วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 16:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
เพราะมีเกิด จึงมีตาย
เพราะมีตาย จึงมีเกิด


ท่านอาจารย์ตรงประเด็น

ในโลกของความจริงนั้น

ไม่มีเกิด

ไม่มีตาย

มีแต่กระแสแห่งเหตุปัจจัย เป็นแค่การเปลี่ยนสภาวะ

เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี

เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงดับ



กราบเรียนมาเป็นประเด็น เผือท่านอาจารย์หมอจะมีความรู้เพิ่มเติมให้ได้อ่านกันครับ

รวมถึงท่านอื่นๆด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ mes เคยอ่านพุทธพจน์ที่ตรัสเกี่ยวกับการเกิดการตายในปัจจุบันชาติไหม

พิจารณาดูครับ



“ความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมม ย่อมไม่เป็นไปแก่บุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรมสี่ประการ

(คือ ปัญญา สัจจะ จาคะ อุปสมะ)

เมื่อไม่มีความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมมเป็นไป ย่อมเรียกได้ว่า เป็นมุนีผู้สงบ”

ข้อความที่กล่าวไว้ดังนี้นั้น เราได้กล่าวโดยอาศัยเหตุผลอะไร ?

(ชี้แจงว่า)

ความสำคัญตนย่อมมีว่า

เราเป็นบ้าง

เราไม่เป็นบ้าง

เราจักเป็นบ้าง

เราจักไม่เป็นบ้าง

เราจักเป็นผู้มีรูปบ้าง

เราจักเป็นผู้ไม่มีรูปบ้าง

เราจักเป็นผู้มีสัญญาบ้าง

เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญาบ้าง

เราจักเป็นเนวสัญญานาสัญญีบ้าง

ดูกรภิกษุ ความสำคัญตน เป็นโรคร้าย เป็นฝีร้าย เป็นศรร้าย

เพราะก้าวล่วงความสำคัญตน (ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้) ทั้งหมดได้ จึงจะเรียกว่า เป็นมุนีผู้สงบ

ดูกรภิกษุ มุนีผู้สงบ ย่อมไม่เกิด

ย่อมไม่แก่

ย่อมไม่ตาย

ย่อมไม่วุ่นใจ

ย่อมไม่ใฝ่ทะยาน สิ่งอันเป็นเหตุที่เขาจะเกิด ย่อมไม่มี

เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร

เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร

เมื่อไม่ตาย จักวุ่นใจได้อย่างไร

เมื่อไม่วุ่นใจ จักใฝ่ทะยานได้อย่างไร



“ความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมม ย่อมไม่เป็นไปแก่บุคคล ผู้ดำรงอยู่ในธรรมสี่ประการ

เมื่อไม่มีความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมมเป็นไป ก็เรียกได้ว่า เป็นมุนีผู้สงบ”

ข้อความที่เรากล่าวไว้ดังนี้ เราได้กล่าวโดยอาศัยเหตุผลดังว่ามานี้

ดูกรภิกษุ เธอจงทรงจำการจำแนกธาตุ ๖ โดยย่อ แห่งเราดังนี้"



(ที่มาหลายแห่งเช่น ม.อุ.14/693/446 ฯลฯ )

-แก่ = เสื่อม หรือ สูญเสีย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ส.ค. 2009, 10:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คุณ mes เคยอ่านพุทธพจน์ที่ตรัสเกี่ยวกับการเกิดการตายในปัจจุบันชาติไหม

พิจารณาดูครับ



“ความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมม ย่อมไม่เป็นไปแก่บุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรมสี่ประการ

(คือ ปัญญา สัจจะ จาคะ อุปสมะ)

เมื่อไม่มีความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมมเป็นไป ย่อมเรียกได้ว่า เป็นมุนีผู้สงบ”

ข้อความที่กล่าวไว้ดังนี้นั้น เราได้กล่าวโดยอาศัยเหตุผลอะไร ?

(ชี้แจงว่า)

ความสำคัญตนย่อมมีว่า

เราเป็นบ้าง

เราไม่เป็นบ้าง

เราจักเป็นบ้าง

เราจักไม่เป็นบ้าง

เราจักเป็นผู้มีรูปบ้าง

เราจักเป็นผู้ไม่มีรูปบ้าง

เราจักเป็นผู้มีสัญญาบ้าง

เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญาบ้าง

เราจักเป็นเนวสัญญานาสัญญีบ้าง

ดูกรภิกษุ ความสำคัญตน เป็นโรคร้าย เป็นฝีร้าย เป็นศรร้าย

เพราะก้าวล่วงความสำคัญตน (ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้) ทั้งหมดได้ จึงจะเรียกว่า เป็นมุนีผู้สงบ

ดูกรภิกษุ มุนีผู้สงบ ย่อมไม่เกิด

ย่อมไม่แก่

ย่อมไม่ตาย

ย่อมไม่วุ่นใจ

ย่อมไม่ใฝ่ทะยาน สิ่งอันเป็นเหตุที่เขาจะเกิด ย่อมไม่มี

เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร

เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร

เมื่อไม่ตาย จักวุ่นใจได้อย่างไร

เมื่อไม่วุ่นใจ จักใฝ่ทะยานได้อย่างไร


“ความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมม ย่อมไม่เป็นไปแก่บุคคล ผู้ดำรงอยู่ในธรรมสี่ประการ

เมื่อไม่มีความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมมเป็นไป ก็เรียกได้ว่า เป็นมุนีผู้สงบ”

ข้อความที่เรากล่าวไว้ดังนี้ เราได้กล่าวโดยอาศัยเหตุผลดังว่ามานี้

ดูกรภิกษุ เธอจงทรงจำการจำแนกธาตุ ๖ โดยย่อ แห่งเราดังนี้"



(ที่มาหลายแห่งเช่น ม.อุ.14/693/446 ฯลฯ )

-แก่ = เสื่อม หรือ สูญเสีย
คุณ mes เคยอ่านพุทธพจน์ที่ตรัสเกี่ยวกับการเกิดการตายในปัจจุบันชาติไหม

พิจารณาดูครับ



“ความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมม ย่อมไม่เป็นไปแก่บุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรมสี่ประการ

(คือ ปัญญา สัจจะ จาคะ อุปสมะ)

เมื่อไม่มีความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมมเป็นไป ย่อมเรียกได้ว่า เป็นมุนีผู้สงบ”

ข้อความที่กล่าวไว้ดังนี้นั้น เราได้กล่าวโดยอาศัยเหตุผลอะไร ?

(ชี้แจงว่า)

ความสำคัญตนย่อมมีว่า

เราเป็นบ้าง

เราไม่เป็นบ้าง

เราจักเป็นบ้าง

เราจักไม่เป็นบ้าง

เราจักเป็นผู้มีรูปบ้าง

เราจักเป็นผู้ไม่มีรูปบ้าง

เราจักเป็นผู้มีสัญญาบ้าง

เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญาบ้าง

เราจักเป็นเนวสัญญานาสัญญีบ้าง

ดูกรภิกษุ ความสำคัญตน เป็นโรคร้าย เป็นฝีร้าย เป็นศรร้าย

เพราะก้าวล่วงความสำคัญตน (ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้) ทั้งหมดได้ จึงจะเรียกว่า เป็นมุนีผู้สงบ

ดูกรภิกษุ มุนีผู้สงบ ย่อมไม่เกิด

ย่อมไม่แก่

ย่อมไม่ตาย

ย่อมไม่วุ่นใจ

ย่อมไม่ใฝ่ทะยาน สิ่งอันเป็นเหตุที่เขาจะเกิด ย่อมไม่มี

เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร

เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร

เมื่อไม่ตาย จักวุ่นใจได้อย่างไร

เมื่อไม่วุ่นใจ จักใฝ่ทะยานได้อย่างไร


“ความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมม ย่อมไม่เป็นไปแก่บุคคล ผู้ดำรงอยู่ในธรรมสี่ประการ

เมื่อไม่มีความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมมเป็นไป ก็เรียกได้ว่า เป็นมุนีผู้สงบ”

ข้อความที่เรากล่าวไว้ดังนี้ เราได้กล่าวโดยอาศัยเหตุผลดังว่ามานี้

ดูกรภิกษุ เธอจงทรงจำการจำแนกธาตุ ๖ โดยย่อ แห่งเราดังนี้"



(ที่มาหลายแห่งเช่น ม.อุ.14/693/446 ฯลฯ )

-แก่ = เสื่อม หรือ สูญเสีย


ท่านอาจารย์ใหญ่

:b8: :b8: :b8:


ที่เรารับรู้ว่าเป็นตน นั้นไม่ใช่ตน

ที่เรารับรู้ว่านั้นไม่ใช่ตน ก็ไม่ใช่ตน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ mes เคยยกข้อความหนึ่งขึ้นกล่าวบ่อยๆว่า นิพพานที่นี่เดี๋ยวนี้

ก็คือ เมื่อ กำจัดกิเลสหมักหมม ซึ่งก็คือความไม่รู้ไม่เข้าใจกายใจ (รูปนาม) หรือไม่รู้สภาวะของรูปนาม

ตามเป็นจริง หรือ ตามที่มันเป็น (=อวิชชา) เมื่ออวิชชาถูกทำลาย ก็เกิดวิชชา (ความรู้)

อุปมาเหมือนเมื่อความมืดหาย ความสว่างก็เกิดแทน ไม่ต้องไปไหนหรอก มืดมันหาย ก็สว่างโร่

พุทธพจน์นั้นก็คล้ายๆนั้น เมื่อกำจัดกิเลสได้ ก็เกิด (ชาติ) ตาย (มรณะ) คือ ชาติ/มรณะ (เกิดตาย)

กันเดี๋ยวนั้น ขณะนั้นเอง :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เมื่อกำจัดกิเลสได้ ก็เกิด (ชาติ) ตาย (มรณะ) คือ ชาติมรณะกันเดี๋ยวนั้น




:b8: :b8: :b8:

นี่คือปฏิจจสมุปบาท ใช่ไหมครับ

ปฏิจจสมุปบาทเมื่อสังเคราะห์จะเป็นหนึ่งเดียว

ถ้าแสดงแบบวิเคราะห์จะเห็นเป็นสายโซ่วงแหวนของเหตุปัจจัย



เพราะรับรู้ ฉันจึงมี โลกจึงมี

เพราะฉันรู้ที่รับรู้

ฉันจึงค้นพบเห็นความจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 10:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาคิด ดูความสำคัญตนที่หมุนไปสิครับ







ความสำคัญตนย่อมมีว่า

เราเป็นบ้าง

เราไม่เป็นบ้าง O

เราจักเป็นบ้าง

เราจักไม่เป็นบ้าง

เราจักเป็นผู้มีรูปบ้าง

เราจักเป็นผู้ไม่มีรูปบ้าง

เราจักเป็นผู้มีสัญญาบ้าง

เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญาบ้าง

เราจักเป็นเนวสัญญานาสัญญีบ้าง

ฯลฯ

ดูกรภิกษุ มุนีผู้สงบ

ย่อมไม่เกิด

ย่อมไม่แก่

ย่อมไม่ตาย

ย่อมไม่วุ่นใจ

ย่อมไม่ใฝ่ทะยาน สิ่งอันเป็นเหตุที่เขาจะเกิด ย่อมไม่มี

เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร

เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร

เมื่อไม่ตาย จักวุ่นใจได้อย่างไร

เมื่อไม่วุ่นใจ จักใฝ่ทะยานได้อย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
แม้นชาติ การเกิดก็เป็นทุกข์
แม้นชรา ความแก่ก็เป็นทุกข์
แม้นมรณะ ความตายก็เป็นทุกข์ ๆลๆ
ทั้งเกิด ทั้งตาย มันก็ทุกข์ทั้งนั้นละครับ
เพียงแต่ตอนเกิดเราจำกันไม่ได้เท่านั้นละ
ท่านผู้รู้บอกว่า เวลาเกิดมันทรมานที่สุด ... แต่ เราจำไม่ได้กันเอง
ถ้าไม่เกิด มันก็ไม่ตาย
ถ้าไม่ตาย มันก็ไม่เกิด
เพราะมีเกิด จึงมีตาย
เพราะมีตาย จึงมีเกิด
จะพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ก็ต้องสิ้นกิเลส สิ้นเชื้อแห่งการเกิดใหม่


คุณตรงประเด็น คราวนี้ตรงจริงด้วย
คุณอธิบายได้ตรงกับที่เจ้าของกระทู้เขาอยากรู้เลย พอเหมาะพอดี
ไม่ตื้นไปไม่ลึกไป ผมก็เข้าใจว่า เจ้าของกระทู้อยากรู้ระดับเกิดตายแค่นี้ คงไม่ได้หมายลึกไปหรือตื้นไป

cool

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ mes ครับ

อ้างคำพูด:
ท่านอาจารย์ตรงประเด็น

ในโลกของความจริงนั้น

ไม่มีเกิด

ไม่มีตาย

มีแต่กระแสแห่งเหตุปัจจัย เป็นแค่การเปลี่ยนสภาวะ

เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี

เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงดับ



ผมไม่สามารถเป็นอาจารย์ใครหรอกครับ

เรา-ท่าน ทั้งหลายเป็น เพื่อน-พี่-น้อง ที่ร่วมเดินทางหาทางพ้นทุกข์ด้วยกันเท่านั้น

ประเด็น ปฏิจจสมุปบาทที่แสดงตนอยู่ในปัจจุบันขณะนั้น ท่านกรัชกายนำบทธรรมมาลง(น่าจะจากหนังสือพุทธธรรม ที่นำมาจากพระพุทธพจน์อีกที) อธิบายได้ชัดเจนอยู่แล้วครับ

ตามนั้นเลย



....................


สวัสดีครับ ท่านกามโภคี

ยินดียิ่ง ที่ แวะมาทักทายครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้รู้เห็นชาติ (ชรา) มรณะ ฯลฯ ที่เป็นปัจจุบันขณะนี่แล้ว จะเข้าใจการเกิดตาย (ชาติมรณะ)
ในความหมายกระทู้ตั้ง

แต่เมื่อไม่เข้าใจชาติ มรณะ ที่เป็นปฏิจจสมุปบาทนี้ แล้วพูดถึงการเกิดการตายที่เป็นอนาคตชาติอันไกลโพ้น ก็เป็นเพียงความหวังความฝัน สร้างภาพขึ้นในใจ ไม่ต่างอะไรจากการคิดนึกเรื่องนรกสวรรค์นิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


สงสัยผมต้องถามผู้รู้แล้วครับ ตามที่อ้างไว้ข้างล่าง เขารู้เขาเห็นกันอย่างไร ที่ว่าปัจจุบันขณะ
ในขณะนั้นๆมันเกิดมันตายอย่างไร
ท่านใดพอรู้ช่วยอธิบายหน่อยครับ บังเอิญที่ผมรู้เห็นมา ไม่รู้ว่าจะถูกต้องหรือเปล่า???

อ้างคำพูด:
ผู้รู้เห็นชาติ (ชรา) มรณะ ฯลฯ ที่เป็นปัจจุบันขณะนี่แล้ว จะเข้าใจการเกิดตาย (ชาติมรณะ)

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 14:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
สงสัยผมต้องถามผู้รู้แล้วครับ ตามที่อ้างไว้ข้างล่าง เขารู้เขาเห็นกันอย่างไร ที่ว่าปัจจุบันขณะ
ในขณะนั้นๆมันเกิดมันตายอย่างไร
ท่านใดพอรู้ช่วยอธิบายหน่อยครับ บังเอิญที่ผมรู้เห็นมา ไม่รู้ว่าจะถูกต้องหรือเปล่า???

อ้างคำพูด:
ผู้รู้เห็นชาติ (ชรา) มรณะ ฯลฯ ที่เป็นปัจจุบันขณะนี่แล้ว จะเข้าใจการเกิดตาย (ชาติมรณะ)


บังเอิญที่ผมรู้เห็นมา ไม่รู้ว่าจะถูกต้องหรือเปล่า???


รู้เห็นอะไรยังไงขอรับ ที่ว่า รู้เห็นมา :b16: :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 14:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
บังเอิญที่ผมรู้เห็นมา ไม่รู้ว่าจะถูกต้องหรือเปล่า???

รู้เห็นอะไรยังไงขอรับ ที่ว่า รู้เห็นมา :b16: :b12:


ขออนุญาติไม่บอกนะครับ ไม่ใช่บอกไม่ได้ เป็นอาการสภาวะที่ปรากฏในขณะที่รูปนามดับลงพร้อมกัน
เกิดพร้อมกัน ตอนนั้นจะเห็นเองว่า ชาติ ชรา มรณะ เป็นอย่างไร เป็นสภาวะในวิปัสสนา แย้มได้แค่นี้ครับ

ถ้าพูดมากไป ผู้ที่ปฏิบัติอยู่มาอ่านเจอ อาจจดจำอยู่ในจิตไป แล้วปรากฏในสัญญาตามอำนาจสมาธิที่
หย่อนกว่าสติ ข้อนี้จะเสียมากกว่าดี อาการสัญญาที่ปรากฏเพราะไปจำคำบอกเล่าหรืออ่านเจอนั้น
แก้ยากที่สุดในอารมณ์กรรมฐาน
สภาวะต่างๆ ครูอาจารย์จะบอกต่อเมื่อเราพบแล้ว เห็นแล้ว รู้แล้ว
และเราไปส่งอารมณ์ แต่เราเรียกไม่ถูกเท่านั้นเอง ท่านถึงอธิบายว่าคืออะไร

แค่อยากรู้ว่า ที่เขาเข้าใจกันเหมือนเราหรือเปล่า ก็เท่านั้นเองครับ เพราะที่สังเกตผู้ที่เห็นแบบนี้
เห็นครั้งสองครั้งไม่เท่าไร เมื่อเห็นบ่อยๆ จะเริ่มเห็นทุกข์ภัยของรูปนามอย่างยิ่ง ถึงขาดสวรรค์วิมานไม่
อยากได้ อยากแต่จะหลุดพ้นนะครับ
ก็นึกถึงอดีตที่ผมอ่านหนังสือท่าน ปอ. ตอนนั้นอ่านแทบจะ
ท่องได้เลย ทำความเข้าใจซะไม่มี ค้นคว้ามากมาย เบื่อเลย เบื่อค้น ไม่ใช่เบื่อรูปนาม

มองไม่ยากครับว่าใครเข้าไปเห็นอาการชาติ ชรา มรณะ แล้ว ยิ่งเห็นเขาจะยิ่งเบื่อรูปนามครับ
และเขาจะลดสิ่งที่เหนี่ยวรั้งจิตเขาที่ข้องอยู่ในโลกลงอย่างเห็นได้ชัดเจนเลย

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 14:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อรู้เห็นรู้เข้าใจรูปนามจริงๆ แล้วไม่มีอารมณ์อยากไม่มีอารมณ์เบื่อ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เมื่อรู้เห็นรู้เข้าใจรูปนามจริงๆ แล้วไม่มีอารมณ์อยากไม่มีอารมณ์เบื่อ


มันจะเบื่อจะอยากก่อนที่จะไม่เบื่อไม่อยากครับ เบื่อแบบนิพพิทาญาณ
ไม่ใช่เบื่อเพราะราคะโทสะโมหะ ถ้าไม่เบื่อแบบนิพพิทาญาณก่อนก็จบเห่ครับ เพราะไม่เบื่อ
แบบนิพพิทาญาณ ก็จะไม่อยากหลุดพ้นแบบมุญจิตุกัมยตาญาณครับ แล้วการตั้งใจที่จะพิจารณา
ไตรลักษณ์เพื่อหลุดพ้นจะไม่มีตามมาด้วย สมมติว่าเบื่อหรืออยากมาแล้วตามความหมายนี้ ก็จะเลิกเบื่อ
เลิกอยาก มีแต่ตั้งใจจริงพิจารณาไตรลักษณ์ในวิปัสสนาญาณและปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นครับ ตอนนี้เอง
วางเบื่อวางอยากแล้วครับ แต่ถ้ายังไม่พ้นในทันที ก็อาจกลับมาเบื่อมาอยากได้อีกครับ

เฮ่อ...เบื่อก่อนเถอะอยากก่อนเถอะ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่มาของ เบื่อ ที่เป็นเหตุให้ อยาก

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา
สพฺเพ สงฺขารา อนตฺตาติ
ยถา ปญฺญาย ปัสสติ
อถ นิพฺพินฺทติ
เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.

เมื่อใดเห็นด้วยปัญญาแล้วว่า สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่าย นั่นแหละเป็นทางแห่งวิสุทธิ์

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร