วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 17:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปาทานขันธ์ ๕

อุปาทานขันธ์ ขันธ์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน ได้แก่ เบญจขันธ์หรือขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทาน คือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณที่ประกอบด้วยอาสวะ, ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า รูปูปาทานขันธ์, เวทนูปาทานขันธ์, สัญญูปาทานขันธ์, สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์

อุปาทานขันธสูตร

[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ รูปูปาทานักขันธ์ ๑ เวทนูปาทานักขันธ์ ๑ สัญญูปาทานักขันธ์ ๑ สังขารูปาทานักขันธ์ ๑ วิญญาณูปาทานักขันธ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละ อุปาทานักขันธ์ ๕ ประการนี้แล ฯ

(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓)

พุทธพจน์ แสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕
ปัญจขันธสูตร

[๙๕] ....."ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง"

"ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕".....

[๙๖] ....."อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน(หรือถูกอุปาทานครอบงำในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง)...เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕"....

(สํ.ข. ๑๗ / ๙๕-๙๖ /๕๘-๖๐)

"ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง.

"รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือ ธรรม(สิ่ง)อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (ส่วน)ฉันทราคะ(ก็คือตัณหา) ในรูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้นๆ"

(ฉันทะราคะ คือความชอบใจจนติด หรืออยากอย่างแรงจนยึดติด กล่าวคือตัณหา จึงเป็นเหตุปัจจัยจึงมีอุปาทานครอบงำ)

(สํ.ข. ๑๗ / ๓๐๙ / ๒๐๒)



ใน ทางพระพุทธศาสนา เราสามารถแยกกระบวนการทำงานของจิต หรือกระบวนธรรมของจิตได้เป็น ๒ แบบใหญ่ อันต่างก็ล้วนเป็นกระบวนการธรรมชาติของจิต แต่ฝ่ายหนึ่งเป็นการดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติ และอีกฝ่ายหนึ่งเมื่อดำเนิน เกิดขึ้นแล้วก่อให้เกิดความทุกข์อุปาทาน คือความทุกข์ที่ประกอบหรือถูกครอบงำด้วยอุปาทานอันเร่าร้อนเผาลนขึ้นทั้งต่อกายและใจ อันเป็นไปตามกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง

ขันธ์๕ เป็น กระบวนธรรมของจิต แบบไม่เป็นทุกข์อุปาทาน เป็นกระบวนธรรมที่จำเป็นยิ่งในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติ มีเหมือนกันทั้งในปุถุชน และพระอริยเจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่

อุปาทานขันธ์๕ เป็น กระบวนธรรมของจิต ชนิดที่ก่อให้เกิดอุปาทานทุกข์ขึ้น เป็นสภาวะธรรมชาติเหมือนกัน แต่เป็นฝ่ายที่ก่อให้เกิดทุกข์โทษภัยแก่ผู้ดำเนินอยู่ มีอยู่แต่ในปุถุชน กล่าวคือเป็นกระบวนธรรมของจิตที่ดำเนินเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทจนเกิดทุกข์อุปาทานอันแสนเร่าร้อนเผาลนขึ้นเป็นที่สุด เป็นกระบวนธรรมของจิตฝ่ายก่อให้เกิดความทุกข์ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้จึงไม่มีเกิดในเหล่าพระอริยเจ้า

อุปาทาน ความยึดมั่น, ความถือมั่น อันเป็นไปตามกำลังอำนาจกิเลส เพื่อความพึงพอใจของตัวของตน หรือ

อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น เพื่อความพึงพอใจของตัวของตน เป็นสําคัญในสิ่งใดๆทุกๆสิ่ง อันท่านตรัสว่า อุปาทาน มี ๔

๑. กามุปาทาน คือการยึดมั่นพึงพอใจติดพันในกาม ในสิ่งที่อยากได้หรือไม่อยากได้ ในกามหรือทางโลกๆ เช่นใน รูป, รส, กลิ่น, เสียง, โผฏฐัพพะ(สัมผัส)

๒. ทิฏฐุปาทาน คือการยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลสหรือความพึงพอใจของตัวของตน ในความเชื่อ, ความเข้าใจ(ทิฏฐิ), ทฤษฎี, ความคิด, ลัทธิของตัวของตน. อันมักมีความอยากให้เป็นไป หรือไม่อยากให้เป็นไปตามที่ตนเชื่อ, ตามที่ตนยึดถือ, หรือตามที่ตนยึดมั่น, ตามที่ตนเข้าใจ ถ้าผิดไปจากที่ตนพึงพอใจยึดถือหรือเข้าใจ ก็จะไม่เห็นด้วยหรือต่อต้าน โดยไม่รู้ถูกรู้ผิดตามความเป็นจริงของธรรม

๓. สีลัพพตุปาทาน คือการยึดมั่น ถือมั่น ยินดียินร้ายในศีล(ข้อบังคับ)และพรต(ข้อปฏิบัติ) อันมักเติมแต่งด้วยกิเลสหรือตัณหาอย่างเข้าใจผิดๆ หรืออย่างงมงาย หรือตามความเชื่อที่สืบต่อตามๆกันมาแต่ไม่ถูกต้อง เช่น การทรมานกายเพื่อให้บรรลุธรรม, ถือคีลหรือทําแต่บุญอย่างเดียวแล้วจะพ้นทุกข์หรือบรรลุธรรมจึงขาดการวิปัส สนา, เชื่อว่าขลังว่าศักสิทธิ์, เชื่อว่าปฏิบัติสมาธิอย่างเดียวจนแก่กล้าแล้วปัญญาบรรลุมรรคผลจักเกิดขึ้น เองจึงไม่จําเป็นต้องปฏิบัติวิปัสสนา(พิจารณาธรรม)จนมีความรู้ความเข้าใจที่ ถูกต้อง(สัมมาญาณ), ทําบุญเพื่อไปสวรรค์แต่ฝ่ายเดียว, กราบพระหรือสิ่งศักสิทธิ์หรือทําบุญเพื่อบนบานหวังความสุข ขอทรัพย์ ขออย่าให้มีทุกข์ โศก โรคภัย เสนียดจัญไรต่างๆมาแผ้วพาน, การบนบาน ฯลฯ. อันล้วนเกิดขึ้นแต่อวิชชา คือยังไม่รู้ไม่เข้าใจตามความเป็นจริง จึงไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆก็เพื่อเป็นที่ยึด ที่วางจิต คือให้เป็นกำลังจิตเป็นกำลังใจโดยไม่รู้ตามความเป็นจริงด้วยอวิชชา

๔. อัตตวาทุปาทาน คือความยึดมั่นในวาทุ หรือวาทะ(ถ้อยคํา,คําพูด)ของตนเอง คือเกิดการยึดมั่นถือมั่นเป็นที่สุดว่าเป็นของตนของตัวโดยไม่รู้ตัว เหตุเนื่องมาจากคําพูดหรือถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อแสดงความเป็นตัวตน, ของตน,หรือของบุคคลอื่น อันเป็นเพียงแค่สื่อถ้อยคําอันจำเป็นเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการสื่อสาร ซึ่งกันและกันในสังคม แต่ก็ก่อกลายให้เกิดเป็นความหลงผิดขั้นพื้นฐาน ที่เกิดในชีวิตประจําวันอย่างสมํ่าเสมอจน เป็นสังขารความเคยชินหรือการสั่งสมอันยิ่งใหญ่โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว, เนื่องเพราะความจําเป็นที่ต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นๆนี้เองโดย ทางวาจาหรือถ้อยคํา และยังต้องมีการช่วยเสริมด้วยถ้อยคําภาษาสมมุติต่างๆเพื่อใช้สื่อสารต่อกัน และกันเพื่อความเข้าใจอย่างละเอียดละออถูกต้องในชีวิตประจําวัน จึงก่อให้เกิดการสั่งสม การหลง ความเคยชิน อันก่อเป็นความจำอย่างอาสวะกิเลสแล้วยังเป็นสังขารในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง, ทําให้เกิดการมองเห็นสิ่งต่างๆเกิดการแยกออกจากกันและกัน คือก่อตัวก่อตนขึ้นตามคําพูดนั้นๆโดยไม่รู้ตัว ทําให้เกิดความจำว่าเป็นของตัวของตน, ของบุคคลอื่นเด่นชัดขึ้นในจิตโดยไม่รู้ตัว เป็นประจําทุกขณะจิตที่สื่อสารพูดคุยกัน จึงก่อให้เกิดความหลงผิดหลงยึดถือด้วยความเคยชินตามที่สั่งสมโดยไม่รู้ตัว ดังเช่น ของๆผม, ของๆคุณ, บ้านผม, รถฉัน, ลูกฉัน, เงินฉัน, สมบัติฉัน, นั่นของคุณ, นี่ของผม, นี่ไม่ใช่ของผม ฯลฯ. จนเกิดการไปยึดถือ, ยึดติด, ยินดียินร้ายหรือพึงพอใจตามภาษาที่ใช้สื่อสารกันนั้นโดยไม่รู้ตัวอยู่ตลอด เวลา ในทุกขณะจิตในชีวิตประจําวัน โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีสังคมและการแข่งขันสูง และการสื่อสารที่ทันสมัย

มองทุกข์ที่เกิดในแง่มุมของอุปาทานขันธ์๕

อุปาทานขันธ์ ๕ มองในมุมของปฏิจจสมุปบาท คือ กระบวนธรรมของขันธ์ทั้ง ๕ หรือกระบวนการทำงานที่เนื่องสัมพันธ์กันของขันธ์ทั้ง๕ ของชีวิตที่ดำเนินอยู่ แต่มีตัณหาหรือนันทิความติดเพลินเกิดขึ้น จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน จึงเป็นปัจจัยให้ขันธ์ทั้งหลาย ถูกครอบงําหรือประกอบด้วยอุปาทาน, ถ้าพิจารณาจากวงจรปฏิจจสมุปบาทก็เกิดขึ้นในองค์ธรรม "ชาติ และ ชรา"

หรือ อุปาทานขันธ์๕ ก็คือ ขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในกิเลส ให้เป็นไปตามความพึงพอใจของตัวตนเป็นใหญ่ คือมีความยึดมั่นเยี่ยงนี้แฝงอยู่ในเหล่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ในขันธ์ต่างๆของขันธ์ ๕ ตามภพที่ ได้เลือกไว้โดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดี เช่นกามภพชนิดขุ่นเคืองคับแค้นเกิดจากอุปาทานไม่ได้รับการตอบสนองความพึงพอ ใจตามที่ตัวตนคาดหวัง กามภพชนิดสุขใจก็เกิดจากอุปาทานได้รับการตอบสนองเป็นไปตามความพึงพอใจของ ตัวตน ดั่งเช่น ถ้าพูดถึงหรือคิดถึงหรือกระทําอะไรให้บุคคลบางคนเช่น ลูก พ่อแม่ คนรัก ซึ่งจะเป็น " รูป " คือสิ่งที่ถูกรู้ชนิดที่แฝงอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในสุขหรือความพึงพอใจของตัวตนเองอยู่ในที คือมีอุปาทานยึดมั่นพึงพอใจในรูปนั้นติดมาด้วยแบบรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดี อันถ้ามีตัณหากระตุ้นเพียงเล็กน้อยก็จักเป็นเหตุปัจจัยให้อุปาทานที่ นอนเนื่องอยู่ เกิดการทำงาน แล้วดำเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทได้อย่างง่ายๆทันที คือ เป็นรูปที่ก่อเป็นสุขหรือทุกข์ก็ได้แทบทันที เพราะความคุ้นเคยหรือดุจดั่งฟืนที่เคยไฟ และท่านเรียกรูปที่เกิดอย่างนี้ และรูปขันธ์หรือตัวตนที่มีอุปาทานครอบงําหรือทํางานร่วมด้วยแล้วว่า "รูปูปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานรูป"

เวทนา ก็เรียกว่า เวทนูปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานเวทนา เวทนาความรู้สึก ที่ประกอบหรือแอบแฝงด้วยความยึดมั่นด้วยกิเลส เพื่อความพึงพอใจของตัวตน

สัญญา ก็เรียกว่า สัญญูปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานสัญญา สัญญาความจำ ที่ประกอบหรือแอบแฝงด้วยความยึดมั่นด้วยกิเลส เพื่อความพึงพอใจของตัวตน

สังขาร ก็เรียกว่า สังขารูปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานสังขาร การกระทำต่างๆ ที่ประกอบหรือแอบแฝงด้วยความยึดมั่นด้วยกิเลส เพื่อความพึงพอใจของตัวตน

วิญญาณ ก็เรียกว่า วิญญานูปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานวิญญาณ การรู้แจ้ง ที่ประกอบหรือแอบแฝงด้วยความยึดมั่นด้วยกิเลส เพื่อความพึงพอใจของตัวตน



พอจําแนกการเกิดอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นได้ ๒ จําพวก

๑. เกิดจากขันธ์ ๕ ปกติ แล้วมีเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา หรือก็คือมีตัณหามากระทําต่อเวทนาที่เกิดขึ้นนั้น ตามกระบวนการเกิดขึ้นแห่งทุกข์(ปฏิจจสมุปบาท)จึงเกิดอุปาทานขึ้น ดังนั้นขันธ์ที่เหลือที่เกิดต่อไปในขบวนหรือกระบวนธรรมจึงกลับกลายเป็นขันธ์ที่มีอุปาทานร่วมหรือครอบงําด้วย หรือก็คือกระบวนของขันธ์ ๕ ที่ยังดำเนินไปไม่จบกระบวน จึงต้องดำเนินเกิดต่อเนื่องจากเวทนาต่อไป จึงดำเนินต่อเนื่องไปแต่ครั้งนี้ล้วนประกอบหรือแฝงด้วยอุปาทาน กล่าวคือดำเนินต่อไปใน ชาติ และ ชรา อันเป็นทุกข์เร่าร้อนเสียแล้ว อันเมื่อแสดงเป็นแผนภูมิร่วมระหว่างขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาท เพื่อขยายให้เกิดความเข้าใจ พอแสดงได้ดังนี้

ตา รูป วิญญาณ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ เกิดอันคืออุปาทานสัญญา อุปาทานสังขารขันธ์

หรือแบบมีรายละเอียด

ตา รูป วิญญาณ ผัสสะ สัญญาจํา เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ เกิดคือขันธ์ที่เหลือ เกิดต่อไปเป็นอุปาทานสัญญา(หมายรู้) อุปาทาน(มโน)วิญญาณ อุปาทานสังขารขันธ์

แล้วเกิดอุปาทานขันธ์ ๕ แบบข้อ ๒ ที่แสนเร่าร้อนเผาลนต่อเนื่องไปอีกหลายๆครั้ง วนเวียนเป็นวงจรย่อยๆอยู่ในชรา จนกว่าจะดับไป(มรณะ)

๒. เมื่อเกิดอุปาทานขันธ์ ดังข้อที่๑ แล้ว ก็จักเกิดอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ อันเกิดขึ้นจากความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในเรื่องนั้นๆ คือ เกิด ดับๆ อีกหลายๆครั้งหลายๆหนอยู่ในชรา จนกว่าจะดับ(มรณะ)ไป กล่าวคือ อุปาทานสังขารขันธ์ จากที่เกิดขึ้นในข้อที่ ๑ นั้น เช่น เป็นความคิดใดๆ ก็จะถูกหยิบยกมาปรุงแต่งใหม่ขึ้นอีก ดังนั้นอุปาทานสังขารขันธ์ข้างต้นนี้ จึงถูกทำหน้าที่เป็น รูปูปาทานขันธ์ หรือเป็นอุปาทานรูป ของความคิดนึกปรุงแต่งครั้งใหม่ ดังนั้นขันธ์ต่างๆที่เกิดต่อเนื่องไปในชราดังที่แสดงด้านล่างนี้ จึงล้วนถูกครอบงําไว้ด้วยอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจในตนของตนอย่างเรียบร้อยบริบูรณ์กล่าวคือทุกขันธ์ ตั้งแต่ต้นขบวนจนย่อมส่งผลไปถึงทุกๆขันธ์ที่เนื่องสัมพันธ์ต่อไป จนกว่าจะมรณะดับไป ดังวงจร

รูปูปาทานขันธ์ + ใจ + วิญญูาณูปาทานขันธ์ anired06_next.gif เวทนูปาทานขันธ์

อุปาทานขันธ์๕ต่างๆ อัน เกิดๆดับๆ วนเวียนอยู่ในชรา

สังขารูปาทานขันธ์ * เช่น คิดที่เป็นทุกข์ สัญญูปาทานขันธ์

แล้วกระบวนจิตก็ดำเนินการคิดนึกปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านไปปรุงแต่งต่อไปเนื่องด้วยกำลังอำนาจของอุปาทานจึงหยุดไม่ได้ กล่าวคือ สังขารูปาทานขันธ์* (อุปาทานสังขารขันธ์)ที่เกิดจากความคิดแรกๆหรือความคิดที่ทำหน้าที่เป็นรูป(รูปูปาทานขันธ์ - อุปาทานรูปขันธ์)ที่ถูกครอบงำด้วยอุปาทานความยึดมั่นในความพึงพอใจของตัวของตนแล้วในวงจรข้างต้น จึงเป็นเหตุปัจจัย ให้เกิดรูปูปาทานขันธ์ขึ้นใหม่อีก ดำเนินและเป็นไปเยี่ยงนี้ อย่างต่อเนื่องหรือค่อนข้างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ดังวงจรข้างต้น โดยไม่มีสติรู้เท่าทัน หรือรู้เท่าทันแต่ไม่สามารถหยุดได้เสียแล้วเพราะประกอบด้วยกำลังของอุปาทาน อันแรงกล้า อันเป็นไปโดยอาการธรรมชาติของปุถุชนผู้ยังไม่มีวิชชา อันคือดำเนินไปตามวงจรการเกิดขึ้นของทุกข์ปฏิจจสมุปบาทอันเป็นปรมัตถธรรม

หรือคือขันธ์ ๕ ที่ดําเนินไปตามภพอันคือสภาวะหรือบทบาทที่เลือก อันถูกครอบงําภายใต้อิทธิพลของอุปาทานนั่นเอง

ตัวอย่าง อุปาทานขันธ์ในแบบ ข้อ ๒

มีภพขัดข้องขุ่นเคือง มีความกลุ้มใจคิดอยากได้เงิน และเป็นทุกข์ใน"ชาติ-ชรามรณะ"แล้ว เนื่องจากความอยาก(ตัณหา)หรือความจําเป็นต้องใช้เงิน ดังนั้นเมื่อครุ่นคิดปรุงแต่งในเรื่องนี้ อันคือการเกิดของขันธ์ ๕ แต่เป็นอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ เนื่องจากยังไม่ได้รับการตอบสนองตามตัณหาความอยากได้ อยากมี อยากให้เป็นไป ตามความพึงพอใจของตัวของตน

๑.ใจ คิด(อยากได้เงิน) ๓.(มโน)วิญญาณ ผัสสะ ๔.สัญญา ๕.เวทนา ๖.สัญญา ๗.(มโน)วิญญาณ ๘.สังขาร

๑.ใจ คือสฬายตนะหรืออายตนะภายในเหมือนตา หู จมูก ลิ้น กาย อันรวมเป็น ๖ อันปกติมีอวิชชาแฝงตัวอยู่แล้ว

๒."ความคิดอยากได้เงิน" อันเป็นธรรมารมณ์ทำหน้าที่เป็น"รูป" คือสิ่งที่ถูกรู้ แต่เป็นชนิดที่มีตัณหาอันก่ออุปาทานติดมาด้วยแล้วตามวงจรปฏิจจสมุปบาท จึงเป็นอุปาทานรูป(รูปูปาทานขันธ์) มีอุปาทานแฝงอยู่แล้วในรูปหรือเงินนั้น คือมีความพึงพอใจของตัวของตนในเงินหรือรูปนั้นร่วมอยู่ในจิตอยู่แล้ว

๓.(มโน)วิญญาณที่เป็นตัวกลางในการสื่อนํา ย่อมนําความพึงพอใจที่ยังไม่ได้รับการสนองที่มีนั้นไปด้วยตามหน้าที่ กลายเป็นวิญญาณที่มีแฝงความขุ่นเคืองขัดข้องตามภพที่ครอบงำร่วมติดไปด้วยในที จึงเรียกวิญญาณูปาทานขันธ์ หรืออุปาทานวิญญาณ

๔. สัญญา ความจําได้ในรูปที่เกิดขึ้นย่อมนึกถึง คุณค่าของเงิน และจํารู้ว่าใช้จ่ายเพื่อสิ่งใดๆได้ ร่วมมากับภพปฏิฆะจากการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองตามความพึงพอใจของตนในความ คิดเรื่องเงินนั้นๆ จึงเป็นสัญญูปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานสัญญา

๕.เวทนาที่เกิดเป็น "ทุกขเวทนา" เพราะความคิดอยากได้เงินนั้นแต่ยังไม่ได้ จึงเป็นเวทนูปาทานขันธ์ อันมีภพขัดข้องขุ่นเคืองเพราะอุปทานความพึงพอใจยินดียังไม่ได้รับการตอบสนองดังใจตน ตามตัณหาความอยาก

๖.สัญญาเกิดอีกครั้ง รวบรวมข้อมูลต่างๆทั้งเวทนา, ทั้งอุปาทานความพึงพอใจที่มีอยู่จึงยังคงเป็นสัญญูปาทานขันธ์ เพื่อหมายรู้สรุปโดยมีอุปาทานร่วมในขบวนการหมายรู้นี้เช่นกัน จึงหมายรู้เข้าลักษณะเอนเอียงไปตามความพึงพอใจของตนเป็นแก่นเป็นแกน

๗.(มโน )วิญญาณเกิดอีกครั้ง มารับรู้ สรุปข้อมูล ตัดสินใจ แล้วนําข้อมูลทั้งหมดอันล้วนแต่มีอุปาทานแฝงอยู่ทั้งสิ้น นําส่ง"สังขารขันธ์" เพื่อตอบโต้หรือสนองข้อมูลอันเกิดจากเวทนาและสัญญา

๘.สังขาร ก็คิดอ่านเจตนาขึ้นว่า(สัญเจตนา) จะทําอย่างไร อันแน่นอนว่าย่อมอยู่ภายใต้อิทธิพลของอุปาทานต่างๆตามที่แอบแฝงมานั้น เกิดเป็นสังขารูปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานสังขาร คือเกิดเจตนาคิดอ่านเพื่อกระทํา, พูด , คิด(อันคือการกระทําทาง กาย, วจีสังขาร, มโนสังขาร) เพื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างก็ได้ หลายๆครั้งหลายๆหน ซึ่งล้วนถูกครอบอยู่ในอิทธิพลของอุปาทานที่ไม่ได้รับการสนองหรือภพปฏิฆะอันขุ่นข้องและขัดเคืองทั้งสิ้น ซึ่งล้วนแต่ก่อให้เป็นทุกข์

กายสังขาร-ออกไปทํางานหาเงินตามเจตนา หรือเล่นการพนัน ซื้อสลากกินแบ่ง

หรือ เกิดวจีสังขาร บ่นอยากได้เงิน บ่นถึงความจน ความจําเป็นต่างๆนาๆ

หรือ เกิดมโนสังขาร คิดฟุ้งซ่านหาเงิน หรือวางแผนหาเงิน วางแผนใช้เงิน อิจฉาคนมีเงิน ปล้น...ฯลฯ. ล้วนก่อทุกข์ใจทั้งสิ้น ทําให้จิตขุ่นมัวเศร้าหมองไปคิดนึกปรุงแต่งในเรื่องอื่นๆบานปลายออกไปอีก

และ สังขารคิดใดๆที่ขึ้นเกิดอีก ก็จักเป็นอุปาทานขันธ์๕เกิดใหม่ขึ้นอีก เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในทุกข์ คือความคิดที่อยากจะได้เงิน, หาเงินอย่างไร ซึ่งเป็นไปตามวงจรในช่วง "ชาติ-ชรามรณะ" ในสภาพชราหรือความแปรปรวนต่างๆนาๆ แล้วก็ดับไปและเก็บสะสมเป็นอาสวะกิเลส (ดูภาพวงจร สีแดงที่กําลังกระพริบคืออุปาทานขันธ์๕ที่เกิดๆดับๆอย่างต่อเนื่อง)

เห็นได้ว่าอุปาทานเริ่มมาตั้งแต่หัวขบวนของขันธ์๕คือรูปจนจบสังขาร, และยังจะเกิดอุปาทานขันธ์๕อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะมีสติ หรือถูกเบี่ยงเบนบดบังด้วยสาเหตุอื่นๆ

ตัวอย่างอุปาทานขันธ์๕ มองแบบขันธ์๕, ใจคิดถึงคนที่เกลียดหรือทําให้เราโกรธหรือเรื่องที่เกลียด

ใจ + ธรรมารมณ์(คิดในเรื่องคนที่เกลียดนั้น) + มโนวิญญาณหรือวิญญาณของใจรับรู้.....เกิดสัญญาขั้นแรกจําได้ถึงความเกลียด โกรธนั้น ทําให้เกิดทุกขเวทนาขึ้น ทันทีเพราะเป็นทุกขเวทนาที่จําได้อยู่แล้ว สัญญาหมายรู้ทั้งหลายรวบรวมสรุปภายใต้อิทธิพลของความจําเดิมๆ..... มโนวิญญาณใจรับรู้ข้อมูลทั้งหมดตัดสินใจ..... สังขารขันธ์อันมีอิทธิพลของความจําเดิมๆครอบงำอยู่ ทําให้ความคิดอ่าน(สัญเจตนา-เจตนา)ในการกระทําใดๆทางกาย ทางวาจา ใจ-คิดอันใด ล้วนแต่เป็นสิ่งที่กระทําตอบโต้หรือตอบสนองต่อทุกขเวทนาที่เกิดนั้นทั้งสิ้น (เช่น ทางกาย-ลงมือลงไม้คนที่เกลียด, ทางวาจา-นินทา ด่าทอต่างๆนาๆ, ทางใจ-ครุ่นคิดด่อทอ สาปแช่งอยู่ในใจ) มีอาการปฏิฆะเกิดขึ้นชั่วขณะตามสภาวะธรรม(ชาติ)แล้วก็ดับไปถ้าไม่คิดปรุงแต่งให้เกิดตัณหาขึ้นมา ต้องยอมรับและเข้าใจเวทนาที่เกิดขึ้นนั้นก็จักไม่เป็นทุกข์ นี้เป็นเพียงตัวอย่างของขันธ์๕ปกติธรรมดายังไม่ใช่อุปาทานขันธ์๕แท้ๆ เป็นแค่ขันธ์๕ในความทุกข์เดิมๆ ดับได้ง่ายถ้ารู้เท่าทัน

แต่ถ้าเกิดตัณหาความอยาก,ไม่อยาก ในทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากความคิดปรุงแต่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นอีก ก็เป็นอันเข้าไปในกระบวนการเกิดทุกข์อีกทันที อันยังให้ทุกขเวทนานี้กลายเป็นอุปาทานเวทนาอันยังให้เกิดอุปาทานขันธ์ต่างๆอันเป็นทุกข์ และขยายปรุงแต่งต่อเติมเกิดๆดับๆไปเรื่อยๆ หรือครอบงําไปยังเรื่องอื่นๆอีกอันเนื่องมาจากทุกข์ที่เกิดและจิตขุ่นมัวที่บังเกิดขึ้นแล้วนั่นเอง

ข้อสังเกตุ สังขารคิดที่เกิดขึ้นในปฏิจจสมุปบาทความจริงแล้วแฝงด้วยทุกข์ หรือเป็นอุปาทานขันธ์๕อยู่ในทีอยู่แล้วคือนอนเนื่องยังไม่ทํางานเพราะเกิดแต่อาสวะกิเลส หรือสัญญาชนิดมีกิเลส แต่ถ้ามีตัณหาปรุงแต่งเข้าไปขึ้นมาก็จะเกิดทุกข์ซํ้าขึ้นอีก อันเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท อย่าเกิดตัณหาอยาก,ไม่อยากเข้าไปอีกจักเป็นทุกข์จริงๆ อันรวมทั้งหยุดคิดนึกปรุงแต่งด้วยเพราะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาขึ้นใหม่อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาต่อเวทนาที่เกิดขึ้นใหม่ได้ด้วย

ส่วนสังขารขันธ์คิดหรือจิตสังขารในขันธ์๕ เป็นสังขารคิดที่เป็นปกติธรรมชาติในการดําเนินชีวิตให้เป็นปกติ อย่าใส่ตัณหาความอยากและไม่อยาก และหยุดคิดนึกปรุงแต่งด้วยเช่นกัน เท่านั้นก็จะจางคลายจากทุกข์



ข้อคิด

ตัณหา ที่เกิดขึ้นในบางครั้งเราสามารถสังเกตุเห็นได้อย่างชัดเจนเช่นความทะยานอยาก หรือไม่อยากในสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุนแรง แต่เดิมเรามีอวิชชาความไม่รู้ว่าเป็นโทษจึงมักปล่อยปละละเลย หรือสนองตอบตัณหาความต้องการนั้น อันทําให้กิเลสตัณหานั้นเติบโตกล้าแข็ง จนในที่สุดก็ไม่สามารถสนองตามตัณหานั้นได้ในที่สุด

และในความเป็นจริงนั้นส่วนใหญ่ตัณหามักแอบแฝงเข้ามาในรูปของความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆนาๆอันล้วนยังให้เกิดเวทนา, ความเพลิดเพลิน(นันทิ)ตลอดจนคิดเรื่อยเปื่อย สารพัดรูปแบบ อันมักทําให้ผู้ปฏิบัติตามไม่ทันเล่เหลี่ยมมายาของจิตตนเอง ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือเมื่อสังขารขันธ์ในขันธ์๕ทํางานเรียบร้อยตาม หน้าที่ของตัวแล้ว ออกมาเป็นสังขารขันธ์ใดๆก็ตามแม้แต่ความโกรธก็ไม่เป็นไร เขาเพียงแต่ทําหน้าที่ของเขาอย่างถูกต้องตามข้อมูลที่มี, หน้าที่อันพึงกระทําของเราคือละตัณหาที่มักแอบแฝงมากับความคิดนึกปรุงแต่ง อันยังให้เกิดเวทนา โดยการหยุดนึกคิดปรุงแต่งนั่นเอง อย่าให้จิตมีโอกาสหลอกล่อปรุงแต่งให้เป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวออกไป อันคือการเกิดของขันธ์๕ขึ้นอีกครั้งหรือหลายๆครั้ง อันย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้นอีกด้วยอย่างแน่นอน อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ขึ้นมา, อันนี้แหละที่จักเป็นโอกาสอันดีงามของตัณหาในอันที่จักคืบคลานแอบแฝงเข้ามากับความนึกคิดปรุงแต่งนั้นๆ หรือก็คือสมควรถืออุเบกขาเสียนั่นเอง

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


มิจฉาทิฏฐิ

ถาม


มิจฉาทิฏฐิ หมายความว่าอย่างไร

ตอบ


หมายความว่า มีความเห็นผิด มีความเข้าใจผิด






ถาม


มิจฉาทิฏฐินั้น เมื่อจะกล่าวโดยย่อๆ มีกี่ประการ ในที่นี้หมายเอามิจฉาทิฏฐิอะไร

ตอบ


มี ๓ ประการ คือ




๑. สักกายทิฏฐิ ๒๐ ยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตน




๒. มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ ที่แสดงไว้ในพรหมชาลสูตร แห่งสีลขันธวรรค




๓. นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๒ ที่แสดงไว้ในสามัญญผลสูตรแห่งสีลขันธวรรค









สำหรับมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวในมโนทุจติตนี้ มุ่งหมายเอา นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ ที่สำเร็จเป็นกรรมบถเท่านั้น ส่วนมิจฉาทิฏฐิอื่นๆ นั้น เป็นเพียงทิฏฐิสามัญเท่านั้น






ถาม


นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ นั้น คืออะไรบ้าง

ตอบ


นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ นั้น คือ




๑. นัตถิกทิฏฐิ ความยินดีพอใจในความเห็นที่เข้าใจว่า การกระทำทั้งหลาย จะเป็นความดีก็ตาม ความชั่วก็ตาม ไม่มีผลสนองในอนาคต- ชาติ ปฏิเสธ เช่น กุศลเจนาในการให้ทานไม่มีผล การบูชา ต่างๆ ก็ไม่มีผล สุคติทุคติก็ไม่มี กรรมทั้งหลายไม่มีผล โลกนี้โลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มีคุณ เทวดา พรหม ไม่มี- ในโลกนี้ สมณพราหมณ์ที่สามัคคีปฏิบัติชอบไม่มีในโลกนี้ หรือโลกหน้า ผู้ตรัสรู้เองไม่มี ดังนี้เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะ มีอุจเฉททิฏฐิ คือ ความเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายตายแล้วสูญ ไม่มีการเกิดอีก ปฏิเสธทั้งผลปฏิเสธทั้งกรรมไปด้วย




๒. อเหตุกทิฏฐิ มีความยินดีพอใจในความเห็นที่เข้าใจว่า สัตว์ทั้งหลาย ที่ได้รับความเศร้าหมองเร่าร้อน หรือความสะดวกสบายก็ตาม ในปัจจุบันนี้ ไม่ได้อาศัยอะไรเป็นเหตุให้เกิดขึ้นเลย เป็นไป เองทั้งสิ้น สัตว์ทั้งหลายที่จะบริสุทธิ์ก็เป็นไปเอง ไม่ใช่เป็นไป ด้วยเหตุปัจจัย หรือเหตุปัจจัยไม่ได้ทำให้สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์ มีความเห็นปฏิเสธเหตุของกรรม และมีความเห็นต่อไปว่า ผลของกรรมก็ย่อมไม่มีเหมือนกัน เป็นอันว่า ปฏิเสธ ทั้งเหตุทั้งผลไปด้วย




๓. อกริยทิฏฐิ ความยินดีพอใจในความเห็นที่เข้าใจว่า สัตว์ทั้งหลาย ทำดีก็ตาม ทำชั่วก็ตาม เป็นสักแต่ว่ากระทำ ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป จะทำเองก็ตาม ใช้ให้คนอื่นทำก็ตาม ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป กระทำร้ายผู้อื่น การลงโทษผู้อื่น ให้ได้รับความเดือดร้อน จะทำเองก็ตาม ใช้ให้คนอื่นทำ ก็ตาม ไม่ชื่อว่าทำบาป ตลอดจนการประพฤติ ผิดศีลทุกๆ ข้อ เห็นว่าไม่เป็นบาปทั้งนั้น เป็นอันว่า ปฏิเสธกรรมอันเป็นตัวเหตุ และปฏิเสธผลของกรรม ไปในตัวด้วย






ถาม


องค์ของมิจฉาทิฏฐิ มีเท่าไร อะไรบ้าง

ตอบ


มี ๒ ประการคือ




๑.


อตฺถวิปรีตตา


ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่ผิด




๒.


ตถาภาวุปฏฺฐานํ


เชื่อและยินดีพอใจในอารมณ์นั้น






ถาม


มิจฉาทิฏฐิต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ให้โทษต่างกันอย่างไร

ตอบ


ให้โทษต่างกันคือ นัตถิกทิฏฐิ อเหตุกทิฏฐิ อกริยาทิฏฐิ ทั้ง ๓ นี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นที่ครบองค์กรรมบถ เป็นอปายคมนียะ คือ เป็นชนกกรรมนำไปปฏิสนธิ ในอบายภูมิ ส่วนมิจฉาทิฏฐิอื่นๆ ไม่ครบองค์กรรมบถ ก็เป็นอกุศลทุจริต ให้ผลในปวัตติกาลได้






ถาม


มิจฉาทิฏฐิมีโทษมาก มีโทษน้อย เพราะเหตุไร

ตอบ


มีโทษมาก เพราะเหตุดังนี้




๑. เพราะอาเสวนะมาก




๒. เพราะมีความเห็นผิดดิ่ง









มีโทษน้อย เพราะเหตุดังนี้




๑. เพราะอาเสวนะน้อย




๒. เพราะมีความเห็นผิดไม่ดิ่ง

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม


ในอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ นั้น ข้อไหนเกิดขึ้นด้วย อำนาจโลภมูลและโทสมูล

ตอบ


ปาณาติบาต ๑ ผรุสวาจา ๑ พยาบาท ๑


ทั้ง ๓ นี้ เกิดขึ้นด้วยอำนาจโทสมูล




กาเมสุมิจฉาจาร ๑ อภิชฌา ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑


ทั้ง ๓ นี้ เกิดขึ้นด้วยอำนาจโลภมูล









อทินนาทาน ๑ มุสาวาท ๑ ปิสุณาวาจา ๑ สัมผัปปลาปะ ๑




ทั้ง ๔ นี้ เกิดขึ้นด้วยอำนาจอกุศลทั้ง ๒ คือ โลภมูล และ โทสมูล









เจตสิกทั้ง ๓ ดวงนี้ โลภเจตสิก ๑ โทสเจตสิก ๑ โมหเจตสิก ๑




ย่อมประกอบกับอกุศลจิต ๑๒ ดวง




อกุศลจิต ๑๒ ดวง ย่อมเป็นเหตุให้เกิดอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ




ฉะนั้น อกุศลกรรมบถนั้น ถ้านับด้วยจิตตุปบาทก็ได้แก่อกุศลจิต ๑๒ ดวง






ถาม


ปฏิบัติถึงขั้นไหน จึงจะละอกุศลกรรมบถเหล่านี้ได้ โดยเด็ดขาด ยกหลักฐานประกอบด้วย

ตอบ


ปฏิบัติถึงขั้นโสดาปัตติมัคคญาณเป็นต้น จนถึง อรหัตตมัคคญาณ จึงจะละอกุศลกรรมบถเหล่านี้ได้ โดยเด็ดขาด ดังมีหลักฐานในวิสุทธิมรรค ภาค ๓ หน้า ๓๓๘ รับรองไว้ว่า




กมฺมปเถสุ ปาณาติปาโต อทินฺนาทานํ กาเมสุ มิจฉาจาโร มุสาวาโท มิจฺฉาทิฏฐีติ อิเม ปฐมญาณวชฺฌา




บรรดากรรมบถทั้ง ๑๐ นั้น ปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ๑ มุสาวาท ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑




อกุศลกรรม ทั้ง ๕ ข้อนี้ ละได้โดยเด็ดขาด ด้วยอำนาจ โสดาปัตติมัคคญาณ









ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา พฺยาปาโทติ ตโย ตติยญาณวชฺฌา




ปิสุณาวาจา ๑ ผรุสวาจา ๑ พยาบาท ๑




อกุศลกรรมบถทั้ง ๓ นี้ ละได้โดยเด็ดขาดด้วยอำนาจ อนาคามิมัคคญาณ









สมฺผปฺปลาปาภิชฌา จตุตฺถญาณวชฺฌา สัมผัปปลาปะ ๑ อภิชฌา ๑




อกุศลกรรมบถทั้ง ๒ ข้อนี้ ละได้โดยเด็ดขาด ด้วยอำนาจอรหัตตมัคคญาณ ดังนี้

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


คาถาธรรมบท นาควรรคที่ ๒๓

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

เราจักอดกลั้นซึ่งคำล่วงเกิน ดุจช้างอดทนซึ่งลูกศรที่ออก
มาจากแล่งในสงคราม ฉะนั้น เพราะคนทุศีลมีมาก ชน
ทั้งหลายย่อมนำสัตว์พาหนะที่ฝึกหัดแล้วไปสู่ที่ชุมนุม พระ
ราชาย่อมทรงพาหนะที่ได้ฝึกหัดแล้ว ในหมู่มนุษย์คนที่ได้
ฝึกแล้ว อดทนซึ่งคำล่วงเกินได้ เป็นผู้ประเสริฐสุด ม้า
อัสดร ม้าอาชาไนย ม้าสินธพ และช้างกุญชรผู้มหานาค
ชนิดที่นายควานฝึกแล้ว จึงเป็นสัตว์ประเสริฐ บุคคลผู้มีตน
อันฝึกแล้ว ประเสริฐกว่าพาหนะเหล่านั้น บุคคลผู้ฝึกตน
แล้ว พึงไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไปด้วยตนที่ฝึกแล้ว ฝึกดีแล้ว
ได้ ฉันใด บุคคลพึงไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไปแล้วด้วยยาน

เหล่านี้ ฉันนั้น หาได้ไม่ กุญชรนามว่า ธนปาลกะ ผู้ตก
มันจัด ห้ามได้ยาก เขาผูกไว้แล้ว ย่อมไม่บริโภคอาหาร
กุญชรย่อมระลึกถึงป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง เมื่อใด บุคคลเป็น
ผู้บริโภคมาก มักง่วงซึม นอนหลับ พลิกกลับไปมา ดุจ
สุกรใหญ่อันบุคคลปรนปรือด้วยเหยื่อ เมื่อนั้น บุคคลนั้น
เป็นคนเขลาเข้าห้องบ่อยๆ จิตนี้ได้เที่ยวไปสู่ที่จาริกตาม
ความปรารถนา ตามความใคร่ ตามความสุข ในกาลก่อน
วันนี้ เราจักข่มจิตนั้นโดยอุบายอันแยบคาย ดุจนายควาน
ช้างผู้ถือขอข่มช้างผู้ตกมัน ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดี
ในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้น
จากหล่มคือกิเลสที่ถอนได้ยาก ดุจกุญชรผู้จมแล้วในเปือกตม
ถอนตนขึ้นได้ ฉะนั้น ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญา
รักษาตน ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็น
นักปราชญ์ไซร้ บุคคลนั้นพึงครอบงำอันตรายทั้งปวง มีใจ
ชื่นชม มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น ถ้าว่าบุคคลไม่พึงได้
สหายผู้มีปัญญารักษาตน ผู้เที่ยวไปด้วยกันมีปกติอยู่ด้วย
กรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ บุคคลนั้นพึงเที่ยวไปผู้เดียว
ดุจพระราชาทรงละแว่นแคว้น อันพระองค์ทรงชนะ แล้วเสด็จ
เที่ยวไปพระองค์เดียว ดุจช้างชื่อมาตังคะละโขลงเที่ยวไป
ตัวเดียวในป่า ฉะนั้น การเที่ยวไปของบุคคลผู้เดียวประเสริฐ
กว่า เพราะความเป็นสหายไม่มีในเพราะชนพาล บุคคลพึง
เที่ยวไปผู้เดียว ดุจช้างชื่อมาตังคะ มีความขวนขวายน้อย
เที่ยวไปในป่า และไม่พึงทำบาปทั้งหลาย สหายทั้งหลาย
เมื่อความต้องการเกิดขึ้น นำความสุขมาให้ ความยินดีด้วย
ปัจจัยตามมีตามได้ นำมาซึ่งความสุข บุญนำความสุขมา

ให้ในเวลาสิ้นชีวิต การละทุกข์ได้ทั้งหมดนำมาซึ่งความสุข
ความเป็นผู้เกื้อกูลมารดานำมาซึ่งความสุขในโลก ความเป็น
ผู้เกื้อกูลบิดานำมาซึ่งความสุข ความเป็นผู้เกื้อกูลสมณะนำ
มาซึ่งความสุขในโลกและความเป็นผู้เกื้อกูลพราหมณ์นำมาซึ่ง
ความสุขในโลก ศีลนำมาซึ่งความสุขตราบเท่าชรา ศรัทธา
ตั้งมั่นแล้วนำมาซึ่งความสุข การได้เฉพาะซึ่งปัญญานำมาซึ่ง
ความสุข การไม่ทำบาปทั้งหลายนำมาซึ่งความสุข ฯ
จบนาควรรคที่ ๒๓

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: ไม่พูดหยาบและ ใครจะดีจะชั่วก็ช่างเขา :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 19:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


นรกภูมิ

การเกิดในสุขคติมีจำนวนน้อยเท่า เขาของโค แต่ผู้ที่ตกอยู่ในนรกมีจำนวนมากเท่า ขนของโค

หากไม่มีพระพุทธเจ้าในโลกนี้ สัตวทั้งหลายในสังสารวัฏนี้จะรู้ได้อย่างไรว่ามี ภูมิที่น่าสพึงกลัวถึงเพียงนี้อยู่ ข้อนี้นับเป็นพระมหากรุณา ของพระพุทธเจ้าอย่างยิ่งที่ทรงตรัส ชี้ทางให้ สัตว์โลกทั้งหลายตั้งมั่น อยู่ในกุศลธรรม นรกคือ ภูมิที่มีแต่ทุกข์ไม่มีกุศลจิต เกิดขึ้นเลยในระหว่างที่เสวยทุกข์อยู่ ท่านลองคิดดูว่า เราต้องอยู่ในสถานที่ที่มีแต่ทุกข์กายและใจ ตลอดเวลาไม่มีเว้นเลย นรกนั้นทุกข์นัก การไปเกิดที่นั้นกว่าจะได้หลุดมา นานนักหนาเพราะอายุของ สัตว์นรกยาวนานมาก นรกเป็นดินแดนของจิตที่มีแต่อกุศล สิ่งที่นำสัตว์ไปเกิดก็คือสิ่งที่สัตว์นั้นกระทำนั้นเอง ไม่ใช่อยู่ดีก็โชคร้ายได้ไปเกิดที่นั้น พวกเราทั้งหลายที่เสวยชาติขณะที่เป็นมนุษย์นี้ นับว่ามีบุญมากแล้ว ควรจะใช้โอกาสนี้ในการ สร้างกุศลให้ยิ่งๆขึ้นไป อย่าได้ประมาทในวัย จงมีความตั้งมั่นในคำสอนของพระพุทธ เจ้าเถิด อย่าทำปาบ จงทำบุญ ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว สาธุ ขออนุโมทนา

นรกภูมิในพระพุทธศาสนา

นรกแบ่งเป็นขุมๆตามอำนาจของกรรมที่เหล่าสัตว์โลกกระทำไว้บันดาลให้เกิดขึ้น นรกมีทั้งหมด 457 ขุม เยอะมากถ้าเทียบกับ สุขคติภูมิ26 ชั้น แสดงว่าสัตว์โลกกระ ทำปาบมากกว่าบุญมาก ที่อยู่ของสัตว์นรกจึงเยอะกว่ามาก นรกจะขยายตัวออกไปไม่สิ้นสุดตามจำนวนที่มากขึ้นของสัตว์นรก ฉะนั้นนรกไม่เหมื่อนคุกที่มีวันเต็ม นรกไม่มีทางเต็มเลย นรกแบ่งตามอำนาจของกรรมดังนี้

* มหานรก 8 ขุม
* อุสสทนรก 128 ขุม
* ยมโลก 320 ขุม
* โลกกันตนรก 1 ขุม

มหานรก 8ขุม

1. สัญชีวมหานรก ขุมนรกไม่มีวันตาย สัตว์นรกมีอายุ 500 ปี 1วันนรกขุมนี้เท่ากับ 5ล้านปีมนุษย์
2. กาฬสุตตมหานรก ขุมนรกบรรทัดดำสัตว์นรกมีอายุ1,000ปี 1วันนรกขุมนี้เท่ากับ 36ล้านปีมนุษย์
3. สังฆาตมหานรก ขุมนรกภูเขาขยี้กาย สัตว์นรกมีอายุ 2,000 ปี 1วันนรกขุมนี้ เท่ากับ 145 ล้านปี
4. โรรุวมหานรก ขุมนรกร้องไห้ สัตว์นรกมีอายุ 4,000 ปี 1วันนรกขุมนี้เท่ากับ 234 ล้านปีมนุษย์
5. มหาโรรุวมหานรก ขุมนรกร้องดังสนั่น สัตว์นรกมีอายุ 8,000 ปีนรก 1วันนรกเท่ากับ 9,216 ล้านปี
6. ตาปนมหานรก ขุมนรกแห่งความเร่าร้อนสัตว์นรกมีอายุ16,000ปี 1วันนรกเท่ากับ 184,212 ล้านปี
7. มหาตาปนมหานรก ขุมนรกแห่งความเร่าร้อนยิ่ง สัตว์นรกมีอายุ ครึ่งกัป
8. อเวจีมหานรก ขุมนรกแห่งไฟ สัตว์นรกมีอายุ 1 กัป

อุสทนรก128ขุม เป็นบริวารของมหานรกทั้ง8โดยแบ่งแยกดังนี้

1. อุสทนรกอยู่รอบ สัญชีวมหานรก 16ขุม
2. อุสทนรกอยู่รอบ กาฬสุตตตมหานรก 16 ขุม
3. อุสทนรกอยู่รอบ สังฆาตมหานรก 16 ขุม
4. อุสทนรกอยู่รอบ โรรุวมหานรก 16 ขุม
5. อุสทนรกอยู่รอบ มหาโรรุวะมหานรก 16 ขุม
6. อุสทนรกอยู่รอบ ตาปนมหานรก 16 ขุม
7. อุสทนรกอยู่รอบ มหาตาปนมหานรก 16 ขุม
8. อุสทนรกอยู่รอบ อเวจีมหานรก 16 ขุม

อุสทนรก128 ขุม ร่าย รอบมหานรกทั้ง8โดยอยู่ประจำทั้ง4ทิศ ทิศละ4ขุม มีชื่อเรียกเหมื่อนกันทั้งหมด ไม่กล่าวถึงอายุของสัตว์นรกที่ต้องเสวยทุกข์ ในอุสทนรกอย่างชัดเจน นรกขุมนี้มีชื่อเรียกดังนี้

1. คูถนรก ขุมนรกเห่งขี้เน่า
2. กุกกุฬนรก ขุมนรกแห่งเถ้ารึง
3. อสิปัตตนรก ขุมนรกมะม่วงเหล็กมหาภัย
4. เวตรณีนรก ขุมนรกน้ำกรด
ยมโลก 320 ขุม จัดเป็นบริวารชั้นนอกของมหานรกทั้ง 8 ขุม โดยแบ่งแยกดังนี้

1. ยมโลกอยู่รอบ อุสทนรกใกล้ สัญชีวมหานรก 40 ขุม
2. ยมโลกอยู่รอบ อุสทนรกใกล้ กาฬสุตตมหานรก 40 ขุม
3. ยมโลกอยู่รอบ อุสทนรกใกล้ สังฆาตมหานรก 40 ขุม
4. ยมโลกอยู่รอบ อุสทนรกใกล้ โรรุวมหานรก 40 ขุม
5. ยมโลกอยู่รอบ อุสทนรกใกล้ มหาโรรุวมหานรก 40 ขุม
6. ยมโลกอยู่รอบ อุสทนรกใกล้ ตาปนมหานรก 40 ขุม
7. ยมโลกอยู่รอบ อุสทนรกใกล้ มหาตาปนมหานรก 40 ขุม
8. ยมโลกอยู่รอบ อุสทนรกใกล้ อเวจีมหานรก 40 ขุม

ยมโลกอยู่ในทิศทั้ง4ของอุสทนรกทิศละ 10 ขุม มีชื่อที่เรียกเหมื่อนกันทั้งหมด มีชื่อต่างๆดังนี้

ยมโลกประจำทิศต่างๆทิศละ 10 ขุม

* ขุมที่1 โลหะกุมภีนรก ขุมนรกแห่งหม้อโลหะ
* ขุมที่2 สิมพลีนรก ขุมนรกต้นงิ้ว
* ขุมที่3 อสินขนรก ขุมนรกแห่งสัตว์ร้าย
* ขุมที่4 ตามโพทกนรก ขุมนรกน้ำทองแดงเดือด
* ขุมที่5 อะโยคุฬะนรก ขุมนรกก้อนทองแดงร้อน
* ขุมที่6 ปิสสกปัพพะตนรก ขุมนรกภูเขายนต์
* ขุมที่7 สุธนรก ขุมนรกแกลบไฟ
* ขุมที่8 สีตะโลสิตะนรก ขุมนรกน้ำกรดเย็น
* ขุมที่9 สุนขะนรก ขุมนรกพญาหมา
* ขุมที่10 ยันตะปสานนรก ขุมนรกแห่งภูเขาบด

โลกกันตนรก ขุมนรกที่ได้ชื่อว่าต่ำที่สุดของบรรดาขุมนรกทั้งหมด

นรกขุมตั้งอยู่ระหว่างกลางจักรวาลทั้ง3 ที่มาบรรจบกัน เป็นขุมนรกแห่งความมืด ไร้แสงสว่าง สัตว์นรกตัวใหญ่มาก อาศัยเกาะตามภูเขาในลักษณะหัวห้อยลงมา ถ้าตกลงมาจากภูเขาจะจมลงสู่ทะเลน้ำกรดเย็น ละลายร่างกายอันใหญ่ภายในชั่วพริบตา เมื่อตายแล้วก็เกิดขึ้นมาใหม่ตามอำนาจกรรมที่เคยกระทำไว้ ด้วยความเย็นของทะเลน้ำกรดเขาจึง ตะเกียกตะกายขึ้นมาอยู่บนภูเขาอีก เป็นอยู่อย่างนี้จนสิ้น 1พุทธันดร จึงพ้นกรรมไปเสวยทุกข์ในนรกขุมอื่นๆต่อไป แล้วกรรมที่เคยกระทำไว้

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


หยุดกินเนื้อวัว ไม่ใช่ศาสนาพุทธเถรวาท ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้าที่มาทางเถรวาท

หยุดกินเนื้อวัว เป็นคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และเป็นคำสอนของศาสนาพุทธมหายาน ที่พระอวโลกิเตศวร(กวนอิม)ให้ไว้สำหรับผู้ที่นับถือเคารพท่าน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2007, 15:53
โพสต์: 41

ที่อยู่: ชลบุรี

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้าพเจ้าก็ไม่ทานเนื้อวัว ควาย นะ สงสารเค้าน่ะ เป็นเด็ก นอกเมือง เคยเลี้ยงมาก่อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว


พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เขียน:
หยุดกินเนื้อวัว ไม่ใช่ศาสนาพุทธเถรวาท ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้าที่มาทางเถรวาท

หยุดกินเนื้อวัว เป็นคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และเป็นคำสอนของศาสนาพุทธมหายาน ที่พระอวโลกิเตศวร(กวนอิม)ให้ไว้สำหรับผู้ที่นับถือเคารพท่าน

แล้วคุณจะเขียนทำไมครับ :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


กินเนื้อ เป็นบาป หรือไม่ กินผัก ได้บุญหรือไม่

การรับประทานอาหารมังสวิรัติกับการกินเจ แม้จะมีพฤติกรรมเหมือนกัน คือ งดเว้นการกินเนื้อสัตว์เหมือนกัน แต่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน คือ

ผู้ ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ ก็เพราะมีเจตนาจะละเว้นการกินเนื้อสัตว์ เพื่อหลีกเลี่ยงการเบียดเบียนสัตว์ คือ ไม่กินเนื้อสัตว์ เหตุให้ไม่ฆ่าสัตว์ เพื่อเอามาเป็นอาหาร

แต่การกินเจ เป็นประเพณีของชาวจีน การกินเจ ไม่ใช่งดเว้นเนื้อสัตว์ตลอดเวลานาน แต่งดกินเนื้อสัตว์ชั่วระยะเวลาเทศกาลกินเจเท่านั้น คือ ตั้งแต่วันขึ้น ๑ ค่ำ ถึงวันขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๙ ของจีน เป็นเวลา ๙ วัน ตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึง ๙ ค่ำเดือน ๑๑ ของไทย (แต่เฉพาะในปีที่ปฏิทินจีนมีเดือน ๕ สองครั้ง จะตรงกับ ขึ้น ๑-๙ ค่ำเดือน ๑๒ ไทย) การกินเจมีวัตถุประสงค์เพื่อบูชาพระเจ้าเก้าพระองค์ (เก๊า-ฮ้วง-ฮุดโจ้ว) ซึ่งเป็นเทพเจ้าอยู่บนสวรรค์ ในหนึ่งปีพระเจ้าเก้าพระองค์จะลงมาตรวจดูคนในมนุษยโลกว่าใครทำดีทำชั่ว แล้วจะจดบัญชีไว้ เพราะเจ้าทั้งเก้าจะลงมาในมนุษยโลก ผู้ที่ต้องการให้พระเจ้าทั้งเก้าช่วยเหลือ ก็ต้องรักษาศีลกินเจเป็นเวลา ๙ วันนอกจากไม่กินเนื้อสัตว์แล้ว ยังต้องไม่กินผักที่มีกลิ่นแรงก่อให้เกิดราคะ ๕ ชนิด ที่มีในเมืองไทย ๓ ชนิด คือ หอม กระเทียม และกุยช่าย (อีก ๒ ชนิด คือ หลักเกี๋ย และเฮงกื๋อ ไม่มีในประเทศไทย)

ดังนั้น ในวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึง ๙ ค่ำเดือน ๙ ของจีน คนจีนจึงกินเจ เพื่อทำความดีให้เก๊าฮ้วงฮุดโจ้ว เห็นจะได้จดบันทึก และบันดาลให้มีอายุยืนต่อไป

ทำไมพระมหายานจึงฉันอาหารเจ
พระสงฆ์มหายาน คือ พระจีนและพระญวน มีอุดมคติ หรือจุดหมายสูง
สุดในการปฏิบัติธรรมต่างกับพระสงฆ์เถรวาท

พระสงฆ์เถรวาท คือ พระสงฆ์ไทย ลังกา พม่า ลาว เขมร มีจุดมุ่งหมายสูง
สุดในการปฏิบัติธรรม คือ ทำจิตให้บริสุทธิ์ หมดกิเลส
เป็นพระอรหันต์ หรือเรียกว่า บรรลุนิพพาน
นิพพาน คือ จุดหมายสูงสุด

แต่ พระสงฆ์มหายาน ไม่ต้องการบรรลุนิพพานแต่ลำพังตนเอง แต่ต้องการช่วยให้มหาชน บรรลุนิพพานทั้งหมด จึงต้องบำเพ็ญบารมีให้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ในระหว่างที่บำเพ็ญบารมีอยู่นี้เรียกว่า เป็นพระโพธิสัตว์ คำว่าพระโพธิสัตว์ หมายถึง ท่านผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์จะต้องรักษาศีลเรียกว่า “สิกขาบท พระโพธิสัตว์” เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง ปฏิบัติพร้อมกันกับสิกขาบทที่มีมาในพระปาฏิโมกข์ เหมือนกับพระสงฆ์เถรวาท แต่ต้องรักษาศีลสำหรับพระโพธิสัตว์เพิ่มขึ้น ๕๘ ข้อ ในสิกขาบท พระโพธิสัตว์ ๕๘ ข้อนี้ มีบัญญัติว่าห้ามบริโภคโภชนาหารปลาและเนื้อ และห้าบริโภคผักที่มีกลิ่นฉุน ก่อให้เกิดราคะ ๕ อย่าง คือ หอม กระเทียม และกุยช่าย (อีก ๒ ชนิด คือ หลักเกี๋ย และเฮงกื๋อ ไม่มีในประเทศไทย)

พระพุทธเจ้าทรงห้ามพุทธบริษัทรับประทานเนื้อสัตว์ หรือไม่
คำถามนี้ต้องแยกตอบเป็น ๒ พวก คือ
๑. พุทธบริษัทที่เป็นคฤหัสถ์
๒. พุทธบริษัทที่เป็นบรรพชิต

สำหรับ พุทธบริษัทที่เป็นคฤหัสถ์นั้นพระพุทธเจ้าไม่ห้ามการรับประทานอาหารทุกชนิด เพราะชาวบ้านมีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมต่างกัน ความเชื่อถือในเรื่องการรับประทานอาหารก็เป็นไปตามตระกูลและวรรณะของตน พระพุทธเจ้าจึงไม่ห้ามชาวบ้านในเรื่องการเลือกอาหาร

แต่สำหรับบรรพชิต คือ ภิกษุ ภิกษุณี และ สามเณรนั้น พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติข้อห้ามไว้ ๒ กรณี คือ

กรณี ที่ ๑ ห้ามรับประทานเนื้อ ๑๐ ชนิด คือ เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือดาว เนื้อเสือเหลือง เนื้อหมี เนื้อสุนัข เนื้องู
การที่พระพุทธเจ้าบัญญัติห้ามภิกษุฉันเนื้อเสือ ๓ ชนิด แทนที่จะพูดรวมๆ “เนื้อเสือ” เพราะในภาษาบาลี เสือแต่ละชนิด ใช้คำเรียกต่างกัน คือ เสือโคร่ง ใช้คำว่า พยคฺฆมํสํ , เสือดาว ใช้คำว่า ตรจฺฉมํสํ , เสือเหลือง ใช้คำว่า ทีปิมํสํ เนื้อ ๑๐ ชนิดนี้ ถ้าภิกษุฉัน ต้องอาบัติทุกกฎ (ที่มา : ฉบับหลวง เล่ม ๕ ข้อ ๕๗ หน้า ๖๙-๗๒)

กรณี ที่ ๒ พระพุทธเจ้าห้ามภิกษุฉันเนื้อที่เขาฆ่า เพื่อทำอาหารถวายพระโดยเฉพาะ เรียกในพระวินัยว่า “อุททิสุสมังสะ” แปลว่า เนื้อสัตว์ที่เขาฆ่าเจาะจงเพื่อถวายภิกษุ ท่านห้ามมิให้ภิกษุฉัน หากภิกษุฉัน ทั้งได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อถวายตน ต้องอาบัติทุกกฎ

พุทธบัญญัติข้อนี้ มีในพระไตรปิฎกฉบับหลวงเล่ม ๕ ข้อ ๘๐ หน้า ๑๐๐-๑๐๑ ดังนี้
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ ไม่พึงฉันเนื้อที่เขาทำจำเพาะ รูปใดฉัน ต้องอาบัติ ทุกกฎ”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ปลาเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม
คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ”

การรับประทานอาหารมังสวิรัติ คือ งดเว้นจากการรับประทานเนื้อสัตว์ เป็นคำสอนในพระพุทธศาสนา ใช่หรือไม่

คำ ตอบที่ถูกต้อง คือ ไม่ใช่ พระพุทธเจ้ามิได้ทรงสนับสนุน มิได้ทรงสรรเสริญ มิได้ทรงติเตียน การบริโภคอาหารมังสวิรัติแต่อย่างใด และการบริโภคอาหารมังสวิรัตินั้น ก็มิได้ช่วยให้บรรลุธรรมพิเศษแต่อย ่างใด

บางคนยึดถือว่า การบริโภคอาหารมังสวิรัติเป็นสิ่งสำคัญ เป็นข้อปฏิบัติอันประเสริฐ จึงสรรเสริญผู้บริโภค ติเตียนผู้ไม่บริโภค

เคย มีภิกษุสำนักหนึ่ง ติเตียนผู้ที่กินเนื้อสัตว์ว่าเป็นยักษ์มาร ปากที่กินเนื้อสัตว์ เป็นปากของคนใจดำอำมหิต กระเพาะของคนที่กินเนื้อสัตว์เป็นป่าช้า ที่ฝังของเนื้อและปลาทั้งหลาย คำกล่าวอย่างนี้ ความเห็นอย่างนี้เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง คือ มานะ ถือตัว , อติมานะ ดูหมิ่นท่าน , สาเถยยะ โอ้อวด

การรับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นบุญหรือไม่

การ ที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำอะไร เป็นบุญหรือไม่เป็นบุญนั้น ต้องอาศัยกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่าด้วย บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง คือ
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานต่างๆ
๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
๑๐.ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความคิดเห็นของตนให้ตรง

เมื่อ เทียบเคียงกับบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ วิธี แล้ว ไม่พบว่าการรับประทานอาหารมังสวิรัติ คือ รับประทานแต่พืชผักเป็นวิธีทำบุญข้อใดเลย จึงไม่นับว่าเป็นวิธีทำบุญในพระพุทธศาสนา
ลองคิดดูว่าถ้าการกินพืช เช่น ผัก หญ้า ได้บุญ แล้วสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น วัว ควาย แพะ แกะ ก็ต้องได้บุญมากกว่ามนุษย์ เพราะสัตว์พวกนี้กินพืชตลอดชีวิตไม่กินเนื้อสัตว์เลย

การกินเนื้อสัตว์ บาป หรือ ไม่ ?

การ ที่จะวินิจฉัยว่าบาปหรือไม่บาปนั้น ต้องพิจารณาว่า การกินเนื้อสัตว์ที่ตายแล้ว เป็นการผิดศีลข้อปาณาติบาต หรือไม่ ศีลข้อปาณาติบาต คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ นั้นจะผิดศีลก็ต่อเมื่อประกอบด้วย องค์ ๕ คือ
๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม พยายามที่จะฆ่า
๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อ จึงถือว่าเป็นการฆ่าสัตว์ ผิดศีลข้อที่ ๑ เป็นบาป
แต่ถ้าไม่ได้ลงมือฆ่าเอง และไม่ได้ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ก็ไม่เป็นบาป
ตัวอย่าง เราไปจ่ายตลาด ซื้อกุ้งแห้ง ปลาดุกย่าง ปลาทู เนื้อหมู ฯลฯ เราได้มีส่วนร่วมในการฆ่าสัตว์เหล่านั้นหรือไม่ สัตว์เหล่านั้นย่อมตายก่อนที่เราจะไปซื้อมาเป็นอาหาร ถึงเราจะซื้อหรือไม่ซื้อ สัตว์เหล่านั้นก็ตายอยู่แล้ว เราไม่ได้มีส่วนทำให้ตาย

มีพุทธภาษิตบทหนึ่งว่า
“นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต”
“บาป ไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ”

พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์หรือไม่

ปัญหา เรื่องพระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์หรือไม่ นี้ พูดกันถามกันอยู่เสมอ คำตอบที่ถูกต้อง คือ พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์ หลักฐานที่จะนำมาอ้างมีในพระไตรปิฎกหลายแห่งที่ยกมาเป็นตัวอย่างเพียง ๒ แห่ง คือ
๑. เรื่องสีหะเสนาบดี ในพระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่ม ๕ ข้อ ๘๐ หน้า ๙๙
๒. อรรถกถาอามคันธสูตร พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย
เล่ม ๔๗ หน้า ๘๗ และ หน้า ๙๒

เรื่อง ที่ ๑ สีหะเสนาบดี แห่งแคว้นวัชชี เดิมเป็นสาวกของนครนถ์ (นักบวชเปลือย) ต่อมาได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน จึงเปลี่ยนศาสนามาเป็นอุบาสก และอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์หมู่ใหญ่ไปรับภัตตาหารที่นิเวศน์ของ สีหะเสนาบดี ในวันรุ่งขึ้นพระพุทธเจ้าทรงรับอาราธนาแล้ว สีหะเสนาบดีจึงได้สั่งให้มหาดเล็ก ไปซื้อเนื้อสดที่เขาขายในตลาด มาทำภัตตาหารถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ทรงเสวยภัตตาหารนั้น

เรื่อง ที่ ๒ อามคันธสูตร ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ตรัสรู้มีพราหมณ์คนหนึ่งอามะคันธะบวชเป็นฤาษี อยู่ในป่าหิมพานต์ มีบริวาร ๕๐๐ ดาบสเหล่านั้น ออกจากป่าหิมพานต์ไปจำพรรษาอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เป็นเวลาปีละ ๔ เดือน เป็นประจำชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธามาก ให้การต้อนรับเลี้ยงดูเป็นอย่างดี
สมัย ต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปยังหมู่บ้านแห่งนั้น พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลาย เมื่อชาวบ้านได้เห็นพระพุทธเจ้าก็เกิดความศรัทธาเลื่อมใสถวายมหาทาน พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่คนเหล่านั้น คนเหล่านั้นบางพวกเป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นพระสกทาคามี พระอนาคามี บางพวกได้บรรพชาอุปสมบทบรรลุเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปยังกรุงสาวัตถี
ต่อมาดาบสเหล่านั้น ได้เข้าไปสู่หมู่บ้านนั้นอีก แต่คราวนี้ชาวบ้านไม่ได้ให้การต้อนรับอย่างโกลาหล เหมือนคราวก่อนๆ ดาบสเหล่านั้นเห็นผิดจากเดิม จึงถามคนเหล่านั้นว่าเพราะอะไรพวกท่านจึงไม่เป็นเช่นคราวก่อน ชาวบ้านได้เรียนให้ดาบสทราบว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระองค์ทรงแสดงพระธรรมเพื่อประโยชน์แก่คนเป็นอ ันมาก คนทั้งหลายได้บรรลุธรรม เป็นพระอริยบุคคล ชั้นต่างๆ มีพระโสดาบัน เป็นต้น พวกดาบสเมื่อได้ยินคำว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก ก็เกิดความปลาบปลื้มปิติยินดีอย่างยิ่ง แต่ยังไม่ค่อยเชื่อว่า จะเป็นพระพุทธเจ้าจริง จึงสอบถามชาวบ้าน ถึงพระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้า โดยถามว่าพระพุทธเจ้าเสวยอย่างไร ทรงเสวยปลาหรือเนื้อหรือไม่ คนเหล่านั้นกล่าวว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเสวยปลาและเนื้อ” เมื่ออามะคันธดาบส ได้ฟังดังนั้นก็ไม่ชอบใจ เพราะไม่ตรงกับความคิดของตน เพราะมีความเชื่อมั่นว่าพระพุทธเจ้าต้องไม่เสวยปลาและเนื้อ อามะคันธะดาบสพร้อมด้วยดาบสที่เป็นบริวารจึงเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระ วิหารเชตวัน ที่พระนครสาวัตถี และได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่าพระองค์เสวยปลาและเนื้อหรือไม่ พระพุทธเจ้าก็ตอบว่า พระองค์เสวยปลาและเนื้อที่ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่ได้รังเกียจ (คือไม่สงสัย ว่าเขาฆ่าเพื่อตน) จัดเป็นสิ่งหาโทษมิได้
อา มะคันธะดาบส ได้โต้แย้งกับพระพุทธเจ้าว่าการเสวยปลาและเนื้อไม่เหมาะสมแก่ชาติสกุลของ พระองค์ เมื่อพระองค์ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็ไม่ควรที่จะเสวยปลาและ เนื้อ
พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงให้อามะคันธะดาบสเข้าใจว่า การไม่กินปลา กินเนื้อ ย่อมไม่ทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ได้
พระ ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแสดงความที่บุคคลไม่สามารถจะทำตนให้บริสุทธิ์ด้วยการไม่ บริโภคปลาเนื้อเป็นต้น อย่างนี้แล้ว ทรงแสดงพระธรรมที่สามารถจะทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ได้ ด้วยหลักธรรม คือ อินทรีย์สังวร การสำรวมอินทรีย์ ความเป็นผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ ทำให้บางเบา ซึ่งกิเลสทั้งหลายมีราคะและโทสะ เป็นต้น ดำรงอยู่ในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อันจะพึงบรรลุได้ด้วย อริยมรรค
อามะคันธะดาบส ครั้นสดับพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ก็มีใจอ่อนน้อม ถวายบังคมที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลขอบวชพร้อมกับดาบสผู้เป็นบริวารของตน พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า “ท่านทั้งหลาย จงเป็นภิกษุมาเถิด” ดาบสเหล่านั้นได้เป็นภิกษุด้วยพระวาจานั้น ต่อมาอีก ๒-๓ วัน ทุกท่านก็ได้บรรลุพระอรหันต์

การรับประทานอาหารมังสวิรัติไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนของใคร ?
คำสอนให้งดเว้นจากการกินเนื้อสัตว์ เป็นคำสอนของ พระเทวทัต

พระ เทวทัตเป็นราชบุตรของพระเจ้าสุปปพุทธะ เป็นเชฏฐภาดา (พี่ชาย) ของพระนางยโสธราพิมพา ผู้เป็นพระชายาของสิทธัตถกุมาร เจ้าชายเทวทัต ออกบวชพร้อมกับเจ้าชายในราชวงศ์ศากยะ ๕ คน มีพระอานนท์ เป็นต้น และมีพนักงานภูษามาลา (ช่างตัดผม) ชื่อ อุบาลี รวมเป็น ๗ คน ออกบวชพร้อมกัน หลังจากออกบวชแล้วเจ้าชายในราชวงศ์ศากยะทั้ง ๕ พระองค์ และพระอุบาลี ได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคล ส่วนพระเทวทัตไม่ได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคล ได้สำเร็จโลกียฌาน มีอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ

ต่อมาพระเทวทัต อยากจะมีอำนาจปกครองสงฆ์ จึงกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า “พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขวนขวายน้อย ประกอบทิฏฐิธรรมสุขวิหารอยู่เถิด ขอจงมอบภิกษุสงฆ์แก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าจักปกครองภิกษุสงฆ์”
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า “อย่าเลย ! เทวทัต เธออย่าพอใจที่จะปกครองภิกษุสงฆ์เลย”

แม้ พระพุทธเจ้าทรงห้ามแล้ว พระเทวทัตก็ไม่ฟัง ยังกราบทูลขอปกครองสงฆ์ถึง ๓ ครั้ง แต่พระพุทธเจ้าไม่อนุญาตให้พระเทวทัต เป็นผู้ปกครองสงฆ์
พระเทวทัต โกรธ น้อยใจ จึงคิดจะเป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง พระเทวทัตเข้าไปหาเจ้าชายอชาตศัตรู ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร ยุยงให้เจ้าชายอชาตศัตรูเป็นกบฏ ชิงราชบัลลังก์ โดยกล่าวว่า “ดูก่อนกุมาร ถ้ากระนั้น ท่านจงปลงพระชนม์พระชนกเสีย แล้วเป็นพระเจ้าแผ่นดิน อาตมาจักปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเป็นพระพุทธเจ้า”

พระเทวทัตวางแผนปลงพระชนม์ พระพุทธเจ้า ๓ ครั้ง ดังนี้
ครั้ง ที่ ๑ พระเทวทัตขอให้เจ้าชายอชาตศัตรู ส่งทหารแม่นธนูไป พบพระพุทธเจ้าแล้วไม่กล้ายิง พระพุทธเจ้าจึงแสดงธรรม ทหารแม่นธนูได้ฟังธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมประกาศตนเป็นอุบาสกแล้วกลับไป
ครั้ง ที่ ๒ เมื่อแผนการแรกไม่สำเร็จ พระเทวทัตจึงลงมือเอง โดยขึ้นไปบนเขาคิชฌกูฏ กลิ้งศิลาก้อนใหญ่ลงมาขณะที่พระพุทธเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ที่เชิงเขา ด้วยจงใจว่าเราเองจักเป็นผู้ปลงพระชนม์พระสมณโคดม แต่ศิลานั้นกลิ้งไปกระทบศิลาก้อนอื่น แตกเป็นสะเก็ด กระเด็นไปกระทบพระบาท (หัวแม่เท้า) ทำให้ห้อพระโลหิต บรรดาภิกษุช่วยกันทำแคร่หามพระองค์ไปยังบ้านหมอชีวก หมอชีวก ทำการรักษาด้วยการพอกยาจนพระโลหิตที่ห้อนั้นหายสนิท
ครั้งที่ ๓ พระเทวทัตไม่ละความพยายามเข้าไปหาควาญช้างหลวง แอบอ้างรับสั่งของพระเจ้าอชาตศัตรู พระราชาพระองค์ใหม่ ให้ปล่อยช้าง นาฬาคิรี ออกไปทำร้ายพระพุทธองค์ขณะเสด็จบิณฑบาต เมื่อช้างแลเห็นพระพุทธองค์ก็ปรี่เข้าไปจะทำร้าย พระอานนท์ออกไปยืนขวางหน้าด้วยความจงรักภักดี ตั้งใจสละชีวิต เพื่อปกป้องพระพุทธองค์ ด้วยอำนาจเมตตาจิต ที่พระศาสดาทรงแผ่เจาะจงยังช้างนาฬาคิรี ทำให้ช้างนั้นเมื่อได้สัมผัสกับกระแสเมตตาจิตของพระพุทธองค์ก็ลดงวงลง เข้าไปหมอบอยู่ต่อหน้าพระพักตร์แล้วกลับไปสู่โรงช้างตามเดิม

ทำสังฆเภท
พระ เทวทัต เมื่อพยายามทำร้ายพระพุทธองค์ถึง ๓ ครั้งไม่เป็นผลสำเร็จ จึงใช้อุบายที่จะทำให้สงฆ์แตกแยกกัน พระเทวทัตจะได้แบ่งแยกพระสงฆ์ส่วนหนึ่งไปจากพระพุทธเจ้า
พระเทวทัต กับบริวารของตน เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วทูลขอให้พระพุทธเจ้าบัญญัติสิกขาบท ๕ ประการ โดยอ้างว่าเพื่อความเป็นผู้มักน้อย สันโดษ ความขัดเกลา ความจำกัดกิเลส การไม่สั่งสม เพื่ออาการที่น่าเลื่อมใส เรื่องที่พระเทวทัตทูลขอให้พระพุทธเจ้าบัญญัติสิกขาบทขึ้นใหม่ ๕ ข้อนั้น เรียกว่า วัตถุ ๕ ประการ คือ
๑. ภิกษุทั้งหลาย พึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่รูปนั้น
พึงต้องโทษ
๒. ภิกษุทั้งหลาย พึงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีกิจนิมนต์รูปนั้น
พึงต้องโทษ
๓. ภิกษุทั้งหลาย พึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้น
พึงต้องโทษ
๔. ภิกษุทั้งหลาย พึงถืออยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุงที่บัง
รูปนั้นพึงต้องโทษ
๕. ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้น
พึงต้องโทษ

พระ ศาสดารับสั่งว่า ภิกษุพึงถือเป็นวัตรได้ตามความสมัครใจ ภิกษุรูปใดปรารถนาจะอยู่ป่าเป็นวัตร รูปใดปรารถนาจะอยู่บ้าน ก็จงอยู่บ้านรูปใดปรารถนาจะถือบิณฑบาตเป็นวัตร ก็จงถือบิณฑบาตเป็นวัตร รูปใดปรารถนาจะรับกิจนิมนต์ก็จงยินดีกิจนิมนต์ รูปใดปรารถนาจะถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ก็จงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร รูปใดจะรับผ้าคหบดีจีวร ก็จงรับ เราอนุญาตการอยู่โคนไม้เป็นเสนาสนะ ๘ เดือน นอกฤดูฝน ในฤดูฝนต้องอยู่ในที่มุงที่บัง เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วนสาม คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ คือไม่สงสัยว่าเขาฆ่าสัตว์นั้นเพื่อถวายพระ
พระเทวทัต ประกาศให้ประชาชนทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาตข้อวัตรที่ตนทูลขอทำ ให้ประชาชนที่ไร้ปัญญา เข้าใจว่า พระเทวทัตเป็นผู้มีความประพฤติขัดเกลา ส่วนพระพุทธเจ้าเป็นผู้มีความประพฤติมักมาก
พระเทวทัต ประกาศโฆษณาให้พระภิกษุเห็นด้วยกับ วัตถุ ๕ ประการ โดยอ้างว่าเป็นการปรารถนาความเพียร เพื่อความมักน้อย พระเทวทัตอ้างว่าคำสอนของตนประเสริฐกว่า เคร่งครัดกว่า น่าเลื่อมใสกว่า
พระ ภิกษุวัชชีบุตร (ชาวเมืองเวสาลี) ประมาณ ๕๐๐ รูป เป็นพระบวชใหม่ และรู้พระธรรมวินัยน้อย พากันหลงเชื่อ ยอมตนเข้าเป็นสาวกของพระเทวทัต พระเทวทัตพาภิกษุเหล่านี้ไปอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ เป็นการแยกคณะสงฆ์
พระสา รีบุตร พระโมคคัลลานะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่าพระพุทธเจ้าข้า พระเทวทัต ทำลายสงฆ์แล้ว พาภิกษุประมาณ ๕๐๐ หลีกไปทางคยาสีสะ

พระเท วทัตเข้าใจว่า พระอัครสาวกทั้งสองตามมา เพราะชอบใจธรรมะของตน จึงนิมนต์ให้นั่ง หลังจากพระเทวทัตแสดงธรรมกถาเป็นเวลานานแล้ว จึงมอบให้พระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะ แสดงธรรมต่อ โดยกล่าวว่า “ท่านจงแสดงธรรมต่อจากเราเถิด เราเหนื่อยแล้ว จักนอนพัก” จากนั้นก็ล้มตัวลงนอนแล้วหลับไป

พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ แสดงธรรมเจือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ กลับใจภิกษุเหล่านั้นให้เข้าใจความจริง แล้วพาภิกษุ ๕๐๐ รูปนั้นกลับไปอยู่กับพระพุทธเจ้าตามเดิม
พระเทวทัตตื่น ขึ้นมา ปรากฏว่าพระภิกษุส่วนใหญ่ตามพระอัครสาวกกลับไปแล้ว คงเหลือพระภิกษุที่ยังอยู่เพียงเล็กน้อย พระเทวทัตเสียใจมาก ล้มป่วยถึง ๙ เดือน ในกาลสุดท้ายสำนึกผิด ต้องการจะไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อทูลขอขมา จึงให้สาวกที่เหลือ นำตนไปเฝ้า เมื่อสาวกนำพระเทวทัตมาใกล้ถึงพระเชตวัน ก็วางคานหามลงริมฝั่งสระโบกขรณี พระเทวทัตลุกขึ้นนั่ง ก้าวลงจากคานหาม พอเท้าทั้งสองถึงพื้นดิน แผ่นดินสูบพระเทวทัตจมลงในพื้นดิน ไปเกิดในอเวจีมหานรก ถูกไฟนรกเผา เพราะอนันตริยกรรมที่ตนได้กระทำทั้ง ๒ อย่าง คือ ทำร้ายพระพุทธเจ้าถึงห้อพระโลหิต และทำสังฆเภท ทำให้สงฆ์แตกกัน

คำ สอนของพระเทวทัตให้งดเว้นจากการรับประทานปลาและเนื้อ หรือที่เราเรียกกันว่ารับประทานอาหารมังสวิรัติก็ยังมีผู้ปฏิบัติตามจนทุก วันนี้ .....

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 เม.ย. 2009, 02:22
โพสต์: 83

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นเรื่องสิทธิและปัญญาแต่ละที่จะรู้ว่าควรทำอย่างไร แต่อย่าลามไปถึงพระหรือคิดว่าพระกินเนื้อไม่ดีนะครับ เพราะพระเลือกกินไม่ได้เหมือนคนปกติ จะเลือกรับบาตรไม่ถูก ถ้าเกิดคนนั้นรู้ว่าใกล้ตายอยากทำบุญครั้งสุดท้ายแต่เป็นเนื้อ พระจะไม่รับเหรอครับ อย่าให้เกิดอัตตากับเรื่องแค่นี้เลยครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร