วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 11:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 75, 76, 77, 78, 79, 80, 81 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2015, 11:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้หลังจากเดินจงกรมเสร็จ ก็คงต้องหาอาหารเช้ามาบำบัดความหิวกระหาย :b47: :b48: :b49:

ถ้าเป็นพระ ก็คือการฉันเช้าหลังจากออกเดินบิณฑบาตเสร็จนั่นเองครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งการทานข้าวเช้า (หรือมื้อไหนๆก็ตาม) ก็เป็นกิจกรรมที่เอาไว้สำหรับฝึกสติสัมปชัญญะได้ดีมากอีกกิจกรรมหนึ่ง :b49: :b50: :b49:

แล้วฝึกทานข้าวอย่างมีสติอย่างไร ? :b46: :b47: :b48:

ก็เป็นดังตัวอย่างที่หลวงปู่นัท ฮันห์ท่านบอกไว้นะครับ คือทานข้าวเพื่อทานข้าว มีสติรู้เนื้อรู้ตัวอยู่กับการเคลื่อนไหว มือที่จับช้อนส้อมเอาอาหารใส่เข้าปากให้พอดีคำโดยไม่ให้มีเสียง ทั้งเสียงช้อนส้อมกระทบจาน และเสียงในการบดเคี้ยวอาหาร :b46: :b47: :b46:

โดยค่อยๆบดย่อยค่อยๆเคี้ยวอาหารอย่างละเอียด ด้วยความอิ่มเอม เบิกบานกับการรับรู้รสชาติของอาหาร โดยไม่ฟุ้งคิดไปถึงเรื่องอื่นเรื่องใด ให้มีจิตใจที่จดจ่อ รู้เนื้อรู้ตัวอยู่แต่การทานอาหารเท่านั้น :b49: :b50: :b51:

แต่ถ้าจิตฟุ้งออกจากการทานอาหารไปคิดถึงเรื่องนู้นเรื่องนี้ ก็ให้รู้ทันในการฟุ้ง และกลับมาสู่การทานข้าวเพื่อทานข้าว มีความสุขและความเบิกบานกับการทานข้าวต่อไป :b48: :b47: :b54:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2015, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วฝึกทานข้าวอย่างมีสัมปชัญญะอย่างไร ? :b49: :b50: :b51:

ประการแรก ในขณะทานข้าวนั้น นักปฏิบัติจะต้องมีความรู้ชัดว่า เราทานข้าวไปเพื่ออะไร

ซึ่งถ้าเป็นพระ ก็จะต้องสวดบทตังขณิกปัจจเวกขณปาฐะ คือบทพิจารณาอาหารก่อนจะฉันข้าวนั่นเองครับ เพื่อเตือนตนให้มีปัญญาสัมปชัญญะ (สาตถกสัมปชัญญะ) ว่า จุดมุ่งหมายของการทานข้าวนั้น เป็นไปเพื่ออะไร


ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ
เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต;

เนวะ ทะวายะ,
ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน;

นะ มะทายะ,
ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามัน เกิดกำลัง พลังทางกาย;

นะ มัณฑะนายะ,
ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ;

นะ วิภูสะนายะ,
ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง;

ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา,
แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้;

ยาปะนายะ,
เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ;

วิหิงสุปะระติยา,
เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย;

พรัห๎มะจะริยานุคคะหายะ,
เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์;

อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ,
ด้วยการทำอย่างนี้ เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่าคือความหิว;

นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ,
และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น;

ยาต๎รา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ ฯ
อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย และความเป็นอยู่โดยผาสุขด้วย จักมีแก่เรา ดังนี้;


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2015, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยนักปฏิบัติไม่จำเป็นที่จะต้องสวดเหมือนพระท่านหรอกนะครับ เพียงแค่ให้ระลึกและรู้ชัดก่อนทานข้าวและขณะทานข้าวได้ว่า เราทานข้าวไปเพื่ออะไร :b46: :b47: :b48:

ซึ่งถึงแม้อาหารจะไม่ค่อยอร่อย ไม่ค่อยถูกปากเพียงไหน แต่ถ้ามีมุมมองที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) ต่อการทานข้าวเช่นนี้แล้ว การทานข้าวด้วยสติสัมปชัญญะและสมาธิ ก็จะเป็นการทานข้าวที่ก่อให้เกิดความอิ่มเอม เบิกบาน ในทุกขณะที่ทานข้าวได้ทุกเมื่อแล้วละครับ :b1: :b46: :b39:

ประการต่อมาในการฝึกสัมปชัญญะขณะทานข้าวก็คือ ผู้ทานจะต้องมีปัญญารู้ชัดในอาหารที่พอเหมาะพอดี คือถูกสุขลักษณะ มีธาตุอาหารครบถ้วนเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และในปริมาณที่ไม่น้อยหรือไม่มากจนเกินไป เพื่อให้เกิดความสบายกายสบายท้อง เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับการปฏิบัติ (สัปปายสัมปชัญญะ)
:b51: :b50: :b53:

โดยการทานข้าวให้พอดีอิ่มนั้น องค์พระสารีบุตรก่อนที่ท่านจะปรินิพพาน และพ่อแม่ครูอาจารย์สายวัดป่าท่านได้สอนไว้ว่า ให้ทานข้าวในปริมาณที่ว่า ถ้าทานอีก ๔-๕ คำแล้วอิ่ม ก็กะให้ได้ปริมาณที่ไม่รวม ๔-๕ คำนั้น แล้วจึงดื่มน้ำตาม ก็จะเป็นปริมาณที่อิ่ม ที่อยู่สบาย พอดีท้อง และเอื้อต่อการปฏิบัติในการละกามฉันทะด้วยนะครับ :b1: :b46: :b39:

สารีปุตตเถรคาถา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=26&item=396
อรรถกถาของสัมปันนสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=292
อรรกถานิกเขปกัณฑ์ http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... =34&i=836#อรรกถานิกเขปกัณฑ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2015, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมปชัญญะอีกประการหนึ่งก็คือ ผู้ปฏิบัตินั้น จะต้องตระหนักชัดว่า เรากำลังทานอาหารเพื่อทานอาหาร :b46: :b47: :b46:

คือมีสติรู้ในแดนงานของตนในขณะนั้นว่ากำลังทำอะไร ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งไปกับความคิด :b48: :b49: :b50:

แต่ถ้าจิตฟุ้งออกจากการทานอาหารไปคิดถึงเรื่องนู้นเรื่องนี้ ก็ให้รู้ทันในการฟุ้ง และกลับมาสู่การทานข้าวเพื่อทานข้าว มีความสุขและความเบิกบานกับการทานข้าวต่อไป (โคจรสัมปชัญญะ)
:b46: :b47: :b39:

ส่วนข้อสุดท้าย คือรู้ชัดในรสชาติหรือโอชาของอาหาร รู้ชัดในขณะบดเคี้ยวว่า สิ่งที่กำลังทานอยู่นั้นคือการรวมกันของธาตุต่างๆ ซึ่งเมื่อกลืนลงท้องไปแล้ว ก็จะถูกย่อยจนเป็นส่วนหนึ่งของรูปกาย ส่วนที่เหลือก็จะกลายเป็นธาตุที่ถูกขับถ่ายออกไป

ซึ่งเมื่อแยกย่อยไปแล้ว ไม่เห็นมีส่วนไหนเป็นตัวตนของเราได้เลย เป็นเพียงก้อนธาตุที่พึ่งพิงอาศัยกันเปลี่ยนรูปร่างและสถานะไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีตัวตนที่เที่ยงแท้ถาวร :b47: :b46: :b41: :b41:

คือ แม้อาหารก็เป็นศูนยตา แม้รูปกายก็เป็นศูนยตา (อสัมโมหสัมปชัญญะ) :b46: :b47: :b39:


และนี่คือการฝึกสติสัมปชัญญะในการทานอาหารด้วยคติตามแนวเถรวาทบวกเซ็นมหายาน :b49: :b50: :b51:

แล้วมาต่อกันในคราวหน้านะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2015, 08:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ความรู้สึกของนักปฏิบัติที่หาทางพ้นจากทุกข์ แนวทางที่หลากหลาย ความไม่เข้าใจนัยยะของแต่ละวิธีที่มีทั้งจุดดีและจุดด้อยในตัวเอง ผู้ลอยคอในห้วงน้ำที่หาทางเข้าฝั่ง ผู้พบกัลยาณมิตร ก็มีโอกาสได้ฟังธรรมปรับประยุกต์กับสภาพของตน โดยไม่มีวิธีที่ดีที่สุดที่ใช้ได้สำหรับทุกคน จึงต้องปรับความเข้าใจให้ตรงทาง และเมื่อวันที่ถูกทางมาถึงพบสภาวะความอิสระจากแรงงร้อยรัดของตัณหา (ไม่ใช่สมาธิที่เข้าสู่ความว่างที่ยังมีศุนย์กลางของความว่าง) ซึ่งเรียกว่านิพพานเทียม แต่พบความดับ(ความดับพิเศษที่ไม่ใช่ความเกิดดับทั่วไป)และเกิดผลความว่างพิเศษที่เป็นส่วนเดียวกับธรรมชาติไม่มีเขตแดน พร้อมจิตใจใหม่ที่ไม่กลับไปเป็นแบบเดิมๆอีก ความลังเลสงสัยในแนวทางปฏิบัติก็หมดไป เมื่อรู้แล้วจึงไม่สีลพตปรามาส ศูนย์กลางของจิตหายไป(อัตตาหายไปหรือสักกายทิฏฐิถูกทำลายไป)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2015, 09:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ย. 2015, 10:09
โพสต์: 24

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


น่าสนใจ ... คงต้องอ่าน ศึกษา ปฏิบัติ ... อีกนาน

.....................................................
เรื่องเล่านิทานธรรมะ นิทานสั้น ๆ บทความธรรมะสั้น สนุก อ่านแล้วได้ความรู้ อ่านแล้วได้ความบันเทิง สนใจอ่าน นิทาน ธรรมะ คติ สอน ใจ สั้นๆ เชิญที่ นิทานธรรมะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2015, 22:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tammathai เขียน:
น่าสนใจ ... คงต้องอ่าน ศึกษา ปฏิบัติ ... อีกนาน

ไม่นานเกินความเพียรหรอกนะครับ :b1:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2015, 22:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1:

คราวที่แล้วได้เล่าถึงกิจกรรมการฝึกสติสัมปชัญญะผ่านการทานอาหารในช่วงเช้า :b46: :b39: :b46:

ซึ่งหลังจากทานอาหารเช้าเสร็จแล้ว ก็อาจจะมีกิจกรรมเพิ่มเติมอื่นๆอีกในช่วงเวลาที่เหลือของวัน เช่น ถ้าไปเที่ยวทะเล น้ำตก หรืออ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ก็อาจจะเป็นเวลาของการลงเล่นน้ำ :b46: :b47: :b46:

หรือถ้าไปเที่ยวตามป่าเขา ก็อาจจะเป็นเวลาของการเดินป่าปีนเขา เพื่อไปชมทัศนียภาพตามจุดชมวิวต่างๆ :b49: :b48: :b47:

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะลงเล่นน้ำ หรือเดินป่าปีนเขาเพื่อชมธรรมชาติ ก็ให้ถือหลักปฏิบัติเหมือนๆกัน ซึ่งก็คือ ให้ท่องเที่ยวไปด้วยความสงบ มีสติอยู่กับปัจจุบันขณะ และ "ทำความรู้สึก" ให้ได้ถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของกายใจกับธรรมชาติรอบๆตัว จนเกิดความดื่มด่ำ และเบิกบานกับความสงบสมบูรณ์แห่งสติ แห่งสัมปชัญญะ :b49: :b48: :b49:

ซึ่งนั่นก็คือสิ่งเดียวกับความสงบ ความสมบูรณ์แห่งชีวิตนั่นเอง :b46: :b39: :b46:


โดยเฉพาะการได้มีโอกาสลงแช่น้ำในลำห้วย ในธารน้ำตก หรือในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนด้วยความสงบเย็น ก็ให้ผู้ปฏิบัติลองทำใจให้ว่าง เป็นอิสระจากความคิดความกังวลทั้งปวง หลับตา แล้วทำความรู้สึกลงในสภาวะอันเป็นธรรมชาติของสายน้ำ :b48: :b49: :b48:

ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถ "รับรู้" และ "รู้สึกได้" ถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของกายใจ กับธรรมชาติของสายน้ำได้โดยง่าย เนื่องด้วยร่างกายคนเรามีน้ำเป็นองค์ประกอบเสียส่วนใหญ่ และเมื่อร่างกายได้สัมผัสกับธรรมชาติแห่งความใสไหลเย็น แห่งความเอิบอาบของสายน้ำตลอดทั่วทั้งตัว ก็จะส่งผลให้จิตใจที่เป็นอิสระ สามารถเข้าถึงความสงบเย็น และความสมบูรณ์แห่งชีวิตได้โดยไม่ยาก :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2015, 22:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากนี้แล้ว ผู้ปฏิบัติอาจจะเสริมกิจกรรมที่ทำให้ชีวิต ได้ slow life มากขึ้น ด้วยการเพิ่มเติมงานทางด้านศิลปะเข้าไปในการท่องเที่ยวของเวลาที่เหลือระหว่างวัน เช่น การหาวิวสวยๆสักที่ ดอกไม้งามๆสักดอก หรือยอดอ่อนที่กำลังผลิใบสักยอด แล้วนั่งลงสเก็ตช์ภาพอันน่าประทับใจเหล่านั้น :b46: :b47: :b46:

ซึ่งในการสเก็ตช์ภาพนี้ ผู้ปฏิบัติก็จะได้มีเวลาพินิจพิจารณา ใส่ใจลงในรายละเอียดของธรรมชาติที่อยู่เบื้องหน้า เพื่อจะได้มีเวลาใช้ชีวิตแบบ slow life เพื่อดื่มด่ำกับความสวยงามของธรรมชาติอย่างละเมียดละไม และเพื่อให้ได้ "ความรู้สึก" ที่เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติเหล่านั้นได้มากขึ้นไปอีก :b47: :b48: :b47:

ทั้งนี้ ภาพที่สเก็ตช์นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องสเก็ตช์จนเสร็จ เพราะการสเก็ตช์ภาพนั้นไม่ใช่เป้าหมาย แต่เป็นเพียงวิธีการที่จะให้เข้าถึงเป้าหมาย ซึ่งก็คือความอิ่มเอิบ อิ่มเอมในใจ ที่ได้สัมผัสลงในความสวยงามของธรรมชาติ ด้วยความใส่ใจลงในรายละเอียด ลงในทุกอณู ในทุกเส้นสายของธรรมชาติ ด้วยความละเมียดละไม :b49: :b50: :b51:

หรือถ้าเป็นนักถ่ายภาพ ก็อาจจะติดกล้องออกไปท่องเที่ยวถ่ายวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม ได้มีเวลาสังเกตองค์ประกอบศิลป์ เพื่อหามุมกล้องที่สามารถถ่ายทอดธรรมชาติอันงดงามและบริสุทธิ์ออกมาได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายมุมกว้างแบบ scenic view หรือภาพถ่ายแบบเฉพาะเจาะจง เช่น ภาพถ่ายหยดน้ำค้างบนยอดหญ้า ภาพถ่ายนกที่มีสีสรรสวยงาม หรือภาพถ่ายมุมเล็กๆอันแปลกตาที่แฝงอยู่ตามธรรมชาติอันกว้างใหญ่ อย่างภาพถ่ายแบบ macro :b46: :b39: :b46:

ซึ่งนอกจากจะได้สัมผัสกับความงามของธรรมชาติขณะถ่ายภาพแล้ว ยังสามารถเอารูปภาพเหล่านั้น กลับมาย้อนความทรงจำ เพื่อดื่มด่ำกับบรรยากาศต่อในยามแต่งรูปหรือคลิกดู :b47: :b48: :b49:

หรือแม้แต่นำภาพเหล่านั้น มาทำเป็นเครื่องให้หมายรู้ หรือเป็นนิมิตสำหรับเพ่งกสิณก็ยังได้นะครับ :b46: :b39: :b41:


แนบไฟล์:
Doi HuaMaekam 393-4 tn2.jpg
Doi HuaMaekam 393-4 tn2.jpg [ 349.34 KiB | เปิดดู 5858 ครั้ง ]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2015, 23:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือถ้าเป็นนักกวี ก็อาจจะใช้เวลาที่ชื่นชมธรรมชาติ เขียนบทกวีในแนวเซ็น เช่นโคลงไฮกุ ซึ่งเป็นโคลงที่ "มีพื้นฐานคือ เรียบง่าย และ ดั้งเดิม จึงไม่ยึดติดกับแบบแผน ไม่มีข้อจำกัด ไหลเรื่อยตามธรรมชาติ สั้นกระชับที่สุด ตรงที่สุด และเป็นไปอย่างฉับพลัน ตามสภาวะสัจจะล้วนๆ เรียบง่ายและตรงความรู้สึก ออกมาจากใจของกวี โดยปราศจากอุปสรรคขวางกั้น แสดงความงาม ความเศร้า ความสงบ ความปิติ ความเก่าแก่ เปลือยเปล่าอยู่ภายใต้แสงแดดอันอบอุ่น ในวินาทีแห่งการสร้างสรรค์สิ่งอัศจรรย์ที่ไฮกุได้ถือกำเนิดขึ้น"
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B8%81%E0%B8%B8

แนบไฟล์:
Aug - Sep 09 (Pou award & Chiangrai) 405-2 tn 2.jpg
Aug - Sep 09 (Pou award & Chiangrai) 405-2 tn 2.jpg [ 122.45 KiB | เปิดดู 5858 ครั้ง ]


หรือถ้าเป็นหนอนหนังสือ ก็อาจจะหาบริเวณที่เงียบสงบสักที่ เอนกายแล้วหาหนังสือดีๆที่จรรโลงจิตวิญญาณไว้อ่านสักเล่ม โดยเฉพาะหนังสือธรรมะ คำสั่งสอน หรือบันทึกการปฏิบัติของพ่อแม่ครูอาจารย์ท่านต่างๆ :b46: :b47: :b46:

เพื่อที่จะได้อาศัยความสงบงามของธรรมชาตินั้น เป็นเหตุใกล้เพื่อทำให้เกิดสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ในการซึมซับธรรมะดีๆเข้าไว้ในจิตใจผ่านสุตมยปัญญา ซึ่งก็คือปัญญาที่เกิดจากการอ่านหรือการฟังธรรม
:b48: :b49: :b50:

พอตกบ่าย ก็อาจจะหาขนมอร่อยๆสักชิ้นสองชิ้น ทานคู่กับน้ำชาอุ่นๆสักถ้วย ค่อยๆจิบค่อยๆเคี้ยว ค่อยๆทานอย่างละเมียดละไมและอย่างมีสติ ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและ slow life ไม่คิดฟุ้งไปถึงเรื่องในอดีตที่ผ่านไปแล้ว ไม่เพ้อฝันหรือกังวลไปถึงเรื่องในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง มีสติสัมปชัญญะและสมาธิ อิ่มเอมอยู่กับปัจจุบันขณะ อยู่กับการทานขนมและดื่มน้ำชาอุ่นๆที่อยู่ในถ้วยนั่น จนรู้สึกถึงความเป็นหนึ่งซึ่งกันและกันของกายใจกับขนม กับน้ำชา และกับธรรมชาติรอบตัว :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2015, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอตกค่ำก็อาจจะหาเวลาออกมานั่งด้านนอกเพื่อสูดอากาศอันบริสุทธิ์ และสัมผัสได้ในบรรยากาศอันสงบเย็น :b46: :b47: :b46:

และเมื่อแหงนหน้าขึ้นมองดูดวงดาวที่พร่างพราวอยู่บนท้องฟ้า ก็ให้มองออกไปจนเห็นและรู้สึกได้ถึงความกว้างใหญ่ของจักรวาล รู้สึกได้ในความเล็กจ้อยของกายใจเมื่อเทียบกับจักรวาลอันกว้างใหญ่นั้น จินตนาการถึงผู้คนอีกหลายพันล้านที่อาศัยอยู่ด้วยกันบนโลกใบนี้ ต่างก็เป็นเพียงแค่เศษฝุ่นเศษธุลี อันเป็นองค์ประกอบเพียงเศษเสี้ยวของจักรวาลอันกว้างใหญ่ :b49: :b48: :b41:

นี้เป็นอุบายในการลดอัตตาตัวตน และเป็นการฝึกเพื่อให้รู้สึกได้ในความเป็นหนึ่งเดียวของกายใจ กับทุกผู้คน กับทุกสรรพสิ่ง และกับจักรวาลอันกว้างใหญ่ ที่หาขอบเขตไม่ได้นั้น :b49: :b50: :b54:

และเมื่อถึงเวลาก่อนที่จะเข้านอน ก็ให้ผู้ปฏิบัติ ใช้เวลาสักครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ในการสวดมนต์และนั่งสมาธิ โดยเอาธรรมชาติที่ผ่านมาระหว่างวันมาเป็นเครื่องหมายรู้ หรือเป็นนิมิตในการทำสมาธิ หรือที่เรียกว่า การเพ่งกสิณนั่นเองนะครับ :b1: :b46: :b39:


ยกตัวอย่างเช่น ผู้ปฏิบัติอาจจะจินตนาการถึงสีเขียวของยอดอ่อน ของภูเขาหรือป่าไม้ที่ชื่นชมมาระหว่างวัน (นีลกสิณ) หรือสีเหลือง สีแดง สีขาวของดอกไม้ที่สเก็ตช์ภาพไว้นั้น (ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ) หรือความสว่างของพระอาทิตย์ในตอนกลางวัน หรือพระจันทร์ในยามค่ำคืน (อาโลกสิณ) :b46: :b47: :b46:

หรือความแข็งแกร่งของก้อนหิน ของภูผาที่ได้ปีนป่ายผ่านมา (ปฐวีกสิณ) หรือแดดที่ร้อนจ้าในตอนกลางวัน (เตโชกสิณ) หรือสายลมที่พัดผ่านกายในยามที่เดินชื่นชมกับธรรมชาติ (วาโยกสิณ) หรือสายน้ำอันเอิบอาบฉ่ำเย็นยามลงแช่ (อาโปกสิณ) หรือวิวทิวทัศน์ที่ว่าง และกว้างไกลสุดสายตายามเมื่อปีนถึงยอดเขา (อากาสกสิณ) ฯลฯ :b47: :b48: :b49:

และด้วยการจินตนาการถึงนิมิตต่างๆที่เจือด้วยความสุขความสงบความเบิกบานจากการท่องเที่ยวระหว่างวัน ก็จะทำให้นักปฏิบัตินั้น สามารถเข้าสมาธิ และ "รู้สึก" ถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติที่ใช้เป็นนิมิตได้โดยง่ายนะครับ :b1: :b46: :b39:

และนี่คือกุศโลบาย (กุศล + อุบาย) ที่สามารถดัดแปลงมาใช้ในการฝึกสมาธิ ด้วยสภาวะแวดล้อมที่สงบสุขและเบิกบานจากการได้ออกไปท่องเที่ยว
:b46: :b47: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2015, 23:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งหลังจากสวดมนต์นั่งสมาธิเสร็จ ก็จะถึงเวลาเข้านอน :b46: :b47: :b48:

และการเข้านอน ก็มีวิธีฝึกสติสัมปชัญญะตามคำของพระบรมครู ที่ท่านเทศน์สอนองค์พระโมคคัลลานะ ตามนี้ครับ :b1: :b46: :b39:

"แต่นั้นเธอพึงสำเร็จสีหไสยา คือ นอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำความหมายในอันจะลุกขึ้น

พอตื่นแล้วพึงรีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า เราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ

ดูกรโมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ"


โมคคัลลานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=1873&Z=1938

ซึ่งถ้าผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติตามศีลแปดข้อสุดท้าย คือละเว้นการนอนบนฟูกที่นุ่มหนา การฝึกสติสัมปชัญญะในเวลานอนตามคำสอนของพระบรมครู ก็จะไม่เป็นเรื่องที่ยากลำบากมากมายนะครับ :b1: :b47: :b42:

แล้วมาต่อกันในคราวหน้า :b46: :b47: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2015, 19:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะของสัมมาสมาธิ ต้องรู้ถึงสภาพไตรลักษณ์ของรูปนาม

การจำแนกระดับสัมมาสมาธินี้ เป็นความเห็นส่วนตัวว่า อาจจำแนกได้ 3 ระดับ
1 ระดับหยาบ เป็นการรู้เห็นความเกิดดับของสภาพนิวรณ์ธรรม
2 ระดับกลาง นิวรณ์ธรรมระงับลง เป็นการรู้ถึงการเกิดดับของสุขเวทนา
3 ระดับละเอียด การรู้ถึงความเกิดดับของ อทุกอสุขเวทนา หรือสภาพธรรมหนึ่ง ๆ

สัมาสมาธิระดับกลางและระดับละเอียด เป็นการรู้ถึงสภาพธรรมของฌานจิตที่เกิดดับตลอดเวลา ตามความเห็นของข้าพเจ้าตั้งแต่ ปฐมฌานจนถึงฌานที่6 ยังจัดเป็นสัมมาสมาธิ
แต่ในฌานที่7 และ8 มีสภาพที่ดิ่งลึกเกือบหมดความรู้สึก จึงไม่เหมาะแก่เจริญวิปัสสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2015, 09:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การเข้าใจว่าการดำรงฌานจิตนั้นไม่สามารถปฏิบัติวิปัสสนาได้ จนกว่าจะถอยจิตมาอยู่อุปจารสมาธิหรือขณิกสมาธิ เป็นความเข้าใจฌานจิตที่เกิดจากสมถกรรมฐาน ซึ่งเกิดจากการเพ่งควบแน่นรวมความรู้สึกที่จุดสนใจ จิตยึดโยงด้วยอุปาทานซึ่งเกิดจากตัณหาจะดำรงจิต ณ จุดสนใจ จิตบนพื้นฐานดังกล่าว ไม่สามารถเจริญวิปัสสนาในขณะนั้นได้ จนกว่าจะคลายสมาธิจนถึงระดับที่รู้ถึงการเคลื่อนไหว(อุปจารสมาธิอย่างอ่อนหรือขณิกสมาธิ) แต่ถึงอย่างนั้นก็เป็นการยากที่จะละอุปาทานที่สร้างจนชิน จึงทำให้เกิดแนวสอนที่พระพุทธองค์ตรัสกับปัญจวัคคีย์ในวันปฐมเทศนา นัยยะก็คือการแยกจิตกับอารมณ์ของจิต ซึ่งถูกตัณหาร้อยรัดไว้ เป็นอุปาทานที่สร้างภพแห่งพรหม การแยกจิตกับอารมณ์จิต คือการยกผู้รู้(จิต) ออกมารู้อาการของจิต ซึ่งก่อนที่ถึงจุดนี้ จำเป็นต้องอธิบายให้เห็นโทษของการเพ่ง (การละวาง)สิ่งถูกรู้ เพื่อเตรียมพื้นฐานการวางใจที่เป็นกลาง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2015, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39:

คราวก่อนหน้าได้เขียนรายละเอียดของกิจกรรมในการปฏิบัติ เพื่อสลายตัวตนให้รวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับธรรมชาติอันบริสุทธิ์ :b47: :b46: :b41:

ซึ่งได้แก่การฝึกสติ สัมปชัญญะ และสมาธิของเซ็นบวกเถรวาทในแบบง่ายน้อยหน่อย คือในเวลาที่สามารถอยู่กับธรรมชาติด้วยตัวคนเดียว ด้วยการท่องเที่ยวไปในสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ โดยอาศัยสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ช่วยให้เกิดความเป็นสัปปายะ เกิดความสงบ เกิดความสุข และเกิดความเบิกบานในการฝึก :b48: :b48: :b49: :b49: :b54:

ซึ่งสิ่งที่เก็บเกี่ยวมาได้จากการฝึก และบันทึกลงเป็นสัญญาคือความจำได้หมายรู้ในความสงบ ความเบิกบานของสภาวะแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ และยิ่งกว่านั้นถ้าสามารถทำได้ก็คือ สามารถสัมผัสได้ในความเป็นหนึ่งเดียวกันของกายใจกับธรรมชาตินั้น ก็จะเป็นคุณเป็นประโยชน์ ที่ผู้ปฏิบัติสามารถนำเอาสัญญาเหล่านั้น มาใช้งานในการฝึกแบบง่าย ซึ่งก็คือการฝึกในรูปแบบ และสถานที่ๆกำหนดนั่นเองนะครับ :b1: :b46: :b39:

โดยคราวที่แล้วก็ได้ยกตัวอย่างไว้เล็กน้อยในการสวดมนต์ทำสมาธิก่อนนอน ด้วยการดึงเอาความจำได้หมายรู้จากธรรมชาติที่สะสมไว้เมื่อตอนกลางวัน มาเป็นองค์ภาวนา หรือเป็นนิมิตของการปฏิบัติตามรูปแบบในตอนกลางคืน :b49: :b50: :b51: :b51:

ซึ่งเราสามารถใช้กุศโลบายเดียวกัน เอามาเพื่อการปฏิบัติตามรูปแบบที่บ้าน เมื่อกลับจากการท่องเที่ยวมาทำงาน มาใช้ชีวิตอยู่ตามปรกติ
:b48: :b47: :b46:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 75, 76, 77, 78, 79, 80, 81 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร