วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 18:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2010, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อายะ เขียน:
ท่านอย่าลืมว่าท่านให้ไปหาแหล่งอ้างอิงในขั้นวิปัสนามา ว่าห้ามเพ่ง


คนเรานี่ ธาตุแท้ไม่เปลี่ยนจริงๆ
ฤาษีแปลงสารเหมือนเดิม
ผมพูดอีกอย่างหนึ่ง ก้เอามาแปลงอีกอย่าง

จะเพ่งไม่เพ่งก้ช่างคุณเถอะ
คิดว่าอะไรดีก็ดี อะไรไม่ดีก็ไม่ดี

คนไหนสอนผิดก็ช่างเขา ตัวเองถูกก้ทำไป
คนสอนผิดมีอีกเป้นพันล้านคนในโลก
แน่จริงไปแก้เขาสิ


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 02 เม.ย. 2010, 14:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 22:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ในประเด็น




ตัณหา ที่เป็นเบื้องหลังของการจงใจ(ตั้งใจ)ฝึกเจริญสติ ที่จัดเป็นภาวะ"ผิดพลาด"

[ตามความเชื่อที่ว่า การจงใจ(ตั้งใจ)ฝึกเจริญสตินั้น เป็น มิจฉาวายามะ และ นำไปสู่ มิจฉาสติ]



เสนอประเด็นเพิ่มเติม จาก

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=72547

อ้างคำพูด:
๓. เครื่องขัดขวางการเรียนรู้ธรรม

ก่อนที่เราจะพิจารณาว่าต้นทางของเส้นทางการปฏิบัติธรรมอยู่ที่ตรงไหน

ผู้เขียนขอเสนอให้เพื่อนนักปฏิบัติขจัดสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ๓ ประการ เรียกว่า ปปัญจธรรม อันเป็นกิเลสเครื่องเนิ่นช้า เป็นตัวการทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริงที่ง่ายๆ และเปิดเผย ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ และ ขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริง

กิเลส ๓ ประการนี้ ได้แก่

ๆลๆ

๓.๓ ตัณหา คือความอยาก ในที่นี้หมายถึง ความอยากที่จะปฏิบัติธรรม และ ความอยากที่จะบรรลุธรรม เมื่อมีความอยากก็เกิดการกระทำตามอำนาจของความอยากต่างๆนานา ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า “ตัณหาเป็นผู้สร้างภพ” คือสร้างความปรุงแต่งหรือการงานทางใจที่เรียกว่า “กรรมภพ” ขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพียรทำอะไรบางอย่างเพื่อละอกุศล และ การเพียรทำอะไรบางอย่างเพื่อเจริญกุศล เช่น การพยายามทำสติ สมาธิ ปัญญา และวิมุตติให้เกิดขึ้น โดยเชื่อว่าถ้ามีความเพียรปฏิบัติและสร้างความปรุงแต่งฝ่ายกุศลให้เต็มที่แล้ว จะรู้ธรรมได้ในที่สุด





ตัณหา ในบทความนี้ เป็นเหตุให้การปฏิบัติธรรมเนิ่นช้า(ไม่ลัดสั้น???) ….ซึ่ง ตัณหา ในบทความนี้ นำไปสู่ การจงใจ(ตั้งใจ)เจริญสติ ซึ่งใช้คำว่า"การพยายามทำสติ" อันถือว่าเป็นมิจฉาวายามะ และ นำไปสู่มิจฉาสติ ....

[การไม่จงใจ(ตั้งใจ)เจริญสติ จึงเป็นทางลัดสั้น???]



ตัณหา ในบทความนี้เป็นความหมายแห่ง “ตัณหาในปฏิจจสมุปบาทฝ่ายทุกข์เกิด”(ตัณหาเป็นผู้สร้างภพ;จากบทความ) .......ซึ่ง น่าจะตรงกับ ตัณหา๓ หรือ ตัณหา๖ นั้นเอง


Quote Tipitaka:
จาก ตัณหาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 17


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ใน รูปตัณหา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัททตัณหา ฯลฯ
ใน คันธตัณหา ฯลฯ
ในรสตัณหา ฯลฯ
ในโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ
ในธรรมตัณหา ฯลฯ



หมายเหตุ... “ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ” คือ ฉันทราคะ (พระบาลี ฉนฺทราโค)

ส่วนคำว่า "ธรรมตัณหา" นั้น หมายถึง ความทะยานอยากในธรรมารมณ์ .ไม่ใช่ ความอยากในการเจริญสติ อะไรหรอกน่ะครับ




เสนอ พิจารณา ความหมายของคำว่า “ฉันทะ” และ คำว่า“อยาก”


จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



อ้างคำพูด:
[213] อิทธิบาท 4 (คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย - path of accomplishment; basis for success)
1. ฉันทะ (ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป - will; aspiration)
2. วิริยะ (ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย - energy; effort; exertion)
3. จิตตะ (ความคิด คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป - thoughtfulness; active thought)
4. วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น - investigation; examination; reasoning; testing)
D.III.221;
Vbh.216. ที.ปา. 11/231/233;
อภิ.วิ. 35/505/292.



……………………………….



อยาก

อ้างคำพูด:
จาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ความหมาย

[หฺยาก] ก. ปรารถนา, ประสงค์, ต้องการ, ใคร่ ๆลๆ


…………………………………



ข้อสังเกต...

คำว่า “อยาก” กับ “ปรารถนา” มีความหมายเดียวกัน

ดังนั้น “ฉันทะ” ที่หมายถึงความปรารถนา จึงมีความหมายครอบคลุมถึงคำว่า “อยาก” เช่นกัน



คำว่า ฉันทะ นั้น

นอกเหนือจาก ฉันทราคะ คือ "อยากที่เป็นเหตุนำไปสู่ทุกข์" แล้ว...

ก็ ยังมี ฉันทะในอิทธิบาท คือ "อยากที่เป็นเหตุนำออกจากทุกข์"... อีกด้วย!!!




อิทธิ แปลว่า สำเร็จ . อิทธิบาท ก็คือ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย ….
จุดที่ถือว่า เป็นความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมายในพระพุทธศาสนา คือ พ้นทุกข์
อิทธิบาท ก็คือ คุณธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ .... จุดสุดท้าย ก็คือ บรรลุอรหัตตผล นั่นเอง

อิทธิบาท เริ่มด้วย ฉันทะ คือ ปรารถนาหรือ อยากที่จะพ้นทุกข์ ....จึงนำไปสู่ วิริยะ(เพียร พยายาม )....ตามมาด้วย จิตตะ (ตั้งจิต) และ วิมังสา(ใคร่ครวญ)... จึงนำไปสู่ความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง(บรรลุอรหัตตผล)ในที่สุด



ขออนุญาต เน้น เปรียบเทียบ

# ฉันทราคะ(ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ; เกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกับ ตัณหาในปฏิจจสมุปบาท) เป็นเหตุนำไปสู่ ทุกข์

แต่

#ฉันทะแห่งอิทธิบาท .... ที่ถึงแม้น แปลไทย จะมีความหมายว่า “อยาก”เช่นกัน.... แต่ เป็น “อยากพ้นทุกข์” เป็นเหตุเริ่มต้น ของการนำออกจากทุกข์





ครูบาอาจารย์พระป่า ท่านไม่เคยห้ามอยากพ้นทุกข์เลย...
ที่ท่านสอนคือ ไม่ให้เพียงแต่อยากแล้วไม่ลงมือปฏิบัติ ....
และ เวลาเพียรปฏิบัติ ก็ เพียรให้พอดี .... ไม่เพียรน้อยไป จนกลายเป็นเหลาะแหละ... และ ไม่เพียรมากไปจนกลายเป็นเครียดเกร็ง
ครูบาอาจารย์พระป่า ท่านจึงสอนให้” เพียรอย่างพอดี”... ตรงกับ พระพุทธพจน์ที่ว่า “ บุคคลจะล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร” นั้นเอง


ครูบาอาจารย์พระป่า ท่านไม่เคยห้ามตั้งใจ(จงใจ)ในการฝึกเจริญสติเลย....
ที่ท่านสอนคือ "ตั้งใจให้พอดี" ....ไม่ตั้งใจน้อยเกินไปจนขาดสติ.... และ ไม่ตั้งใจมากเกินไปจนเครียดเกร็ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็น เรื่อง "ถิรสัญญา"




เป็นคำสอนที่ปรากฏในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล... คำๆนี้ ไม่มีในสมัยพุทธกาล



ถิรสัญญา ในปัจจุบัน กำลังเป็น"หัวใจของการเจริญสัมมาสติ" ของ ชาวพุทธรุ่นใหม่...

เพราะ ถิรสัญญา คือคำตอบของคำถามที่ว่า

"ถ้า ไม่ให้จงใจ(ตั้งใจ)เจริญสติ แล้ว สัมมาสติจะปรากฏได้อย่างไร???"

(เป็นคำถามที่สืบเนื่องมาจากแนวคิดที่ว่า การจงใจ(ตั้งใจ)เจริญสติเป็นภาวะที่ผิดพลาด)



ซึ่งคำตอบ ก็คือ เจริญถิรสัญญา นั่นเอง





อนึ่ง...

ถ้า ถิรสัญญา เป็นสิ่งที่สำคัญในการ "วินิจฉัยชี้ ถูก-ผิด ของการเจริญสติ "ในลักษณะที่ว่า

"หากจงใจ(ตั้งใจ)เจริญสติ โดยตรง เป็น มิจฉาสติ; แต่ ถ้าไม่จงใจ(ตั้งใจ)เจริญสติโดยตรง แต่ เจริญถิรสัญญาแทน แล้ว สัมมาสติจะเกิดเองโดยปราศจากความจงใจ " แล้ว

ก็น่าจะมีปรากฏชัดๆ สักแห่ง ในระดับพระสูตร ที่แสดง ห้ามไม่ให้ตั้งใจ(จงใจ)เจริญสติ... น่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2010, 01:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เพราะ ถิรสัญญา คือคำตอบของคำถามที่ว่า
"ถ้า ไม่ให้จงใจ(ตั้งใจ)เจริญสติ แล้ว สัมมาสติจะปรากฏได้อย่างไร???"
(เป็นคำถามที่สืบเนื่องมาจากแนวคิดที่ว่า การจงใจ(ตั้งใจ)เจริญสติเป็นภาวะที่ผิดพลาด)
ซึ่งคำตอบ ก็คือ เจริญถิรสัญญา นั่นเอง


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=5609&Z=5818&pagebreak=0

[๔๐๙] พ. ดูกรภูมิชะ เหมาะแล้ว เธอถูกถามอย่างนี้ เมื่อพยากรณ์
อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้กล่าวตามถ้อยคำของเรา ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง พยากรณ์
ธรรมสมควรแก่ธรรม และวาทะอนุวาทะไรๆ อันชอบด้วยเหตุ ย่อมไม่ถึง
ฐานะน่า ตำหนิ ดูกรภูมิชะ ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ที่มีทิฐิผิด
มีสังกัปปะผิด มีวาจาผิด มีกัมมันตะผิด มีอาชีวะผิด มีวายามะผิด มีสติผิด
มีสมาธิผิด
ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล
ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล
ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล
ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล
นั่นเพราะเหตุไร ดูกรภูมิชะ เพราะเขาไม่สามารถจะบรรลุผลได้โดยอุบายไม่แยบคาย ฯ....

...ดูกรภูมิชะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มีทิฐิ-
*ชอบ ฯลฯ มีสมาธิชอบ
ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็
สามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถ
บรรลุผล ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็
สามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหม-
*จรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล นั่นเพราะเหตุไร ดูกรภูมิชะ เพราะเขาสามารถ
บรรลุผลได้โดยอุบายแยบคาย ฯ


คำตอบยังคงเป็นเจริญมรรคปฏิปทา ด้วยจิตทั้งดวง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 04 เม.ย. 2010, 01:14, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2010, 01:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็นเรื่องฉันทะ ตันหา

ผมได้ยินมาว่า
ฉันทะ คือการหวังในเหตุ
ตันหา คือหวังในผล



หลวงพ่อสงบพูดว่า หวังในเหตุไม่บาป หวังในผลบาป
หลวงพ่อปราโมทย์พูดว่า ฉันทะคือหวังในเหตุ ตันหาคือหวังในผล

ตันหากับฉันทะ จึงไม่เหมือนกัน


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 04 เม.ย. 2010, 01:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2010, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ได้ไปอ่านพบ บทความ


"ตัณหา ที่อยู่เบื้องหลังการกำหนดรูปนาม(น่าจะรวมถึง การจงใจ ตั้งใจ เจริญสติ ด้วย) "

ว่า นำมาจาก อรรถกถา มหาสติปัฏฐานสูตร



จาก บทธรรม การเจริญสติปัฏฐาน



โดย พระอาจารย์ ปราโมทย์ ปราโมชโช


อ้างคำพูด:
แต่บ่อยครั้งมาก ที่ในชั้นหลัง เราไปแปล คำว่าสติ ว่า การกำหนดรู้ ซึ่งแสดงถึง ความจงใจที่จะรู้ อันมีตัณหาอยู่เบื้องหลังของการกระทำดังกล่าว

ดังที่อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า

"สติอันกำหนดรู้รูปนามเป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจจ์

ตัณหาที่อยู่เบื้องหลังการกำหนดรู้รูปนามเป็นอารมณ์ เป็นสมุทัย"




ตรงจุดนี้น่าสนใจมาก น่ะครับ


วันนี้ ผมพยายามเข้าไปหาใน อรรกถามหาสติปัฏฐานสูตร แล้ว...


http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=10&i=273

ผมยังหาอ่าน ธรรมตรงนี้ ไม่พบครับ



ท่านผู้ใดที่พบ บทธรรมว่า

"สติอันกำหนดรู้รูปนามเป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจจ์
ตัณหาที่อยู่เบื้องหลังการกำหนดรู้รูปนามเป็นอารมณ์ เป็นสมุทัย"


โปรดช่วยชี้แสดงด้วยครับว่า ผมจะสามารถศึกษาตรงจุดนี้โดยตรงด้วยตนเอง จาก อรรถกถาส่วนนี้ตรงไหน

หรือ อาจจะเป็นเนื้อหาธรรมอื่นๆที่แสดงถึงนัยยะนี้ก็ได้ (ภาษาที่ใช้บรรยายเนื้อธรรมนัยยะนี้ในอรรกถา อาจจะไม่จำเป็นต้องตรงเป๊ะตามประโยคนี้ ก็ได้ น่ะครับ)





ขอบคุณครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 04 เม.ย. 2010, 20:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2010, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
"สติอันกำหนดรู้รูปนามเป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจจ์
ตัณหาที่อยู่เบื้องหลังการกำหนดรู้รูปนามเป็นอารมณ์ เป็นสมุทัย"


ผมก็อยากรู้เหมือนกัน สาวกทั้งหลายครับ หาให้เจอนะครับ มิฉะนั้นคงจะหมายถึงตีความเอาเอง
ถ้าหาไม่เจอก็บอกเลยไปว่าพระคุณเจ้าท่านไม่ได้พูด ผมก็ไม่รู้ว่าพระคุณเจ้าท่านพูดหรือเปล่า ได้แต่รอดู


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2010, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จะเพ่งไม่เพ่งก้ช่างคุณเถอะ
คิดว่าอะไรดีก็ดี อะไรไม่ดีก็ไม่ดี

คน ไหนสอนผิดก็ช่างเขา ตัวเองถูกก้ทำไป
คนสอนผิดมีอีกเป้นพันล้านคนในโลก
แน่ จริงไปแก้เขาสิ


ท่านบอกมาซิครับว่าไม่ยอมรับหลวงพ่อจรัญ กับหลวงตา ดังที่ผมยกมากกล่าวอ้างหรือ ที่ยกมาอ้างนั้นผิดถูกอย่างไร
แต่มันก็เป็นเรื่องของท่านอีกนั่นแหละ ผมกลัวจะเสียภาพภจน์นักดูจิต ถามข้อธรรมทีไรก็ตอบไม่ได้ซักที ดังคนอื่นๆ ที่ผมเคยประสบมา ประมาณนั้น

จริงแล้วท่านจะทำอย่างไรมันก็เป็นเรื่องของท่าน ผมก็ไม่ได้คิดจะแก้ไขท่าน
จุดประสงค์ของผมคือ ให้คนที่จะเลือกแนวทางดูจิตหรือเลือกไปแล้วได้เฉลียวใจได้บ้าง
มิใช่หลงแห่กันไปเหมือนไปดูคอนเสริจเบิร์ดทงชัยใครจะไปห้ามว่าทำให้เกิดโมหะ ก็คงไม่มีใครเชื่อ ประมาณนั้น
ดังนั้นท่านชาติจึงมีคุณกับผมมาก มิฉะนั้นผมก็ไม่รู้จะสนทนากับนักดูจิตคนไหนเหมือนกัน เพราะพอถามข้อธรรมทีไรก็ไล่ไปฟังซีดีทุกที เหอะๆ


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 04 เม.ย. 2010, 21:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2010, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
"สติอันกำหนดรู้รูปนามเป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจจ์
ตัณหาที่อยู่เบื้องหลังการกำหนดรู้รูปนามเป็นอารมณ์ เป็นสมุทัย"


คราวนี้ อ่านแต่สีเขียวนะครับ

อ้างคำพูด:
"สติอันกำหนดรู้รูปนามเป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจจ์
ตัณหาที่อยู่เบื้องหลังการกำหนดรู้รูปนามเป็นอารมณ์ เป็นสมุทัย"


แปลอีกที
กำหนดรู้ทุกข์(รูปนาม)ด้วยสติ...จึงรู้ทุกข์
ตันหา เป้นสมุทัย


แปลไทยเป้นไทยอีกที
ถ้าไม่มีสติรู้รูปนาม..... ก็รู้ไม่ถูกที่
พอมีสติรู้รูปนาม .... จึงรู้ทุกข์ได้ถูกที่... กล่าวคือรู้รูปนามด้วยสติเป็นการรู้ทุกข์ (ทุกขสัจ)

ก็ไม่รู้ทุกข์ลงที่รูปนามของตนด้วยสติแล้ว ก็อาจจะไปรู้ทุกข์ข้างนอก
ทุกข์ชาวบ้าน ทุกข์ของวัตถุ ทุกข์ของจักรวาล
ก้ไม่นับว่าเป้นทุกขสัจที่นำไปสู่การถอดถอนกิเลสของตน


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 04 เม.ย. 2010, 21:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2010, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ๋อมันเป็นเรื่องภาษานั่นเอง :b13:
แล้วที่บอกว่า


อ้างคำพูด:
แปลอีกที
กำหนดรู้ทุกข์(รูปนาม)ด้วยสติ...จึง รู้ทุกข์
ตันหา เป้นสมุทัย



พระคุณเจ้าท่านแปล หรือสาวกท่านแปล
เอางี้ถามใหม่จะได้เคีย การกำหนดรู้รูปนามผิดบ่ ตอบมาอย่าเฉไฉ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2010, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


แน่ะ ไม่รักแล้ว ยังจะมาวอแวเกี้ยวพาอีก

เอาล่ะ
ตัดใจจากผมไม่ได้ก็จะสงเคราะห์พูดด้วยนิดนึง :b32:

อายะ เขียน:
ท่านบอกมาซิครับว่าไม่ยอมรับหลวงพ่อจรัญ กับหลวงตา
ดังที่ผมยกมากกล่าวอ้างหรือ ที่ยกมาอ้างนั้นผิดถูกอย่างไร

- เอ่อ คุณอายะ
ผมสาธยายแทบทุกเม็ด ตั้งมากตั้งมาย ไม่เห็นเลยเหรอ

อยากเข้าใจผม ให้ไปค้นดูสิ

แล้วหลวงพ่อจรัญ กับหลวงตานี่ มาเกี่ยวได้ยังไงครับ
ผมไปพูดตอนไหนเหรอว่าไม่เห้นด้วย ไหนลองยกตัวอย่างให้ผมได้เห็นหน่อยสิ

หนอยๆ จะมาแอบใช้วิธีเอาชื่อหลวงตากับหลวงพ่อจรัญ
มาใช้เป้นเครื่องมือสร้างแนวร่วม ลดความน่าเชื่อถือของผม
กระดูกคนละเบอร์นะคูณอายะ

มาเถอะ ใครจะไปหลงเชื่อข้อกล่าวหาของคุณ ก็มาเถอะ
วิธีของคุณก็เมหือนวิธีที่เขาใช้ม๊อบกันทุกวันนี้แหละ
กล่าวหาว่าคนนั้นคนนี้จะมาทำร้ายพระเจ้าอยู่หัว
ถ้าเป็นโจรใต้ ยังพอรับฟังได้ว่าจะมาทำร้ายพระเจ้าอยู่หัว
แต่นี้คนไทย คนไทยทัง้นั้น แล้วมายกทัพเรือทัพบกมาอารักขาเต้มกำลัง
ออกข่าวๆปาวๆแบบนี้
คนดีแต่โง่มีเยอะ รักพระเข้าอยู่หัวน่ะดี แต่โง่ที่ฟังไม่รอบ
กลยุทธลงทุนต่ำแต่ได้ผลสูงแบบนี้ อย่าทำเลยคุณ
ลากหลวงตาหลวงพ่อจริญมาเล่น ให้ระวังเจตนาให้ดี
เจตนานั่นแหละกรรม ความคิดมันพรางอยู่

อ้างคำพูด:
แต่มันก็เป็นเรื่องของท่านอีกนั่นแหละ ผมกลัวจะเสียภาพภจน์นักดูจิต ถามข้อธรรมทีไรก็ตอบไม่ได้ซักที ดังคนอื่นๆ ที่ผมเคยประสบมา ประมาณนั้น


หืม ทูนหัว
ดูรักผมจริงๆนะ กลัวเสียภาพพจน์
ข้อธรรมผมตอบตั้งเยอะ ไม่เคยสนใจดูน่ะสิ

ตามสบาย ไม่อยากเข้าใจผมก้ไม่ว่า
เพราะผมไม่ได้แคร์ความเข้าใจของคุณเท่าไหร่
ผมแคร์แต่ความจริง แสดงความเห็นโดยชื่อตรงสุจริต
ขนาดบุญผมยังไม่แคร์เลยนะ บอกตรงๆ


อ้างคำพูด:
จริงแล้วท่านจะทำอย่างไรมันก็เป็นเรื่องของท่าน ผมก็ไม่ได้คิดจะแก้ไขท่าน

ดีแล้ว

อ้างคำพูด:
จุดประสงค์ของผมคือ ให้คนที่จะเลือกแนวทางดูจิตหรือเลือกไปแล้วได้เฉลียวใจได้บ้าง

นับว่าประเสริฐ เตือนคนให้ไม่ประมาท ถือว่าน่ารัก

อ้างคำพูด:
มิใช่หลงแห่กันไปเหมือนไปดูคอนเสริจเบิร์ดทงชัย ประมาณนั้น

ปุถุชนก็อย่างนี้
พระก็เรื่องหนึ่ง ปุถุชนก็เรื่องหนึ่ง

อ้างคำพูด:
ดังนั้นท่านชาติจึงมีคุณกับผมมาก มิฉะนั้นผมก็ไม่รู้จะสนทนากับนักดูจิตคนไหนเหมือนกัน เพราะพอถามข้อธรรมทีไรก็ไล่ไปฟังซีดีทุกที เหอะๆ

คนแนะนำน่ะ เขาแนะนำถูกแล้ว
ที่ผิดคือมาคุยกับผม มาเอาถูกเอาผิดกับผม นี่ล่ะผิดมหันต์เลย

ตัดสินคดี ก้ต้องฟังคู่ความ ฟังต้นแบับ
ไม่ใช่ไปเอาไทยมุงอย่างผมมาแก้ต่างแทนโจทก์จำเลย

ให้ไทยมุงพูดน่ะ ก้พูดไปตามที่เห็น
จะเอาแน่นอนอะไรไม่ได้ดอก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2010, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อายะ เขียน:

ชาติสยาม เขียน:
แปลอีกที
กำหนดรู้ทุกข์(รูปนาม)ด้วยสติ...จึง รู้ทุกข์
ตันหา เป้นสมุทัย


พระคุณเจ้าท่านแปล หรือสาวกท่านแปล

ผมแปลเอง

อันที่อยู่นอกกรอบน่ะ ผมว่าเองหมดเลย

ทำไมล่ะ ฟ้าผ่ากลางใจ สว่างวาบขึ้นมาล่ะสิ

นี่แหละ ธรรมะมันสนุกตรงสว่างวาบๆนี้แหละ :b32:


อ้างคำพูด:
เอางี้ถามใหม่จะได้เคีย การกำหนดรู้รูปนามผิดบ่ ตอบมาอย่าเฉไฉ


เอาละเอียดๆ เลยละกัน

"รูปนาม"นี่ ถือว่าพูดถึงรูปนามของตนเอง แต่ละคนน่ะ
ไม่ใช่พูดรูปนามคนอื่น หรือรูปนามภายนอก กรวดหินดินไฟอะไรภายนอก

ถ้าไม่กำหนดรู้รูปนามของตน แล้วจะให้กำหนดอะไรล่ะ
ก้รูปนามของเรานี่แหละกองทุกข์ กองกิเลส สวรรค์ นิพพาน ก็หาเอาได้ด้วยรูปนามของตน



ถามมั่ง

สองคำนี้ คุณคิดว่าอันเดียวกันหรือเปล่า

"กำหนดรู้รูปนาม" VS "สติระลึกรู้รูปนาม"

ตอยมาดีๆ อย่ามาวกๆวนๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2010, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตอบก่อนนะ
อ้างคำพูด:
"กำหนดรู้รูปนาม" VS "สติระลึกรู้รูปนาม"


บ่เหมือน อันดับแรกต้องกำหนด จงใจ ตั้งใจ ที่จะกำหนดรู้รูปนาม
ส่วนสติระลึกรู้รูปนาม นั้นเป็นผลจากการจงใจกำหนดรู้รูปนาม

อ้างคำพูด:
ท่านชาติ
ถ้าไม่กำหนดรู้รูปนามของตน แล้วจะให้กำหนดอะไรล่ะ


ขอยืนยันนะว่า
อ้างคำพูด:
การกำหนดรู้รูปนาม
นั้นไม่ผิด


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 04 เม.ย. 2010, 21:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2010, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:

แปลอีกที
กำหนดรู้ทุกข์(รูปนาม)ด้วยสติ...จึงรู้ทุกข์
ตันหา เป้นสมุทัย






น่าจะสื่อถึง กิจที่พึงกระทำต่ออริยสัจจ์สี่???




พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

อ้างคำพูด:

[205] กิจในอริยสัจจ์ 4 (หน้าที่อันจะพึงทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละอย่าง, ข้อที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและเสร็จสิ้นในอริยสัจ 4 แต่ละอย่าง จึงจะชื่อว่ารู้อริยสัจหรือเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว - functions concerning the Four Noble Truths)
1. ปริญญา (การกำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์ ตามหลักว่า ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ ทุกข์ควรกำหนดรู้ คือ ควรศึกษาให้รู้จักให้เข้าใจชัดตามสภาพที่เป็นจริง ได้แก่ การทำความเข้าใจและกำหนดขอบเขตของปัญหา - comprehension; suffering in to be comprehended)
2. ปหานะ (การละ เป็นกิจในสมุทัย ตามหลักว่า ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพํ สมุทัยควรละ คือ กำจัด ทำให้หมดสิ้นไป ได้แก่การแก้ไขกำจัดต้นตอของปัญหา - eradication; abandonment; the cause of suffering is to be eradicated)
3. สัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้ง เป็นกิจในนิโรธ ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกาตพฺพํ นิโรธควรทำให้แจ้ง คือ เข้าถึง หรือบรรลุ ได้แก่การเข้าถึงสภาวะที่ปราศจากปัญหา บรรลุจุดหมายที่ต้องการ - realization; the cessation of suffering is to be realized)
4. ภาวนา (การเจริญ เป็นกิจในมรรค ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพํ มรรคควรเจริญ คือ ควรฝึกอบรม ลงมือปฏิบัติ กระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย ได้แก่การลงมือแก้ไขปัญหา - development; practice; the path is to be followed or developed)

ในการแสดงอริยสัจจ์ ก็ดี ในการปฏิบัติธรรมตามหลักอริยสัจจ์ ก็ดี จะต้องให้อริยสัจจ์แต่ละข้อ สัมพันธ์ตรงกันกับกิจแต่ละอย่าง จึงจะเป็นการแสดงและเป็นการปฏิบัติโดยชอบ ทั้งนี้ วางเป็นหัวข้อได้ดังนี้
1. ทุกข์ เป็นขั้นแถลงปัญหาที่จะต้องทำความเข้าใจและรู้ขอบเขต (ปริญญา) - statement of evil; location of the problem.
2. สมุทัย (เป็นขั้นวิเคราะห์และวินิจฉัยมูลเหตุของปัญหา ซึ่งจะต้องแก้ไขกำจัดให้หมดสิ้นไป (ปหานะ) - diagnosis of the origin.
3. นิโรธ เป็นขั้นชี้บอกภาวะปราศจากปัญหา อันเป็นจุดหมายที่ต้องการ ให้เห็นว่าการแก้ปัญหาเป็นไปได้ และจุดหมายนั้นควรเข้าถึง ซึ่งจะต้องทำให้สำเร็จ (สัจฉิกิริยา) - prognosis of its antidote; envisioning the solution.
4. มรรค เป็นขั้นกำหนดวิธีการ ขั้นตอน และรายละเอียดที่จะต้องปฏิบัติในการลงมือแก้ปัญหา (ภาวนา) - prescription of the remedy; program of treatment.

ความสำเร็จในการปฏิบัติทั้งหมด พึงตรวจสอบด้วยหลัก [73] ญาณ 3

Vin. I. 10;
S.V.422. วินย. 4/15/20;
สํ.ม. 19/1666/529







ไม่เข้าใจว่า กิจที่พึงกระทำในอริยสัจจ์สี่ สามารถนำมาอธิบายประเด็น

" การจงใจ(ตั้งใจ)ฝึกเจริญสติ เป็นภาวะผิดพลาด เพราะ มีตัณหา(เนื่องกับ ฉันทราคะ)อยู่เบื้องหลัง"

ได้อย่างไร???


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 05 เม.ย. 2010, 00:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2010, 00:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
ไม่เข้าใจว่า กิจที่พึงกระทำในอริยสัจจ์สี่ สามารถนำมาอธิบายประเด็น

" การจงใจ(ตั้งใจ)ฝึกเจริญสติ เป็นภาวะผิดพลาด เพราะ มีตัณหา(เนื่องกับ ฉันทราคะ)อยู่เบื้องหลัง"

ได้อย่างไร???

ขอโทษทีครับ ผมหลงประเด็น


แต่อันที่จะพูดนี้ก็ยังไม่ใช่ประเด็นนะ
แต่เห็นคุณหมอถามว่าเจอคำนั้นในอรรถกถาตรงไหน
ผมเจอแล้ว

http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... &i=273&p=3
ตรงหัวข้ิอ " สติกำหนดจิตเป็นอริยสัจ ๔ "

----------------

Quote Tipitaka:
สติกำหนดขันธ์ ๕ เป็นอริยสัจ ๔
แต่ในที่นี้ มีข้อต่างกันอย่างเดียว คือพึงประกอบความอย่างนี้ว่า สติกำหนดขันธ์เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจ ดังนี้แล้ว พึงทราบว่า เป็นทางปฏิบัตินำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดขันธ์เป็นอารมณ์.
คำที่เหลือก็เช่นนั้นเหมือนกัน.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=10&i=273


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 05 เม.ย. 2010, 00:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 164 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร