วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ค. 2025, 07:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 09:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




samatha-1237000671-222-123-119-36.jpg
samatha-1237000671-222-123-119-36.jpg [ 20.06 KiB | เปิดดู 2993 ครั้ง ]
หลวงปู่บุดดา ถาวโร


ศิษย์: หลวงปู่ครับ นิพพานโลกุตระ เป็นอย่างไร
หลวงปู่: มันก็หมดอาสวะซิ อวิชชาไม่เหลือ
ศิษย์: จิตยังอยู่ไหมครับ
หลวงปู่: จิตปรมัตถ์ไป เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์จิตยังอยู่ มันเกิด-ดับ มันเป็นสังคตะไป ไม่ใช่สัตว์คนเป็นสังคตธรรม สังคตธรรมมีอยู่ อสังคตะธรรมมีอยู่ วิราคะธรรมมีอยู่ แต่ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่คนเท่านั้น
ศิษย์: หมดสมมุติ หมดความยึดถือไช่ไหมครับ
หลวงปู่: .ฮื้อ! มันไม่มีอาสวะ ไม่มีอวิชชาสวะ ไม่มีอวิชชาสังโยชน์ ไม่มีอวิชชานุสัย ล่ะก็ กิเลส กรรม วิบาก มันก็ไม่มี จิตไม่มีนาม-รูปของขันธ์แล้ว มันเหนือนาม-รูปของขันธ์แล้ว สังคตะมันเหนือขันธ์ ๕ วิราคะธรรมมันเหนือขันธ์ ๕ (เหนือ คือ ไม่ถูกครอบงำ ไม่มีอุปาทานขันธ์ ย่อมไม่กลับกำเริบอีก)ขันธ์ ๕ ยังมีนามรูปติดต่อกันทางอายตนะธาตุนี่ ส่วนนิพพาน ปรมัตถ์นี้ไม่เกิดไม่ดับเป็นอสังคตะธรรม แต่ จิต เจตสิก รูป ปรมัตถ์นี้ยังเกิดดับเป็นสังคตะธรรม วิราคะธรรม ไม่มีราคะ หมดราคะถึงโลกุตระแล้วนั่น ไม่มีราคะโทสะ โมหะ เผาลนแล้ว
ศิษย์: เมื่อดับจิต แล้ว นิพพาน สูญ ไม่เหลืออะไรเลยหรือปล่าวครับ..
หลวงปู่: นิพพานไม่สูญ เป็นแต่อาสวะกิเลสสูญ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม วิบาก มันสูญ แต่ สังคตะธรรม อสังคะธรรม วิราคะธรรม มันไม่ได้หมดไปด้วย บารมี ๓๐ ทัศน์ที่พระพุทธเจ้าสร้างเป็นของไม่ตาย แต่ว่าตัวบุญต้องเปลี่ยนแปลงไปจนกว่าพระโพธิสัตว์ตรัสรู้ เพราะถ้าเป็นตัวบุญอยู่กับพระเวสสันดรก็ไม่ตรัสรู้ซิ ก็ได้เป็นกษัตริย์ไม่ตรัสรู้ซิ แต่เพราะสละหมดอย่างพระเวสสันดร เที่ยวออกค้นคว้าถึง ๖ ปี(ซึ่งก็ต้องอาศัยบารมี อันเป็นนิสัยที่สั่งสมมา) จึงตรัสรู้ พระพุทธเจ้าบางองค์ก็อายุไม่เท่ากันมาองค์ปัจจุบันอายุ ๘๐ ปี (แล้วแต่บารมี)
ศิษย์: ที่เขาว่าไปเที่ยวเมืองนิพพาน น่ะเขาไปกันได้จริงหรือป่าวครับ
หลวงปู่: .เที่ยวได้แต่ปริยัติน่ะซิ พูดเอาภาคปริยัติก็เที่ยวได้ ภาคปฏิเวธเที่ยวได้ที่ไหนล่ะ มันมีบอกเมื่อไหร่ล่ะ
ศิษย์: .แล้วอย่างมโนมยิทธิล่ะครับ
หลวงปู่: นั่นมันเรื่อง พุทธนิมิต ธรรมนิมิต สังฆนิมิต ก็ตามใจซิ ก็นิมิตมันมีอยู่ หลับตาลืมตาก็มี มีของพระอริยะเจ้า พระพุทธเจ้าก็แสดงพุทธนิมิต ธรรมนิมิต สังฆนิมิต ได้ ให้เห็นกันทั่ว กามโลก รูปโลก อรูปโลก ให้เขาได้เห็นกันเมื่อครั้งเสด็จลงจากดาวดึงส์นี่ ก็จิตนี่ล่ะมันรับธรรมะ นอกจากกายกับจิตแล้วจะเอาอะไรไปรับล่ะ กายกับจิตนี่ล่ะมันรองรับพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้ารู้นรก ๒ ชั้น นรกชั้นนอก นรกชั้นใน สวรรค์ชั้นนอก สวรรค์ชั้นใน นิพพานชั้นนอก นิพพานชั้นใน มันต้องมีภายนอกภายในพิสูจน์กันดู ดูนิพพานกันอย่างนี้ อ่านพระไตรปิฎกกันอย่างนี้ซิ นิพพานไม่ใช่รูปขันธ์ ไม่ใช่นามขันธ์ มันเหนือรูปขันธ์ นามขันธ์ สร้างบารมีมาก็เอาเป็นเครื่องมือ สร้างบารมีต่างหากล่ะ นามรูปนี่ตรัสรู้แล้วเอาไปเมื่อไหร่ล่ะ บารมี ๓๐ ทัศน์ ไม่ใช่ตัวขันธ์ ๕ มันเหนือขันธ์ ๕ พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วก็เหลือขันธ์ ๕ พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลายตรัสรู้ ละสังโยชน์ แล้วก็เหลือยังขันธ์ ๕ เขายังเขียนรูปโลกไว้ให้ดู แต่อยู่เหนือขันธ์ ๕

ดูเพิ่มเติมที่ เว็บ ประตูธรรม

.....นิพพานมีอยู่จริงในปัจจุบัน ถ้าใครออกจากปัจจุบันไม่เห็นเลย ทุกเขญาณัง มันเกิดขึ้นกับจิตนี่เอง ให้พิจารณากายในมากๆ นิพพานไม่อยู่ตามต้นไม้ อยู่ที่จิตใจหมดอาสวะทั้งหลายนั่นเอง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




011.jpg
011.jpg [ 61.42 KiB | เปิดดู 2893 ครั้ง ]
หลวงพ่อเกษม เขมโก จ.ลำปาง

พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน
นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งของคุณปู่ก็กจึง ที่กรุณาเล่าให้ผมฟัง ข้อนี้....คุณปู่เล่าให้ฟังสั้นๆ ว่า เหตุการณ์เมือนานมามากแล้วเช่นกัน จู่ๆ วันหนึ่ง เมื่อคุณปู่ไปนมัสการหลวงพ่อ ท่านได้ถามว่า

"สามก็ก...รู้ไหม ว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน? "
(หลวงพ่อเรียกคุณปู่ก๊กว่า สามก๊ก มานานแล้ว)

คุณปู่ก๊กจึง สมัยนั้นประณมมือไหว้หลวงพ่อพลางตอบว่า
"ผมไม่ทราบครับ หลวงพ่อ"

ทันใดนั้นหลวงพ่อได้ชี้นิ้วเฉียงไปบนฟ้า พลางกล่าวว่า

พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ในโลกนี้ ท่านอยู่นอกโลก......

จาก อนุสรณ์ ครบรอบ ๘๐ ปี หลวงพ่อเกษม เขมโก ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ หน้า 146


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 05 ก.พ. 2010, 09:36, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 09:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




lptou.jpg
lptou.jpg [ 31.21 KiB | เปิดดู 2989 ครั้ง ]
หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม

.... เมื่อเป็นพระเจ้าแผ่นดินโลกุตตรมนุษย์ ได้เป็นพระอรหันต์เข้าพระนิพพานแล้ว พระนิพพานก็ยังมีอยู่ ไม่เสื่อมสูญ พระพุทธเจ้าเข้าพระนิพพานก็มีอยู่ในพระนิพพาน นั้นแล

พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร พระอนุรุทธ พระอานนท์ เข้านิพพาน ก็มีอยู่พระนิพพานนั้นแล นางภิกษุณีทั้งหลายได้บวชกาย วาจา ใจ ใจก็เป็นพระนิพาน แล้วเข้าพระนิพพานได้ด้วย เหมือนพระจันทร์ พระจันทร์ไม่มีวันแก่ พระจันทร์ไม่มีวันเจ็บ พระจันทร์ไม่มีวันร้อนวันหนาว ดาวไม่มีเกิดไม่มีตาย

คนเรานี้มันเป็นบ้าเป็นบอ คอยาว ตาขาว ลิ้นยาว ใช้ไม่ได้ ส่วนพระธรรมคำสั่งสอนเกิดจากหัวใจของพระพุทธเจ้า เกิดจากหัวใจของพระอรหันต์ทั้งหลาย ทำไมพวกเราทั้งหลายและพวกท่านทั้งหลายจึงไม่รู้ เราจึงไม่เห็น ถ้าเราเป็นพระอรหันต์ เป็นพระโสดาบัน เป็นพระอนาคาเมื่อใด ก็เมื่อนั้นแหละ จึงจะเห็นจะรู้ที่อยู่พระพุทธเจ้า ที่อยู่ของพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย......

อาจารีธัมโมทยาน พศ.๒๕๓๖ หน้า 127 หอรัตนชัยการพิพม์


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 04 ก.พ. 2010, 13:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 10:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp
000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp [ 466.22 KiB | เปิดดู 2987 ครั้ง ]
พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จอนุโมทนา พระอาจารย์มั่น


หลังจากท่านเดินทางถึงแดนแห่งวิมุตติแล้ว คืนต่อ ๆ มามีพระพุทธเจ้าพร้อมพระสาวกจำนวนมากเสด็จมาอนุโมทนาวิมุตติธรรมกับท่านเสมอมิได้ขาด… คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นกับพระสาวกบริวารเป็นจำนวนหมื่นเสด็จมาเยี่ยม… คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีสาวกเท่านั้นเสด็จมาเยี่ยมอนุโมทนา จำนวนพระสาวกที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาแต่ละพระองค์นั้นมีจำนวนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ท่านว่าขึ้นอยู่กับวาสนาของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ไม่เหมือนกัน… ที่พระสาวกตามเสด็จมาด้วยแต่ละพระองค์นั้น มิได้ตามเสด็จมาทั้งหมดในบรรดาพระสาวกของแต่ละพระองค์ที่มีอยู่… แต่ที่ตามเสด็จมามากน้อยนั้นต่างกันนั้นพอแสดงให้เห็นภูมิพระวาสนาบารมีของแต่ละพระองค์นั้นต่างกันเท่นนั้นบรรดาพระสาวกจำวนมากของแต่ละพระองค์ที่ตามเสด็จมานั้น มีสามเณรติดตามมาด้วยครั้งละไม่น้อยเลย… ท่านสงสัยจึงพิจารณาก็ทราบว่า คำว่าพระอรหันต์ในนามธรรมนั้นมิได้หมายเฉพาะพระ แต่สามเณรที่มีจิตบริสุทธิ์หมดจดก็นับเข้าในจำวนสาวกอรหันต์ด้วย ฉะนั้น ที่สามเณรติดตามมาด้วยจึงไม่ขัดกัน ในพระโอวาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ประทานอนุโมทนาแก่ท่านพระอาจารย์มั่นนั้น ส่วนใหญ่มีว่า… เราตถาคตทราบว่าเธอพ้นโทษจากอนันตรทุกข์ในที่คุมขังแห่งเรือนจำของวัฏฏทุกข์ จึงได้มาเยี่ยมอนุโมทนาที่คุมขังแหล่งนี้ใหญ่โตมโหฬารและแน่นหนามั่นคงมาก และมีเครื่องยั่วยวนชวนให้เผลอตัวและติดอยู่รอบตัวไม่มีช่องว่าง จึงยากที่จะมีผู้แหวกว่ายออกมาได้ เพราะสัตว์โลกจำนวนมากไม่ค่อยมีผู้สนใจกับทุกข์ที่เป็นอยู่กับตัวตลอดมา ว่าเป็นสิ่งที่ทรมานและเสียดแทงร่างกายจิตใจเพียงใด พอจะคิดเสาะแสวงหาด้วยวิธีต่าง ๆ เหมือนคนเป็นโรคแต่มิได้สนใจกับยา ยาแม้มีมากจึงไม่มีประโยชน์สำหรับคนประเภทนั้น ธรรมของเราตถาคตก็เช่นเดียวกับยา สัตว์โลกอาภัพเพราะโรคกิเลสตัณหาภายในใจเบียดเบียนเสียดแทง ทำให้เป็นทุกข์แบบไม่มีจุดหมายว่าจะหายได้เมื่อไร สิ่งตายตัวก็คือ โรคพรรค์นี้ถ้าไม่รับยาคือ ธรรมจะไม่มีวันหายได้ ต้องฉุดลากสัตว์โลกให้ตายเกิดคละเคล้าไปกับความทุกข์กายทุกข์ใจ และเกี่ยวโยงกันเหมือนลูกโซ่ ตลอดอนันตกาล ธรรมแม้จะมีเต็มไปทั้งโลกธาตุก็ไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ไม่สนใจนำไปปฏิบัติรักษาตัวเต็มไปทั้งโลกธาตุก็ไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ไม่สนใจนำไปปฏิบัติรักษาตัวเท่าที่ควรจะได้รับจากธรรม… ธรรมก็อยู่แบบธรรม… สัตว์โลกก็หมุนตัวเป็นกงจักรไปกับทุกข์ในภพน้อยภพใหญ่แบบสัตว์โลก… โดยไม่มีจุดหมายปลายทางว่าจะสิ้นสุดทุกข์กันลงได้เมื่อใด…ไม่มีทางช่วยได้… ถ้าไม่สนใจช่วยตัวเองโดยยึดธรรมมาเป็นหลักใจและพยายามปฏิบัติตาม…


พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้เพิ่มจำนวนองค์และสั่งสอนมากมายเพียงไร ผลที่ได้รับก็เท่าที่โรคประเภทคอยรับยามีอยู่เท่านั้น… ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ว่าพระองค์ใด มีแบบตายตัวอยู่อย่างเดียวกัน คือสอนให้ละชั่วทำดีทั้งนั้น ไม่มีธรรมพิเศษและแบบสอนพิเศษไปกว่านี้ เพราะไม่มีกิเลสตัณหาพิเศษในใจสัตว์โลกที่พิเศษเหนือธรรมซึ่งประกาศสอนไว้… เท่าที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายประทานไว้แล้วเป็นธรรมที่ควรแก่การรื้อถอนกิลสทุกประเภทของมวลสัตว์อยู่แล้ว… นอกจากผู้รับฟังและปฏิบัติตามจะยอมแพ้ต่อเรื่อกิลสตัณหาของตัวเสียเอง แล้วเห็นธรรมเป็นของไร้สาระไปเสียเท่านั้น… ตามธรรมดาแล้วกิเลสทุกประการต้องฝืนธรรมดาดั้งเดิม คนที่คล้อยตามมันจึงเป็นผู้ลืมธรรมไม่อยากเชื่อฟังและทำตาม โดยเห็นว่าลำบากและเสียเวลาทำในสิ่งที่ตนชอบ… ทั้งที่สิ่งนั้นให้โทษ… ประเพณีของนักปราชญ์ผู้ฉลาดมองเห็นการณ์ไกลย่อมไม่หดตัวมั่นสุมอยู่เปล่า ๆ เหมือนถูกน้ำร้อนไม่มีทางออก… ต้องยอมตายในหม้อที่กำลังเดือดพล่าน โลดเดือดพล่านอยู่ด้วยกิเลสตัณหาความแผดเผา ไม่มีกาลสถานที่ที่พอจะปลงวางลงได้… จำต้องยอมทนทุกข์ทรมานไปตาม ๆ กันโดยไม่นิยมสัตว์น้ำ… สัตว์บก… สัตว์อยู่บนอากาศและใต้ดิน เพราะสิ่งแผดเผาเร่าร้อยอยู่กับใจ ความทุกข์จึงอยู่ที่นั่นที่นี่เธอเห็นพระตถาคตอย่างแท้จริงแล้วมิใช่หรือ?… พระตถาคตแท้คืออะไร… คือความบริสุทธิ์แห่งใจที่เธอเห็นแล้วนั้นแล… ที่พระตถาคตมาในร่างนี้มาในร่างแห่งสมมติต่างหากเพราะพระตถาคตและพระอรหันต์อันแท้จริงมิใช่ร่างแบบที่มากันนี้… นี่เพียงเป็นเรือนร่างของตถาคตโดยทางสมมติต่างหาก… ท่านพระอาจารย์กราบทูลว่า… ข้าพระองค์ทราบพระตถาคตและพระสาวกอรหันต์อันแท้จริงไม่สงสัย… ที่สงสัยก็คือ… พระองค์ทั้งหลายกับพระสาวกท่านที่เสด็จไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานไม่มีส่วนสมมติยังเหลืออยู่เลย… แล้วเสด็จมาในร่างนี้ได้อย่างไร


พระพุทธเจ้าตรัสว่า…
ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งแม้มีความบริสุทธิ์ทางใจด้วยดีแล้ว แต่ยังครองร่างอันเป็นส่วนสมมติยังเหลืออยู่ ฝ่ายอนุปาทิเสสนิพพานก็ต้องแสดงสมมติตอบรับกัน คือต้องมาในร่างสมมติตซึ่งเป็นเครื่องใช้ชั่วคราวได้ถ้าต่างฝ่ายต่างเป็นอนุปาทิเสสนิพพานด้วยกันแล้วไม่มีส่วนสมมติยังเหลืออยู่… ตถาคตก็ไม่มีสมมติอันใดมาแสดงเพื่ออะไรอีก…ฉะนั้นการมาในร่างสมมตินี้จึงเพื่อสมมติเท่านั้น ถ้าไม่มีสมมติเสียอย่างเดียวก็หมดปัญหา พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่องอดีตอนาคตก็ทรงถือเอานิมิต… คือสมมติอันดั้งเดิมของเรื่องนั้น ๆ เป็นเครื่องหมายให้ทราบ เช่น… ทรงทราบอดีตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายว่าทรงเป็นมาอย่างไร เป็นต้น ก็ต้องถือเอานิมิตของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น และพระอาการนั้น ๆ เป็นเครื่องหมายพิจารณาให้รู้ ถ้าไม่มีสมมติของสิ่งนั้น ๆ เป็นเครื่องหมาย ก็ไม่มีทางทราบได้ในทาสมมติ เพราะวิมุตติล้วน ๆ ไม่มีทางแสดงได้ ฉะนั้นการพิจารณาและทราบได้ต้องอาศัยสมมติเป็นหลักพิจารณาดังที่เราตถาคตนำสาวกมาเยี่ยมเวลานี้ ก็จำต้องมาในรูปลักษณะอันเป็นสมมติดั้งเดิม เพื่อผู้อื่นจะพอมีทางทราบไดว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ๆ และพระอรหันต์องค์นั้น ๆ มีรูปลักษณะอย่างนั้น ๆ ถ้าไม่มาในรูปลักษณะนี้แล้ว ผู้อื่นก็ไม่มีทางทราบได้เมื่อยังต้องเกี่ยวกับสมมติในเวลาต้องการอยู่ วิมุตติก็จำต้องแยกแสดงออกโดยางสมมติเพื่อความเหมาะสมกัน ถ้าเป็นวิมุตติล้วน เช่นจิตที่บริสุทธิ์รู้เห็นจิตที่บริสุทธิ์ด้วยกันก็เพียงแต่รู้อยู่เห็นอยู่เท่านั้น ไม่มีทางแสดงให้รู้ยิ่งกว่านั้นไปได้ เมื่อต้องการทราบลักษณะอาการของความบริสุทธิ์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ก็จำต้องนำสมมติเข้ามาชวยเสริมให้วิมุตติเด่นขึ้นพอมีทางทราบกันได้ว่าวิมมุตมีลักษณะว่างเปล่าจากนิมิตทั้งปวดมีความสว่างไสวประจำตัว มีความสงบสุขเหนือสิ่งใด ๆ เป็นต้น… พอเป็นเครื่องหมายให้ทราบได้โดยทางสมมติทั่ว ๆ ไห้ ผู้ทราบวิมุตติอย่างประจักษ์ใจแล้ว จึงไม่มีทางสงสัยทั้งเรื่องวิมุตติเสดงตัวออกต่อสมมติในบางคราวที่ควรแก่กรณี และทรงตัวอยู่ตามสภาพเดิมขอบงวิมุตติ ไม่แสดงอาการ ที่เธอถามเราตถาคตนั้น ถามด้วยความสงสัยหรือถามพอเป็นกิริยาแห่งการสนทนากัน ท่านกราบทูลว่า ข้าพระองค์มิได้มิความสงสัยทั้งสมมติและวิมุตติของพระองค์ทั้งหลาย แต่ที่กราบทูลนั้นก็เพื่อถวายความเคารพไปตามกิริยาแห่งสมมติเท่านั้น แม้พระองค์กับพระสาวกจะเสด็จมาหรือไม่ก็มิได้สงสัยว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ อันแท้จริงมีอยู่ ณ ที่แห่งใด แต่เป็นความเชื่อประจักษ์ใจอยู่เสมอว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต อันแสดงว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ มิใช่ธรรมชาติอื่น ใดจาดที่บริสุทธิ์หมดจดจากสมมติในลักษณะเดียวกันกับพระรัตนตรัย พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่เราตถาคตถามเธอ ก็มิได้ถามด้วยความเข้าใจว่าเธอมีความสงสัย แต่ถามเพื่อเป็นสัมโมทนียธรรมต่อกันเท่านั้น

บรรดาพระสาวกที่ตามเสด็จพระพุธเจ้ามาแต่ละพระองค์และแต่ละครั้งนั้น มิได้กล่าวปราศรัยอะไรกับท่านพระอาจารย์มั่นเลย มีพระพุทธเจ้าประทานพระโอวาทพระองค์เดียวส่วนพระสาวกทั้งหลายเป็นเพียงนั่งฟังอยู่อย่างสงบเสงี่ยม น่าเคารพเลื่อมใสมากเท่านั้นแม้สามเณรองค์เล็ก ๆ ที่น่ารักมากกว่าจะน่าเคารพเลื่อมใส

เพิ่มเติมประวัติพระอาจารย์มั่น หน้า 127
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 12:33
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์

097 ลักษณะพระนิพพาน

ปัญหา จงแสดงลักษณะของพระนิพพานว่ามีอย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ “ดิน น้ำ ลม ไฟ ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ใด สงสารทั้งหลายยอมกลับแต่ที่นี้ วัฏฏะย่อมเป็นไปในที่นี้ นามก็ดี รูปก็ดี ย่อมดับหมดในที่นี้”

สรสูตรที่ ๗ ส.สํ. (๗๑)
ตบ. ๑๕ : ๒๒ ตท. ๑๕ : ๒๑
ตอ. K.S. I : ๒๓

048 พระอรหันต์นิพพานแล้วไปไหน

๔๖. ปัญหา คนธรรมดาตายแล้วย่อมเกิดในภพต่าง ๆ ตามกรรม ส่วนพระอรหันต์ผู้สิ้นกรรมแล้ว ไปเกิดที่ไหน ?

พุทธดำรัสตอบ “....ดูก่อนวัจฉะ คำว่า จะเกิดดังนี้ไม่ควรเลย.... คำว่า ไม่เกิดดังนี้ก็ไม่ควร.... คำว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ดังนี้ก็ไม่ควร.... คำว่าเกิดก็มีใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ก็ไม่ควร
“.....ธรรมนี้เป็นธรรมลุ่มลึก ยากที่จะเป็นยากที่จะรู้ สงบระงับประณีตไม่ใช่ธรรมที่จะหลั่งถึงได้ด้วยความตรึกละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นอันท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจเป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของอาจารย์อื่น รู้ได้โดยยากดูก่อนวัจฉะ...... เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้..... ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านท่านจะพึงรู้หรือไม่ว่าไฟนี้ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรา”
วัจฉะ “ข้าพเจ้าพึงรู้ว่า ไฟนี้ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรา”
พุทธะ “...... ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้อาศัยอะไรจึงลุกเล่า ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร ?
วัจฉะ “......ข้าพเจ้าถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรานี้ อาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึงลุกอยู่”
พุทธะ “......ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านพึงรู้หรือว่า ไฟนี้จะดับไปต่อหน้าเราแล้ว ?”
วัจฉะ “ ...... ข้าพเจ้าพึงรู้ว่าไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว.....”
พุทธะ “......ไฟที่ดับไปต่อหน้าท่านแล้วนั้นไปยังทิศไหนจากทิศนี้.... ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร ?”
วัจฉะ “...... ข้อนั้นไม่สมควร เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึงลุกแต่เพราะเชื้อนั้นสิ้นไป และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึงถึงความนับว่า ไม่มีเชื้อ ดับไปแล้ว”
พุทธะ “......ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะรูปใด...... เพราะเวทนาใด....... เพราะสัญญาใด........ เพราะสังขารใด เพราะวิญญาณใด รูป...... เวทนา...... สัญญา.....สังขาร..... วิญญาณนั้น ตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เห็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความมี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่ารูป....... เวทนา...... สัญญา.... สังขาร...... วิญญาณ มีคุณอันลึกอันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มีไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็หามิได้ ไม่เกิดก็หามิได้”

อัคคิวัจฉโคตตสูตร ม. ม. (๒๔๘-๒๕๑)
ตบ. ๑๓ : ๒๔๕-๒๔๘ ตท.๑๓ : ๒๐๙-๒๑๑
ตอ. MLS. II : ๑๖๕-๑๖๖

359 สภาพจิตของผู้ถึงนิพพาน

ปัญหา สภาพจิตของบุคคลผู้บรรลุถึงนิพพานแล้ว มีลักษณะอย่างไร ?

พระสารีบุตรตอบ “ดูก่อนท่านฉันนะ ท่านพึงจำไว้ในใจให้ดีตลอดกาลเป็นนิตย์ บุคคลที่ยังมีตัณหา มานะทิฏฐิอาศัยอยู่ย่อมมีความหวั่นไหว ความหวั่นไหวย่อมไม่มี แก่บุคคลที่ไม่มีตัณหา มานะ และทิฏฐิ อาศัยอยู่ เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ย่อมมีความสงบระงับ เมื่อมีความสงบระงับ ย่อมไม่มีความเพลิดเพลิน ความมาความไปก็ไม่มี เมื่อจุติและอุปบัติไม่มี โลกนี้และโลกหน้า และระหว่างโลกทั้ง ๒ ก็ไม่มี นี้และเป็นที่สุดแห่งทุกข์”

ฉันนสูตร สฬา. สํ. (๑๑๐)
ตบ. ๑๘ : ๗๔ ตท. ๑๘ : ๖๒
ตอ. K.S. ๔ : ๓๒



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 10:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp
000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp [ 466.22 KiB | เปิดดู 2957 ครั้ง ]
“ปุพฺเพนิวาสํ โย เวทิ
สคฺคาปายญฺจ ปสฺสติ
อโถ ชาติกฺขยํ ตโต อภิญฺญา โวสิโต มุนิ
สพฺพโวสิตโวสานํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.”



“บุคคลใด รู้ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน ทั้งเห็นสวรรค์ [ทั้งเทวโลกและพรหมโลก] และอบาย, อนึ่ง บรรลุความสิ้นไปแห่งชาติ เสร็จกิจแล้ว เพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี, เราเรียกบุคคลนั้น ซึ่งมีพรหมจรรย์อันอยู่เสร็จสรรพแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.”

(ขุ.ธ.๒๕/๓๖/๗๑)


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 04 ก.พ. 2010, 11:58, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp
000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp [ 466.22 KiB | เปิดดู 2942 ครั้ง ]
วิธีรู้ภูมิเสขะ-อเสขะของตน

ปัญหา วิธีผู้ตั้งอยู่ในเสขภูมิ และอเสขภูมิ จะพึงรู้ว่าตนเองเป็นพระเสขะและพระอเสขะมีหรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายวิธีที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่าเราเป็นพระเสขะ คืออย่างไร ? ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ ปริยายวิธีนี้แล ภิกษุผู้เสขะอาศัยแล้ว ย่อมรู้ชัดว่าเราเป็นพระเสขะ...”

“อีกประการหนึ่ง.... พระเสขะย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่าสมณะหรือพราหมณ์อื่นภายนอกจากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดงธรรมที่จริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาคเป็นไม่มี...ปริยายวิธีนี้แลภิกษุผู้เสขะอาศัยแล้ว... ย่อมรู้ชัดว่าเราเป็นพระเสขะ...

“อีกประการหนึ่ง.... พระเสขะย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๕.... ย่อมรู้ชัดว่าอินทรีย์ ๕ นั้น มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด แต่ยังไม่ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ และยังไม่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.... ปริยายวิธีนี้แล ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว... ย่อมรู้ว่าเราเป็นพระเสขะ

“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายวิธีที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว... ย่อมรู้ว่าเราเป็นพระอเสขะ คืออย่างไร ? ภิกษุผู้เป็นอเสขะในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่ง อินทรีย์ ๕...ย่อมรู้ว่าอินทรีย์ ๕ มีสิ่งใดเป็นคติ... มีอะไรเป็นที่สุด ย่อมถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกายอยู่ทั้งเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.... ปริยายวิธีนี้แลที่ภิกษุผู้อเสขะอาศัยแล้ว ย่อมรู้ว่าเราเป็นพระอเสขะ

“อีกประการหนึ่ง....ภิกษุผู้อเสขะย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๖ คือ ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ รู้ชัดว่าอินทรีย์ ๖ เหล่านี้ จักดับไปหมดสิ้นโดยประการทั้งปวง ไม่มีส่วนเหลือ และอินทรีย์ ๖ เหล่าอื่น จักไม่เกิดขึ้นในภพใหม่ ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ภิกษุผู้อเสขะอาศัยแล้ว... ย่อมรู้ชัดว่าเราเป็นพระอเสขะ”



แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 05 ก.พ. 2010, 14:31, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 10:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp
000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp [ 466.22 KiB | เปิดดู 2913 ครั้ง ]
อินทรีย์ ๕ สนับสนุนกันและกัน

ปัญหา อินทรีย์ ทั้ง ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ต่างเป็นกำลังสนับสนุนกันอย่างไร ?

พระสารีบุตรทูลตอบพระพุทธองค์“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสยิ่งในพระตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัยในพระตถาคตหรือในศาสนาของพระตถาคต... จักเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมสมบูรณ์ มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
“.....วิริยะของอริยสาวกนั้นเป็นวิริยินทรีย์..... อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียรแล้ว จักเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสิตเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง จักระลึกถึง จักจดจำกิจที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานมาแล้วได้....
“ความระลึกถึงได้ของอริยสาวกนั้นเป็นสตินทรีย์ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียรแล้วมีสติตั้งมั่นแล้ว... จักยึดเหนี่ยวเอาความสลัดออกเป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว
“.....สมาธิของอริยสาวกนั้นเป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธาปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นอย่างถูกต้อง.... จักรู้ชัดอย่างนี้ว่าสงสารมีที่สุด และเบื้องต้นที่บุคคลรู้ไม่ได้ เบื้องต้นและที่สุดไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกมัดไว้ แล่นไป ท่องเที่ยวไป ส่วนความดับเพราะสิ้นราคะโดยไม่มีส่วนเหลือ แห่งมวลความมืด คือ อวิชชาเป็นทางสงบ ทางประณีต คือ ทางสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นราคะ ความดับทุกข์ และนิพพาน
“....ปัญญาของอริยสาวกนั้นเป็นปัญญินทรีย์ อริยสาวกนั้นมีศรัทธา พยายามแล้วพยายามเล่า ระลึกแล้วระลึกเล่า จิตตั้งมั่นแล้วตั้งมั่นเล่า รู้ชัดแล้วรู้ชัดเล่าอย่างนี้ ย่อมเชื่อมั่นว่า ธรรมเหล่านี้แลเมื่อก่อนเป็นแต่ธรรมที่เราได้ยินได้ฟังมา
บัดนี้เราประสบธรรมนั้นด้วยนามกายแล้วดำรงอยู่ และแทงทะลุด้วยปัญญาเห็นแจ้งชัดอยู่.....”


สัทธาสูตร มหา. สํ. (๑๐๑๑-๑๐๑๕ )
ตบ. ๑๙ : ๒๙๗-๒๙๙ ตท. ๑๙ : ๒๘๑-๒๘๒
ตอ. K.S. ๕ : ๒๐๐-๒๐๒


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 04 ก.พ. 2010, 21:44, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




8path.gif
8path.gif [ 103.1 KiB | เปิดดู 2972 ครั้ง ]
0.jpg
0.jpg [ 11.05 KiB | เปิดดู 2875 ครั้ง ]
เขา ทำกันอย่างไร ต้องทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ที่เคยแสดงอยู่เสมอๆ เข้าสิบเข้าศูนย์ให้ดี ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์

ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ พอหยุดนิ่งก็เข้ากลางของกลางๆๆๆๆๆ เป็นลำดับไป เมื่อเข้ากลางของกลางเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ

เข้าถึงกายมนุษย์ ละเอียด กายมนุษย์หยาบหลุด หยุดอยู่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ถูกส่วนเข้า เข้ากลางของกลาง หยุดเรื่อยไป ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ


เข้าถึงกายทิพย์ กายมนุษย์ละเอียดก็หลุดไป

เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด กายทิพย์หยาบก็หลุดไป

เข้าถึงกายรูปพรหม กายทิพย์ละเอียดก็หลุดไป

เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมหยาบหลุดไป

เข้าถึงกายอรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียดหลุดไป

เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมหยาบหลุดไป

เข้าถึงกายธรรม กายอรูปพรหมละเอียดหลุดไป

นี่หลุดไป ๘ กายแล้ว

เข้าถึงกายธรรมโคตรภูละเอียด กายธรรมโคตรภูหยาบก็หลุดไป

เข้าถึงกายธรรมพระโสดาบันหยาบ กายธรรมโคตรภูละเอียดหลุดไป

เข้าถึงกายธรรมพระโสดาละเอียด กายพระโสดาหยาบก็หลุดไป

เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาหยาบ กายพระโสดาละเอียดก็หลุดไป

เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาละเอียด กายพระสกทาคาหยาบก็หลุดไป

เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาหยาบ กายพระสกทาคาละเอียดก็หลุดไป

เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด กายพระอนาคาหยาบก็หลุดไป

เข้าถึงกายพระอรหัตหยาบหรือพระอรหัตตมรรค กายพระอนาคาละเอียดก็หลุดไป

เข้าถึงกายพระอรหัตละเอียดหรืออรหัตตผล กายพระอรหัตหยาบหรืออรหัตตมรรคก็หลุดไป

พอเข้าถึงอรหัตตผล เรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนะ เรียกว่าเข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรมจริงๆ หลุดจากธรรมที่ปะปนด้วยกิเลส สราคธาตุสราคธรรม หลุดหมด เบญจขันธ์ทั้ง ๕

ขันธ์ ๕ ของมนุษย์ ขันธ์ ๕ ของกายมนุษย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียดแล้ว ก็หลุด

ขันธ์ ๕ ของกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด ก็หลุด,

ขันธ์ ๕ กายของรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด เข้าถึงอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ก็หลุด, หลุดหมด หลุดเป็นชั้นๆ ไป

ขันธ์ ๕ ของกายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ถึงกายธรรมเสียแล้ว ก็หลุด,
ถึง กายธรรมพระโสดา ขันธ์ ๕ ของกายธรรมโคตรภูหยาบ-โคตรภูละเอียด หลุด,
เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาแล้ว กายธรรมของโสดา-โสดาละเอียดหลุด,
เข้าถึงกายธรรมของ พระอนาคาหยาบ-อนาคาละเอียดแล้ว กายธรรมของพระสกทาคาหยาบ-สกทาคาละเอียด หลุดออกไปเช่นนี้ เป็นชั้นๆ
เช่นนี้เรียกว่ารู้จักสำรวมถูกส่วนเข้าแล้วหลุดเป็นชั้นๆ ไปดังนี้....





ส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนา ในเรื่อง ขันธ์ ๕ เป็นภาระอันหนัก
๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๖
(หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ)(อ่านต่อได้ในบทความธรรมะ)


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 05 ก.พ. 2010, 21:40, แก้ไขแล้ว 10 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




buddha.jpg
buddha.jpg [ 132.42 KiB | เปิดดู 2968 ครั้ง ]
Y4775273-7.jpg
Y4775273-7.jpg [ 13.72 KiB | เปิดดู 2874 ครั้ง ]
ณ บัดนี้ อาตมาจักได้แสดงในอุทานคาถา ที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงเปล่งขึ้นด้วยพระองค์เอง มิได้ปรารภสิ่งหนึ่งสิ่งใด ปรารภแต่ธรรมสิ่งเดียวเท่านั้น ทรงเปล่งอุทานคาถาขึ้นดังที่ยกขึ้นไว้ ณ เบื้องต้นนั้น อุทานคาถานี้เป็นความเปล่งขึ้นจากพระโอษฐ์ของพระองค์เอง เปล่งขึ้นด้วยมาปรารภถึงธรรมว่าเป็นของอัศจรรย์นัก ธรรมนั้นเป็นของอัศจรรย์ บัดนี้ ท่านทั้งหลายทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต จงตั้งใจให้บริสุทธิ์สนิทฟังอุทานคาถา ซึ่งเปล่งขึ้นจากพระทัยของพระศาสดา

ปรากฏโดยวาระพระบาลีว่า ยทา หเว ปาตุภวน.ติ ธม.มา อาตาปิโน ฌายโต พ.ราห.ม.ณส.ส อถส.ส กง.ขา วปยน.ติ สพ.พา ยโต ปชานาติ สเหตุธม.ม? ฯ

แปลเป็นสยามภาษาว่า “เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่
เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
เพราะพราหมณ์นั้นได้รู้จักธรรมว่าเกิดแต่เหตุเมื่อใดธรรมทั้งหลายเกิดแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่
เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
เพราะพราหมณ์นั้นได้รู้จักความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย
เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏขึ้นแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่
พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดความมืดเสียได้ ดำรงอยู่เหมือนดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นมากำจัดความมืด ทำอากาศให้สว่างฉะนั้น”
นี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้งไม่ใช่เป็นของรู้ถึงได้ง่าย รู้ถึงได้ยากนัก


ธรรมทั้งหลายที่ปรากฏแก่พราหมณ์นั้น เราควรจะรู้ ธรรมอะไรที่ปรากฏแก่พราหมณ์น่ะ และก็บอกลักษณะท่าทางไว้ให้เสร็จ เหมือนดวงอาทิตย์ขึ้นไปแล้วกำจัดความมืดทำอากาศให้สว่าง นี้เป็นข้อใหญ่ใจความสำคัญนัก จะเอาธรรมตรงไหน ดวงไหน ชิ้นไหน อันไหนกัน ธรรมที่เกิดขึ้นแก่พราหมณ์น่ะ ถ้าว่าไม่รู้จักธรรมดวงนั้น ฟังไปเถอะ สักร้อยครั้งก็ไม่ได้เรื่อง ไม่ได้เรื่องได้ราวทีเดียว
อุทานคาถานี้ลึกซึ้งอยู่ไม่ใช่ของง่าย เผอิญจะต้องกล่าวไว้ย่อ ไม่ได้กล่าวพิสดาร เรียกว่า อุทานคาถา
ธรรมที่ปรากฏแก่พราหมณ์น่ะ เป็นมนุษย์เป็นหญิงก็ดี ชายก็ดี ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตไม่ว่า ที่ปรากฏอยู่บัดนี้มีธรรมบังเกิดขึ้นกับใจบ้างไหม ที่ปรากฏอยู่เสมอน่ะ บางคนก็มีบางคนก็ไม่มี ที่ไม่มีนั้นเทียบด้วยคนตาบอด ที่ธรรมปรากฏขึ้นแล้วน่ะเทียบด้วยคนตาดี

เรื่องนี้พระองค์ทรงรับสั่งในเรื่องธรรมว่า ทิฏ.ฐธม.มสุขวิหารี ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันทันตาเห็น ธรรมที่บังเกิดปรากฏอยู่กับตัวน่ะ พวกมีธรรมกายมีธรรมปรากฏแก่ตัวเสมอ
พวกไม่มีธรรมกายนานๆ จะปรากฏธรรมสักครั้งหนึ่ง ธรรมที่ปรากฏขึ้นน่ะประจำตัวเชียวนะ ติดอยู่กับใจของบุคคลนั้น สว่างไสว
ถ้าปฏิบัติดีๆ เหมือนดวงอาทิตย์ในกลางวันเชียวนะ แจ่มจ้าอยู่เสมอ

แต่ว่าใจนั้นต้องจรดอยู่กับธรรม ถ้าว่าใจไม่จรดอยู่กับธรรมหรือธรรมไม่ติดอยู่กับใจละก็ ความสว่างนั้นก็หายไปเสีย เหมือนอย่างตามประทีปในเวลากลางวัน ประทีปอย่างย่อมๆความสว่างก็น้อย ประทีปนั้นขยายออกไป ความสว่างก็ขยายออกไป อย่างนั้นแหละฉันใด
ธรรมก็มีหลายดวง สว่างต่างกันอย่างนั้นเหมือนกัน


ธรรมนะอยู่ที่ไหน มนุษย์อยู่ที่ไหนธรรมอยู่ที่นั่น
มนุษย์มีธรรมด้วยกันทุกคน เขาเรียกว่าดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ที่ทำธรรมเป็นละก็ ใจไปติดที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นติดอยู่ที่นั่น นั่นแหละได้ชื่อว่าธรรมนั้นปรากฏแก่มนุษย์คนนั้นแล้ว


(ขออนุญาติตัดความครับ)

ตามคำวาระพระบาลี ยทา หเว ปาตุภวน.ติ ธม.มา อาตาปิโน ฌายโต พ.ราห.มณส.ส แปลเนื้อความว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ผู้เพ่งอยู่แล้ว ก็เห็นดวงธรรมนั้นแหละ
นี่แหละได้ชื่อว่า ธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ละ
อถส.ส กง.ขา วปยน.ติ สพ.พา
เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ย่อมสิ้นไปก็ใจไปติดอยู่เสียกับธรรมเห็นธรรมแล้ว ก็หมดสงสัยในเรื่องธรรมกันเสียที เห็นแล้วติดแล้วปรากฏแล้ว หมดสงสัยในเรื่องธรรมกันเสียที

พวกนี่มันสงสัยกันทุกคนนั่นแหละ ธรรมมากมายนัก โน่นก็ธรรมนี่ก็ธรรม ไม่รู้จะไปเอาธรรมที่ไหนแน่ ไม่รู้จะเอาธรรมที่ไหนแท้ๆ นี้ธรรมอันนี้แหละเป็นตัวจริงละ ให้เอาใจติดอยู่ตรงนี้แหละ
อย่าเที่ยวหาอื่นให้มันอื่นจากศูนย์กลางกายมนุษย์กลางกายของตัวไปเลย

ตามคำวาระพระบาลี ยทา หเว ปาตุภวน.ติ ธม.มา อาตาปิโน ฌายโต พ.ราห.มณส.ส แปลเนื้อความว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ผู้เพ่งอยู่แล้ว ก็เห็นดวงธรรมนั้นแหละ นี่แหละได้ชื่อว่า ธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ละ อถส.ส กง.ขา วปยน.ติ สพ.พา เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ย่อมสิ้นไปก็ใจไปติดอยู่เสียกับธรรมเห็นธรรมแล้ว ก็หมดสงสัยในเรื่องธรรมกันเสียที เห็นแล้วติดแล้วปรากฏแล้ว หมดสงสัยในเรื่องธรรมกันเสียที

พวกนี่มันสงสัยกันทุกคนนั่นแหละ
ธรรมมากมายนัก
โน่นก็ธรรมนี่ก็ธรรม ไม่รู้จะไปเอาธรรมที่ไหนแน่ ไม่รู้จะเอาธรรมที่ไหนแท้ๆ
นี้ธรรมอันนี้แหละเป็นตัวจริงละ ให้เอาใจติดอยู่ตรงนี้แหละ อย่าเที่ยวหาอื่นให้มันอื่นจากศูนย์กลางกายมนุษย์กลางกายของตัวไปเลย
ตรงนั้นแหละเอาใจไปจรดอยู่ตรงนั้นแหละ ถ้ายังไม่เห็นนานเข้าก็เห็นเอง พอถูกส่วนเข้าก็เห็นเอง ที่ไปหาที่อื่นไปโน่นไปตรงโน้นไปตรงนี้ ไปที่โน่นไปที่นี่
ไปหาธรรมในดอนในดงกันยกใหญ่ทีเดียวเพราะไม่เห็น พอไปเห็นเข้าแล้ว โธ่ ผ้าโพกหัวหาแทบตายไม่เห็น อยู่บนหัวนี่เอง
ไปหาธรรมแทบตาย ธรรมอยู่กลางตัวของตัวเองนั่นเอง นั่นแหละธรรมอยู่ตรงนั้นแหละ
แต่ว่าไม่ปรากฏขึ้น
เมื่อปรากฏขึ้นแก่พราหมณ์แล้ว พราหมณ์ก็หมดความสงสัย
ยโต ปชนาติ สเหตุธม.ม? เพราะพราหมณ์นั้นได้รู้จักธรรมนั้นว่าเกิดแต่เหตุ ได้รู้ว่าธรรมเกิดแต่เหตุ

ธรรมเกิดแต่เหตุอย่างไร?
ก็เพ่งพินิจพิจารณาดวงธรรมทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า เท่าฟองไข่แดงของไก่ เออ ธรรมดวงนี้เกิดแต่เหตุ รู้ทีเดียว

เกิดแต่เหตุ เหตุอะไร?
เพราะมนุษย์ทำบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ ไม่มีร่องเสียเลยเชียว นิดเดียว เท่าปลายผมปลายขนก็ไม่มี
กลับเป็นคนอีกทีก็เกิดเป็นมนุษย์อีก ดวงธรรมอันนั้นเป็นขึ้นอีก
ดวงธรรมดวงเก่านั้นหมดไป หมดอำนาจหมดชีวิตไป
กลับเป็นมนุษย์ดังเก่าอีก ก็มีธรรมดังเก่าแบบเดียวกัน อ้อ ธรรมนี้เกิดแต่เหตุอย่างนี้ เกิดแต่เหตุที่มนุษย์ทำนี่เอง
ถ้ามนุษย์ไม่ทำความบริสุทธิ์กายวาจาใจให้ถ่องแท้แล้วละก็ ไม่ได้เป็นมนุษย์
กลับไปเป็นอสุรกาย
เป็นสัตว์ดิรัจฉาน
เป็นสัตว์นรกไป
ธรรมนั้นก็เสียไป ดำขุ่นหมองเศร้ามัวไปหมด
แต่ว่ามนุษย์นั้นไม่เห็น
ถ้าเห็นแล้วไม่ไปนรกแน่นอน ไม่ไปละ กลับเป็นมนุษย์ทีเดียว
นี่แหละได้ดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์แล้ว
.....
ส่วนหนึ่งที่ตัดต่อมาจากกัณฑ์ที่ ๒๑
อุทานคาถา
๒๑ มีนาคม ๒๔๙๗
(อ่านต่อได้ที่ ห้อง บทความธรรมะ)


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 05 ก.พ. 2010, 21:45, แก้ไขแล้ว 7 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




Y4797399-27.jpg
Y4797399-27.jpg [ 30.85 KiB | เปิดดู 2966 ครั้ง ]
คำว่า ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ นี่เราก็รู้คำว่า ธรรม ทั้งหลายนะคืออะไร รูปก็เป็นธรรม นามก็เป็นธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นรูป เป็นนาม ก็เป็นธรรมเหมือนกัน ธรรมทั้งหลายนั่นคือ
กุสลา ธมฺมา ธรรมฝ่ายดี มีเท่าใดหมดพระไตรปิฎก ไม่มีชั่วเข้าไปเจือปนระคนเลย เรียกว่า กุสลา ธมฺมา

ธรรมที่ชั่วคือตรงกับบาลีว่า อกุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายนี้ชั่ว ไม่มีดีเข้าไปเจือปนเลย ชั่วทั้งสิ้นทีเดียว นี้เรียกว่า อกุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายที่ชั่ว


ธรรมทั้งหลายที่ไม่ดีไม่ชั่ว ดีไม่เข้าไปเจือปน ชั่วก็ไม่เข้าไปเจือปน ไม่ดีไม่ชั่ว เป็นกลางๆ อยู่ดังนี้ นั้นเรียกว่า อพฺยากตา ธมฺมา

นี่เป็นมาติกาแม่บททั้งสามนี้หมดทั้งสากลพุทธศาสนา ธรรมมีเท่านี้ กว้างนักจบพระไตรปิฎกมากมายนัก
พระพุทธเจ้าจะมาตรัสเทศนาเท่าใด ในอดีตมีมากน้อยเท่าใดๆ เมื่อรวมธรรมแล้วก็ได้เท่านี้
พระพุทธเจ้ามาตรัสในปัจจุบันนี้ ถ้ารวมธรรมได้เท่านี้
พระพุทธเจ้าจะมาตรัสในอนาคตภายเบื้องหน้าก็รวมธรรมได้เท่านี้
ย่อลงไปว่า ดี ชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว สามอย่างนี้เท่ากัน
ดีเป็นธรรมฝ่ายดี
ชั่วเป็นธรรมฝ่ายชั่ว
ไม่ดีไม่ชั่วเป็นธรรมฝ่ายไม่ดีไม่ชั่ว


นี่คำว่าธรรมทั้งหลาย เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ประสงค์ธรรมอะไรตรงนี้ประสงค์ธรรมขาว เมื่อผู้ที่เพียรเพ่งอยู่ก็คล้ายกับคนนอนหลับ นอนหลับถูกส่วนเข้าแล้วละก็ฝัน เรื่องฝันทีเดียวคราวนี้ ไม่ใช่เรื่องของมนุษย์เท่านี้
เรื่องของกายมนุษย์ละเอียดฝัน นอนหลับแล้วก็ฝัน ว่าฝันเรื่องมันสนุกสนานเหมือนกัน
กายมนุษย์นี้มีสิทธิทำได้เท่าใด พูดได้เท่าใด คิดได้เท่าใด อ้ายกายที่ฝันนั้น ก็มีสิทธิ์ทำได้เท่านั้น พูดได้เท่านั้น คิดได้เท่านั้น ไม่แปลกกว่ากันเลย แต่ว่าคนละเรื่อง นี่คนละชั้น อย่างนี้นะ นี่คนละชั้นเสียแล้ว
เรื่องฝันนี่ เพราะกายมนุษย์ฝัน ไอ้กายที่มนุษย์ฝันนั่นแหละเรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด นั่นเขาก็สว่างไสวเหมือนกายมนุษย์นี้แบบเดียวกัน กายฝันนะทำได้เท่ามนุษย์นี้เหมือนกัน ไอ้กายมนุษย์ที่ฝันไปนั่นแหละ ฝันไปทำงานทำการเพลินไปอีกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าไปนอนหลับฝันไปอีก ฝันในฝัน เข้าไปอีกชั้นแบบเดียวกันออกไปเป็น กายทิพย์ ว่องไวอีกเหมือนกัน กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียดที่ฝันชั้นที่หนึ่งนั้น ทำหน้าที่ได้เท่าใด ทำหน้าที่ด้วยกายได้เท่าใด ทำหน้าที่ด้วยวาจาได้เท่าใด ทำหน้าที่ด้วยใจได้เท่าใด กายทิพย์ที่ฝันในฝันออกไปนั้นก็ทำหน้าที่ได้เท่านั้นเหมือนกัน ทำกายได้เท่านั้น ทำวาจาได้เท่านั้น ทำใจได้เท่านั้นเหมือนกันแบบเดียวกัน
นี้คนละเรื่อง อีกเรื่องหนึ่งถ้าฝันในฝันแล้วก็เรารวนทันที ถ้าฝันแล้วฝันเฉยๆ แล้วก็ไม่รวนเข้ามาใกล้กายมนุษย์ นี่คนละเรื่องอย่างนี้


นี่ธรรมทั้งหลายที่ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่เป็นอย่างไร นี่พวกเรารู้กันอยู่บ้างแล้ว
พวกงั่งมีอยู่ พวกเป็นมีอยู่ กล้าพูดได้ทีเดียว









เพราะพราหมณ์นั้นมีความเพียรเพ่งอยู่แล้วนั่นแหละ
ความเพ่งมันเป็นอย่างนี้แหละ มันมืดตื้อ มืดตื้อมันก็สงสัย ไอ้มืดนั่นแหละมันทำให้สงสัย มันไม่เห็นอะไร
มันมัวหมองไปหมด ดำคล้ำไปหมด รัวไปหมด ไม่ได้เรื่องไม่ได้ราว
หนักเข้าๆ รำคาญหนักเข้าๆ ก็ลืมเสียที มันมืดนัก ไม่ได้เรื่องอย่างนั้น
อย่างนั้นธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ




ถ้าจะมาว่าคนฉลาดเพ่งธรรมละก็ เมื่อนั่งมืดอยู่ละก็ อ้อ!
นี่อธรรมนี่อกุสลา ธมฺมา ไม่ใช่ธรรมที่สว่าง นั่งไปๆ ถูกส่วนเข้า สว่างวูบเข้าไปเหมือนฝันทีเดียว สว่างวูบเข้าไป ปรากฏทีเดียวเหมือนลืมตา



บางคนตกใจนะ นี่หลับตาหรือลืมตานะ มันสว่างอย่างนี้ ก็ลืมตาดูเสียที อ้าว สว่างนั่นหายไปเสียแล้ว นั่นมีสว่างได้อย่างนั้น มีมืดอย่างนั้นนั่งหลับตาปุบแล้วกัน ก็มืดตื้อ เมื่อมืดเช่นนั้นเป็นอธรรม


เมื่อสว่างขึ้น ปรากฏชัดขึ้น เหมือนกลางวันนั่น เป็นธรรม ไม่สว่างไม่มืด รัวๆ อยู่ นั่นก็เป็นธรรมเหมือนกัน เป็นอัพยากตาธรรม



ธรรมมีสามอย่างนี้
มืดเป็นอกุสลาธรรม
สว่างเป็นกุสลาธรรม
ไม่มืดไม่สว่างเป็นอัพยากตาธรรม
นี่ธรรมเป็นชั้นๆ กันไปนะ มืด สว่าง ไม่มืดไม่สว่าง ทั้งมืดทั้งสว่าง ทั้งไม่มืดไม่สว่าง
นั่นหรือเป็นธรรมที่ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่นั้น
ซึ่งยิ่งกว่านั้นๆ ธรรมทั้งหลายที่ปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่นั้น ปรากฏชัดๆ
เมื่อนั่งลงไปแล้วปรากฏแน่แน่วทีเดียว พอนั่งถูกส่วนเข้า ทำใจให้หยุด
พอนั่งถูกส่วนเข้าก็ใจหยุดทีเดียว
เมื่อใจหยุดนี่ตรงกับบาลีว่า ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ เพราะมารู้จักธรรมว่าเกิดแต่เหตุ

ธรรมที่เกิดแต่เหตุ นั่นธรรมอะไร เหตุมี ๖ โลภะเหตุ โทสะเหตุ โมหะเหตุ โลภะเหตุ เป็นฝ่ายชั่ว โทสะเหตุเป็นฝ่ายชั่ว โมหะเหตุก็เป็นฝ่ายชั่ว ฝ่ายดีล่ะ ท่านวางไว้เป็น อโลภะเหตุ อโทสะเหตุ อโมหะเหตุ


ส่วนหนึ่งจาก...กัณฑ์ที่ ๕๔
พุทธอุทานคาถา
๑๐ ธันวาคม ๒๔๙๗

(อ่านต่อได้ที่ห้อง บทความธรรมะ)

:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 09 ก.พ. 2010, 07:44, แก้ไขแล้ว 13 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 11:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




65090.jpg
65090.jpg [ 106.08 KiB | เปิดดู 2962 ครั้ง ]
ดังที่รู้ไว้ในจำนวนที่มามีคนหนึ่งถามขึ้นว่า ตุ๊เจ้านั่งหลับตานิ่ง ๆ และเดินกลับไปกลับมานั้น ตุ๊เจ้านั่งและเดินหาอะไร
ท่านตอบเขาว่า "พุทโธเราหาย" เรานั่งและเดินหา "พุทโธ"
เขาถามท่านว่าพุทโธเป็นตัวอย่างไร พวกเราจะช่วยตุ๊เจ้าหาได้ไหม ?
ท่านตอบว่าพุทโธเป็นดวงแก้วอันประเสริฐเลิศโลกในไตรภพ เป็นดวงฉลาดรอบรู้ทั่วไตรโลกธาตุ ถ้าสูจะช่วยเราหาก็ยิ่งดีมาก จะได้เห็นพุทโธเร็ว ๆ ง่าย ๆ ด้วย (สูเป็นคำที่ชาวเขานับถือกันว่าดีมากสนิทกันมาก)
เขาถามว่า พุทโธตุ๊เจ้าหายมานานแล้วหรือ?
ท่านตอบว่าไม่นาน ถ้าสูช่วยหาให้ยิ่งจะพบเร็วกว่า เราหาเพียงคนเดียว
เขาถามว่า พุทโธเป็นดวงแก้วใหญ่ไหม?
ท่านตอบว่าไม่ใหญ่ไม่เล็ก พอดีกับเราและกับพวกสูดีๆ นี่เองใครหาพุทโธพบ คนนั้นประเสริฐ มองเห็นอะไรได้ตามใจหวัง
เขาถามมองเห็นนรกสวรรค์ได้ไหมตุ๊เจ้า ?
ท่านตอบว่ามองเห็นซิ ไม่เห็นจะว่าประเสริฐได้อย่างไร
ลูกเมียผัวตายมองเห็นได้ไหมตุ๊เจ้า?
ท่านตอบว่าเห็นหมด ถ้าต้องการอยากเห็นเมื่อได้พุทโธแล้ว
เขาถาม สว่างมากไหม?
ท่านตอบว่า สว่างมาก ยิ่งกว่าพระอาทิตย์ตั้งร้อยดวงพันดวง เพราะพระอาทิตย์ไม่สามารถส่องเห็นนรกสวรรค์ได้ แต่ดวงพุทโธสามารถส่องเห็นหมด
เขาถามผู้หญิงช่วยหาได้ไหม? เด็ก ๆ ช่วยหาได้ไหม ?
ท่านตอบได้ทั้งนั้น ไม่นิยมว่าหญิงว่าชาย ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ใครหาก็ได้ทั้งนั้น
เขาถามท่านว่าพุทโธนั้นประเสริฐในทางใดบ้าง กันผีได้ไหม ?
ท่านตอบว่าพุทโธประเสริฐ และใช้ได้หลายทางจนนับไม่ถ้วน ในโลกทั้งสาม คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก โลกทั้งสามต้องยอมกราบพุทโธทั้งนั้น ไม่มีใครยิ่งใหญ่กว่าพุทโธ ผีก็กลัวพุทโธมาก ต้องกราบพุทโธ ใครหาพุทโธแม้ยังไม่พบ ผีเริ่มกลัวผู้นั้นแล้ว
เขาถามท่าน พุทโธเป็นแก้วสีอะไรตุ๊เจ้า
ท่านตอบพุทโธเป็นแก้วดวงสว่างไสวและมีหลายสีจนนับไม่ได้ พุทโธนี้เป็นสมบัติอันวิเศษของพระพุทธเจ้า พุทโธนั้นเป็นองค์แห่งความรู้ความสว่างไสวไม่เป็นวัตถุ พระพุทธเจ้าท่านมอบให้พวกเราไว้หลายปีแล้ว แต่เราเองยังหาพุทโธที่ท่านมอบให้ยังไม่เจอ ไม่ทราบว่าอยู่ที่ตรงไหน แต่จะอยู่ที่ไหนไม่สำคัญนัก ที่สำคัญก็คือถ้าสูจะพากันช่วยเราหาพุทโธจริง ๆ ให้พากันนั่ง หรือเดินนึกในใจว่าพุทโธ ๆ อยู่ภายในโดยเฉพาะ ไม่ให้จิตส่งออกไปนอกกาย ให้รู้อยู่กับคำว่าพุทโธ ๆ เท่านั้น ถ้าทำอย่างนี้พวกสูอาจเจอ พุทโธก่อนเราก็ได้
เขาถามท่านว่าการนั่งหรือเดินหาพุทโธจะให้นั่งหรือเดินนานเท่าไรถึงจะพบพุทโธแล้วหยุดได้
ท่านตอบ ให้นั่งหรือเดินเพียง ๑๕ หรือ ๒๐ นาทีก่อนสำหรับผู้ตามหาพุทโธทีแรก พุทโธท่านยังไม่อยากให้พวกเราตามหาท่านนานนัก กลัวจะเหนื่อยแล้วตามพุทโธไม่ทัน เดี๋ยวจะขี้เกียจเสียก่อน ทีหลังจะไม่อยากตามหาท่านแล้วเลยจะไม่พบท่าน เอาเพียงเท่านี้ก่อน ถ้าอธิบายมากกว่านี้ จะจำวิธีไม่ได้แล้วตามหาพุทโธไม่พบ
เสร็จแล้วเขาพากันกลับบ้าน การลาท่านสำหรับเขาแล้วไม่ต้องพูดถึง เพราะเขาไม่เคยลาใคร ว่าจะไปเขาลุกขึ้นแล้วก็ไปทันทีทันใดไม่สนใจคำลาใครทั้งนั้นพอไปถึงบ้านแล้วชาวบ้านต่างมารุมถามเป็นการใหญ่ เขาอธิบายให้ฟังตามที่ท่านสั่งสอนเขาแต่โดยย่อไว้ก่อนนั้น นอกจากนั้นเขายังอธิบาย เรื่องท่านพระอาจารย์ให้ชาวบ้านฟังว่าที่สงสัยการนั่งหลับตานิ่ง ๆ และการเดินกลับไปกลับมานั้น ท่านนั่งและเดินหาพุทโธดวงเลิศต่างหาก มิได้นั่งและเดินแบบเสือเย็นดังที่พวกเราเข้าใจกันพอชาวบ้านทราบวิธีตามที่พวกมาถามท่านนำไปเล่าให้ฟังแล้ว ต่างคนต่างสนใจฝึกหัดนึก พุทโธภายในใจโดยทั่วกัน นับแต่หัวหน้าบ้านลงมาถึงผู้หญิง และเด็ก ๆ ที่พอรู้วิธีนึกพุทโธได้

เป็นที่อัศจรรย์ไม่คาดฝันว่าจะมีผู้รู้เห็นธรรมของพระพุทธเจ้าภายในใจอย่างประจักษ์โดยไม่เนิ่นนานนัก คือผู้ชายคนหนึ่งซึ่งตามหาพุทโธ แล้วประสบธรรมคือความสงบสุขทางใจจากการนึกบริกรรมพุทโธ ตามวิธีที่ท่านบอกเขา ท่านเล่าว่าก่อนหน้า ๓-๔ วัน ที่เขาจะประสบผลจากพุทโธ เขานอนหลับฝันถึงท่านพระอาจารย์ว่าท่านเอาเทียนใหญ่ที่จุดไฟอย่างสว่างไสวไปติดไว้บนศีรษะเขา พอท่านติดเทียนเสร็จ แล้วนับแต่ศีรษะลงมาถึงตัวเขาปรากฎว่าสว่างไสวไปโดยตลอด เขาดีใจมากว่าตนได้ของดีมีความสว่างแผ่ออกไปนอกกายตั้งหลาย ๆ วา พอจิตเขาเป็นขึ้นมาก็รีบมาหาท่านพระอาจารย์ และเล่าเรื่องความเป็นและความฝันให้ท่านอาจารย์ฟังอย่างน่าอัศจรรย์ จากนั้นท่านก็ได้อธิบายเพิ่มเติมให้เขาไปทำต่อ ปรากฏว่าได้ผลอย่างรวดเร็วและยังสามารถรู้ใจของผู้อื่นได้อีกด้วย ว่าใจของใครยังมีเศร้า หมองและผ่องใสเพียงใด เขาพูดกับท่านอย่างไม่มีการสะทกสะท้านเลย ซึ่งตรงกับจริตคนป่าที่มีนิสัยพูดตรงไปตรงมาอยู่แล้ว ในเวลาต่อมาเขาออกมาเล่าธรรมให้ท่านฟังว่า เขาได้พิจารณารู้เห็นจิตท่านอาจารย์และพระที่อยู่กับท่านได้อย่างชัดเจน
ท่านเองก็ถามเขาบ้างเป็นเชิงเล่น ๆ ว่าจิตของท่านเป็นอย่างไร มีบาปมากไหม ?
เขาตอบท่านทันทีเลยว่า จิตของตุ๊เจ้าไม่มีจุดมีดวงเหลืออยู่แล้ว มีแต่ความสว่างไสว อันเป็นที่อัศจรรย์อย่างยิ่งอยู่ภายในเท่านั้น ตุ๊เจ้าเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลกไม่มีใครเสมอเหมือน เฮาไม่เคยเห็น ตุ๊เจ้ามาพักอยู่ที่นี่ตั้งนานร่วมปีแล้ว ทำไมไม่สอนเฮาบ้างก๊าแต่แรกมาอยู่
ท่านตอบว่าจะให้เราสอนอย่างไร ก็ไม่เคยเห็นพวกสูมาศึกษาไต่ถามเรานี่นา
เขาตอบท่านว่า ก็เฮาบ่ฮู้ก๊า ว่าตุ๊เจ้าเป็นผู้วิเศษ ถ้าฮู้จะทนอยู่ได้อย่างไร ต้องมาแน่ ๆ ทีนี้พวกเฮาฮู้แล้วก๊าว่าตุ๊เจ้าเป็นผู้ฉลาดมาก เวลาพวกเฮามาถามว่าตุ๊เจ้านั่งหลับตานิ่ง ๆ และเดินกลับไปกลับมานั้น ทำทำไม หรือหาอะไร ตุ๊เจ้าก็บอกพวกเฮาว่าพุทโธหาย ให้พวกเฮาช่วยหา เมื่อถามถึงพุทโธเป็นลักษณะอย่างไร ก็บอกไปว่า เป็นแก้วดวงสว่างไสว ความจริงจิตตุ๊เจ้าเป็นพุทโธอยู่แล้ว มิได้สูญหายไปไหน แต่เป็นอุบายฉลาดของตุ๊เจ้าที่เมตตาสงสารพวกเฮา ให้ภาวนาพุทโธเพื่อให้จิตพวกเฮาสว่างไสว เหมือนจิตตุ๊เจ้าต่างหาก เฮาฮู้แล้วว่าตุ๊เจ้าเป็นผู้ประเสริฐและเฉลียวฉลาด ปรารถนาให้พวกเฮาได้บุญ มีความสุข และพบพุทโธดวงประเสริฐที่ใจตัวเอง มิใช่หาพุทโธให้ตุ๊เจ้า




(อ่านต่อได้ที่หลวงปู่มั่นสอนชาวเขาหาดวงพุทโธ (พุทโธ หาย !!!?)


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 04 ก.พ. 2010, 19:57, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




1166029440_1.jpg
1166029440_1.jpg [ 98.48 KiB | เปิดดู 2934 ครั้ง ]
.........(ตัดมาบางส่วน)
ต่อจากนี้จะได้อรรถาธิบายขยายเนื้อความเป็นลำดับไป
นี้เป็นธรรมลึกซึ้งนักนะ
ยากที่เราจะสดับยิ่ง เทศน์ก็ยากที่จะเทศน์จริง สดับก็ยากที่จะสดับจริง เพราะเป็นธรรมลึกซึ้ง
พูดถึงนิพพานไม่ใช่พูดถึงสิ่งอื่น ๆ ต้องรู้จักอายตนะเสียก่อน จึงจะฟังธรรมเรื่องนี้ออก
ที่เขาเรียกว่าโลกายตนะมันดึงดูด นิพพานายตนะก็ดึงดูดเหมือนกัน โลกายตนะหรือโลกมันดึงดูด รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส รูปที่ชอบใจมันก็ดึงดูดมา ให้ไปติดกับมัน หรือเอาไปติดกับตา หรือเอาไปติดกับรูป เสียงที่ชอบใจมันก็ดึงดูดหู หรือหูดึงดูดเสียงเอามา กลิ่นที่ชอบใจก็ดึงดูดจมูก หรือจมูกก็ดึงดูดกลิ่นเอามา รสที่ชอบใจมันก็ดึงดูดลิ้น หรือลิ้นก็ดึงดูดมันมา สัมผัสที่ชอบใจ มันก็ดึงดูดกาย หรือกายไปดึงดูดเอามันมา มันดึงดูดอย่างนี้
มนายตนะส่วนใจ
ธรรมารมณ์ที่ชอบใจ มันก็ดึงดูดใจหรือใจก็ไปดึงดูดเอามันมา นี้มันดึงดูดกันอย่างนี้ ดึงดูดแน่นทีเดียว หลุดไม่ได้ทีเดียว ไม่ว่าแก่เฒ่าชรา หญิง ชาย ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ชนิดใดละ ถูกอายตนะของโลกดึงดูดเข้าอย่างนี้ก็อยู่หมัด ไปไหนไม่ไหวหละ อยู่หมัดทีเดียว

อายตนะโลกมันดึงดูดอย่างนี้ ไม่ใช่ดึงดูดพอดีพอร้าย
อายตนะดึงดูดเหล่านี้ผิวเผินนะ ดึงดูดลงไปกว่านี้อีก อายตนะของโลก

ถ้าว่าสัตว์ในโลก มีธรรมดำล้วน ไม่ได้มีธรรมขาวเข้าไปเจือปนเลยเท่าปลายผม ปลายขน ดำล้วนทีเดียว
แตกกายทำลายขันธ์ โน่น อายตนะโลกันต์ดึงดูด ต่ำว่าภพสามลงไปนี้ เท่าภพสาม ส่วนโลกันต์เท่ากับภพสามนี้ แต่ต่ำว่าภพสามลงไปอีก ๓ เท่าภพสามนี้

นั่นมันอายตนะโลกันต์ดึงดูด ดึงดูดโน่นไปอื่นไม่ได้ อายตนะโลกันต์มีกำลังกว่า



พอถูกกระแสถูกสายเข้าแล้วจะเยื้องยักไปทางอื่นไม่ได้
อายตนะของโลกันต์ก็ดึงดูดทีเดียวไปติดอยู่ในโลกันต์โน่น
กว่าจะครบกำหนดออกน่ะมันไม่มีเวลา เวลาน่ะนานนัก ไม่ต้องเวลากันหละเข้าถึงโลกันต์แล้ว กว่าจะได้ออก
อจินฺเตยฺโย
ไม่ควรคิด ไม่มีกำหนดกัน นั่นแน่นดึงดูดติดขนาดนั้น นั่นอายตนะโลกันต์หนา



อายตนะอเวจี ถ้าจะไปตกนรกอเวจี ก็ฆ่าพระพุทธเจ้า ฆ่าพระอรหันต์ ฆ่าพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ ทำลายโลหิตพระพุทธเจ้าให้ห้อขึ้น ยุยงให้สงฆ์แตกจากกัน เหล่านี้ ปิตุฆาต มาตุฆาต ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา เหล่านี้ แตกกายทำลายขันธ์ ต้องไปตกอเวจี อ้ายนี้อยู่ในภพ ขอบภพข้างล่างขอบภพข้างล่างพอดี อเวจี สี่เหลี่ยม เหล็กรอบตัวสี่ด้าน สี่เหลี่ยมทีเดียว ไปอยู่ในห้องขังนั้น ในห้องขังอเวจีนั้น แดงก่ำเหมือนเหล็กแดงทั้งวันทั้งคืน อะไรไม่ต่างกันหละตัวเทวทัตแดงเป็นเหล็กแดงทีเดียว ไหม้เป็นเหล็กแดงทีเดียว แต่ไม่ตาย กรรมบังคับให้ทนอยู่ได้นั่นไปตกอเวจีหละ ทำถึงขนาดนั้น อนันตริยกรรมเข้า พอแตกกายทำลายขันธ์กุศลอื่นไม่มีกำลัง สู้อเวจีไม่ได้ อเวจีดึงดูดวูบทีเดียว สู่โยคเผด็จของตน ไปเกิดในอเวจีโน่น
หย่อนขึ้นมากกว่านั้น ไม่ถึงกับฆ่ามารดา บิดา ทำลายโลหิตพระพุทธเจ้า ไม่ถึงยุยงพระสงฆ์ ทำลายพระสงฆ์ ยุยงให้สงฆ์แตกจากกัน ปิตุฆาต มาตุฆาต อรหันฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ยังสงฆ์ให้แตกจากกันเหล่านี้ ไม่ถึงขนาดนั้น หย่อนกว่านั้นลงมาเพียงแต่ว่าเกือบ ๆ จะฆ่ากันแหละ แต่ว่าไม่ถึงกับฆ่า ไม่ถึงตาย เมื่อแตกกายทำลายขันธ์จากมนุษย์โลก
ไปอยู่มหาตาปนรกโน้น มหาตาปนรกโน่น มหาตาปน่ะ ร้อนเหลือร้อน แต่ว่าหย่อนกว่าอเวจีหน่อยขึ้นมา

ถ้าว่าถึงขนาดนั้นทำชั่วไม่ถึงขนาดนั้น หย่อนกว่ามหาตาปนรก ก็ไปอยู่ตาปนรก นั่นก็ร้อนพอร้อน แต่ว่าร้อนหย่อนกว่านั้นขึ้นมาหน่อย หย่อนกว่านั้นขึ้นมายิ่งกว่าเรื่อยขึ้นไป ถ้าว่าทำหย่อนขึ้นไปกว่านั้น ความชั่วหย่อนขึ้นไปกว่านั้น
เข้าไปอยู่ใน มหาโรรุวนรก ร้องไห้ร้องครางกันเถอะ ไม่มีเวลาหยุดกันหละ มหาร้องไห้ทีเดียว



ถ้าหย่อนกว่านั้นขึ้นมา อยู่ในโรรุวนรก ก็ร้องไห้ไปเถอะ ไม่มีหยุดเหมือนกัน แต่ว่าหย่อนกว่า ถ้าไม่ถึงขนาดโรรุวนรก
หย่อนกว่านั้นขึ้นมา ก็ไปอยู่สังฆาฏนรก ถ้าหย่อนกว่านั้นขึ้นมาอีก ก็ไปกาฬสุตตนรก หย่อนกว่านั้นขึ้นมาอีก ก็ไปสัญชีวนรก รวม ๘ ขุม นี่นรกขุมใหญ่ หรือมหานรก



ถ้าหย่อนกว่านั้นขึ้นมา ก็ไปอยู่ในบริวารนรก เรียกว่า อุสสทนรก อยู่รอบมหานรกทั้ง ๔ ด้าน ๆ ละ ๔ ขุม แต่ละมหานรกจึงมีนรกบริวาร หรืออุสสทนรก ๑๖ ขุม มหานรก ๘ ขุม ก็มีนรกบริวารรวม ๑๒๘ ขุม

หย่อนกว่านั้นขึ้นมาอีก ก็ไปอยู่ในบริวารนรก ซึ่งอยู่รอบนอกของมหานรกออกมาอีก ทั้ง ๔ ด้าน เรียกว่า ยมโลกนรก แต่ละด้านของมหานรก จะมียมโลกนรกด้านละ ๑๐ ขุม นรกบริวารรอบนอกของมหานรกทั้ง ๘ ขุม จึงมี ๓๒๐ ขุม

มหานรก ๘ ขุม กับนรกบริวารรอบในคืออุสสทนรกอีก ๑๒๘ ขุมและนรกบริวารรอบนอก คือยมโลกนรกอีก ๓๒๐ ขุม รวมเป็น ๔๕๖ ขุม นี่อายตนะนรกดึงดูดอย่างนี้

ไม่ถึงขนาดนั้น ความชั่วด้วยกาย ชั่วด้วยวาจา ชั่วด้วยใจ ความชั่วด้วยกายวาจาไม่ถึงนรก
แตกกายทำลายขันธ์ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ที่เราเห็นตัวปรากฏอยู่นี่ นั่นมนุษย์แท้ ๆ มนุษย์ทั้งนั้น อ้ายสัตว์เดรัจฉานน่ะ ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเสีย อ้ายตัวข้างในเป็นมนุษย์ทั้งนั้นแหละ อ้ายกายละเอียดข้างใน แต่ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน น่าเกลียดน่าชังจริงนั่น เพราะทำชั่วของตัวไปเกิด มันดึงดูด อายตนะของสัตว์เดรัจฉานดึงดูด

ดึงดูดอย่างไรล่ะ อ้าวก็ดึงดูดเข้าไปเกิดในท้องสุนัขน่ะซี ท้องหมูบ้าง ท้องสุนัขบ้างตามยถามกรรมของมันซี ท้องเป็ด ท้องไก่โน้น ดึงดูดเข้าไปอย่างนี้แหละ ดึงดูดเข้าไปได้แรงนักทีเดียว ความดึงดูดนั่น ให้รู้จักอายตนะดึงดูดอย่างนี้ อ้ายที่มันดึงดูดในพวกเหล่านี้


ถ้าว่าหย่อนขึ้นมากว่านี้ ไปเกิดเป็นเปรต ไฟไหม้ติดตามตัวไป อสุรกายหย่อนกว่านั้นขึ้นมา นี่พวกอบายภูมิทั้งนั้น นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย ๔ อย่างนี่ อบายภูมิทั้งนั้น



แต่นี้ชั่วไม่ได้ทำ ทำแต่ดี ทำแต่ดีก็อายตนะฝ่ายดีดึงดูด บริสุทธิ์ด้วยกาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ด้วยใจ ไม่มีร่องเสียเลย อายตนะอื่นดึงดูดไม่ได้ อายตนะมนุษย์ดึงดูด ดึงดูดอย่างไรล่ะ
เกิดเป็นมนุษย์กันถมไปนี่อย่างไรล่ะ เห็นโด่ ๆ มันดึงดูดเข้าไปติดอยู่ในขั้วมดลูกมนุษย์นั่นแหละ มันดึงดูดอย่างนั้นแหละ นี่อายตนะมนุษย์ดึงดูดเข้ามาติดอยู่ในขั้วมดลูกของมนุษย์นี่ เพราะทำความบริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ใจ ถ้าว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น อายตนะทิพย์ดึงดูด ติดอยู่ในกำเนิดทิพย์เป็นกายทิพย์ เป็นกายทิพย์เป็นลำดับขึ้นไป จาตุมหาราช ดาวดึงสา ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี อายตนะดึงดูดทั้งนั้น นี่ในกามภพ ๑๑ ชั้น คืออบายภูมิ ๔ สวรรค์ ๖ เป็น ๑๐ มนุษย์อีก ๑ รวมเป็น ๑๑ ใน ๑๑ ชั้นนี่เรียกว่ากามภพทั้งนั้น



ถ้าว่าจะไปในรูปภพ จะไปเกิดในรูปภพ อายตนะของรูปภพดึงดูด
เพราะได้ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน แล้วฌานนั้นไม่เสื่อม
เห็นเป็นดวงใดวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ วา หนาคืบหนึ่ง กลมเป็นวงเวียน กลมเป็นกงเกวียน กลมเป็นวงเวียนทีเดียว รอบตัวหนาคืบหนึ่ง กลมข้างนอก แต่ว่าไม่กลมรอบตัว กลมเป็นวงเวียน เป็นกงจักรทีเดียว เป็นวงเวียนทีเดียว เป็นแผ่นกระจกชัด ๆ หนาคืบหนึ่งวัดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒ วา กลมนั่นปฐมฌาน ติดอยู่กลางกายมนุษย์ ที่ทุติยฌานอยู่ในกลางดวงปฐมฌาน มีตติยฌานอยู่ในกลางดวงทุติยฌาน มีจตุตถฌานอยู่กลางดวงตติยฌาน เป็นลำดับขึ้นไป
ฌานเหล่านี้เมื่อไม่เสื่อม แล้วแตกกายทำลายขันธ์ อายตนะของรูปพรหมก็ดึงดูดเป็นชั้น ๆ ไป
พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา นี่ปฐมฌานดึงดูด
ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา นี่ทุติยฌานดึงดูด
ปริตตสุภา อัปปามารสุภา สุภกิณหา นี่ตติยฌานดึงดูด
เวหัปผลา อสัญญสัตตา นี่จตุตถฌานดึงดูดไปติดอยู่ในรูปพรหม
อายตนะรูปพรหมดึงดูดไปทางอื่นไม่ได้
อายตนะเหล่านี้ไม่ยอมเด็ดขาดมีกำลังกว่า



ถ้าว่าสูงขึ้นไปกว่านี้
อากานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่อายตนะของอรูปพรหม ได้อรูปฌาน ดวงโตเท่ากัน
แต่ว่าอากาสาณัญจายตนะก็กลมขนาดเดียวกัน วิญญาณัญจายตนะก็กลมขนาดเดียวกัน
แต่ว่าละเอียดกว่า อากิญจัญญายตนะก็กลมขนาดเดียวกัน เนวสัญญานาสัญญายตนะก็กลมขนาดเดียวกัน แต่ว่าไม่กลมรอบตัวนะ กลม ๆ อย่างเดียวกับรูปฌาน
นี่เมื่อได้อรูปฌานไม่เสื่อมแตกกายทำลายขันธ์ อรูปพรหมดึงดูดไป เกิดอื่นไม่ได้เด็ดขาด อยู่ในอรูปภพนี่แหละ ออกจากภพนี้ไม่ได้
นี่อายตนะดึงดูดอย่างนี้นะ
ถูกอายตนะดึงดูดอย่างนี้ เขาเรียกว่า โลกายตนะ ที่กล่าวแล้วนี้โลกายตนะทั้งนั้น
โลกันต์โน่น โน่นก็เป็นโลกายตนะ อเวจีตลอดถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะขอบภพข้างบน นี่โลกายตนะดึงดูดไปไม่ได้ หลุดไปไม่พ้น



ถ้าจะให้พ้นจากอายตนะเหล่านี้ ต้องไปนิพพานจึงจะพ้น
อายตนนิพพาน ก็เป็นข้อสำคัญอยู่ ไม่ใช่พอดีพอร้าย ถ้าทำถูกส่วนเข้า เป็นอย่างไร

ทำถูกส่วนเข้าก็ซีกขาวฝ่ายเดียวขาวจนใส ขาวจนเกินขาว ขาวจนเกินส่วน ขาวจนได้ส่วนได้ที่ทีเดียว ใสหนักเข้า ๆ ๆ ใสจนไม่ใสต่อไป ใสเต็มส่วนขนาดนั้น เมื่อใสเต็มส่วนขนาดนั้นก็ไม่มีดำเข้าไปเจือปนเท่าปลายผมปลายขนเลย วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัว
ดวงนั้นใสอย่างนั้นขาวอย่างนั้นอยู่กลางกายของธรรมกาย พอแตกกายทำลายขันธ์จากมนุษย์โลก

โน่นอายตนนิพพานดึงดูด อายตนนิพพานดึงดูดทีเดียว อื่นดึงดูดไม่ได้ กำลังไม่พอ อายตนะนิพพานดึงดูดพอ

เพราะถูกส่วนของนิพพานเข้าแล้ว อายตนนิพพานก็ดึงดูดเข้าไปสู่นิพพาน
นี่รู้จักหลักอันนี้ละก็ นี่ท่านวางไว้ว่า อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะคือนิพพานมีอยู่
ไม่ใช่อายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ใช่อายตนะภายนอก ภายใน เป็นอายตนะสำหรับดึงดูด ดึงดูดเหมือนอายตนะของโลกเหมือนกัน
ไม่ใช่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะเครื่องดึงดูดดังกล่าวแล้ว
เมื่อรู้จักอายตนะเหล่านี้ละก็ จะฟังเรื่องนิพพานนี่ออกได้ต่อไป



ต่อนี้ก็จะแสดงเรื่อง นิพพานว่า บัณฑิตละธรรมดำเสียแล้ว ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น เมื่อธรรมขาวเจริญขึ้นแล้ว อาศัยนิพพาน ไม่มีอาลัย จากอาลัย หรือจากอาลัย อาศัยนิพพาน อาลัยนะคือเป็นอย่างไรละ จากอาลัยนะ อาลัยนะซิ
มันให้ตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่ม เป็นก้อนอยู่นี่ อาลัยนะซี ถอนมันไม่ออกหนา
อาลัยรูป
อาลัยเสียง
อาลัยกลิ่น
อาลัยรส
อาลัยสัมผัส
อาลัยพร้อมกันไปหมดทีเดียว อาลัยถอนไม่ออก อาลัยนั้นถอนไม่ออก
ท่านถึงได้วางตำรับตำราไว้ว่า อาลยสมุคฺฆาโต ให้ถอนอาลัยออกเสีย
ถ้าถอนอาลัยไม่ได้ ก็ไปนิพพานไม่ได้
ก็เป็น วฏฺฏขานุ เป็นหลักตออยู่ในโลก เท่านั้นไม่ไปไหน ติดอยู่ในโลกนี้ ไปไม่ได้เพราะติดอาลัย อาลัยนั้นแหละมันทำให้ติด เพราะรู้ตัวของตัวอยู่ทุกคนนี่ ติดอยู่ด้วยอะไรอาลัยนี่เอง


ทำไมเราจะถอนอาลัยอันนี้ได้ละ อาลัยเป็นอย่างไร

นกกะเรียนว่ายน้ำในเปือกตมมันนิยมนักในเปือกตมนั่นนะ นกกะเรียนมันไม่ขึ้นมาจากเปือกตมนะ มันเพลิดเพลินของมันทีเดียว
กว่ามันจะขึ้น มันล่องลอยไปทางซ้ายทางขวาทางหน้าทางหลัง วกไปวกมา ๆ เพลินอยู่ในเปือกตมนั่น
ชุ่มชื่นของมัน
ชุ่มชื่นสบายอกสบายใจของมัน
รื่นเริงบันเทิงใจของมัน
มันไม่อยากจะขึ้นเลยทีเดียว มันพิเร้าพิรึงอยู่กับเปือกตมของมันนั่นแหละ

นี้แหละฉันใดสัตว์โลกที่ติดอาลัย ก็เหมือนอย่างกับนกกะเรียนติดเปือกตมอย่างนี้แหละ ถอนไม่ได้
ถอนก็ติดโน่นติดนี่ ติดทางนั้นติดทางนี้

ก่อนเราเกิด เขาก็ติดกันอยู่อย่างนี้แหละ
เมื่อเราเกิดมาก็ติดอยู่อย่างนี้แหละ ติดอยู่เหมือนกันทั้งนั้น
ก็เมื่อนี้เป็นของเราเมื่อไรเล่า
ตัวก็ไม่ใช่ของเรา อ้ายลูกก็ไม่ใช่ของเรา อ้ายผัวก็ไม่ใช่ของเรา เมียก็ไม่ใช่ของเราเหมือนกัน อ้ายหลานว่านเครือก็ไม่ใช่ของเรา เงินทองข้าวของไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ทั้งนั้น
เขาสำหรับภพสามของเขาเราก็มาในภพสาม ก็ใช้ของภพสามไป ร่างกายมนุษย์ก็ใช้ของภพสามเขา ไปเกิดในภพทิพย์ก็ใช้ในภพทิพย์เขา
เกิดในจาตุมหาราช ดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรินิมมิตวสวัตตี ดีวิเศษขึ้นไปกว่านี้อีก ก็ถึงกระนั้นก็ติดอยู่ไม่ได้
เมื่อรู้จักความจริงเช่นนี้
อย่าได้กริ่งใจอะไร
อย่าได้สงสัยอะไร
ถ้ารู้จักชัดเสียเช่นนี้ แล้วก็มีธรรมกาย แล้วจะได้เห็นปรากฎหมดทุกสิ่งทุกประการ เห็นแล้วและได้รู้แล้ว ก็จะติดทำไมเล่า เมื่อติดอาลัยหรือก็ปล่อยอาลัยเสีย

ฉะนั้นท่านจึงได้วางตำรับตำราไว้ว่า อาศัยนิพพาน ไม่มีอาลัย จากอาลัย อาลัยอันนั้นไม่เกี่ยวกับนิพพาน
ต้องหลุดจากอาลัยอันนั้น จึงจะไปนิพพานได้ บอกชัดอย่างนี้นะ



วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ ข้อที่สอง วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ
ยินดีได้ด้วยยากในพระนิพพานอันสงัดใด เออ! เป็นของไม่ใช่พอดีพอร้ายหรือจะยินดีนิพพาน ปล่อยอาลัยนั้นไม่ใช่ง่าย ๆ นะ ยินดีได้ด้วยยากในนิพพานอันสงัดใด
นิพพานอันสงัดยินดีได้ยากนัก เพราะมันติดอาลัยมันจึงยินดีได้ยากนัก ปล่อยอาลัยเสียแล้ว มันก็ไม่ยาก ให้ปล่อยอาลัยเสีย จึงยินดีพระนิพพาน ไปพระนิพพานได้
อายตนนิพพานทีเดียวดึงดูด
ถ้ายังติดอาลัย พระนิพพานดึงไม่ออกเหมือนกัน ดูดไม่ไปเหมือนกัน
อายตนะโลกเขาก็ดึงดูดเอามา มันก็ไปนิพพานไม่ได้


ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน
คือละกามทั้งหลายเสียพึงละกามทั้งหลายเสีย ไม่มีกังวลอะไร พึงละกามทั้งหลายเสีย กิเลสกามพัสดุกามต้องละ ต้องละกิเลสกาม พัสดุกาม ไม่มีกังวลอะไรเสียแล้ว
เมื่อละกิเลส กิเลสกาม พัสดุกาม ไม่มีกังวลละก็ ปรารถนาความยินดีจำเพาะในพระนิพพาน ละกามนั่นนะ ละได้ง่ายหรือ
กิเลสกาม พัสดุกามนั่นนะ อะไรเราก็ยังไม่รู้จักมันเสียอีกนั่นแหละ รู้จักง่าย รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชอบใจ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ สัมผัสที่ชอบใจ ที่ชอบใจนั่นแหละ นั่นแหละตัวพัสดุกามแท้ ๆ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ห้าอย่างนี้นี่แหละเป็นตัวพัสดุกาม


ท่านจึงได้วางตำรับตำราไว้ว่า
ปญฺจาภิรตา ปปญฺจา หมู่สัตว์เนิ่นช้าอยู่ด้วยปัญจธรรมทั้งห้า คือ
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ทำให้สัตว์เนิ่นช้า นั่นเป็นตัวพัสดุกามแท้ ๆ
ความไปยินดีในรูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ สัมผัสที่ชอบใจ
นั่นกิเลสกามแท้ ๆ
ไอ้ยินดีนั่นเป็นกิเลสกาม
ไอ้ที่ละกามต้องละทั้งพัสดุด้วย ละทั้งความยินดีในพัสดุนั้นด้วย
ละทั้งกาม ละทั้งพัสดุกาม ละทั้งกิเลสกามนั้นด้วย
เมื่อละจำพวกนี้แล้ว มันก็ไม่มีกังวลอะไร
อกิญฺจโน ไม่มีกังวลอะไร ถ้าละพวกนี้เสียแล้วไม่มีกังวล เมื่อไม่มีกังวล ไม่ทำอะไรต่อไป
ให้ปรารถนาความยินดีจำเพาะในพระนิพพานนั้น
ปรารถนาความยินดีจำเพาะในพระนิพพานนั้น
อย่าไปปรารถนาอื่น ใจจดใจจ่อพระนิพพานทีเดียว ปรารถนายินดีในพระนิพพานนั้น


ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต
ผู้ดำเนินด้วยสติปัญญา ชำระตนผ่องแผ้วแล้ว ชำระตนผ่องแผ้วแล้ว เมื่อชำระตนให้ผ่องแผ้วจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองของจิตทั้งหลาย
ชำระตนให้ผ่องแผ้วจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองของจิตทั้งหลาย สะอาด
ไม่มีซีกดำ มีแต่ซีกขาวฝ่ายเดียว จากกิเลสเครื่องเศร้าหมองของจิตทั้งหลายแล้ว
จิตที่บัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดอบรมดีแล้ว อบรมดีแล้วในองค์เป็นเหตุเครื่องตรัสรู้ เมื่อสะอาดเช่นนั้น
มันก็ตรัสรู้ทุกสิ่งทุกประการ รู้จริงเห็นจริงตามความเป็นจริงทั้งเรื่อง
เรียกว่าในองค์เครื่องตรัสรู้ รู้เห็นตามความเป็นจริงหมด
เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงเช่นนั้นแล้ว
อาทานปฏินิสฺสคฺเค อนุปาทาย เย รตา
บัณฑิตทั้งหลายเหล่าใด ไม่ถือมั่นยินดีแล้วในอันสละการถือมั่น นี่ตัวนี้ตัวสำคัญ
พอสละเช่นนั้นก็ไม่ถือมั่นก็ยินดีแล้ว ในการสละการถือมั่น ยินดีแล้วก็สละปล่อยเสียเท่านั้น ปล่อยเสียได้
ปล่อยเบญจขันธ์ทั้งห้า อ้าย รูป เสียง กลิ่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นนะ ปล่อยรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อ้ายเบญจกามคุณทั้งห้านะ ละทั้งตัวพัสดุด้วย ละทั้งตัวกิเลสด้วย ปล่อยเลยทีเดียว
ไม่ถือมั่นในเบญจขันธ์ทั้งห้าอีกต่อไป ไม่ถือมั่นในเบญจขันธ์ทั้งห้า เมื่อปล่อยเบญจขันธ์ทั้งห้าเสียได้แล้ว
ถ้าว่ายังถือมั่นเบญจขันธ์ทั้งห้า เป็นทุกข์



ท่านยืนยันเทียวว่า ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา
ถือมั่นในเบญจขันธ์ทั้งห้าเป็นทุกข์ ถ้าปล่อยเสียละ ปล่อยเสีย มีพระนิพพานเป็นที่ไป เป็นสุขทีเดียว พอปล่อยเบญจขันธ์ทั้งห้าเสียได้เท่านั้น
ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ
บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ มีความโพลง ดับสนิทในโลกด้วยประการดังนี้นี้ไปถึงนิพพานทีเดียว อายตนนิพพานดึงดูดไปทีเดียว
หมดหน้าที่นี้ แสดงมานี้เป็นข้อที่ลึกซึ้ง ไม่ใช่เป็นข้อที่ผิวเผิน
ผู้แสดงก็หายาก ผู้ฟังก็หายากลำบากนัก ให้จำไว้เป็นเนติแบบแผน จะได้ปฏิบัติเอาตัวรอดต่อไป...




ตัดมาเพียงบางส่วนจากติลักขณาทิคาถาพระธรรมเทศนาหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ เชิญอ่านต่อได้ในหมวดบทความธรรมะ :b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 05 ก.พ. 2010, 22:21, แก้ไขแล้ว 16 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 20:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 15:47
โพสต์: 417

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: วิปัสนา-กรรมฐาน เล่ม 1-2
ชื่อเล่น: นา
อายุ: 44
ที่อยู่: 140/19 ถ.อภัย อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุคะ ได้รับความกระจ่างขึ้นเยอะเลย :b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าแก้ไขคนอื่น จงแก้ไขตัวเราเอง

....................................................

เจ้าเกิดมามีอะไรมาด้วยเล่า
เจ้าจะเอาแต่สุขสนุกไฉน
เจ้ามาเปล่าแล้วเจ้าจะเอาอะไร
เจ้าก็ไปตัวเปล่าเหมือนเจ้ามา

...................................................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 00:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




00237635.jpg
00237635.jpg [ 136.92 KiB | เปิดดู 2904 ครั้ง ]
(ตัดมาส่วนหนึ่ง)...
แต่ว่าที่มาจะถึงตัวพระตถาคตนี้ ต้องมาตามอัฏฐังคิกมรรค ๘ ประการคือ
สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาสงฺกปฺโป สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ สมฺมาสมาธิ จึงมาถูกทางของพระตถาคตเจ้า
ถ้าไม่มาทางกลางก็ไม่มาเห็นพระตถาคตเจ้า
ถ้ามาเห็นได้ก็ทางนี้ละมาถึงกายธรรม
เมื่อพระตถาคตในเบื้องต้นยืนยันรับเป็นพยานว่า
จกฺขุกรณี มีความเห็นเป็นปกติ
ญาณกรณี มีความรู้เป็นปกติ
เพราะเหตุว่ากายมนุษย์เห็นไม่เป็นปกติ
รู้ก็ไม่เป็นปกติ เพราะไม่มีญาณ
กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ไม่มีญาณ ส่วนกายธรรมมีญาณ พูดถึงญาณ จกฺขุกรณี กระทำให้เห็นเป็นปกติ


กายมนุษย์เห็นไม่ปกติ คือเห็นอย่างไร?
ที่ถูกเห็นว่าไม่ถูก ที่ไม่ถูกเห็นว่าถูกอย่างใด
ไม่จริงเห็นว่าจริง อย่างใดจริงเห็นว่าไม่จริง
ที่ไม่สวยไม่งามเห็นว่าสวยงาม ที่สวยงามเห็นว่าไม่สวยงามผิดกันอย่างนี้
กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมก็เช่นเดียวกัน
ส่วนกายธรรมไม่เห็นอย่างนั้น เห็นเป็นปกติ เห็นอย่างไรก็รู้อย่างนั้น
เพราะว่ากายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม มีความเห็นไม่เป็นปกติ รู้ก็ไม่เป็นปกติ



ส่วนกายธรรมมีความเห็นเป็นปกติ รู้เป็นปกติ เห็นตลอดหมด รู้ด้วยญาณก็รู้ตลอดหมด ตรงกับความเห็นทุกอย่างไม่ต่างกัน เห็นตามถูก รู้ตามถูก สิ่งใดเป็นสุขก็เห็นว่าเป็นสุข กายธรรมเมื่อเข้าถึงแล้วสงบ

เมื่อเป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมไม่สงบ



ฉะนั้น จะเรียกว่า “อุปสมาย” ไม่ได้ “อภิญฺญาย” กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมจะรู้ยิ่งไม่ได้ กายธรรมรู้ยิ่งได้


ที่ว่ากายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม รู้ยิ่งไม่ได้คือ รู้ไม่ชัด รู้เหมือนฟ้าแลบ ไม่ชัดเหมือนญาณ

เมื่อมีญาณแล้วรู้ชัดเหมือนกลางวัน อย่างนั้นเรียกว่า “อภิญฺญาย” เรียกว่า รู้ยิ่งจริง


ยิ่งกว่ากายมนุษย์ ยิ่งกว่ากายทิพย์ ยิ่งกว่ากายรูปพรหม ยิ่งกว่ากายอรูปพรหม
“สมฺโพธาย” รู้พร้อม รู้พร้อมทุกสิ่งทุกอย่าง รู้ตามจริงทุกสิ่ง รู้พร้อมเสร็จทุกสิ่ง ไม่มีสิ่งใดที่จะไม่รู้

เมื่อมีรู้เรียกว่า รู้ด้วยญาณของธรรมกายนี้ เรียกว่า “สมฺโพธาย” รู้พร้อม “นิพฺพานาย” เพื่อนิพพาน ไปเพื่อนิพพาน
ธรรมกายนี้เข้าถึงแล้วไม่ไปที่อื่นดอก ในใจไปเพื่อนิพพานอย่างเดียว ไม่ไปที่อื่นเลย...



ตัดมาส่วนหนึ่งจาก...
กัณฑ์ที่ ๖๒
โพธิปักขิยธรรมกถา
อริยอัฏฐังคิกมรรค
พระธรรมเทศนา หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ

(อ่านต่อได้ที่ ห้อง บทความธรรมะครับ) :b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 05 ก.พ. 2010, 22:11, แก้ไขแล้ว 7 ครั้ง.
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร