเวลาจนหาความสงบสุขไม่ได้ พี่เลี้ยงของจิตคือสติกับปัญญา คอยให้ความปลอดภัยแก่จิตตลอดสาย ที่จิตคิดไปตามอารมณ์ต่าง ๆ คอยพยายามปลดเปลื้องอารมณ์ที่มาเกี่ยวข้องกับใจ และพยายามแสดงเหตุผลให้จิตรับทราบเสมอ ใจที่ได้รับเหตุผลจากปัญญาพร่ำสอนอยู่เป็นนิจ จะฝืนคิดและติดอารมณ์ที่เคยเป็นข้าศึกต่อไปอีกไม่ได้ การฝึกหัดสติและปัญญา เพื่อให้มีกำลังคืบหน้าไม่ล่าถอยเสื่อมโทรม โปรดฝึกหัดตามวิธีที่กล่าวมา



.......................



เสนอ สังเกตุ ที่ หลวงตาท่านกล่าวถึง ความจงใจ ความตั้งใจ ในการเจริญสติ




ส่วน สติอัตโนมัติ(มหาสติมหาปัญญา) ท่านแสดงเอาไว้ ดังนี้


สติเป็นของสำคัญ

เวลามันตั้งไม่ได้อยู่ในวงใน ก็ให้มันอยู่ในวงกาย
ไม่ได้หนีจากนี้ เป็นสัมปชัญญะอยู่ในนี้

ระลึก เป็นที่ เป็นฐาน เป็นจุด เป็นต่อม นี่เรียกว่าสติ

ความระลึกรู้อยู่ทั้งตัว ความรู้ตัว ซ่านไปหมดในตัวนี้ เรียกว่าสัมปชัญญะ

รู้พร้อม รู้รอบ นี้แหละที่จะไปรวมตัวให้เป็นกำลังขึ้นมา
กลายมาเป็นมหาสติขึ้นมาได้ เพราะอันนี้รวมตัว

ถ้าเป็น มหาสติ แล้วตั้งไม่ตั้ง ....มันก็รู้

มหาสติมหาปัญญา คือ ปัญญาที่ทำงานภายในตัวเอง โดยไม่ต้องถูกบังคับขู่เข็ญใดๆ นั้น เป็นปัญญาที่ควรแก่การรื้อภพรื้อชาติ ได้อย่างมั่นเหมาะ

ไม่มีอะไรสงสัย


• ท่านใช้ชื่อว่า มหาสติมหาปัญญา
ก็ไปตั้งแต่ปัญญาล้มลุกคลุกคลานนี้แล
จนกลายเป็นมหาสติมหาปัญญาขึ้นมาได้
เพราะการฝึกการอบรมอยู่โดยสม่ำเสมอหนุนกันไปเรื่อย
พิจารณาเรื่อยจนมีกำลังแล้วกลายเป็นอัตโนมัติขึ้นมา



(คัดลอกบางตอนมาจาก : ธรรมวิสุทธิ์ ใน “มหาสมัยในปัจจุบัน”
โดย พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปัณโณ) วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



เจริญสติ คือ การมีสติ สัมปชัญญะรู้อยู่ในกายและจิต ผลที่ได้รับคือ
มีสติ สัมปชัญญะ และสมาธิเกิดขึ้น ตามกำลัง ตามเหตุที่กระทำมาทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ที่กำลังทำให้เกิดขึ้น ทำแบบนี้ เรียกว่า มี สติ สัมปชัญญะนำหน้าสมาธิ

เจริญสมาธิ คือ การรู้อยู่กับคำบริกรรมภาวนาจนจิตเกิดความตั้งมั่น
หรือที่เรียกว่า จิตเป็นสมาธิ ผลที่ได้รับคือ สมาธิและสติ
ส่วนตัวสัมปชัญญะจะเกิดขึ้นด้วยได้ตลอดหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับกำลังของสมาธิ

ถ้ากำลังของสมาธิมาก จะมีแค่สติ ตัวสัมปชัญญะไม่อาจเกิดขึ้นได้
มีสติรู้ว่าสมาธิเกิด แล้วขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ที่เรียกว่าตัวสัมปชัญญะ
อาจจะเกิดนิมิต เห็นนิมิต นี่คือ จิตส่งออกนอกกาย ไม่รู้อยู่ในกาย จึงเรียกว่า มีสติแต่ขาดสัมปชัญญะ
เพราะไม่อาจจะรู้อยู่ในกายในขณะนั้นๆได้

มีสติรู้ว่า สมาธิเกิด แต่เนื่องจากกำลังของสมาธินั้นมีมาก จึงขาดความรู้สึกตัวหรือรู้กาย
รู้อีกที คือเสียงนาฬิกาดังหมดเวลา หรืออาจจะนั่งได้หลายชม.แต่รู้สึกเหมือนนั่งไปแค่แป๊บเดียว
อันนี้รู้แค่ สมาธิเกิดขึ้น แต่ขาดการรู้กาย เรียกว่า ขาดความรู้ตัวทั่วพร้อมหรือขาดสัมปชัญญะนั่นเอง

ทำแบบนี้ เรียกว่า มีสมาธินำหน้าสติ แต่ขาดสัมปชัญญะ จึงไม่สามารถรู้ตัวทั่วพร้อมได้
แต่สามารถแก้ไขได้โดยการปรับอินทรีย์ คือ ให้เดินก่อนที่จะนั่ง ให้เดินมากกว่านั่ง
อินทรีย์สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ตามสภาวะของผู้ปฏิบัติ ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวหรือว่าแน่นอน

สภาวะที่มีทั้งสติ สัมปชัญญะและสมาธิ
เรียกว่า จิตเป็นสมาธิ ทั้งประกอบไปด้วยมี สติ สัมปชัญญะ
สภาวะจะมีความรู้สึก รู้ตัวทั่วพร้อม คือ รู้อยู่ได้ตลอดในกายและจิต
รู้ลมหายใจ รู้ท้องพองยุบ รู้กายเคลื่อนไหวที่เกิดจากการหายใจเข้าออก เวทนาเกิดก็รู้ รู้แล้วก็ดับไป
คือเรียกว่า จะรู้ชัดถึงทุกสภาวะที่เกิดขึ้นแต่ละขณะๆ จิตจะเป็นสมาธิรู้อยู่อย่างนั้น
แม้จะเกิดความคิด ก็เป็นส่วนของความคิด เกิดแล้วก็ดับ รู้แต่ละรู้ จะแยกออกเป็นส่วนๆ
ไม่สามารถส่งผลกระทบต่อสภาวะของสมาธิที่เกิดขึ้นอยู่แต่อย่างใด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 02 ก.ค. 2010, 20:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีบทธรรมมาเสนอเพิ่ม



เกี่ยวกับประเด็น

การ ตั้งใจ(จงใจ เจตนา) การกำหนดเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ในช่วงแรกของการฝึกเจริญสติถือว่าเป็น"สภาวะที่ผิดพลาด" ..........ไหม???

บางส่วนจาก

โอวาทธรรม ท่านอาจารย์มนตรี อาภัสสโร
ส่วนพุทธธรรมป่าละอู


สติจากการเคลื่อนไหว สติที่ได้จากการเดินจงกรม
เป็นสติที่มีความมั่นคงที่สุด ใครเพิ่งเริ่มต้น
ไม่ขอแนะนำให้นั่งสมาธิหลับตาเฉย ๆ เลย



เทคนิคการเดินจงกรมสำหรับผู้เริ่มต้น ในช่วงแรก ๆ

- - เอาแรงใจเข้าช่วย โดยพนมมือ มนสิการ (น้อมจิต)
อธิษฐานว่า ขอปฏิบัติข้อวัตร เดินบูชาพระพุทธเจ้า
แล้วลงมือเดินเสมือนพระองค์ทอดพระเนตรมอง
(ไม่ต้องเครียด แค่รู้สึกว่าท่านมองอยู่ จะทำให้เรามีความตั้งใจขึ้น)

- - ที่ปลายทางจงกรม ให้หยุดนิดหนึ่งตอนกลับตัว
หมุนตัวกลับมาแล้ว สำรวจสติที่หล่นหายไปกลางทาง
เรียกความพร้อมกายใจกลับมาอีกครั้ง (เอาล่ะ...)
ทุกรอบ คือรอบใหม่ ตรึงขั้วหัวท้าย มั่นคงกว่ากัน

- - เวลาเดิน ไม่ต้องสนใจอะไรทั้งนั้น นอกจากฝ่าเท้ากระทบปึ้บ ๆ ๆ ๆ ๆ
ไม่ต้องสนแม้ก้าวซ้ายขวา ไม่ต้องสนแม้เย็นร้อนอ่อนแข็ง
ไม่ต้องสนใจทำให้รู้สึกว่ากายเคลื่อนไหว ไม่ต้องคิดอะไรทั้งนั้น
รู้เท้าแค่นั้น ปึ้บ ๆ ๆ ๆ เผลอไปคิดเมื่อไหร่ ก็กลับมารู้อยู่ที่เท้า



เมื่อรู้ของหยาบเช่นนี้ได้ชัดขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว
มันจะย้อนกลับมาดูใจได้ง่ายขึ้นเอง
เริ่มต้นก็เอาอย่างนี้ก่อน เอากำลังก่อน

- - ถ้าฟุ้งซ่านแรง ให้ลงเท้าให้หนักขึ้นอีกนิด
(อย่ากระแทกแรงเกิน ดูสุขภาพตัวเองด้วย) : )
วิหารธรรมก็คือตัวที่กระทบพื้น ปึ้บ ๆ ๆ ๆ นี่แหละ
ให้น้ำหนักนี้เรียกสติเรากลับคืนมา

- - ใช้วิ่ง หรือว่ายน้ำ เพื่อให้รู้กายได้ไหม "ได้"
ทำได้เหมือนกัน ดีเหมือนกัน
แต่อย่าลืมกลับมาเดินจงกรมด้วย
เพราะจะเป็นรูปแบบที่ให้ความมั่นคงกว่ากัน

- - เดินไป เปิดธรรมะของครูบาอาจารย์ฟังไปด้วยได้ไหม "ไม่ควร"
เอาเท้ากระทบที่เรารู้นี่แหละ ให้ชัดที่สุด พอแล้ว
เดี๋ยวอีกหน่อยฟังไปด้วยก็จะติด เป็นมีอามิสไปด้วย
เอาแค่เดินรู้เท้าเราอย่างเดียวพอแล้ว


.................


ในขั้นการฝึกฝน หรือ ในขณะที่ฟุ้งซ่านมากๆ ...ท่านอาจารย์มนตรีท่านไม่ได้ห้ามกำหนดเฉพาะฝ่าเท้าน่ะครับ...ลองอ่าน ดีๆ



ในแนวทางของครูบาอาจารย์พระป่า ไม่ว่าจะ หลวงปู่มั่น หรือ ลูกศิษย์หลวงปู่ดุลย์ ก็ตาม...การกำหนดเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ในขั้นการฝึกเจริญสติ(สติอัตโนมัติยังไม่ปรากฏ) ไม่ถือว่า"ผิด"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 14:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจุบัน

การกำหนดขอบเขตของการเจริญสติ ไว้ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ถือว่า เป็น "สภาวะที่ผิดพลาด ในการเจริญสติ" ..... โดยบอกว่า ที่ถูกควร เป็นลักษณะ รู้ตัวทั่วพร้อม ไปเลย


ความจริง คือ การรู้ตัวทั่วพร้อม นั้น เป็นลักษณะ การเจริญสติที่พัฒนาไปได้ระดับหนึ่งแล้ว.... แต่ ก็ ต้องอาศัยพัฒนาไปจาก การตั้งใจ(จงใจ)ในขั้นการฝึกฝนเจริญสติ.
ซึ่ง สำหรับผู้ที่ไม่ใช่ขิปปาภิญญา แล้ว การรู้ตัวทั่วพร้อม ก็ต้องอาศัยการพากเพียรพัฒนา ไปเป็นลำดับ.



หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ท่านได้เล่าถึงหลักการภาวนาที่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เมตตาแนะนำ เกี่ยวกับการ เจริญ กายคตาสติ ไว้ว่า


"......การแนะนำให้ศิษย์ปฏิบัติภาวนานั้น หลวงปู่มั่นท่านย้ำอยู่เสมอว่า

จะใช้"พุทโธ"เป็นบทบริกรรมสำหรับผูกจิตก็ได้ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้วให้วางบทบริกรรมเสีย.....

แล้วพิจารณาร่างกาย ครั้งแรกให้พิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ที่เราสามารถจะเพ่งพิจารณาได้อย่างสะดวกในอาการ๓๒ เมื่อพิจารณาจนเกิดความชัดเจน กลับไป-กลับมา หรือที่เรียกว่าอนุโลม-ปฏิโลมแล้ว

เมื่อหายสงสัยในจุดที่พิจารณานั้นแล้ว จึงค่อยเปลี่ยนเป็นจุดอื่นต่อไป.

อย่าพิจารณาเป็นวงกว้างทั้งร่างกาย ความชัดเจนจะไม่ปรากฏ....ต้องค่อยเป็นค่อยไป.....

เมื่อพิจารณาจนเกิดความชำนาญแล้ว เมื่อเราเพ่งปัญญาลงไปจุดใดจุดหนึ่ง ความชัดเจนจากจุดอื่นๆก็จะปรากฏเป็นนัยเดียวกัน.....

เมื่อพิจารณาพอสมควรแล้ว ให้น้อมจิตเข้าพักอยู่ในความสงบ....เมื่อพักอยู่ในความสงบพอสมควรแล้วให้ย้อนกลับออกมาพิจารณาร่างกายอีก

ให้เจริญอยู่อย่างนี้ จึงจะเจริญทางด้านปฏิบัติ....

เมื่อจิตมีความชำนาญเพียงพอแล้ว......... คำบริกรรม"พุทโธ"ก็ไม่จำเป็น เพียงกำหนดจิตก็จะสงบเข้าสู่สมาธิทันที....."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร