วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 20:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 176 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 16:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า เนวสัญญานาสัญญาตนะของท่านอุทกดาบส....เป็นฌานเป็นความว่างจากสัญญา

ตรงนี้ ว่างจากสัญญายังไง...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 16:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อ
โฮฮับ เขียน:
ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า เนวสัญญานาสัญญาตนะของท่านอุทกดาบส....เป็นฌานเป็นความว่างจากสัญญา

แล้ว
โฮฮับ เขียน:
ซึ่งสภาวะธรรมที่แท้ของบัญญัติทั้งสามนี้ก็คือ....เนวสัญญานาสัญญายตนะ

ยังไง...
แล้ว
โฮฮับ เขียน:
เนวสัญญานาสัญญาตนะของพระพุทธองค์ เป็นเหตุปัจจัยแห่งความดับ(นิพพาน)

ยังไง

:b12:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 05 ก.ค. 2013, 20:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 16:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


และ
โฮฮับ เขียน:

สภาวะเนวสัญญานาสัญญาตนะของท่านอุทก เรียกว่า...ฌาน

สภาวะเนวสัญญานาสัญญาตนะของพระพุทธเจ้า เรียกว่า.....ญาน



แล้ว เนวสัญญานาสัญญายตนะแบบ ญาน เป็นไงหรือท่าน ...
ช่วยอธิบายให้ละเอียดด้วย...เพราะเอกอนค้นหาพระสูตรที่จะกล่าวในนัยยะนี้ไม่เจอจริง ๆ
เพราะ...ถ้าไม่เคยมีพระสูตรอธิบายในส่วนนี้มากก่อน
แสดงว่าท่านคือผู้ค้นพบคนแรกเลยนะนี่...

:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 05 ก.ค. 2013, 20:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 17:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


คือ แบบว่า เท่าที่สนทนามาดูเหมือนท่านโฮจะเป็นผู้ชำนาญในเรื่องนี้ทั้ง
เนวสัญญายตนะฌาน
และ
เนวสัญญายตนญาน น่ะ

ดังนั้น ท่านโฮก็อธิบายแบบจัดเต็ม ๆ ไปเลย...
ก็พอดีเห็นท่านอธิบายธรรมได้สอดคล้อง...คล้องจองกันดี...น่ะ

แต่เอกอนหาพระสูตรที่ลงกับความเห็นท่านยังไม่ได้...แค่นั้นเอง...

:b12: :b12: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 05 ก.ค. 2013, 17:28, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 17:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
สัญญานาสัญญาตนะที่เป็นญานเป็นการ ไประลึกรู้ปัญญาไตรลักษณ์มานำหน้า
เพื่อการวิปัสสนา เรียกว่า สติปัฏฐาน
ในที่นี้ไตรลัษณ์เป็นสัญญา แต่ด้วยเหตุที่ว่า สภาวะไตรลักษณ์เป็นลักษณะแห่งความดับ มันจึงเป็นทั้งสัญญาและไม่ใช่สัญญา ตรงกับบัญญัติที่ว่า สัญญานาสัญญาตนะ

ส่วนสัญญานาสัญญาตนะที่เป็นฌาน เป็นการไปรู้สัญญาหรือการสืบต่อธรรม
และเนื่องด้วยสัญญาหรือธรรมที่สืบต่อ เป็นสภาวะของความว่าง สัญญาจึงเป็นเพียง
ความว่าง สภาวะนั้นจึงเป็นเหมือนสัญญาและไม่ใช่สัญญา


และตรงนี้ช่วยอธิบายอย่างละเอียดทีเถอะ
อ่านแล้ว...ไม่ได้ความ...เรย...

โดยเฉพาะตรงช่วง ไตรลัษณ์เป็นสัญญา แต่ด้วยเหตุที่ว่า สภาวะไตรลักษณ์เป็นลักษณะแห่งความดับ
มันจึงเป็นทั้งสัญญาและไม่ใช่สัญญา


:b10: :b10: :b32: :b32:

จริง ๆ ท่านอธิบายไป ก็หาพระสูตรที่สอดคล้องกับความเห็นท่านมาแสดงไว้ด้วยสิ่
เพราะ
เท่าที่อ่าน ๆ มา ท่านแสดงความเห็นได้ไม่น่าเชื่อถือเรยน่ะ ...
...
และสำนวนของท่านก็สับสนวกวน...
...
ซึ่งถ้าท่านเห็นว่าคนอื่นต้องเข้าใจพระธรรมด้วยคำอธิบายของท่าน...
ท่านก็อธิบายไปเถอะ...
...
ส่วนคนอ่าน เขาก็เลือกอ่านได้เองล่ะ...

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 17:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


คือ ความเห็นของท่านโฮที่ท่านโฮแสดงนะ

บางทีเอกอนเห็นแล้วยังอดที่จะนึกไม่ได้...

เหมือนท่านแสดงความเห็นอย่างไม่ได้คิดน่ะ

เหมือนไปเอาความเห็นที่ไม่ได้ความของคนโน้นนิดคนนี้หน่อยมาปะติดปะต่อกัน...

มันก็เรยเป็นความเห็นที่ไม่ได้ความแบบ ยกกำลัง สอง สาม สี่ ... :b32: :b32: :b32:

แทนที่จะทำให้ดูว่าผู้แสดงความเห็นเป็นผู้ทรงปัญญา
ก็กลายเป็น ผู้แสดงความเห็นแบบสติไม่สมประกอบไป...

....

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 20:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อโนทิสสูตรที่ ๓

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ
เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในธรรมทั้งปวง
แล้วยังอนัตตสัญญาให้ปรากฏ
อานิสงส์๖ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่าเราเป็นผู้ไม่มีตัณหาและทิฐิในโลกทั้งปวง๑

ทิฐิอันเป็นเหตุให้กระทำความถือตัวว่าเราของเราจักดับ๑

ตัณหาอันเป็นเหตุให้กระทำการยึดถือว่าของเราของเราจักดับ๑

เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ๑

เราจะเห็นเหตุด้วยดี ๑

และจักเห็นธรรมที่เกิดขึ้นแต่เหตุด้วยดี๑

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในธรรมทั้งปวงแล้วยังอนัตตสัญญาให้ปรากฏฯ


:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 05 ก.ค. 2013, 21:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 20:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อาพาธสูตร
(คิริมานนทสูตร )

ดูกรอานนท์ ก็อนัตตสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา,
หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา,
จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา,
ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา,
กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา,
ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา
ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้

ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา ฯ


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 20:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


สังเกต
อาพาธสูตร (คิริมานนทสูตร )
กับ
อโนทิสสูตรที่ ๓

...

ดี ๆ

พระพุทธองค์ใช้คำว่า "อนัตตสัญญา" เหมือนกัน
แต่องค์ประกอบทั้งสองพระสูตร แสดงนัยยะต่างสภาวะกันเรย
หนึ่ง เจริญอนัตตสัญญา
อีกหนึ่ง ยังอนัตตสัญญาให้ปรากฎ

ซึ่ง อโนทิสสูตรที่ ๓ เป็นพระสูตรที่แสดงนัยยะที่ลึกซึ้งมาก

:b1: :b1: :b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 05 ก.ค. 2013, 21:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 21:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


แฮ่ม....ผมนี้เป็นคนอาภัพ..จริง ๆ...พระสูตรอยู่ตรงหน้าแล้ว...แล้วก็ยังไม่เข้าใจ...อีก...เฮ่อ

:b7: :b7: :b7:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 22:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แฮ่ม....ผมนี้เป็นคนอาภัพ..จริง ๆ...พระสูตรอยู่ตรงหน้าแล้ว...แล้วก็ยังไม่เข้าใจ...อีก...เฮ่อ

:b7: :b7: :b7:


นึกว่าเอกอนเป็นคนเดียว...

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2013, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



:b12: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2013, 03:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
โฮฮับ เขียน:

เนวสัญญานาสัญญาตนะของพระพุทธองค์ เป็นเหตุปัจจัยแห่งความดับ(นิพพาน)


งั๊นท่านช่วยแจกแจงตรงนี้ให้กระจ่างหน่อยเถอะ ว่า ยังไง...
:b12: :b12: :b12:

หลักการทำงานของขันธ์ห้า.........
อายตนะภายนอก+อายตนะภายใน+วิญญาน>เวทนา>สัญญา>สังขาร

หลักการทำงานอันเกิดที่ใจ......
มนายตนะ+ธัมมายตนะ+วิญญาน>เวทนา>สัญญา>สังขาร

ปัญญา เป็น สังขาร(เจตสิก)

หลักในการทำวิปัสสนาท่านให้ใช้ปัญญานำหน้า นั้นก็คือ สัมมาทิฐิ (มหาจัตตารีสกสูตร)
หรือแม้แต่ธรรมแห่งการตรัสรู้ โพชฌงค์๗ ท่านให้ใช้สติระลึกรู้ปัญญานำหน้า


การเอาสติปัญญามาในหน้าในกระบวนการขันธ์ห้า ปัญญาหรือสัมมาทิฐินั้น
ก็จะเป็น.....ธัมมายตนะ(ธัมมารมณ์)

ลึกลงไปก็คือ การทำวิปัสสนา ก็คือการพิจารณาธรรมเพื่อดับกามคุณห้า
ที่มากระทบกับทวารทั้งห้า จนเกิดอกุศล
เมื่อเกิดอกุศล จิตจำได้หมายรู้ในตัวอกุศล(สัญญา) จิตจะทำวิปัสนาเพื่อละอกุศล
ด้วย..สติปัญญา ปัญญาก็เป็นสัญญาตัวหนึ่ง แต่ด้วยการเอาปัญญามาใช้ในกระบวนการขันธ์
มันเป็นลักษณะระลึกรู้ เป็นความคิดความจำ(ธัมมารมณ์)
ปัญญาสัมมาทิฐิจึงเป็นสัญญาที่จิตไปหมายรู้เอาไว้ แต่เมื่อเราเอามันมาใช้ในวิปัสสนา
มันเป็นการระลึกรู้สัญญา(สติ) เป็นธัมมารมณ์(ธัมมายตนะ )
ปัญญาในการทำวิปัสสนา จึงเป็นสัญญาหรือไม่ใช่สัญญา
และการเอาปัญญามาเป็น ธัมมายตนะ

สัญญาที่เป็นการจำได้หมายรู้ในอดีต เมื่อนำมาทำวิปัสสนาในปัจจุบันอารมณ์
มันจึงเป็นสัญญาที่ไม่ใช่สัญญา...สัญญานาสัญญายตนะ


กรุณาใช้ความเพียร อ่านให้หมดอย่าอ่านข้าม
มันอาจจะมีตกหล่นบ้าง เพราะมันเป็นเรื่องไตรสิกขา ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจตรงไหน
ก็ถามมาหรือไม่เห็นด้วยตรงไหนก็เชิญแย้งมาได้ครับ
ขอร้องอย่างเดียว อย่างอแงขาดเหตุผลล้มโต๊ะด้วยคำพูดว่า ผมมั่วหรือผมนั่งเทียนเขียน
อย่าลืมว่า ผมไม่ใช่พระพุทธเจ้า คำพูดผมเป็นเพียงความเห็นที่มีต่อพระธรรม
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2013, 03:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า เนวสัญญานาสัญญาตนะของท่านอุทกดาบส....เป็นฌานเป็นความว่างจากสัญญา

ตรงนี้ ว่างจากสัญญายังไง...

ตัวเองเป็นคนเอาเรื่องนี้มาพูด ดันเอามาถามคนอื่น แบบนี้เขาเรียกว่าหลอกถามนะครับ
นั้นก็คือ....พูดทั้งๆที่ไม่เข้าใจ ก็เหมือนกับไปเอาพระไตรปิฎก แต่ไม่รู้ว่าสิ่งที่อ้างหมายถึงอะไร :b32:

แต่ไม่เป็นไรครับจะบอกให้

คำว่าฌานหมายถึง การเพ่ง แล้วเพ่งอะไรนั้นก็คือเพ่งอารมณ์จนเกิดเป็นความว่าง
รู้จักรูปฌานสี่มั้ยครับ ก่อนจะถึงรูปฌานสี่ มันต้องผ่านปฐมฌานก่อน


รูปฌาน 4 ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นรูปาวจร ได้แก่
ปฐมฌาน ( ฌานที่ 1 ) ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
ทุติฌาน ( ฌานที่ 2 ) ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา
ตติฌาน ( ฌานที่ 3 ) ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
จตุตฌาน ( ฌานที่ 4) ประกอบด้วย เอกัคคตา

กรุณาดูที่จตุตฌานหรือฌานที่4 เอกัคคตา มันก็ก็คือความว่าง
ความปราศจากรูปเป็นอารมณ์ เขาใช้ความว่างนี้ไปทำฌานต่อ
ฌานที่ว่าก็คือ.....อรูปฌาน
การทำฌานหรือเพ่ง เอกัคคตาต่อไปเรื่อยๆ จะได้ อากาสานัญจายตนะ


อรูปฌาน 4 ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ฌานที่เป็นอรูปาวจร ได้แก่

อากาสานัญจายตนะ

วิญญาณัญจายตนะ

อากิญจัญญายตนะ

เนวสัญญานาสัญญายตนะ

กรุณาดูที่อรูปฌานตัวสุดท้าย นั้นก็คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
เหตุปัจจัยไล่มาแต่ อากาสาจายตนะ ก็คือความว่างจากรูป ไล่มาเรี่อยๆ
จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ได้สมาบัติ๘ นั้นก็คือการว่างจากสัญญา
สัญญาที่ว่าก็คือ ความจำได้หมายรู้ใน รูปและอรูปทั้งหมด


อย่าลืมว่า สมาบัติ๘ ไม่ใช่ปัญญาไม่ใช่นิพพาน
และผู้มีสมาบัติ๘ก็ไม่ใช่อริยะชน แต่ผู้มีสมาบัติ๘ สามารถบรรลุนิพานได้เร็วกว่า
อริยะบุคคลอื่นๆ
เป็นเพราะว่า......
.
ท่านใช้เนวสัญญานาสัญญายตนะที่เป็นอรูปฌานของท่าน
ไปเจริญวิปัสสนา
นี้คือเหตุผลหนึ่งที่ผมบอกว่า สัญญานาสัญญายตนะเอา
ไปเจริญวิปัสสนาได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2013, 04:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
เมื่อ
โฮฮับ เขียน:
ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า เนวสัญญานาสัญญาตนะของท่านอุทกดาบส....เป็นฌานเป็นความว่างจากสัญญา

แล้ว
โฮฮับ เขียน:
ซึ่งสภาวะธรรมที่แท้ของบัญญัติทั้งสามนี้ก็คือ....เนวสัญญานาสัญญายตนะ

ยังไง...

เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นฌานที่๘ เป็นความว่างจากสัญญา นั้นก็คือว่างจากรูปฌานและอรูปฌาน

ส่วนข้ออ้างอิงต่อมาหมายถึง ท่านอุทกดาบสแม้จะมีฌาน๘แล้วแต่ยังเป็นผู้ไม่มีปัญญา
แต่ถ้าท่านจะเจริญวิปัสสนาต่อเพื่อนิพพาน
ท่านก็สามารถใช้เนวสัญญานาสัญญายตนะหรือฌานแปดของท่าน เอาไปเจริญวิปัสสนาได้เลย
เพราะว่า สภาวะธรรมของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา(ไตรลักษณ์) *ที่ผมเรียกว่าบัญญัติทั้งสาม*
ไตรลักษณ์เป็นเหตุมาจาก การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป นี้ก็คือเกิดความว่างหลังดับไป

ส่วนสมาบัติ๘ ก็มีเหตุมาจาก เนวสัญญานาสัญญายตนะ ซึ่งมันก็เป็นความว่างเหมือนกัน

ไตรลักษณ์เกิดจากการเกิดขึ้นและดับไปของขันธ์ห้า สัญญาก็เป็นหนึ่งในขันธ์ห้านั้น
นี้ก็คือว่างจากสัญญา
ส่วนเนวสัญญานาสัญญายตนะของอุทกดาบส ก็เป็นความว่างจากสัญญาตามที่กล่าวมาแล้ว


ดังนั้นสภาวะธรรมของไตรลักษณ์และสภาวะธรรมที่เป็น เนวสัญญานาสัญญายตนะ
จึงเหมือนกัน เพียงแต่มีเหตุปัจจัยที่ต่างกัน

eragon_joe เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เนวสัญญานาสัญญาตนะของพระพุทธองค์ เป็นเหตุปัจจัยแห่งความดับ(นิพพาน)

ยังไง


พระพุทธองค์ทรงสอนพวกที่พราหมณ์โยคีที่มีฌาน๘ สอนให้เอาสัญญานาสัญญายตนะ
มาเจริญวิปัสสนาต่อ เพื่อนิพพาน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 176 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร