วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 17:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 207 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 03:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เพราะ เอกอนเห็นเอกอนท่องไป....พบปะกับธรรมต่าง ๆ มากมาย
เพราะ เอกอนมี... จึงปรากฎเอกอนท่องไป
และถ้า เอกอนไม่มี... จะปรากฎ...อะไร
และ ปัจจัยใด... ทำให้เอกอน ไม่ปรากฎ


สวัสดีมังกรน้อย

มังกรน้อยท่องไป ในกาลอันยาวนานอันเบื้องต้นสุดไม่อาจกำหนดได้
"จิตนั้นปภัสสร แต่เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา"
จิตที่ว่านี้ คือธาตุรู้ แต่เป็นธาตุรู้ที่รู้ โดยยังเป็นรู้หลง จึงท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏฏ์
ธาตุรู้ที่ประกอบกับอวิชชาธาตุ(ธาตุแห่งความหลง) การประกอบกันแบบนี้จึงเป็นสิ่งผสมปรุงแต่ง

สิ่งผสมปรุงแต่ง ที่เป็นได้ทั้ง กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ซึ่งแล้วแต่ความ"รู้"นั้นจะถูกอวิชชาธาตุ
ประกอบกันในลักษณะใด

เพราะอาสวะเป็นปัจจัยแก่อวิชชา และอวิชชาก็เป็นปัจจัยแก่อาสวะ
จิตของเอกอนจึง ถึงความปรากฏ

เอกอนไม่ถึงความปรากฏ คืออุบัติขึ้น คือความเข้าถึงชาติ
เพราะจิตเอกอนไม่ปรุงแต่ง ภพ ความมีความเป็นเอกอนน่ะสิ

มังกรน้อย ...รู้ ให้ใช้ได้ นะ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 11:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อ้างคำพูด:
เพราะ เอกอนเห็นเอกอนท่องไป....พบปะกับธรรมต่าง ๆ มากมาย
เพราะ เอกอนมี... จึงปรากฎเอกอนท่องไป
และถ้า เอกอนไม่มี... จะปรากฎ...อะไร
และ ปัจจัยใด... ทำให้เอกอน ไม่ปรากฎ


สวัสดีมังกรน้อย

มังกรน้อยท่องไป ในกาลอันยาวนานอันเบื้องต้นสุดไม่อาจกำหนดได้
"จิตนั้นปภัสสร แต่เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา"
จิตที่ว่านี้ คือธาตุรู้ แต่เป็นธาตุรู้ที่รู้ โดยยังเป็นรู้หลง จึงท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏฏ์
ธาตุรู้ที่ประกอบกับอวิชชาธาตุ(ธาตุแห่งความหลง) การประกอบกันแบบนี้จึงเป็นสิ่งผสมปรุงแต่ง

สิ่งผสมปรุงแต่ง ที่เป็นได้ทั้ง กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ซึ่งแล้วแต่ความ"รู้"นั้นจะถูกอวิชชาธาตุ
ประกอบกันในลักษณะใด

เพราะอาสวะเป็นปัจจัยแก่อวิชชา และอวิชชาก็เป็นปัจจัยแก่อาสวะ
จิตของเอกอนจึง ถึงความปรากฏ

เอกอนไม่ถึงความปรากฏ คืออุบัติขึ้น คือความเข้าถึงชาติ
เพราะจิตเอกอนไม่ปรุงแต่ง ภพ ความมีความเป็นเอกอนน่ะสิ

มังกรน้อย ...รู้ ให้ใช้ได้ นะ


:b1: :b1: :b1:

:b8: :b8: :b8:

ค่ะ หลาย ๆ ท่านต่างก็เหน็ดเหนือยกับเอกอนมามากแล้ว
เอกอนขอกราบขอบพระคุณทุก ๆ ท่านอีกครั้ง

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 11:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ด้วยเหนื่อยนัก พักลงบ้าง วางลงก่อน
ค่อยคลายถอน ผ่อนเมื่อยล้า พาสุขี
เรื่องยุ่งยาก เว้นวรรคบ้าง ห่างสักที
หาสิ่งดี ที่เสริมสร้าง สิ่งสร้างสรร

ความสุขนั้น อันมีค่า พาสดชื่น
เหมือนคนตื่น จากหลับไหล ใช่เสกสรรค์
คือสรรสร้าง ทางสดสวย ช่วยโลกกัน
คือสร้างสรรค์ อันคุณค่า น่าภูมิใจ

ถึงเหนื่อยนัก ก็จักวาง ว่างสักนิด
ค่อยครุ่นคิด พินิจดู จึงรู้ได้
แม้ลำบาก ตรากตรำ นำสู้ไป
ด้วยเข้าใจ และเข้าถึง จึงรู้คุณ

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FANTASIA เขียน:
โฮฮับ เขียน:
จะอธิบายในประเด็นนี้ให้ฟังครับ ในวงปฏิจสมุบาททั้งวง
มันอยู่ภายใต้การบังคับของ "ความยึดมั่นถือมั่น"

และไอ้อุปทานที่คุณบอกว่าเป็น ความยึดมั่นถือมั่น แท้แล้วไม่ใช่ครับ
เพียงแต่ว่า มันถูกควบคุมด้วยความยึดมั่นถือมั่นต่างหากครับ

จริงๆแล้วอุปาทานที่คุณว่ามันเป็น "ความหลงหรือโมหะครับ"


:b1: คุณเข้าใจผิดแล้ว............อวิชชาไม่ใช่ความยึดมั่นถือมันนะคะ
แต่................อวิชชาคือความหลงค่ะ ^^

ในวงจรปฏิจสมุปบาทตลอดทั้งสายอยู่ภายใต้การบงการของความหลง
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีการปรุงแต่ง
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีการรับรู้
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีกายกับจิต
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงอวัยวะรับความรู้สึก
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีการกระทบ
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีความรู้สึก
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีความอยาก
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีความยึดมั่นถือมั่น
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีการเกิด
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีการดำรงอยู่
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีการเสื่อมสลายดับไป

อวิชชาคือความหลงไม่ใช่ความยึดมั่นถือมั่น อย่างที่คุณถูกสังขารจิตหลอกให้เชื่ออยู่นะคะ
ความหลงนั่นเองเป็นรากเหง้าแห่งวงจรปฏิจสมุปบาทและเป็นปัจจัยในปฏิจสมุปบาทตลอดสาย

:b1: สรุปว่า ความยึดมั่นถือมั่นนั้นก็คืออุปาทานซึ่งมีรากเหง้ามาจากความหลงนั่นเองนะคะ

ผมบอกอย่างที่คุณอ้างหรือครับ ผมบอกว่าวงปฏิจฯมีความยึดมั่นถือมั่นควบคุมอยู่
แล้วที่คุณโพสว่า ความหลงเป็นรากเหง้า มันไม่ใช่
มันต้องเปลี่ยนความหลงทั้งหมดของคุณ ให้เป็นความยึดมั่นถือทั้งหมด
และที่โพสไว้ว่า ความหลงเป็นรากเหง้าแห่งความยึดมั่นถือมั่น ต้องแก้เป็น
ความยึดมั่นถือมั่นเป็นรากเหง้าแห่งความหลงครับ


ผมยกพระธรรมมาสนับสนุนความเห็นผม ในคำกล่าวที่ว่า
ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น คุณลองไปพิจารณาดูว่า ธรรมทั้งปวงคืออะไร
ที่คุณว่าอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นคุณว่ามันไม่ขัดกันหรือ

มันเป็นเพราะธรรมทั้งปวงมีรากเหง้ามาจากความยึดมั่นถือมั่น
ดังนั้นพระพุทธจึงสดับว่า ...ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น

ที่มาhttp://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=7915&Z=8040
หัวข้อที่ 434 ไปอ่านเอาเอง

แล้วพรุ่งนี้จะมาพูดเรื่องธรรมฐิติญาณให้ฟังครับ
ผมเห็นคุณโม้ให้คุณจางบางฟังแล้วขำอย่างแรงครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 22:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว



บังเอิญวันนี้ ได้เจอบทความธรรมนี้

:b1: :b1: :b1:

ซึ่งตอนแรกจะเอาไปไว้ที่ "บทความธรรมะ" แต่.... :b1:

อยู่ตรงนี้ก็ดูจะเข้ากับบรรยากาศ :b12: :b12: :b12:

:b5: :b5: :b6: :b6:

:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 18 ก.ย. 2011, 23:06, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 22:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


รู้ใจคนอื่น

วันหนึ่ง ท่านได้ระลึกถึงท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูหมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ซึ่งอยู่ที่วัดบรมนิวาส
กรุงเทพมหานคร ท่านได้นั่งสมาธิมองเห็นท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์กำลังนั่งสมาธิอยู่
วันนั้นเป็นวันขึ้น 10 ค่ำเดือน 8 ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์นั่งสมาธิอยู่บนธรรมาสน์ ศาลาเหลือง
ในเวลานั้นเป็นเวลาราว 23.00 น.เศษ นั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และกำลังพิจารณาถึง
ปฏิจจสมุปบาทว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ
ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ เมื่อเป็นชาติก็ต้องมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ
อุปายาสะ และการพลัดพรากและจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้
สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ นี้เหตุมาจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย และเมื่อยังมีอวิชชาอยู่ตราบใด
ก็จะต้องมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ตราบนั้น
ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ท่านก็ได้คำนึงถึงพระพุทธเจ้าที่ทรงพิจารณาถึง
ปฏิจจสมุปบาทว่า พระองค์ท่านได้ทวนกระแสกลับดูตัวอวิชชาท่านจึงได้เริ่มทวนกระแสว่า
เพราะเหตุใดท่านจึงต้องแก่ ตาย โศกเศร้า เสียใจร้องให้รำพัน คับแค้นแน่นใจ เพราะความ
พลัดพรากจากของชอบใจพลาดหวัง ท่านได้พิจารณาถึงสิ่งเหล่านี้ เพราะได้เกิดมาเป็นอัตภาพ
แห่งมนุษย์ จะต้องประสบความเป็นเช่นนี้ทุกคน อัตภาพคือความเกิดขึ้นมาจากอะไร
ก็มาจากภพ คำว่าภพก็คือสัตว์ทั้งหลายที่พึงอาศัยอยู่ ขณะนี้เรากำลังอาศัยอยู่ในภพ ซึ่งมันเป็นผล
มาจากอะไร ก็เป็นผลมาจากอุปาทานคือความเข้าไปยึดมั่นถือมั่น เพราะจิตเศร้าหมองติดพันอยู่
กับสิ่งใด ด้วยเหตุแห่งการยึดมั่น จิตก็จะไปก่อกำเนิด ณ ที่นั้น เช่นบุคคลที่ทำใจไปในทางฌาน
เพ่งอยู่ในความละเอียดในรูป ก็จะไปเกิดภพคือรูปภพ และถ้าได้ฝึกจิตเป็นธรรมดา ก็จะ
ไปเกิดในกามภพ เช่น มนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน เปรต นรก เป็นต้น สุดแล้วแต่จิตจะไปประวัติ
กับอะไร ก็จะไปถือกำเนิดในสิ่งนั้น สุดแล้วแต่กรรมของตนที่จะประวัติเห็นดีไป


:b54: :b54: :b54:

(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 18 ก.ย. 2011, 22:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 22:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)
:b54: :b54: :b54:


ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ท่านก็พิจารณาไปก็ได้ถอยกลับมาจากที่ว่า
ก่อนอุปาทานนี้มาจากอะไร คือมาจากตัณหา คือความทะเยอทะยาน อันความทะเยอทะยาน
นี้คืกามตัณหา ความทะเยอทะยานในกามคุณคือความใคร่ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นต้น
ความทะเยอทะยานในภวะ คือความมี ความเป็น ต้องการอยากรูปสวยรวยทรัยพ์
ต้องการอยากเป็นคุณหญิงคุณนาย ต้องการอยากมียศถาบรรดาศักดิ์ที่ตนกำลังเฟื่องฟูอยู่
ความทะเยอทะยานเหล่านี้ก็มาจากเวทนา คือความเสวยทุกข์ เสวยสุข ทุกข์ที่เกิดเป็นมีขึ้นมาแล้ว
และได้รับผลอยู่ทุกกาลเวลาแห่งความเกิดนั้น ได้รับอันเนื่องจากความได้ลาภ เสื่อมลาภ
ได้ยศ เสื่อมยศ ขณะที่เสวยทุกข์นั้นก็ต้องการแต่ความสุขเป็นต้น แต่ผลหาได้แต่ความสุขไม่
ต้องมีทุกข์ ด้วยความเสวยสุขเสวยทุกข์นี้เนื่องมาจากอายตนะ คือมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
รูป เสียง กลิ่น โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ เช่นมีตามไปเห็นรูป ก็เกิดความสุข ทุกข์ หูได้ยินเสียง
จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส ใจกระทบอารมณ์เกิดความสุข ทุกข์ ก็นับเนื่องมาจาก
นามรูป เพราะนามกับรูปที่ก่อกำเนิดเกิดขึ้นมาเป็นคน คนเรานี้มีนามกับรูปจึงจะเป็นตัวขึ้นมาได้
ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ท่านได้พิจารณาถอยร่นปฏิจจสมุปบาทมาจนถึงรูปนามนี้แล้ว
ท่านเกิดความสงสัยว่าถอยจากรูปนามยังมีวิญญาณและสังขาร แล้วจึงขึ้นด้วยอวิชชาและวิญญาณ
สังขารนี้ก็มีแล้วในนามรูป เหตุไฉนจึงมามีสังขารและวิญญาณโดยเฉพาะของตัวมันอีก
เมื่อท่านสงสัยแล้วก็ได้เลิกพิจารณาในวันนั้น



:b53: :b53: :b53:
(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 18 ก.ย. 2011, 22:47, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 22:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)
:b40: :b40: :b40:



อยู่มาวันหนึ่ง ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ก็ได้มาเที่ยวที่เขาพระงาม ลพบุรี
เพราะโดยปกติแล้วท่านจะไปที่นี่บ่อย ๆ ซึ่งท่านชอบสถานที่นี้มาก จนภายหลังท่านได้สร้าง
พระใหญ่ หน้าตักกว้างถึง 12 วากว่า และในวันนั้นเป็ฯวันที่ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์
ได้เข้ามาที่เขาพระงามตามปกติ ซึ่งขณะนั้นท่านอาจารย์มั่นก็ได้พักบำเพ็ญสมณธรรมอยู่
ณ ที่นั่นเหมือนกัน เมื่อได้ทราบว่าท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์มา ท่านก็ไปนมัสการ
และได้สนทนาปราศรัยตามปกติ เมื่อสนทนาเรื่องอื่นไปพอสมควรแล้ว ท่านอาจารย์มั่นก็ได้
ถามขึ้นว่า เมื่อคืนวัน สิบค่ำที่แล้ว (คือเดือนแปด) นั้น ท่านเจ้าคุณนั่งสมาธิอยู่ที่ศาลาเหลือง
หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เวลาประมาณยี่สิบสามนาฬิกาเศษ ได้พิจารณาถึงปฏิจจสมุปบาท
หวนกลับไปกลับมา แล้วเกิดความสงสัยขึ้นมาตอนหนึ่งใช่ไหมครับ ?
ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณุปมาจารย์ เมื่อได้ฟังคำถามเช่นนั้นถึงกับตกตะลึง ไม่นึกเลยว่า
ท่านอาจารย์มั่นท่านจะมาล่วงรู้ถึงการพิจารณาของเรา ที่ได้พิจารณาด้วยตัวเองโดยมิได้บอกให้ใครรู้เลย
ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณุปมาจารย์จึงพูดถามอาจารย์มั่นว่า ก็ท่านอาจารย์ว่าอย่างไรเล่าที่ผมสงสัย
อธิบายให้ผมฟังบ้างได้ไหม ท่านอาจารย์มั่นจึงตอบว่า “ได้” แล้วท่านก็ได้อธิบายถวาย
ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณุปมาจารย์ ว่า


:b53: :b53: :b53:
(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 22:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)
:b38: :b38: :b38:


“ปฏิจจสมุปบาทข้อที่ว่า วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้
เกิดนามรูปนั้นแล ในนามรูปก็มีทั้งวิญญาณและสังขาร ซึ่งมันจะมีการแตกต่างกันดังนี้คือ
สังขาร วิญญาณ ที่ต่อจากอวิชชานั้น เรียกว่า สังขารกรรม วิญญาณกรรม แตกต่างกับสังขาร
วิญญาณของนามรูป สังขารวิญญาณของนามรูปนั้นเป็นสังขารวิญญาณวิบาก เนื่องจากเป็น
การปรุงแต่งที่สำเร็จรูปแล้ว สังขารกรรม วิญญาณกรรม เป็นวาวะที่ไม่เป็นอิสระ
อยู่ภายใต้อำนาจของกรรม มีอวิชชาเป็นหางเรือใหญ่ อาศัยสังขารการปรุงแต่ง
อาศัยวิญญาณความรู้สึกในขณะที่กำลังปรับปรุงภพ อันจะเป็นแนวทางแห่งการก่อให้เกิด
ซึ่งในขณะนั้นจิตเป็นประธานอาศัยสังขารปรุงแต่ง อาศัยวิญญาณความรู้สึกในขณะที่กำลังปรุงภพ
อันจะต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของสังขารกรรม วิญญาณกรรม ทั้งสองนั้น สืบเนื่องมาจากจิต ณ ที่นี้
จึงแล้วแต่กรรมจะจำแนกไป คือให้สังขารและวิญญาณนี้เห็นดีไป เมื่อเห็นดีไปอย่างไร
จิตก็จะไปตั้งก่อให้เกิดไปตามนั้น เพราะที่นี้จึงเป็นสถานที่กำลังปรุงแต่งภพ
ถ้าพิจารณาแล้วจะรู้สึกมันละเอียด และพึงจะรู้จริงได้ คือเมื่อจิตได้ดำเนินตามอริยสัจ
และเป็นวิปัสสนาอันแก่กล้าแล้วนั้นทีเดียว ที่กระผมได้อธิบายมานี้เป็นสักแต่ว่าแนวทางเท่านั้น
ตามความเป็นจริงต้องมีตาภายใน คือ กระแสจิต กระแสธรรมเท่านั้น ที่จะเข้าไปรู้จริงได้”


เมื่อท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณุปมาจารย์ได้ฟังดังนั้น ก็ถึงกับอุทานขึ้นว่า “อ้อ เราเข้าใจแล้ว
ท่านอาจารย์รู้ใจผมได้ดีมาก และถูกต้องทุกประการ และแก้สงสัยให้ผมได้ราวกับปลิดทิ้ง
ผมพยายามพิจารณาเรื่องนี้มานาน แต่ยังไม่แจ่มแจ้ง พึงจะแจ่มแจ้งในเวลานี้เอง”
หลังจากนั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณุปมาจารย์ ก็ได้เดินทางกลับไปกรุงเทพฯ อยู่ที่
วัดบรมนิวาสนั้น ท่านเจ้าคุณก็ได้ประกาศความดีของท่าน อาจารย์มั่นให้แก่พระภิกษุสามเณร
ทั้งหลายฟังว่า “ท่านอาจารย์มั่นเป็นอาจารย์กรรมฐานที่มีความสามารถที่สุดในยุคนี้
ถ้าใครต้องการจะศึกษาธรรมปฏิบัติแล้ว จงไปศึกษากับอาจารย์มั่นเถิด เธอทั้งหลายจะได้
ความรู้จากธรรมปฏิบัติอันลึกซึ้งจากท่านอาจารย์มั่น”
..................................


:b55: :b54: :b55: :b54: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 05:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FANTASIA เขียน:
:b1: กรณีที่คุณจางบางคิดว่า อวิชชา ไม่ใช่ความหลง
แต่หมายถึง การยังไม่มีวิชชา เรื่องอริยสัจจ์ครบสมบูรณ์
ดิฉันขอชี้แนะดังนี้ค่ะ
การจะรู้ได้ว่าอวิชชาคือความหลงนั้นแม้แต่พระพุทธเจ้าก็ต้องมีธรรมฐิติญาณอันเป็นญาณรู้ชัดรู้แจ้งแทงตลอดในปฏิจสมุปบาทเกิดขึ้นเสียก่อน
ส่วนคำว่า "อวิชชา" ที่กล่าวถึงในความหมายว่าไม่มีวิชาหรือความไม่รู้นั้นท่านใช้กับเรื่องอริยสัจจ์ไม่ได้หมายถึงอวิชชาในปฏิจสมุปบาทนะคะ
คุณจางบางฯ คงต้องพิจารณาให้ดีในข้อนี้ว่าพระพุทธองค์เริ่มเห็นอริยสัจจ์ตั้งแต่พระราหุลเกิดจึงทรงตัดสินพระทัยออกผนวชเพื่อค้นหาวิชชาความรู้มาดับทุกข์ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพระองค์ก็เรียกความไม่รู้ในอริยสัจจ์ว่าอวิชชา
จนกระทั่งถึงวันที่พระองค์ทรงตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์เพิ่งได้ธรรมฐิติญาณในวันนั้นเอง เพราะได้รู้ชัด รู้แจ้งแทงตลอดในปฏิจสมุปบาทว่าแท้จริงแล้วอวิชชาก็คือความหลงนั่นเอง

อวิชชา เป็นสภาวะธรรมตามธรรมชาติของปุถุชน เป็นลักษณะตามปกติของปุถุชน
ว่ากันตามจริงแล้ว มันก็คือการไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เพิ่มเข้าไป

อวิชชามันเป็นส่วนหนึ่งของปฏิจจสมุบาท ที่เราดูแตกต่างเพราะ เราไปกล่าวถึงพระพุทธเจ้า
ในขณะที่กำลังค้นหาหนทางแห่งการตรัสรู้ ท่านทรงรู้ในเรื่องอริยสัจก่อน
กระบวนนการการตรัสรู้ในปฏิจจสมุบาท ยังไม่ครบสมบูรณ์ คือพระองค์ยังไม่ค้นพบ
เหตุปัจจัยที่สมบูรณ์เต็มวงปฏิจฯ

ในอวิชชามันมีอวิชชา8 แยกได้คือ อวิชชา4ความไม่รู้ในอริยสัจ4
และอวิชชาในส่วนที่เหลืออีก4ก็คือ ความไม่รู้ในอดีต ความไม่รู้ในอนาคต
ความไม่รู้ในอดีตและอนาคต สุดท้ายก็คือ ความไม่รู้ใน ปฏิจจสมุบาท

พระพุทธเจ้าทรงญาณตรัสรู้ ด้วยการรู้แจ้งแทงตลอดในปฏิจจฯแล้ว
นั้นคือวงปฏิจจฯได้ครบสมบูรณ์แล้ว
FANTASIA เขียน:
การจะรู้ได้ว่าอวิชชาคือความหลงนั้นแม้แต่พระพุทธเจ้าก็ต้องมีธรรมฐิติญาณอันเป็นญาณรู้ชัดรู้แจ้งแทงตลอดในปฏิจสมุปบาทเกิดขึ้นเสียก่อน

พระพุทธเจ้าท่านทรงรู้อวิชชาเป็นบางส่วน ตั้งแต่ท่านยังไม่ออกบวชแล้ว
หลังจากที่ทรงออกบวช ท่านทรงใช้ญาณหรือที่เรียกว่าวิชชารู้แจ้งในอวิชชา8
หลังจากนั้นจึงเข้าใจที่มาหรือเหตุปัจจัยและกฎแห่งอิทัปจยตา

ดังนั้นนับสาวกทุกคน อวิชชาไม่ว่าจะอวิชชาใด ล้วนแล้วอยู่ในวงของปฏิจฯครับ
FANTASIA เขียน:
ส่วนคำว่า "อวิชชา" ที่กล่าวถึงในความหมายว่าไม่มีวิชาหรือความไม่รู้นั้นท่านใช้กับเรื่องอริยสัจจ์ไม่ได้หมายถึงอวิชชาในปฏิจสมุปบาทนะคะ

ข้อความนี้มันถูก แต่มันผิดในหลักการ ความหมายก็คือ ผู้อธิบายเข้าใจผิดในตัวบุคคล
ผู้ที่แสวงหาการค้นพบกับผู้ที่ปฏิบัติตาม ไม่เหมือนกัน
ผู้แสวงหาคือพระพุทธเจ้า ท่านกำลังหาวงปฏิจจฯ ช่วงแรกยังหาได้ไม่ครบ
วงปฏิจจฯยังไม่สมบูรณ์ จึงเข้าในประเด็นของผู้อธิบาย แต่เมื่อพระองค์
ทรงค้นพบวงปฏิจจฯสมบูรณ์แล้ว คำอธิบายของคุณแฟนตาเซียผิดครับ

ความไม่รู้ในวงปฏิจจฯมันมีสองลักษณะ ดังนั้นการรู้ได้จึงมีสองลักษณะ
ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาหรือขั้นตอนการปฏิบัติ หรืออกนัยหนึ่งก็คือ การรู้ได้ด้วย
สติปัญญาธรรมดาในขั้นต้น และการรู้ได้ด้วยญาณในขั้นปลาย

FANTASIA เขียน:
คุณจางบางฯ คงต้องพิจารณาให้ดีในข้อนี้ว่าพระพุทธองค์เริ่มเห็นอริยสัจจ์ตั้งแต่พระราหุลเกิดจึงทรงตัดสินพระทัยออกผนวชเพื่อค้นหาวิชชาความรู้มาดับทุกข์ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพระองค์ก็เรียกความไม่รู้ในอริยสัจจ์ว่าอวิชชา

การอธิบายความแบบนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่รู้ว่ามันยังมีเรื่องของ อวิชชา8
FANTASIA เขียน:
จนกระทั่งถึงวันที่พระองค์ทรงตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์เพิ่งได้ธรรมฐิติญาณในวันนั้นเอง เพราะได้รู้ชัด รู้แจ้งแทงตลอดในปฏิจสมุปบาทว่าแท้จริงแล้วอวิชชาก็คือความหลงนั่นเอง

ลำดับผิดครับ พระองค์ได้ธรรมฐิติญาณมา ทรงเล็งเห็นอวิชชาที่เหลือคือเห็น
อดีตเห็นอนาคตและเห็นปฏิจจสมุบาท

ส่วนความหลงในที่นี้ความหมายก็คือ กรรมวิบากที่สืบเนื่องกันมา
เป็นภพชาติในอดีตและสืบต่อยังอนาคต
อวิชชาโดยลักษณะแล้วมันไม่มีอะไรครับ เมื่อมีวิบากกรรมจึงเกิดสังขารในปฏิจจฯขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FANTASIA เขียน:
:ดิฉันขอยกข้อความในพระไตรปิฏกที่กล่าวถึงธรรมฐิติญาณมาให้ดูดังนี้นะคะ ^^
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
.............

[๙๘] ในกรรมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็น
สังขาร ความพอใจเป็นตัณหา ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ
ธรรม ๕ ประการในกรรมภพก่อน เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้
ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาท (ภาวะที่ผ่องใสใจ) เป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนาในอุปปัตติภพนี้
ธรรม ๕ ประการในอุปปัตติภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในปุเรภพ
ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา
ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ (ย่อมมี) เพราะอายตนะทั้งหลาย
ในภพนี้สุดรอบ ธรรม ๕ ประการในกรรมภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิ
ในอนาคต ปฏิสนธิในอนาคตเป็นวิญญาณ ความก้าวลงเป็นนามรูป ประสาทเป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนา ธรรม ๕ ประ-
*การในอุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้ พระ-
*โยคาวจร ย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมแทงตลอด ซึ่งปฏิจจสมุปบาท
มีสังเขป ๔ กาล ๓ ปฏิสนธิ ๓ เหล่านี้ โดยอาการ ๒๐ ด้วยประการดังนี้
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๑๓๐ - ๑๒๑๘. หน้าที่ ๔๖ - ๕๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 130&Z=1218

:b1: สรุปว่าอวิชชาในปฏิจสมุปบาทคือความหลงดังนี้ค่ะ

เพระฉะนั้นหากคุณจะยึดพระไตรปิฏกก็ควรจะศึกษาให้ถ้วนถี่เสียก่อนดีกว่าค่ะ
ไม่ใช่ไปหยิบยกมาแค่เพียงพระสูตรเดียวหรือสองพระสูตรแล้วมาเหมารวมว่าความหมายในพระสูตรนั้นๆ เป็นความหมายที่ถูกต้องสำหรับอีกพระสูตรหนึ่งเช่นนี้นะคะ
อนุโมทนาค่ะ ^^

ในพระไตรปิฎกที่ยกมา ผู้ที่อ้างมีความเข้าใจผิด เนื่องจากเห็นบัญญัติคำว่าความหลงเป็นอวิชา ก็เลยเข้าใจว่า ความหลงคืออวิชชา

ในเนื้อแท้แล้วความหมายของ ความหลงก็คือวิบากกรรมในอดีตชาติ
แล้วอะไรคือสาเหตุแห่งวิบากกรรม มันก็คือกิเลสครับ
ในกระบวนการของปฏิจจฯ เมื่อเกิดผัสสะเป็นเวทนานี้เป็นเหตุปัจจัยปกติของรูปและนาม
แต่เมื่อเกิดตัณหาที่เป็นผลสืบต่อจากเวทนา มันเป็นกิเลส จนเกิดความหลงของอุปาทาน
ไปยึดเอากิเลสเป็นตัวตน มันจึงส่งผลเป็นกรรมวิบากในชาติหรือภพหน้าครับ

ดังนั้นการดูวงปฏิจจฯในชาติภพปัจจุบัน มันจึงมีความหลงเป็นอันดับแรก
แต่ไม่ได้หมายถึงว่า ความหลงคืออวิชชา มันหมายถึงความหลงในกิเลสจนเกิด
เป็นอุปาทานว่าเป็นตัวตน นั้นก็คือวิบากกรรมนั้นเอง

เรื่องที่คุณแฟนตาเซียถกกับคุณจางบาง เกี่ยวกับความมีอยู่หรือไม่ของอวิชชา
มีหลักสังเกตุดังนี้ ในวงปฏิจฯที่เราเห็นมี12สภาวะ แท้จริงแล้วมันมีแค่11สภาวะ
สภาวะในส่วนของอวิชชามันมีความหมายว่าการไม่มีอยู่หรือการไม่รู้ใน8อย่าง

และที่ต้องกล่าวหรือกำหนดอวิชชาไว้ในวงปฏิจจฯ ก็เพื่อให้รู้ว่ายังมีตัววิชชาอยู่
ต้องเอาเข้ามาในวงปฏิจจฯนี้ จาก11สภาวะนี้ถ้าเอาวิชชาเข้ามาไม่ใช่ว่า
จะกลายเป็น12 แต่มันจะตัดทอนสภาวะทั้ง11ลงไปเรื่อยจนเหลือแต่วิชชาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 11:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




DCP_0032_resize.JPG
DCP_0032_resize.JPG [ 73.19 KiB | เปิดดู 5636 ครั้ง ]
:b8:

วิธีพิสูจน์ว่า "อวิชชาเป็นเหตุให้เกิดสังขาร"

นั่งขัดสมาธิ ตัวตั้งตรง หลังตรง คอและหัวตั้งตรง

หลับตา

สังเกต กาย ใจ

จะได้พบเห็นว่ามีสังขารอันแรก คือความรู้สึกว่ามีตัวตนตั้งอยู่

จิตรู้ ว่ามีตัวตนตั้งอยู่นั้นคือ "วิญญาณ"

ลองปฏิบัติจริงกันดูเดี๋ยวนี้ทุกท่านนะครับ แล้วท่านจะเห็นจริง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 12:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธคุณ เขียน:
รูปภาพ

ด้วยเหนื่อยนัก พักลงบ้าง วางลงก่อน
ค่อยคลายถอน ผ่อนเมื่อยล้า พาสุขี
เรื่องยุ่งยาก เว้นวรรคบ้าง ห่างสักที
หาสิ่งดี ที่เสริมสร้าง สิ่งสร้างสรร

ความสุขนั้น อันมีค่า พาสดชื่น
เหมือนคนตื่น จากหลับไหล ใช่เสกสรรค์
คือสรรสร้าง ทางสดสวย ช่วยโลกกัน
คือสร้างสรรค์ อันคุณค่า น่าภูมิใจ

ถึงเหนื่อยนัก ก็จักวาง ว่างสักนิด
ค่อยครุ่นคิด พินิจดู จึงรู้ได้
แม้ลำบาก ตรากตรำ นำสู้ไป
ด้วยเข้าใจ และเข้าถึง จึงรู้คุณ


:b8: ดิฉันขออนุโมทนาในส่วนที่เป็นกุศลจิตของคุณนะคะ

แต่ว่าความเหน็ดเหนื่อยนั้นเป็นเวทนาที่เกิดขึ้นมาก็เพราะมีอวิชชาเป็นเหตุเริ่ม
จากนั้นตัณหาก็พาให้เราอยากพักผ่อนเพื่อปิดบังทุกขเวทนาเอาไว้
และเพราะอวิชชาความหลงว่าเป็นตัวตนนั่นเองทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นว่าความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้านั้นเป็นของเราและเราต้องพักผ่อนเพื่อให้ตัวเราหายเหนื่อย(ชั่วครั้งชั่วคราว) มันหลอกให้เราเหนื่อยทีละน้อยจะได้รู้สึกว่าไม่ค่อยทุกข์เท่าไหร่เพื่อให้กลับมาเหนื่อยอยู่ในสังสารวัฏต่อไปอีกนานๆ แท้จริงแล้วมีแต่อวิชชาเท่านั้นลากพาไปให้เป็นทุกข์ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นค่ะ
เพราะฉะนั้นยิ่งเหนื่อยยิ่งดีจะได้เห็นทุกข์เมื่อเห็นว่าเป็นทุกข์จะได้หาทางทำเพื่อดับทุกข์ให้หมดไปอย่างเด็ดขาดเสียทีไงละคะ

ขอพระพุทธองค์ทรงเมตตา ... ค่ะ ^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 12:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
โฮฮับ เขียน:
จะอธิบายในประเด็นนี้ให้ฟังครับ ในวงปฏิจสมุบาททั้งวง
มันอยู่ภายใต้การบังคับของ "ความยึดมั่นถือมั่น"

และไอ้อุปทานที่คุณบอกว่าเป็น ความยึดมั่นถือมั่น แท้แล้วไม่ใช่ครับ
เพียงแต่ว่า มันถูกควบคุมด้วยความยึดมั่นถือมั่นต่างหากครับ

จริงๆแล้วอุปาทานที่คุณว่ามันเป็น "ความหลงหรือโมหะครับ"


:b1: คุณเข้าใจผิดแล้ว............อวิชชาไม่ใช่ความยึดมั่นถือมันนะคะ
แต่................อวิชชาคือความหลงค่ะ ^^

ในวงจรปฏิจสมุปบาทตลอดทั้งสายอยู่ภายใต้การบงการของความหลง
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีการปรุงแต่ง
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีการรับรู้
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีกายกับจิต
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงอวัยวะรับความรู้สึก
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีการกระทบ
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีความรู้สึก
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีความอยาก
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีความยึดมั่นถือมั่น
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีการเกิด
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีการดำรงอยู่
เพราะมีความหลงเป็นรากเหง้าจึงมีการเสื่อมสลายดับไป

อวิชชาคือความหลงไม่ใช่ความยึดมั่นถือมั่น อย่างที่คุณถูกสังขารจิตหลอกให้เชื่ออยู่นะคะ
ความหลงนั่นเองเป็นรากเหง้าแห่งวงจรปฏิจสมุปบาทและเป็นปัจจัยในปฏิจสมุปบาทตลอดสาย

:b1: สรุปว่า ความยึดมั่นถือมั่นนั้นก็คืออุปาทานซึ่งมีรากเหง้ามาจากความหลงนั่นเองนะคะ

ผมบอกอย่างที่คุณอ้างหรือครับ ผมบอกว่าวงปฏิจฯมีความยึดมั่นถือมั่นควบคุมอยู่
แล้วที่คุณโพสว่า ความหลงเป็นรากเหง้า มันไม่ใช่
มันต้องเปลี่ยนความหลงทั้งหมดของคุณ ให้เป็นความยึดมั่นถือทั้งหมด
และที่โพสไว้ว่า ความหลงเป็นรากเหง้าแห่งความยึดมั่นถือมั่น ต้องแก้เป็น
ความยึดมั่นถือมั่นเป็นรากเหง้าแห่งความหลงครับ


ผมยกพระธรรมมาสนับสนุนความเห็นผม ในคำกล่าวที่ว่า
ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น คุณลองไปพิจารณาดูว่า ธรรมทั้งปวงคืออะไร
ที่คุณว่าอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นคุณว่ามันไม่ขัดกันหรือ

มันเป็นเพราะธรรมทั้งปวงมีรากเหง้ามาจากความยึดมั่นถือมั่น
ดังนั้นพระพุทธจึงสดับว่า ...ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น

ที่มาhttp://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=7915&Z=8040
หัวข้อที่ 434 ไปอ่านเอาเอง

แล้วพรุ่งนี้จะมาพูดเรื่องธรรมฐิติญาณให้ฟังครับ
ผมเห็นคุณโม้ให้คุณจางบางฟังแล้วขำอย่างแรงครับ


:b1: ขอประทานโทษนะคะดิฉันขอบอกว่า ขำว่ะค่ะ ^^

หากไม่มีความหลงเป็นทุนเดิมอยู่แล้วคุณจะเอาอะไรไปยึดมั่นถือมั่นได้ละคะ
จู่ๆ ก็ยึดมั่นถือมั่นขึ้นมาเฉยๆ เลย โดยที่ไม่ได้มีความหลงอยู่เลย ขอบอกว่าขำว่ะค่ะ (อีกทีเถอะนะคะ ^^)

ตอนที่คุณศึกษาเรื่อง “ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น” นั้น คงจะไม่ได้ศึกษาต่อไปว่าพระพุทธองค์ทรงแสดงแนวทางแห่งการละวางความยึดมั่นถือมั่นไว้ว่ามีเหตุปัจจัยเป็นมาเป็นไปอย่างไรบ้าง

หากว่าคุณเป็นคนยึดติดกับตำราดิฉันแนะนำว่าคุณควรไปเรียนมาให้จบเสียก่อนดีกว่านะคะ ไม่ใช่เพิ่งเรียนมาได้ไม่กี่บทก็ด่วนสรุปเอาเองแล้วว่าความรู้ทั้งหมดมีเพียงเท่านั้น

ดังเช่นข้อที่คุณมาบอกว่าไตรลักษณ์ยังไม่เกิดถ้าไม่มีใครคนใดคนหนึ่งเข้าไปเห็นนั่นแหละนะคะ

:b1: ดิฉันจะบอกให้ว่าอวิชชาความหลง กับ ความลุ่มหลงนั้นต่างกันลิบลับค่ะ
ความลุ่มหลงหรือจะเรียกอีอย่างว่าความยึดมั่นถือมั่นก็ได้นั่นก็คืออุปาทานนั่นเอง
ความลุ่มหลงนี้มันมีขึ้นเพราะมีตัณหาความอยากเป็นปัจจัยจึงเกิดเป็นความลุ่มหลงตามตัณหานั้นขึ้นมาดังนี้ค่ะ

คห.ของคุณแสดงว่ายังอ่อนหัดมาก หากเข้าใจได้แค่ความยึดมั่นถือมั่นและยังติดตังอยู่เพียงเท่านี้
อีกไกลกว่าจะไล่ความเข้าใจไปถึง ตัณหา เวทนา ผัสสะ สฬายตนะ นามรูป วิญญาณ สังขาร และ อวิชชา จนสุดกระบวนการฝ่ายดับแห่งวงจรปฏิจสมุปบาทได้นะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 13:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 19:14
โพสต์: 115


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
FANTASIA เขียน:
:b1: กรณีที่คุณจางบางคิดว่า อวิชชา ไม่ใช่ความหลง
แต่หมายถึง การยังไม่มีวิชชา เรื่องอริยสัจจ์ครบสมบูรณ์
ดิฉันขอชี้แนะดังนี้ค่ะ
การจะรู้ได้ว่าอวิชชาคือความหลงนั้นแม้แต่พระพุทธเจ้าก็ต้องมีธรรมฐิติญาณอันเป็นญาณรู้ชัดรู้แจ้งแทงตลอดในปฏิจสมุปบาทเกิดขึ้นเสียก่อน
ส่วนคำว่า "อวิชชา" ที่กล่าวถึงในความหมายว่าไม่มีวิชาหรือความไม่รู้นั้นท่านใช้กับเรื่องอริยสัจจ์ไม่ได้หมายถึงอวิชชาในปฏิจสมุปบาทนะคะ
คุณจางบางฯ คงต้องพิจารณาให้ดีในข้อนี้ว่าพระพุทธองค์เริ่มเห็นอริยสัจจ์ตั้งแต่พระราหุลเกิดจึงทรงตัดสินพระทัยออกผนวชเพื่อค้นหาวิชชาความรู้มาดับทุกข์ และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพระองค์ก็เรียกความไม่รู้ในอริยสัจจ์ว่าอวิชชา
จนกระทั่งถึงวันที่พระองค์ทรงตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์เพิ่งได้ธรรมฐิติญาณในวันนั้นเอง เพราะได้รู้ชัด รู้แจ้งแทงตลอดในปฏิจสมุปบาทว่าแท้จริงแล้วอวิชชาก็คือความหลงนั่นเอง

อวิชชา เป็นสภาวะธรรมตามธรรมชาติของปุถุชน เป็นลักษณะตามปกติของปุถุชน
ว่ากันตามจริงแล้ว มันก็คือการไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เพิ่มเข้าไป

อวิชชามันเป็นส่วนหนึ่งของปฏิจจสมุบาท ที่เราดูแตกต่างเพราะ เราไปกล่าวถึงพระพุทธเจ้า
ในขณะที่กำลังค้นหาหนทางแห่งการตรัสรู้ ท่านทรงรู้ในเรื่องอริยสัจก่อน
กระบวนนการการตรัสรู้ในปฏิจจสมุบาท ยังไม่ครบสมบูรณ์ คือพระองค์ยังไม่ค้นพบ
เหตุปัจจัยที่สมบูรณ์เต็มวงปฏิจฯ

ในอวิชชามันมีอวิชชา8 แยกได้คือ อวิชชา4ความไม่รู้ในอริยสัจ4
และอวิชชาในส่วนที่เหลืออีก4ก็คือ ความไม่รู้ในอดีต ความไม่รู้ในอนาคต
ความไม่รู้ในอดีตและอนาคต สุดท้ายก็คือ ความไม่รู้ใน ปฏิจจสมุบาท

พระพุทธเจ้าทรงญาณตรัสรู้ ด้วยการรู้แจ้งแทงตลอดในปฏิจจฯแล้ว
นั้นคือวงปฏิจจฯได้ครบสมบูรณ์แล้ว


:b8: อนุโมทนาค่ะที่มาช่วยเสริมในสิ่งที่ดิฉันได้กล่าวไปแล้ว

แต่ต้องเข้าใจให้ชัดเจนด้วยว่าขณะที่รู้แค่อวิชชา ๔ นั้นหมายความว่ายังรู้เพียงบางส่วนเท่านั้น ยังไม่รู้แจ้งแทงตลอดในวงจรปฏิจสมุปบาททั้งหมดตลอดสาย
จนกระทั่งวันที่ทรงตรัสรู้ว่าอวิชชาคือความหลงนั่นเองเป็นเหตุเริ่มแห่งวงจรปฏิจสมุปบาทจึงทรงธรรมฐิติญาณรู้แจ้งแทงตลอดในวงจรปฏิจสมุปบาททั้งหมดตลอดสายได้อย่างแท้จริง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 207 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร