วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 09:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 228 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 16  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 14:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
eragon_joe เขียน:
walaiporn เขียน:
eragon_joe เขียน:
walaiporn เขียน:

การแสดงข้อคิดเห็นของแต่ละคน แตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัย

มีเหตุนะ ที่ได้อธิบายไปแบบนั้น


มีแต่รูป ไม่มีนาม คือ มีแต่กาย ไม่มีจิต หมายถึงคนตาย เป็นหลัก

คิดง่ายๆ คนตายแล้ว อายตนะ จะทำงานได้อย่างไร

ฉะนั้น ผัสสะ จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ในคนตาย เพราะอายตนะ ทำงานไม่ได้ คนตายแล้ว



แล้วคนที่ตาย จิตคนที่ตายมันตายไปด้วยมั๊ย ...




แล้วแต่เหตุปัจจัยไง

ที่ได้อธิบายไปแบบนั้น มุ่งเรื่อง ศพ หรือ คนตาย เป็นหลัก
เพื่อจะได้ อธิบายเรื่อง อายตนะและผัสสะได้

ส่วนจิต นั่นอีกเรื่องหนึ่ง

หากยังมีเหตุอยู่ ก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไป
จะเกิดเป็นอะไรอีก นั่นก็แล้วแต่เหตุปัจจัย ชั่ว ขณะจิตสุดท้าย



แสดงว่า การอธิบาย อายตนะ ในแง่มุมของ ศพ เป็นแง่ที่ไม่ครอบคลุม ใช่ป่าว ...





ครอบคลุม หรือไม่ครอบคลุม อันนี้แล้วแต่เหตุของคนๆนั้นนะ

ส่วนที่ได้อธิบายไปนั้น เพียงต้องการแสดงให้เห็นเรื่อง อายตนะและผัสสะ ในสิ่งมีชีวิต

กับอายตนะและผัสสะ ที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในคนตาย

วัตถุประสงค์มีแค่นั้น


ถ้าผู้อ่านคิดว่า ไม่ครอบคลุม ก็น่าจะแสดงข้อคิดเห็นลงมาได้ เพื่อชี้ให้เห็นถึงการกล่าวแบบครอบคลุม

เพราะ เป็นเพียงการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ที่อาจมีรายละเอียดปลีกย่อย ออกไปอีก หรือ อาจจะคิดแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่แบบนี้ ก็ได้
อธิบายด้วยอภิธรรมที่แต่งใหม่ที่พระองค์สั่งห้ามไว้ไม่มีทางเข้าถึงธรรมแท้ได้แน่นอน เพราะไม่ใช่อนุศาสนีปาฎิหารย์ อภิธรรมปิฎกที่ถูกแต่งใหม่ขึ้นมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 14:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


มันมี สภาวะที่เหมาะสม ที่จะพิจารณาอายตนะ
สภาวะที่อายตนะจะปรากฎ...และ...แสดงตามหน้าที่...เราพิจารณาตรงนั้น
เพื่อเข้าถึงแง่ เกิด-ดับ แห่งอายตนะ

เมื่อ ซาก ไม่ปรากฎอายตนะ
เมื่อ ซาก ไม่ปรากฎลักษณะแห่งอายตนะ
เราพิจารณา การเกิด-ดับ ของอายตน ในสิ่งที่ไม่ปรากฎอายตนะ ได้ด้วยหรือ...

:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 17 ก.ค. 2013, 14:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 14:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
มันมี สภาวะที่เหมาะสม ที่จะพิจารณาอายตนะ
สภาวะที่อายตนะจะปรากฎ...และ...แสดงตามหน้าที่...เราพิจารณาตรงนั้น

เมื่อ ซาก ไม่ปรากฎอายตนะ
เมื่อ ซาก ไม่ปรากฎลักษณะแห่งอายตนะ
เราพิจารณา การเกิด-ดับ ของอายตน ในสิ่งที่ไม่ปรากฎอายตนะ ได้ด้วยหรือ...

:b1:




เหตุปัจจัย สร้างมาไม่เหมือนกันน่ะ

วลัยพร เป็นคนมองอะไรง่ายๆ คือ ตามที่เห็น มองแค่ว่า มีชีวิต กับไม่มีชีวิต

ตายแล้ว ก็แค่ซาก อายตนะ จะทำงานได้ไง มองแค่นั้น


ส่วนเรื่อง เกิด-ดับ อะไรนั่น มองตรงเวลา ผัสสะเกิด มองตรงนั้น รู้ที่ใจ แล้วก็เห็นเองแหละ ขณะที่กำลังเกิด เกิดอยู่ จนกระทั่งดับไป

หรือ เกิดนาน แล้วจึงดับ

หรือ เกิดสั้นๆ แล้วดับ

หรือ เกิดแล้ว ดับทันที

อันนี้ ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยอีกน่ะแหละ

รู้แบบนี้ รู้ที่ตัวเอง จบที่ตัวเอง ไม่สร้างเหตุออกไป

ทำให้รู้ว่า ณ ขณะนั้นๆ ได้เกิดความรู้สึกนึกคิด แม้กระทั่ง อาการที่เกิดทางกาย ว่ามีปฏิกิริยาอย่างไรบ้าง หากสติทัน สมาธิดี ก็รู้หมด


บอกตามตรง วลัยพร ไม่ได้สนใจเรื่อง เกิด-ดับอะไร นี่หรอก

สนใจแค่ว่า รู้แล้ว หยุดทันไหม หรือปล่อยตามใจกิเลส โดยการแสดงการกระทำออกไปทาง วจีกรรมบ้าง กายกรรมบ้าง


หากใครสนใจคิดพิจรณาเรื่องเกิด-ดับ อันนี้ ก็ไม่เป็นไรนะ

เพราะ แบบไหนๆก็ได้ วิธีการรูปแบบใดๆก็ได้ เนื่องจาก เหตุปัจจัยสร้างมาไม่เหมือนกัน

หากคิดว่า รู้ รู้แล้ว หยุดการสร้างเหตุของการเกิดภพชาติใหม่ได้ ใช้ได้ทั้งนั้นแหละ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 14:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

หากใครสนใจคิดพิจารณาเรื่องเกิด-ดับ อันนี้ ก็ไม่เป็นไรนะ...


อู้ยยยย มันไม่เป็นไรอยู่แล้วล่ะ
พิจารณาเห็นได้อยู่เนื่อง ๆ นี่ เป็นเรื่องที่ดีซะอีก ...
เพราะพระอัสชิกล่าวให้พระสารีบุตรฟังว่า

"ธรรมเหล่าใดเกิดจากเหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุ
และความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะทรงสั่งสอนอย่างนี้"

:b16: :b4: :b4: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 14:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
Waliporn
พิจารณาใหม่ ศึกษาใหม่
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต..........
ไม่ว่า วิญญาณขันธ์ 5 หรือ วิญญาณ 6 ก็เรื่องเดียวกัน
ที่ mark สี ไว้ เป็นความเข้าใจผิดที่ waliaporn ต้องทบทวนใหม่


วิญญานขันธ์ไม่ใช่ผัสสสัมปยุต ตัวที่เป็นผัสสสัมปยุตคือ......วิญญาน

วิญญานเป็นคนละสภาวะกับวิญญานขันธ์

วิญญานเป็นสภาพรู้อารมรณ์ อันได้แก่ ผัสสะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
และรู้ธัมมารมณ์อันเป็นสัญญาของ นามทั้งห้าที่กล่าวมาข้างต้น
เราเรียกตัวรู้อารมณ์ทั้งหมดว่า ......วิญญาน๖

ส่วนวิญญานขันธ์เกิดจาก วิญญานไปรู้รูป แล้วยึดมั่นรูปไว้จนเกิดเป็น รูปขันธ์และวิญญานขันธ์
การเกิดการกระทบหรือเกิดผัสสะครั้งเดียว ย่อมเกิดวิญญานขันธ์เพียงครั้งเดียว(ยังมีขันธ์ตัวอื่นประกอบด้วย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 14:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
Waliporn
พิจารณาใหม่ ศึกษาใหม่
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต..........
ไม่ว่า วิญญาณขันธ์ 5 หรือ วิญญาณ 6 ก็เรื่องเดียวกัน
ที่ mark สี ไว้ เป็นความเข้าใจผิดที่ waliaporn ต้องทบทวนใหม่


วิญญานขันธ์ไม่ใช่ผัสสสัมปยุต ตัวที่เป็นผัสสสัมปยุตคือ......วิญญาน

วิญญานเป็นคนละสภาวะกับวิญญานขันธ์

วิญญานเป็นสภาพรู้อารมรณ์ อันได้แก่ ผัสสะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
และรู้ธัมมารมณ์อันเป็นสัญญาของ นามทั้งห้าที่กล่าวมาข้างต้น
เราเรียกตัวรู้อารมณ์ทั้งหมดว่า ......วิญญาน๖

ส่วนวิญญานขันธ์เกิดจาก วิญญานไปรู้รูป แล้วยึดมั่นรูปไว้จนเกิดเป็น รูปขันธ์และวิญญานขันธ์
การเกิดการกระทบหรือเกิดผัสสะครั้งเดียว ย่อมเกิดวิญญานขันธ์เพียงครั้งเดียว(ยังมีขันธ์ตัวอื่นประกอบด้วย)
วิญญานหรือวิญญานขันตืมันก้ตัวเดียวกันนันแหล่ะเพียงแต่มันเปลี่ยนไปตามสถานะที่มันก่อเกิดอยู่ร่วมกับสิ่งใด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
walaiporn เขียน:

หากใครสนใจคิดพิจารณาเรื่องเกิด-ดับ อันนี้ ก็ไม่เป็นไรนะ...


อู้ยยยย มันไม่เป็นไรอยู่แล้วล่ะ
พิจารณาเห็นได้อยู่เนื่อง ๆ นี่ เป็นเรื่องที่ดีซะอีก ...
เพราะพระอัสชิกล่าวให้พระสารีบุตรฟังว่า

"ธรรมเหล่าใดเกิดจากเหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุ
และความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะทรงสั่งสอนอย่างนี้"

:b16: :b4: :b4: :b16:





นั่นไง กะแล้ว รอดูอยู่ เป็นอย่างที่คาดคิดจริงๆว่า ไม่เคยเปลี่ยน :b32:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 15:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32:

มีคาดเดาเอาไว้ด้วย...
ว่าคนอื่นจะต้องเป็นอย่างที่คิด...

คิดอะไรเอาไว้หร๋า...

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


amazing เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
amazing เขียน:
วิจิกิจฉาจะดับไปได้ก็ต่อเมื่อเราประจักษ์พระนิพพานเท่านั้นเพราะพระนิพพานเป็นธรรมอันสูงสุดเท่าที่พระองค์แสดงไว้และนิพพานก็เป็นจุดหมายของผู้เดินบนเส้นทางมรรคนี้ และถ้าไม่เจอพระนิพพานจะหายสงสัยจากความจริงที่เคยได้ฟังมาล่ะครับ และใครจะแน่ใจว่านั้นคือนิพพาน ไม่มีใครรู้ได้นอกจากสิ่งที่เจอนั้นทำลายความสงสัยในตะวมันเองจะเกิดขึ้นแก่จิต ในขณะนั้นจะเป็นสภาวะที่โล่งโปร่งแบบพิเศษเพราะกิเลส 3ตัวถูกสลัดทิ้งไปนี่คือสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นเองโดยเป็นธรรมชาติด้วยพลังอำนาจของพระนิพพาน

วิจิกิจฉา ดับได้ เมื่อเห็นแจ้ง ในโสดาปัตติผล
โสดาปัตดิผลเกิดกต่อเมื่อสัมผัสกระแสพระนิพพาน นั้นหมายความว่าวิจิกิจฉาของแต่ละท่านจะดับไปก็ต่อเมื่อท่านพบกระแสพระนิพาน


โสดาปัตติมรรค เป็นเหตุเป็นปัจจัย แก่โสดาปัติผล

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 15:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
walaiporn เขียน:
การแสดงข้อคิดเห็นของแต่ละคน แตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัย
มีเหตุนะ ที่ได้อธิบายไปแบบนั้น
มีแต่รูป ไม่มีนาม คือ มีแต่กาย ไม่มีจิต หมายถึงคนตาย เป็นหลัก
คิดง่ายๆ คนตายแล้ว อายตนะ จะทำงานได้อย่างไร
ฉะนั้น ผัสสะ จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ในคนตาย เพราะอายตนะ ทำงานไม่ได้ คนตายแล้ว
ถ้าจะให้พูดรายละเอียด วิธีการคิดทั้งหมด ยาวนะ
เพราะ ต้องเริ่มต้น ตั้งแต่ มรณะ คือ ความตาย
ชั่วข๊ะที่กำลังจะขาดใจตาย เหตุจาก อวิชชา ที่มีอยู่ เป็นเหตุให้ ขาดสติ จิตเกิดการปรุงแต่ง ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่(เคยทำไว้) ได้แก่ สังขาร
จึงเป็นที่มีของ อวิชชา เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิด สังขาร
ที่มาของ สังขาร เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิด วิญญาณ
คำว่า วิญญาณ ต้องไปหาในพระไตรปิฎก หมวดว่าด้วย วิญญาณขันธ์ ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายประเภท ตามเหตุปัจจัยที่เกิด ณ ขณะนั้นๆ
เช่น วิญญาณขันธ์ ที่เป็น วิญญาณ ๖ เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย คือ เกิดจาก ชั่วขณะที่ อายตนะ ทำงาน เช่น ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ฯลฯ
เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ก็ตัดออกไปได้ ว่าไม่ใช่ วิญญาณ ๖ อย่างแน่นอน เพราะ ไม่ได้เกิดจาก ผัสสะ หรือ การทำงานของอายตนะ
ย้อนกลับไปดูเรื่อง ขันธ์ ๕ เรื่อง วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ เกิดจาก สังขารขันธ์ เป็นเหตุปัจจัย
เมื่อ ผัสสะเกิด หากมีเหตุปัจจัยกับสิ่งๆนั้น ย่อมทำให้เกิด ความยินด/ยินร้าย คือ เวทนา เมื่อเวทนาเกิด สัญญา สังขาร ย่อมทำงานตามเหตุปัจจัย วิญญาณ ย่อมเกิดตามเหตุปัจจัย คือ มโน เมื่อมี ความคิดขึ้น เกิดจาก สังขาร ได้แก่ การปรุงแต่ง ความคิดนั้นๆ จากวิญญาณ ที่เปลี่ยนสภาพเป็นมโน กลายเป็น มโนกรรม ไปทันที


ต่อจาก ว่าด้วย วิญญารขันธ์ใน พระไตรปิฎก

ว่าด้วย วิญญาณขันธ์
....

วิญญาณขันธ์ ที่หมายถึง การรู้แจ้งในอารมณ์ เป็นเพียงแค่การรับรู้ ในภาพ ในเสียง ในกลิ่น ในรส ฯ.(อายตนะภายนอก)ที่มากระทบต่างๆเท่านั้น

วิญญาณขันธ์ ตัวนี้ หมายถึง วิญญาณ ๖ ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕

วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ หมายถึง วิญญาณที่เป็นธาตุรู้ คือ รู้สักแต่ว่ารู้ เป็นวิญญาณประเภท สเหตุกะ และอเหตุกะ ที่เกิดจาก สังขารขันธ์ เป็นเหตุปัจจัย ที่เกิดจาก เวทนา เป็นเหตุปัจจัย


เมื่อเกิดการปรุงแต่งโดยสังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ จะแปรสภาพเป็น มโน ได้แก่ มโนกรรม





Waliporn
พิจารณาใหม่ ศึกษาใหม่
วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต..........
ไม่ว่า วิญญาณขันธ์ 5 หรือ วิญญาณ 6 ก็เรื่องเดียวกัน
ที่ mark สี ไว้ เป็นความเข้าใจผิดที่ waliaporn ต้องทบทวนใหม่


จริง ๆ ตอนนี้กำลังสนใจกรณีนี้น่ะ ...

บทสรุปเป็นเช่นไรกันแน่...น่ะ


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 17 ก.ค. 2013, 15:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่อ .... ไม่มีอะไรหรอก เหตุจาก เอกอน จะมีบุคคลิกเฉพาะตัว เวลาที่สนทนากับวลัยพร

พอเห็นบางสิ่ง ก็พอจะเดาได้ว่า จะเป็นแบบไหน :b32:


ถึงแม้ จะไม่ค่อยได้เข้ามาสนทนา พอมาเจอ รูปแบบเดิม ก็เลยบอกว่า ไม่เปลี่ยน


คงไม่มีอะไรแล้ว ๒ รอบละ กับคำพูดนี้ ครั้งนี้ พอจริงๆ

รู้สึกว่า เมื่อคุยกันแบบนี้ ตัวเอง มองเห็นแต่ ตัวกูรู้ แต่รู้กู ไม่ค่อยจะทัน จึงไม่ค่อยเข้ามาสนทนา เพราะเหตุนี้แหละ


ขอบคุณที่สนทนากัน tongue

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 15:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
เช่นนั้น

ขอฟังความคิดเห็นของเช่นนั้น ในเรื่องนี้ก่อน ที่เช่นนั้น ได้ทำเครื่องหมายไว้

"เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ก็ตัดออกไปได้ ว่าไม่ใช่ วิญญาณ ๖ อย่างแน่นอน เพราะ ไม่ได้เกิดจาก ผัสสะ หรือ การทำงานของอายตนะ"

"วิญญาณขันธ์ ที่หมายถึง การรู้แจ้งในอารมณ์ เป็นเพียงแค่การรับรู้ ในภาพ ในเสียง ในกลิ่น ในรส ฯ.(อายตนะภายนอก)ที่มากระทบต่างๆเท่านั้น

วิญญาณขันธ์ ตัวนี้ หมายถึง วิญญาณ ๖ ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕

วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ หมายถึง วิญญาณที่เป็นธาตุรู้ คือ รู้สักแต่ว่ารู้ เป็นวิญญาณประเภท สเหตุกะ และอเหตุกะ ที่เกิดจาก สังขารขันธ์ เป็นเหตุปัจจัย ที่เกิดจาก เวทนา เป็นเหตุปัจจัย

เมื่อเกิดการปรุงแต่งโดยสังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕ จะแปรสภาพเป็น มโน ได้แก่ มโนกรรม"


ถ้าบอกว่า เป็นวิญญาณ ๖ ช่วยแสดงข้อคิดเห็นให้ฟังบ้าง
หรือ ถ้าไม่ใช่ แต่เป็น วิญญาณประเภทอื่นๆ ช่วยแสดงข้อคิดเห็น ให้ฟังบ้าง
นำข้อมูลมากจากไหน ช่วยแนบลิงค์ให้ด้วย
แต่ถ้าคิดเอง ก็บอกด้วย

Waliaporn
ต้องทำความเข้าใจ ธาตุ 18 ใน ธาตุวิภังค์ให้ดี
จึงจะเข้าใจ ความสัมพันธ์ ระหว่าง ขันธ์ 5 กับวิญญาณ 6

http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=2272&Z=2366

ความสำคัญที่ทำความเข้าใจยากคือส่วนของ
มโนธาตุ ธรรมธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ

ความสัมพันธ์ 3 ส่วนนี้ แล่นไปในวัฏฏะสงสาร และยังสามารถขนสัตว์ออกจากวัฏฏะสงสาร

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ เช่นนั้น

สำหรับ วลัยพร ถ้าในสิ่งที่นำมาแสดงนั้น มีข้อความเหล่านี้แทรกอยู่

"@๑. ความที่ ฯลฯ ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ พึงดูความเต็มในธรรมสังคณีปกรณ์
@ตั้งแต่ข้อ (๕๑๖) เป็นลำดับไป
จิต มโน มานัส หทัย ปัณ"



ล้วนเป็นข้อความที่นำมา จากความถูกใจ ของผู้ที่นำมาแสดง
เพียงบอกให้รู้ แต่ไม่คิดติติง รู้หลากหลายก็ดี เพียงแต่ เลือกน่ะ

เลือกที่ไม่มีข้อคิดเห็นแทรก

ส่วนจะหาข้อมูลหรืออะไร ก็แล้วแต่นะ เพราะไม่ได้เอาเป็นเอาตายกับการสนทนา


ส่วนเรื่อง ปฏิจจสมุปปบาท จะดูเรื่อง ทั้งฝ่ายเกิด เหตุที่เกิด

ฝ่ายดับ เหตุที่ดับ


เพียงแต่ไม่ชำนาญในด้านการใช้ภาษา เพียงชี้ให้เห็นที่มา ที่ไป มีเกิด มีดับ ตามเหตุปัจจัย

สิ่งที่นำมาสนทนากันนั้น เป็นเพียง สัญญา เอาไว้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งกันและกัน


ส่วนปัญญาที่แท้จริง มองว่า รู้แล้ว ต้องรู้วิธีการ ตัดภพชาติ หรือดับภพชาติ ที่กำลังจะเกิดขึ้นมาใหม่ได้

และ รู้ว่า การดับภพชาติ ในการเวียนว่าย ตายเกิดในวัฏฏสงสารนั้น ต้องทำอย่างไร

ต้องสอดคล้องกัน โดยไม่สามารถมีข้อโต้แย้งได้ อันนี้ไม่ได้พูดเองนะ มีในคำสอนของพระพุทธเจ้า

ต้องตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้า มีนำมาแสดงได้

ส่วนการแสดงข้อคิดเห็นนั้น ไม่ติดใจเรื่อง กาารใช้ภาษา ใครรู้แบบไหน แค่ไหน ย่อมแสดงได้แค่นั้น ค่อยๆขัดเกลากันไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 17 ก.ค. 2013, 15:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ขอบคุณ เช่นนั้น

สำหรับ วลัยพร ถ้าในสิ่งที่นำมาแสดงนั้น มีข้อความเหล่านี้แทรกอยู่

"@๑. ความที่ ฯลฯ ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ พึงดูความเต็มในธรรมสังคณีปกรณ์
@ตั้งแต่ข้อ (๕๑๖) เป็นลำดับไป
จิต มโน มานัส หทัย ปัณ"



ล้วนเป็นข้อความที่นำมา จากความถูกใจ ของผู้ที่นำมาแสดง
เพียงบอกให้รู้ แต่ไม่คิดติติง รู้หลากหลายก็ดี เพียงแต่ เลือกน่ะ

เลือกที่ไม่มีข้อคิดเห็นแทรก

ส่วนจะหาข้อมูลหรืออะไร ก็แล้วแต่นะ เพราะไม่ได้เอาเป็นเอาตายกับการสนทนา


เมื่อจะให้หาข้อมูลมาแสดง ก็หามาแล้ว
การจะพิจารณาถึงสภาพธรรมที่ปรากฏ ก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่ Waliporn จะทำหรือไม่
หวังว่า ธาตุวิภังค์ จะมีประโยชน์ ต่อ Waliporn

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:

จริง ๆ ตอนนี้กำลังสนใจกรณีนี้น่ะ ...

บทสรุปเป็นเช่นไรกันแน่...น่ะ

มังกรน้อย ...เริ่มศึกษาจาก

วิบากกรรมของมังกรน้อย เป็นอัพยกตธรรม
ยังไม่เป็นกุศล หรืออกุศล เป็นชีวิตที่ดำเนินปรกติ
รับรู้สิ่งต่างๆ ตามอายตนะ......
แล้วจิตหน่วงอารมณ์ ได้อย่างไร
กลายเป็นกุศลหรือ อกุศลได้อย่างไร

พุ่งสังเกตุการเกิดการดับ ของธรรมธาตุคือ เจตสิกธรรมทั้งปวงที่กลายเป็นอายตนะภายนอกของ มโนธาตุไปเสียแล้ว
http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=2272&Z=2366
อ่านธาตุวิภังค์ ตามลิงค์ นี้แล้วน้อมเข้าดูจิต

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 228 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 16  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร