วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ค. 2025, 22:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1415 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 79, 80, 81, 82, 83, 84, 85 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2016, 23:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2016, 11:37
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านดูแล้วคุณวิสุทธิปาละ จะมีความรู้กว้างขวางดีมากทั้งทางโลก(ภาษาอังกฤษ)และทางธรรม
อธิบายได้ดีพอสมควรเลย และไม่ค่อยหลงประเด็นแสดงว่าจิตของคุณมีสมาธิดีมาก

รู้สึกเลื่อมใสก็เลยอยากจะถามถึงฐานาฐานะ ของคุณวิสุทธิปาละว่า

คุณได้อารมณูฌาน และลักษณูฌานถึงจุดไหนครับ ถ้าไม่เป็นการละลาบละล้วงเกินไป
(ขอโทษมาด้วยครับ)

ถ้าคิดว่าไม่สมควรตอบก็ไม่เป็นไรครับ
ถ้าจะเปิดเผยสถานะทางโลกก็ยิ่งดีครับ

ด้วยความเครารพครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2016, 22:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1011

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คงต้องขออภัยคุณ natipakorn ด้วยนะครับที่คงไม่สะดวกที่จะให้ข้อมูลที่ถามมาทั้งสองส่วนได้ :b47: :b48: :b47:

เนื่องเพราะจุดประสงค์ในการเรียบเรียงธรรมะในครั้งนี้ ก็เพื่อต้องการนำผู้อ่าน มุ่งตรงเข้าสู่แก่นธรรมของพระบรมครู ผ่านคำสอนในพระไตรปิฎก หรือคำสอนของครูบาอาจารย์ และประสบการณ์ปฏิบัติส่วนตัวที่เคยผ่านมาบ้าง โดยให้ผ่านเลยผู้เรียบเรียงไป ไม่ติดข้องกับตัวผู้เรียบเรียง เหมือนที่ครูบาอาจารย์บางท่าน ได้ถ่ายทอดธรรมะไว้ให้ดูเป็นตัวอย่างนะครับ :b1: :b46: :b39:

ดังนั้น ผู้เรียบเรียงจึงเป็นเพียงผู้นำสารของพระบรมครู มาส่งให้ผู้อ่าน และเมื่อผู้อ่าน ได้นำสารของพระบรมครูไปปฏิบัติจนเกิดผล ไม่ว่าจะมากหรือน้อย นั่นก็เป็นอันหมดหน้าที่ของผู้นำสารเพียงแค่นั้น :b47: :b46: :b41:

ด้วยความเคารพเช่นกันครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2016, 23:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2016, 11:37
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อความที่คัดลอกมาจากกระทู้ คุณวิสุทธิปาละ หน้าที่6

พอเริ่มรู้จักกับการกลับมาสู่ตัวรู้ได้แล้ว ให้ประคองตัวรู้ไปเรื่อยๆ :b48: :b48: :b55:

หรือถ้าประคองไม่ได้ ให้ใช้อุบายปรุงแต่งเพื่อหยุดปรุงแต่ง เพียงแต่ใช้การปรุงแต่งที่ซ้ำๆและไม่เป็นการกระตุ้นกิเลสนิวรณ์ :b51: :b51: :b51:

ไม่ว่าจะเป็นการปรุงแต่งทางกาย (กายสังขาร เช่น ดูท้องพองยุบ ดูลมหายใจเข้าออก ฯลฯ)
ทางวาจา (วจีสังขาร เช่น บริกรรมหรือสวดมนต์ที่มีทำนองเป็นโมโนโทนเบาๆ)
หรือทางใจ (มโนสังขาร หรือจิตสังขาร เช่น สวดมนต์หรือท่องพุทธโธในใจ)
เข้าไปชัก, จูง, และผูกจิตไม่ให้วิ่งวุ่นวาย จนจิตสงบแล้วจึงทิ้งการปรุงแต่งกลับมาสู่ตัวรู้ :b46: :b46: :b46:

วจีสังขาร อาจจะคลาดเคลื่อนไปจากพระสูตร
วจีสังขารคือ วิตกก วิจาร

มโนสังขารคือ เวทนาและสัญญา

ถ้าคุณ วิสุทธิปาละอยากได้พระสูตรนั้น ผมจะเอามาโพสต์ให้ ซึ่งเป็นพระสูตรที่ยาวมาก
จูฬเวทัลลสูตร
พุทธพจน์ และ พระสูตร ๕๓.
พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๒

ผิดพลาดขออภัยด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2016, 22:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1011

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณคุณ natipakorn มากครับที่ช่วยชี้จุดที่ยังผิดพลาดคลาดเคลื่อนอยู่ :b46: :b39: :b46:

กลับไปปรับแก้ให้เป็นตามด้านล่างแล้วครับ :b1:

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=35471&start=78

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2016, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1011

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันที่การเจริญสติสัมปชัญญะด้วยการรู้กายตามวิธีขององค์หลวงพ่อเทียนกันครับ :b8: :b46: :b39:

มาว่าถึงหลักการกันก่อน :b48: :b49: :b48:

หลักการของท่านก็คือ ปรกติคนเราทุกข์เพราะความคิด (ที่ยังเจือด้วยตัณหาทั้ง ๓ คือทั้งอยากเสพ (กามตัณหา) อยากเป็น (ภวตัณหา) และไม่อยากเป็น (วิภวตัณหา)) :b46: :b47: :b48:

เหมือนที่หลวงพี่ไพศาล วิสาโล ซึ่งเป็นศิษย์รูปหนึ่งของท่าน กล่าวไว้ว่า :b8: :b46: :b39:

"ทุกวันนี้ผู้คนทุกข์เพราะความคิดมากกว่าเรื่องอื่น ไม่ใช่ทุกข์เพราะไม่มีอาหารกิน ไม่ใช่ทุกข์เพราะขาดปัจจัยสี่ ไม่ใช่ทุกข์เพราะทำงานเหนื่อยยาก ส่วนใหญ่ทุกข์ทั้งๆที่มีชีวิตสะดวกสบาย แต่ก็ยังกลุ้มใจ วิตกกังวล กินไม่ได้นอนไม่หลับ นั่นเป็นเพราะความคิดที่ปรุงแต่งไปต่างๆ นานา หรือเพราะเสียใจในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว หรือวิตกในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง"

ซึ่งอันที่จริงแล้ว ตัวความคิดนั้นมันก็ยังไม่ใช่ความทุกข์ เพียงแต่เราไม่ทันรู้ ไม่ทันเห็น ไม่ทันเข้าใจความคิดอันนั้น ความคิดอันนั้นมันก็เลยปรุงเป็นโลภ ปรุงเป็นโกรธ ปรุงเป็นหลงไป :b47: :b48: :b49:

และเมื่อมันปรุงเป็นโลภ ปรุงเป็นโกรธ ปรุงเป็นหลงไป มันก็นำความทุกข์มาให้เรา ตามวงจรในปฏิจจสมุปบาท :b49: :b48: :b47:

และตัวที่จะมากั้นกระแสแห่งความคิดอันนำมาซึ่งความทุกข์ก็คือ ตัวสติ ซึ่งเริ่มจากการมีสติกลับมารู้อยู่กับกาย อันได้แก่ความเคลื่อนไหวผ่านอิริยาบถย่อยต่างๆ ที่สามารถปฏิบัติได้อยู่ทุกเวลา (สัมปชัญญะบรรพ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน) :b49: :b48: :b47:

โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวมือ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวยกมือสร้างจังหวะ ๑๔ จังหวะ ที่ท่านกำหนดขึ้นมาให้ฝึกฝนตามรูปแบบโดยไม่ต้องหลับตา หรือเพียงแค่การพลิกมือไปมาในช่วงเวลาว่างๆ :b49: :b50: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2016, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1011

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยภาคส่วนของการปฏิบัตินั้น ก็ให้เป็นธรรมชาติ ไม่ต้องฝืนไม่ต้องเพ่ง เอาแค่รู้เท่าทันการเคลื่อนไหว รู้แบบเบาๆ แบบนิ่มๆ เพื่อให้จิตมามีสติรู้ลงในกายโดยไม่เพ่ง และไม่เกิดความฟุ้งหลงไปในความคิดอันนำมาซึ่งความทุกข์ :b49: :b48: :b47:

แต่ในบางขณะ ก็มีแบบที่ว่า แม้ว่าเรากำลังเคลื่อนไหวมือ แต่กลับไม่รู้เนื้อรู้ตัว ขาดสติ มือหรือรูปกายมันก็เคลื่อนไหวอยู่อย่างนั้น แต่จิตใจมันก็ยังนึกคิด คือรู้เข้าไปในความคิดอยู่ แต่ว่าเราไม่รู้สึกตัว :b46: :b47: :b48:

เมื่อไม่รู้สึกตัว จิตมันก็ยิ่งหลงคิด ยิ่งหลงปรุง ยิ่งหลงสร้างสิ่งต่างๆขึ้นมาเพิ่มเข้าไปอีก ให้เราเห็นและเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เป็นจริง :b51: :b50: :b49:

ดังนั้น การฝึกสติกลับมาอยู่กับความรู้สึกตัว ด้วยการฝึกหัดดูการเคลื่อนไหวของรูป (กาย) ให้รูป (กาย) เคลื่อนไหวอยู่เสมอ เราคอยให้มันมีสติรู้อยู่กับการเคลื่อนไหวของรูป (กาย) พอใจคิดขึ้นมา เราจะเห็น เราจะรู้ :b46: :b47: :b48:

นั่นคือ เมื่อเรารู้สึกตัว กายเคลื่อนไหว ให้ใจรู้ทันการปรุงแต่ง คือให้ทันสังขาร นั่นคือการเข้าไปเห็นความคิด :b49: :b48: :b47:

และนั่นก็คือการรู้อารมณ์ของรูปนาม เป็นรูปทำ (อาการทางกาย) เป็นนามทำ (อาการทางใจ) :b49: :b48: :b47:

และเมื่อรู้เรื่องรูป-นามแล้ว ก็ให้เอาสติมาคอยดูนาม ซึ่งก็คือความคิด แต่อย่าไปบังคับเพ่งจ้องมัน เพียงทำเล่นๆ ดูเล่นๆ :b46: :b47: :b48:

หมั่นฝึกสติ ฝึกความรู้ตัวบ่อยๆ ให้ต่อเนื่องเหมือนสายน้ำ จนกระทั่งรู้ทันความคิด พอใจคิดปุ๊ป มันรู้ทันปั๊ป ใจก็จะไม่ปรุงแต่งต่อ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นไม่ได้
:b48: :b42: :b47:

และเมื่อฝึกไปเรื่อยๆจนความหลงคิดไม่เข้าไปเกาะยึดกับจิต จิตก็จะเห็นต้นตอหรือสมุฏฐานของความคิด เห็นกลไกของจิตในการปรุงแต่งความคิด จนกระทั่งไหลต่อเนื่องจนกลายเป็นทุกข์ หรือปรุงความทุกข์ขึ้นมา ตามวงจรในปฏิจจสมุปบาท :b46: :b47: :b48:

และเมื่อนั้น ญาณย่อมเกิด นั่นคือการเข้าไปเห็นการแยกตัวระหว่างความคิดกับจิต .. ความคิด (สังขารขันธ์) ก็สิ่งหนึ่ง จิต (วิญญาณขันธ์) ก็สิ่งหนึ่ง ต่างอาศัยพึ่งพิงกันเกิดและดับตามเหตุปัจจัย
:b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2016, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1011

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นคือ ผู้ปฏิบัติจะเห็นขบวนการปรุงแต่งทั้งหมด เป็นแค่ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของจิต โดยไม่มีบุคคลตัวตนเราเขาที่ไหน และนั่นก็คือการเห็นการเกิดขึ้นของสายปฏิจจสมุปบาท และเห็นการดับลงของสายปฏิจจสมุปบาท จิตตกกระแสได้ต้นทางของพระนิพพานนั่นเอง :b50: :b49: :b48:

ฝึกเหมือนเดิมไปเรื่อยๆจนถึงที่สุดของการฝึกแล้ว สติจะเป็นอัตโนมัติ ปัญญาจะเป็นอัตโนมัติ จนเกิดญาณเข้าไปตัดความหลงให้ขาดออกจากจิต จิตจะไม่ข้องเกี่ยวกับการปรุงแต่งใดๆอีก :b49: :b48: :b41:

กิเลสทั้งหลาย คือ โลภะ โทสะ โมหะ จะต่อไม่ติด เหมือนกับที่ท่านยกตัวอย่างจากการเห็นธรรมของท่านว่า เปรียบได้กับการตัดเชือกที่ขึงตึงอยู่ระหว่างเสาสองต้น เมื่อตัดเชือกขาดแล้ว เชือกแต่ละเส้นย่อมถูกดึงกลับไปที่เสาของมัน จะเอาเข้ามาต่อกันอย่างไรก็ไม่สามารถจะดึงเข้ามาต่อให้ติดได้อีก :b46: :b47: :b46:

เมื่อนั้น ทุกสิ่งจะเข้าสู่สภาพเดิมของมันตามกฏของธรรมชาติ รูปนี้ก็เข้าสู่สภาพเดิมของมัน จิตใจนี้ก็เข้าสู่สภาพเดิมของมัน เหมือนที่ท่านได้กล่าวเอาไว้ว่า :b8: :b46: :b39:

"นิพพาน คือ มันเข้าสู่สภาพของมัน แค่นั้นเอง ไม่มีเรื่องอะไร

เมื่อนั้น มันจะเบาทั้งหมด มันเบากาย เบาใจ เบาชีวิต เบาไปทั้งหมด คือมันไม่มีอะไรมาติดมาพัน มันไม่มีอะไรมาเกาะมาข้อง คือตัวชีวิตของเราจริงๆนี่มันเรียกว่ามันไม่มีอะไร ตัวจิตใจของเราจริงๆมันเป็นอย่างนั้น"

และนั่น คือการสลัดคืนกายและใจกลับสู่สภาพดั้งเดิมของเขาตามธรรมชาติ :b46: :b41:

และนั่น คือที่สุดแห่งทุกข์นั่นเอง
:b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2016, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1011

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าถึงหลักการกันแล้ว คราวนี้มาดูกันที่รายละเอียดในวิธีการปฏิบัติกันบ้างครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งวิธีที่ท่านกำหนดขึ้นมาให้ฝึกนี้ เป็นการปฏิบัติธรรมแบบรู้ลงในอิริยาบถย่อย (กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน สัมปชัญญะบรรพ) ซึ่งตามรูปแบบของท่านก็คือการยกมือสร้างจังหวะ ๑๔ จังหวะ โดยให้มีสติระลึก สัมปชัญญะรู้ตัว สมาธิตั้งมั่นจดจ่อต่อเนื่อง แต่ไม่เพ่งจนเคร่งตึง และไม่ปล่อยจนหลงไป แต่ถ้าหลง ก็ให้กลับมารู้สึกตัวใหม่ โดยให้รู้สึกเบาๆ ทั้งเคลื่อนไหวและหยุดนิ่ง โดยไม่ต้องหลับตา

ซึ่งการขยับมือสร้างจังหวะทั้ง ๑๔ ท่า ก็ให้เริ่มจากการนั่งขัดสมาธิ (หรือนั่งห้อยขา หรือยืน หรือนอน ก็ทำได้) แล้วเอามือวางไว้ที่ขาทั้งสองข้าง...คว่ำไว้

๑) พลิกมือขวาตะแคงขึ้น...ทำช้าๆ...ให้รู้สึก
๒) ยกมือขวาขึ้นครึ่งตัว...ให้รู้สึก...มันหยุดก็ให้รู้สึก
๓) เอามือขวามาที่สะดือ...ให้รู้สึก
๔) พลิกมือซ้ายตะแคงขึ้น...ให้รู้สึก
๕) ยกมือซ้ายขึ้นครึ่งตัว...ให้มีความรู้สึก
๖) เอามือซ้ายมาที่สะดือ...ให้รู้สึก
๗) เลื่อนมือขวาขึ้นที่หน้าอก....ให้รู้สึก
๘) เอามือขวาออกตรงข้าง...ให้รู้สึก
๙) ลดมือขวาลงที่ขาขวา ตะแคงไว้...ให้รู้สึก
๑๐) คว่ำมือขวาลงที่ขาขวา ให้มีความรู้สึกตัว
๑๑) เลื่อนมือซ้ายขึ้นที่หน้าอก...ให้มีความรู้สึก
๑๒) เอามือซ้ายออกมาตรงข้าง...ให้มีความรู้สึก
๑๓) ลดมือซ้ายออกที่ขาซ้าย ตะแคงไว้...ให้มีความรู้สึก
๑๔) คว่ำมือซ้ายลงที่ขาซ้าย...ให้รู้สึก
ทำต่อไปเรื่อยๆ...ให้รู้สึก


http://www.watsanamnai.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=539154476
http://www.watsanamnai.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=17&Id=539155472
https://www.youtube.com/watch?v=ufCoqTPiw3A
https://www.youtube.com/watch?v=noFDS2wk51s&t=241


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2016, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1011

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่ง key word ของการปฏิบัต็คือ "ให้รู้สึก" อย่างเดียว โดยที่ไม่ต้องนับจังหวะ ๑ ๒ ๓ ๔ .. หรือพากย์ในใจว่า พลิกมือขวา ยกมือซ้าย ฯลฯ ให้จิตวุ่นวายไป เอาเพียงแค่ "ให้รู้สึก" แบบเบาๆ แบบนิ่มๆ ก็พอแล้วนะครับ :b1: :b46: :b39:

โดยการทำจังหวะทั้ง ๑๔ จังหวะ เริ่มแรกให้ทำ "ช้าๆ" เพื่อที่ว่าจะได้รู้สึกตัวแบบ "ชัดๆ" :b49: :b48: :b47:

แต่ความชัดนี่ไม่ใช่การเพ่งนะครับ เอาแบบรู้ชัด สบายๆ แต่มั่นคง โดยการเคลื่อนไหวแขนและมือ ซึ่งก็คือการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดใหญ่นั้น ก็จะทำให้รู้สึกตัวได้ชัดอยู่แล้วโดยธรรมชาติ :b49: :b48: :b47:

แล้วถ้าทำจังหวะผิดจากขั้นตอน ก็ไม่ต้องซีเรียสไปนะครับ แค่กลับไปเข้าจังหวะกันใหม่อย่างช้าๆ ... ก็แค่นั้น :b49: :b50: :b51:

ต่อเมื่อฝึกให้มีสติระลึกรู้ มีสัมปชัญญะรู้ชัด มีสมาธิจดจ่อต่อเนื่องในการรู้การเคลื่อนไหวมือแบบช้าได้อย่างคล่องแคล่วไม่ผิดจังหวะแล้ว เราจะเริ่มทำให้เร็วขึ้นจนเข้าสู่การเคลื่อนไหวตามปรกติก็ได้นะครับ แต่ไม่เร็วเกินไปจนตามการเคลื่อนไหวไม่ทัน :b47: :b48: :b49:

เพราะจุดสำคัญอีกจุดหนึ่งในการฝึกแบบนี้ก็คือ นอกจากการรู้สึกได้ในการ "เคลื่อนไหว" ของมือและแขนแล้ว ยังต้องสามารถรู้สึกได้ในการ "หยุด" ของมือและแขนด้วย :b47: :b48: :b47:

เนื่องเพราะการหยุดในแต่ละจังหวะของการเคลื่อนไหว เปรียบเสมือนการเปลี่ยนหลักจากสิ่งที่ให้จิตมีสติตามระลึกอยู่ จากหลักหนึ่งไปสู่หลักต่อไปได้โดยไม่เผลอหลุด ขาดสติออกไปเสียก่อน
:b47: :b46: :b48:

คือเหมือนการที่มีหลักให้จิตเกาะ ก่อนที่จะกระโดดไปหลักต่อไป เพราะถ้าไม่มีการหยุดแล้ว การเคลื่อนไหวจะเป็นแบบต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะกลายเป็นการเคลื่อนไหวแบบร่ายรำด้วยความเคยชิน จนสติหลุด หลงเข้าไปในความคิดหรือความเผลอเพลินได้โดยง่าย :b48: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2016, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1011

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และการปฏิบัติด้วยการเคลื่อนไหว ๑๔ จังหวะนี้ ไม่จำเป็นต้องหลับตานะครับ ให้ลืมตาทำได้ แต่จิตไม่ได้อยู่กับการมองเห็น (จักขุปสาท) จิตจะไปมีสติสัมปชัญญะและสมาธิอยู่ที่การเคลื่อนไหวและหยุดนิ่งของมือและแขน (กายปสาท) :b47: :b49: :b50:

รู้สึกอยู่อย่างนั้นว่า มือและแขนที่เคลื่อนไหวนั้นมีอยู่เพียงสักว่ารู้ เพียงสักว่าให้อาศัยระลึกอยู่ตามจังหวะที่เคลื่อนไหวและหยุดนิ่งเท่านั้น จิตใจสงบเบิกบาน ไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก ตามหลักของพระบรมครูในมหาสติปัฏฐานสูตรนั่นหล่ะครับ :b1: :b46: :b39:

และนอกเหนือจากการขยับมือ ๑๔ จังหวะแล้ว ถ้าผู้ปฏิบัติเกิดความเมื่อยขบขึ้นมา ก็ให้เปลี่ยนอิริยาบถออกไปเดินจงกรม ซึ่งท่านก็ได้สอนวิธีในการเดินจงกรมไว้ด้วยว่า :b8: :b46: :b39:

"เดินจงกรมก็หมายถึง เปลี่ยนอิริยาบถนั่นเอง ให้เข้าใจว่า เดินจงกรมเพื่ออะไร ? (เพื่อ) เปลี่ยนอิริยาบถ คือนั่งนานมันเจ็บแข้งเจ็บขา บัดนี้เดินหลาย (เดินมาก) มันก็เมื่อยหลังเมื่อยเอว นั่งด้านหนึ่ง เขาเรียกว่าเปลี่ยนอิริยาบถ

เปลี่ยนให้เท่าๆ กัน นั่งบ้าง นอนบ้าง ยืนบ้าง เดินบ้าง อิริยาบถทั้ง ๔ ให้เท่าๆ กัน แบ่งเท่ากัน หรือไม่แบ่งเท่ากันก็ได้เพราะว่าเราไม่มีนาฬิกานี่ น้อยมากอะไร ก็พอดีพอควร เดินเหนื่อยแล้วก็ไปนั่งก็ได้ นั่งเหนื่อยแล้วลุกเดินก็ได้

เวลาเดินจงกรมไม่ให้แกว่งแขน เอามือกอดหน้าอกไว้ หรือเอามือไขว้ไว้ข้างหลังก็ได้

เดินไปเดินมา ก้าวเท้าไปก้าวเท้ามา ทำความรู้สึก แต่ไม่ได้พูดว่า "ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ" ไม่ต้องพูด เพียงเอาความรู้สึกเท่านั้น

เดินจงกรม ก็อย่าไปเดินไวเกินไป อย่าไปเดินช้าเกินไป เดินให้พอดี

เดินไปก็ให้รู้ ... นี่เป็นวิธีเดินจงกรม ไม่ใช่ว่าเดินจงกรม เดินทั้งวันไม่รู้สึกตัวเลย อันนั้นก็เต็มทีแล้ว เดินไปจนตาย มันเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่เดินอย่างนั้น

เดินก้าวไป ก้าวมา "รู้" นี่ (เรียก) ว่าเดินจงกรม"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2016, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1011

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และนอกจากการปฏิบัติในรูปแบบ ๑๔ จังหวะแล้ว ท่านยังแนะนำให้เราปฏิบัติเพื่อเจริญสติสัมปชัญญะและสมาธิผ่านการรู้กายในชีวิตประจำวันด้วย :b46: :b47: :b48:

ตรงนี้เป็นการเจริญสติด้วยการศึกษาธรรมะกับธรรมชาติของการทำงานในชีวิตประจำวันทั่วไป โดยทำความรู้สึกตัวในการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเวลาทานข้าว การเหยียดมือออกหรืองอมือเข้าเมื่อตักอาหารก็ให้รู้สึกตัว เวลาเคี้ยวข้าวก็ให้รู้สึกตัว เวลากลืนข้าวก็ให้รู้สึกตัว :b49: :b48: :b49:

หรือเวลาทำงานบ้าน เช่น ซักผ้า ขยี้ผ้า ก็ให้รู้สึกตัว เวลากวาดบ้าน ถูบ้าน ก็ให้รู้สึกตัว เวลาล้างจาน พลิกจาน คว่ำจาน ก็ให้รู้สึกตัว เวลาอาบน้ำ เอื้อมมือไปหยิบสบู่ ถูสบู่ ก็ให้รู้สึกตัว :b50: :b49: :b47:

หรือแม้แต่เวลาที่นั่งเฉยๆ ไม่มีอะไรทำ เช่น ขณะนั่งรถเมล์ไปทำงาน ก็อย่าอยู่นิ่งๆ ให้ "เขย่าธาตุรู้" ด้วยการขยับพลิกมือไปมา หรือกำมือแล้วคลายมือ หรือแม้กระทั่งเอานิ้วโป้งและนิ้วกลางมาวนถูกันเพื่อสร้างความรู้สึกตัว โดยให้ทำมือเดียวอย่าทำสองมือ เพราะการแยกจิตออกไปรับรู้การเคลื่อนที่ของกายหลายๆจุดจะเป็นภาระของจิตมากเกินไป ไม่ได้รู้แบบสบายๆ :b46: :b47: :b48:

และการให้มีสติกลับมาอยู่กับการรู้ตัว คือการรู้กายลงเป็นปัจจุบัน ทั้งในการทำตามรูปแบบ ๑๔ จังหวะ หรือในการใช้ชีวิตประจำวันโดยทั่วไปนั้น ก็เพื่อให้กลับมารู้ใจ คือรู้เท่าทันในความคิด อันเป็นต้นทางที่ทำให้เกิดทุกข์นั่นเอง :b48: :b49: :b50:

ลองมาดูสภาวะในการฝึกตามรูปแบบด้วยการรู้กาย ๑๔ จังหวะ (รูปทำ) และผ่านเข้าไปรู้ใจ (นามทำ) กันนะครับ :b46: :b47: :b46:

คือในระหว่างการปฏิบัตินั้น เริ่มแรกที่เคลื่อนไหวมือและแขน จิตจะมามีสติสัมปชัญญะและสมาธิ รู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวและหยุดนิ่งได้ชัด แต่พอทำไปได้สักพัก เมื่อกำลังของสมาธิที่ตั้งมั่นอยู่แต่ในอาการรู้นั้นเริ่มอ่อนลง กำลังของสติและสัมปชัญญะนั้นก็จะเริ่มอ่อนลงตามไปด้วย สิ่งที่นักปฏิบัติจะเจอก็คือ อาการเผลอเพลิน เคลื่อนไหวมือไปแบบไม่รู้สึกตัว ไม่รู้ได้ลงในอาการเคลื่อนไหวและอาการหยุด :b46: :b47: :b48:

และเมื่อนั้น จิตก็จะเริ่มฟุ้งปรุงแต่งความคิดขึ้นมา
:b46: :b47: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2016, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1011

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงนี้ก็อย่างไปซีเรียสอะไรนะครับ ปล่อยให้ความหลงคิดนั้นเกิด ไม่ต้องคิดไปห้ามมัน เพียงแต่ให้รู้เท่าทันว่าหลงเผลอเพลิน หลงคิดไปแล้ว :b48: :b47: :b48:

และการมีสติกลับมารู้เท่าทันความคิดนั้นเอง ที่จะเป็นตัวกั้นกระแสของความคิด ทำให้ความคิดนั้นดับลงไป :b50: :b49: :b48:

ซึ่งเริ่มแรก ระหว่างอาการรู้กับอาการเผลอเพลินและหลงคิดนั้น อาการเผลอเพลินและหลงคิดจะทำสกอร์นำหน้าไปก่อน :b47: :b48: :b49:

ตรงนี้เป็นเรื่องปรกติของการฝึกในช่วงแรกๆนะครับ ไม่ต้องไปหงุดหงิดมัน เพียงแต่คอยรู้เท่าทันเอาไว้ :b44: :b43: :b42:

และเมื่อฝึกจนชำนาญมากขึ้นไปเรื่อยๆ อาการรู้สึกตัวในความเคลื่อนไหวก็จะค่อยๆทำสกอร์ตีตื้นขึ้นมาเรื่อยๆได้เองตามกำลังของสติสัมปชัญญะและสมาธิที่เริ่มเข้มแข็งขึ้นตามกำลังของการบ่มเพาะ :b48: :b47: :b46:

เหมือนกับที่องค์หลวงพ่อเทียนท่านได้สอนและเปรียบเทียบเอาไว้ว่า คิดเป็นหนู รู้เป็นแมว :b8: :b46: :b39:

"แต่ทีแรกเรายังไม่เคย มันก็ต้องคิดไปก่อน ลากไปเหมือนแมวกับหนูนี่เอง หนูตัวโตมีกำลัง แมวตัวเล็ก เรียกว่าความรู้สึกตัวเรามันน้อย เป็นอย่างนั้น เมื่อหนูออกมาแมวมันไม่เคยกลัวนี่มันก็จับหนู หนูก็ตื่นไป แล่นไปวิ่งไป แมวก็ติดหนูไป เป็นอย่างนั้น นานๆ มาแมวมันเหนื่อยไป (มัน) ก็วางมัน (เอง) ความคิดที่มันคิดไปร้อยอันพันอย่าง มันค่อยเซาผู้เดียวมัน (มันหยุดเอง) อันนั้น เป็นอย่างนั้น

บัดนี้พอดีเฮาให้อาหารแมว เรียกว่าอาหาร ถ้าหากพูดตามภาษาภาคปฏิบัติก็ว่า เราทำความรู้สึกตัว ก็เรียกว่าเป็นอาหาร เป็นอาหาร (ของ) สติ หรือเป็นอาหารแมว (สติปัญญา) หรือว่าทำความรู้สึกตัว แล้วแต่จะพูด...ให้เราทำความรู้สึกตัวมากๆ พอดีมันคิดปุ๊บ ความรู้สึกตัวมันจะไป ความคิดก็หยุดทันที...

ถ้าหากว่า (ความคิด) มันมาแรง เราก็ต้องกำ (มือ) แรงๆ กำแรงๆ กำมือแรงๆ หรือ จะทำวิธีไหนก็ตามแหละ ทำให้มันแรง เมื่อความแรงดันเข้ามาพอแล้ว มันหยุดเองมัน...

ทำบ่อยๆ ทำมากๆ เมื่อมันคิดขึ้นมาปุ๊บ มันจะรู้ทันที เหมือนกับที่หลวงพ่อเคยพูดให้ฟังบ่อยๆ ว่า มีเก้าอี้ตัวเดียว บัดนี้เราก็มีสองคน คนหนึ่งเข้าไปมีแรงดันไว้ คนไปทีหลังก็เข้าไปไม่ได้ เป็นอย่างนั้น บัดนี้คนไปทีหลังนั่งไม่ได้ ก็คือ แต่ก่อนนั้นเรามีแต่ความ "ไม่รู้" ไปอยู่กับความ "รู้" นั้นไม่มี บัดนี้เราพยายามฝึกหัดความ "รู้" นั้นเข้าไปมากๆ แล้ว ความ "ไม่รู้" นั้นก็ลดน้อยไปๆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2016, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1011

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และเมื่อฝึกรู้ตัวกับการเคลื่อนไหวลงเป็นปัจจุบันด้วยวิธีการของท่านไปสักพัก ผู้ปฏิบัติจะรู้ได้ด้วยตัวเองเหมือนกับที่คุณหมอประเวศ วะสีท่านว่าไว้เลยนะครับว่า :b46: :b47: :b46:

"ขณะที่รู้กับปัจจุบันจะพบว่ามีความสงบอย่างยิ่ง เมื่อมีสติอยู่กับปัจจุบันต่อเนื่อง ความทุกข์ก็มากล้ำกลายอีกไม่ได้ อดีตกับอนาคตมันต่อกันไม่ได้ เพราะความรู้ในปัจจุบันเข้ามาแทนที่เต็มไปหมด"

และนอกจากความสงบเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะสามารถพบได้ด้วยตัวเองแล้ว คุณสมบัติของจิต หรือเจตสิกอีก ๖ ประการ ก็จะเป็นสิ่งที่บังเกิดขึ้นได้เองตามเหตุปัจจัยที่ถึงพร้อม ตลอดช่วงของการฝึกอีกด้วยนะครับ ซึ่งเจตสิกที่ว่านั้น ก็คือ :b46: :b47: :b48:

๑) กายสงบ ผ่อนคลาย - จิตสงบ ผ่อนคลาย (กายปัสสัทธิ - จิตตปัสสัทธิ, tranquillity of mental body and mind) :b46:

๒) กายเบา - จิตเบา (กายลหุตา - จิตตลหุตา, lightness or agility of mental body and mind) :b46:

๓) กายอ่อนโยน - จิตอ่อนโยน (กายมุทุตา - จิตตมุทุตา, pliancy or elasticity of mental body and mind) :b46:

๔) กายคล่องแคล่ว - จิตคล่องแคล่ว (กายปาคุญญตา - จิตตปาคุญญตา, proficiency of mental body and mind) :b46:

๕) กายซื่อตรง - จิตซื่อตรง (กายุชุกตา - จิตตุชุกตา, rectitude or uprightness of mental body and mind) :b46:

๖) กายควรค่าแก่การงาน - จิตควรค่าแก่การงาน (กายกัมมัญญตา - จิตตกัมมัญญตา, adaptability or wieldiness of mental body and mind)
:b46:

และสภาวะอีกประการหนึ่งสำหรับผู้ที่ฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิได้ถึงระดับหนึ่งแล้ว ก็คือจะเกิดความสว่างขึ้นในจิต จิตจะตื่นขึ้นมารู้และเบิกบาน เหมือนที่องค์หลวงพ่อเทียนท่านว่าไว้ว่า
:b8: :b46: :b39:

"จิตใจของเรามืดตื้ออยู่แต่ก่อน มันไม่รู้จักทางไป บัดนี้พอดีทันอันนี้แล้ว มันจะสว่างขึ้นภายในจิตใจ แต่ไม่ใช่สว่างที่ตาเห็นนะครับ จิตใจมันจะสว่างขึ้น เบาอกเบาใจ เรียกว่า "ตาปัญญา" อันนี้ (เป็น) ลักษณะปัญญาญาณของวิปัสสนาเกิดขึ้น"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2016, 22:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1011

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น การฝึกด้วยวิธีที่ท่านว่านี้ จะทำให้กำลังของ สติ (ระลึกรู้) สัมปชัญญะ (รู้ชัด) และสมาธิ (จดจ่อ สงบ ตั้งมั่น) ได้รับการบ่มเพาะให้เข้มแข็ง จิตจะว่องไว สว่าง สงบ เบิกบาน และควรค่าแก่การงาน พร้อมที่จะเกิดตาปัญญา ในการเห็นต้นรากของการปรุงแต่งทางจิต หรือต้นรากของความคิด ได้ต่อไป :b46: :b47: :b46:

นั่นคือ เมื่อถึงที่สุดของการรู้การเคลื่อนไหวของรูปกายภายนอกได้ชัดแล้ว ก็ให้รู้การเคลื่อนไหวของจิต คือดูที่มันนึกคิด
:b49: :b48: :b47:

(หลังจากเรียบเรียงเรื่องการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิผ่านการรู้กายกันมาร่วมสามปี ตรงนี้ก็จะเป็นส่วนท้ายของการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิผ่านการรู้กายแล้วนะครับ ก่อนจะต่อเชื่อมไปเรื่องการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิผ่านการรู้ใจ อันเป็นอีกส่วนหนึ่งของการฝึกสติสัมปชัญญะเพื่อให้เกิดอินทรียสังวรศีล ในภาคส่วนของอธิศีลสิกขา) :b46: :b47: :b46:

นั่นหมายความว่า การดูการเคลื่อนไหวของกาย ๑๔ จังหวะ ก็จะเป็นแค่อุปกรณ์อย่างหนึ่ง เพื่อใช้ฝึกใช้อาศัย เป็นทางผ่านก่อนจะเข้าไปฝึกสติด้วยการรู้ใจ คือการรู้ความคิด ตามที่ท่านได้กล่าวเอาไว้ :b51: :b50: :b49:

ซึ่งการเข้าไปรู้ความคิดนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของพระสูตรเกี่ยวกับการฝึกสติด้วยการรู้ใจ คือสมาธิสูตร ของพระบรมครูตามที่เคยยกมานั่นเองนะครับ :b8: :b46: :b39:

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่ดับไป

รู้แจ้งสัญญาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป

รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2016, 22:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1011

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อความชัดเจนในเนื้อหา มาดูสำนวนการแปลอีกสำนวนครับ (หมายเหตุ : ภิกษุ ท ! ย่อมาจาก ภิกษุทั้งหลาย) :b46: :b47: :b46:

"ภิกษุ ท ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะนั้นเป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท ! ในกรณีนี้ เวทนาเกิดขึ้น (หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ

สัญญาเกิดขึ้น (หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ

วิตกเกิดขึ้น (หรือ) ตั้งอยู่ (หรือ) ดับไป ก็เป็นที่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ

ภิกษุ ท !นี้คือสมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ."


นอกจากฝึกสติสัมปชัญญะด้วยสมาธิภาวนาแล้ว พระบรมครูยังทรงสอนต่อด้วยว่า :b8: :b46: :b39:

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า

รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้

เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้

สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้ ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้

สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้

วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ"


มาดูอีกสำนวนกันครับ :b46: :b47: :b46:

"ภิกษุ ท ! สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสิ้นแห่งอาสวะนั้นเป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท ! ภิกษุในกรณีนี้มีปกติตามเห็นความตั้งขึ้นและเสื่อมไป ในอุปทานขันธ์ทั้งห้า ว่า

รูป เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งรูป เป็นอย่างนี้

เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา เป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งเวทนา เป็นอย่างนี้

สัญญาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้

สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้

วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ; ดังนี้.

ภิกษุ ท ! นี้คือ สมาธิภาวนา อันเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะ"


โรหิตัสสวรรคที่ ๕ สมาธิสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=1188&Z=1233


ทิ้งท้ายไว้ด้วยพระสูตรเท่านี้ก่อน แล้วมาขยายรายละเอียดของการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิผ่านการรู้ใจกันในคราวหน้านะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1415 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 79, 80, 81, 82, 83, 84, 85 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร