วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 03:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 78, 79, 80, 81, 82, 83, 84 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2015, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

สำหรับการฝึกในวิธีที่ ๒ ซึ่งได้แก่กรรมฐานในหมวดเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ตรงนี้ขอเขียนเฉพาะในขอบเขตที่ยกตัวอย่างมาก่อนนะครับ ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมคงเอาไว้เขียนในช่วงของอธิปัญญาสิกขา ในส่วนของมหาสติปัฏฐาน) :b49: :b48: :b47:

เริ่มตั้งแต่เมื่อตอนขับรถที่จะไปให้ทันตามนัดแล้วรถติด เวลาก็เหลือน้อยลงไปเรื่อยๆ จิตเกิดความกังวลแล้วเจริญจิตตานุปัสสนาไม่ทัน จนเลยเถิดเกิดทุกขเวทนาบีบคั้นขึ้นในจิตได้เอง :b48: :b47: :b46:

การปฏิบัติตรงนี้ก็คือ ให้มีสติ ระลึกรู้ว่า เกิดทุกขเวทนาขึ้นในจิตแล้ว ตามคำของพระบรมครูในสติปัฏฐานสูตรที่ว่า "เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา" :b49: :b50: :b51:

และเช่นเดียวกับกรรมฐานหมวดจิตตานุปัสสนานะครับ ถ้าเราเจริญสติปัฏฐานได้ถูกต้องแล้ว ก็จะเห็นการดับลงไปของทุกขเวทนา (พูดถึงทุกขเวทนาทางใจ หรือโทมนัสเวทนาในกรณีนี้กันก่อนนะครับ ยังไม่พูดถึงทุกขเวทนาทางกายที่ทำให้เกิดทุกข์เวทนาทางใจ ซึ่งขอไปลงรายละเอียดกันอีกทีในมหาสติปัฏฐานสูตร) :b55: :b54: :b49:

ซึ่งหลังจากเห็นทุกขเวทนาทางใจดับลงไปแล้ว ต่อจากนั้นก็จะเห็นองค์ธรรมที่เป็นคู่กันเกิดขึ้น นั่นคือ จะเห็นการเกิดขึ้นของอาการเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ทางใจ (อทุกขมสุขเวทนาทางใจ) :b53: :b51: :b54:

ตรงนี้ก็เป็นโอกาสต่อเนื่องที่จะเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานนะครับ คือเห็นการเกิดขึ้นของอทุกขมสุขเวทนา ตามคำของพระบรมครูที่ว่า "เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา" :b47: :b46: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2015, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วถ้าในขณะที่เกิดทุกขเวทนา แล้วจิตยังกระวนกระวาย อยากที่จะไปให้ถึงที่หมายอยู่ และความอยากที่จะไปให้ถึงที่หมายตรงนี้ ยังคงอยู่แม้ในขณะที่เกิดอทุกขมสุขเวทนาแล้วละก็ :b46: :b47: :b46:

ตรงนี้ก็ให้มีสติระลึกรู้ไปตรงๆนะครับว่า ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นนั้น ยังเจือด้วยกิเลสตัณหา คือความอยากที่จะไปให้ถึงที่หมายอยู่ (เป็นตัณหาที่อยากในผล ซึ่งต่างจากฉันทะที่อยากในเหตุ) ตามคำของพระบรมครูที่ว่า :b46: :b47: :b46:

"เสวยทุกขเวทนามีอามิส (คือเจือด้วยกิเลส เครื่องล่อใจ ซึ่งปรกติจะหมายถึงกามคุณทั้ง ๕ ที่ทำให้เกิดกามตัณหา แต่ในที่นี้ ขอครอบคลุมถึงภวตัณหา และวิภวตัณหา) ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส" และ "เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส" :b48: :b47: :b46:

นั้นคือ รู้ในเหตุ คือกิเลสตัณหาที่ทำให้เกิดทุกขเวทนานั้นๆด้วย :b46: :b47: :b39:

และเช่นเดียวกับกรรมฐานในหมวดจิตตานุปัสสนานะครับ คือการปฏิบัติยังมีต่อในส่วนที่สอง ซึ่งได้แก่การ "พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง" :b49: :b48: :b49:

นั่นคือผู้ปฏิบัติ จะต้องอาศัยสติสัมปชัญญะและสมาธิ เฝ้าสังเกตให้เห็นถึงความไม่เที่ยงแห่งเวทนา :b46: :b47: :b42:

คือแม้แต่เวทนา ก็ยังแสดงความเป็นอนิจลักษณะออกมาให้จิตรับรู้ได้ เหมือนขันธ์อื่นๆทั่วไป :b50: :b49: :b48:

จนกระทั่งถึงขั้นตอนสุดท้าย คือเห็นเวทนาเพียงสักแต่ว่าเป็นองค์ธรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นในจิต ไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาอยู่ในเวทนา :b46: :b47: :b46:

นั่นคือการละอุปาทานในเวทนา ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก ตามคำของพระบรมครูที่ว่า :b46: :b47: :b46:

"อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ"


และเราก็เรียกการปฏิบัติที่เริ่มตั้งแต่เห็น จนกระทั้งมีผลให้ซาบซึ้งถึงจิตถึงใจในเวทนา และในไตรลักษณ์ที่ปรากฏขึ้นในจิตนี้ว่า เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐานนั่นเอง :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2015, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปในการปฏิบัติตรงนี้ก็คือ เมื่อจิตมีความกังวลว่าจะไปไม่ทันตามนัดจนทุกข์เกิดขึ้นในจิต ก็ให้มีสติระลึกรู้ว่า "เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา, เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา" :b46: :b47: :b46:

หรือขณะเกิดทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา แล้วรู้ด้วยว่ายังมีความอยากที่จะไปให้ทันตามนัดอยู่ด้วยในขณะเดียวกัน ก็ให้มีสติระลึกรู้ว่า "เสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส" และ "เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส" :b47: :b48: :b42:

จากนั้นก็ให้มีสัมปชัญญะและสมาธิอันตั้งมั่น เห็นและรู้ชัดในธรรมอันแสดงอนิจจลักษณะ ซึ่งได้แก่ "พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง " :b50: :b49: :b48:

ถ้าผู้ปฏิบัติ เห็นและพิจารณาเช่นนี้ทุกครั้งที่ความทุกข์เกิดขึ้นในขณะขับรถ ณ.ช่วงเวลานั้น ความทุกข์นั้นก็จะเกิดขึ้นถี่น้อยลง และแต่ละครั้งก็กินระยะเวลาสั้นลงไปเรื่อยๆได้เองนะครับ :b1: :b46: :b39:

นอกจากนี้แล้ว การสะสมปัญญาด้วยการเห็นและพิจารณาเช่นนี้ไปเรื่อยๆกับสภาวะแห่งทุกขเวทนา สุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา ก็จะส่งผลให้เห็นอนัตตา ละอุปาทาน จนเกิดปัญญาในระดับโลกุตระขึ้นได้เองในเวลาไม่ช้าไม่นานอีกด้วยนะครับ :b1: :b46: :b39:

นั่นคือจะเกิดความตระหนักรู้ จนระทั่งซาบซึ้งถึงใจในความไม่เที่ยงในเวทนา เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด จนจิตตั้งมั่นเป็นกลาง รู้สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็น ไม่มีตัวตนของผู้เข้าไปรู้ไปเห็น :b47: :b48: :b49:

และสิ่งที่รู้ที่เห็น คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ก็ด้วยเหตุปัจจัย :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2015, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นได้แก่การเข้าไปเห็นถึงอนัตตา เพื่อลดละอุปาทานในขันธ์ ไม่ถือมั่นสิ่งใดๆในโลก ตามคำของพระบรมครูในพระสูตร จนเข้าสู่ขบวนการพ้นทุกข์เป็นขั้นเป็นลำดับไปนะครับ :b1: :b46: :b39:

แล้วเมื่อนั้น การทำงานทำการที่มีปัญหาจนเกิดทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเวลาที่จำกัดเข้ามาบีบคั้น หรืออุปสรรคใดๆเข้ามาปิดกั้นความสำเร็จ ก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป เพราะจิตรับรู้และซาบซึ้งถึงใจในเรื่องของอนัตตา ซึ่งก็คือเรื่องของเหตุและปัจจัย หามีตัวตนผู้แบกรับปัญหาหรือทุกข์ใดๆไม่ :b50: :b44: :b45:

และการทำงานเช่นการขับรถเพื่อไปให้ทันตามนัด ก็จะเป็นเรื่องที่ต้องมุ่งทำตามเหตุปัจจัย คือเผื่อเวลารถติดให้มากขึ้นอีกสักหน่อย หรือถ้าเผื่อแล้วก็ทำท่าว่าจะยังไปไม่ทันอีก จิตก็จะมุ่งแต่การทำเหตุปัจจัยในปัจจุบันให้ดีที่สุด ซึ่งก็คือการขับรถซอกแซกให้ถึงจุดหมายได้เร็วและปลอดภัยที่สุด โดยไม่มีจิตไปคิดกังวลจนเป็นทุกข์ว่าจะไปไม่ทัน หรือไปคิดถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นมาหากไปสาย ซึ่งทำให้ใจไม่โดนบีบคั้นจนเป็นทุกข์ขึ้นมาได้อีกนะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งพอจิตมีสัมมาทิฏฐิ สามารถวางใจลงได้อย่างนี้ การทำงานก็จะทำด้วยจิตใจที่เป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง จิตใจก็จะเบิกบานเบาสบาย ไม่ต้องไปห่วงไปกังวลกับผล เพราะตระหนักรู้จนซาบซึ้งถึงใจดีแล้วว่า ผลนั้นก็จะดำเนิน และเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั่นเอง :b49: :b48: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2015, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนการฝึกปฏิบัติในวิธีที่ ๓ คือสัจจบรรพ ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตรงนี้ก็ไม่ได้ยากอะไรนะครับ ยังคงยึดหลักของกิจในอริยสัจจ์ที่เหล่านักปฏิบัติรู้จักกันดีอยู่แล้ว :b46: :b47: :b46:

นั่นก็คือ ยึดหลักที่ว่า " ทุกข์ให้รู้ - สมุทัยให้ละ - นิโรธให้แจ้ง - มรรคให้เจริญ " เอาไว้ให้มั่น :b46: :b48: :b49:

หมายความว่า ให้ผู้ปฏิบัติ เจริญสติสัมปชัญญะและสมาธิ (พร้อมมรรคองค์อื่นๆที่อยู่เบื้องหลัง) รู้ตรงๆเข้ามาในความกังวล ในความร้อนรน ในความอึดอัดบีบคั้น ในความไม่ตั้งมั่นแห่งจิต ซึ่งส่งผลมาให้เกิดความร้อนรน กระวนกระวายแห่งกาย :b51: :b49: :b48:

โดยไม่ไปคำนึงถึงเหตุ ซึ่งได้แก่ความอยากที่จะไปให้ทันเวลา (ภวตัณหา) หรือความไม่อยากให้โดนต่อว่า เพราะไปไม่ทันตามนัด (วิภวตัณหา) :b51: :b44: :b45:

ซึ่งถ้าผู้ปฏิบัติ มีสติสัมปชัญญะและสมาธิที่มั่นคงเพียงพอในการรู้เฉพาะตรงๆลงในทุกข์ โดยไม่เผลอกลับไปจับเหตุแห่งทุกข์ขึ้นมาอีก ตัวทุกข์ ซึ่งก็คือความกังวล ความร้อนรน ความอึดอัดบีบคั้น ความไม่ตั้งมั่นแห่งจิต และความร้อนรน กระวนกระวายแห่งกาย ด้วยอาการแห่งรถที่ติดอยู่และเวลาที่เหลือน้อยลงไปเรื่อยๆนั้น ก็จะค่อยๆคลาย ค่อยๆดับลงไปจากใจและกายให้เห็นตามธรรมชาติของเขา เพราะเหตุดับไป :b43: :b44: :b45:

และเมื่อทุกข์ค่อยๆดับลงไปให้เห็น นิโรธชั่วคราว ซึ่งก็คือความโปร่งโล่ง ความผ่อนคลาย ความตั้งมั่นแห่งจิตและกาย ก็จะกลับคืนมาให้รู้สึกได้ต่อหน้าต่อตาลงเป็นปัจจุบัน :b51: :b50: :b49:


แต่เชื่อเถอะครับ อีกสักพัก จิตก็จะกลับไปจับเหตุแห่งทุกข์ที่ยังคงดำเนินอยู่ต่อหน้าจนเกิดความกังวล ความร้อนรน ความอึดอัดคับข้องขึ้นมาอีก :b47: :b46: :b47:

ก็ให้ผู้ปฏิบัติทำเหมือนเดิม คือเจริญมรรคเพื่อที่จะละเหตุและรู้ตรงๆลงเฉพาะในทุกข์ จนทุกข์ดับและนิโรธแจ้งขึ้นมาใหม่ ฯลฯ .. :b43: :b44: :b39:

ดูซ้ำๆลงไปเรื่อยๆ ก็จะสังเกตเห็นได้เองเลยนะครับว่า ทุกข์ที่ผุดขึ้นมาทีหลังๆนั้น จะมีดีกรีความร้อนรนกดดันที่น้อยลง พร้อมช่วงเวลาที่จิตจับทุกข์นั้นก็ลดลงตามไปด้วย เนื่องเพราะจิตเริ่มที่จะชินในความดับลงไปแห่งทุกข์ :b50: :b49: :b48:

คือรู้ว่าทุกข์นั้นก็ไม่เที่ยง สติสัมปชัญญะและสมาธิเริ่มที่จะเข้มแข็งมากขึ้นในการต่อสู้และเผชิญเหตุแห่งทุกข์ที่ยังคงปรากฏอยู่ได้นั้นแบบรู้เท่าเอาทัน :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2015, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นหมายความว่า "เหตุ" ที่จะทำให้มีโอกาสไปไม่ทันตามนัดก็ยังคงปรากฏอยู่ แต่จิตไม่เข้าไปจับเหตุนั้นขึ้นมาคิดให้เป็นกังวล จิตจะทำหน้าที่จดจ่ออยู่แต่การทำเหตุปัจจัยในปัจจุบัน ที่จะไม่ให้ไปสายให้ดีที่สุด :b46: :b47: :b46:

นั่นคือจิตจะมีสติสัมปชัญญะและสมาธิ มาตั่งมั่นจดจ่ออยู่กับปัจจุบันขณะ คือการขับรถให้ไปถึงที่หมายอย่างปลอดภัยและทันเวลา โดยไม่ไปคำนึงถึงอนาคตคือการมีโอกาสที่จะไปสาย (ซึ่งยังไม่เกิด คือยังเป็นเรื่องของอนาคต) นั้นอีก นั่นเองนะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งการปฏิบัติในสัจจบรรพ ธรรมมานุปัสนาสติปัฏฐานนี้ ถ้าปฏิบัติได้ถูกต้องแล้ว ก็จะเห็นอริยสัจจ์ครบทั้ง ๔ องค์ภายในชั่วขณะจิต :b44: :b39: :b44:

และนอกจากจะเห็นอริยสัจจ์ครบทั้ง ๔ องค์ในชั่วขณะจิตแล้ว ผู้ปฏิบัติก็ยังเห็นอนิจจลักษณะของทุกข์ :b47: :b48: :b42:

นั่นคือ "พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง" :b55: :b49: :b50:

และเห็นในสภาวะอนัตตา คือเห็นสักแต่ว่าเห็น ในเหตุปัจจัยที่ดำเนินไปของกระบวนธรรม อันได้แก่กระบวนเหตุปัจจัยในการเกิดทุกข์ และการดับไปแห่งทุกข์ โดยไม่มีบุคคลตัวตนเราเขาอยู่ในกระบวนธรรมที่ดำเนินไปนั้น ตามคำของพระบรมครูในท่อนท้ายของพระสูตรที่ว่า :b46: :b47: :b46:

"อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ฯ" :b48: :b47: :b46:


และเราก็เรียกการปฏิบัติที่เริ่มตั้งแต่เห็น จนกระทั้งมีผลให้ซาบซึ้งถึงจิตถึงใจในอริยสัจจ์ และในไตรลักษณ์ที่ปรากฏขึ้นในจิตนี้ว่า สัจจบรรพ ธรรมมานุปัสสนา สติปัฏฐานนั่นเองนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2015, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับวิธีที่ ๔ ซึ่งได้แก่การระลึกถึงอนัตตสัญญา (หรือระลึกถึงความเป็นศูนยตาในธรรมทั้งหลาย ตามภาษามหายาน) เมื่อเกิดความกังวลว่าจะไปไม่ทันตามนัด :b46: :b47: :b46:

คือเมื่อขับรถแล้วจิตไปพะวักพะวนกับอาการที่รถติด และเวลาที่เหลือน้อยลงไปเรื่อยๆ :b49: :b50: :b44:

ก็ให้ผู้ปฏิบัติ ใช้สติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ระลึกถึงสภาวะแห่งศูนยตา คือความว่างเปล่าจากตัวตน :b51: :b50: :b49:

ซึ่งในขณะที่ระลึกถึงสภาวะแห่งศูนยตา ก็ให้พิจารณาลงในสภาวะของปัญหาในขณะนั้น นั่นคือในสภาวะที่รถติด และเวลาที่เหลือน้อยลงไปนั้นด้วย :b44: :b43: :b42:

และด้วยการระลึกถึงสภาวะแห่งศูนยตา ในขณะที่ยกปัญหาขึ้นมาพิจารณาตามไปด้วยนั้น จิตจะเห็นสภาวะของปัญหา ทะลุหรือไหลผ่านความว่างออกไป ไม่มีตัวตนที่ไหนมาเป็นผู้แบกรับปัญหาที่กำลังเกิดอยู่นั่น :b47: :b48: :b49:

สิ่งที่ปรากฏเข้ามาในจิต จะเป็นเพียงสภาวะที่เห็นรถติด ซึ่งก็ติดไปตามเหตุปัจจัย ในขณะที่เวลาก็วิ่งไหลไปตามปรกติ ไม่ช้าไม่เร็วตามธรรมชาติของเขา หาได้มีปัญหาเกิดขึ้นให้ผู้ใดเป็นเดือดเป็นร้อน เป็นทุกข์เป็นกังวลแต่อย่างใดไม่ :b44: :b43: :b44:

เมื่อนั้นจิตก็จะไม่เข้าไปคว้าเข้าไปแบกอะไรให้หนัก ให้เกิดทุกข์ขึ้นมา เหลือแต่ตัวปัญญาที่อยู่กับปัจจุบันขณะ คือทำหน้าที่ในการสั่งกายใจให้ขับรถซอกแซกหาทางลัดออกไปให้ดีที่สุดตามเหตุปัจจัยในขณะนั้น และเผื่อเหตุปัจจัยคือเผื่อเวลาให้มากขึ้นในการขับรถครั้งหน้า โดยที่ไม่เกิดอาการจิตตกเป็นกังวล เพราะไม่เกิดตัวตนเข้าไปแบกรับปัญหานั้น นั่นเอง :b51: :b45: :b53:

โดยวิธีที่ ๔ อันได้แก่ การพิจารณาแดนงานในขณะที่จิตอยู่ในสภาวะศูนยตานี้ ก็เป็นสิ่งเดียวกับที่หลวงพ่อพุทธทาสท่านว่า ให้ทำงานด้วยจิตว่าง .. :b46: :b47: :b48:

และในกรณีนี้ก็คือ การขับรถด้วยจิตว่าง นั่นหล่ะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2015, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และด้วยหลักปฏิบัติเดียวกันนี้ทั้ง ๔ วิธี ผู้ปฏิบัติสามารถนำมาใช้กับกรณีที่งานนั้นเป็นงานที่น่าเบื่อ หรือกรณีในงานที่มีอุปสรรคมาก ได้เช่นเดียวกัน :b46: :b47: :b41:

เพราะความที่จิตเกิดอาการเบื่อ หรือเกิดอาการท้อแท้ท้อถอยจากอุปสรรคที่เข้ามา ก็เป็นทุกข์ในหมวดที่เกิดจากโทสะปฏิฆะเสมอเหมือนเช่นเดียวกันกับความกังวล :b50: :b49: :b48:

นั่นคือ สำหรับงานที่น่าเบื่อ หรืองานที่มีอุปสรรคจากธรรมชาติมากนั้น การฝึกหรือการปฏิบัติในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การปฏิบัติในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การปฏิบัติในสัจจบรรพ ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน และการใช้การระลึกลงในศูนยตา ก็ยังสามารถนำมาปรับใช้ได้ด้วยคำอธิบายเดียวกันนะครับ :b1: :b46: :b39:


เช่น เวลาที่จิตเกิดอาการเบื่อหน่าย ท้อแท้ หรือหดหู่ จากงานที่น่าเบื่อ หรือจากอุปสรรคที่เข้ามา ก็ให้รู้ว่าจิตหดหู่ และเมื่ออาการหดหู่หายไป จิตตั้งมั่นกลับคืนมาก็ให้รู้ว่าจิตตั้งมั่นกลับคืนมา เห็นและเข้าใจไปถึงความไม่เที่ยงของอาการหดหู่ จนสักแต่ว่าเห็นอาการหดหู่เกิดขึ้นและดับไปตามเหตุปัจจัย หามีตัวตนบุคคลเราเขาที่ไหนเข้าไปหดหู่ได้ไม่ ฯลฯ :b48: :b49: :b50:

ซึ่งนั่นคือการเห็นถึงความไม่เที่ยงแห่งองค์ธรรม จนเข้าไปเห็นถึงอนัตตาแห่งองค์ธรรม ไม่ว่าองค์ธรรมนั้น จะเป็นความกังวล ความน่าเบื่อ หรือความท้อแท้นะครับ :b1: :b46: :b39:

ไว้คราวหน้ามาต่อกันในการฝึกกรณีที่ ๓ และ ๔ คือการฝึกในขณะที่ต้องทำงาน และต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หรือลูกค้า ฯลฯ ภายใต้บรรยากาศแห่งความร่วมมือ และภายใต้บรรยากาศแห่งความขัดแย้งกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2016, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39:

คราวนี้มาถึงเรื่องการฝึกในกรณีที่ ๓ และ ๔ คือการฝึกในขณะที่ต้องทำงาน และต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง ลูกค้า หรือเจ้าหน้าที่ราชการ ฯลฯ ภายใต้บรรยากาศแห่งความร่วมมือ และภายใต้บรรยากาศแห่งความขัดแย้ง :b50: :b49: :b48:

เหตุที่ต้องแยกกรณีการทำงานที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคน ออกมาจากกรณีของการทำงานที่ไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคน ก็เพราะว่า นิสัยและอารมณ์ที่ตอบสนองต่อการทำงานระหว่างคนกับคนนั้น เป็นอะไรที่หลากหลาย ไม่ค่อยเป็นเหตุเป็นผลให้คาดเดากันได้ง่ายเหมือนอุปสรรคอื่นๆที่เป็นเหตุเป็นผลทางวิทยาศาสตร์กันสักเท่าไหร่ เพราะต่างคนต่างมีพื้นฐานทางความคิดและทางอารมณ์ที่แตกต่างกัน :b47: :b48: :b47:

อีกทั้งพฤติกรรมของคนโดยส่วนมากที่ยังเป็นปุถุชน ยังยึดถือตัวตนอยู่อย่างแน่นหนานั้น มักจะมองเอาแต่ประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ถึงแม้ว่าบางขณะอาจจะเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง แต่เมื่อสถานการณ์เดินเข้าสู่ความบีบคั้นขัดแย้งถึงที่สุด ปุถุชนทุกคนก็มักเอาอัตตาตัวตน หรือผลประโยชน์ของตนเป็นใหญ่ ทำให้การผลักดันงานนั้นๆให้สำเร็จ เป็นเรื่องที่ยุ่งยากและซับซ้อนขึ้นไปอีกหลายเท่า :b44: :b49: :b48:

ดังนั้น การปฏิบัติธรรมควบคู่ไปกับการทำงานที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง จึงเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องตามธรรม ทั้งต่อภายใน และต่อภายนอก :b46: :b47: :b48:

ซึ่งต่อภายใน ก็ได้แก่การฝึกสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ที่จะรู้กายรู้ใจ และให้อยู่ในแดนงานที่ต้องทำนั้น เข่นเดียวกับกรณีของการทำงานที่ไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง :b49: :b48: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2016, 11:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่น เมื่อมีปัญหา อุปสรรค หรือความขัดแย้งระหว่างบุคคลเกิดขึ้นในงาน เราอาจจะเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน รู้ทันในความกังวล หรือความขุ่นข้องที่เกิดขึ้นในจิต จนเห็นถึงอนิจจังและอนัตตาของความกังวล และความขุ่นข้องนั้น ฯลฯ :b48: :b49: :b48:

หรือเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน รู้ทันความทุกข์ ความบีบคั้นที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากความขัดแย้ง จนเห็นถึงอนิจจังและอนัตตาของทุกขเวทนานั้น ฯลฯ :b50: :b49: :b55:

หรือเจริญธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมวดสัจจบรรพ อันได้แก่การเจริญมรรค เพื่อละสมุทัย และรู้ลงเฉพาะซึ่งอาการแห่งทุกข์อันเนื่องมาจากคนและงาน จนกระทั่งทุกข์ดับไปและนิโรธชั่วคราวแจ้งขึ้นมา ฯลฯ :b51: :b50: :b55:

หรือเจริญอนัตตสัญญาก่อนที่จะเข้าไปพิจารณาปัญหาหรือความขัดแย้ง เพื่อไม่ให้ปรากฏตัวตนที่ไหนเข้าไปแบกรับปัญหา หรือเป็นคู่ขัดแย้งนั้นๆ ฯลฯ ตามวิธีที่ได้เคยเล่าเอาไว้แล้วนะครับ :b1: :b47: :b48:

ส่วนการปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องต่อภายนอก ซึ่งก็คือการปฏิบัติธรรมต่อผู้คนที่อยู่รอบข้างให้ถูกต้องตามธรรมนั้น พระบรมครูก็ได้ทรงประทานธรรมะไว้ให้ ๒ หมวด ในการที่จะปฏิบัติต่อผู้คนรอบข้าง เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่เป็นไปในแนวทางสร้างสรรค์ ร่วมมือร่วมใจ :b50: :b49: :b48:

โดยธรรมะทั้ง ๒ หมวดนั้น หมวดแรกก็ได้แก่ พรหมวิหาร ๔ ซึ่งเป็นภาคของการกระทำให้เกิดขึ้นก่อนใน "ใจ" ของผู้ปฏิบัติ ก่อนจะส่งต่อให้หมวดที่ ๒ คือสังคหวัตถุ ๔ ซึ่งเป็นภาคต่อเชื่อม หรือภาคปฏิบัติของพรหมวิหาร ๔ ต่อผู้คนภายนอกผ่านทาง "กาย" และ "วาจา" :b45: :b44: :b43:

ซึ่งพรหมวิหาร ๔ ก็ได้แก่ :b46: :b47: :b46:

เมตตา - ต้องการให้ผู้อื่นที่อยู่เป็นปรกติดีนั้น มีความสุข โดยไม่เกินเลยจนกลายไปเป็นคำว่าสเน่หา

กรุณา - ต้องการให้ผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยากนั้น พ้นทุกข์ โดยไม่สงสารเกินเลยจนตนเองเป็นทุกข์ตามไปด้วย

มุทิตา - ยินดีด้วยกับผู้อื่นที่มีความสุข หรือประสบความสำเร็จ โดยไม่เกินเลยจนกลายไปเป็นความสนุกสนานเพลิดเพลินเกินไปในทางโลก

และ อุเบกขา - วางใจเป็นกลางด้วยปัญญา เพื่อให้ธรรมที่กำลังเกิดขึ้นกับผู้อื่นนั้น ดำเนินไปตามธรรม โดยไม่เกินเลยจนกลายไปเป็นการเฉยเมยแบบไม่เอาเรื่องเอาราวอะไรเลยสักอย่าง


ส่วนสังคหวัตถุ ๔ ที่แปลว่า ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์ผูกใจกันนั้น ก็ได้แก่ :b46: :b47: :b46:

ทาน - การให้ การแบ่งปันของๆตนแก่ผู้อื่น โดยไม่เกินเลยไปจนตนเองหรือคนในครอบครัวต้องเดือดร้อน

ปิยวาจา - พูดกับผู้อื่นด้วยจิตใจที่ดี โดยไม่เกินเลยไปจนเป็นการประจบสอพลอ

อัตถจริยา - ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้อื่น โดยไม่เกินเลยไปจนละเลยกิจของตน

และ สมานัตตา - วางตนเหมาะสม ทำดีเสมอต้นเสมอปลายต่อผู้อื่น โดยไม่เกินเลยจนกลายไปเป็นการเสมอกันไปหมด ไม่รู้ที่ต่ำที่สูง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2016, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยการทำงานที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างนั้น เป้าหมายแรกในการปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องต่อภายนอก ก็คือสิ่งที่เราต้องการให้เกิดขึ้นในกรณีที่ ๓ อันได้แก่การทำงานที่ทำให้ผู้คนรอบข้าง เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน โดยปราศจากความขัดแย้งระหว่างบุคคล :b46: :b47: :b46:

ซึ่งการปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องตามธรรมตรงนี้ จะต้องอาศัยเวลาในการ "ซื้อใจ" หรือผูกสัมพันธ์กับผู้คนที่เราต้องเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ลูกน้อง ลูกค้า เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เราต้องไปติดต่อด้วย ฯลฯ :b49: :b50: :b51:

โดยเฉพาะในสังคมเอเชีย เช่นสังคมในแบบไทยๆเรานะครับ คือถ้ารู้จักกันแล้ว อะไรๆก็จะง่ายไปหมด :b49: :b48: :b47:

หมายความว่า ต้องปูพื้นสร้างความสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์เอาไว้ก่อน ตั้งแต่การพบปะหรือติดต่อกันในครั้งแรก จนถึงการสร้างความสัมพันธ์สืบเนื่องในครั้งต่อๆไป :b50: :b49: :b44:

ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีดังว่า ก็ต้องให้อยู่ในกรอบของจริยธรรมนะครับ ไม่ใช่ว่าจะสร้างความสัมพันธ์ไว้เพื่อเอาเปรียบผู้อื่น หรือละเมิดกฏเกณฑ์ของสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นโทษ และไม่ยั่งยืน :b55: :b54: :b49:

โดยจะเห็นได้นะครับว่า ในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อให้เกิดความร่วมมือและประสบความสำเร็จในงาน ชนิดที่ถูกต้องตามธรรม ด้วยความจริงใจโดยไม่ได้เกิดจากความเสแสร้งนั้น จะต้องเริ่มจากพื้นฐาน คือพรหมวิหาร ๔ ที่มีอยู่ในใจของเราเสียก่อน :b51: :b50: :b49:

นั่นคือ เป็นความต้องการสร้างความสัมพันธ์เพื่อให้เกิดผลดีแก่งานที่ทำร่วมกัน ไม่ใช่ว่าเราเป็นฝ่ายได้ประโยชน์อยู่ฝ่ายเดียว หรือมีพรหมวิหารเฉพาะแต่ผู้คนที่เราต้องมีผลประโยชน์ด้วยเท่านั้น :b46: :b47: :b48:

ดังนั้น การสร้างความสัมพันธ์ให้ถูกต้องตามธรรม จะต้องเริ่มจากจิตใจที่ต้องการให้ผู้ร่วมงาน มีความสุขในงาน (เมตตา) หรือพ้นไปจากความบีบคั้นในงานที่ทำอยู่ (กรุณา) โดยอยู่บนพื้นฐานของความยินดีร่วมกันเมื่องานประสบผลสำเร็จ โดยไม่มีความอิจฉาริษยาอยู่ในจิต (มุทิตา) แต่ถ้าไม่ได้ตามคาดก็สามารถวางใจเป็นกลางได้ (อุเบกขา) :b47: :b48: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2016, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่การสร้างความสัมพันธ์โดยอาศัยการแผ่ความเมตตา แผ่ความกรุณา หรือมีมุทิตาจิตให้ผู้ร่วมงาน หรือคู่ขัดแย้งในงานแต่เพียงด้านเดียวนั้น ก็เปรียบได้กับการทำงานด้วยการนึกคิด โดยไม่ได้ลงไม้ลงมือปฏิบัติจริงนั่นหล่ะครับ :b1: :b46: :b39:

(ยกเว้นไว้สำหรับผู้ที่มีพลังสมาธิจิตสูง และสะสมเมตตาบารมีมามาก ที่สามารถแผ่ความเมตตากรุณาเพียงอย่างเดียวก็สามารถทำให้ผู้คนหรือเหล่าสรรพสัตว์ เกิดความเป็นมิตรเอื้ออาทรได้แล้วนะครับ) :b47: :b48: :b49:

เพราะภาคปฏิบัติของพรหมวิหาร ที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ให้ได้ผลที่ดีได้อย่างแท้จริงนั้น จะต้องมีการ "กระทำ" สิ่งที่ดีๆ เป็นประโยชน์เป็นกุศลต่อผู้ร่วมงาน ผ่านทางกายและวาจาด้วย อันได้แก่ การเอื้ออาทรต่อผู้ร่วมงานผ่านการแบ่งปัน เช่น การมีของติดไม่ติดมือมาฝากกันอยู่เรื่อยๆ (ทาน), การรู้จักพูดกับผู้ร่วมงานในเชิงสร้างสรรค์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง (ปิยวาจา), การช่วยเหลือกันในงาน ทั้งที่ร้องขอและไม่ได้ร้องขอ (อัตถจริยา), และการปฏิบัติตัวต่อผู้ร่วมงานอย่างถูกต้องทั้งกาละและเทศะ ด้วยความเสมอต้นเสมอปลาย (สมานัตตา) :b46: :b47: :b46:

ลองคิดถึงผู้ร่วมงานที่มีปัญหากับเรามาสักคนนะครับ แล้วลองแผ่เมตตาให้ทุกๆวัน โดยไม่เข้าไปเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ต้องพูดจากันดีๆ ไม่เข้าไปช่วยเหลือการงาน ฯลฯ ดูนะครับ คงจะพอเห็นภาพว่า เฉพาะการแผ่เมตตาอย่างเดียว ไม่น่าเพียงพอที่จะทำให้เขา มาญาติดีกับเราได้ :b49: :b48: :b47:

และตรงนี้ก็ขอยกตัวอย่างพฤติกรรมของบุคคลผู้ร่วมงาน ๓ จำพวก ที่เราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตการทำงานโดยทั่วไปนะครับ อาจจะช่วยทำให้เห็นประโยชน์ของสังคหวัตถุ ๔ ได้ชัดขึ้น :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2016, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พวกแรก เป็นพวกผู้ร่วมงานที่ไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คนสักเท่าไหร่ ไม่ค่อยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปันต่อเพื่อนฝูง ไปเที่ยวที่ไหนมาก็ไม่ค่อยมีของติดไม้ติดมือมาฝากพรรคพวก แถมยังไม่ค่อยสุงสิงกับใคร และไม่ค่อยชอบชื่นชมใคร บ่อยครั้งยังแอบนินทาลับหลัง หรือเอาดีเข้าตัวเอาชั่วให้เพื่อน การงานก็มุ่งแต่หน้าที่ของตนเองให้จบๆไป โดยไม่ค่อยชอบยื่นมือมาช่วยเหลือผู้อื่น แถมบางทีก็อวดเก่ง ชอบข่มผู้อื่นด้วยท่าทีหรือคำพูด ประมาณว่า ฉันรู้ ฉันเก่งอยู่คนเดียว :b46: :b47: :b46:

กับพวกที่สอง ซึ่งดูธรรมะธรรมโมเป็นคนดีมีเมตตากรุณา แต่ก็ยังไม่ค่อยชอบเผื่อแผ่เพื่อนฝูง พูดจากับพรรคพวกก็ดูดี แต่ไม่ค่อยชอบชื่นชมใคร การทำงานก็มุ่งแต่งานของตนและงานที่ต้องทำส่วนรวม แต่ไม่ค่อยมีน้ำใจมาช่วยเหลืองานของผู้อื่นแม้เล็กๆน้อยๆ วันๆเอาแต่แผ่เมตตากรุณา หรือฝึกสติปฏิบัติธรรมโดยไม่ค่อยสนใจที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างสักเท่าไหร่ :b47: :b48: :b49:

กับพวกที่สาม ที่ทั้งดูดีมีเมตตากรุณา แถมยังชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันต่อผู้คนรอบข้าง ไปไหนมาไหนมักมีของฝากติดไม้ติดมือมาเป็นประจำ พูดจากับใครก็พูดด้วยความจริงใจมีสัมมาคารวะ ไม่โกหกไม่ส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อไปเรื่อยเปื่อย ชมใครก็ชมด้วยความจริงใจทั้งต่อหน้าและลับหลัง การงานก็มักจะช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอๆโดยไม่ต้องร้องขอ การวางตัวก็ถูกต้องกับกาละเทศะ และปฏิบัติต่อผู้คนรอบข้างอย่างจริงใจ เสมอต้นเสมอปลาย ซึ่งเป็นมาเองจากพื้นฐานของจิตใจที่ดีในภายใน :b48: :b47: :b46:

ถ้าจิตตนาการตามให้เห็นภาพถึงเพื่อนร่วมงานทั้ง ๓ กลุ่ม จะรู้สึกได้เลยนะครับว่า พวกที่สามเป็นพวกที่น่าคบและน่าให้ความร่วมมือมากที่สุด ต่างจากพวกที่หนึ่งซึ่งถ้าองค์กรใดมีพวกนี้ไว้มากๆ องค์กรนั้นก็คงจะไม่เจริญสักเท่าไหร่ :b48: :b49: :b50:

ดังนั้น ปัจจัยที่จะทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงานตามคำสอนของพระบรมครู จึงเริ่มจากการมีพรหมวิหารเป็นพื้นฐานอยู่ในใจ บวกด้วยการกระทำต่อผู้ร่วมงานให้ถูกต้องตามธรรม ทั้งทางกายและทางวาจา บนพื้นฐานของสังคหวัตถุ ๔ นั่นเอง :b49: :b50: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2016, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ถ้าปฏิบัติธรรมต่อภายในและภายนอกด้วยองค์ธรรมทั้ง ๒ ข้อ คือพรหมวิหารและสังคหวัตถุแล้วอย่างเต็มที่ แต่ก็ไม่สามารถจะทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ หรือ "ซื้อใจ" ผู้ร่วมงานหรือคู่ขัดแย้งได้แล้วละก็ อันนั้นอาจจะต้องคิดไปถึงเหตุปัจจัยอื่นๆ เช่นเหตุปัจจัยอันเนื่องมาจากกรรมเก่าที่ต้องมาชดใช้กันแล้วละครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งในกรณีที่ปฏิบัติตามพรหมวิหาร ๔ และสังคหวัตถุ ๔ อย่างเต็มที่แล้วก็ยังเกิดความขัดแย้งกับผู้ร่วมงานกันอยู่อีกนั้น :b48: :b47: :b48:

ก็ให้นักปฏิบัติ เอาพื้นฐานของสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ที่ผ่านการฝึกมาดีแล้วในตอนที่ออกไปท่องเที่ยว หรือในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่ดำเนินกิจกรรมด้วยตัวคนเดียว โดยไม่ได้อยู่ในสภาวะขัดแย้งกังวลหรือกดดันนั้น มาใช้งาน เพื่อตามให้ทันกับผัสสะและเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะที่เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคลขึ้นในงาน ผ่านการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมวดสัจจบรรพ หรือการเจริญอนัตตสัญญาเพื่อให้เกิดการทำงานด้วยจิตว่างจากตัวตน โดยไม่มีผู้ใดเป็นผู้ร่วมวงในความขัดแย้งนั้น ตามที่ได้ลงรายละเอียดไปแล้วนะครับ :b1: :b46: :b47:

แต่กรณีที่อุปสรรคของงาน เกิดจากความขัดแย้งของคน จะมีจุดซึ่งยากกว่ากรณีที่อุปสรรคของงาน เกิดจากธรรมชาติอื่นๆ ก็ตรงที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนนั้น ถ้าหากสติตามไม่ทันและเกิดความรุนแรง (เช่น การโต้เถียง) ขึ้นมาแล้ว ความรุนแรงนั้นก็จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นตามอารมณ์ของคู่ขัดแย้งที่ยึดเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง และไม่ค่อยยอมลงให้กัน :b48: :b49: :b50:

ดังนั้น ในบางกรณี ผู้ปฏิบัติอาจจะเจริญสติปัฏฐานไม่ทัน ก็ต้องเอาการกดข่ม อดทนต่อความโกรธที่เกิดขึ้นในจิต คือทมะและขันติในฆราวาสธรรม ๔ เข้ามาช่วยแก้สถานการณ์ก่อนที่จะลุกลามออกไป :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2016, 11:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่สำหรับผู้ที่ฝึกสติผ่านการเจริญอนัตตสัญญา จนเข้าถึงศูนยตสภาวะมาแล้ว ความโกรธที่มาจากความขัดแย้ง อันมีพื้นฐานมาจากอัตตาตัวตนก็จะน้อยลงจนถึงกับไม่มีเลยในระดับอนาคามีและพระอรหันต์ :b48: :b49: :b48:

คือความเห็นต่าง หรือความขัดแย้งในงานยังมีอยู่ แต่ไม่เกิดความขัดข้อง หรือความขัดเคืองขึ้นในจิตนะครับ :b1: :b46: :b39:

เรียกได้ว่า ความเห็นต่างมี แต่ผู้เห็นต่างไม่มี :b49: :b50: :b49:

นั่นหมายความว่า ในอริยบุคคลระดับอนาคามีและพระอรหันต์แล้ว ความขัดแย้งในงาน ก็จะไม่กลายไปเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล :b47: :b48: :b49:

โดยความขัดแย้งในงาน ก็จะเป็นเรื่องของความคิดที่ไม่ตรงกันเท่านั้น :b46: :b47: :b48:

ดังนั้น การหาทางออก ก็จะโต้แย้งกันโดยอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล โดยไม่มีอัตตาตัวตนเข้ามาเกี่ยวข้อง :b49: :b48: :b47:

แต่สำหรับอริยบุคคลขั้นต้นและปุถุชน ถ้าดูท่าทางแล้วว่าจะเริ่มมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันเกิดขึ้น ก็ขอให้มีสติตามรู้ตามดูผัสสะ เวทนา และโทสะให้ทัน หรือทำจิตให้ว่างเหมือนที่ฝึกตอนออกไปเที่ยวธรรมชาติ เพื่อให้เกิดการทำงานด้วยจิตว่าง ก่อนที่ผัสสะและเวทนาจะนำพาให้เกิดโทสะมากยิ่งขึ้นไปจนควบคุมไม่ได้นะครับ :b1: :b46: :b39:

ตรงนี้พูดถึงสิ่งแวดล้อมที่เป็นคนกันก่อนนะครับ ที่ต้องมีความเห็นอกเห็นใจ มีพรหมวิหารและสังคหวัตถุอยู่ประจำกาย วาจา และใจ ในอันที่จะทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน :b47: :b46: :b48:

แต่สิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช่คนก็สำคัญนะครับ เช่น สภาวะแวดล้อมในที่ทำงาน หรือในห้องประชุม ที่ต้องให้ความสบาย หรือสัปปายะพอสมควร อันเป็นปัจจัยให้ไม่เกิดความหงุดหงิดในสภาวะแวดล้อม จนลามเข้ามาเกิดความหงุดหงิดระหว่างคนด้วยกันเอง :b46: :b47: :b48:

โดยเฉพาะการประชุมวางแผนขับเคลื่อนงานที่สำคัญๆ ที่ส่วนใหญ่มักเลือกที่จะจัดการประชุมนอกสถานที่ เช่น การออกไปประชุมตามรีสอร์ทตากอากาศที่มีธรรมชาติสวยงาม เพื่อให้บรรยากาศที่ดีของสิ่งแวดล้อมในการประชุมนั้น กระตุ้นให้เกิดความสบายอกสบายใจ เกิดบรรยากาศแห่งร่วมมือร่วมใจในการขับเคลื่อนงาน โดยอาจจะจัดกิจกรรมสันทนาการในการละลายพฤติกรรมเข้าหากันก่อน เพื่อสร้างบรรยากาศให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงานร่วมกัน :b49: :b49: :b51:

ซึ่งตรงนี้ คงหาอ่านหาศึกษาได้จากคู่มือในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร (Human Relations in Organizations) ได้ไม่ยากนะครับ :b47: :b48: :b46:

เล่ามาถึงตอนนี้ คิดว่าน่าจะได้รายละเอียดพอสมควรในส่วนของอธิศีลสิกขา ภาคอินทรียสังวรศีล อันเนื่องมาจากการฝึกสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ตามแนวทางเซ็นมหายานขององค์หลวงปู่นัท ฮันห์ รวมทั้งการฝึกสติในชีวิตประจำวัน ผ่านการออกไปท่องเที่ยว และผ่านการทำงานกันเสียที และขอไปเข้าเรื่องของการฝึกสติผ่านการรู้กาย จนเข้าไปถึงการรู้ใจ ตามแนวทางขององค์หลวงพ่อเทียนกันในคราวหน้านะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 78, 79, 80, 81, 82, 83, 84 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร