วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 05:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 131 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หยุดระดับไหนหละ

ระดับหยุดความคิด

ระดับหยุด สัญญา เวทนา เจตนา ผัสสะ มนสิการ

หรือ ระดับหยุด ความต้องการชนิดที่ไม่กลับกำเริบ

s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การกระทำจิตให้stopนั้น เราสามารถฝึกได้กระทำได้ก่อนเข้าสู่สภาวะขั้นปฐมฌานได้ไหม?(


ขอบคุณและสวัสดีคุณจางบาง ผมถามไว้ชัดเจนแล้วครับ แล้วหยุด มีแน่นอนจนปฐมฌานถึงอรหัตตมรรครับ


ใบ้อีกหน่อยเป็นอดีตชาติของพระพุทธองค์เองเลยทีเดียวสมัยเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ แล้วยังเตือนพระมเหสีให้คอยเตือนตนเองอีกด้วยว่า ไม่ให้ไปอาลัยข้างของสมบัติๆลๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 20:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b6: :b6: :b6:

:b6: :b6: :b6:

ได้ป๊ะตัวววว....

เห็นอ๊บซ์ อ๊บซ์ มีได้ไปแล้ว แบบว่ามีแอบอิจฉาน่ะ ... :b9:

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 20:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
ผมถามหน่อย การกระทำจิตให้stopนั้น เราสามารถฝึกได้กระทำได้ก่อนเข้าสู่สภาวะขั้นปฐมฌานได้ไหม?(ต้องเอาพระไตรปิฏกมาอ้างด้วยนะ)

:b4:


มันยากก็ตรง..ต้องยกตำรามาด้วยนี้แหละ.. :b6: :b6:

มวยวัดนั่งรอดูดีกว่า... :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
หลับอยุ่ เขียน:
ผมถามหน่อย การกระทำจิตให้stopนั้น เราสามารถฝึกได้กระทำได้ก่อนเข้าสู่สภาวะขั้นปฐมฌานได้ไหม?(ต้องเอาพระไตรปิฏกมาอ้างด้วยนะ)

:b4:


มันยากก็ตรง..ต้องยกตำรามาด้วยนี้แหละ.. :b6: :b6:

มวยวัดนั่งรอดูดีกว่า... :b13: :b13:


นั่งด้วยคน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
mes เขียน:
โอภาสหรือปฏิภาคนิมิตไม่ใช่จะเกิดกับใครได้ง่ายๆ

น้อยคนที่จะได้ เมื่อได้แล้วต้องรู้จักรักษาอย่าปล่อยหลุดลอยไป

นี่แหละคือจุดประกายสู่วิมุติธรรม ใครแม้แต่ได้ประสพครั้งเดียวก็ยังนับว่าโชคดีที่สุดในชีวิต




โอภาส มีทั้งโอภาสที่เป็นนิมิตแสง, สี กับโอภาสที่เกิดจากกำลังของสมาธิ

โอภาสที่คุณmes นำมากล่าวถึง เป็นโอภาสแบบไหนหรือคะ?

แล้วโอภาสที่คุณmes เคยพบเจอ เกิดขึ้นแบบไหนคะ ขณะจิตเป็นสมาธิ มีความรู้สึกตัว กับไม่มีความรู้สึกตัวคะ หรือขณะที่กำลังแผ่เมตตา, กรวดน้ำ?


เป็นโอภาสแสงครับ

เกิดในขณะมีสมาธิ รู้ลึกตัวครับ

แต่ประสพการณ์เรื่องโอภาสผมมีน้อยมากครับ

ท่านหลับอยู่น่าจะมีประสพการณ์ด้านนี้มากกว่าผมมากครับ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 09:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมมีในด้าน อานาปาน เตโช(กำหนดจากแสงเทียนที่บูชาพระ) พุทธานุสติ ธัมมนุสติ สังฆานุสติ เมตตาเจโต มากกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 10:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เรื่อง พระเจ้าจักรพรรดิมหาสุทัสสนะ เมืองกุสาวดี
หน้าต่างที่ ๒ / ๒.

เจริญฌาน
[๑๗๙] ดูกรอานนท์ ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงพระดำริว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไรของเราหนอ เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร ที่เป็นเหตุให้เรามีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ในบัดนี้. ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงพระดำริว่า นี้เป็นผลแห่งกรรม ๓ ประการของเรา เป็นวิบากแห่งกรรม ๓ ประการ ที่เป็นเหตุให้เรามีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ในบัดนี้. กรรม ๓ ประการ คือ ทาน ทมะ สัญญมะ. ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะเสด็จเข้าไปยังกุฏาคารหลังใหญ่ ครั้นเสด็จเข้าไปแล้วประทับยืนที่ประตูกุฏาคารหลังใหญ่ทรงเปล่งพระอุทานว่า “ กามวิตกจงหยุด พยาบาทวิตกจงหยุด วิหิงสาวิตกจงหยุด กามวิตกจงกลับเพียงแค่นี้เถิด พยาบาทวิตกจงกลับเพียงแค่นี้เถิด วิหิงสาวิตกจงกลับเพียงแค่นี้เถิด. ”
ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะเสด็จเข้าไปยังกุฏาคารหลังใหญ่ ประทับนั่งบนบัลลังก์แล้วด้วยทอง ทรงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทรงบรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. ทรงบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป ทรงบรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข. ทรงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละทุกข์ละสุข และดับโทมนัส โสมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.


(ขอตัดกลับไปท้ายเรื่อง)
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า
[๑๘๖] สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา. บังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป. การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้ เป็นความสุข ดังนี้.
จบ มหาสุทัสสนสูตร ที่ ๔

(อ่านต่อเอาเองทั้งหมดได้ที่)
http://84000.org/tipitaka/read100/read100163_02.php


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
Quote Tipitaka:
เรื่อง พระเจ้าจักรพรรดิมหาสุทัสสนะ เมืองกุสาวดี
หน้าต่างที่ ๒ / ๒.

เจริญฌาน
[๑๗๙] ดูกรอานนท์ ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงพระดำริว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไรของเราหนอ เป็นวิบากแห่งกรรมอะไร ที่เป็นเหตุให้เรามีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ในบัดนี้. ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะได้ทรงพระดำริว่า นี้เป็นผลแห่งกรรม ๓ ประการของเรา เป็นวิบากแห่งกรรม ๓ ประการ ที่เป็นเหตุให้เรามีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ในบัดนี้. กรรม ๓ ประการ คือ ทาน ทมะ สัญญมะ. ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะเสด็จเข้าไปยังกุฏาคารหลังใหญ่ ครั้นเสด็จเข้าไปแล้วประทับยืนที่ประตูกุฏาคารหลังใหญ่ทรงเปล่งพระอุทานว่า “ กามวิตกจงหยุด พยาบาทวิตกจงหยุด วิหิงสาวิตกจงหยุด กามวิตกจงกลับเพียงแค่นี้เถิด พยาบาทวิตกจงกลับเพียงแค่นี้เถิด วิหิงสาวิตกจงกลับเพียงแค่นี้เถิด. ”
ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น พระเจ้ามหาสุทัสสนะเสด็จเข้าไปยังกุฏาคารหลังใหญ่ ประทับนั่งบนบัลลังก์แล้วด้วยทอง ทรงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ทรงบรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. ทรงบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่. เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป ทรงบรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข. ทรงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละทุกข์ละสุข และดับโทมนัส โสมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.


(ขอตัดกลับไปท้ายเรื่อง)
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า
[๑๘๖] สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา. บังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป. การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้นเสียได้ เป็นความสุข ดังนี้.
จบ มหาสุทัสสนสูตร ที่ ๔

(อ่านต่อเอาเองทั้งหมดได้ที่)
http://84000.org/tipitaka/read100/read100163_02.php
smiley smiley smiley

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอความเจริญธรรมที่เป็นกุศลแต่โดยส่วนเดียว :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ
ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
ยโต ขยํ ปจฺจายานํ อเวทิ
ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ
สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขนฺติฯ



คำอุทานสำคัญของพระพุทธองค์ โดนทำให้หายไป คือคำนี้ครับสำคัญมากติฏฺฐติ
ถ้าไม่มีหลวงพ่อวัดปากน้ำเราไม่รู้เลย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=29288&view=print


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 16:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
คำอุทานสำคัญของพระพุทธองค์ โดนทำให้หายไป คือคำนี้ครับสำคัญมากติฏฺฐติ
ถ้าไม่มีหลวงพ่อวัดปากน้ำเราไม่รู้เลย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=29288&view=print


ก็มีปรากฎในพระไตรปิฎกนี่ครับ ไม่หายไปไหนเลย

คำนี้น่าจะแปลว่า ตั้งอยู่ ดำรงอยู่ มากกว่าคำว่าหยุดอยู่

( ฐา ธาตุ ในความ ตั้ง , ดำรง , ยืน )

ในบาลีมีปรากฎแน่นอน คำแปลที่หายไปในภาษาไทยนั้น ท่านแปลแบบเอาความ และละคำนั้นเสีย
ซึ่งความหมายก็จะไม่ไกลกันมากนัก


ประโยคนี้ วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ

น่าจะแปลว่า ย่อมกำจัดมารและเสนา(แห่งมาร)แล้วดำรงอยู่

หมายถึงบรรลุธรรมแล้ว มีชีวิตอยู่แบบกำจัดมารและเสนาได้ (กำจัดกิเลสได้)

ไม่ได้หมายความว่าให้หยุดสภาวะธรรมในขณะปฏิบัติเลย เพราะ

๑.ทรงบรรลุแล้ว ไม่ได้ปรินิพพานเลย ยังทรงพระชนม์อยู่ (สอดคล้องกับ ฐา ธาตุ ดำรง = มีชีวิต)

๒.ทรงอุทานหลังจากทรงบรรลุแล้ว ไม่ใช่ทรงอุทานในขณะที่พบกับสภาวะธรรมที่กำลังปฏิบัติอยู่

๓.ทรงอุทานหลังจากทรงไตร่ตรองถึงต้นสายปลายเหตุแห่งปฏิจจสมุปปบาท ซึ่งถ้าพิจารณาจากเรื่อง
และเนื้อหาสาระ ไม่ได้ทรงไตร่ตรองถึงวิธีการปฏิบัติซักนิดเลย

๔.ในพระอุทานนั้น แปลไทยดังนี้

เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฎ แก่พรามณ์ ผู้มีความเพียร
เพ่งอยู่ เมื่อนั้น พรามณ์นั้น ย่อมกำจัดมารและเสนาแล้วดำรงอยู่
ดุจอาทิตย์ทำแสงสว่างในอากาศ ฉะนั้น ฯ.

แรกก่อนจะทรงเปล่งพระอุทานนี้ ทรงไตร่ตรองถึงสายของปฏิจจสมุปปบาท ฉะนั้น คำว่าธรรมทั้งหลาย
ในพระคาถานี้ น่าจะหมายถึงสายของปฏิจจสมุปปบาท ไม่ได้หมายถึง นิมิต หรือโอภาส หรือสภาวะ
ที่เกิดในระหว่างปฏิบัติเลย


คำว่า ดุจอาทิตย์ทำแสงสว่างในอากาศ เป็นอุปมาเท่านั้น หาใช่เป็นเหตุการณ์จริงๆของเป้าหมายสูงสุด
ของการปฏิบัติ ฉะนั้น จะลำเอาคำนี้มาเป็นธงของปารปฏิบัติไม่ได้


ด้วยความเคารพในหลวงพ่อสดอย่างสูง

ปล.การแปลบาลีของผมในโพสนี้ สามารถนำไปตรวจสอบตามสำนักบาลีต่างๆได้

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงว่าพระองค์ไม่เจริญฌานใช่ไหมครับเพราะคุณกาม
บอกว่าไม่ใช่การหยุด

บาลีใหญ่กับบาลีเล็ก(สมัยนี้คนละความละเอียดกันครับ)มักง่ายครับไปตัดออกละออกไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


และนั้นเป็นความคิดผิดของคุณกามนะครับ ที่กล่าวตู่พระองค์ว่าไม่ได้ไตรตรองในการปฏิบัติ

ปฏิจสมุทบาปาทธรรมไงครับที่พระองค์ อนุโลมปฏิโลม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 16:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส

โทษทีแต่นี่พรามหณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ครับ
ทรงอุทานมียืนยันทั้ง3คาถา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 131 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร