วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 20:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2018, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องพระนิพพานนั้นมีผู้แสดงความเห็นกันมากมายตามความเห็นของตนเอง
แต่อย่างไรเสียมันคงจะสรุปให้ตรงเป๊ะคงไม่ได้ ที่ว่าไม่ได้เพราะผู้แสดงไม่เคยได้พระนิพพานจริง

จะขอแสดงพระนิพพานบ้าง ตามที่ได้เล่าเรียนมาจากครูบาอาจารย์ และพิจารณาตามได้

คำว่า "สัพเพ ธัมมา อนัตตา" แปลความว่า ธรรมทั้งหลายเป็น "อนัตตา"
ซึ่งเป็นคำที่ครอบคลุมธรรมทั้งหมด ได้แก่ "รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน นิพพาน บัญญัติ"
ทีนี้มีอยู่คำหนึ่งที่พูดว่า ขันธ์ทั้งหลายตกอยู่ภายใต้กฏแห่งไตรลักษณ์ ก็ได้แก่ ขันธ์ ๕
ขันธ์ ๕ คืออะไร ขันธ์ ๕ ก็คือ "รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน"(เว้น นิพพาน บัญญัติ)
ไตรลักษณ์ คืออะไร ก็ได้แก่ "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" แสดงว่านิพพาน บัญญัติ พ้นไป
จากกฏของไตรลักษณ์ (คงจะเหลือ "อนัตตา"อยู่คำหนึ่งที่ไปตรงกับ นิพพาน บัญญัติ ด้วย)

ฉะนั้น "อนัตตา" คำนี้ต้องแยกออกมาจาก "อนัตตา"ในไตรลักษณ์ เพราะเป็น"อนัตตา" พิเศษ
ที่ไม่เหมือนใครจะเป็นอนัตตาเฉพาะพระนิพพานกับบัญญัติเท่านั้น จะว่าพิเศษอย่างก็ต้องขอบอกว่า
พระนิพพานและบัญญัติเป็นของที่มีจริง เป็นสิ่งที่ไปมีปัจจัยใดๆที่ปรุงแต่งให้มีขึ้นได้ ซึ่งผิดไปจาก
อนัตตา ในไตรลักษณ์

อนัตตา ในขันธ์ ๕ นั้น แปลว่า ไม่มีตัวตนซึ่งจะเป็นสิ่งที่จะบังคับบัญชาไม่ได้ต้องเป็นไป
ตามกฏของธรรมชาติ หรือกฏของไตรลักษณ์

อนัตตา ในพระนิพพานบัญญัติ เป็นสิ่งที่นอกเหนือไปจากกฏไตรลักษณ์ ไร้ความปัจจัยใดๆปรุงแต่งทั้งสิ้น
อนัตตา คำนี้จึงไม่ใช่ อนัตตา ที่ตกอยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์

เชิญทัศนากันต่อได้จะเห็นตรงกันหรือแย้งไปจากนี้ได้ตามสบาย (ทางใครทางมัน)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2018, 07:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
เรื่องพระนิพพานนั้นมีผู้แสดงความเห็นกันมากมายตามความเห็นของตนเอง
แต่อย่างไรเสียมันคงจะสรุปให้ตรงเป๊ะคงไม่ได้ ที่ว่าไม่ได้เพราะผู้แสดงไม่เคยได้พระนิพพานจริง

จะขอแสดงพระนิพพานบ้าง ตามที่ได้เล่าเรียนมาจากครูบาอาจารย์ และพิจารณาตามได้

คำว่า "สัพเพ ธัมมา อนัตตา" แปลความว่า ธรรมทั้งหลายเป็น "อนัตตา"
ซึ่งเป็นคำที่ครอบคลุมธรรมทั้งหมด ได้แก่ "รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน นิพพาน บัญญัติ"
ทีนี้มีอยู่คำหนึ่งที่พูดว่า ขันธ์ทั้งหลายตกอยู่ภายใต้กฏแห่งไตรลักษณ์ ก็ได้แก่ ขันธ์ ๕
ขันธ์ ๕ คืออะไร ขันธ์ ๕ ก็คือ "รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน"(เว้น นิพพาน บัญญัติ)
ไตรลักษณ์ คืออะไร ก็ได้แก่ "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" แสดงว่านิพพาน บัญญัติ พ้นไป
จากกฏของไตรลักษณ์ (คงจะเหลือ "อนัตตา"อยู่คำหนึ่งที่ไปตรงกับ นิพพาน บัญญัติ ด้วย)

ฉะนั้น "อนัตตา" คำนี้ต้องแยกออกมาจาก "อนัตตา"ในไตรลักษณ์ เพราะเป็น"อนัตตา" พิเศษ
ที่ไม่เหมือนใครจะเป็นอนัตตาเฉพาะพระนิพพานกับบัญญัติเท่านั้น จะว่าพิเศษอย่างก็ต้องขอบอกว่า
พระนิพพานและบัญญัติเป็นของที่มีจริง เป็นสิ่งที่ไปมีปัจจัยใดๆที่ปรุงแต่งให้มีขึ้นได้ ซึ่งผิดไปจาก
อนัตตา ในไตรลักษณ์

อนัตตา ในขันธ์ ๕ นั้น แปลว่า ไม่มีตัวตนซึ่งจะเป็นสิ่งที่จะบังคับบัญชาไม่ได้ต้องเป็นไป
ตามกฏของธรรมชาติ หรือกฏของไตรลักษณ์

อนัตตา ในพระนิพพานบัญญัติ เป็นสิ่งที่นอกเหนือไปจากกฏไตรลักษณ์ ไร้ความปัจจัยใดๆปรุงแต่งทั้งสิ้น
อนัตตา คำนี้จึงไม่ใช่ อนัตตา ที่ตกอยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์

เชิญทัศนากันต่อได้จะเห็นตรงกันหรือแย้งไปจากนี้ได้ตามสบาย (ทางใครทางมัน)



จขกท. ว่าเรียนอภิธรรมจบแล้ว ดูเหมือนชั้น-ตรีว่าไว้ดังนี้ "นิพพาน" นิ+วาน นิ ไม่มี, ออก วาน เป็นชื่อของตัณหา
ที่เป็น นิพพาน ท่าน แปล ว เป็น พ ซ้อน พ = นิพพาน ดังนั้น นิพพาน ก็ออกไปจากตัณหา ไม่มีตัณหา ตัณหา มี ๓ อะไรบ้างก็ว่าไป เรื่องนิพพานมันก็มีแค่นี้

ต่อไปเรื่องอนัตตา น+อัตตา น.ปฏิเสธ เขาแปลง น เป็น อน. เมื่อมา + กับ อัตตา = อนัตตา ดังนั้น อนัตตาโดยใจความเป็นการปฏิเสธ อัตตา ตัว ตน อาตมัน หมายถึงว่า ปฏิเสธความเป็นอาตมัน ตัว ตน เรา เขา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา

ทีนี่ จขกท. มาตีความอนัตตาเสียอีกว่า


อ้างคำพูด:
อนัตตา ในพระนิพพานบัญญัติ เป็นสิ่งที่นอกเหนือไปจากกฏไตรลักษณ์ ไร้ความปัจจัยใดๆปรุงแต่งทั้งสิ้น
อนัตตา คำนี้จึงไม่ใช่ อนัตตา ที่ตกอยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์


ก็เท่ากับว่า จขกท. คิดค้นหา อนัตตา อีก คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2018, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้าว ไปตั้งกระทู้ตามความคิดรกลานอีก มีอะไรก็มานี่สิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2018, 09:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทิฏฐิ ความเห็น, ความเข้าใจ, ความเชื่อถือ, ทั้งนี้ มักมีคำขยายนำหน้า เช่น สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)

แต่ถ้า ทิฏฐิ มาคำเดียวโดด มักมีนัยไม่ดี หมายถึง ความยึดถือตามความเห็น, ความถือมั่นที่จะให้เป็นไปตามความเชื่อถือ หรือความเห็นของตน, การถือยุติเอาความเห็นเป็นความจริง, ความเห็นผิด, ความยึดติดทฤษฎี ในภาษาไทยมักหมายถึงความดึงดื้อถือรั้นในความเห็น (พจนานุกรม เขียน ทิฐิ)

อัตตานุทิฏฐิ ความตามเห็นว่าเป็นตัวตน


ทิฏฐิ คือความเห็นผิด มี ๒ ได้แก่

๑. สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง
๒. อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ

อีกหมวดหนึ่ง มี ๓ คือ

๑. อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ
๒. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ
๓. นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้ เช่น มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2018, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไตรลักษณ์ ลักษณะสาม, อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมายให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้นๆ ๓ ประการ ได้แก่

๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง

๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์ หรือ ความเป็นของคงทนอยู่มิได้

๓. อนัตตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน (คนไทยนิยมพูดสั้นๆว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และแปลง่ายๆว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา)

ลักษณะเหล่านี้ มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์

ลักษณะ ทั้ง ๓ นี้ มีแก่สิ่งทั้งหลายเป็นสามัญเสมอเหมือนกัน คือ ทุกอย่างที่เป็นสังขตะ เป็นสังขาร ล้วนไม่เที่ยง คงทนอยู่มิได้ เสมอเหมือนกันทั้งหมด ทุกอย่างที่เป็นธรรม ทั้งสังขตะ คือ สังขาร และอสังขตะ คือ วิสังขาร ล้วนมิใช่ตน ไม่เป็นอัตตา เสมอกันทั้งสิ้น จึงเรียกว่า สามัญลักษณะ

ลักษณะเหล่านี้ เป็นของแน่นอน เป็นกฎธรรมชาติ มีอยู่ตามธรรมดา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม

ในพระไตรปิฎก หลักนี้ชื่อว่า ธมฺมนิยามตา ส่วน ไตรลักษณ์ และสามัญลักษณะ เป็นคำที่เกิดขึ้นในยุคอรรถกถา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2018, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตตา ความเป็นอนัตตา คือมิใช่ตัวมิใช่ตน


อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตนโดยอรรถต่างๆ เช่น

๑ เป็นของสุญ คือ ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ (ในแง่ของสังตธรรม คือ สังขาร ก็เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย)

๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง

๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ

๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นไปตามธรรมดาของมัน (ในแง่สังขตธรรม คือ สังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไมมีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่ กับ สิ่งอื่นๆ)

๕. โดยสภาวะของมันเองก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา
อภิวินัย “วินัยอันยิ่ง” ในพระไตรปิฎก คำว่า “อภิวินัย” มักมาด้วยกันเป็นคู่กับคำว่า “อภิธรรม” และในอรรถกถา มีคำอภิบายไว้ ๒-๓ นัย เช่น นัยหนึ่งว่า ธรรม หมายถึง พระสุตตันตปิฎก


อภิธรรม หมายถึง เจ็ดคัมภีร์ (คือ อภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ สัตตัปปกรณะ)


วินัย หมายถึง อุภโตวิภังค์ (คือ มหาวิภังค์ หรือภิกขุวิภังค์ และภิกขุนีวิภังค์)

อภิวินัย หมายถึง ขันธกะ และปริวาร,

อีกนัยหนึ่ง ธรรม หมายถึง พระสุตตันตปิฎก

อภิธรรม หมายถึง มรรค ผล

วินัย หมายถึง วินัยปิฎกทั้งหมด

อภิวินัย หมายถึง การกำจัดกิเลสให้สงบระงับไปได้,


นอกจากนี้ ในพระวินัยปิฎก มีคำอธิบายเฉพาะวินัย และอภิวินัย (เช่น วินย. 8/22) วินัย หมายถึงพระบัญญัติ (คือตัวสิกขาบท)

อภิวินัย หมายถึง การแจกแจงอธิบายความแห่งพระบัญญัติ

อภิธรรม ธรรมอันยิ่ง, ทั้งยิ่งเกิน (อภิอติเรก) คือมากกว่าธรรมอย่างปกติ และยิ่งพิเศษ (อภิวิเสส) คือ เหนือกว่าธรรมอย่างปกติ, หลักและคำอธิบายธรรมที่เป็นเนื้อหาสาระแท้ๆ ล้วนๆ ซึ่งจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบและเป็นลำดับ จนจบความอย่างบริบูรณ์ โดยไม่กล่าวถึง ไม่อ้างอิง และไม่ขึ้นต่อบุคคล ชุมชน หรือเหตุการณ์ อันแสดงโดยเว้นบัญญัติโวหาร มุ่งตรงต่อสภาวธรรม ที่ต่อมานิยมจัดเรียกเป็นปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน,

เมื่อพูดว่า "อภิธรรม" บางทีหมายถึงพระอภิธรรมปิฎก บางทีหมายถึงคำสอนในพระอภิธรรมปิฎกนั้น ตามที่ได้นำมาอธิบายและเล่าเรียนกันสืบมา เฉพาะอย่างยิ่ง ตามแนวที่ประมวลแสดงไว้ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ, บางที เพื่อให้ชัดว่าหมายถึงอภิธรรมปิฎก ก็พูดว่า "อภิธรรมเจ็ดคัมภีร์"


อภิธรรมปิฎก ชื่อปิฎกที่สาม ในพระไตรปิฎก, คำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนที่แสดงพระอภิธรรม ซึ่งได้รวบรวมรักษาไว้เป็นหมวดที่สาม อันเป็นหมวดสุดท้ายแห่งพรไตรปิฎก ประกอบด้วยคัมภีร์ต่างๆ ๗ คัมภีร์ (สัตตปปกรณะ, สดับปกรณ์) คือ สังคณี (หรือ ธัมมสังคณี) วิภัง ธาตุกถา บุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และปัฏฐาน,

ในอรรถกถา (เช่น สงฺคณี.อ.20/16) มีความเล่าว่า พระอภิธรรมเป็นพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโปรดพุทธมารดาตลอดพรรษา ณ ดาวดึงสเทวโลก ในปีที่ ๗ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2018, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า อนัตตา ก็มุ่งเพื่อปฏิเสธ อัตตา ซึ่งตัณหาและทิฏฐิได้สร้างขึ้นมายึดถือไว้ผิดๆ เมื่อถอนความยึดถือนั้นแล้ว ตัวอัตตาหรือภาพอัตตาก็หมดไปเอง แต่ถ้าเข้าใจ อนัตตา ว่าไม่มีอัตตา ในความหมายอย่างที่ปุถุชนเข้าใจ ก็เป็นอันกระโดดไปเข้าเขตอุจเฉทิฏฐิ ซึ่งเป็นความเห็นผิดไปอีก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2018, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จขกท. เชิญคนแสดงความเห็นเรื่องนิพพาน อะไรๆก็ว่าไป บันทัดสุดท้ายว่า

อ้างคำพูด:
เชิญทัศนากันต่อได้จะเห็นตรงกันหรือแย้งไปจากนี้ได้ตามสบาย (ทางใครทางมัน)


พอมีคนมาแสดง คคห. เข้าเท่านั้นแหละ แหมๆๆ เตลิดไปอีกสองกระทู้ "ตามความคิดให้ทัน" ว่า "ชื่อว่าคนมันก็คนไปเรื่อย"ว่า คิกๆๆ เชิญขึ้นเรือน พอเราก้าวขึ้นบันไดเท่านั้นแหละ ถีบเราตกไต้ถุนเลย :b13: คนใจร้ายใจดำ

เอาหลักมาให้ดูอีก กล่าวคือ

ทุกขอริยสัจจ์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ (ที่เรียกกันติดปากสั้นๆว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ) เต็มๆในธรรมจักรก็ดังนี้

อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ฯ ชาติปิ ทุกฺขา ชราปิ ทุกฺขา มรณมฺปิ ทุกฺขํ โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสาปิ ทุกฺขา อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา

อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ฯ ยายํ ตณฺหา โปโนพฺภวิกา นนฺทิราคสหคตา ตตฺร ตตฺราภินนฺทินี ฯ เสยฺยถีทํ กามตณฺหา ภวตณฺหา วิภวตณฺหา ฯ

อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ ฯ โย ตสฺสาเยว ตณฺหาย อเสสวิราคนิโรโธ จาโค ปฏินิสฺสคฺโค มุตฺติอนาลโย ฯ



ทุกข์ อริยสัจจ์ สรุปที่การยึดติดถึอชีวิตว่าเป็นตัว ตน เรา เขา อาตมัน

ทุกข์ สมุทัย ได้แก่ ตัณหา ๓

ส่วน ทุกข์ นิโรธ ได้แก่นิพพาน กำจัดตัณหาได้สิ้นแล้วนั่นแหละนิพพาน

ข้อสุดท้าย คือ ทุกขนิโรธคามมินีปฏิปทา อริยสัจจ์ ได้แก่วิธีปฏิบัติ, ข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์

(แก้พิมพ์ผิดหลายตัว)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 มิ.ย. 2018, 14:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2018, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๓. สมุฏฐานสีสสังเขป
ว่าด้วยการย่อหัวข้อสมุฏฐาน
[๒๕๗] สังขารทั้งปวงที่ปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
พระนิพพานและบัญญัติ ท่านวินิจฉัยว่าเป็นอนัตตา....
(สมุฏฺฐานสีสสงฺเขปํ ๑-
[๘๒๖] อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ๒- ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา ฯ
นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา ฯ

ที่ท่านนำสิ่งที่เป็นบัญญัติมาวินิจฉัยว่า “เป็นอนัตตา” ร่วมกับพระนิพพานซึ่งเป็นปรมัตถธรรมนั้น เพราะ
ว่าต่างก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งเหมือนกัน (วิมติ.ฏีกา ๒/๒๕๗/๓๕๑)

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2018, 13:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัญญัติ การกำหนดเรียก, การเรียกชื่อ, การตั้งขึ้น, ข้อที่ตั้งขึ้น, การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ

ทิ้งความฮงให้ จกขท. เช่นนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2018, 13:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ที่ท่านนำสิ่งที่เป็นบัญญัติมาวินิจฉัยว่า “เป็นอนัตตา” ร่วมกับพระนิพพานซึ่งเป็นปรมัตถธรรมนั้น เพราะ
ว่าต่างก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งเหมือนกัน (วิมติ.ฏีกา ๒/๒๕๗/๓๕๑)

บัญญัติที่องค์ธรรมปรมัตถ์รับรองจะมีในสมัยในพระพุทธเจ้าเท่านั้น
แม้ในสมัยของพระปัจเจกพุทธเจ้าก็มีไม่ได้ มีได้แต่ปรมัตถ์ไม่สามารถบัญัติธรรมได้
เมื่อมีไม่ได้ก็ไม่สามารถประกาศพระศาสนาของตนเองได้ ฉะนั้นก็ไม่มีเทวดาและมนุษย์ตรัสรู้ตามได้
บัญญัตินั้นเทียบเท่ากับพระนิพพาน จะเห็นได้ว่าพระนิพพานนั้นเกิดได้กับพระปัจเจกพุทธเจ้า
ผู้บำเพ็ญบารมีมาเพียงแค่ ๒ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปป์ แต่บัญญัติที่มีองค์ธรรมปรมัต์รับรองเกิดไม่ได้
จะเกิดได้ในพระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีมาอย่างน้อย ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปป์เป็นต้นไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2018, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คิดแล้วว่าไม่เข้าใจคำว่า "บัญญัติ" เสียเวลาเปล่าที่จะไปคิดอะไรที่เกินวิสัยตามองเห็น

เอาอย่างที่เคยแนะนำบ่อยครั้งเถอะ ลบความคิดความจำแต่เก่าก่อนมาออกให้หมด แล้วเริ่มจาก 0 ไป เช่น ปล่อยปลาลงน้ำ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ถวายสังฆทาน ปิดท้องฝังลูกนิมิต ปิดทองรอยพระบาทจำลอง เป็นต้นเอา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2018, 14:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
เรื่องพระนิพพานนั้นมีผู้แสดงความเห็นกันมากมายตามความเห็นของตนเอง
แต่อย่างไรเสียมันคงจะสรุปให้ตรงเป๊ะคงไม่ได้ ที่ว่าไม่ได้เพราะผู้แสดงไม่เคยได้พระนิพพานจริง

จะขอแสดงพระนิพพานบ้าง ตามที่ได้เล่าเรียนมาจากครูบาอาจารย์ และพิจารณาตามได้

คำว่า "สัพเพ ธัมมา อนัตตา" แปลความว่า ธรรมทั้งหลายเป็น "อนัตตา"
ซึ่งเป็นคำที่ครอบคลุมธรรมทั้งหมด ได้แก่ "รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน นิพพาน บัญญัติ"
ทีนี้มีอยู่คำหนึ่งที่พูดว่า ขันธ์ทั้งหลายตกอยู่ภายใต้กฏแห่งไตรลักษณ์ ก็ได้แก่ ขันธ์ ๕
ขันธ์ ๕ คืออะไร ขันธ์ ๕ ก็คือ "รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน"(เว้น นิพพาน บัญญัติ)
ไตรลักษณ์ คืออะไร ก็ได้แก่ "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" แสดงว่านิพพาน บัญญัติ พ้นไป
จากกฏของไตรลักษณ์ (คงจะเหลือ "อนัตตา"อยู่คำหนึ่งที่ไปตรงกับ นิพพาน บัญญัติ ด้วย)

ฉะนั้น "อนัตตา" คำนี้ต้องแยกออกมาจาก "อนัตตา"ในไตรลักษณ์ เพราะเป็น"อนัตตา" พิเศษ
ที่ไม่เหมือนใครจะเป็นอนัตตาเฉพาะพระนิพพานกับบัญญัติเท่านั้น จะว่าพิเศษอย่างก็ต้องขอบอกว่า
พระนิพพานและบัญญัติเป็นของที่มีจริง เป็นสิ่งที่ไปมีปัจจัยใดๆที่ปรุงแต่งให้มีขึ้นได้ ซึ่งผิดไปจาก
อนัตตา ในไตรลักษณ์

อนัตตา ในขันธ์ ๕ นั้น แปลว่า ไม่มีตัวตนซึ่งจะเป็นสิ่งที่จะบังคับบัญชาไม่ได้ต้องเป็นไป
ตามกฏของธรรมชาติ หรือกฏของไตรลักษณ์

อนัตตา ในพระนิพพานบัญญัติ เป็นสิ่งที่นอกเหนือไปจากกฏไตรลักษณ์ ไร้ความปัจจัยใดๆปรุงแต่งทั้งสิ้น
อนัตตา คำนี้จึงไม่ใช่ อนัตตา ที่ตกอยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์

เชิญทัศนากันต่อได้จะเห็นตรงกันหรือแย้งไปจากนี้ได้ตามสบาย (ทางใครทางมัน)


อนัตตา...หากใช้คำว่า..ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน...จะให้ความหมายที่ดีกว่านะครับ..และหากใช้คำว่า..ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน...อนัตตาในไตรลักษณ์.. ก็จะใกล้เคียงกับอนัตตาในความหมายของนิพพาน..ครับ

มี..แต่ไม่เป็นตัวเป็นตน..เป็นสภาพใดสภาพหนึ่งในรูปสมมุติแน่นอน..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2018, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว




orig (1).gif
orig (1).gif [ 698.92 KiB | เปิดดู 3911 ครั้ง ]
เมื่อความคิดมันไม่เจริญ ก็เพราะติดความคิดเก่าๆแค่นั้นเอง
ไปแสวงหาความรู้เถอะ พระธรรมคำสั่งสอนยังมีให้รู้อีกมากมาย
อย่าเอาแค่ก๊อปเขามาแป๊ะทั้งๆที่ไม่เข้าใจอะไรที่ลึกซึ้งเลย
ไปเถอะชั้นเรียนมีเยอะ มันเป็นการซอยเท้าเปล่าๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2018, 19:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คิดแล้วว่าไม่เข้าใจคำว่า "บัญญัติ" เสียเวลาเปล่าที่จะไปคิดอะไรที่เกินวิสัยตามองเห็น

เอาอย่างที่เคยแนะนำบ่อยครั้งเถอะ ลบความคิดความจำแต่เก่าก่อนมาออกให้หมด แล้วเริ่มจาก 0 ไป เช่น ปล่อยปลาลงน้ำ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ถวายสังฆทาน ปิดท้องฝังลูกนิมิต ปิดทองรอยพระบาทจำลอง เป็นต้นเอา


ตัวเองเก่งตาย..แหละ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร