วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 22:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 68, 69, 70, 71, 72, 73, 74 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2015, 08:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การเห็นตรงตามความจริงของธรรมชาติ(สัมมาทิฏฐิ)สามารถจำแนกเป็นแหล่งที่มาของความเห็น และระดับความเห็น สำหรับแหล่งที่มาของความเห็นมาจาก2ส่วนคือการฟัง(สุตตมยปัญญา)และการคิดพิจารณา(จินตมยปัญญา) กับการตามรู้(ภาวนามยปัญญา) สำหรับการคิดพิจารณาเป็นตัวช่วยให้สามารถตัดกิเลสได้ด้วยการภาวนามยปัญญา อาจมีผู้แย้งว่าการพิจารณาก็สามารถตัดกิเลสได้ อันนี้เป็นจริงในระดับหนึ่ง แต่หากพิจารณาแล้วจะพบว่าในขณะที่เกิดมรรคจะต้องมีสัมมาสมาธิเป็นฐานระดับอัปปนา ซึ่งเป็นสภาพมีแต่ผู้รู้ ่ก่อนที่ผู้รู้จะดับไปโดยไม่มีการพิจารณา จึงกล่าวได้ว่าประหารกิเลสด้วยภาวนา(ตรงความหมายนี้ไม่ใช่การใช้คำภาวนา)แต่เพราะมีการฟัง การคิดและการพิจารณาช่วยแก้ปัญหาหรือปรับวิธีให้การตามรู้(ภาวนา)เป็นไปอย่างเหมาะสม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2015, 21:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ระดับของความเห็นตรงตามความเป็นจริง อันที่จริงเรามักไม่ค่อยได้พบการจัดระดับความเห็น เพราะการจัดต้องมีเกณฑ์หรือเงื่อนไข ซึ่งในการจัดระดับความเห็นในวิป้สสนาญาณ 16 ก็เป็นการจัดโดยจำแนกความเห็นจากการภาวนามยปัญญาเป็น2 ส่วนคือความเห็นส่วนที่เป็นสมถและวิปัสนากล่าวคือญาณที่1(นามรูปปริเฉทญาณ)ถึงญาณที่3(สมสนญาณ)เป็นความเห็นในส่วนสมถ แต่ตั้งแต่ญาณที่4(อุทพยญาณ)ถึงญาณที่16(ปัจจขเวกญาณ)เป็นส่วนของวิปัสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2015, 18:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การภาวนา คือ การทำให้จิตมีที่ตั้ง ที่จริงแล้วจิตจะเคลื่อนไหวไปรับอารมณ์ตลอดไม่หยุดนิ่ง การมีฐานที่ตั้งของจิต จึงมีจุดที่ตั้งของตัวรู้เพื่อสามารถรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2015, 18:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การมีฐานที่ตั้งเพื่อรู้การเปลี่ยนแปลง จากข้อความนี้สามารถจำแนกเป็น1การมีฐานที่ตั้ง และ2.การรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการมีฐานที่ตั้งของจิต จนบางครั้งลืมความสำคัญของการรู้การเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของวิปัสสนา อันที่จริงฐานที่ตั้งของจิตคือสมาธฺิ สมาธิเป็นเหตุให้เกิดปัญญาคือการเห็นความเปลี่ยนแปลงของรูปนาม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2015, 12:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การกำหนดฐานที่ตั้งของจิต จำแนกเป็น 2 ฐานคือ1.ฐานที่มาจากสิ่งที่มีอยู่จริงจากกายใจ และ2.ฐานที่เราสร้างขึ้นที่ไม่มีอยู่จริงจากกายใจ สำหรับ 2 ฐานนี้ สมาธิที่ได้ฐานที่มาจากฐานที่1สามารถพัฒนาสุ่วิปัสสนา ่ง่ายกว่าฐานที่2 และหากพิจารณาในฐานย่อยในฐานที่ 1 ก็ยังมีความยากง่ายที่แตกต่างกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2015, 13:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


1ฐานที่ตั้งของจิตจากกายใจ ไดัแก่ ลมหายใจที่จมูก ลมหายใจที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของท้อง การเตลื่อนไหวของร่างกายในแต่ละอริยาบท และที่ละเอียดคือการเปลี่ยนแปลงของความรู็สึกในกาย เช่น ความงูบวาบในกาย ความร้อนเย็น ความชาเจ็บปวด และที่ละเอียดสุด คือการทำงานโมเลกุลของเซลส์ ที่เป็นกระแสไหวภายในกาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2015, 15:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่รู้ว่าเจ้าของกระทู้ ตอนนี้เป็นยังไงแล้วบ้างครับ

smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2015, 09:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


2 สิ่งรู้ที่อยู่นอกกายใจ มีสิ่งที่ถูกรู้ที่อยู่นอกกายใจหลายอย่างที่'ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐานในกรรมฐาน 40 ซึ่งทำให้เกิดสมาธิทั้งสัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ ที่กล่าวว่าเป็นมิจฉานั้น มิได้ปฏิเสธว่าไม่ดีทีเดียว เพียงแต่สมาธิดังกล่าวยากต่อการเกิดสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นองค์ของปัญญาที่ทำให้เกิดการตรัสรู้ แต่อย่างไรก็ตามวาสนาที่สั่งสมมาก็เป็นปัจจัยให้แต่ละท่านที่บำเพ็ญบารมีใช้กรรมฐานใดใน 40 และสุดท้ายไม่ว่าจะใช้เวลานานสักเท่าไร ก็ต้องมาถึงจุดที่มีสัมมาทิฏฐิ เกิดสติ และสัมปชัญญะในภายหลัง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2015, 22:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การมีฐานที่ตั้งจากลมหายใจ ไม่ว่าที่ท้อง หรือปลายจมูก หรือการบริกรรมพุทโธ ยังเป็นการฝึกสมาธิ ถ้าจดจ่อลม โดยไม่สังเกตการเคลื่อนของจิต ก็จะเริ่มเคยชินต่อการเพ่งสมาธิ ่ก็จะเริ่มไม่เป็นกลาง สติก็จะไม่เป็นธรรมชาติ แต่หากไม่ยึดลม ก็จะพบว่าลมหายใจก็จะขาดตอนออกจากกัน ที่เรียกว่าการขาดของสันตติ(การสืบต่อของรูปนามขาดจากกัน)ในช่วงการเกิดดับจะเกิดเป็นจุดๆ ซึ่งจึงใช้
เฉพาะสติ แต่เมื่อความรู้สึกเกิดดับกระจายมากกว่า 1 จุดและกระจายหลายจุด เราต้องใช้สัมปชัญญะคือรู้ตัวทั่วพร้อม ชึ่งจะเป็นองค์ธรรมที่ต้องนำมาใช้ในช่วงนี้ ชึ่งอจไม่ได้จับลมแต่มาดูการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย(กายในกาย)ซึ่งเวทนา จิตและธรรมารมณ์ก็จะรู้ไปด้วยกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2015, 22:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การใส่ใจที่ไม่เป็นธรรมชาติต่อลมหายใจ(ที่ตั้งของจิต)ทำให้สมาธินำปัญญาั(สมถะ) นอกจากใส่ความตั้งใจเกินไปแล้ว ที่ตั้งของจิตต่างๆ ก็มีส่วนในการโน้มเอียงที่จะผลักดันให้จิตเป็นสมถหรือวิปัสสนา เช่น 1.รู้ลมหายใจเข้าออกที่จมูกนี้ ทำให้้จิตเกิดสมถะ ที่เป็นเช่นนี้เพราะลมหายใจเป็นของละเอียด เมื่อทำไประยะหนึ่ง ความแน่วแน่จะนำตัวรู้ แต่หากพัฒนาให้เข้าถึงลมหายใจ 16 ขั้นก็จะเป็นวิปัสสนาได้ แต่จากการศึกษามาเป็นไปได้ยาก 2.ลมหายใจที่ท้อง เนื่องจากท้องเป็นส่วนของกายที่หยาบ ตัวรู้จึงชัดกว่าที่จมูก ที่จุดนี้จึงเกิดวิปัสสนาได้ง่าย แต่หากมีการเพ่งท้องอย่างเดียว โดยไม่ฝึกสังเกตความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ เวทนา หรือความนึกคิด ก็จะกลายเป็นสมถะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2015, 22:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การสร้างสมาธิที่นำมารู้ภายในกายและใจนี้ ฐานที่ตั้งของจิตที่สามารถเชื่อมต่อกายใจได้ง่ายทีสุด ควรนำมาใช้ และควรพิจารณาเลือกดู การรู้ฐานที่ตั้งของจิต จะรู้ได้นานเพียง3-5
วินาที่ ต่อครั้งจะเป็นธรรมชาติ จิตก็จะเคลื่อนไปเกิดอารมณ์ ความนึกคิด หรือเวทนา ่เรามักเข้าใจว่าจิตสงออกนอก ที่จริงเป็นการคลายสิ่งสะสมออกจากกายและใจ ยิ่งคลายออกมากได้ดี ไม่สะสม เป็นการดีทอกซ์ จะส่งผลให้กายใจอิสระเร็วยิ่งขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2015, 11:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริงมีอยู่แล้วไม่ต้องหา เรามักสร้างเงื่อนไขในการรู้ เช่น ความคิดนึกเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ ความพอใจไม่พอใจ ก็เช่นเดียวกัน เฉย ร้อน เย็นก็เช่นเดียวกัน แต่ความจริงแล้ว ยังมีอื่นอีกมากที่เกี่ยวกับกายที่เป็นสิ่งที่สามารถนำมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่น อาการวูบวาบ อาการทึมๆทื่อๆ แรงเหมือนมีอะไรมาทาบที่กลางอก หัวใจ สิ่งเหล่านี้มีอยู่แล้วไม่ต้องหา อาจสงสัยว่าสิ่งเหล่านี้คืออะไร อารมณ์เมื่อสะสมหลายครั้ง จะกลายเป็นแรงลักษณะทื่อๆ แน่นๆ หรือสารเคมีที่เกิดทางกายในภาวะปกติเมื่อสะสมจะอยู่ในรูปลักษณะการเกาะกุม หนักทึบสิ่งเหล่านี้ต้องกำหนดรู้เช่นเดียวกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2015, 23:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การกล่าวถึงการรู้กายในกาย เวทนาในเวทนา......นั้นพอจิตหมดกำลังก็อาจกลับมาที่ลม หรือพุทโธ หากจะพิจารณาถึงเทคนิคการรู้ลม มีหลักว่าการรู้ลม ความรู้สึกรู้ต้นลมเข้าจะชัดแต่พอปลายลมจิตรู้จะอ่อนลง ชึ่งหากรู้อย่างนี้จะเป็นธรรมชาติการพยายามรู้ลมให้ชัดตลอดจะเป็นการฝืนธรรมชาติ จะทำให้แน่นหน้าอก ถ้าเป็นธรรมชาติลมเข้าจะเป็นส่วนหนึ่ง ลมออกจะจะเป็นอีกส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ส่วนเดียวกัน ถ้าเป็นเช่นนี้ระหว่างลมเข้าและลมออกจะใีช่องว่างให้พลังงานคลายออกจิตจะไม่แน่นอึดอัด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2015, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันในภาคปฏิบัติของการเจริญสติสัมปชัญญะและสมาธิในแนวเซ็นมหายาน เพื่อให้เกิดปัญญารู้โลกตามความเป็นจริง คือความเป็นหนึ่งเดียวกันของธรรมทั้งหลายที่ว่างเปล่าจากตัวตนกันต่อครับ :b8: :b46: :b39:

ในคราวที่แล้วที่กล่าวถึงหลักการปฏิบัติ จากการเจริญสติสัมปชัญญะและสมาธิในรูปแบบ ขยายเข้าสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน .. :b46: :b47: :b46:

จนกระทั่งการปฏิบัติในรูปแบบและในชีวิตประจำวันกลายเป็นสิ่งเดียวกัน นั่นคือเข้าสู่การปฏิบัติโดยไร้ซึ่งขอบเขตของรูปแบบ ไร้ซึ่งขอบเขตของเวลา และไร้ซึ่งขอบเขตของสถานที่ที่กำหนด :b49: :b50: :b44:

หมายความว่า ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใหญ่น้อยอย่างไร ไม่ว่าจะอยู่ในเวลาไหน และไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่เช่นไร จะตื่นหรือหลับก็ตาม ก็จะเป็นการฝึกปฏิบัติ สติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ไปได้เสียทั้งหมด ทั้งภาครับเข้า (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ), ภาคประมวลผล (ใจ), และภาคสั่งการกระทำต่อ (ใจ วาจา กาย) :b47: :b48: :b41:

จนกระทั่งสุดท้าย การฝึกปฏิบัตินั้นก็จะพัฒนาจนกลายไปเป็นเพียงเครื่องอยู่เครื่องอาศัยที่สงบเบิกบาน เป็นวิหารธรรมของจิต เมื่อเสร็จกิจที่ควรทำ
:b8: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2015, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การฝึกปฏิบัติที่กลมกลืนกลายเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตนี้แล้วนั้น ท้ายที่สุดก็คือสิ่งเดียวกับที่พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านกล่าวไว้ว่า สำหรับนักปฏิบัติแล้ว ชีวิตนี้ก็คือการปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมก็คือชีวิต นั่นเอง (โดยไม่มีการแบ่งแยกว่า นี่คือเวลาทำมาหากิน นี่คือเวลาปฏิบัติธรรมอีก) :b48: :b49: :b50:

ซึ่งชีวิตคือการปฏิบัติธรรมของท่านนั้น หมายถึงการหมั่นเจริญ หรือมีสติสัมปชัญญะและสมาธิ ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ เพื่อป้องกันและกำจัดอกุศลธรรม พร้อมรักษาและเจริญกุศลธรรมให้ไพบูลย์ยิ่งๆขึ้นไป :b46: :b47: :b39:

และนั่นก็มาจากคำสอนของพระบรมครูที่ทรงกล่าวไว้ในหัวข้อ ความเพียรชอบ หรือสัมมัปปธาน หรือสัมมาวายามะ เกลียวหนึ่งที่สำคัญ ใน ๘ ฟั่นเกลียวของอริยมรรค ตามที่ได้กล่าวไว้ในคราวที่แล้วนั่นเอง นะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งความเพียรชอบ หรือสัมมาวายามะของพระบรมครู สมัยเด็กๆที่ถูกบังคับให้ท่องจำ แรกอ่านผ่านๆก็ดูจะเป็นหลักการง่ายๆ ไม่มีอะไรลึกซึ้งพิศดารนะครับ :b1: :b46: :b39:

แต่พอปฏิบัติไปเรื่อยๆ ก็จะซาบซึ้งถึงใจในคำสอนของท่านได้เองเลยว่า ความเพียรที่พระบรมครูทรงแจกแจงเอาไว้อย่างละเอียดละออดีแล้วทั้ง ๔ ข้อนั้น เกี่ยวเนื่องกับการเจริญสติสัมปชัญญะและสมาธิอย่างยิ่ง :b48: :b47: :b48:

และที่สำคัญคือ สามารถทำได้ในทุกที่ ทำได้ในทุกโอกาส ทำได้ในทุกเวลา :b46: :b47: :b39:

คือเพียรละอกุศลและเพิ่มพูนกุศลได้ในทุกที่ทุกเวลา โดยเฉพาะในระดับโลกุตรกุศล โลกุตรปัญญา คือการเห็นในสามัญลักษณะของสรรพสิ่งที่ถูกปรุงแต่งทั้งหลายว่า อยู่ภายใต้สภาวะที่ถูกบีบคั้นอยู่ตลอด จนเปลี่ยนแปลง แปรปรวนไปตามเหตุตามปัจจัย (อนิจจัง และ ทุกขัง ที่เป็นลักษณะสามัญของสังขารธรรม) :b43: :b44: :b40:

และการเห็นในความเป็นหนึ่งเดียวกันของธรรมทั้งหลายที่ว่างเปล่าจากตัวตน (อนัตตา ที่เป็นลักษณะสามัญของธรรมทั้งปวง)
:b50: :b49: :b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 68, 69, 70, 71, 72, 73, 74 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร