วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ค. 2025, 19:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2011, 19:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32:
เป็นกบ..ตกหลุม..ท่านจาง..ซะแล้ว

เงียบ ๆ ดีกว่า :b32: :b32: :b32:..เรา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 23:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ปฏิจจสมุปบาท ที่เกิดจากวิสัยคิด ต่อให้คิดว่าเข้าใจดีแล้วอย่างแยบคายและเหมือนแยบยล
ก็ยังนำความสงสัยในความรู้มาให้เจ้าตัวได้อย่างไม่รู้สิ้น

หากว่าตนเองมีธาตุแท้แห่งคนจริง และไม่ยอมหลอกตัวเอง ก็จะรู้ได้ว่าความสงสัยคลางแคลงใจ
และความคลุมเคลือกับรอยโหว่ของความรู้ มีอยู่มากมาย

บนความรู้ที่เหมือนเข้าใจ ก็มีความรู้สึกที่ไม่แน่ใจ แต่ถ้าหากว่าแน่ใจ
ความแน่ใจนั้นก็ยังไม่ใช่ของจริงอยู่นั่นเอง

เพราะ ปฏิจจสมุปบาทที่ คุณกำลังเข้าใจ เป็นคนละอย่างกับปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธองค์
ทรงทบทวนในคราวเสวย วิมุติสุข

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53:


ขอบคุณครับที่ช่วยสะกิดให้เห็นว่า น่าจะยังมีจุดที่อธิบายไม่เคลียร์อยู่ :b8: :b1:

เดาเอาว่า น่าจะเป็นข้อความ “ผิดถูกอย่างไร น้อมรับไปพิจารณาครับ โดยผู้อ่านควรจะโยนิโสมนสิการ และทดลองปฏิบัติดูด้วยก็จะดียิ่ง” ที่แทรกอยู่เป็นระยะ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจไขว้เขวได้ว่า ผู้บอกทางคิดเอาเอง ไม่เคยไปรู้ไปเห็นมาเอง ทำให้ยังไม่มั่นใจในจุดนั้นๆ (ซึ่งต้องโทษผู้บอกทางเอง ที่ไม่ค่อยมีความสามารถในการสื่อความนะครับ) :b1: :b46: :b46: :b46:

จริงๆแล้ว เป็นเรื่องของการที่ผู้บอกทาง ออกเดินทางตามแผนที่ (ปฏิบัติ) แล้วไปพบไปเห็นมา (ปฏิเวธ) แต่ยังไม่มีเวลาไปหาว่า ตำแหน่งที่เห็นนั้นอยู่ในพิกัดอะไรในแผนที่ (ปริยัติ) หรือเจอในแผนที่แล้วแต่แผนที่ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจน ต้องใช้สภาพแวดล้อมเข้ามาอธิบายประกอบ เลยต้องทิ้งโน๊ตไว้ก่อน เผื่อนักปริยัติที่ต้องการเดินทาง เข้ามาเจอแล้วเกรงว่าจะผิดทางเพราะหาในตำราตรงๆไม่มีนะครับ :b38: :b37: :b39:

ซึ่งถ้าจะพิมพ์ให้เคลียร์ตามที่ต้องการจะสื่อ จะต้องพิมพ์เต็มๆว่า “ผิดถูกจากพระไตรปิฎกและตำราต่างๆอย่างไร น้อมรับไปพิจารณาครับ โดยผู้อ่านควรจะโยนิโสมนสิการ และทดลองปฏิบัติดูด้วยก็จะดียิ่ง” :b51: :b53: :b51:

เหตุผลที่ต้องแทรกข้อความนี้ไว้เป็นระยะ เนื่องจากในวงการเวปบอร์ดธรรมะหลังๆมานี้ (ดูได้จากบอร์ดธรรมะเพื่อบ้านหลายๆเวป) มีผู้เชี่ยวชาญด้านปริยัติเข้ามาถกเถียงข้อธรรมกันด้วยทิฏฐิที่แรงมาก โดยพยายามสอบทานกลับไปที่พระไตรปิฎกและตำรารุ่นหลังต่างๆ (แต่ประเด็นนี้ เป็นเรื่องที่ดี) ซึ่งบางครั้ง สามารถสอบทานได้ตรงโดยไม่มีข้อโต้แย้งเพราะปรากฏข้อความในพระไตรปิฎกอย่างชัดเจนไม่ต้องตีความ :b46: :b39: :b46:

แต่หลายครั้ง โดยเฉพาะสภาวะธรรมหลายประการ ผู้โต้แย้ง (บางท่านนะครับ ไม่ใช่ทุกท่าน) มักจะใช้วิธีคิดและตีความ (จินตามยปัญญา) ตัดเอาข้อความในพระไตรปิฎกบางส่วนมาโยงเข้ากับอีกหลายๆส่วนแล้วสนับสนุนข้อสรุปของตนด้วยตรรกะ โดยที่ไม่ได้สอบทานด้วยการลองปฏิบัติให้เห็นแจ้งด้วยตนเองจริงๆตามหลักกาลามสูตร (ภาวนามยปัญญา) :b45: :b46: :b51:

ทำให้เรื่องที่ควรยุติด้วยการทดลองปฏิบัติให้รู้จริง กลับกลายเป็นว่า พยายามยุติด้วยการคิดและถกเถียงด้วยเหตุผล ซึ่งไม่มีทางจบไปได้ :b46: :b39: :b46:

(ซึ่งในกาลามสูตร มีหัวข้อหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงระบุไว้ชัดเจนว่า อย่าพึ่งปลงใจเชื่อโดยการใช้ตรรกะ (ตกฺกเหตุ)) :b1: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น เพื่อป้องกันการถกเถียงด้วยความคิดหรือตรรกะ จึงต้องแทรกข้อความดังกล่าวไว้ให้ลองปฏิบัติดูด้วย เพราะตำแหน่งดังกล่าว เป็นสภาวะหรือข้อสรุปที่วิสุทธิปาละยังไม่มีเวลาไปค้นคว้าจากตำรา หรือยังไม่เจอข้อความที่อธิบายไว้ตรงๆในพระไตรปิฎก :b1: :b46: :b46: :b46:

เลยได้แต่ทิ้งโน๊ตแนะนำเผื่อมีนักปริยัติเข้ามาแย้ง ว่าควรลองปฏิบัติดูก่อนที่จะแย้งในจุดนั้นๆ เพราะอย่างที่กล่าวไว้ว่า ธรรมะบางอย่างไม่สามารถหาข้อยุติได้ด้วยการคิดและถกเถียง แต่เป็นเรื่องที่ต้องยุติได้ด้วยการปฏิบัติให้เห็นจริง :b46: :b45: :b51:

ดังนั้น เลยขอใช้โอกาสนี้ อธิบายรายละเอียดในจุดที่แทรกข้อความดังกล่าวไว้ก่อนสักเล็กน้อย เผื่อมีมิตรทางธรรมท่านอื่นไม่เคลียร์ในจุดเดียวกันดังนี้ครับ :b1: :b44: :b39: :b51:

(๑) โพสเมื่อ 19 ธ.ค. 2010, 22:08 เรื่อง การโน้มน้อมจิตไปในอาสาวักขยญาณ ซึ่งวิสุทธิปาละสรุปว่า ขั้นตอนการน้อมจิตไปนี้ อยู่ในจตุกกะที่ ๔ ของอานาปานสติบรรพ

อันที่จริง ในส่วนที่สรุปนี้ ยังหาไม่เจอในพระไตรปิฎกที่ระบุลงไปตรงๆว่า การน้อมจิตไปในอาสาวักขยญาณของพระพุทธองค์ในขณะตรัสรู้นั้น ทรงเจริญอานาปานสติในจตุกกะที่ ๔ หรือไม่ :b38: :b37: :b39:

แต่เทียบเอาจากที่พระองค์ทรงอธิบายขั้นตอนรวมถึงสภาวะและผลที่ได้ของอานาปานสติกับในขณะที่ทรงตรัสรู้ (เทียบปริยัติกับปริยัติ) กับขั้นตอนที่วิสุทธิปาละทดลองปฏิบัติ รวมถึงผลที่ได้ (ปฏิเวธ) จากการดำเนินตามคำสอนของพระศาสดาแล้วพบเจอด้วยตนเอง (แต่ไม่ทั่วถึงทั้งหมดตามที่คุณจางฯสะกิดมานั่นแหละครับ รู้ได้แค่นิดหน่อยของพระพุทธองค์ก็ถือว่าเป็นบุญของวิสุทธิปาละมากแล้ว) :b1: :b46: :b51: :b46:

คือเทียบปฏิบัติ + ปฏิเวธกลับไปที่ปริยัติทั้งสองแห่งแล้วลงกันได้ไม่แย้งกัน จึงได้โน๊ตไว้ก่อนเพื่อให้มิตรทางธรรมลองปฏิบัติดูว่า เห็นและสรุปได้เหมือนอย่างที่วิสุทธิปาละเห็นและสรุปหรือไม่ :b39: :b39: :b39:

หรือถ้าท่านใดเจอในพระไตรปิฎกที่ระบุเอาไว้ว่า พระพุทธองค์ทรงเจริญอานาปานสติจตุกกะที่ ๔ แล้วตรัสรู้ ก็จะเป็นประโยชน์กับวิสุทธิปาละและมิตรทางธรรมท่านอื่นไม่น้อยครับ :b8: :b46: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 23:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๒) โพสเมื่อ 09 ม.ค. 2011, 23:48 เรื่อง การพิจารณาไตรลักษณ์ของเจตสิกและอารมณ์ทั้งในรูปฌานและอรูปฌาน (โดยเฉพาะในอรูปฌาน ซึ่งมีความละเอียดเป็นอย่างยิ่ง) ซึ่งสรุปไว้ว่า ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาทำลายกิเลสมากจริงๆระดับพระพุทธเจ้า หรือพระสารีบุตร ถึงจะเจริญกรรมฐานตรงนี้ได้ :b39: :b44: :b39:

เช่นกันครับ ตรงนี้ยังหาที่ระบุไว้ตรงๆในพระไตรปิฎกไม่ได้ว่า ในมรรคที่ ๓ ของพระอานนท์คือ การบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไป โดยเฉพาะในอรูปฌานนั้น ต้องเป็นผู้มีปัญญามากจึงจะปฏิบัติได้ :b1: :b46: :b46:

แต่จากประสบการณ์ส่วนตัว สภาวะต่างๆในอรูปฌานนั้น มีความละเอียดเป็นอย่างมาก การจะสังเกตให้เห็นถึงสามัญลักษณะในสภาวะดังกล่าวแทบจะทำไม่ได้เลยสำหรับผู้ที่มีปัญญาละเอียดไม่ถึงขั้น จึงได้โน๊ตไว้ก่อนเพื่อให้มิตรทางธรรมผู้ที่ได้ฌานลองปฏิบัติดูว่า เห็นและสรุปได้เหมือนอย่างที่วิสุทธิปาละเห็นและสรุปหรือไม่ :b46: :b39: :b46:

หรือถ้าท่านใดเจอในพระไตรปิฎกที่ระบุเอาไว้ว่า การบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไป โดยเฉพาะในอรูปฌานนั้น ต้องเป็นผู้มีปัญญามากจึงจะปฏิบัติได้ ก็จะเป็นประโยชน์กับวิสุทธิปาละและมิตรทางธรรมท่านอื่นไม่น้อยครับ :b8: :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๓) โพสเมื่อ 20 ม.ค. 2011, 23:40 อธิบายเรื่องการเกิดขึ้นของมรรค จากแนวปฏิบัติในมรรคที่ ๔ ขององค์พระอานนท์ คือเมื่อพิจารณาวิปัสสนูฯลงในไตรลักษณ์จน “ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม” และ “จิตนั้นย่อมตั้งมั่น หยุดนิ่งอยู่ภายในเป็นหนึ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ” แล้ว “มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น:b39: :b45: :b39:

โดยอธิบายสรุปไปว่า มรรคเกิดจากการที่จิตเห็นและเปรียบเทียบสภาวะของความฟุ้งปรุงแต่งก่อนหน้า (จิตสังขาร) เทียบกับสภาวะที่จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิหลังจากพิจารณาการปรุงแต่งดับลงในไตรลักษณ์แล้ว (จิตวิสังขาร) ซึ่งจะทำให้เห็นถึงเหตุแห่งความไหวของจิต คือสมุทัย ได้แก่ความยินดีพอใจ ยึดอยากติดใจ เพลิดเพลิน (นิกนฺติ) ในวิปัสสนูฯ :b38: :b37: :b39:

และเห็นถึงทางแห่งการหลุดพ้น นั่นคือการเกิดขึ้นของมรรค ได้แก่การละเหตุละสมุทัย ทำใจให้ปราศจากการปรุงแต่งเมื่อมีวิปัสสนูฯหรือผัสสะต่างๆเกิดขึ้น รู้สักแต่ว่ารู้ โดยใช้สัมมาสติ สัมมาสมาธิ + มรรค ๖ องค์ที่เหลือในการเข้าไปทำให้สภาวะของการ “รู้สักแต่ว่ารู้” เกิดขึ้นให้จิตตั้งมั่นไม่ซัดส่าย จิตฉลาดด้วยปัญญาญาณในการเห็นถึงอริยสัจจ์ หรือปฏิจจสมุปบาททั้งสายเกิดและสายดับตลอดทั้งสาย :b8: :b39: :b39:

เช่นเดียวกันครับ องค์พระอานนท์ หรืออรรถกถาจารย์ท่านรู้และบันทึกไว้ แต่วิสุทธิปาละยังหาส่วนที่อธิบายรายละเอียดตรงส่วนนี้ไม่เจอว่า แล้วมรรคเกิดขึ้นได้อย่างไร จึงได้พยายามอธิบายตามที่ประสบมาด้วยตนเอง ให้มิตรทางธรรมลองพิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการ และลองปฏิบัติดูว่า จะเห็นและสรุปได้เหมือนกันหรือไม่ :b1: :b44: :b39:

หรือถ้าท่านใดเจอในพระไตรปิฎกที่ระบุเอาไว้ว่า ตรงนี้มรรคเกิดขึ้นได้อย่างไร ก็จะเป็นประโยชน์กับวิสุทธิปาละและกับมิตรทางธรรมท่านอื่นไม่น้อยครับ :b8: :b39: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๔) โพสเมื่อ 02 ก.พ. 2011, 23:34 ในการยกเอาข้อความบางส่วนที่หลวงปู่ดูลย์เทศน์ตอบคำถามให้กับลูกศิษย์มาเพื่อเปรียบเทียบกับมรรคข้อที่ ๔ ขององค์พระอานนท์ว่า เป็นไปในแนวทางเดียวกัน :b46: :b51: :b53:

ตรงนี้ก็เช่นกันครับ เนื่องจากยังหาไม่เจอหลักฐานที่องค์หลวงปู่ระบุเอาไว้ตรงๆว่า วิธีการให้จิตเห็นจิต เป็นมรรคที่ ๔ ขององค์พระอานนท์ จึงได้แต่ยกเอาช่วงที่หลวงปู่เทศน์ มาวางไว้ใต้คำกล่าวขององค์พระอานนท์เพื่อเทียบเคียง โดยอธิบายเพิ่มเติมจากประสบการณ์ที่นำไปลองปฏิบัติดูโดยสอบทานกลับไปที่ทั้งคำเทศน์ขององค์หลวงปู่และพระอานนท์ว่าเข้ากันได้ไม่ขัดแย้งกัน :b1: :b51: :b51:

จึงโน๊ตไว้ให้ทราบว่า ส่วนนี้เป็นผลจากการสอบทานในภาคปฏิบัติ แต่ยังหาภาคปริยัติที่องค์หลวงปู่ระบุตรงๆไม่เจอ โดยแนะนำให้มิตรทางธรรมลองพิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการ และลองปฏิบัติดูว่า จะเห็นและสรุปได้เหมือนกันหรือไม่ :b1: :b39: :b44:

หรือถ้าท่านใดเจอที่หลวงปู่ท่านระบุเอาไว้ว่า วิธีการให้จิตเห็นจิต เป็นมรรคที่ ๔ ขององค์พระอานนท์ ก็จะเป็นประโยชน์กับวิสุทธิปาละและกับมิตรทางธรรมท่านอื่นไม่น้อยครับ :b8: :b39: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๕) โพสเมื่อ 14 ก.พ. 2011, 00:06 อธิบายสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อรู้อยู่ในตัวรู้จนถึงจุดหนึ่งที่จิตรวมพึบลงเข้าสู่สภาวะรู้ที่อยู่กับรู้ได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งที่สุด สติมีความคมชัดอย่างเต็มที่ จิตเห็นจิตภายในอย่างแจ้งชัดนั้นคือสภาวะที่จิตได้ล่วงเข้าสู่ฌานที่ ๔ (จตุตถฌาน นับตามพระสูตร) :b46: :b39: :b46:

ตรงนี้ก็เช่นกันครับ เนื่องจากยังหาไม่เจอหลักฐานที่องค์หลวงปู่ระบุเอาไว้ตรงๆว่า นั่นคือการเข้าสู่รูปฌานที่ ๔ เพียงแต่สอบทานกลับไปเจอแต่ที่องค์หลวงปู่ดูลย์และหลวงปู่เทสก์ท่านสรุปเหมือนๆกันว่า เมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆจนเข้าถึงใจแล้ว (สำนวนหลวงปู่เทสก์) จิตจะเป็นเอกัคคตาจิต :b8: :b46: :b46:

ซึ่งถ้าเปิดตำราตอบ ก็จะเจอว่าเป็นสภาวะในรูปฌานที่ ๔ และถ้าตอบตามผลที่ได้จากการทดลองปฏิบัติ (ปฏิเวธ) ก็ลงกันได้ดีไม่มีที่ใดแย้งกัน จึงได้โน๊ตไว้ให้ทราบว่า ส่วนนี้เป็นผลจากการสอบทานในภาคปฏิบัติ แต่ยังหาภาคปริยัติที่องค์หลวงปู่ระบุตรงๆไม่เจอ จึงแนะนำให้มิตรทางธรรมลองพิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการ และลองปฏิบัติดูว่า จะเห็นและสรุปได้เหมือนกันหรือไม่ :b1: :b46: :b45: :b51:

หรือถ้าท่านใดเจอที่หลวงปู่ท่านระบุเอาไว้ว่า นั่นคือการเข้าสู่รูปฌานที่ ๔ ก็จะเป็นประโยชน์กับวิสุทธิปาละและกับมิตรทางธรรมท่านอื่นไม่น้อยครับ :b8: :b51: :b39: :b51:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 23:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่ตรวจสอบกลับไปดู น่าจะหมดแล้วนะครับ แต่ถ้ายังหลงเหลือ คงต้องรบกวนมิตรทางธรรมทุกท่านช่วยขัดเกลาและสอบทาน ให้เหมือนกับสิ่งที่วิสุทธิปาละพิมพ์ไปนั้น เป็นรายงานที่ส่งให้คณะกรรมการผู้รู้ทุกท่านช่วยตรวจสอบความถูกต้องอีกชั้นหนึ่ง เผื่อผู้ที่ต้องการจะปฏิบัติจริงเข้ามาอ่าน จะได้ไม่เกิดการหลงทางเพราะแผนที่ไม่ชัดเจน :b8: :b46: :b39: :b46:

... ถึงตอนนี้แล้ว ขอเล่านิทานแนวเซนให้ฟังสักเรื่องนึงครับ ... :b1: :b51: :b39: :b51:

มีวัยรุ่นมัธยมโรงเรียนดังมากกลุ่มหนึ่ง กำลังปีนรั้วหนีเรียน บังเอิญกระโดดลงมาเจอตาแป๊ะขายขวด ตาแป๊ะเลยบอกวัยรุ่นกลุ่มนั้นว่า พวกลื้อโดดเรียนทำมาย ให้ตั้งใจเรียนขยันๆ โตขึ้นจะได้ไม่ลำบาก วัยรุ่นมัธยมเลยสวนตาแป๊ะไปว่า ลื้อเองยังลำบากขายขวดอยู่เลย อย่ามาทำเป็นสอนพวกอั๊วดีกว่า :b4: :b46: :b46: :b46:

ธรรมะก็คล้ายๆกันนะครับ ขอให้ก้าวข้ามนิทานและตัวตาแป๊ะขายขวดซึ่งเป็นเปลือกนอกไป โดยพิจารณาที่คำสอนที่เป็นเนื้อในนั้นแทน ถ้ามีประโยชน์ ก็รับไว้ลองปฏิบัติ ถ้าเห็นว่าไม่มีประโยชน์ ก็สามารถละทิ้งและลองศึกษาจากผู้ทรงความรู้ท่านอื่นที่มีคำสอนที่เหมาะสมกับจริตมากกว่า :b38: :b37: :b39:

หรือถ้าเห็นว่าเนื้อในนั้นผิดพลาดแล้วเกรงว่าผู้อื่นจะรับในสิ่งที่ผิดไป รบกวนแย้งมาที่ข้อธรรมได้นะครับ ซึ่งถ้าผิดหรือไม่กระจ่างจริง การเข้ามาช่วยกันขัดเกลาแก้ไขด้วยใจที่บริสุทธิ์ ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับกัลยาณมิตรทุกท่าน :b8: :b51: :b39: :b51:

ซึ่งถ้าจะว่ากันในแนวนิทานเรื่องเซนเนื้อเซนกระดูก วิสุทธิปาละเป็นได้แค่หนังหรือเนื้อนะครับ ประสบการณ์ปฏิบัติที่ผ่านมาถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องปัจจัตตังรู้เฉพาะตนโดยผู้รู้ไม่มีความลังเลสงสัยในความรู้นั้น แต่ก็รู้เฉพาะตนอีกว่า ที่รู้ที่ปฏิบัติมานั้น ยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์อย่างถาวรอยู่ดี (แต่มั่นใจว่า สิ่งที่รู้ตรงตามพระไตรปิฎกและสามารถทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้) :b38: :b37: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 23:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประกอบกับข้อความที่พยายามรวบรัดตัดสั้นและความไม่ชำนาญในการพิมพ์หนังสือสื่อความของวิสุทธิปาละเอง อาจจะทำให้กัลยาณมิตรบางท่านเข้าใจไม่ตรงกับที่ต้องการสื่อ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ถ้าไม่ขัดเกลาและเพิ่มเติมรายละเอียดที่ยังไม่สมบูรณ์ในข้อความทั้งหมดใหม่ โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องไปค้นอ้างอิงในตำรา ซึ่งถ้าจะทำคงใช้เวลาหลายเดือนพอสมควร :b5: :b31: :b31: :b46: :b46:

อย่างไรก็ตาม ขอทุกท่านอย่าติดอยู่แค่หนังหรือเนื้อ ให้ก้าวผ่านหนังผ่านเนื้อเข้าไปจนถึงกระดูก และทดลองปฏิบัติจนเห็นถึงเยื่อในกระดูกด้วยตนเองก็จะเป็นการดีที่สุด โดยวิสุทธิปาละเองก็กำลังพิจารณากระดูก และพยายามจะเข้าให้ถึงเยื่อในกระดูกอย่างถาวร คือที่สุดแห่งทุกข์ที่สุดแห่งธรรม ซึ่งสภาวะดังกล่าวไม่ต้องใช้การพูด เพราะแสดงเป็นคำพูดไม่ได้ แบบที่ท่านเอก้ายืนหุบปากนิ่งเพื่ออธิบายธรรมะที่แท้จริงแก่ท่านโพธิธรรม :b8: :b39: :b46:

(ส่วนวิธีการนั้น แสดงเป็นคำพูดได้นะครับ ต้องแยกแยะให้ออกระหว่างวิธีการที่จะเข้าถึงสภาวะซึ่งอธิบายด้วยคำพูดได้ และตัวสภาวะนั้นเองซึ่งอธิบายอย่างมากได้เพียงยกตัวอย่างมาเทียบให้ใกล้เคียงแบบที่พระพุทธองค์ทรงอธิบายสภาวะของพระนิพพาน ซึ่งลองศึกษาได้จากพุทธธรรมฉบับปรับปรุงขยายความ หน้า ๒๒๙ – ๒๔๑) :b46: :b39: :b46:

หรือถ้าโยนิโสมนสิการแล้วเห็นว่า กระดูกและเยื่อในกระดูกที่หนังและเนื้อก้อนนี้หุ้มอยู่ ยังไม่ใช่ของที่แท้จริง ก็สามารถหาหรือสอบทานกับกระดูกและเยื่อกระดูก ผ่านหนังและเนื้อที่อื่นๆได้ตามที่พยายามย้ำอยู่ตลอดนะครับ และถ้ามีบุญวาสนา สามารถเจอะเจอกระดูก หรือเยื่อกระดูกของจริงโดยตรงโดยไม่ต้องผ่านเนื้อ ก็ถือว่าเป็นบุญของผู้ที่หาพบได้จริงๆแล้ว :b51: :b39: :b51:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอยกพุทธทาสธรรมมาให้พิจารณากันครับ :b8: :b53: :b39: :b53:

“ธรรมะจริง มันพูดไม่ได้ ต้องแสดงด้วยอาการหุบปาก แต่ขอให้ถือว่า เรากำลังพูดกันถึงเรื่องวิธี หรือหนทางที่จะเข้าถึงธรรมะจริงก็แล้วกัน แต่ว่า เมื่อเข้าถึงธรรมะจริงแล้ว มันเป็นเรื่องที่จะต้องหุบปาก ...”

“... ในที่สุด เราจะต้องมานึกกันถึงเรื่องเปลือกและเนื้อบ้าง นิทานทั้งหลายนั้นมันเหมือนเปลือก ส่วน spirit ของนิทานนั้นเหมือนกับเนื้อใน แต่ว่าเปลือกกับเนื้อจะต้องไปด้วยกัน ครูบาอาจารย์ทั้งหลายอย่าได้เกลียดเปลือก และอย่าได้ยึดมั่นถือมั่นเอาแต่เนื้อ มันจะเน่าไปหมด ข้อนี้หมายความว่า ถ้าเนื้อไม่มีเปลือก มันจะเน่า จะต้องเป็นเนื้อที่เน่า เนื้อที่มีเปลือกเท่านั้น ที่จะไม่เน่า

เหมือนอย่างผลไม้ ถ้าไม่มีเปลือก เนื้อมันจะอยู่ได้อย่างไร จะเป็นมังคุด ทุเรียนอะไรก็ตาม ถ้ามันไม่มีเปลือกของมัน เนื้อของมันจะอยู่ได้อย่างไร จะสำเร็จประโยชน์ในการบริโภคของเราได้อย่างไร ทั้งที่เราต้องการบริโภคเนื้อ เปลือกของมันก็ต้องมี หรือว่าการที่ผลไม้มันจะออกมาจากต้น มีดอกแล้วจะเป็นลูก มันยังต้องเอาเปลือกออกก่อน เพื่อให้เนื้ออาศัยอยู่ในเปลือกแล้วเจริญขึ้น ถ้าไม่มีเปลือก ส่งเนื้อออกมาก่อน มันก็เป็นต้นไม้ที่โง่อย่างยิ่ง

คือมันจะเป็นผลไม้ขึ้นมาไม่ได้ เพราะเยื่อนั้นจะต้องเป็นอันตรายไปด้วยแสงแดด ด้วยลม ด้วยอะไรต่างๆ หรือมดแมลงอะไรก็ตาม ฉะนั้น มันต้องมีเปลือกที่แน่นหนาเกิดขึ้นก่อน เนื้อเจริญขึ้นในนั้นก็เป็นผลไม้ที่เติบโต แก่ สุก บริโภคได้ นั่นคือคุณค่าของเปลือก มองดูอีกแง่หนึ่ง มันก็ยิ่งกว่าเนื้อ มันมีค่ามากกว่าเนื้อก็ได้ เพราะมันทำให้เนื้อเกิดขึ้นได้ สำเร็จประโยชน์ แต่เราก็ไม่มีใครกินเปลือก เพราะต้องการจะกินเนื้อ ฉะนั้น เราจะต้องจัดเปลือกและเนื้อ ให้กลมกลืนกันไป”

นิทานเซ็น มหรสพทางวิญญาณเพื่อจริยธรรม เล่าโดย.. ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม ณ หอประชุมคุรุสภา พุทธศักราช ๒๕๐๕ พิมพ์โดย ธรรมสภา” http://www.dhammajak.net/zen/50.html

อาจจะเทียบเคียงได้ไม่ ๑๐๐ % แต่ขอให้ก้าวข้ามผ่านตัวผู้บอกทางซึ่งเป็นแค่เปลือก เข้าถึงเนื้อในคือแผนที่เส้นทาง ซึ่งผู้บอกทางพยายามจะสอบทานกลับไปให้เห็นว่าเป็นส่วนอธิบายของแผนที่หลักคือพระไตรปิฎก และให้ทดลองก้าวเดินด้วยตนเอง ก็จะเกิดประโยชน์จริงๆกับผู้ศึกษานะครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

ดึกแล้ว ขอต่อส่วนที่เหลือในคราวหน้าครับ :b30: :b46: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 02:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุไฉน พระพุทธองค์จึงทรงรับสั่ง พระโมคัลลานะ ให้ จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุด
ขึ้นใน
ระดับฌาณต่างๆ

Quote Tipitaka:
โมคคัลลานสังยุตต์


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๖๘๔๖ - ๗๑๘๓. หน้าที่ ๒๙๘ - ๓๑๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0


ตัวอย่าง....

Quote Tipitaka:
[๕๒๒] ที่เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานๆ ดังนี้ เนวสัญญา-
*นาสัญญายตนฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัย
นี้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดย
ประการทั้งปวง นี้เรียกว่าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เราก็เข้าเนวสัญญา
นาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อ
เราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยอากิญจัญญายตนะย่อมฟุ้ง
ซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์
แล้วได้ ตรัสว่า
โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ใน
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในเนวสัญญานา
สัญญายตนฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สมัย
ต่อมา เราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌาน
เสียได้โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด
คำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคล
เมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว
ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 03:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




get_auc3_img.jpg
get_auc3_img.jpg [ 22.65 KiB | เปิดดู 5155 ครั้ง ]
กลาง หยุดนิ่งตรงไหน แล้วอะไรจะผุดขึ้นตรงไหน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 04:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่ง ปฐมฌาณ ทุคิยะฌาณ ๆลๆ จนถึงอรหัตมรรค ฯ


ให้สังเกตุดูที่ลักษณะ3 เบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด ในแต่ละขั้นๆ

Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๐๗๐ - ๕๑๙๙. หน้าที่ ๑๖๗ - ๒๑๒.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 04:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
(หรือถ้าท่านใดเจอที่หลวงปู่ท่านระบุเอาไว้ว่า วิธีการให้จิตเห็นจิต เป็นมรรคที่ ๔ ขององค์พระอานนท์ ก็จะเป็นประโยชน์กับวิสุทธิปาละและกับมิตรทางธรรมท่านอื่นไม่น้อยครับ :b8: :b39: :b46: :b46:

ผมอาจจะงง กับการใช้คำของคุณบ้าง แต่ขอตอบว่า...
หลวงปู่มั่นเรียกว่าดวงพุทโธ หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ เรียกว่าดวงธรรม ในเรื่องดวงนี้หลวงวัดปากน้ำท่านสามารถอธิบายได้ละเอียดว่ามีกี่ดวงๆลๆ และนั่นก็คือ ธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นในภายใน ในแต่ละขั้นๆ ๆๆๆๆๆ เห็นธรรมในธรรม เห็นจิตในจิต ๆลๆ...นั่นเอง
เจริญธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 04:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
หรือถ้าท่านใดเจอที่หลวงปู่ท่านระบุเอาไว้ว่า นั่นคือการเข้าสู่รูปฌานที่ ๔ ก็จะเป็นประโยชน์กับวิสุทธิปาละและกับมิตรทางธรรมท่านอื่นไม่น้อยครับ :b8: :b51: :b39: :b51:


มีแบบนี้
Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๓๒๕๓ - ๓๕๐๗. หน้าที่ ๑๔๑ - ๑๕๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร