วันเวลาปัจจุบัน 26 ก.ค. 2025, 15:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 47 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.:b49: :b49: สาราณียธรรม 6 :b49: :b49:

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน หลักการอยู่ร่วมกัน

1. เมตตากายกรรม
ตั้งเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
คือ ช่วยเหลือกิจธุระของผู้ร่วมหมู่คณะด้วยความเต็มใจ แสดงกิริยาอาการสุภาพ
เคารพนับถือกันทั้งต่อหน้า และลับหลัง


2. เมตตาวจีกรรม
ตั้งเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
คือ ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี
กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกันทั้งต่อหน้า และ ลับหลัง

3. เมตตามโนกรรม
ตั้งมโนกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
คือ ตั้งจิตปราถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีใบหน้าที่ยิ้มแย้มต่อกัน

4.สาธารณโภคี
ได้ของที่ชอบธรรมมาก็แบ่งปัน ไม่หวงไว้แต่ผู้เดียว

5. สีลสามัญญตา
มีศีลบริสุทธิ์เสมอกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
คือ มีความประพฤติสุจริตดีงาม ถูกต้องตามระเบียบวินัย
ไม่ทำตนให้เป็นที่รังเกียจของหมู่คณะ

6. ทิฏฐิสามัญญตา
มีทิฏฐิดีงามเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลังหลังคือ มีความเห็นชอบร่วมกัน ในข้อที่เป็นหลักการสำคัญที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้นสิ้นทุกข์ หรือขจัดปัญหา

ธรรม 6 ประการนี้ มีคุณคือ เป็นสารณียะ (ทำให้เป็นที่ระลึกถึง)
เป็นปิยกรณ์ (ทำให้เป็นที่รัก)
เป็นครุกรณ์ (ทำให้เป็นทีเคารพ)
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ (ความกลมกลืนเข้าหากัน)
เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคีและ เอกีภาพ (ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)


.:b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44:


แก้ไขล่าสุดโดย natdanai เมื่อ 11 ธ.ค. 2009, 13:16, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2007, 15:22
โพสต์: 603

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


โมทนาสำหรับความรู้นี้คะท่าน ><~~

บางคนทำไม่ได้ครบทุกข้อ ก็เพราะความเหงานะคะ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


นับเป็นกระทู้ที่มีคุณค่ามากๆ ค่ะ

ขออนุโมทนาสาธุนะคะ

จะเข้ามาศึกษาบ่อยๆ ค่ะ

:b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46:

ท่านนัดฯ มาเปิดแพรคลุมป้าย ตัดริบบิ้น ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ตามคำเรียกร้องแล้วนะคะ

นักเรียนเข้าชั้นเรียนได้แล้วค่ะ สา.....ธุ :b8: :b12:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


beby ขอคารวะคุณเสี่ยวจิ้ง....มากๆเลย ได้รู้อะไรอีกมากมาย สำหรับผู้รู้แล้ว
อาจดูธรรมดา แต่สำหรับผู้ที่เริ่มจะรู้ ก็ได้เสริมสติปัญญาเต็มเปี่ยม
:b48: อนุโมทนาบุญด้วยจริง....จริงค่ะ
onion onion

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


kanalove เขียน:
โมทนาสำหรับความรู้นี้คะท่าน ><~~

บางคนทำไม่ได้ครบทุกข้อ ก็เพราะความเหงานะคะ...


ขอคำอธิบาย เกี่ยวกับความเหงายังไงขอรับ :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 11:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


โมนาแล้วอย่าลืมกด รูปภาพ นะจ๊ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


O.wan เขียน:
beby ขอคารวะคุณเสี่ยวจิ้ง....มากๆเลย ได้รู้อะไรอีกมากมาย สำหรับผู้รู้แล้ว
อาจดูธรรมดา แต่สำหรับผู้ที่เริ่มจะรู้ ก็ได้เสริมสติปัญญาเต็มเปี่ยม
:b48: อนุโมทนาบุญด้วยจริง....จริงค่ะ
onion onion


คุณ O.wan สนใจธรรมบทใดมาอ่านกล่อมจิต กล่อมใจ ขัดเกลาจิตใจ
...ก็ลอง Order มาได้นะคะ...

เผื่อว่ากัลยาณมิตรของพวกเรา... เมื่อเดินทางผ่านมาเห็น จะหิ้วธรรมมาฝาก...

หรือจะลองมาร่วมสร้างสรรค์ ห้องเรียนร่วมกับ ขี้เกี้ยม ด้วยก็ได้นะค่ะ...

คุณ O.wan ยินดี...เป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับ ขี้เกี้ยม รึเปล่าคะ...

:b48: :b40: :b48: :b40: :b48: :b40: :b48: :b40:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 11 ธ.ค. 2009, 16:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2009, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.:b49: :b49: สังคหวัตถุ 4 :b49: :b49:

ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวใจบุคคลและประสานหมู่ชนไว้ในความสามัคคี
หลักการสงเคราะห์....


1. ทาน - การให้
คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของ ตลอดถึงให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน


2. ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ - วาจาอันเป็นที่รัก ดูดดื่มน้ำใจ หรือวาจาซาบซึ้ง
คือ กล่าวคำสุภาพไพเราะอ่อนหวานสมานสามัคคี ให้เกิดไมตรี และความรักใคร่นับถือ ตลอดถึง
คำแสดงประโยชน์ประกอบด้วยเหตุผล เป็นหลักฐานจูงใจให้ยอมตาม

3. อัตถจริยา - การประพฤติประโยชน์
ขวนขวายช่วยเหลือกิจการ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ตลอดถึงช่วยแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมในทางจริยธรรม


4.สมานัตตตา - ความมีตนเสมอ
คือ ทำตนเสมอต้นเสมอปลาย ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย และเสมอในสุขทุกข์
โดยรับรู้ร่วมแก้ไข ตลอดถึงวางตนเหมาะแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม
ถูกต้องตามธรรมในแต่ละกรณี.....


.:b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 18 ธ.ค. 2009, 20:51, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2009, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b49: กัลยาณมิตรธรรม 7 :b49:

องค์คุณของกัลยาณมิตร คุณสมบัติของมิตรดีหรือมิตรแท้
คือท่านที่คบหรือเข้าหาแล้ว จะเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและความเจริญ
ในที่นี้มุ่งเอามิตรประเภทครู หรือ พี่เลี้ยงเป็นสำคัญ


1. ปิโย - น่ารัก
คือ เข้าถึงจิตใจ สร้างความรู้สึกสนิทสนม เป็นกันเอง
ชวนใจผู้เรียนให้อยากเข้าไปปรึกษาไต่ถาม


2. ครุ - น่าเคารพ
มีความประพฤติสมควรแก่ฐานะ ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจเป็นที่พึ่งได้และปลอดภัย

3. ภาวนิโย - น่าเจริญใจ หรือ น่ายกย่อง
คือ มีความรู้จริง ทรงภูมิปัญญาแท้จริง และเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตนอยู่เสมอ
เป็นที่น่ายกย่อง ควรเอาอย่าง ทำให้ศิษย์เอ่ยอ้างและรำลึกถึงด้วยความซาบซึ้ง
มั่นใจและภาคภูมิใจ



4. วต.ตา จ - รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ
คือ พูดเป็น รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไร อย่างไร
คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี...



5. วจนก.ขโม - อดทนต่อถ้อยคำ
คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถามแม้จุกจิก ตลอดจนคำล่วงเกิน
และคำตักเตือนวิพากษ์วิจารย์ อดทนฟังได้ ไม่เบื่อหน่าย ไม่เสียอารมณ์
และพร้อมที่จะแก้ไขปรับปรุงตน



6. คมภีรญจ กตํ กตตา - แถลงเรื่องล้ำลึกได้
คือ กล่าวชี้แจงเรื่องต่าง ๆ ที่ลึกซึ้งซับซ้อนให้เข้าใจได้
และสอนศิษย์ให้ได้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป



7. โน จฏฐาเน นิโยชเย - ไม่ชักนำในอฐาน
คือ ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสียหรือเรื่องเหลวไหล ไม่สมควร



:b39: :b53: :b39: :b53: :b39: :b53: :b39: :b53:.


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 19 ธ.ค. 2009, 09:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2009, 11:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b49: วิลาส 3 :b49:

ความรู้เห็นคลาดเคลื่อน ความรู้ความเข้าใจผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง , ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข ,
ในสิ่งที่มิใช่ตัวตน ว่าตัวตน , ในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม
วิลาสมี 3 ระดับ


1. สัญญาวิปลาส - สัญญาคลาดเคลื่อน รู้ผิดพลาดจากความเป็นจริง


2. จิตตวิปลาส - จิตคลาดเคลื่อน ความคิดผิดพลาดจากความเป็นจริง


3. ทิฏฐิวิปลาส - ทิฏฐิคลาดเคลื่อน ความเห็นผิดพลาดจากความเป็ฯจริง
โดยเฉพาะความเชื่อถือไปตาม สัญญาวิปลาส หรือจิตวิปลาสนั้น


วิปลาส คือ ความรู้คลาดเคลื่อน ความรู้ที่ผันแปรผิดพลาดจากความเป็นจริง
ที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หลงผิด การลวงตัวเอง วางใจ วางท่าที ประพฤติปฏิบัติไม่ถูกต้อง ต่อโลก
ต่อชีวิต ต่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวง และเป็นเครื่องกีดกั้นขัดขวางบังตาไม่ให้มองเห็นสัจจะภาวะ...



:b39: :b53: :b39: :b53: :b39: :b53: :b39: :b53:.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2009, 12:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนรู้ธรรมวันละนิด..จิตแจ่มใส ..จริงหรือ เรียนอย่างไรจึงจะแจ่มใส
ฝุ่นในห้องวันมีวันละนิด บ่อยไม่ปัดไม่กรวดหลายวัน หลายปีจนหนาเป็นพื้นดินบนห้องบนบ้าน
ลูกโป่งเป่าลม ลมเข้าทุกวัน วันละนิด ก็วันแตก
คอมพิวเตอร์ บันทึกข้อมูลวันละนิด ก็ฮาร์ดดิสมีวันเต็ม ขาดความคล่องตัว
การรับเข้ามาข้อมูลมาบ่อยๆไม่ใช่แต่ธรรมะ แต่หมายถึงทุกเรื่องหากรับมาแล้วแบก ยึด ถือ เรียกว่าก่อให้เกิดอีโก้ ตัวตน มันจะอดไม่ได้ที่จะหลงตน สำคัญตน มีความรู้มากต่อๆไป
สิ่งที่จะเป็นไปเพื่อจะแจ่มใส่จริงๆคือการปลง วาง ปล่อย การภ่ายเท การไม่แบก การไม่ยึดมั่นถือมั่น รู้จักแล้วไป เคลียร์จิต เคลียร์ใจเป็น ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องมีให้มากๆเลย
หากเป็นบ้านเป็นห้องก็หมั่นปัดกรวดเช็ดถู
หากเป็นลูกโป่งก็รู้จักประมาณในลมที่เป่า
หากคอมพิวเตอร์ก็รู้จักลบข้อมูลออกไปบ้าง
เพื่อความเป็นอยู่แจ่มใส ไปทุกๆวัน


แก้ไขล่าสุดโดย yodchaw เมื่อ 19 ธ.ค. 2009, 12:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2009, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


yodchaw เขียน:
เรียนรู้ธรรมวันละนิด..จิตแจ่มใส ..จริงหรือ

เรียนอย่างไรจึงจะแจ่มใส

การรับเข้ามาข้อมูลมาบ่อย ๆ ไม่ใช่แต่ธรรมะ แต่หมายถึงทุกเรื่องหากรับมาแล้วแบก ยึด ถือ เรียกว่าก่อให้เกิดอีโก้ ตัวตน มันจะอดไม่ได้ที่จะหลงตน สำคัญตน มีความรู้มากต่อๆไป

สิ่งที่จะเป็นไปเพื่อจะแจ่มใส่จริงๆคือการปลง วาง ปล่อย การถ่ายเท การไม่แบก การไม่ยึดมั่นถือมั่น รู้จักแล้วไป เคลียร์จิต เคลียร์ใจเป็น ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องมีให้มากๆเลย

หากเป็นบ้านเป็นห้องก็หมั่นปัดกรวดเช็ดถู
หากเป็นลูกโป่งก็รู้จักประมาณในลมที่เป่า
หากคอมพิวเตอร์ก็รู้จักลบข้อมูลออกไปบ้าง
เพื่อความเป็นอยู่แจ่มใส ไปทุกๆวัน



:b8: :b16: :b16: :b16:

จากการได้อ่าน...ข้อความคุณ...หลาย ๆ บทความ
ก็ได้มุมมองที่ทำให้จิตแจ่มใส่ เช่นกัน......
จริง ๆ ก็ เห็นคุณอยู่เรื่อย ๆ และก็ได้อ่านบทความของคุณบ่อย ๆ

....ขอบคุณค่ะ.... ที่แวะมามอบคำคมดี ๆ ....

:b16: :b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 09:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อเนื่องจาก
viewtopic.php?f=8&t=27821


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

:b45: สีลัพพตปรามาส :b45:

ข้อ ๓ นี้ก็มีอธิบายทั่วไปว่าสีลัพพตปรามาสนั้น
ก็คือการยึดถือปฏิบัติในศีลและวัตรไปในทางถือขลังต่างๆ
ซึ่งคำนี้ก็บ่งถึงว่าถือขลังว่าจะบันดาลให้บังเกิดผลที่ต้องการอย่างนั้นอย่างนี้
อันการถือขลังดั่งนี้ก็บ่งว่ามิได้เป็นการที่ได้ถือตรงเข้ามา
ว่าศีลและวัตรเป็นข้อปฏิบัติสำหรับที่จะละกิเลสต่างๆ
ซึ่งเมื่อปฏิบัติในศีลและในข้อวัตรปฏิบัตินั้นๆ ก็เพื่อละราคะโลภะโทสะโมหะ
ไม่ได้มุ่งผลอย่างนั้นอย่างนี้แบบถือขลัง


ฉะนั้น เมื่อยังมีการถือขลังอยู่ก็แสดงว่ายังมีตัณหาคือความอยาก
เช่นอยากจะได้ผลอย่างนั้นอยากจะได้ผลอย่างนี้ เป็นกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
เมื่อเป็นดั่งนี้ ปฏิบัติในศีลและวัตรปฏิบัตินั้นๆ ก็ยังไม่เป็นทางตรงไปสู่การละกิเลส
คือมิใช่เพื่อละกิเลส แต่เพื่อให้บังเกิดผลตามที่กิเลสต้องการ
เช่นกิเลสต้องการลาภต้องการยศ ก็ปฏิบัติในศีลและวัตรปฏิบัตินั้นๆเพื่อให้ได้ลาภได้ยศ
ไม่ใช่เพื่อให้ได้มรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นการละกิเลสและกองทุกข์
การปฏิบัติในศีลและในวัตรปฏิบัตินั้นๆ แม้ว่าจะเป็นศีลและวัตรปฏิบัติที่ถูกต้อง
แต่เมื่อยังถือขลังอยู่ดั่งนั้น ก็ยังเป็นสีลัพพตปรามาส


อีกอย่างหนึ่งอธิบายที่หยาบไปกว่านั้น

ก็คือถือศีลและวัตรปฏิบัติภายนอกพุทธศาสนา ก็เพื่อผลต่างๆตามที่ต้องการ
ส่วนการปฏิบัติศีลและวัตรในพุทธศาสนานั้น เมื่อยังมีการถือขลังอยู่
ก็เป็นสีลัพพตปรามาสเช่นเดียวกัน และเมื่อยังมีสีลัพพตปรามาสอยู่ดั่งนี้
การรักษาศีลและวัตรก็เป็นไปเพื่อผลที่กิเลสต้องการ


:b54: :b42: :b54: :b42: :b54: :b42: :b54:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อิ อิ ... พอดีไปอ่านเจอผู้นำมาลงไว้....และชอบมาก...



. :b54: :b55: :b54: .
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 469


๘. สัลเลขสูตร

[๑๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี. ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระมหา
จุนทะออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. ถวายบังคม
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิเหล่านี้มีประการต่าง ๆ ประกอบด้วยการกล่าว
ปรารภอัตตา ( อัตตวาทะ) บ้าง ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลก
(โลกวาทะ) บ้าง ย่อมเกิดขึ้นในโลก เมื่อภิกษุมนสิการธรรมเบื้องต้น
เท่านั้น การละทิฏฐิเหล่านั้น การสลัดทิ้งซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น จะมีได้ด้วยอุบาย
เหล่านี้ พระเจ้าข้า.


การละทิฏฐิ

[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนจุนทะ ทิฏฐิเหล่านี้
มีหลายประการ ประกอบด้วยอัตตวาทะบ้าง ประกอบด้วยโลกวาทะบ้าง
ย่อมเกิดขึ้นในโลก ก็ทิฏฐิเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์ใด ย่อมนอน
เนื่องอยู่ในอารมณ์ใด และฟุ้งขึ้นในอารมณ์ใด เมื่อภิกษุเห็นอารมณ์นั้น
ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ดังนี้ การละทิฏฐิเหล่านั้น การสลัด
ทิ้งซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยอุบายอย่างนี้
.


. :b54: :b55: :b54: .


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 28 ม.ค. 2010, 18:29, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


. :b45: ต่อ :b45: .


. :b54: :b55: :b54: .

ปฐมฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม

[๑๐๒] ดูก่อนจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลาง
รูปในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก อยู่. ภิกษุนั้นจะมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส. ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคือปฐม-
ฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ( สัลเลข-
ธรรม) ในวินัยของพระอริยะ แต่เราตถาคตกล่าวว่า เป็นธรรมเครื่อง
อยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ (ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม)
ในวินัยของพระอริยะ.


ทุติยฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม

อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัย
นี้ พึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม
เครื่องขัดเกลากิเลส. ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคือทุติยฌาน เราตถาคต
ไม่กล่าวว่า เป็นสัลเลขธรรมในพระวินัยของพระอริยะ แต่เราตถาคต
กล่าวว่า เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร
ในวินัยของพระอริยะ


. :b54: :b55: :b54: .


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 28 ม.ค. 2010, 18:35, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 47 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร